วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2552

รูปภาพการท่องเที่ยวภาคตะวันออก



ลานประตูผา
- ศาลเจ้าพ่อประตูผา
ตำนานเจ้าพอประตูผา เต่าตี่ปี้หนานฮู้มา เปิ้นเป็นทหารเอกของเจ้าหลวงลิ้นก่าน เจ้าหลวงเวียงหละกอน มีตำแหน่งตี่พญามือเหล็ก เปิ้นได้สร้างวีรกรรมสละจีวิตจ่วยเจ้าหลวงลิ้นก่านจากกองทัพพม่า เมื่อปี๋ใด พ.ศ. ใด จ๋ำบ่าได้แล้ว พม่าได้ยกกองทัพลุกเมืองหละปูนกาว่าเจียงแสนก่บ่าแน่ใจ๋ (แต่ปี้หนานกึดว่าน่าจะเป็นเมืองเจียงแสน เมื่อเปรียบเทียบกับภูมิประเทศแล้ว เพราะตี่ประตูผาเป็นช่องเขาแคบจากเจียงฮายกับพะเยาเพื่อผ่านเข้าไปยังเวียงหละกอน)
- เรื่องนี้เป็นตำนานเวียงหละกอน (ลำปาง) ซึ่งในอดีตเป็นรัฐอิสระมีกษัตริย์ (เจ้าหลวง) ปกครอง ในรัชสมัยของเจ้าหลวงลิ้นก่าน พม่าต้องการขยายอิทธิพลเข้ามาในเขตแดนล้านนาแห่งนี้ จึงยกทัพมาเพื่อรุกรานเวียงหละกอน เจ้าหลวงลิ้นก่านได้ยกทัพออกไปต้านทัพพม่าที่ประตูผา เมื่อกองทัพทั้งสองปะทะกัน ต่างฝ่ายต่างเสียรี้พลเป็นเป็นจำนวนมาก กองทัพเวียงหละกอนเสียที เจ้าหลวงลิ้นก่านถูกทหารพม่าล้อมไว้ตรงถ้ำประตูผา พญามือเหล็กได้พาทหารเข้าสู้รบเพื่อปกป้องเจ้าหลวงของตนจนสุดความสามารถ เพื่อประวิงเวลารอกองทัพหนุนจากเวียงหละกอนมาช่วย จนทหารในกองทัพถูกทหารพม่าฆ่าตายจนหมดสิ้น เหลือแต่พญามือเหล็กเพียงคนเดียว พญามือเหล็กยังคงยืนถืออาวุธขวางปากถ้ำต่อสู้กับทหารพม่าเป็นสามารถตลอดทั้งวันตั้งแต่เช้าจรดเย็น สามารถฆ่าทหารพม่าตายลงเป็นจำนวนมาก จนทหารพม่าไม่สามารถผ่านเข้าไปในถ้ำที่ซ่อนของพระเจ้าลิ้นก่านได้แม้แต่คนเดียว
- ในที่สุดพญามือเหล็กได้เหนื่อยเจียนจะขาดใจตาย ก่อนจะตายยังมีจิตสำนึกได้ว่าหากตนเองล้มลงเมื่อใดแล้ว ทหารพม่าที่เหลือจะต้องเข้าไปทำร้ายเจ้าหลวงของตนเป็นแน่แท้ จึงไม่ยอมล้มลงเด็ดขาด และต่อสู้กับทหารพม่าต่อไปจนตัวเองขาดใจตายทั้งที่ยังยืนถืออาวุธจังก้าอยู่อย่างนั้น ส่วนทหารพม่าที่เหลืออยู่ก็เข็ดขยาดไม่มีใครกล้าเข้ามาต่อสู้ด้วย ได้แต่ล้อมเอาไว้จนกระทั่งกองทัพหนุนของเวียงหละกอนยกตามมาช่วย พม่าจึงได้ยอมถอยทัพหนีกลับไปเนื่องจากกำลังที่เหลืออยู่ไม่สามารถจะสู้รบได้ เมื่อพม่าเลิกทัพกลับไปแล้วเจ้าหลวงลิ้นก่านได้พบว่า พญามือเหล็กได้เสียชีวิตลงแล้ว โดยที่ยังยืนถืออาวุธยืนจังก้าพิงผนังหน้าปากถ้ำไว้ ทำเวียงหละกอนรอดพ้นจากการรุกรานของพม่าได้ เจ้าหลวงลิ้นก่านได้สรรเสริญยกย่องวีรกรรมของพญามือเหล็ก โดยยกย่องให้เป็นเจ้าพ่อประตูผานับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา นี่คือวีรกรรมอันกล้าหาญของเจ้าพ่อประตูผา พญามือเหล็กทหารเอกของเจ้าหลวงลิ้นก่านแห่งเวียงหละกอน กระทรวงกลาโหมได้อัญเชิญนามมาตั้งเป็นค่ายรบพิเศษประตูผา เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจของทหารตราบจนปัจจุบัน



ธารสายหมอก
- อุทยานแห่งชาติตาดหมอก ชื่อนี้หลายคนๆอาจจะไม่คุ้นเคยนัก แต่สำหรับพวกเราในครั้งนี้ นั้นคือจุดหมายปลายทางที่เรากำลังจะเดินทางออกไปค้นหาคำตอบ อุทยานแห่งชาติตาดหมอก อุทยานฯที่ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากอุทยานแห่งชาติเขาค้อ มากนัก แต่กับได้รับความนิยมที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง เดิมทีพวกเราไม่เคยคาดฝันว่าก่อนในการเดินทางครั้งนี้ แต่หากด้วยความต้องการด้านความแปลกใหม่และหลีกหนีความวุ่นวาย จำเจจากสถานที่ ที่มีชื่อเสียงต่างๆ หลบตัวซ่อนกายลงใน สักที่ใดที่หนึ่ง ที่ซึ่งมีความหมายและเปี่ยมล้นไปด้วยความงดงาม เราเลือกช่วงเวลาเดินทาง ในช่วงปิดภาคเรียนสั้นๆ แม้จะเป็นระยะเวลาที่ไม่นานนัก แต่ก็ไม่วายที่จะทำให้เรารอคอยกันอย่างใจจดใจจ่อ ให้เวลานี้มาถึงโดยเร็ว ในความจริงแล้วที่นี่ นับว่าใหม่กับพวกเรามาก ทั้งข้อมูลพื้นที่และการเดินทาง เราจึงต้องพยายามหาข้อมูลให้ได้มากที่สุด เท่าที่จะพอหาได้ ทั้งจาก internet และนิตยสารท่องเที่ยว
- และเมื่อวันเวลามาถึง เราออกเดินทางโดยมีกระบะ cab เป็นพาหนะในการเดินทาง ที่จะนำพาพวกเราทั้ง 7 ชีวิตไปสู่ ณ จุดหมายปลายทางอย่างสวัสดิภาพ เรามุ่งหน้าออกจาก จ.มหาสารคาม ตั้งแต่เวลาเช้าตรู่ เข้าสู่ จ.ขอนแก่น ไปตามทางหลวงหมายเลข12 ผ่าน อ.ชุมแพ อ.น้ำหนาว ถึงยังแยก อ.หล่มสัก เราตัดเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 21 เพื่อมุ่งเข้าสู่ตัวเมืองเพชรบูรณ์
- ขับวกไปวนมา (หลงทางบ้าง ตามประสามือใหม่) ไม่นานนักเราก็มาถึงยังทางขึ้นไปยังตัวอุทยานฯ กันจนได้ พร้อมระยะทางที่ยังคงเหลืออีก 19 กม. ที่ยังรอคอยให้เราไปค้นหา รถเริ่มพาเราไต่ระดับความสูงขึ้นไปเรื่อยๆ พร้อมกับภาพทิวทัศน์ที่ปรากฏ ณ สองข้างทาง ภาพไผ่และกล้วย จำนวณมากขึ้นเรียงรายยังบริเวณไหล่เขา สลับกับต้นไม้อีกนานาพันธุ์ บ่งบอกความสมบูรณ์ทางระบบนิเวศในตัวตนได้อย่างชัดเจน กม.ที่7 จากทางขึ้นของอุทยานฯ เป็นจุดที่ชมทิวทัศน์ ตัวเมืองเพชรบูรณ์ได้อย่างงดงาม ยามเมื่อนัยน์ตามองผ่านทะลุสายหมอกลงไปยัง ทิวทัศน์ที่อยู่ ณ เบื้องล่าง
- เวลาประมาณบ่าย 4 โมงเย็น รถก็พาเรามาหยุดอยู่ ณ จุดบริการนักท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติตาดหมอก นับว่าเป็นช่วงเวลาในเดินทางที่นานพอสมควร เมื่อติดต่อขอกางเต้นท์และจ่ายค่าธรรมเนียมเรียบร้อยแล้ว เราก็ไม่รอช้าที่จะไปจัดการกับที่พัก เพื่อแข่งกันแสงสุดท้ายของวัน ที่ค่อนข้างเหลือน้อยเต็มที่ บรรยากาศบริเวณ ณ จุดพื้นที่กางเต้นท์ นับว่าสวยงามและได้บรรยากาศที่โดนใจดีทีเดียว ภาพลำธารใหลรินเอื่อยอยู่ไม่ไกลจากจุดกางเต้นท์มากนัก จนสามารถได้ยินเสียงกระแสน้ำได้อย่างชัดเจน และม่านเขาที่ตั้งตระหง่านแลดูเป็นแฉกหลัง จึงอดใจไม่ได้ที่จะขอเก็บภาพความงดงามนี้ ผ่านเสียงชัตเตอร์บันทึกลงในห่วงแห่งความทรงจำเสียหน่อย
- ค่ำคืนนี้อากาศค่อนข้างเย็นสบายดีที่เดียว เสียงกระแสน้ำในลำธารยังคงได้ยินชัดเจนมากขึ้น เมื่อความมืดเคลือบคลานเข้ามาปกคลุม สายหมอกเริ่มจับตัวกันหนามากขึ้น เข้ามาบดบังสัมผัส การรับรู้ทางสายตาในทันใด และแล้วสิ่งที่ไม่คาดฝันก็พลันเกิดขึ้น เมื่อเหล่าผีเสื้อกลางคืนนับร้อยต่างเข้ามาจับจองพื้นที่แทบทุกย่อมหญ้า บ้างก็บินมาจับบริเวณชายเต้นท์ บ้างก็บินมาจับที่รองเท้า รวมไปถึงยังอุกรณ์แคมป์ปิ้ง นับว่าเป็นภาพที่งดงามสุดที่จะหาคำบรรยายได้ที่เดียว เสมือนหนึ่งความงดงามที่บริสุทธิ์ย่อมจะมีสิ่งที่งดงามซ่อนเร้นอยู่เสมอ และหลังจากนี้เราคงจะซ่อนกายไปกับความเงียบสงบของสายธารและขุนเขา หากแต่แสงแห่งวันใหม่ส่องประกายขึ้นมาอีกครั้ง







น้ำตกเขาชะเมา
- น้ำตกเขาชะเมา หรือน้ำตกคลองน้ำใส น้ำตกที่สวยงามมีสายน้ำใสสะอาดไหลตลอดทั้งปี จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกว่า น้ำตกคลองน้ำใส แอ่งน้ำตกชั้นแรกอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง เพียง 300 เมตร
ธารน้ำตกกำเนิดจากยอดเขาชะเมาไหลมาเป็นระยะทางกว่า 3 กิโลเมตร ลดหลั่นเป็นน้ำตกถึง 8 ชั้น แต่ละชั้นมีความสวยงามโดดเด่นแตกต่างกัน ตามชื่อเรียกของแต่ละชั้นคือ วังหนึ่ง วังมัจฉา วังมรกต วังไทรงาม ผากล้วยไม้ ช่องแคบ หกสาย และผาสูง นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นไปที่ยวชมได้ทุกชั้นของน้ำตกเขาชะเมา ตามเส้นทางเดินเท้าตั้งแต่ชั้นที่ 1-8 ระยะทางประมาณ 2,650 เมตร
นักท่องเที่ยวสามารถนำอาหารและเครื่องดื่มมารับประทานได้ในบริเวณที่ทางอุทยานจัดไว้ ไม่สามารถนำอาหารและขวดบรรจุน้ำทั้งขวดแก้วและขวดพลาสติกเข้าไปในบริเวณชั้นน้ำตก และผู้ที่จะขึ้นไปเที่ยวถึงชั้นที่ 8 ควรเตรียมกระติกน้ำไปด้วย



น้ำตกพริว จันทบุรี
- อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว ตั้งอยู่ในเขตเทือกเขาสระบาป อำเภอแหลมสิงห์ จากตัวเมืองจันทบุรีขับรถออกมาที่ถนนสุขุมวิท ตรงกิโลเมตร ที่ 346 มีทางแยกซ้ายไปน้ำตกพลิ้ว 2 กิโลเมตร อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว มีเนื้อที่ทั้งหมด 134.5ตาราง กิโลเมตร ประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อปีพ.ศ. 2518 สภาพโดยทั่วไปเป็นป่าโปร่งมีพันธุ์ไม้ต่าง ๆ เช่น ขนุนป่า กระท้อนป่า พิมเสน ขึ้นอยู่ทั่วไป ที่พักมี-บ้านพัก 3 หลัง พักได้หลังละ 8 คน ราคาหลังละ 600-800บาทและค่ายพักแรมพักได้ 20-50 คน ราคาหลังละ 200-500 บาท ติดต่อรายละเอียดได้ที่ กอง อุทยานแห่งชาติโทร. 5790529, 5794842 สถานที่ท่องเที่ยวในเขตอุทยานฯ ได้แก่ น้ำตกพลิ้ว มี 3 ชั้น จากทางขึ้นไป 200เมตร มี อลงกรณ์เจดีย์ อยู่ทางขวามือเป็นเจดีย์ศิลาแลง รัชกาลที่ 5 โปรดให้พระยา จันทบุรีเป็นแม่กองสร้าง เมื่อ พ.ศ.2419 นอกจากนี้แล้วบริเวณใกล้ ๆ กัน ยังมีปิรามิดอีกแห่งหนึ่งชื่อ "ปิรามิดพระนางเรือล่ม" หรือ "สถูปพระนาง-เรือล่ม" เป็นที่บรรจุพระอังคารของพระนางเจ้า-สุนันทากุมารี รัตน์ (พระนางเรือล่ม) ซึ่งเคยเสด็จประพาสน้ำตกพลิ้ว เมื่อพ.ศ.2417 ในธารน้ำตกมีปลาพลวงอาศัยอยู่เป็น จำนวนมากน้ำตกพริ้ว-จันทบุรี
- อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว ตั้งอยู่ในเขตเทือกเขาสระบาป อำเภอแหลมสิงห์ จากตัวเมืองจันทบุรีขับรถออกมาที่ถนนสุขุมวิท ตรงกิโลเมตร ที่ 346 มีทางแยกซ้ายไปน้ำตกพลิ้ว 2 กิโลเมตร อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว มีเนื้อที่ทั้งหมด 134.5ตาราง กิโลเมตร ประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อปีพ.ศ. 2518 สภาพโดยทั่วไปเป็นป่าโปร่งมีพันธุ์ไม้ต่าง ๆ เช่น ขนุนป่า กระท้อนป่า พิมเสน ขึ้นอยู่ทั่วไป ที่พักมี-บ้านพัก 3 หลัง พักได้หลังละ 8 คน ราคาหลังละ 600-800บาทและค่ายพักแรมพักได้ 20-50 คน ราคาหลังละ 200-500 บาท ติดต่อรายละเอียดได้ที่ กอง อุทยานแห่งชาติโทร. 5790529, 5794842 สถานที่ท่องเที่ยวในเขตอุทยานฯ ได้แก่ น้ำตกพลิ้ว มี 3 ชั้น จากทางขึ้นไป 200เมตร มี อลงกรณ์เจดีย์ อยู่ทางขวามือเป็นเจดีย์ศิลาแลง รัชกาลที่ 5 โปรดให้พระยา จันทบุรีเป็นแม่กองสร้าง เมื่อ พ.ศ.2419 นอกจากนี้แล้วบริเวณใกล้ ๆ กัน ยังมีปิรามิดอีกแห่งหนึ่งชื่อ "ปิรามิดพระนางเรือล่ม" หรือ "สถูปพระนาง-เรือล่ม" เป็นที่บรรจุพระอังคารของพระนางเจ้า-สุนันทากุมารี รัตน์ (พระนางเรือล่ม) ซึ่งเคยเสด็จประพาสน้ำตกพลิ้ว เมื่อพ.ศ.2417 ในธารน้ำตกมีปลาพลวงอาศัยอยู่เป็น จำนวนมาก
- น้ำตกที่ได้รับความนิยมในการท่องเที่ยวมาอย่างยาวนาน เที่ยวได้สะดวก เพราะรถเข้าถึง ในฤดูผลไม้ นักท่องเที่ยวนิยมมาเที่ยวสวนผลไม้ต่างๆ และแวะมาท่องเที่ยวน้ำตกเพราะสวนผลไม้ต่างๆ อยู่ในเขตอำเภอเมืองใกล้กับที่ตั้งของตัวน้ำตก นอกจากน้ำตกพลิ้วแล้ว ยังมีน้ำตกอีกมากมาย หลายแห่งให้เที่ยวชม ที่ตั้ง : อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้วมีพื้นที่ครอบคลุม อำเภอเมือง อำเภอแหลมสิงห์ อำเภอขลุง อำเภอมะขาม ที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง น้ำตกพลิ้ว : เป็นน้ำตก 3 ชั้น โอบล้อมด้วยผืนป่าไม้ ชั้นที่ 3 หรือชั้นล่างสุดมีขนาดสูงที่สุด และนักท่องเที่ยวนิยมเที่ยวชมที่ชั้นนี้ สายน้ำตกลงผ่านซอกหลืบผาหิน เป็นร่องลงสู่แอ่งน้ำกว้าง เป็นแอ่งน้ำสีมรกตมีปลาพลวงอาศัยอยู่มากมาย และเป็นปลาเชื่องสามารถลงเล่นน้ำที่แอ่งนี้ได้



เขาสอยดาว จันทบุรี
- ข้อมูลทั่วไป น้ำตกเขาสอยดาว
- อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว น้ำตกอยู่ห่างจากที่ทำการประมาณ 4 กิโลเมตร มี 16 ชั้น บริเวณธารน้ำตกมีผีเสื้อจำนวนมากเหมาะสำหรับการดูผีเสื้อและศึกษาพรรณไม้ ซึ่งพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาวนั้นมีสภาพป่าดงดิบที่สมบูรณ์ สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับซับซ้อน โดยมียอดเขาสูง 2 ยอด คือ ยอดสอยดาวเหนือและสอยดาวใต้ ความสูงของยอดสูงสุดคือ ยอดสอยดาวใต้ อยู่ที่ประมาณ 1,675 เมตรจากระดับน้ำทะเล สภาพป่าอันอุดมสมบูรณ์เป็นต้นกำเนิดของธารน้ำหลายสาย ไหลตกลงมาเป็นน้ำตกเขาสอยดาวขนาดใหญ่ ท่ามกลางป่าลึกที่ยังคงความเป็นธรรมชาติ นักท่องเที่ยวจะต้องเดินเท้าเข้าไปชม ตลอดเส้นทางเดินชมน้ำตกมีทั้งความงามและความตื่นเต้นท้าทาย เช่น ชั้นน้ำตกที่ต้องปีนผาไปตามรากไทรสูงราว 20 เมตร กระทั่งถึงน้ำตกชั้นบนสุดซึ่งมีขนาดสูงใหญ่ งดงามยิ่ง นักท่องเที่ยวสามารถเดินขึ้นน้ำตกได้ถึงชั้นที่ 9 ระยะทาง 2.5 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินขึ้นเกือบ 2 ชั่วโมง ส่วนชั้นที่ 10–16 ต้องมีเจ้าหน้าที่นำทาง ใช้เวลาเดินอีก 1 ชั่วโมง บริเวณน้ำตกมีบ้านพักรับรองบริการนักท่องเที่ยว
- นอกจากนี้ที่เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าน้ำตกเขาสอยดาว ยังมี เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ชื่อเส้น “ลีลาไทร” เริ่มจากที่ทำการเขตรักษาพันธุ์น้ำตกเขาสอยดาว ระหว่างเส้นทางจะพบพูพอน ไลเคน ไทร ยางแดง โป่งธรรมชาติ แต่ละเส้นทางจะมีคำบรรยายเขียนไว้ ใช้เวลาเดินประมาณ 2 ชั่วโมง ระยะทาง 2 กิโลเมตร
สถานที่พัก
- ทางเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าน้ำตกเขาสอยดาว มีบริการบ้านพักไว้สำหรับนักท่องเที่ยว จำนวน 3 หลัง พักได้ 10-50 คน ในกรณีที่นำเต็นท์มาเองเสียค่าพื้นที่กางเต็นท์ ราคา 30 บาท/คน/คืน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว อำเภอเขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี 22180 โทร. 0 1384 5164 หรือกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรุงเทพฯ โทร. 0 2562 0760 วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-18.00 น., วันเสาร์ เวลา 09.00-15.30 น. หรือ

0 ความคิดเห็น: