วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบูรณ์

:: จังหวัดเพชรบูรณ์ ::

" เมืองมะขามหวาน อุทยานน้ำหนาว ศรีเทพเมืองเก่า เขาค้ออนุสรณ์ นครพ่อขุนผาเมือง "


จังหวัดเพชรบูรณ์ :: ข้อมูลทั่วไป

เพชรบูรณ์ เป็นจังหวัดภาคเหนือตอนล่างที่ตั้งอยู่ระหว่างภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สันนิษฐานว่าเป็นเมืองที่สร้าง มา 2 ยุค คือ สมัยสุโขทัยเป็นราชธานีและสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เดิมมีชื่อว่า "เพชรบุร" หรือ "พืชปุระ" อันหมายถึงเมืองแห่งพืชพันธุ์ธัญญาหาร

จังหวัดเพชรบูรณ์ ตั้งอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 346 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 12,668.416 ตารางกิโลเมตร อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 114 เมตร

อาณาเขตและการปกครอง
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดเลย
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดลพบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดชัยภูมิ และขอนแก่น
ทิศตะวันตก ติดต่อกับพิษณุโลก พิจิตร และนครสวรรค์

จังหวัดเพชรบูรณ์ แบ่งการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ คือ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ อำเภอหล่มสัก อำเภอหล่มเก่า อำเภอชนแดน อำเภอหนองไผ่ อำเภอบึงสามพัน อำเภอวิเชียรบุรี อำเภอศรีเทพ อำเภอวังโป่ง อำเภอน้ำหนาว และอำเภอเขาค้อ


ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอต่างๆ
อำเภอเขาค้อ 47 กิโลเมตร
อำเภอหล่มสัก 15 กิโลเมตร
อำเภอหล่มเก่า 57 กิโลเมตร
อำเภอน้ำหนาว 141 กิโลเมตร
อำเภอวังโป่ง 70 กิโลเมตร
อำเภอชนแดน 52 กิโลเมตร
อำเภอหนองไผ่ 58 กิโลเมตร
อำเภอบึงสามพัน 84 กิโลเมตร
อำเภอวิเชียรบุรี 107 กิโลเมตร
อำเภอศรีเทพ 122 กิโลเมตร

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ (รหัสทางไกล 056)
สำนักงานจังหวัด
721-709

ททท.สำนักงานภาคเหนือเขต 3 จ.พิษณุโลก
(055)252-745

ตำรวจท่องเที่ยว
1155

ตำรวจทางหลวง จ.พิษณุโลก
(055) 259-503

ตู้ยามสุโขทัย
(055) 612-993

ตู้ยามอุตรดิตถ์
(055) 412-193

สถานีตำรวจภูธร อ.เมือง
711-005

สถานีขนส่งจังหวัด
721-581

ไปรษณีย์จังหวัด
711-009

รพ.เพชรบูรณ์
711-025-6

รพ.หล่มสัก
701-129

รพ.ชนแดน
761-301-2

รพ.หนองไผ่
781-902-3

รพ.บึงสามพัน
731-284-5

รพ.วิเชียรบุรี
791-267 , 791-269

รพ.ศรีสุเทพ
799-467

รพ.น้ำหนาว
779-033


จังหวัดเพชรบูรณ์ :: สถานที่ท่องเที่ยว อำเภอเมือง

วัดมหาธาตุ
ตั้งอยู่บนถนนนิกรบำรุง ในเขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองเพชรบูรณ์ มีพระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์แบบสุโขทัย สูงประมาณ 3 วา สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า วัดนี้คงสร้างมาแต่ในสมัยกรุงสุโขทัย

เสาหลักเมืองเพชรบูรณ์
ประดิษฐานอยู่ที่ศาลเทพารักษ์ หลักเมือง ถนนหลักเมือง ใจกลางเมืองเพชรบูรณ์ เป็นเสมาหินที่สมเด็จกรมพระยาดำเรงราชานุภาพ ทรงนำมาจากเมืองศรีเทพ เมื่อปี พ.ศ. 2447 เป็นเสาหลักเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย

วัดไตรภูมิ
ตั้งอยู่บนถนนเพชรรัตน์ เป็นวัดเก่าแก่ที่ประดิษฐานของพระพุทธมหาธรรมราชา พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องศิลปะสมัยลพบุรี ชาวบ้านพบในแม่น้ำป่าสักบริเวณหน้าวัด จึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดนี้

ต่อมาพระพุทธรูปองค์นี้ได้หายไป และมีผู้พบในแม่น้ำตรงที่พบครั้งแรกอีก จึงถือกันเป็นประเพณีของจังหวัดเพชรบูรณ์ว่า เมื่อถึงเทศกาลสารทไทย จะมีการแห่พระพุทธมหาธรรมราชาไปรอบเมือง จนถึงบริเวณที่พบพระพุทธรูป จากนั้นตัวแทนของชาวเมืองเพชรบูรณ์ คือ ผู้ว่าราชการจังหวัดจะเป็นผู้อุ้มพระพุทธรูปลงดำไปยังก้นแม่น้ำ แล้วโผล่ขึ้นมา ทำเช่นนี้จนครบทั้ง 4 ทิศ ถือว่าเป็นสิริมงคลแก่จังหวัด และถ้าไม่ได้กระทำพิธีอุ้มพระดำน้ำจะเกิดฝนแล้ง พิธีอุ้มพระดำน้ำนี้จะทำในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10

วัดพระแก้ว วัดพระสิงห์และวัดเสือ
ตั้งอยู่ที่ตำบลในเมือง เป็นวัดเก่าแก่ที่ตั้งอยู่เรียงกัน โดยวัดพระสิงห์อยู่ทางทิศเหนือ วัดพระแก้วอยู่ตรงกลาง และวัดพระเสืออยู่ทางทิศใต้ มีโบราณสถานสำคัญคือ "พระปรางค์" ที่วัดพระแก้ว และพระเจดีย์หลังพระอุโบสถในวัดพระสิงห์ กรมศิลปากรได้สันนิษฐานว่า พระพุทธรูปที่ขุดพบนั้นสร้างมานานกว่าเจ็ดร้อยปี ขณะนี้พระปรางค์และพระเจดีย์ยังมีให้เห็นอยู่ นอกจากนี้ยังมีกรุและโอ่งพระพุทธรูป และของสำคัญต่างๆ เช่น เครื่องปั้นดินเผา พระพุทธรูปทองคำเนื้อสัมฤทธิ์ เนื้อเงิน แผ่นทองคำ และพระผงดินเผา แบบสุโขทัย

บริษัทจุลไหมไทย จำกัด
ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 21 (สระบุรี-หล่มสัก) ก่อนถึงตัวเมืองเพชรบูรณ์ ประมาณ 21 กิโลเมตร ใกล้สามแยกวังชมภู เป็นบริษัทที่ผลิตเส้นใยไหม กรรมวิธีการผลิตยังคงใช้แรงงานเป็นหลัก เริ่มจากการฟักไข่ไหมเป็นตัวหนอนและเข้าดักแด้ จากนั้นจึงนำมาสาวใยไหมออกเป็นเส้น นอกจากนี้ยังมีไร่หม่อนกว่า 2,000 ไร่ นักท่องเที่ยวสามารถขอเข้าชมการผลิตเส้นใยไหมได้ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-ธันวาคม ผู้เข้าชมเป็นหมู่คณะกรุณาติดต่อล่วงหน้า เพื่อจัดเตรียมวิทยากรบรรยายที่ โทร. (056) 771102-6

เขารัง
เป็นจุดชมวิวที่กว้างไกล อากาศดี ตั้งอยู่บนเส้นทางสายเพชรบูรณ์-ตะพานหิน ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อเปิดเมืองเพชรบูรณ์ ถนนสายนี้ได้คร่าชีวิตผู้คนที่สร้างทางจำนวนมาก โดยเสียชีวิตด้วยโรคไข้มาลาเรีย

สวนรุกขชาติผาเมือง
ชาวบ้านรู้จักกันในชื่อ "หนองนารี" ตั้งอยู่ริมถนนนารีพัฒนา หมู่ที่ 5 ตำบลสะเดียง หลังสนามกีฬาจังหวัดเพชรบูรณ์ ห่างจากตัวเมือง 2 กิโลเมตร มีบึงน้ำขนาดใหญ่ บรรยากาศร่มรื่น มีร้านอาหาร เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวเพชรบูรณ์

อ่างเก็บน้ำชลประทางห้วยป่าแดง
เป็นอ่างเก็บน้ำที่กรมชลประทานสร้างกั้นห้วยป่าแดง ในเขตตำบลป่าเล่า อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ อยู่ทางด้านทิศตะวันตก ห่างจากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 2006 ประมาณ 8 กิโลเมตร

ชาวเมืองเพชรบูรณ์ เรียกอ่างเก็บแห่งนี้ว่า “ทะเลสาบเพชรบูรณ์” เป็นสถานที่พักผ่อนที่มีความสวยงามมากอีกแห่งหนึ่ง ภายในบริเวณอ่างเก็บน้ำ มีเพิงขายอาหารประเภทข้าวเหนียวส้มตำ และที่มีชื่อที่สุดคือ ปลานิลทอดและปลานิลเผา ห้วยป่าแดง

น้ำตกตาดหมอก
เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามมาก ลักษณะเป็นชั้นๆ ลดหลั่นลงมาทั้งหมด 12 ชั้น ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 6 ตำบลนาป่า ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 37 กิโลเมตร โดยใช้ถนนเพชรเจริญ สู่บ้านเฉลียงลับ ระยะทาง 14 กิโลเมตร จากนั้นใช้เส้นทางสายห้วยใหญ่ บ้านน้ำร้อน จนมาบรรจบกับทางหลวงหมายเลข 2275 จากจุดนี้เลี้ยวขวาไปอีกประมาณ 300 เมตร จะเห็นทางเข้าน้ำตกทางซ้ายมือ เลี้ยวซ้ายไปตามไหล่เขาประมาณ 20 กิโลเมตร แล้วเดินเท้าอีกประมาณ 1,800 เมตร


:: อุทยานแห่งชาติตาดหมอก ::

:: ข้อมูลทั่วไป ::
อุทยานแห่งชาติตาดหมอก จังหวัดเพชรบูรณ์ เนื่องจากบริเวณที่ดินป่าตะเบาะ และป่าห้วยใหญ่ ในท้องที่ตำบลห้วยใหญ่ ตำบลบ้านโคก และตำบลนาป่า อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วย ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น พันธุ์ไม้ ของป่า สัตว์ป่านานาชนิด ตลอดจนทิวทัศน์ ป่า ภูเขา และน้ำตกที่สวยงามยิ่ง สมควรกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 เพื่อสงวนไว้ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิม มิให้ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไป เพื่อประโยชน์แก่การศึกษา และรื่นรมย์ของประชาชน และเพื่ออำนวยประโยชน์อื่นแก่รัฐและประชาชน มีเนื้อที่ประมาณ 181,250 ไร่ หรือ 290 ตารางกิโลเมตร

เมื่อปี พ.ศ. 2532 จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้พบน้ำตกสวยงามเหมาะสมที่จะปรับปรุงเป็นแหล่งท่องเที่ยว จึงได้ขอให้กรมป่าไม้ทำการสำรวจพื้นที่ส่วนหนึ่ง ของป่าสงวนแห่งชาติป่าตะเบาะ และป่าห้วยใหญ่ ซึ่งอยู่ในพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ และกรมป่าไม้ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการเมื่อกลางปี งบประมาณ 2534

กรมป่าไม้ได้มีหนังสือ ที่ กษ 0712.3/244 ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2539 ตามมติที่ประชุม คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2537 เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2537 การจัดตั้งอุทยานแห่งชาติตาดหมอก จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้เห็นชอบให้กรมป่าไม้ดำเนินการตราพระราชกำหนดบริเวณที่ดินป่าตะเบาะและป่าห้วยใหญ่ ในท้องที่ตำบลห้วยใหญ่ ตำบลบ้านโคก และตำบลนาป่า อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ นำเสนอร่างพระราชกำหนดให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ

ต่อมาส่วนอุทยานแห่งชาติได้มี หนังสือ ที่ กษ 0712.3/1275 ลงวันที่ 14 สิงหาคม 2539 ให้ส่งข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาร่างพระราชกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ได้พิจารณาตามคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ 22 ธันวาคม 2535 ว่าพื้นที่ทีจะกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติมีราษฎรอาศัยหรือทำกินหรือไม่ และได้รับรายงานจากอุทยานแห่งชาติตาดหมอก ตามหนังสือ ที่ กษ 0712.425/65 ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2539 ว่า พื้นที่ที่จะกำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติ ไม่มีราษฎรบุกรุกครอบครองแต่อย่างใด เนื่องจากหน่วยราชการต่าง ๆ และราษฎรในท้องที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ร่วมมือกันเป็นอย่างดีเพื่อรักษาพื้นที่ป่าอนุรักษ์นี้ เพื่อจะได้เสนอประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2539 อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกา กำหนดบริเวณที่ดินป่าตะเบาะ และป่าห้วยใหญ่ ในท้องที่ตำบลห้วยใหญ่ ตำบลบ้านโคก และตำบลนาป่า อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ตามหนังสือ ที่ นร 0214/13816 ลงวันที่ 26 กันยายน 2539 และส่งร่างพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้ไปเพื่อสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาตามมติคณะรัฐมนตรีต่อไป

สำนักงานคณะ กรรมการกฤษฎีกาได้มีหนังสือ ที่ นร 0602/105 ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2540 ว่าได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชกำหนดดังกล่าวข้างต้นเสร็จแล้ว พื้นที่ที่จะกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชกำหนดนี้ทับซ้อนกับพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ คือ ป่าสงวนแห่งชาติป่าตะเบาะและป่าห้วยใหญ่ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 619 (พ.ศ. 2516) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 การทับซ้อนกับพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ดังกล่าว สมควรให้กรมป่าไม้ ดำเนินการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติ ในส่วนที่ทับซ้อน กับพื้นที่อุทยานแห่งชาติตามร่างพระราชกำหนดต่อไป และกรมป่าไม้แจ้งยืนยันร่างพระราชกฤษฎีกา กำหนดตามร่างคณะกรรมการกฤษฎีกาแก้ไข สำหรับข้อสังเกตของสำนักงานกฤษฎีกาฯ ที่ให้กรมป่าไม้ออกกฎกระทรวงเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติ ที่ทับซ้อนกับพื้นที่ที่ได้ประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติจะดำเนินการภายหลัง

อุทยานแห่งชาติตาดหมอก ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชกฤษฎีกา ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 115 ตอนที่ 78 ก หน้า 11 เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2541 จัดเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 87 ของประเทศไทย


:: ลักษณะภูมิประเทศ ::
เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน เป็นต้นกำเนิดของห้วยน้ำดำ ห้วยผึ้ง ห้วยกกไฮ ฯลฯ ซึ่งเป็นต้นน้ำลำธารของลุ่มน้ำป่าสัก และลุ่มน้ำชี เป็นผืนป่าเดียวกันกับป่าอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตะเบาะ-ห้วยใหญ่

อาณาเขตทิศเหนือติดกับอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูผาแดง จังหวัดเพชรบูรณ์ ทิศใต้จดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตะเบาะ-ห้วยใหญ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ทิศตะวันออกจดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดเพชรบูรณ์ ทิศตะวันตกจด อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์


:: ลักษณะภูมิอากาศ ::
โดยทั่วไปอากาศหนาวเย็นในตอนดึกและตอนเช้า ส่วนใหญ่ตอนกลางวันอากาศเย็นสบาย ในฤดูฝนจะมีฝนตกชุกระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม ส่วนใหญ่ฤดูหนาว อากาศหนาวเย็นมาก อากาศจะหนาวเย็นที่สุดในเดือนธันวาคมและมกราคม


:: พรรณไม้และสัตว์ป่า ::
ส่วนที่ติดต่อกับอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวประกอบด้วยป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ หนาแน่นด้วยพันธุ์ไม้ชนิดต่างๆ ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ เช่น ตะเคียน ยาง แดง สัก ก่อ ประดู่ ตะแบก ไผ่ ฯลฯ เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าหลายชนิด ได้แก่ ช้างป่า เลียงผา หมูป่า เก้ง ลิง นกนานาชนิด สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และปลาชนิดต่าง ๆ


:: ที่ตั้งและการเดินทาง ::
อุทยานแห่งชาติตาดหมอก
ตู้ ปณ.4 อ. เมืองเพชรบูรณ์ จ. เพชรบูรณ์ 67000
โทรศัพท์ : 0 9703 8855

รถยนต์
จากศาลากลางจังหวัดเพชรบูรณ์ไปทางทิศตะวันออกตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2271 ถึงบ้านเฉลียงลับระยะทาง 12 กิโลเมตร ถึงสามแยกเลี้ยวขวาไปทางบ้านน้ำร้อน ตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2275 ประมาณ 200 เมตร เลี้ยวซ้ายขึ้นอุทยานแห่งชาติตาดหมอก ตามเส้นทาง รพช. (บ้านเฉลียงลับ- ตาดหมอก) ระยะทาง 19 กิโลเมตร ถึงลานจอดรถแล้วเดินด้วยเท้าตามลำห้วยอีก 2 กิโลเมตร เพื่อชมความงามน้ำตกตาดหมอก และน้ำตกสองนาง


:: แหล่งท่องเที่ยว ::
อุทยานแห่งชาติตาดหมอก ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ เนื้อที่ประมาณ 181,250 ไร่ หรือ 290 ตารางกิโลเมตร มีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น พันธุ์ไม้ ของป่า สัตว์ป่านานาชนิด ตลอดจนทิวทัศน์ ป่า ภูเขา และน้ำตกที่สวยงามยิ่ง มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ เช่น


:: ด้านธรรมชาติที่สวยงาม ::
น้ำตกตาดหมอก ต้นกำเนิดจากเขาตาดหมอก เป็นน้ำตกสูงเด่นไหลลงจากหน้าผาสูงมีชั้นเดียวโดดๆ ความสูงประมาณ 200-300 เมตร สายน้ำที่โจนลงมาจากหน้าผาสูงทำให้สายน้ำแตกกระจายเป็นละอองน้ำคละคลุ้งไปทั่ว ยิ่งในช่วงฤดูฝนที่มีปริมาณน้ำมาก ละอองน้ำจะฟุ้งกระจายจนไม่สามารถยืนอยู่ใกล้น้ำตกได้ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปตามทางถนน 7 กิโลเมตร แล้วเดินลัดเลาะไปตามลำห้วยอีกประมาณ 2 กิโลเมตร จะถึงน้ำตก ทางช่วงสุดท้ายเป็นทางขึ้นเขาชัน


น้ำตกสองนาง เป็นน้ำตกที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง เพราะสายน้ำจะไหลผ่านโขดหินลดหลั่นกันลงมาทั้งหมด 12 ชั้น แต่ละชั้นสูงต่ำไม่เท่ากัน มีตั้งแต่ชั้นที่สูงเพียง 5 เมตร และชั้นที่สูงถึง 100 เมตร ไหลลงสู่คลองห้วยบง สู่เขื่อนบ้านเฉลียงลับ สิ้นสุดที่แม่น้ำป่าสัก น้ำตกตั้งอยู่บนเส้นทางเดียวกับน้ำตกตาดหมอก โดยมีทางแยกไปน้ำตกสองนางก่อนถึงน้ำตกตาดหมอก


ผาสวรรค์ เป็นหน้าผาสูง 50 เมตร ยาว 200 เมตร มองเห็นทิวทัศน์แม่น้ำเลย ภูหลวง ภูหอ และภูกระดึง ได้อย่างชัดเจน ผาสวรรค์ตั้งอยู่ที่บ้านดงคล้อย ตำบลวังกวาง อำเภอน้ำหนาว


แหล่งท่องเที่ยวอิ่นๆ อุทยานแห่งชาติตาดหมอกยังมีสถานที่ที่น่าสนใจอื่นอีก เช่น ผาน้ำเที่ยง เป็นหน้าผาที่ทอดตัวขนานกับแม่น้ำเลน ยาว 500 เมตร สูง 100 เมตร น้ำตกวังหินแร่ เลยดั้น จุดชมทิวทัศน์ระหว่างกิโลเมตรที่ 3 – กิโลเมตรที่ 7 (ทางขึ้นน้ำตก) เป็นต้น



:: สิ่งอำนวยความสะดวก ::
ห้องสุขาชาย มีห้องสุขาชายให้บริการ


ห้องสุขาหญิง มีห้องสุขาหญิงให้บริการ


ที่พักแรม/บ้านพัก อุทยานแห่งชาติได้จัดเตรียมบ้านพักไว้ให้บริการ


สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์ และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว บริเวณใกล้คลองน้ำ การสำรองที่พักเต็นท์ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียด และสำรองที่พักเต็นท์ได้กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง


ที่จอดรถ มีลานจอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.



:: อุทยานแห่งชาติเขาค้อ ::

:: ข้อมูลทั่วไป ::
อุทยานแห่งชาติเขาค้อ เป็นอุทยานแห่งชาติที่อยู่ระหว่างการดำเนินการสำรวจจัดตั้งใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ป่าท้องที่ อำเภอหล่มเก่า อำเภอหล่มสัก อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ และอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ มีเนื้อที่ 304,521 ไร่

บริเวณพื้นที่ป่าที่จะประกาศกำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติเขาค้อ เดิมเป็นวนอุทยานน้ำตกธารทิพย์ จัดตั้งเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2538 มีเนื้อที่ประมาณ 14 ตารางกิโลเมตร หรือ 8,750 ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาโปลกหล่น จากดำริของผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และผู้อำนวยการส่วนอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2543 (การประชุมสัมมนาหัวหน้าวนอุทยาน) ให้หัวหน้าวนอุทยาน สำรวจสภาพพื้นที่โดยรอบ มีศักยภาพและความเหมาะสมเพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยมีนายชลธร ชำนาญคิด นักวิชาการป่าไม้ 7 ว ส่วนอุทยานแห่งชาติเป็นผู้สำรวจข้อมูลเบื้องต้น

เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2544 ส่วนอุทยานแห่งชาติกรมป่าไม้ (ในขณะนั้น) ได้สั่งนายเผชิญโชค เสนากาญจน์ เจ้าหน้าที่บริหารงานป่าไม้ 7 สำรวจสภาพและควบคุมพื้นที่ป่าบริเวณที่กรมประชาสงเคราะห์ส่งมอบคืน ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาโปลกหล่น และป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาปางก่อ และป่าวังชมภู รวม 3 แห่ง ซึ่งเป็นป่าต้นน้ำลำธารของลุ่มน้ำสำคัญ 2 ลุ่มน้ำ คือ ลุ่มน้ำป่าสัก และลุ่มน้ำยม-น่าน ท้องที่ตำบลบ้านเนิน อำเภอหล่มเก่า ตำบลน้ำก้อ ตำบลน้ำชุน ตำบลบุ่งน้ำเต้า และตำบลบุ่งคล้า อำเภอหล่มสัก ตำบลท่าพลและตำบลป่าเลา อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ ตำบลแค็มป์สน ตำบลทุ่งสมอ ตำบลริมสีม่วง ตำบลเขาค้อ ตำบลสะเดาะพง และตำบลหนองแม่นา อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อประกาศกำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติเขาค้อ

อุทยานแห่งชาติเขาค้อ มีความหลากหลายทางชีวภาพ พันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและทิวทัศน์ที่สวยงาม เช่น น้ำตก ถ้ำ เกาะ แก่ง หน้าผา จุดชมทิวทัศน์ แหล่งประวัติศาสตร์ของสมรภูมิการสู้รบ ระหว่างรัฐบาลกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์เป็นเวลายาวนานจึงสงบ ปัจจุบันได้มีการจัดสร้างอนุสาวรีย์ผู้เสียสละจารึกชื่อผู้เสียชีวิตจากการสู้รบในสงคราม โดยเฉพาะอย่างยิ่งชื่อหมู่บ้าน/สะพานจะใช้ชื่อ/นามสกุล เป็นอนุสาวรีย์แก่ผู้เสียสละชีวิตหลายท่าน พระตำหนักเขาค้อที่สวยงาม สร้างไว้ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสที่ทรงเสด็จที่เขาค้อ เพชรบูรณ์ เป็นที่ประทับแรม ฯลฯ


:: ลักษณะภูมิประเทศ ::
มีลักษณะเป็นภูเขาทอดยาวตามแนวทิศเหนือไปทิศใต้ ตอนบนสุดเป็นภูเขาสูงชัน มีความสูง จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ตั้งแต่ 155 เมตร จนถึง จุดสูงสุด 1,593 เมตร และเนื่องจากภูเขาในแถบนี้เป็นภูเขาที่การจากการยกตัวในอดีตทำให้มีลักษณะเป็นภูเขาหินทรายยอดราบ หรือมีที่ราบอยู่บานยอดเขา เช่น แหล่งท่องเที่ยวของเพชรบูรณ์ “ภูทับเบิก” เป็นภูสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,786 เมตร และบริเวณตอนใต้ของพื้นที่สำรวจในเขตอำเภอเขาค้อ และอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ (บริเวณเขาย่า) จะมีลักษณะเป็นสันเขายาวลาดลงทางทิศเหนือ – ตะวันตก แต่บริเวณเชิงเขาค้อ ในเขตอำเภอหล่มเก่า อำเภอหล่มสัก อำเภอเขาค้อ (ทางส่วนตะวันตก) จะเป็นหน้าผาสลับซับซ้อน อันเนื่องมาจากการกัดเซาะ เพราะบริเวณขอบเขานั้น เป็นหินทรายที่ยังจับตัวกันไม่แน่น ทำให้ง่ายต่อการกัดเซา


:: ลักษณะภูมิอากาศ ::
ลักษณะภูมิอากาศที่ทำการศึกษา ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ปริมาณน้ำฝน จากการรวบรวมข้อมูลจากสถานีตรวจวัดอากาศ ตั้งอยู่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาค้อ ที่ 33 หมู่ 11 ตำบลบุ่งน้ำเต้า อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ UTM 276434 ซึ่งเริ่มเก็บสถิติ เมื่อเดือนมิถุนายน 2542 ซึ่งจะเห็นได้ว่า จากการที่พื้นที่อยู่ในที่สูง จึงมีอุณหภูมิค่อนข้างต่ำ อีกทั้งปริมาณน้ำฝนและความชื้นสัมพัทธ์ค่อนข้าง โดยแบ่งให้เห็นชัดเจนดังนี้

ฤดูหนาว ประมาณเดือนพฤศจิกายน-กลางเดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิค่อนข้างหนาวเย็น
ฤดูร้อน ประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์-กลางเดือนพฤษภาคม มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 21.93 องศาเซลเซียส อากาศค่อนข้างร้อนช่วงกลางวัน
ฤดูฝน ประมาณกลางเดือนพฤษภาคม-เดือนตุลาคม ปริมาณน้ำฝนค่อนข้างสูง ถึงประมาณ 1,425.75 มิลิเมตรต่อปี มีฝนตกปีละ 126 วัน จะมีฝนตกชุก 70% ของทั้งปี


:: พรรณไม้และสัตว์ป่า ::
ป่าไม้ของอุทยานแห่งชาติเขาค้อ มีทั้งป่าธรรมชาติและป่าปลูก (ส่วนใหญ่เป็นป่าปลูกกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ของเนื้อที่) ประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ (ประเภทที่ไม่มีไม้สัก) ป่าเต็งรังหรือป่าแดง ป่าดงดิบ ทุ่งหญ้า พันธุ์ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น ยาง สัก ประดู่ แดง มะค่าโมง เต็ง รัง ตะเคียนทอง สนเขา ก่อ สมุนไพร กล้วยไม้ป่าต่างๆ ฯลฯ

สภาพป่าดังกล่าวเป็นที่อยู่อาศัย/แหล่งอาหาร/ที่หลบภัยของสัตว์ป่า เช่น ช้างป่า เสือไฟ หมูป่า กระจง เม่น กระต่ายป่า ค่าง อีเห็น ตะกวด ไก่ป่า ลิงลมหรือนางอาย งูชนิดต่างๆ นอกจากนี้ยังมีนกชนิดต่างๆ อีกกว่า 100 ชนิด และความหลากหลายของผีเสื้อ


:: ที่ตั้งและการเดินทาง ::
อุทยานแห่งชาติเขาค้อ
33 หมู่ที่ 11 ต.บุ้งน้ำเต้า อ. หล่มสัก จ. เพชรบูรณ์ 67110
โทรศัพท์ : 0 1226 0565

รถยนต์
จากกรุงเทพมหานคร ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 ถึงจังหวัดสระบุรีไปจนถึงสวนพฤกษศาสตร์พุแค ตรงกิโลเมตร 125 แยกขวามือเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 21 (สระบุรี–หล่มสัก) ต่อไปอีก 221 กิโลเมตร ถึงจังหวัดเพชรบูรณ์รวมระยะทางทั้งสิ้น ประมาณ 346 กิโลเมตร และจากตัวเมืองเพชรบูรณ์ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 21 ( สระบุรี - หล่มสัก) สายเพชรบูรณ์ – หล่มสัก ประมาณ 28 กิโลเมตร บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 250 สี่แยกบุ่งน้ำเต้า จากนั้นแยกซ้ายตามทางหลวงหมายเลข 2302 (บุ่งน้ำเต้า–ทุ่งสมอ) ระยะทาง 4 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายอีก 1 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาค้อ (ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก) รวมระยะทาง 32 กิโลเมตร ที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาค้อ อยู่ห่างจากอำเภอหล่มสัก 21 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากสนามบินเพชรบูรณ์ 9 กิโลเมตร


:: แหล่งท่องเที่ยว :: ด้านธรรมชาติที่สวยงาม ::
น้ำตกธารทิพย์ ตั้งอยู่ในตำบลบุ่งน้ำเต้า อำเภอหล่มสัก จากหลักกิโลเมตร 250 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21 (สระบุรี-หล่มสัก) สี่แยกบุ่งน้ำเต้า (แยกศาลหลักเมืองนครบาลเพชรบูรณ์) เข้าไปทางหลวงจังหวัดหลายเลข 2302 (สายบุ่งน้ำเต้า-ทุ่งสมอ) ระยะทาง 4 กิโลเมตร และมีทางแยกเข้าน้ำตกระยะทาง 2.4 กิโลเมตร สภาพน้ำตกเป็นน้ำตกชั้นเดียว สูงประมาณ 26 เมตร กว้างประมาณ 30 เมตร ตลอดเส้นทางจะมีจุดให้ศึกษาธรรมชาติ มีน้ำไหลตลอดทั้งปี บริเวณหน้าน้ำตกมีแอ่งน้ำใหญ่และมีหาดทรายสวยงามตระการตา เหมาะสำหรับเล่นน้ำ


น้ำตกวังน้ำริน เป็นน้ำตกขนาดเล็ก มีน้ำผุดตลอดทั้งปี สูงประมาณ 5 เมตร เต็มไปด้วยเฟินนานาชนิด อยู่ห่างจากน้ำตกธารทิพย์ ประมาณ 150 เมตร เหนือวังน้ำรินขึ้นไปจะเป็นจุดชมทิวทัศน์สามารถมองเห็นทัศนียภาพของน้ำตกธารทิพย์ได้อย่างชัดเจน


น้ำตกขั้นบันได เป็นน้ำตกมีลักษณะคล้ายขั้นบันไดบ้าน ประมาณ 20 กว่าขั้น อยู่ตอนเหนือน้ำของน้ำตกธารทิพย์ประมาณ 4 กิโลเมตร นอกจากนี้ตามริมลำธารยังมีความสวยงามร่มรื่นเหมาะสำหรับการพักผ่อน


น้ำตกแก่งเลียงผา เป็นน้ำตกที่มีอดีตเล่าต่อกันมาว่า ได้มีเลียงผาอาศัยอยู่บริเวณนี้เป็นจำนวนมาก น้ำตกแก่งเลียงผาอยู่ตอนเหนือน้ำของน้ำตกขั้นบันไดประมาณ 300 เมตร มีลักษณะเป็นลานหินกว้างและเป็นหน้าผาที่สูงชันที่มีความงดงามตามธรรมชาติ


น้ำตกตาดฟ้า ตั้งอยู่ทางตอนเหนือในเขตอำเภอหล่มเก่า และอำเภอหล่มสัก ทางเข้าน้ำตกตาดฟ้าแยกจากทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2008 ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร เป็นน้ำตกชั้นเดียว มีความสูงประมาณ 40 เมตร กว้างประมาณ 100 เมตร เป็นน้ำตกที่มีความสูงและใหญ่ที่สุดของอุทยานแห่งชาติเขาค้อ เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบผจญภัยเดินป่าชมธรรมชาติหรือล่องแก่งล่องน้ำตามลำธาร


น้ำตกวังตุ้ม อยู่ในเขตตำบลแค็มป์สน อำเภอเขาค้อ การเดินทางจากตำบลแค็มป์สนไปยังบ้านดงหลง แล้วเดินเท้าต่ออีกประมาณ 1 กิโลเมตร น้ำตกวังตุ้มมีความสูงประมาณ 40 กิโลเมตร อยู่ในห้วยซำม่วง ด้านหน้ามีแอ่งน้ำขนาดใหญ่ เหมาะสำหรับการพักผ่อน


น้ำตกผาลาด อยู่ในท้องที่ตำบลบุ่งคล้า อำเภอหล่มสัก สามารถเดินทางเข้าไปยังที่ทำการวนอุทยานน้ำตกธารทิพย์ แล้วเดินตามเส้นทางเดินป่าอีกประมาณ 5 กิโลเมตร หรือเดินทางไปยังบ้านหัวนา ตำบลบุ่งคล้า แล้วเดินตามทางเดินป่าอีกประมาณ 2 กิโลเมตร น้ำตกผาลาดเป็นน้ำตกจากหน้าผาเหมาะสำหรับผู้ที่ชอบเดินป่า จากน้ำตกผาลาดสามารถเดินตามทางเดินป่าเชื่อมต่อไปยัง น้ำตกธารทิพย์ น้ำตกขั้นบันได จุดชมวิวเขาแก้ว น้ำตกห้วยจอก ซึ่งจะผ่านสภาพป่าที่หลากหลายและวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม


น้ำตกห้วยใหญ่ อยู่ในเขตตำบลท่าพล อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ การเดินทางยังไม่สะดวก เดินทางเข้าถึงได้เฉพาะฤดูหนาว-ร้อน จากบริเวณบ้านอมชี ตำบลท่าพล ไปทางตะวันตกเข้าไปตามทางอีกประมาณ 8 กิโลเมตร แล้วเดินเท้าต่อไปอีกประมาณ 4 กิโลเมตร หรือจะเดินป่าจากน้ำตกธารทิพย์ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร น้ำตกห้วยใหญ่มีขนาดใหญ่ ความสูงประมาณ 12-20 เมตร


ถ้ำใหญ่น้ำก้อ ทางเข้าแยกจากทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2008 ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร อยู่บนหน้าผาเขาน้ำก้อใหญ่ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,023 เมตร เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปและเป็นที่เคารพบูชาของชาวบ้านน้ำก้อและใกล้เคียง สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของอำเภอหล่มสักได้ไกลมาก


ถ้ำสมบัติ จากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21 เข้าไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2001 ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์สมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่งเล่ากันว่าสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้นำทองแท่ง สมบัติของประเทศมาซ่อนและหลบภัยในถ้ำจึงมีชื่อว่า “ถ้ำสมบัติ” เนื่องจากมองเห็นสภาพภูมิประเทศของเพชรบูรณ์ มีลักษณะเป็นภูเขาล้อมรอบ เหมาะที่จะตั้งเพชรบูรณ์เป็นเมืองหลวงของประเทศไทย (นครบาล) เมื่อ พ.ศ. 2485


จุดชมทิวทัศน์ดอยน้ำเพียงดิน จุดชมทิวทัศน์ดอยน้ำเพียงดิน อยู่ริมทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2331 หลักกิโลเมตรที่ 13 จะมองเห็นทิวทัศน์ อำเภอหล่มสัก อำเภอหล่มเก่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ภูหอ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง ภูผาจิต อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว


จุดชมทิวทัศน์สวนรัชมังคลาภิเษก ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 หลักกิโลเมตรที่ 108 ทิวทัศน์ผาซ่อนแก้ว เขาน้ำก้อใหญ่ ผาดำ


น้ำตกสามสิบคต น้ำตกสามสิบคต บ้านพัฒนวรพงษ์ น้ำตกชั้นเดียวที่มีความสวยงาม/น้ำใส เหมาะแก่การพักผ่อน


เนินมหัศจรรย์ ตามเส้นทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2258 (นางั่ว-สะเดาะพง) กิโลเมตรที่ 17.50 ความมหัศจรรย์ของถนนเมื่อขับรถยนต์ถึงจุดนี้ ให้จอดและดับเครื่อง รถยนต์จะถอยหลังขึ้นเนินได้เอง (เป็นภาพลวงตา)


แก่งบางระจัน แก่งบางระจัน หรือแก่งหนองแม่นา เป็นแก่งน้ำในลำน้ำเข็กมีความยาวหลายกิโลเมตร กันเขตอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวงกับอุทยานแห่งชาติเขาค้อ พบแมงกระพรุนน้ำจืด (ซึ่งเป็นสัตว์น้ำที่หายาก) โขดหินสวยงามเป็นขั้นๆ ลำน้ำเข็ก (แม่น้ำวังทอง) ไหลผ่านตลอดทั้งปี สภาพป่าสมบูรณ์ดีมาก สัตว์ป่านานาชนิดรวมทั้งผีเสื้อ


ป่าเปลี่ยนสี ริมทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2302 (บุ่งน้ำเต้า-ทุ่งสมอ) และทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2258 (นางั่ว-สะเดาะพง)


น้ำตกภูทับเบิก น้ำตกภูทับเบิก ตั้งอยู่บ้านทับเบิก ตำบลวังบาล อำเภอหล่มเก่า เป็นน้ำตกชั้นเดียว มีความสูงประมาณ 300 เมตร พิกัด 47 Q 0726695 E 1871286 N ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 958 เมตร จากทางหลวง 2331 เข้าเส้นทางบ้านทับเบิก หมู่ 16 ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร เส้นทางสู่ตัวน้ำตกประมาณ 1,50 เมตร เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบผจญภัยเดินป่าชมธรรมชาติ สภาพป่าสมบูรณ์และมีความสวยงาม เหมาะแก่การพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว


น้ำตกห้วยจอก น้ำตกห้วยจอก อยู่ในเขตตำบลท่าพล อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ การเดินทางเข้าถึงอยู่ในเกณฑ์ไม่สะดวก จากบริเวณบ้านอมชี ตำบลท่าพล ไปทางตะวันตก เข้าไปตามทางลูกรังระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร แล้วเดินเท้าต่ออีกประมาณ 4 กิโลเมตร หรือนักท่องเที่ยวสามารถเดินป่าจากน้ำตกธารทิพย์ ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดเล็ก จำนวน 3 ชั้น น้ำชั้นที่ 1 สูงประมาณ 10 เมตร ด้านหน้าน้ำตกมีแอ่งน้ำ


จุดชมวิวยอดเขาโปลกหล่น จุดชมวิวยอดเขาโปลกหล่น อยู่ริมทางหลวงหมายเลข 2302 (บุ่งน้ำเต้า-ทุ่งสมอ) ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,000 เมตร เป็นลานดินบนยอดเขาและป่าสน มองทิวทัศน์ได้รอบทิศทาง (360 องศา) จะมองเห็นอำเภอเขาค้อทั้งอำเภอ


น้ำตกตาดเพชร น้ำตกตาดเพชร อยู่บริเวณบ้านเพชรช่วย ตำบลสะเดาะพง อำเภอเขาค้อ เป็นน้ำตกที่ค้นพบขึ้นใหม่ มีความสูงหลายชั้น แต่ละชั้นของน้ำตกมีความสวยงามและมีป่าที่สมบูรณ์ พิกัดน้ำตก 47Q 0713662 E 1829641 N


น้ำตกหิมาลัย น้ำตกหิมาลัย เป็นน้ำตกที่ค้นพบใหม่ อยู่ในท้องที่ตำบลป่าเลา อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ กั้นระหว่างอุทยานแห่งชาติเขาค้อกับเขตห้ามล่าสัตว์ป่าวังโป่ง-ชนแดน เป็นน้ำตกชั้นเดียว มีความคล้ายกับน้ำตกแก่งโสภา มีแอ่งน้ำสามารถเล่นน้ำได้ มีสัตว์ป่ามากกว่า 100 ชนิด เดินทางเข้าไปด้านหลังพระตำหนัก ประมาณ 20 กิโลเมตร น้ำตกมีความสวยงามเหมาะแก่การท่องเที่ยวแบบผจญภัย พิกัดน้ำตก 47 Q 707329 E 818746 N


จุดชมทิวทัศน์ผาขาว จุดชมวิวผาขาว อยู่ห่างจากพระตำหนักเขาค้อ ประมาณ 10 กิโลเมตร ความสูง 1,200 เมตร สามารถมองเห็นตัวเมืองเพชรบูรณ์ และอ่างเห็บน้ำเขื่อนป่าแดง


จุดชมทิวทัศน์ยอดเขาย่า จุดชมทิวทัศน์ยอดเขาย่า (ศาลาพระเทพ) อยู่ยอดเขาย่า (ที่ตั้งพระตำหนักเขาค้อ) ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,305 เมตร ทางขึ้นเป็นบันได ระยะทาง 770 เมตร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีได้เคยเสด็จขึ้นไป ณ ศาลาแห่งนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์ 360 องศา



:: ด้านประวัติศาสตร์ ::
ศาลหลักเมืองนครบาลเพชรบูรณ์ ศาลหลักเมืองนครบาลเพชรบูรณ์หรือศาลเมืองหลวงเพชรบูรณ์ มีกำเนิดจากการย้ายเมืองหลวงจากกรุงเทพมหานคร ไปอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อหลบภัยสมครามโลก ครั้งที่ 2 ตามพระราชกำหนดระเบียบการบริหารนครบาลเพชรบูรณ์ และสร้างพุทธบุรี พ.ศ. 2487 เพื่อความเป็นสิริมงคลของเมืองหลวงแห่งใหม่ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและผู้บัญชาการทหารสูงสุด จึงได้กระทำพิธีฝังเสาหลักเมืองนครบาลเพชรบูรณ์ เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2487 ศาลหลักเมืองนครบาลเพชรบูรณ์ ทำด้วยไม้มงคล 9 ชนิด เสาสร้างด้วยไม้ชัยพฤกษ์ 8 เหลี่ยม ยอดเส้นเป็นหัวเม็ดทรงมน ด้านล่างประดับรอบด้วยไม้มงคล 8 ชนิด ปัจจุบันศาลหลักเมืองฯ สร้างเป็นทรงจตุรมุขยอดหกปรางค์ สมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์


ศาลาพระเทพ อยู่ยอดเขาย่า (ที่ตั้งพระตำหนักเขาค้อ) ความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,305 เมตร ทางขึ้นเป็นขั้นบันได ระยะทาง 770 เมตร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ได้เคยเสด็จขึ้นไป ณ ศาลาแห่งนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์ 360 องศา



:: สิ่งอำนวยความสะดวก ::
ห้องสุขาชาย มีห้องสุขาชายไว้บริการ


ห้องสุขาหญิง มีห้องสุขาหญิงไว้บริการ


สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ อุทยานแห่งชาติมีที่พักชั่วคราวและสถานที่กางเต็นท์ให้บริการนักท่องเที่ยว ขอให้ติอต่อสอบถามรายละเอียดกับอุทยานแห่งชาติโดยตรง


ที่จอดรถ มีลานจอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


บริการอาหาร อุทยานฯ มีร้านอาหารไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยว




จังหวัดเพชรบูรณ์ :: การเดินทาง

ทางรถยนต์

จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 ถึงจังหวัดสระบุรีเลยไปจนถึงสวนพฤกษศาสตร์ พุแค ตรงกิโลเมตรที่ 125 แยกขวามือเข้าทางหลวงหมายเลข 21 ต่อไปอีกประมาณ 221 กิโลเมตร ถึงจังหวัดเพชรบูรณ์ รวมระยะทางประมาณ 346 กิโลเมตร ใฃ้เวลาเดินทาง 6 ชั่วโมง

รถโดยสารประจำทาง

บริษัทขนส่ง จำกัด มีบริการเดินรถปรับอากาศ ชั้น 2 และรถธรรมดากรุงเทพฯ-เพชรบูรณ์-หล่มสัก จากสถานีขนส่งสายเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 ตั้งแต่เวลา 09.20-21.30 น. โทร. 936-3660, 936-3666 เพชรบูรณ์ โทร. (056) 721581 และมีบริษัทเอกชนบริการเดินรถปรับอากาศชั้น 1 ในเส้นทางเดียวกัน ได้แก่ เพชรทัวร์ โทร. 936-3230 ที่เพชรบูรณ์ โทร. (056) 711195 และถิ่นสยามทัวร์ โทร. 513-9066, 513-9077 ที่เพชรบูรณ์ โทร. (056) 721913

ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอต่างๆ

อำเภอเขาค้อ 47 กิโลเมตร
อำเภอหล่มสัก 15 กิโลเมตร
อำเภอหล่มเก่า 57 กิโลเมตร
อำเภอน้ำหนาว 141 กิโลเมตร
อำเภอวังโป่ง 70 กิโลเมตร
อำเภอชนแดน 52 กิโลเมตร
อำเภอหนองไผ่ 58 กิโลเมตร
อำเภอบึงสามพัน 84 กิโลเมตร
อำเภอวิเชียรบุรี 107 กิโลเมตร
อำเภอศรีเทพ 122 กิโลเมตร


จังหวัดเพชรบูรณ์ :: สถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ

อำเภอเขาค้อ

ไร่ บี เอ็น
จากบ้านแคมป์สน กิโลเมตรที่ 100 (ทางหลวงหมายเลข 12) มีทางหลวงหมายเลข 2196 เข้าไปอีก 3 กิโลเมตร จะเห็นป้ายชี้ทางเข้าไร่อีกประมาณ 3 กิโลเมตร ในบริเวณไร่มีการเพาะปลูกพืชผักและผลไม้เมืองหนาวนานาชนิด เช่น บรอคเคอรี่ หอมห่อ ฟักแม้ว ผักกาดแก้ว สตรอเบอรี่ ลิ้นจี่ ฯลฯ ดอกไม้ เช่น คาร์เนชั่น แกลดิโอลัส แอสเตอร์ ฯลฯ และมีการขายผลิตผลหลากหลายประเภททั้งของสดและของแปรรูป

เขาค้อ

อำเภอศรีเทพ

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

อำเภอหล่มสัก

อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า

ถ้ำฤาษีสมบัติ
บนทางหลวงหมายเลข 21 บริเวณกิโลเมตรที่ 251-252 อยู่ห่างจากตัวเมืองเพชรบูรณ์ราว 36 กิโลเมตร มีทางราดยางแยกเข้าไป 4 กิโลเมตร ปากทางมีป้ายบอกทางเข้าถ้ำสมบัติ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ในสมัยที่จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการนำเอาทองคำแท่งจำนวนมาก จากกระทรวงการคลังมาเก็บซ่อนไว้ในถ้ำนี้ แต่ปัจจุบันได้ขนย้ายออกไปหมดแล้ว การเข้าชมภายในถ้ำควรมีไฟฉาย หรือตะเกียงนำทางด้วย

อนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง
ตั้งอยู่ค่ายลูกเสือพ่อขุนผาเมือง อำเภอหล่มสัก อยู่ห่างจากอำเภอหล่มสักประมาณ 3 กิโลเมตร พระรูปทำด้วยโลหะ ประดิษฐานในอิริยาบทยืน พระหัตถ์ขวาทรงดาบปักลงดิน พระหัตถ์ซ้ายชี้ลงพื้น อนุสาวรีย์นี้เป็นที่สักการะของชาวเพชรบูรณ์และผู้เดินทางผ่านไปมาในเส้นทางดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง


อำเภอหล่มเก่า

วัดนาทราย
เป็นวัดเก่าแก่ ปัจจุบันมีชื่อเรียกเป็นทางการว่า "วัดศรีมงคล" ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 บ้านนาทราย ตำบลวังบาล อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ความน่าสนใจของวัดนี้อยู่ที่ผนังภายในโบสถ์ทั้งสี่ด้าน ซึ่งมีภาพเขียนสวยงามตามแบบโบราณ เกี่ยวกับประวัติพระเจ้าสิบชาติ และภาพสะท้อนให้เห็นชีวิตของสังคม เช่น การประกอบอาชีพโดยการค้าขายทางเรือ และมีภาพนรก-สวรรค์ การเดินทาง ใช้ทางหลวงสายหล่มเก่า-วังบาล ระยะทางจากอำเภอหล่มเก่าประมาณ 3 กิโลเมตร และจากทางแยกเข้าหมู่บ้านนาทราย หมู่ที่ 2 เป็นระยะทางอีกประมาณ 1 กิโลเมตร

อำเภอน้ำหนาว

อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว

อำเภอหนองไผ่

สวนรุกขชาติซับชมพู
แยกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21 ที่บ้านโภชน์ อำเภอหนองไผ่ไปอีก 8 กิโลเมตร บริเวณน้ำตกสมบูรณ์ด้วยป่าไม้ เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจในวันหยุดของชาวเพชรบูรณ์


อำเภอวิเชียรบุรี

ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เป็นที่เคารพสักการะของชาวอำเภอวิเชียรบุรี และชาวเมืองใกล้เคียงเป็นอันมาก ทางอำเภอจะมีการจัดงานเฉลิมฉลองศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในวันกองทัพไทย เป็นเวลา 3 วัน คือในวันที่ 25-27 มกราคม ของทุกปี เป็นงานที่ยิ่งใหญ่ระดับจังหวัด


:: อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ::

:: ข้อมูลทั่วไป ::
อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า มีพื้นที่ครอบคลุมรอยต่อสองจังหวัด คือ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ภูหินร่องกล้าเป็นแหล่งกำเนิดของประวัติศาสตร์การ สู้รบอันยาวนานเป็นวีรกรรมของนักรบไทย ความขัดแย้งของลัทธิและแนวความคิดที่นำไปสู่ความสูญเสียเลือด ชีวิตและน้ำตา ภาพประวัติศาสตร์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ณ ที่แห่งนี้ ตลอดจนสภาพสิ่งก่อสร้างในอดีตจะถูกบันทึกเก็บรักษาไว้ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาถึงผลของการใช้กำลังเข้าประหัตประหาร ทำให้เกิดความสูญเสียที่ประเมินค่ามิได้ อันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมืองความแตกแยก ความสามัคคีของคนในชาติ มีเนื้อที่ประมาณ 191,875 ไร่ หรือ 307 ตารางกิโลเมตร

ในปี พ.ศ. 2511-2525 เทือกเขาหินร่องกล้านี้เคยเป็นฐานที่มั่นใหญ่ในการเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ เป็นผลเกิดปัญหาความมั่นคงทางการเมืองขึ้น ในกลางปี พ.ศ. 2515 ทางราชการทหารจึงได้เปิดยุทธการภูขวาง โดยจัดกองพลผสมจากกองทัพภาคที่ 1, 2, 3 กรมการบินศูนย์สงครามพิเศษทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และพลเรือน เข้าปฏิบัติเพื่อยึดภูหินร่องกล้า ทว่าไม่สำเร็จเพราะสภาพพื้นที่ไม่อำนวยเนื่องจากภูหินร่องกล้าตั้งอยู่กลางเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อนเป็นป่ารกทึบ

ต่อมากองบัญชาการทหารบก ได้เปลี่ยนแผนยุทธการในการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ โดยใช้นโยบายที่ 66/2523 และคำสั่งที่ 65/2525 กองทัพภาคที่ 3 และทหารหน่วยผสม พลเรือน ตำรวจ ทหารที่ 3 (พตท. 33) ซึ่งนำโดย พันเอกไพโรจน์ จันทร์อุไร ผู้อำนวยการ พตท.33 ได้นำนโยบายใหม่นี้เข้าปฏิบัติการจนประสบความสำเร็จได้รับชัยชนะ โดยไม่เสียเลือดเนื้อแม้แต่น้อย บรรดาชาวบ้านและมวลชนของ ผกค. ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวเขา เผ่าม้ง (แม้ว) ได้กลับใจไม่ให้ความร่วมมือกับ ผกค. และเข้ามอบตัวกับทางราชการส่วนแกนนำได้ละทิ้งฐานที่มั่นไป จากนั้น พตท. 33 จึงได้เริ่มพัฒนาพื้นที่แห่งนี้โดยการตัดถนนผ่านใจกลางภูหินร่องกล้า ต่อมา พตท. 33 ได้มีหนังสือ ด่วนมาก ที่ สร 4001(301)/324 ลงวันที่ 10 มกราคม 2526 ให้กองทัพภาคที่ 3 และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 พิจารณาร่วมและประสานกับกรมป่าไม้เพื่อพิจารณา จัดตั้งบริเวณภูหินร่องกล้าเป็นอุทยานแห่งชาติ

กรมป่าไม้ได้มีคำสั่ง ที่ 196/2526 ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2526 ให้นายชุมพล สุขเกษม นักวิชาการป่าไม้ 5 นายไมตรี อนุกูลเรืองกิจ เจ้าพนักงานป่าไม้ 3 นายมาโนช การพนักงาน นายช่างโยธา 3 ไปดำเนินการสำรวจหาข้อมูลบริเวณภูหินร่องกล้าผลการสำรวจสรุปได้ว่า เป็นพื้นที่ๆ สภาพภูมิประเทศและทิวทัศน์สวยงาม เป็นป่าต้นน้ำลำธารและมีลักษณะทางธรรมชาติ ที่เป็นจุดเด่นหลายแห่ง เช่น ลานหินแตก ลานหินปุ่ม ประกอบกับเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ของการสู้รบระหว่างกองทัพแห่งชาติกับคอมมิวนิสต์ มีความเหมาะสมจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติได้

กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ เป็นผลให้มีมติในคราวประชุมครั้งที่ 1 /2526 เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2526 เห็น สมควรให้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ป่าภูหินร่องกล้าให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนด บริเวณป่าภูหินร่องกล้าท้องที่ตำบลบ่อโพธิ์ ตำบลเนินเพิ่ม ตำบลบ้านแยง อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก และตำบลกกสะท้อน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 101 ตอนที่ 96 ลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2527 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 48 ของประเทศ


:: ลักษณะภูมิประเทศ ::
สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ประกอบด้วยยอดภูเขาที่สำคัญคือ ภูหมันขาว ภูแผงม้า ภูขี้เถ้า ภูลมโล ภูหินร่องกล้า โดยมีภูหมันขาวเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด สูงประมาณ 1 ,820 เมตรจากระดับน้ำทะเล เทือกเขาเหล่านี้จะมีความสูงลดหลั่นลงไปจากด้านทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตก และ เป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำลำธารหลายสาย เช่น ห้วยลำน้ำไซ ห้วยน้ำขมึน ห้วยออมสิงห์ ห้วยเหมือดโดน และห้วยหลวงใหญ่


:: ลักษณะภูมิอากาศ ::
ภูหินร่องกล้ามีสภาพภูมิอากาศคล้ายภูกระดึงและภูหลวงเนื่องจากมีความสูงไล่เลี่ยกันอากาศจะหนาวเย็นเกือบตลอดปี โดยเฉพาะในฤดูหนาวอุณหภูมิจะต่ำมากประมาณ 0-4oC มีหมอกคลุมทั่วบริเวณ ส่วนฤดูร้อนอากาศจะเย็นสบายฝนตกชุกในฤดูฝน อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี ประมาณ 18-25oC


:: พรรณไม้และสัตว์ป่า ::
อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ปกคลุมไปด้วยป่าไม้ 3 ชนิด คือ ป่าเต็งรัง ป่าดิบเขา และป่าสนเขา
ป่าเต็งรัง เป็นป่าที่ขึ้นในพื้นที่ระดับต่ำบริเวณเชิงเขา พื้นที่เป็นดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์และค่อนข้างแห้งแล้ง พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง พยอม เหียง ตะคร้อ พลวง ฯลฯ

ป่าดิบเขา จะขึ้นในบริเวณเขาสูง ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนค่อนข้างมาก อากาศชื้น เป็นป่ารกทึบ พันธุ์ไม้ที่พบเห็นทั่วไป ได้แก่ ก่อเดือย ก่อหัวหมู อบเชย ทะโล้ ฯลฯ ส่วนพืชพื้นล่าง ได้แก่ หวาย ปาล์มชนิดต่างๆ

ป่าสนเขา เป็นป่าบนที่ราบหลังภู มีสนสองใบและสนสามใบขึ้นปะปนกัน ส่วนใหญ่เป็นสนสองใบ บางแห่งอยู่รวมกันเป็นป่าสนกว้างใหญ่

นอกจากนี้ยังพบกล้วยไม้ป่าดอกไม้ป่าหลายชนิดขึ้นอยู่ตามลานหิน เช่น ม้าวิ่ง เอื้องตาหิน เอื้องคำหิน เอื้องสายสามสี ช้องนางคลี่ เหง้าน้ำทิพย์ กุหลาบขาว กุหลาบแดง ฟองหิน รวมทั้งมอส เฟิน ไลเคนล์ และตะไคร่ชนิดต่างๆ ซึ่งในช่วงปลายฤดูฝนต่อฤดูหนาวดอกไม้ป่าเหล่านี้จะออกดอกบานสะพรั่งมีสีสันงดงาม

ในอดีตภูหินร่องกล้า เคยมีสัตว์ป่าหลายชนิด เช่น เสือ กวางป่า เก้ง กระจง นกชนิดต่าง ๆ ครั้นต่อมาเมื่อกลายเป็นแหล่งอาศัยของคนจำนวนมาก และยังเคยเป็นสมรภูมิแห่งการสู้รบมาก่อน สัตว์ป่าต่างๆ จึงถูกล่าเป็นอาหาร ในปัจจุบันเหตุการณ์ต่าง ๆ สงบลง จึงมีสัตว์ป่าขนาดใหญ่ เช่น เสือ เก้ง กระจง หมี และนกหลายชนิดเข้ามาอาศัยอยู่มากขึ้น


:: ที่ตั้งและการเดินทาง ::
อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า
ตู้ ปณ. 3 อ. นครไทย จ. พิษณุโลก 65120
โทรศัพท์ : 0 5523 3527 โทรสาร : 0 5523 3527

รถยนต์
อุทยานแห่งชาติภุหินร่องกล้า ตั้งอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ไปทางทิศเหนือ ระยะทาง 500 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ ประมาณ 6 ชั่วโมง ห่างจากตัวเมืองพิษณุโลก 120 กิโลเมตร จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) แยกเข้าทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 32 ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา, สิงห์บุรี ชัยนาท นครสวรรค์ จากนั้นแยกขวาเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117 ระยะทาง 130 กิโลเมตร ถึงตัวเมืองพิษณุโลก จากตัวเมืองพิษณุโลก เส้นทางที่สะดวกที่สุด คือใช้ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 12 สายพิษณุโลก - หล่มสัก จากนั้นแยกซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2013 ไปทางอำเภอนครไทย ก่อนถึงตัวอำเภอนครไทย มีทางแยกขวามือตามทางหลวงหมายเลข 2331 มุ่งหน้าสู่อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า สภาพเส้นทางสูงชัน และคดเคี้ยวเป็นบางช่วง


:: แหล่งท่องเที่ยว ::
อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ครอบคลุมพื้นที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลยและอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก มีรูปแบบการท่องเที่ยวเป็นการพักผ่อนในธรรมชาติที่มีอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี โดยสามารถเดินศึกษาธรรมชาติในเส้นทางสู่โลกที่สาม ซึ่งมีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ทางด้านการสู้รบระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย กับทหารฝ่ายรัฐบาล เช่น สำนักอำนาจรัฐ ผาชูธง ลานหินปุ่ม เป็นต้น เส้นทางมีลักษณะเดินเป็นวงรอบ มีดอกไม้ป่าสวยงามผลิดอกบานในฤดูฝน และชมความงามของดอกกุหลาบขาว ซึ่งจะบานพร้อมกันในช่วงเดือนมีนาคม ถึงเมษายน บริเวณลานหินปุ่ม และลานหินแตก นอกนี้ยังเหมาะสำหรับผู้ที่สนใจด้านธรณีวิทยา เนื่องจากมีลักษณะที่สวยงามแปลกตาของลานหิน สำหรับการเดินเท้าไปชมน้ำตกหมันแดง ก็เป็นอีกประสพการณ์หนึ่งในการผจญภัยในป่าเขตร้อน โดยใช้เวลา 1 วันเต็ม นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่


:: ด้านธรรมชาติที่สวยงาม ::
ลานหินแตก อยู่ห่างจากฐานพัชรินทร์ ประมาณ 300 เมตร ลักษณะเป็นหินที่มีรอยแตกเป็นแนวเป็นร่องเหมือนแผ่นดินแยก รอยแตกนี้บางรอยก็มีขนาดแคบพอให้รากต้นหญ้าชอนไชไปได้เท่านั้น บางรอยกว้างพอคนก้าวข้ามได้ และบางรอยกว้างมากจนไม่สามารถกระโดดข้ามได้ ความลึกของร่องหินแตกเหล่านั้นไม่สามารถจะคะเนได้ ลักษณะเช่นนี้สันนิษฐานว่า อาจจะเกิดจากการโก่งตัว หรือเคลื่อนตัวของผิวโลก จึงทำให้พื้นหินนั้นแตกเป็นแนว นอกจากนี้บริเวณหินแตกยังปกคลุมไปด้วยมอส ไลเคนส์ ตะไคร่ เฟิน และกล้วยไม้ชนิดต่างๆ


ลานหินปุ่ม อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 4 กิโลเมตร อยู่ริมหน้าผาลักษณะเป็นลานหินผุดขึ้นเป็นปุ่มไล่เลี่ยกัน คาดว่าเกิดจากการสึกกร่อนตามธรรมชาติของหินทางเคมีและฟิสิกส์ ในอดีตบริเวณนี้ใช้เป็นที่พักฟื้นของคนไข้เนื่องจากอยู่บนหน้าผา จึงมีลมพัดเย็นสบายเหมาะแก่การนั่งพักผ่อน


ผาชูธง อยู่ห่างจากลานหินปุ่มประมาณ 600 เมตร เป็นหน้าผาสูงชันสามารถเห็นทิวทัศน์ได้กว้างไกล โดยเฉพาะภาพทิวทัศน์ดวงอาทิตย์ตกดินจะสวยงามไม่แพ้จุดชมทิวทัศน์อื่นๆ บริเวณนี้เคยเป็นสถานที่ที่ ผกค.จะขึ้นไปชูธงแดง (ฆ้อนเคียว) ทุกครั้งที่รบชนะทหารของรัฐบาล


น้ำตกหมันแดง เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มี 32 ชั้น และจากการสำรวจจากผู้เชี่ยวชาญจากประเทศฝรั่งเศส และนักธรณีวิทยาจากประเทศไทย พบว่าบริเวณแผ่นหินลานน้ำตกหมันแดง มีรอยเท้าไดโนเสาร์กินเนื้อ มากกว่า 20 รอย ปัจจุบันยังไม่มีทางรถเข้าถึง การเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวยังน้ำตกในขณะนี้ ทำได้โดยการเดินเท้าเท่านั้น




น้ำตกร่มเกล้า-ภราดร เป็นน้ำตกฝาแฝด 2 แห่ง ที่อยู่ติด ๆ กัน อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ บนถนนภูหินร่องกล้าประมาณ 4 กิโลเมตร ก่อนถึงโรงเรียนการเมืองการทหารประมาณ 1 กิโลเมตร จากถนนสายใหญ่ จะต้องเดินตัดลงไปบนทางเท้าที่พึ่งทำขึ้นใหม่เป็นระยะทางประมาณ 800 เมตร ตัวน้ำตกไม่สูงใหญ่นัก แต่สภาพแวดล้อมโดยรอบมีลักษณะเป็นป่าบริสุทธิ์อันงดงามมาก


น้ำตกศรีพัชรินทร์ ตั้งอยู่ก่อนถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติบริเวณเชิงเขาประมาณ 4-5 กิโลเมตร ปัจจุบันยังไม่มีทางรถเข้าถึง




น้ำตกผาลาดและน้ำตกตาดฟ้า ตั้งอยู่บริเวณเชิงภูหินร่องกล้าโดยแยกซ้ายจาก หมู่บ้านห้วยน้ำไซต่อไปประมาณ 2 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการพลังงานไฟฟ้าห้วยขมึน อันเป็นที่ตั้งของน้ำตกแก่งลาด ขึ้นเขาต่อไปประมาณ 3-4 กิโลเมตร มีทางเดินแยกซ้ายลงไปน้ำตกตาดฟ้าหรือน้ำตกด่านกอซองเป็นน้ำตกชั้นเดียวขนาดใหญ่ที่สวยงาม


จุดชมวิวภูหมันขาว ตั้งอยู่ริมทางหลวง หมายเลข 2331 ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ไปตามเส้นทางสู่อำเภอหล่มเก่า ประมาณ 32 กิโลเมตร เป็นจุดที่สูงที่สุดของอุทยานฯ ระดับความสูง 1,820 เมตรจากระดับน้ำทะเล ในฤดูฝนจึงปกคลุมด้วยเมฆหมอก และมีลมแรงจึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จุดชมวิวธารพายุ รอบบริเวณเป็นป่าดิบเขาผืนเล็กๆที่ยังหลงเหลืออยู่



:: ด้านประวัติศาสตร์ ::
โรงเรียนการเมืองการทหาร อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 6 กิโลเมตร มีสภาพเป็นป่ารกทึบหนาแน่นไปด้วยต้นไม้ใหญ่ ในอดีตเคยเป็นสถานที่สำหรับให้การศึกษาตามแนวทางของลัทธิคอมมิวนิสต์ ในบริเวณโรงเรียนการเมืองการทหาร จะประกอบไปด้วยบ้านฝ่ายพลเรือน ฝ่ายพลาธิการ ฝ่ายสื่อสาร และสถานพยาบาล ส่วนเหล่านี้มีทั้งหมด 31 หลัง เป็นบ้านหลังเล็กๆ กระจายอยู่อย่างเป็นระเบียบ ภายในบ้านแต่ละหลังจะมีแคร่สำหรับนอน และโต๊ะสำหรับเขียนหนังสือทำด้วยไม้กระดานอย่างหยาบๆ เศษข้าวของกระจายอยู่เกลื่อน บางหลังเริ่มผุพังเพราะถูกปล่อยให้ร้างหลังจากมวลชนเข้ามอบตัวแล้ว นอกจากนี้บริเวณตอนกลางของโรงเรียนการเมืองการทหาร มีรถแทรกเตอร์จอดอยู่ 1 คัน ซึ่ง ผกค. ทำการยึดจากบริษัท พิฆเนตร แล้วเผาทิ้งไว้




สำนักอำนาจรัฐ อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอุทยานแห่งชาติ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นสถานที่ดำเนินการปกครอง มีการพิจารณา และลงโทษผู้กระทำผิด หรือละเมิดต่อกฎลัทธิ มีคุกสำหรับขังผู้กระทำความผิด มีสถานที่ทอผ้าและโรงซ่อมเครื่องจักรกล


หมู่บ้านมวลชน เป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มมวลชนมีอยู่หลายหมู่บ้าน เช่น หมู่บ้านดาวแดง หมู่บ้านดาวชัย แต่ละหมู่บ้านมีบ้านประมาณ 40-50 หลัง เรียงรายอยู่ในป่ารกริมทาง ที่ตัดมาจากอำเภอหล่มสัก ลักษณะบ้านเป็นบ้านไม้หลังเล็กๆ ไม่ยกพื้น หลังคามุงด้วยกระเบื้องไม้ บ้านแต่ละหลังจะมีหลุมหลบภัยทางอากาศอยู่ด้วย


กังหันน้ำ อยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนการเมืองการทหาร ใช้หล่อเลี้ยงคนหลายพันคนบนภูหินร่องกล้า สร้างขึ้นโดยนักศึกษา โดยใช้พลังน้ำขับเคลื่อนกังหัน เพื่อหมุนแกนครกกระเดื่องตำข้าว ซึ่งเปรียบเสมือนโรงสีข้าวของ ผกค.


โรงพยาบาล อยู่ห่างจากสำนักอำนาจรัฐ ประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นโรงพยาบาลกลางป่าที่มีอุปกรณ์ในการรักษาคนป่วยเกือบครบถ้วน มีห้องปรุงยา ห้องพักฟื้น และยาชนิดต่าง ๆ เป็นอันมาก



:: สิ่งอำนวยความสะดวก ::
ห้องสุขาชาย มีห้องสุขาชายให้บริการ


ห้องสุขาหญิง มีห้องสุขาหญิงให้บริการ


ที่พักแรม/บ้านพัก อุทยานแห่งชาติได้จัดเตรียมบ้านพักไว้ให้บริการในบริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยว


สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียด และสำรองที่พักเต็นท์ได้กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง


ค่ายเยาวชน มีค่ายพักแรมสำหรับเยาวชนและบุคคลทั่วไป


ที่จอดรถ มีลานจอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


บริการอาหาร มีร้านอาหารและเครื่องดื่มให้บริการ ที่บริเวณเขตบริการ 2 ร้าน เปิดบริการตั้งแต่ 06.30 - 20.00 น. สามารถรองรับได้ไม่ต่ำกว่า 200 คน


ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เพื่อศึกษาหาข้อมูลเบื้องต้นก่อนไปท่องเที่ยว ในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ



จังหวัดเพชรบูรณ์ :: เทศกาล งานประเพณี

งานมะขามหวานและงานกาชาด
กำหนดจัดงานในช่วงปลายเดือนมกราคมของทุกปี ภายในงานจะมีการประกวดมะขามหวาน การแสดงทางวัฒนธรรมและการละเล่นต่าง ๆ มากมาย

งานประเพณีอุ้มพระดำน้ำ
จัดขึ้นในช่วงเทศกาลสารทไทย ชาวเมืองเพชรบูรณ์จะแห่พระพุทธมหาธรรมราชา ซึ่งเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองไปรอบเมือง จนถึงบริเวณหน้าวัดไตรภูมิ จากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งเป็นตัวแทนของชาวเพชรบูรณ์ จะเป็นผู้อุ้มพระพุทธมหาธรรมราชาลงดำน้ำทั้ง 4 ทิศ ซึ่งถือว่าเป็นสิริมงคลแก่จังหวัด พิธีอุ้มพระดำน้ำจะทำในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี


จังหวัดเพชรบูรณ์ :: ของฝาก ของที่ระลึก

มะขามหวาน
มะขามหวานเป็นพืชเศรษฐกิจอย่างหนึ่งของจังหวัด มีรสหวานขึ้นชื่อจนเป็นที่รู้จักกันทั่วไป มะขามหวานที่ปลูกในจังหวัดเพชรบูรณ์มีหลายพันธุ์ เช่น หมื่นจง นายหยัด หรือสีทอง ศรีชมภู ขันตี ปากดุก เจ้าเนื้อเศรษฐกิจ ฝักดาบ ฯลฯ สามารถหาซื้อได้ราวเดือนกุมภาพันธ์ และในราวปลายเดือนมกราคม ทุกปีจะมีการงานเทศกาลมะขามหวานร่วมกับงานกาชาด โดยมีการประกวดมะขาม ธิดามะขาม และการเล่นต่างๆ

นอกจากมะขามหวานแล้ว ก็ยังมีผลหรือน้ำกระทกรก (น้ำเสาวรสหรือแพชั่นฟรุท) พืชผักเมืองหนาว และที่อำเภอหล่มสักยังมีสะเดาหวานซึ่งมีรสชาติแปลกกว่าสะเดาในภาคอื่นๆ ของไทย สะเดาหวานจะเริ่มมีจำหน่ายก่อนหน้ามะขามหวานประมาณ 1 เดือน

ไก่ย่างวิเชียรบุรี
เป็นอาหารที่ขึ้นชื่ออย่างหนึ่งของจังหวัดเพชรบูรณ์ มีลักษณะพิเศษ คือ เนื้อไก่จะย่างจนสุกแห้งสม่ำเสมอ หนังเหลืองกรอบ น่ารับประทาน มีจำหน่ายที่บริเวณสามแยกวิเชียรบุรี

ขนมจีนหล่มเก่า
มีลักษณะแปลกกว่าขนมจีนที่อื่น คือ การทำเส้นขนมจีนจะทำขึ้นใหม่ในขณะนั้นเลย และจัดแบ่งให้พอดีคำ พร้อมน้ำยาขนมจีนอยู่ 4 ชนิด คือ น้ำยา น้ำพริก น้ำยาป่า และน้ำปลาร้า จัดใส่ภาชนะหม้อดิน พร้อมเครื่องประกอบขนมจีนประเภทผักสด ผักต้ม และผักดอง

ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากพืชเมืองหนาว
นักท่องเที่ยวสามารถหาซื้อได้ที่ไร่ บี. เอ็น. โดยทางไร่ได้จัดทำเป็นผลิตภัณฑแปรรูปเพื่อสุขภาพ ปราศจากสารกันบูด ใช้เป็นอาหารเจได้ เช่น เห็ดหอมดองสี่รส น้ำพริกเผาเห็ดหอม หัวผักกาดดองสามรส กานาฉ่าย ฯลฯ


:: สารบัญเว็บไซท์ ::

:: ข้อมูล สถานที่ท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว จังหวัดเพชรบูรณ์ ::

สารบัญเว็บไซท์ > ท่องเที่ยว > ข้อมูล และสถานที่ท่องเที่ยว > ภาคเหนือ > เพชรบูรณ์

จำนวนเว็บไซท์ในหมวดนี้ : 16 [ แนะนำเว็บไซท์ได้ที่นี่ ]


จังหวัดเพชรบูรณ์
แนะนำข้อมูลทั่วไป สถานที่ท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว จองโรงแรม ที่พัก รีสอร์ท โรงแรม จังหวัดเพชรบูรณ์ แผนที่ การเดินทาง ร้านอาหาร เทศกาล งานประเพณี ของฝาก ประวัติความเป็นมา คำขวัญประจำจังหวัด
http://www.relaxzy.com/province/phetchabun/

จังหวัดเพชรบูรณ์
ข้อมูลจังหวัดเพชรบูรณ์ ประวัติความเป็นมา สภาพทางการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม ประเพณี เทศก...
http://www.phetchabun.go.th

จังหวัดเพชรบูรณ์ (ท่องเที่ยวเพชรบูรณ์)
ข้อมูลประวัติจังหวัดเพชรบูรณ์ สถานที่ท่องเที่ยว ปฏิทินท่องเที่ยว เทศกาล ที่พัก โรงแรม ตารางรถโดยส...
http://www.tourphetchabun.com

สมชัยทัวร์
แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่พัก และข้อมูลต่าง ๆ ในจังหวัดเพชรบูรณ์
http://www.somchaitour.com

สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบูรณ์
ข้อมูลเกี่ยวกับสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบูรณ์ และเสนอข้อมูลท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบูรณ์ สถาน...
http://www.phetchabuntourism.com/

จังหวัดเพชรบูรณ์
ข้อมูลการท่องเที่ยว เมืองเพชรบูรณ์ รวมสถานที่ท่องเที่ยว วัฒนธรรม ประเพณี อาหาร การเดินทาง ข้อมูล...
http://www.geocities.com/amazingphetchabun

จังหวัดเพชรบูรณ์ (อเมซิ่ง เพชรบูรณ์)
รวมข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว เทศกาลและประเพณี อาหาร ที่พักและการเดินทางสู่เพชรบูรณ์
http://www.geocities.com/amazingphetchabun

จังหวัดเพชรบูรณ์ ตำบลน้ำก้อ
ประวัติบ้านน้ำก้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ลักษณะภูมิศาสตร์ ภาพเหตุการณ์อุทกภัยน้ำท่วมเมื่อปี 2544 ข่าวเห...
http://www.geocities.com/namkoa

อำเภอหล่มสัก
เป็นเว็บไซต์ประจำตำบลหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ภายในเว็บไซต์เป็นข่าวประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับอำเภอหล่...
http://www.inlomsak.com

จังหวัดเพชรบูรณ์
รวบรวมข้อมูลการท่องเที่ยวและข้อมูลทั่วไปของจังหวัดเพชรบูรณ์ แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว โปรแกรมท่องเที...
http://www.phettravel.e-thai.net

บริษัท เขาค้อทัวร์ จำกัด
ข้อมูลการท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบูรณ์ การพักผ่อนที่แท้จริงท่ามกลางธรรมชาติแห่งขุนเขา ที่มีอากาศอันบ...
http://www.khaokortours.com

เที่ยวเพชรบูรณ์ในเขตทหาร ฝ่ายกิจการพลเรือนกองพลทหารม้าที่ 1
แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวของกองพลทหารม้าที่ 1 ค่ายพ่อขุนผาเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ พระตำหนั...
http://www.se-ed.net/cav5

ชนแดนดอทเน็ต
ข้อมูลเกี่ยวกับอำเภอชนแดนจังหวัดเพชรบูรณ์ สินค้า OTOP หน่วยงานที่สำคัญ
http://www.chondaen.net

สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบูรณ์
ข้อมูลและสถานที่ท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร ในจัหวัดเพชรบูรณ์
http://www.phetchabuntourism.org

อุทยานแห่งชาติตาดหมอก
อุทยานแห่งชาติตาดหมอก ตั้งอยู่ในเขตท้องที่ตำบลห้วยใหญ่ ตำบลบ้านโคก และตำบลนาป่า อำเภอเมืองเพชรบูร...
http://www.dnp.go.th/parkreserve/asp/style1/default.asp?npid=158&lg=1

เขาค้อ
แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ รีสอร์ทและที่พัก ร้านอาหารในจังหวัดเพชรบูรณ์
http://www.khaoko.com



:: อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ::

:: ข้อมูลทั่วไป ::
อุทยานแห่งชาติน้ำหนาวอยู่ในท้องที่อำเภอหล่มเก่า อำเภอหล่มสัก อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ และอำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ เป็นอุทยานแห่งชาติที่สวยที่สุดแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นแนวเขตกั้นระหว่างภาคอีสานและภาคเหนือ สภาพพื้นที่ทั่วไปเป็นเทือกเขาสูง มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ เป็นต้นน้ำลำธาร มีทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง มีเนื้อที่ประมาณ 603,750 ไร่ หรือ 966 ตารางกิโลเมตร

ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2502 ให้กำหนดป่าน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ และป่าอื่นๆ ในท้องที่จังหวัดต่างๆ รวม 14 ป่า เป็นอุทยานแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2511 กรมป่าไม้ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปทำการสำรวจเบื้องต้น เกี่ยวกับสภาพพื้นที่บริเวณป่าน้ำหนาว ปรากฏว่า มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ มีทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง ตลอดจนเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด กรมป่าไม้จึงได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มีมติในคราวประชุมครั้งที่ 1/2513 เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2513 เห็นชอบให้ออกพระราชกฤษฎีกา กำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 142 เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2515 กำหนดบริเวณป่าน้ำหนาวในท้องที่ตำบลบ้านโคก อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ ตำบลบ้านกลาง ตำบลบ้านติ้ว ตำบลห้วยไร่ อำเภอหล่มสัก ตำบลน้ำหนาว อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ และตำบลห้วยยาง อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ เป็นอุทยานแห่งชาติ เนื้อที่ประมาณ 603,750 ไร่ โดยประกสศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 89 ตอนที่ 71 ลงวันที่ 4 พฤษภาคม 2515 เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งที่ 5 ของประเทศ

ต่อมากองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้มีหนังสือที่ กส 0708/2214 ลงวันที่ 1 เมษายน 2523 ให้หัวหน้าอุทยานแห่งชาติทุกแห่งได้ตรวจสอบพิจารณาชื่อตำบลที่ตกหล่นในอุทยานแห่งชาติที่รับผิดชอบ ซึ่งอุทยานแห่งชาติน้ำหนาวได้มีหนังสือที่ กส 0708(นน)/223 ลงวันที่ 11 มีนาคม 2525 รายงานว่า ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 142 ลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2515 ได้กำหนดแนวเขตอุทยานแห่งชาติ ซึ่งครอบคลุมถึงท้องที่ตำบลปากช่อง และตำบลท่าอิบุญ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ด้วย แต่มิได้ระบุชื่อตำบลทั้ง 2 ไว้

กรมป่าไม้จึงได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ได้มีมติในคราวประชุมครั้งที่ 3/2523 เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2523 เห็นชอบให้ออกพระราชกฤษฎีกา กำหนดขยายเขตอุทยานแห่งชาติเพิ่มเติมตำบลที่ตกหล่นได้ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกา ขยายเขตอุทยานแห่งชาติน้ำหนาวในท้องที่ตำบลท่าอิบุญ และตำบลปากช่อง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ พ.ศ. 2525 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอนที่ 137 ลงวันที่ 26 กันยายน 2525


:: ลักษณะภูมิประเทศ ::
อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นเขตกั้นระหว่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ สภาพพื้นที่ทั่วไปเป็นเทือกเขาสูง ทอดยาวผ่านจังหวัดชัยภูมิ และจังหวัดเพชรบูรณ์ มีลักษณะเป็นเนินยอดป้าน ที่เกิดจากการยกตัวของเปลือกโลก บริเวณนี้ในอดีต มีความสูงอยู่ระหว่าง 650-1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล ประกอบด้วย ภูผาจิต ภูกุ่มข้าว โดยภูด่านอีป้องเป็นจุดสูงสุด มีความสูง 1,271 เมตรจากระดับน้ำทะเล ประกอบขึ้นเป็นป่าต้นน้ำลำธาร ต้นกำเนิดของลำธารสายยาว เช่น แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำพอง แม่น้ำเลย ห้วยขอนแก่น ห้วยน้ำเชิญ ซึ่งไหลลงสู่เขื่อนอุบลรัตน์ และเขื่อนจุฬาภรณ์


:: ลักษณะภูมิอากาศ ::
โดยทั่วไปอากาศหนาวเย็นในตอนดึกและตอนเช้า ส่วนใหญ่ตอนกลางวันอากาศเย็นสบาย จึงกล่าวได้ว่า อุทยานแห่งชาติน้ำหนาวมีอากาศหนาวเย็นตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 25 องศาเซลเซียส ในฤดูฝนจะมีฝนตกชุกระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม ส่วนใหญ่ฤดูหนาว อากาศหนาวเย็นมาก จนบางครั้งน้ำค้างจะกลายเป็นเกล็ดน้ำแข็ง อากาศจะหนาวเย็นที่สุดในเดือนธันวาคมและมกราคม ซึ่งในบางปีอุณหภูมิจะลดต่ำถึง 0 องศาเซลเซียส


:: พรรณไม้และสัตว์ป่า ::
ป่าน้ำหนาวเป็นป่าไม้ผืนใหญ่ติดต่อกัน ประกอบด้วยป่าหลายชนิดประกอบด้วย
ป่าดิบชื้น พบบริเวณหุบเขาและริมลำห้วย ชนิดพันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ยาง ตะเคียนทอง มะหาด ยมหอม ฯลฯ พืชพื้นล่างเป็นหวาย และปาล์ม เป็นต้น

ป่าดิบเขา เป็นป่าส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติพบขึ้นบริเวณยอดเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 800 เมตรขึ้นไป พันธุ์ไม้ที่ขึ้นบริเวณนี้ส่วนใหญ่เป็นก่อสกุลต่างๆ เช่น ก่อเดือย ก่อแป้น ก่อตาหมูน้อย ก่อตาหมูหลวง เป็นต้น

ป่าเบญจพรรณ พบขึ้นตามไหล่เขาต่อจากป่าดงดิบทางด้านทิศตะวันตก ของอุทยานแห่งชาติ และกระจัดกระจายเป็นหย่อมๆ ทางด้านตะวันออกของอุทยานแห่งชาติ พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ประดู่ แดง ตะแบก งิ้วป่า ยอป่า ชิงชัน ซ้อ เป็นต้น

ป่าสนเขา พบในที่ประมาณ 700-900 เมตรจากระดับน้ำทะเล ลักษณะเป็นป่าโปร่งมีสนสามใบ และส่วนใหญ่จะขึ้นปะปนอยู่กับป่าเต็งรัง พืชพื้นล่างส่วนใหญ่เป็นหญ้าคา พบทางตอนใต้ของอุทยานแห่งชาติ บริเวณสวนสนภูกุ่มข้าว ดงแปก และที่ทำการอุทยานแห่งชาติ

ป่าเต็งรัง เป็นป่าโปร่งขึ้นอยู่บริเวณที่แห้งแล้ง ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ หน้าดินตื้น เป็นกรวดหรือลูกรัง ทำให้ต้นไม้แคระแกร็น พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ เต็ง รัง เหียง กราด รกฟ้า ฯลฯ พืชพื้นล่างส่วนใหญ่เป็นหญ้าเพ็ก พบบริเวณตอนกลางของอุทยานแห่งชาติทั้งสองข้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 และทุ่งหญ้า ประกอบไปด้วยหญ้าคา หญ้าเพ็ก มีพันธุ์ไม้ใหญ่ปะปนอยู่บ้าง เช่น ติ้ว กระโดน และแต้ว เป็นต้น

เนื่องจากป่าส่วนหนึ่งเป็นป่าโปร่ง สลับกับทุ่งหญ้าและป่าดิบ มีดินโปร่งและน้ำไหลผ่านตลอดปี จึงทำให้ป่านี้มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างชุกชุม เช่น ช้างป่า กระทิง วัวแดง กวางป่า เก้ง เสือโคร่ง เสือดาว ค่าง หมีควาย หมีคน เลียงผา หมาป่า กระจง เม่น หมูป่า กระต่ายป่า ค้างคาวมงกุฎหูโตมาร์แชล ค้างคาวไอ้แหว่งน้อย เต่าปูลู และเต่าเดือย สำหรับช้างป่านั้นมีอยู่ทั่วไป ซึ่งเราจะเห็นกองมูลช้างที่ถ่ายไว้ริมทางหลวงอยู่เสมอ นอกจากนี้ ยังมีนกชนิดต่างๆ มากว่า 200 ชนิด ตามทางเดินในป่าจะพบนกสีสวยๆ อยู่เสมอ เช่น นกแก้ว นกขุนแผน นกหก นกพญาปากกว้าง นกเดินดง นกแต้วแร้ว นกโพระดก นกหัวขวาน นกเหงือก นกกระจ้อย นกกินแมลงชนิดต่างๆ ไก่ฟ้าพญาลอ และไก่ป่า เป็นต้น และยังมีความหลากหลายของผีเสื้อมากกว่า 340 ชนิด


:: ที่ตั้งและการเดินทาง ::
อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว
อ. น้ำหนาว จ. เพชรบูรณ์ 67260
โทรศัพท์ : 0 5672 9002 โทรสาร : 0 1888 4107

รถยนต์
ที่ทำการอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว อยู่ห่างจากตัวเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 103 กิโลเมตร อยู่ห่างจากอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ประมาณ 55 กิโลเมตร เดินทางโดยรถยนต์ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ถึงหลักกิโลเมตรที่ 50 มีป้ายชี้ทางเข้าสู่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ (ไปจากหล่มสักป้ายจะอยู่ทางด้านซ้ายมือ ไปจากข่อนแก่นป้ายจะอยู่ทางด้านขวามือ) จากถนนใหญ่เดินทางต่อทางประมาณ 2 กิโลเมตร ก็จะถึงศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ท่านสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดแหล่งท่องเที่ยว บ้านพัก เต็นท์ รับกุญแจบ้านพัก และอื่นๆ ได้ที่ศูนย์บริการฯ ถ้าไปโดยรถประจำทาง สามารถขึ้นรถโดยสายจากขอนแก่น หรือหล่มสัก ซึ่งผ่านหน้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติทุกวัน


:: แหล่งท่องเที่ยว :: ด้านธรรมชาติที่สวยงาม ::
จุดชมทิวทัศน์ถ้ำผาหงษ์ ทางเข้าอยู่ตรงกิโลเมตรที่ 39 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (ดอยหล่มสัก-ชุมแพ) ระยะทางเดินเท้าประมาณ 300 เมตร มีลักษณะเป็นเขาสูง มีทางเท้าเดินขึ้นยอดเขาประมาณ 200 เมตร เพื่อชมทิวทัศน์และชมพระอาทิตย์ตกในตอนเย็น เป็นถ้ำขนาดเล็ก ภายในมีช่องหลืบแคบๆ ซับซ้อน มีหินงอกหินย้อยที่สวยงาม เป็นที่อยู่อาสัยของค้างคาวหลายชนิด โดยเฉพาะค้างคาวมงกุฎมาร์แชล ซึ่งเป็นสัตว์หายากใกล้สูญพันธุ์ พื้นที่โดยรอบเป็นป่าไผ่และชะง่อนหินแหลมคม


สวนสนบ้านแปก สวนสนบ้านแปก หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ดงแปก มีทางเข้าอยู่ตรงกิโลเมตรที่ 49 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (ดอยหล่มสัก-ชุมแพ) ระยะทางเดินเท้าประมาณ 5 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นป่าสนสองใบขึ้นอยู่เป็นกลุ่มใหญ่เพียงชนิดเดียวตามธรรมชาติ ต้นไม้พื้นล่างประกอบด้วยทุ่งหญ้าและหญ้าเพ็กเป็นจำนวนมาก มีความสวยงาม ประกอบกับเส้นทางเดินเข้าสวนสนบ้านแปก ได้ผ่านป่าที่หลากหลายทั้งป่าดิบชื้นและป่าดิบเขา ระหว่างทางจะมีโอกาสพบสัตว์ป่าและนกนานาชนิด และในช่วงฤดูร้อนประมาณเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม ระหว่างทางจะมีกล้วยไม้ป่า และพันธุ์ไม้หลายชนิดออกดอกสวยงาม


สวนสนภูกุ่มข้าว ทางเข้าอยู่ตรงกิโลเมตรที่ 53 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (ดอยหล่มสัก-ชุมแพ) มีทางลูกรังมาตรฐานจากแยกกิโลเมตรที่ 53 ถึงสวนสนภูกุ่มข้าว ระยะทาง 15 กิโลเมตร เป็นป่าสนสามใบ มีต้นสนขนาดใหญ่มีความสูงตั้งแต่ 30-40 เมตร ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติอย่างหนาแน่นแทบไม่มีไม้อื่นปะปนอยู่ มีพื้นที่ประมาณ 10 ตารางกิโลเมตร ไม้พื้นล่างประกอบด้วยทุ่งหญ้าคา หญ้าเพ็ก จำนวนมากเช่นเดียวกัน ในฤดูแล้ง ทุ่งหญ้าใต้ต้นสนจะค่อยๆ เปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีน้ำตาลแก่ พอถึงฤดูฝนใหม่ทุ่งหญ้าเหล่านี้ก็จะกลับเขียวอีกครั้งหนึ่ง เป็นเช่นนี้เรื่อยๆ ไป โดยเฉพาะฤดูฝนตามทุ่งหญ้า จะมีพันธุ์ไม้หลากสีนานาพรรณขึ้นอยู่อย่างสวยงามมาก

บริเวณสวนสนนี้ มีเนินเขาเตี้ยๆ ลูกหนึ่ง เรียกว่า “ภูกุ่มข้าว” สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 880 เมตร เป็นเนินเขาที่เป็นจุดเด่นจุดหนึ่งท่ามกลางสวนสน เมื่อขึ้นไปยืนบนเนินเขาภูกุ่มข้าว จะเห็นแนวยอดสนอยู่ในระดับสายตา สามารถมองเห็นแนวยอดสน เป็นแนวติดต่อกันพืดทั้งสี่ด้านของภูกุ่มข้าว ดูแล้วจะเห็นคล้ายๆ ท้องทะเลของยอดสน เมื่อมองไปทางทิศใต้จะเห็นอ่างน้ำเขื่อนจุฬาภรณ์ (น้ำพรม) ที่กว้างใหญ่


น้ำตกเหวทราย ทางเข้าอยู่ตรงกิโลเมตรที่ 67 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ดอนหล่มสัก-ชุมแพ) ระยะทางเดินเท้า 1 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่เกิดจากลำห้วยสนามทราย ซึ่งมีต้นน้ำที่ป่าดงดิบชื่อดงแหน่ง ไหลผ่านป่าซำผักคาว ลำห้วยสนามทรายนี้ เป็นแนวธรรมชาติที่แบ่งเขตแดน ระหว่างกิ่งอำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ กับอำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ น้ำตกเหวทราย เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่มีความสูงประมาณ 20 เมตร บริเวณด้านใต้น้ำตก มีแอ่งน้ำลึกสามารถลงเล่นน้ำ และใต้น้ำตกมีชะง่อนหินขนาดใหญ่ เป็นเพิงสามารถพักแรมหลบฝนได้ บรรยากาศบริเวณลำห้วยน่าเดินเล่น มีต้นไม้ปกคลุมตลอด ในฤดูฝนน้ำตกมีประมาณน้ำมากและสวยงามมาก


น้ำตกทรายทอง เป็นน้ำตกที่อยู่ห่างจากน้ำตกเหวทราย ประมาณ 500 เมตร มีความกว้างที่สุดประมาณ 30 เมตร สูง 4 เมตร มีบรรยากาศร่มรื่นเหมาะแก่การนั่งเล่นพักผ่อนหย่อนใจ โดยเฉพาะในฤดูฝนน้ำตก มีประมาณน้ำมากตกลงมาเป็นหน้ากว้าง 30 เมตร สวยงามมากเช่นเดียวกัน


ภูผาจิต ภูผาจิต หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ภูด่านอีป้อง ทางเข้าอยู่ตรงกิโลเมตรที่ 69 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (ดอนหล่มสัก-ชุมแพ) ระยะทางเดินเท้าประมาณ 10 กิโลเมตร ทางค่อนข้างลำบาก ใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 6-7 ชั่วโมง สภาพป่าสวยงามมาก ลักษณะเด่นตั้งโดดเดี่ยวบนที่ราบสูง ลักษณะสัณฐานคล้ายภูกระดึงแต่เล็กกว่า เป็นภูเขาที่มียอดราบแบบโต๊ะ มีไม้สนขึ้นอยู่ประกอบด้วยป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ มีต้นไม้มีค่าหลายชนิด ภูเขานี้มียอดสูงสุดในเขตอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว สูง 1,271 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง


ผาล้อมผากอง ทางเข้าอยู่ตรงกิโลเมตรที่ 40 ทางหลวงสายบ้านห้วยสนามทราย-อำเภอหล่มเก่า หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ นน.2 (ภูผากลางดง) ระยะทางเดินเท้าประมาณ 5-7 กิโลเมตร ลักษณะเป็นภูเขาสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 1,134 เมตร เป็นเขาหินปูนเมื่อขึ้นไปบนยอดเขาสามารถมองเห็นทิวทัศน์รอบๆ บริเวณได้ สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบและป่าเบญจพรรณ ประกอบด้วยพรรณไม้ที่มีค่ามาก บริเวณใกล้เคียงยังมีผากลางโหล่น มีความสูงประมาณ 850 เมตร ผาต้นฮอม มีความสูงประมาณ 900 เมตร ซึ่งมีทิวทัศน์สวยงามมากเช่นเดียวกัน


ถ้ำใหญ่น้ำหนาว ถ้ำใหญ่น้ำหนาว หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าภูน้ำริน มีทางเข้าอยู่ตรงกิโลเมตรที่ 60 ทางหลวงสายบ้านห้วยสนามทราย-อำเภอหล่มเก่า บ้านหินลาด มีทางรถยนต์เข้าถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ นน.6 (ถ้ำใหญ่น้ำหนาว) ประมาณ 3 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นเขาหินปูนสูงประมาณ 955 เมตรจากระดับน้ำทะเล ถ้ำใหญ่น้ำหนาวเป็นถ้ำใหญ่มีความงามวิจิตรพิศดารโดยธรรมชาติ มีหินงอกหินย้อยและที่แปลกที่สุดคือ มีน้ำไหลหรือน้ำรินออกจากปากถ้ำ ภายในถ้ำยังเป็นที่อาศัยของค้างคาวจำนวนมากอีกด้วย โดยมีชนิดที่เป็นสัตว์หายากใกล้สูญพันธุ์คือ ค้างคาวมงกุฎมาร์แชล ค้างคาวหูหนูยักษ์ และค้างคาวท้องน้ำตาลใหญ่ ภายในถ้ำสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วง ช่วงแรกระยะทางประมาณ 400 เมตร มีทางเดินเท้าไปตามคูหาต่างๆ ซึ่งมีหินงอกหินย้อยและเสาถ้ำ ทางเดินจะไปสุดที่คูหาซึ่งมีม่านหินงดงาม ช่วงที่ 2 จากระยะทาง 400-1,000 เมตร จะมีทางลัดเลาะ บางครั้งต้องมุดและปีป่ายเข้าไป ช่วงที่ 3 ระยะทางจาก 1,000 เมตร เข้าไป จะมีลำธารน้ำรินไหล ถ้ำมีความลึกประมาณ 4.5 กิโลเมตร


น้ำตกตาดพรานบา ทางเข้าอยู่ใกล้ที่ว่าการกิ่งอำเภอน้ำหนาว กิโลเมตร 20 ทางหลวงสายบ้านห้วยสนามทราย-อำเภอหล่มเก่า เป็นทางลูกรังรถยนต์เข้าถึงน้ำตก มีลักษณะเป็นน้ำตกขนาดใหญ่ปานกลาง ตกจากหน้าผาสูงประมาณ 20 เมตร น้ำตกจากหน้าผาสูงพุ่งเป็นลำสู่เบื้องล่างเป็นสองชั้น มีน้ำซึ่งเกิดจากลำน้ำเชิญตลอด สาเหตุที่น้ำตกมีชื่อว่า ตาดพรานบา เนื่องจากพรานบาเป็นผู้เข้าไปพบน้ำตกแห่งนี้เป็นคนแรก สำหรับคำว่าตาดนั้น เป็นภาษาพื้นบ้านท้องถิ่นหมายถึง น้ำตก


จุดชมทิวทัศน์ภูค้อ ตั้งอยู่บริเวณ กม. 46 ของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (หล่มสัก-ชุมแพ) เป็นจุดชมทิวทัศน์ที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่ง โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวสามารถชมพระอาทิตย์ขึ้นอยู่ในยามเช้า สามารถมองเห็นผืนป่าสวนสนภูกุ่มข้าวสลับกับป่าดงดิบ โดยมีฉากหลังเป็นภูกระดึงและภูผาจิต นอกจากนี้ทางอุทยานแห่งชาติยังได้จัดทำเส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติ ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร ไปยังศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอีกด้วย


ป่าเปลี่ยนสี บริเวณกิโลเมตรที่ 63-70 ของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 สายหล่มสัก-ชุมแพ ในประมาณเดือนธันวาคม-มกราคมของทุกปี ผืนป่าบริเวณนี้ซึ่งเป็นป่าผสมผลัดใบ ก่อนที่พันธุ์ไม้จะผลัดใบ จะมีปรากฏการณ์ธรรมชาติของป่าเปลี่ยนสีที่สวยงามน่าชมยิ่ง โดยเฉพาะที่ภูหลังกงเกวียน จุดที่มองเห็นภูหลังกงเกวียนได้ชัดเจนที่สุดคือ บริเวณ กม.ที่ 61 บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12


เส้นทางศึกษาธรรมชาติ อุทยานแห่งชาติน้ำหนาวได้จัดทำทางเดินเท้า สำหรับเที่ยวชมธรรมชาติในป่าไว้หลายสาย เพื่อให้นักท่องเที่ยวผู้ชอบเดินป่าสามารถชมธรรมชาติได้ทั่วถึง ก่อนการเดินศึกษาธรรมชาติต้องแจ้งเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติทราบก่อน ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวเอง ดังนี้
เส้นทางเดินสายที่ 1 เป็นระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร เริ่มต้นจากทางแยกใกล้ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ระหว่างทางจะได้เห็นสัตว์ป่าบางชนิด ได้แก่ หมาไม้ และนกชนิดต่างๆ โดยเฉพาะในฤดูฝนจะพบรอยช้างจำนวนมาก เส้นทางนี้วนกลับออกมาสู่บริเวณทางเข้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติ

เส้นทางเดินสายที่ 2 เริ่มจากทางเดินตรงข้ามที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ลัดเลาะผ่านป่าเต็งรัง ผ่านบ่อดินโป่งซึ่งมีช้าง กวาง และสัตว์อื่นๆ ไปกินอยู่เสมอ ทางสายนี้จะไปสิ้นสุดที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ นน.4 (ซำบอน) รวมระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร และถ้าเดินกลับที่พักต้องเดินต่ออีกประมาณ 5 กิโลเมตร หากต้องการเดินชมธรรมชาติต่อ สามารถใช้เส้นทางเดินเท้าอันราบเรียบที่ทางอุทยานแห่งชาติจัดไว้ โดยเริ่มต้นจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ เส้นทางนี้ผ่านใจกลางอุทยานแห่งชาติ สุดทางจะเป็นจุดเด่นอยู่ท่ามกลางสวนสน เมื่อขึ้นไปยืนอยู่บนเนินภูกุ่มข้าว จะเห็นยอดสนในบริเวณสวนสนอยู่ในระดับสายตา เป็นแนวติดต่อกันเป็นพืดทั้งสี่ทิศ มองดูแล้วคล้ายๆ กับท้องทะเลยอดสนก็มิปาน และระหว่างทางเดินก็อาจจะได้พบสัตว์ป่า เช่น ช้างป่า กวางป่า เก้ง อีกด้วย ระยะทางจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ถึงสวนสนประมาณ 12 กิโลเมตร

เส้นทางที่ 3 จุดเริ่มต้นอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปประมาณ 800 เมตร เป็นทางเข้าชมป่าสน หรือภาษาพื้นเมืองเรียกว่า ป่าแปก ทางสายนี้นักท่องเที่ยวจะได้ชมไม้สนขึ้นเรียงรายอยู่เป็นระยะๆ และอาจจะได้พบช้างป่า กวางป่า เก้ง รวมทั้งรอยเท้าเสือด้วย

นอกจากนี้ อุทยานแห่งชาติน้ำหนาวยังมีเส้นทางเดินป่าระยะไกลอีก 3 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางพิชิตยอดภูผาจิต ระยะทางไป-กลับ ประมาณ 15 กิโลเมตร เส้นทางเที่ยวถ้ำห้วยประหลาด ระยะทางไป-กลับ ประมาณ 15 กิโลเมตร และ เส้นทางเที่ยวป่าผาล้อม-ผากลอง ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร



:: สิ่งอำนวยความสะดวก ::
ห้องสุขาชาย มีห้องสุขาชายให้บริการ


ห้องสุขาหญิง มีห้องสุขาหญิงให้บริการ


ที่พักแรม/บ้านพัก มีบ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยวจำนวนหลายหลัง นักเที่ยวท่องผู้สนใจที่จะจองบ้านพัก ควรดูผังบริเวณบ้านพักก่อนทำการจอง เนื่องจากบ้านพักจะกระจายกันเป็นกลุ่มๆ ทั้งนี้ เพื่อความเป็นส่วนตัว และไม่ส่งเสียงรบกวนซึ่งกันและกัน


สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์ และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ จำนวน 4 จุด นักท่องเที่ยวที่มาถึงอุทยานแห่งชาติก่อน สามารถเลือกสถานที่กางเต็นท์ได้ตามที่ต้องการ ในบริเวณสถานที่กางเต็นท์ ทางอุทยานแห่งชาติได้จัดเตรียมไฟส่องสว่างไว้ (ไฟสปอร์ตไลท์) จะเปิดถึงประมาณ 21.00 - 22.00 น. จากนั้นจะเปิดเฉพาะไฟส่องสว่างตามทางเดิน ห้องน้ำ-ห้องสุขา และจุดสำคัญอื่นๆ เท่าที่จำเป็น

การสำรองที่พักเต็นท์ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียด และสำรองที่พักเต็นท์ได้กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง


ที่จอดรถ มีลานจอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว ทางอุทยานแห่งชาติขอความร่วมมือจากนักท่องเที่ยวทุกท่าน ขอให้จอดรถอย่างเป็นระเบียบในสถานที่ที่จัดไว้ เพื่อให้นักท่องเที่ยวรายอื่นที่มาถึงที่หลังจะได้มีที่จอดรถ โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดเทศกาล หรือช่วงที่มีวันหยุดต่อเนื่องหลายวัน


บริการอาหาร อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว มีร้านอาหารของทางสวัสดิการซึ่งมีไว้บริการจัดส่งถึงที่พัก สามารถติดต่อหรือสั่งจองล่วงหน้าได้ที่ หมายเลข 0 - 5672 - 9002, 0 - 9563 - 9816


ร้านขายของที่ระลึก มีร้านค้าสำหรับจำหน่ายของที่ระลึกแก่นักท่องเที่ยว


ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.



อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์

ข้อมูลทั่วไป

เมืองเก่าศรีเทพ เดิมชื่อ "เมืองอภัยสาลี" ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็น "เมืองศรีเทพ" เป็นเมืองที่สร้างขึ้นในยุคของขอมเรืองอำนาจ ซึ่งคาดว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 1,000 ปี

เมืองศรีเทพเป็นเมืองที่มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ มีเนื้อที่ประมาณ 2,889 ไร่ หรือ 4.7 ตารางกิโลเมตร ภายในตัวเมืองศรีเทพแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ เมืองส่วนใน มีลักษณะเป็นรูปเกือบกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 กิโลเมตร มีช่องทางเข้าออก 8 ช่องทาง พื้นที่ภายในเป็นที่ราบลอนคลื่น มีสระน้ำและหนองน้ำกระจายอยู่ทั่วไป และมีโบราณสถานที่ขุดแต่งแล้ว และยังไม่ได้ขุดแต่งประมาณ 70 แห่ง

ส่วนเมืองส่วนนอก มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าต่อกับเมืองส่วนใน มีขนาดเป็น 2 เท่าของเมืองส่วนใน มีช่องทางเข้าออก 7 ช่องทาง มีสระน้ำกระจายอยู่ทั่วไป และมีโบราณสถานกระจายอยู่แบบเดียวกับเมืองส่วนใน


การเดินทาง

เมืองศรีเทพอยู่ห่างจากตัวเมืองเพชรบูรณ์ประมาณ 130 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 21 (สระบุรี-หล่มสัก) ถึงหลักกิโลเมตรที่ 102 แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2211 ไปอีกประมาณ 9 กิโลเมตร จะมีป้ายบอกทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์ด้านขวามือ

สิ่งอำนวยความสะดวก

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.00-17.00 น. ค่าเข้าชมคนไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท สำหรับผู้ที่สนใจเข้าชมเป็นหมู่คณะและต้องการติดต่อวิทยากรนำชมและบรรยาย ติดต่อโดยตรงได้ที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ 67170 โทร. (056) 799466


โบราณสถานและสถานที่สำคัญ

ศาลเจ้าพ่อศรีเทพ
อยู่ห่างจากประตูทางเข้าเล็กน้อยทางด้านขวามือศาลเจ้าพ่อศรีเทพ ไม่ใช่โบราณสถาน แต่เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านทั่วไป โดยทุกปีจะมีงานบวงสรวง ในราวเดือนกุมภาพันธ์ (ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3)

โบราณสถานเขาคลังใน
เชื่อกันว่าเป็นที่เก็บอาวุธและทรัพย์สมบัติต่าง ๆ จึงเรียกว่า “เขาคลัง” ก่อสร้างประมาณพุทธศตรวรรษที่ 11-12 ผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง ที่ฐานมีรูปปูนปั้นบุคคลและสัตว์ประดับเป็นศิลปะแบบทวาราวดี มีลักษณะของศิลปะแบบเดียวกับที่พบที่เมืองคูบัว จังหวัดราชบุรี โบราณสถานโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์ และวัดนครโกษา จังหวัดลพบุรี

ปรางค์ศรีเทพ
เป็นสถาปัตยกรรมแบบศิลปะเขมรหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ลักษณะของปรางค์สร้างด้วยอิฐและศิลาแลง ฐานล่างก่อด้วยศิลาแลงเป็นฐานบัวลูกฟัก แบบเดียวกับสถาปัตยกรรมเขมรทั่วๆ ไป เรือนธาตุก่อด้วยอิฐ ในการขุดค้นบริเวณนี้ พบชิ้นส่วนทับหลังรูปลายสลักราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 ซึ่งน่าจะเป็นการสร้างเพิ่มหลังจากโบราณสถานเขาคลังใน ต่อมาประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 มีการพยายามจะปรับปรุงใหม่แต่ไม่สำเร็จ โดยได้พบชิ้นส่วนทิ้งกระจัดกระจาย

ปรางค์สองพี่น้อง
ลักษณะเป็นปรางค์ 2 องค์ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงขนาดใหญ่ หันหน้าไปทางทิศตะวันตกเช่นเดียวกับปรางค์ศรีเทพ มีประตูทางเข้าทางเดียวจากการขุดแต่งทางโบราณคดี พบทับหลังที่มีจำหลักเป็นรูปพระอิศวรอุ้มนางปารพตี ประทับนั่งอยู่เหนือโคอศุภราช ซึ่งเป็นลักษณะของทับหลัง และเสาประดับกรอบประตู เป็นสิ่งกำหนดอายุของปรางค์ ซึ่งอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 เป็นศิลปะขอมแบบบาปวน ต่อนครวัด และได้มีการสร้างปรางค์องค์เล็กเพิ่ม โดยพบร่องรอยการสร้างทับกำแพงแก้วล้อมรอบปรางค์องค์ใหญ่ ซึ่งอยู่ใต้ปรางค์องค์เล็ก และยังมีการก่อปิดทางขึ้นโดยเสริมทางด้านหน้าให้ยื่นออกมา และก่อสร้างอาคารขนาดเล็กทางทิศเหนือเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ระหว่างตัวปราสาททั้งสองแห่ง คือ ปรางค์สองพี่น้อง และปรางค์ศรีเทพ มีกำแพงล้อมรอบและมีอาคารปะรำพิธีขนาดเล็กกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป แสดงให้เห็นถึงลักษณะการวางผังในรูปของศาสนสถานศิลปะเขมรแบบเดียวกับที่พบในภาคอีสานของประเทศไทย

โบราณสถานอื่นๆ
นอกจากโบราณสถานหลักแล้วยังมีโบราณสถานย่อยๆ กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป เช่น ทิศใต้เขาคลังใน พบโบสถ์ก่อด้วยศิลาแลงมีพบใบเสมาหินบริเวณใกล้หลุมขุดค้น มีโบราณสถานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสมัยทวารวดี และมาก่อสร้างทัพในระยะที่มีการรับเอาศาสนาพราหมณ์เข้ามา จึงเห็นได้ว่าบริเวณเมืองชั้นในเดิมน่าจะเป็นเมืองแบบทวารวดี และมีการสร้างสถาปัตยกรรมเขมรในระยะหลังเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ทางทิศใต้ยังพบอาคารมณฑปแบบทวารวดีขนาดใหญ่ และมีการพยายามเปลี่ยนแปลงให้เป็นเทวาลัยประมาณต้นศตวรรษที่ 18 แต่ไม่สำเร็จ เช่นเดียวกับปรางค์ศรีเทพ

สระแก้วสระขวัญ
สระแก้วจะอยู่นอกเมืองไปทางทิศเหนือ ส่วนสระขวัญจะอยู่ในบริเวณเมืองนอก สระน้ำทั้งสองสระนี้มีน้ำขังตลอดปี และเชื่อกันว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ มีการนำน้ำทั้งสองสระนี้ไปทำน้ำพิพัฒน์สัตยาตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงปัจจุบัน


เพชรบูรณ์ เพชรบูรณ์ เพชรบูรณ์ เพชรบูรณ์ เพชรบูรณ์ เพชรบูรณ์ เพชรบูรณ์ เพชรบูรณ์ เพชรบูรณ์

0 ความคิดเห็น: