วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรี

:: จังหวัดเพชรบุรี ::

จังหวัดเพชรบุรี :: ข้อมูลทั่วไป

- เพชรบุรี เป็นจังหวัดในภาคกลางที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลอ่าวไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ เป็นระยะทาง 123 กิโลเมตร เป็นเมืองเก่าแก่ที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน โดยมีชื่อปรากฏอยู่ในศิลาจารึกหลักที่หนึ่งสมัยสุโขทัยและมีหลักฐานทางโบราณคดี ซึ่งมีอายุย้อนไปถึงสมัยขอมและสมัยทวารวดี ทั้งยังเคยเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญชั้นเมืองลูกหลวงในสมัยอยุธยา

- เพชรบุรี มีพื้นที่ 6,255.138 ตารางกิโลเมตร สภาพภูมิประเทศทางด้านทิศตะวันตกเป็นป่าเขาสลับซับซ้อน มีเทือกเขาตะนาวศรีเป็นเส้นกั้นอาณาเขตระหว่างไทยกับสหภาพพม่า เฉพาะในเขตจังหวัดเพชรบุรีมีความยาวประมาณ 120 กิโลเมตร ส่วนทางด้านทิศตะวันออกเป็นที่ราบไปจนจดชายฝั่งทะเลอ่าวไทยซึ่งมีความยาวจากเหนือจดใต้ ประมาณ 80 กิโลเมตร พื้นที่ของจังหวัดเพชรบุรีมีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่าน 3 สาย ได้แก่ แม่น้ำเพชรบุรี มีความยาวตลอดสาย 227 กิโลเมตร แม่น้ำบางกลอย มีความยาว 44 กิโลเมตร และแม่น้ำบางตะบูน มีความยาว 18 กิโลเมตร

- ประชากรจังหวัดเพชรบุรีส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก มีการทำนา สวนผลไม้ ทำน้ำตาลโตนด เลี้ยงสัตว์ และทำการประมง


- ประวัติและความเป็นมา
เพชรบุรี เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ นับเนื่องไปได้เป็นพันปี จากหลักฐานทางโบราณคดี ที่บ่งว่าเคยมีคนอาศัยอยู่ เป็นชุมชนถาวรนั้น มีอายุย้อนไปถึงยุคทวารวดีเลยทีเดียว

- ในยุคที่ขอมเรืองอำนาจ อยู่ในดินแดนบางส่วนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบันนี้ คือ ในราว 800 ปีมาแล้วนั้น มีจารึกพระขรรค์ ที่กล่าวถึงเมืองเมืองหนึ่ง ที่ชื่อว่า "ศรีวิชัยวัชรปุระ" เมืองนี้ นักวิชาการหลายท่านเชื่อว่า หมายถึงเมืองเพชรบุรี ด้วยเหตุที่คำว่า วัชรปุระ นั้น เมื่อแผลงอักษร ว เป็น พ ก็จะได้เป็นพัชร หรือ เพชร และ ปุระกับบุรี ก็มีความหมายเหมือนกัน ดังนั้น วัชรปุระ กับ เพชรบุรี ก็คือ คำคำเดียวกันนั่นเอง

- ชื่อเมืองเพชรบุรีนี้ จะมีที่มาจากอะไรหรือ มีความหมายเกี่ยวเนื่องมาจากสิ่งใดไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ชื่อ เพชรบุรี นั้น ก็ปรากฎหลักฐาน เป็นลายลักษณ์อักษรว่ามีใช้ในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกันกับชื่อ วัชรปุระ โดยมีกล่าวถึงในจารึกสมัยสุโขทัย อายุกว่า 700 ปีมาแล้ว เป็นเรื่องราวการเดินทางของเชื้อพระวงศ์กษัตริย์สุโขทัยพระองค์หนึ่ง จากศรีลังกา กลับมายังสุโขทัย ในจารึกกล่าวว่า เมื่อขึ้นบกที่เมืองตะนาวศรีแล้ว ท่านได้เดินทางผ่านเพชรบุรี ราชบุรี และอยุธยา เพื่อจะกลับไปยังสุโขทัย

- ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา เพชรบุรี มีความเกี่ยวข้องกับตำนานของปฐมกษัตริย์แห่งอยุธยาว่า พระเจ้าอู่ทองนั้น เคยครองเมืองเพชรบุรีมาก่อน แต่ข้อเท็จจริงประการหนึ่งในประวัติศาสตร์ ก็คือ ตลอดสมัยอาณาจักรอยุธยา ซึ่งมีศึกสงครามรบพุ่ง กับรัฐหรือ อาณาจักรใกล้เคียงอยู่แทบจะไม่ว่างเว้นนั้น เพชรบุรี เป็นหัวเมืองสำคัญอย่างยิ่งในสองสถานะ สถานะแรกคือ เป็นแหล่งสะสมเสบียงอาหาร เนื่องจากสภาพภูมิประเทศของเพชรบุรี มีพื้นที่ราบลุ่ม ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูก ทำนา ที่อุดมสมบูรณ์ยิ่ง สถานะที่สอง คือ เป็นเมืองที่มีชัยภูมิดี ทั้งทางบกและทางทะเล ในยามศึก เพชรบุรี เป็นเมืองหน้าด่านทางใต้ ที่สำคัญของอาณาจักรอยุธยา เมื่อพม่ายกทัพมาทางบก โดยใช้เส้นทางช่องสิงขรด้านใต้ ในยามสงบ เพชรบุรี มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่าน ที่ช่วยดูแลหัวเมืองปักษ์ใต้ชายทะเล

- เพชรบุรี คงดำรงสถานะหัวเมืองสำคัญเช่นนี้ สืบมาจนล่วงเข้าสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ อังกฤษ เข้ายึดครองพม่า ทำให้การสงครามระหว่างพม่า กับไทย ยุติลงอย่างสิ้นเชิง บทบาทหัวเมืองหน้าด่านของ เพชรบุรี จึงเปลี่ยนแปลงไปนับแต่นั้นมา

- ในสมัยต่อมา เพชรบุรี ยังคงมีชื่อปรากฎเกี่ยวข้องอยู่กับประวัติศาสตร์ไทยอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวเนื่องด้วย พระมหากษัตริย์ แต่ความสำคัญของเมืองเพชร กลับกลายจากเมืองทางยุทธศาสตร์ มาเป็นเมืองที่ประทับ ในการเสด็จแปรพระราชฐาน ของพระมหากษัตริย์ ถึงสามรัชกาลติดต่อกัน คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ร่องรอยที่เป็นนามธรรม และรูปธรรม ที่ยังคงเหลืออยู่ ได้แก่ ความทรงจำที่เล่าขานกันสืบมา อย่างภาคภูมิใจ ในหมู่ชาวเมืองเพชร และพระราชวังสำคัญสามแห่ง คือ พระนครคีรี พระรามราชนิเวศน์ และพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ที่ยังคงอยู่คู่เมืองเพชรบุรีสืบมา

- อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม และอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ทิศตะวันออก ติดต่อชายฝั่งทะเลอ่าวไทย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับสหภาพพม่า

- จังหวัดเพชรบุรี แบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ คืออำเภอเมือง อำเภอเขาย้อย อำเภอ หนองหญ้าปล้อง อำเภอบ้านแหลม อำเภอบ้านลาด อำเภอท่ายาง อำเภอแก่งกระจาน และอำเภอชะอำ


หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ (รหัสทางไกล 032)
งานข่าวสารการท่องเที่ยว ททท.
02-694-1222 ต่อ 8 , 02-282-9773

ททท.ภาคกลางเขต 2 (ชะอำ)
032-471-005-6

ประชาสัมพันธ์จังหวัด
032-428-047 , 032-425-573

ตำรวจท่องเที่ยว
1155

ตำรวจทางหลวง
032-425-005

สภ.อ.เมือง
032-425-500

สภ.ต.หาดเจ้าสำราญ
032-478-300

สภ.อ.แก่งกระจาน
032-459-267

สภ.อ.เขาย้อย
032-562-500

สภ.อ.ชะอำ
032-471-321

สภ.อ.ท่ายาง
032-461-500

สภ.อ.บ้านลาด
032-491-100

สภ.อ.บ้านแหลม
032-481-500

สภ.ต.บางตะบูน
032-489-250

สภ.อ.หนองหญ้าปล้อง
032-494-364

รพ.ค่ายรามราชนิเวศน์
032-428-085 , 032-428-506-9

รพ.ผลกำเนิดศิริ
032-425-075

รพ.พระจอมเกล้า
032-401-251-7

รพ.เพชรรัชต์
032-417-070-9

รพ.เมืองเพชร-ธนบุรี
032-415-191-9

รพ.วัชรเวช
032-425-592

รพ.สหแพทย์
032-427-980 , 032-428-203

รพ.แก่งกระจาน
032-459-258

รพ.เขาย้อย
032-562-200

รพ.ชะอำ
032-471-007

รพ.ท่ายาง
032-461-100

รพ.บ้านลาด
032-491-051

รพ.บ้านแหลม
032-481-145

รพ.หนองหญ้าปล้อง
032-494-353-4


:: โรงแรม หัวหิน ชะอำ ที่พัก หัวหิน ชะอำ ::


** ช่วงเทศกาล งานประเพณี วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ต่างๆ ห้องพักตามโรงแรม รีสอร์ทสวยๆ
บางแห่งมักจะเต็มเร็ว ... เพื่อความมั่นใจ กรุณาวางแผนจองห้องพักล่วงหน้าแต่เนิ่นๆครับ ** [ วิธีการจองที่พัก ]



- โรงแรม หัวหิน ที่พัก หัวหิน

บานีโต้ บีช รีสอร์ท (Banito Beach Resort) Bangsapan, Prachuabkhirikhan
บ้านกลางอ่าว บีช รีสอร์ท (Baanklangaow Beach Resort) Bangsapan, Prachuabkhirikhan
Thai Bamboo Guesthouse Resort Cha Am
Bannpantai Hotel and Resort
Cha-am
โรงแรม แก่นจันทร์บีช (Kaenchan Beach Hotel) ชะอำ
ฮอลิเดย์ รีสอร์ท ชะอำ (Holiday Resort Cha-Am) ชะอำ
คาซา ปาปาย่า รีสอร์ท (Casa Papaya) ชะอำ
อิมพีเรียล เลค วิว แอนด์ กอล์ฟคลับ (Imperial Lake View & Golf Club) ชะอำ
สปริงฟิลด์ บีช รีสอร์ท (Springfield Beach Resort) ชะอำ
ดุสิต รีสอร์ท แอนด์ โปโล คลับ (Dusit Resort & Polo Club) ชะอำ
สปริงฟิลด์ วิลเลจ กอล์ฟ แอนด์ สปา (Springfield Village Golf & Spa) ชะอำ
โรงแรม เจมส์ ชะอำ (Gems Cha-Am Hotel) Cha Am Beach
โรงแรม ลอง บีช ชะอำ (Long Beach Cha-Am Hotel) Cha Am Beach
บีช การ์เด้น ชะอำ รีสอร์ท (Beach Garden Chaam Resort & Spa) Cha Am Beach
โรงแรม โกลเด้น บีช ชะอำ (Golden Beach Cha-Am Hotel) Cha Am Beach
โรงแรม เมธาวลัย ชะอำ (Methavalai Hotel Cha-Am) Cha Am Beach
Holiday Inn Resort Regent Beach Cha-Am Cha Am Beach
Baan Talay Samran Cha Am Beach
ทิพย์วิมาน บีช รีสอร์ท (Tipviman Beach Resort, Cha Am - Hua Hin) Cha Am Beach
วีรันดา รีสอร์ท แอนด์ สปา (Veranda Resort and Spa) ชะอำ
Tanawit Hua Hin Condo & Hotel หัวหิน
มาเจสติค บีช รีสอร์ท (Majestic Beach Resort) หัวหิน
Seahorse Resort หัวหิน
คาซา เดล มาเร่ย์ หัวหิน (Casa del Mare, Hua Hin) หัวหิน
หัวหิน แมริออท รีสอร์ท แอนด์ สปา (Hua Hin Marriott Resort & Spa) หัวหิน
วรบุระ รีสอร์ท แอนด์ สปา (Wora Bura Resort & Spa) หัวหิน
พุทธรักษา หัวหิน (Putahracsa Hua Hin) หัวหิน
ไฮแอท รีเจนซี่ หัวหิน (Hyatt Regency Hua Hin) หัวหิน
ฮิลตัน หัวหิน รีสอร์ท แอนด์ สปา (Hilton Hua Hin Resort & Spa) หัวหิน
โซฟิเทล เซ็นทารา แกรนด์ รีสอร์ท แอนด์ วิลล่า หัวหิน (Sofitel Centara Grand Resort & Villas Hua Hin) หัวหิน
Let`s Sea Hua Hin AL Fresco Resort Hua Hin
อนันตรา หัวหิน (Anantara Hua Hin) Hua Hin
The Villas At Sofitel Central Hua Hin Resort Hua Hin
Doodi Guesthouse Hua Hin Town
Ruen Rom Condominuim, Hua Hin Hua Hin
Imperial Hua Hin Beach Resort Hua Hin
Mango Spa & Resort Hua Hin
Sun Dance Wellness Residence Hua Hin Hua Hin
Napalai Resort & Spa Hua Hin
บ้านทะเลจีน (Baan Talay Chine Boutique Hotel and Yoga) Hua Hin
Baan Rajdamnern Hua Hin
Dhevan Dara Resort & Spa Hua Hin
Hua Hin Blue Lagoon Serviced Apartment Hua Hin
บ้านบาหยัน (Baan Bayan) Hua Hin
Baan Busaba Pool Villa Hua Hin
อาคา รีสอร์ท หัวหิน (AKA Resort Hua Hin) Hua Hin
Chomtawan Resort
Hua Hin
อนันตศิลา (Anantasila) Hua Hin
S` mor Spa Village Hua Hin
Baan Kangmung Hua - Hin Hua Hin
โรงแรม ทิพย์อุไร ซิตี้ (Thipurai City Hotel) Hua Hin Town
Hua Hin White Sand (forment Hua Hin Suites) Hua Hin Town
โรงแรม หัวหิน แกรนด์ (Hua Hin Grand Hotel) Hua Hin Town
โรงแรม แซนด์ อินน์ (Sand Inn Hotel) Hua Hin Town
ซิตี้ บีช รีสอร์ท (City Beach Resort) Hua Hin Town
Prinz Garden Villa Service Apartment Hua Hin Town
โรงแรม พีโอนี หัวหิน (Peony Hua Hin Hotel) Hua Hin Town
รอยัล เอเชีย ลอด์จ (Royal Asia Lodge) Hua Hin Town
Kao Tao Villa Beach Resort Hua Hin, Kao Tao Village
หิน น้ำ ทราย สวย (Hin Nam Sai Suay) Hua Hin, Petchkasem Road
เวอร์รันดา ลอด์จ (Veranda Lodge) Hua Hin, Petchkasem Road
Baan Na Takiab Hua-Hin Hua Hin-Khao Takiab Rd.,
แก่งกระจาน คันทรี คลับ (Kaeng Krachan Country Club and Resort) Kaeng Krachan
เกาะทะลุ ไอส์แลนด์ รีสอร์ท (Koh Talu Island Resort) Koh Talu
Lawana Beach Resort Paknampran
สวนบ้านกรูด บีช รีสอร์ท (Suan Bankrut Beach Resort) Petchburi, Bankrut Beach
ระเบียงเรือ (Rabiang Rua) Petchburi, Chaosamran Beach
Tuangsook Lake Hills Resort ปราณบุรี
Brassiere Beach, The Cosy Beach ปราณบุรี
ภูริมันตรา รีสอร์ท แอนด์ สปา (Purimuntra Resort and Spa) ปราณบุรี
อลีนตา รีสอร์ท แอนด์ สปา (Aleenta Resort & Spa) ปราณบุรี
เอวาซอน ไฮด์อเวย์ หัวหิน (Evason Hideaway Hua Hin & Spa) Pranburi
แบ็คคัส โฮม รีสอร์ท (Bacchus Home Resort) Pranburi , Paknampran
ปัตตาเวีย รีสอร์ท แอนด์ สปา (Pattawia Resort and Spa) Pranburi, Nareansaun Beach
โรงแรม มิลฟอร์ด พาราไดซ์ หัวหิน (Milford Paradise Hua Hin) Pranburi, Paknampran Beach
ตะนาวศรี รีสอร์ท (Tanao Sri Resort) Pranburi, Paknampran Beach
โกลเด้น ไพน์ บีช รีสอร์ท (Golden Pine Beach Resort & Spa) Pranburi, Paknampran Beach
เอวาซอน หัวหิน (Evason Hua Hin & Six Senses Spa) Pranburi, Paknampran Beach
ประเสบัน รีสอร์ท (Praseban Resort) Pranburi, Paknampran Beach
I Resort Cliff View
Pranburi
เลอ เบย์บุรี เดอ ปราณ (Le Bayburi De Pran) Pranburi
ดอลฟิน เบย์ รีสอร์ท (Dolphin Bay Resort) Pranburi, Samroiyod
อัญชนา รีสอร์ท แอนด์ สปา (Anchana Resort & Spa) Pranburi, Samroiyod
ปึกเตียน คาบาน่า บีช รีสอร์ท (Puktien Cabana Beach Resort) Puk Tien
คาชัวรินา รีสอร์ท (Casuarina Resort) Puk Tien Beach
สามร้อยยอด ฮอลิเดย์ รีสอร์ท (Sam Roi Yod Holiday Resort) Sam Roi Yod
ไพรเวซี่ บีช รีสอร์ท แอนด์ สปา (Privacy Beach Resort & Spa) Sam Roi Yod
Lealawadee At The Beach Sam Roi Yod
บ้านไทย รีสอร์ท (Baan Thai Resort) Takiab Beach
Coral Keys Bungalows Takiab Beach
ตะเกียบ บีช รีสอร์ท (Takiab Beach Resort) Takiab Beach
โรงแรม หัวหิน บลูเวฟ (Hua Hin Bluewave Hotel) Takiab Beach
Chom View Hotel Holiday Apartments Takiab Beach
บ้านดวงแก้ว รีสอร์ท (Baan Duangkaew Resort) Takiab Beach
กบาลถมอ รีสอร์ท (Kaban Tamor Resort) Takiab Beach
บ้านทะเลดาว รีสอร์ท (Baan Talay Dao Resort) Takiab Beach
Ocean Breeze Boutique Garden Suites Takiab Beach
เดอะร็อค หัวหิน (The Rock Hua Hin) Takiab Beach
สุภัทรา หัวหิน รีสอร์ท (Supatra Hua Hin Resort) Takiab Beach
X2 Resort Kui Buri
Muang, Prachuap Khiri Khan

- จังหวัดเพชรบุรี :: สถานที่ท่องเที่ยว อำเภอเมือง

- อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี (เขาวัง)
เป็นโบราณสถานเก่าแก่คู่เมืองเพชรบุรี ตั้งอยู่บนยอดเขาสูง 92 เมตร เดิมเรียกว่า เขาสมนหรือเขาคีรี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพอพระราชหฤทัยที่จะสร้างพระราชวัง สำหรับเสด็จแปรพระราชฐานขึ้นบนยอดเขาแห่งนี้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาเพชรนิสัยศรีสวัสดิ์ ปลัดเมืองเพชรบุรีเป็นนายงานก่อสร้างจนสำเร็จเรียบร้อยเมื่อปี พ.ศ. 2403 ทรงพระราชทานนามว่าพระนครคีรี แต่ชาวเมืองเพชรเรียกกันติดปากว่าเขาวัง สืบมาจนบัดนี้

- พระนครคีรีมีพระที่นั่ง พระตำหนัก วัด และกลุ่มอาคารต่าง ๆ มากมาย ส่วนใหญ่เป็นสถาปัตยกรรมตะวันตก แบบนิโอคลาสสิค ผสมสถาปัตยกรรมจีน ตั้งอยู่บนยอดเขาใหญ่ ๆ 3 ยอดด้วยกัน ดังนี้

- ยอดเขาด้านทิศตะวันออก
บริเวณไหล่เขาเป็นที่ตั้งของวัดมหาสมณาราม ภายในพระอุโบสถมีภาพเขียนฝีมือขรัวอินโข่งบนผนังทั้งสี่ด้าน เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยา ส่วนบนยอดเขาเป็นที่ตั้งของวัดพระแก้ว เป็นวัดประจำพระราชวังพระนครคีรี เช่นเดียวกับวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเป็นวัดประจำพระบรมมหาราชวังในกรุงเทพฯ ภายในวัดพระแก้วประกอบด้วยพระอุโบสถขนาดเล็ก ประดับด้วยหินอ่อน ด้านหลังเป็นพระพุทธเสลเจดีย์ ด้านหน้าพระอุโบสถเป็นหอระฆังรูปสี่เหลี่ยมย่อมุมขนาดเล็ก

- เขายอดกลาง
เป็นที่ประดิษฐานพระธาตุจอมเพชร มีความสูง 40 เมตร บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ภายใน จากจุดนี้สามารถมองเห็นพระที่นั่งต่าง ๆ บนยอดเขาอีก 2 ยอด รวมทั้งทิวทัศน์ของตัวเมืองเพชรบุรีได้อีกด้วย

- ยอดเขาด้านทิศตะวันตก
เป็นที่ตั้งของพระราชวังที่ประทับอันได้แก่ พระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ พระที่นั่งปราโมทย์มไหสวรรย์ พระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาท พระที่นั่งราชธรรมสภา หอชัชชวาลเวียงชัย หอพิมานเพชรมเหศวร ตำหนักสันถาคารสถาน หอจตุเวทปริตพจน์ ศาลาทัศนา-นักขัตฤกษ์ นอกจากนี้แล้วยังมีโรงรถ โรงม้า ศาลามหาดเล็ก ศาลาลูกขุน ศาลาต่าน ศาลาเย็นใจ ทิมดาบ โรงครัว ตามแบบพระราชวังทั่วไป รอบพระราชวังมีป้อมล้อมอยู่ทั้ง 4 ทิศคือ ป้อมทศรถป้องปากทางทิศตะวันออก ป้อมวรุฬหกบริรักษ์ทางทิศใต้ ป้อมวิรุฬปักษ์ป้องกันทางทิศตะวันตก และป้อมเวสสุวรรณรักษาทางทิศเหนือ

- กรมศิลปากรได้ใช้บางส่วนของพระราชวัง บนยอดเขาด้านทิศตะวันตกนี้จัดตั้งเป็น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครคีรี ภายในเก็บรักษาโบราณวัตถุต่าง ๆ ได้แก่ เครื่องราชูปโภคของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รูปหล่อโลหะสำริด และทองเหลืองที่ใช้สำหรับตกแต่งห้องต่าง ๆ ในพระที่นั่ง และเครื่องกระเบื้องของจีน ญี่ปุ่น และยุโรป เฉพาะส่วนของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินี้ เปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. ทุกวันเว้นวันจันทร์ และวันอังคาร

- อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่ 08.30-16.30 น. ค่าเข้าชม (รวมค่าเข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครคีรี) ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 20 บาท นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นชมเขาวังได้โดยการเดินขึ้น หรือโดยสารรถรางไฟฟ้า (ตั๋วไป-กลับ รวมค่าเข้าชมทั้งหมด) เสียค่าบริการ ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 40 บาท

- วัดพระพุทธไสยาสน์
ตั้งอยู่เชิงเขาวังด้านทิศใต้ เป็นวัดเก่าแก่สมัยอยุธยา ประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์ ที่มีลักษณะงดงาม และมีขนาดใหญ่เป็นหนึ่งในสี่ของประเทศ

- เขาบันไดอิฐ
เป็นเขาขนาดย่อมมียอดสูง 121 เมตร อยู่ห่างจากเขาวังประมาณ 2 กิโลเมตร บนยอดเขามีวัดเก่าแก่สมัยอยุธยา ชื่อวัดเขาบันไดอิฐ อันเป็นสำนักวิปัสสนากรรมฐานที่มีชื่อเสียงมาแต่เดิม ในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยานั้น เจ้าอธิการแสงแห่งวัดเขาบันไดอิฐ มีชื่อเสียงในด้านกรรมฐานมาก สมเด็จพระเจ้าเสือเคยทรงฝากตัวเป็นศิษย์ นอกจากวัดเขาบันไดอิฐ ถ้ำแรก คือ “ถ้ำประทุน” มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ตามผนังถ้ำทั้งสองด้าน ลึกเข้าไปจะเป็นถ้ำ “พระเจ้าเสือ” ที่ชื่อเช่นนี้เพราะมีเรื่องเล่ากันมาว่า พระเจ้าเสือได้เสด็จมาหาอาจารย์แสง และได้ถวายพระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทรสูงประมาณ 2 เมตร และได้ประดิษฐานไว้ที่ถ้ำนี้ ถ้าหากเดินต่อลึกเข้าไปทางด้านใต้จะมีบันไดลงสู่ถ้ำอีกคูหาหนึ่ง มีชื่อเรียกว่า ถ้ำพระพุทธไสยาสน์ ด้วยมีพระนอนองค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่ มีพุทธลักษณะที่งดงาม และตรงซอกผนังถ้ำมีประทุนเรือ ทำด้วยไม้เก่าแก่มาก เป็นประทุนเรือที่พระเจ้าเสือถวายอาจารย์แสง นอกจากถ้ำที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เขาบันไดอิฐยังมีถ้ำอีกมากมาย เช่น ถ้ำพระอาทิตย์ พระจันทร์ ถ้ำสว่างอารมณ์ ถ้ำช้างเผือก และถ้ำดุ๊ค ซึ่งมีชื่อตามดุ๊คโยฮันฮัลเบิร์ต ผู้สำเร็จราชการเมืองปอร์นสวิค ผู้เคยมาเยือนเพชรบุรีและมาเที่ยวถ้ำแห่งนี้

- ถ้ำเขาหลวง
อยู่บนเขาหลวง ห่างจากเขาวังประมาณ 5 กิโลเมตร จากเชิงเขามีบันไดคอนกรีตนำสู่ทางลงถ้ำ เขาหลวงเป็นภูเขาขนาดเล็กมียอดสูงสุดเพียง 92 เมตร มีหินงอกหินย้อยสีสันสวยงาม ภายในมีปล่องที่แสงอาทิตย์สามารถส่องเข้ามาภายในถ้ำได้ทำให้สวยงามยิ่งขึ้น สำหรับถ้ำเขาหลวงถือเป็นถ้ำใหญ่ และสำคัญที่สุดของจังหวัด ภายในถ้ำประดิษฐานพระพุทธรูปฉลองพระองค์อันสำคัญยิ่ง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถ้ำแห่งนี้เคยเป็นที่เสด็จประพาสมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดถ้ำเขาหลวงมาก ได้ทรงบูรณะพระพุทธรูปเก่าแก่ที่มีมาแต่โบราณภายในถ้ำนี้หลายองค์ด้วยกัน และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างบันไดหินลงไปในถ้ำ

- ตรงทางเข้าเชิงเขาหลวงด้านขวามือมีวัดใหญ่อยู่วัดหนึ่ง ชาวเมืองเรียกว่า “วัดถ้ำแกลบ” ปัจจุบันชื่อ “วัดบุญทวี” ซึ่งเป็นวัดใหญ่ น่าชมมาก เพราะท่านเจ้าอาวาสวัดนี้เป็นช่าง ได้ออกแบบและสร้างศาลาการเปรียญที่ใหญ่โต ประตูโบสถ์เป็นไม้สลักลายสวยงามมาก วัดถ้ำแกลบนี้มีตำนานเล่าว่า ปากถ้ำแกลบที่วัดนี้คือ ทางเข้าสู่เมือลับแลอันเป็นเมืองที่มีแต่หญิงสาวทั้งนั้น แต่ก็เป็นเพียงตำนานของชาวเมืองเพชรนับร้อยปีมาแล้ว

- วัดมหาธาตุวรวิหาร
อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 500 เมตร เป็นวัดเก่าแก่ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเพชรบุรีฝั่งตะวันตก ภายในวัดแบ่งเขตพุทธวาสออกจากเขตสังฆาวาส สิ่งที่น่าสนใจในวัด ได้แก่ ปรางค์ห้ายอด เป็นปรางค์ก่ออิฐฉาบปูน สร้างตามคติมหายานถวายพระธยานิพุทธทั้งห้า ซึ่งทำรูปจำลองประดิษฐานอยู่บนยอดปรางค์แต่ละองค์ สันนิษฐานว่าเดิมปรางค์ห้ายอดนี้ คงจะเป็นพระเจดีย์ห้ายอดเช่นเดียวกับที่เมืองนครศรีธรรมราช แล้วมาแก้ไขเป็นปรางค์ในสมัยหลัง ภายในปรางค์ใหญ่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือ ภาพปูนปั้นต่าง ๆ ในวิหารหลวงและพระอุโบสถ ฝีมือช่างเมืองเพชร ซึ่งหาดูได้ยาก นอกจากนั้นในวิหารยังบรรจุพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวเพชรบุรีนับถือมาก คือ รูปหลวงพ่อวัดมหาธาตุ รูปหลวงพ่อบ้านแหลม และรูปหลวงพ่อวัดเขาตะเครา

- วัดใหญ่สุวรรณาราม
อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 1 กิโลเมตร วัดนี้ปฏิสังขรณ์ ในสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ หรือพระศรีสรรเพชรที่ 8 โดยสมเด็จพระสังฆราชแตงโม ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการปฏิสังขรณ์ และสร้างพระระเบียงคดรอบพระอุโบสถที่ไม่มีหน้าต่าง ภายในมีภาพเขียนเทพชุมนุมที่แปลกกว่าที่อื่น ภาพเขียนนี้มีอายุกว่า 300 ปีมาแล้ว

ศาลาการเปรียญ
เป็นเรือนไม้สักทั้งหลัง เดิมเป็นพระที่นั่งองค์หนึ่งในพระราชวังที่อยุธยา ซึ่งสมเด็จพระเจ้าเสือได้ทรงถวายแก่สมเด็จพระสังฆราช ศาลาการเปรียญวัดนี้มีความสวยงามมาก ฝีมือการแกะสลักไม้อ่อนช้อยงดงาม โดยเฉพาะที่บานประตู ภายในศาลาการเปรียญมีธรรมาสน์เทศน์ ซึ่งแกะสลักลงรักปิดทอง รูปทรงเป็นบุษบกที่งดงามและสมบูรณ์ที่สุด

วัดกำแพงแลง
อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 2 กิโลเมตร วัดนี้เดิมเป็นเทวสถานในสมัยขอม สร้างตามลัทธิศาสนาพราหมณ์ ต่อมาเมื่ออิทธิพลของศาสนาพุทธได้แผ่ขยายเข้ามาในบริเวณนั้น จึงได้ดัดแปลงเทวสถานแห่งนี้เป็นศาสนสถานในพุทธศาสนานิกายมหายาน และหินยานตามลำดับ เทวสถานที่สร้างขึ้นเดิมมีปรางค์ 5 หลัง ทำด้วยศิลาแลง ปัจจุบันเหลือเพียง 4 หลัง สันนิษฐานว่าปรางค์แต่ละหลังใช้เป็นที่ประดิษฐานเทวรูป เช่น พระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม พระนางอุมา เพราะเมื่อ พ.ศ. 2499 มีผู้ขุดพบรูปสลักของพระนางอุมาในปรางค์องค์หนึ่งที่พังลง วัดนี้เมื่อดัดแปลงเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาแล้วได้สร้างพระอุโบสถขึ้น โดยมิได้เปลี่ยนสภาพเดิมไปมากนัก จะเห็นได้ว่ารอบ ๆ วัด ยังมีกำแพงที่ก่อด้วยศิลาแลงล้อมรอบอยู่

หาดเจ้าสำราญ
อยู่ห่างจากตลาดเมืองเพชรบุรีประมาณ 15 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 3177 เป็นชายหาดที่เคยเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญมากตั้งแต่สมัยโบราณ ตามประวัติเล่ากันว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เคยเสด็จมาที่นี่พร้อมด้วยสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงพอพระราชหฤทัยในความงามของหาดแห่งนี้มาก ทรงประทับแรมอยู่หลายวัน จนกระทั่งชาวบ้านเรียกหาดนี้ว่า หาดเจ้าสำราญ มาจนปัจจุบัน หาดเจ้าสำราญเจริญถึงขีดสุดในสมัยรัชกาลที่ 6 หาดเจ้าสำราญมีชื่อเสียงกว่าชายทะเลแห่งใดๆ ในเมืองไทยสมัยนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้สร้างพระตำหนักที่ประทับขึ้น ณ ริมหาดแห่งนี้เรียกว่า พระตำหนักหาดเจ้าสำราญ สำเร็จในปี พ.ศ. 2461 ต่อมารื้อไปสร้างใหม่ที่มฤคทายวัน

พระรามราชนิเวศน์ หรือ “พระราชวังบ้านปืน”
ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านหม้อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ให้สร้างด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อเป็นพระราชนิเวศน์สำหรับประทับแรมในฤดูฝน ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดซื้อที่จากราษฎร และให้จอมพลเรือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนคร สวรรค์วรพินิต กับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นแม่กองจัดการก่อสร้าง สร้างแบบสถาปัตยกรรมยุโรป ออกแบบโดยมิสเตอร์คาลเดอริง ชาวเยอรมัน เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2452 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2459 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า พระที่นั่งศรเพ็ชรปราสาท และทรงเปลี่ยนเป็นพระรามราชนิเวศน์ ปี พ.ศ. 2461 ใช้เป็นที่รับรองแขกเมือง

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนผู้กำกับลูกเสือ โรงเรียนฝึกหัดครูเกษตรกรรม โรงเรียนประชาบาลประจำตำบล ฯลฯ

การเข้าชมต้องทำหนังสือล่วงหน้าถึงผู้บังคับการจังหวัดทหารบก กองพันที่ 3 กรมทหารราบที่ 11 อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี 76000 หรืออาจติดต่อที่ป้อมยามแลกบัตร เพื่อขอเข้าชมอย่างไม่เป็นทางการ

เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี

ข้อมูลทั่วไป

เพชรบุรี เป็นเมืองเก่าแก่ เคยเป็นเมือง หน้าด่าน สำคัญ ชั้นเมือง ลูกหลวง ของไทย มาช้านาน และมีชื่อเสียง เลื่องลือ หลายด้าน นอกจาก จะเคยเป็นเมือง ที่ประทับ ของอดีต พระมหากษัตริย์ แห่งราชวงศ์จักรี ยังมีสถานที่ท่องเที่ยว สำคัญ หลายแห่ง ซึ่งรวมทั้ง เขื่อนไฟฟ้า พลังน้ำ ที่มีความงดงาม อีกแห่งหนึ่ง ของการไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย นั่นคือ "เขื่อนแก่งกระจาน"

การเดินทาง

เขื่อนแก่งกระจาน อยู่ห่างจากตัวเมืองเพชรบุรีเพียง ๕๓.๕ กิโลเมตรเท่านั้น การเดินทาง สามารถไปได้ ๒ ทาง คือ ไปทางอำเภอท่ายาง ขับรถต่อไปอีกประมาณ ๓๐ กิโลเมตร ก็จะถึงเขื่อน หรือ ไปตาม ทางหลวง หมายเลข ๔ ประมาณหลักกิโลเมตรที่ ๑๖๖-๑๖๗ จะมีทางแยก ขวามือ เข้าไป ตัวเขื่อน ประมาณ ๓๐ กิโลเมตร

สิ่งอำนวยความสะดวก

เมื่อเดินทางถึงเขื่อนแก่งกระจาน ท่านสามารถติดต่อสอบถาม รายละเอียดต่างๆ ได้จากเจ้าหน้าที่ ซึ่งทาง เขื่อนได้จัดบริการ รวมทั้ง เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ที่คอยต้อนรับ และอำนวยความสะดวกแก่ ผู้มาเยี่ยมชมและพักแรม อย่างเต็มที่

การสำรองที่พัก
สำหรับผู้ที่จะไปพักแรม ควรติดต่อจองบ้านพักไว้ล่วงหน้า เนื่องจากจำนวนบ้านพักมีจำกัด โปรดสอบถาม การจองบ้านพักได้ที่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บางกรวย นนทบุรี โทร. 436-3179 , 424-4794


ลักษณะเขื่อน

เขื่อนแก่งกระจาน สร้างปิดกั้น แม่น้ำเพชร ที่บริเวณ เขาเจ้า และเขาไม้รวก ประชิดกัน ตำบลสองพี่น้อง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี เขื่อนนี้ อยู่ทางด้านเหนือน้ำ ของเขื่อนเพชร ขึ้นไปตามแนวถนน ๒๗ กิโลเมตร นอกจาก ตัวเขื่อน ยังมีเขื่อนดิน ปิดเขาต่ำ ทางขวาง ของเขื่อนอีก ๒ แห่ง คือ แห่งแรกสูง ๓๖ เมตร สันเขื่อนยาว ๓๐๕ เมตร แห่งที่ ๒ สูง ๒๔ เมตร สันเขื่อนยาว ๒๕๕ เมตร เพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำ ได้มากขึ้น

เขื่อนแก่งกระจาน เป็นเขื่อนดิน มีความสูง ๕๘ เมตร ความยาวสันเขื่อน ๗๖๐ เมตร ความกว้าง ๘ เมตร ระดับสันเขื่อน ๑๐๖ เมตร (ระดับน้ำทะเลปานกลาง)

อ่างเก็บน้ำ มีพื้นที่ ๔๖.๕ ตารางกิโลเมตร มีความจุ ๗๑๐ ล้านลูกบาศก์เมตร

โรงไฟฟ้า ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จำนวน ๑ เครื่อง ขนาดกำลังผลิต ๑๙,๐๐๐ กิโลวัตต์ ให้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละ ๗๐ ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง โดยมีสายเชื่อมโยงไฟฟ้าแรงสูง จากเขื่อนแก่งกระจานไปยัง สถานีไฟฟ้าแรงสูงชะอำ เป็นระยะทาง ๔๐-๔๑ กิโลเมตร

เขื่อนแก่งกระจาน สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๔ แล้วเสร็จ พ.ศ.๒๕๐๙ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่ออำนวยประโยชน์ ในด้านการชลประทาน บริเวณที่ราบจังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดใกล้เคียง อีกทั้งยังมีประโยชน์ ด้านการประมง การคมนาคมทางน้ำ และการพักผ่อนหย่อนใจ ฯลฯ

ต่อมาเมื่อความต้องการ พลังงานไฟฟ้า เพิ่มขึ้นอย่างมาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จึงได้พิจารณาติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ที่เขื่อนแก่งกระจาน โดยเริ่มดำเนินการก่อสร้าง เมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๑๔ แล้วเสร็จ และผลิตกระแสไฟฟ้าได้ เมื่อเดือน สิงหาคม ๒๕๑๗


ประโยชน์

เขื่อนแก่งกระจาน เป็นเขื่อนเอนกประสงค์ ประโยชน์ที่ได้ จากเขื่อนนี้ มีหลายประการ คือ

๑. เขื่อนแก่งกระจานสามารถผลิต กระแสไฟฟ้าไฟ้ ๑๙,๐๐๐ กิโลวัตต์ ให้พลังงานเฉลี่ย ปีละ ๗๐ ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

๒. สามารถขยายเนื้อที่ชลประทาน ของโครงการเพชรบุรี ซึ่งเดิมมีอยู่จำนวน ๒๑๔,๐๐๐ ไร่ เพิ่มเป็น ๓๓๖,๐๐๐ ไร่ และเพื่อการเพาะปลูกในฤดูแล้ง ได้ ๑๗๔,๐๐๐ ไร่ อีกทั้งยังช่วยแก้ปัญหา การขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค ตั้งแต่ปากอ่าวเพชรบุรี จนถึงหัวหินให้หมดไป และช่วย บรรเทาอุทกภัยในทุ่งเพชรบุรี

๓. เป็นแหล่งส่งเสริมการประมง

๔. เป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่มีทิวทัศน์สวยงาม อีกแห่งหนึ่งของประเทศ


สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง

เพชรบุรี มีสถานที่ท่องเที่ยว ที่น่าสนใจ หลายแห่ง ทั้งที่เป็น โบราณสถาน และ ที่เกิดขึ้นเองอย่าง สวยงาม ตามธรรมชาติ เช่น

ถ้ำเขาย้อย
อยู่บนเขาย้อย อำเภอเขาย้อย ห่างจากตัวเมือง ๒๒ กิโลเมตร ในถ้ำ มีพระพุทธรูป ปางต่างๆ ประดิษฐานอยู่ และที่แห่งนี้ เคยเป็นที่ประทับ นั่งกรรมฐาน ของพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงผนวช

เขาวัง
อยู่ในอำเภอเมือง สูง ๙๒ เมตร พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างพระราชวัง ขึ้นบนเขาวัง สำหรับ เป็นที่แปรพระราชฐาน พระราชทานนามว่า "พระนครคีรี" แต่ชาวเมืองยังคงเรียก เขาวัง ติดปาก มาจนทุกวันนี้

เขาบันไดอิฐ
เป็นเขาขนาดย่อม มียอดสูง ๑๒๑ เมตร อยู่ห่างจากเขาวัง ประมาณ ๒ กิโลเมตร บนเขาบันไดอิฐ มีวัดเก่า สมัยอยุธยา ชื่อวัดเขาบันไดอิฐ บนเขานี้ มีถ้ำ อยู่หลายแห่ง เช่น ถ้ำประทุน ถ้ำพระเจ้าเสือ ถ้ำพระพุทธไสยาสน์ เป็นต้น

ถ้ำเขาหลวง
อยู่บนเขาหลวง ซึ่งสูงเพียง ๙๒ เมตร ห่างจากเขาวัง ประมาณ ๕ กิโลเมตร ถ้ำเขาหลวง นับเป็นถ้ำใหญ่ และสำคัญ ที่สุด ของเมืองเพชรฯ เพราะ ภายในถ้ำ เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูป ฉลองพระองค์ อันสำคัญยิ่ง ซึ่งพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างถวาย พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

หาดเจ้าสำราญ
อยู่ห่างจาก ตลาดเมืองเพชรบุรี ประมาณ ๑๕ กิโลเมตร เป็นชายหาด ที่เป็นสถานที่ ท่องเที่ยว สำคัญ มาแต่สมัยโบราณ มีประวัติเล่ากันว่า สมเด็นพระนเรศวรมหาราช เคยเสด็จฯ มาประทับที่นี่ พร้อมด้วยสมเด็จ พระเอกาทศรถ พระอนุชา ทรงพอพระราชหฤทัย ในความงดงาม ของชายหาดแห่งนี้มาก ทรงประทับแรม อยู่หลายวัน จนชาวบ้าน เรียกหาดนี้ว่า "หาดเจ้าสำราญ" มาจนทุกวันนี้

หาดชะอำ
อยู่ในอำเภอชะอำ ห่างจากตัวเมือง ๔๑ กิโลเมตร เป็นชายหาด ที่มีความงดงามมาก อีกแห่งหนึ่ง ของเพชรบุรี

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
อยู่ระหว่าง ชะอำ-หัวหิน แยกซ้ายมือ เข้าไปประมาณ ๒ กิโลเมตร เคยเป็นที่ประทับ แปรพระราชฐาน ของพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยุ่หัว ในฤดูร้อน

จังหวัดเพชรบุรี :: การเดินทาง

ทางรถยนต์

1. เส้นทางนครปฐม - ราชบุรี - เพชรบุรี ใช้ ถ.บรมราชชนนี หรือถนนคู่ขนานลอยฟ้า จากเชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ผ่านเขตตลิ่งชัน แยกพุทธมณฑลสาย 2 แยกพุทธมณฑลสาย 4 จนไปบรรจบกับ ถ.เพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) ซึ่งตรงมาจากท่าพระ บางแค หนองแขม อ้อมน้อย จนถึง อ.นครชัยศรี จากนั้น มุ่งตรงผ่าน จ.นครปฐม จ.ราชบุรี และเข้าสู่ จ.เพชรบุรี รวมระยะทาง จนถึงตัวเมืองเพชรบุรี ประมาณ 166 กม.

2. เส้นทางสมุทรสาคร - สมุทรสงคราม - เพชรบุรี ใช้ ถ.พระราม 2 (ทางหลวงหมายเลข 35) ซึ่งเริ่มต้นจากทางด่วนเฉลิมมหานคร เชิงสะพานพระราม 9 ผ่านเขตบางมด ภาษีเจริญ หัวกระบือ เอกชัย จนเข้าเขต จ.สมุทรสาคร จ.สมุทรสงคราม อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี จนบรรจบกับ ถ.เพชรเกษม ที่บริเวณแยกวังมะนาว เข้าสู่ จ.เพชรบุรี รวมระยะทาง จนถึงตัวเมืองเพชรบุรี ประมาณ 121 กม.

สำหรับผู้จะเดินทางไปหาดชะอำ ถ้าใช้ ถ.เพชรเกษม โดยไม่เข้าตัวเมืองเพชรบุรี อาจเดินทางถึงที่หมายได้เร็วก็จริง แต่ถ้าใช้เส้นทางสาย 3177 ไปทางหาดเจ้าสำราญ - หาดปึกเตียน เส้นทางจะผ่านทุ่งนา และเลียบชายทะเล ซึ่งมีทิวทัศน์สวยงาม

ทางโดยรถประจำทาง

รถโดยสารประจำทางมีทั้งรถปรับอากาศชั้น 1 ชั้น 2 และรถธรรมดา ขึ้นรถได้ที่สถานีขนส่งสายใต้ ถ.บรมราชชนนี รถไปเพชรบุรีนั้น มีสองเส้นทาง คือ

- สายใหม่ หมายถึงรถที่วิ่งเส้นทางสมุทรสาคร - สมุทรสงคราม - เพชรบุรี สายใหม่จะใกล้กว่า เป็นที่นิยมของคนเมืองเพชรบุรี เป็นเส้นทางเดินรถ ปอ.1

- สายเก่า หมายถึงรถที่วิ่งเส้นทาง นครปฐม - ราชบุรี - เพชรบุรี ระยะทางไกลกว่าสายใหม่ เป็นเส้นทางเดินรถ ปอ.2 และรถธรรมดา

รถปรับอากาศ จอดที่สถานีรถปรับอากาศเพชรบุรี ติดกับตลาดโต้รุ่ง เยื้องที่ทำการเทศบาลเมืองเพชรบุรี ตรงจุดบรรจบของ ถ.รถไฟ กับ ถ.ดำเนินเกษม

รถโดยสารธรรมดา ใช้เส้นทางสายเก่า (ทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านราชบุรี) และไม่เข้าตัวเมืองเพชรบุรี โดยไปจอดที่สถานีขนส่งข้างวัดถ้ำแก้ว ใกล้กับสถานีเคเบิ้ลคาร์ ด้านหลังเขาวัง (แต่รถโดยสารธรรมดานี้ไม่เป็นที่นิยมนัก เนื่องจากกรมการขนส่งทางบก ยังไม่รับรอง และมีผู้โดยสารร้องเรียนเรื่องการบริการอยู่เสมอ ๆ)

รถโดยสารไปชะอำ มีเฉพาะรถปรับอากาศชั้น 1 ไปจอดที่สถานีขนส่งชะอำ ถ.ร่วมจิตต์ หรือ ถนนเลียบชายหาด

นอกจากนี้ยังสามารถนั่งรถโดยสารประจำทางที่ลงใต้ได้ทุกจังหวัด หากจะไปยังตัวเมืองเพชรบุรี ก็ลงรถที่สถานีขนส่ง ข้างวัดถ้ำแก้ว ถ้าไปชะอำ รถจะจอดที่ปั๊มเชลล์ ก่อนถึงสี่แยกชะอำ หรือหากต้องการลงระหว่างทาง ก็สามารถลงได้ ตามสี่แยกไฟแดงใหญ่ๆ บน ถ.เพชรเกษม

รถโดยสารทุกประเภท ไม่รับจองตั๋วล่วงหน้าทางโทรศัพท์ นอกจากไปชำระเงินสดที่สถานีเท่านั้น

ถ้าต้องการความสะดวก รวดเร็ว สามารถเลือกนั่งรถตู้โดยสารได้ด้วย โดยเป็นรถตู้สายกรุงเทพฯ - หัวหิน ในกรุงเทพฯ รถจอดอยู่ บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ หน้า รพ.ราชวิถี รถจะส่งผู้โดยสารลงสามจุด คือ ที่หน้าบิ๊กซี เพชรบุรี สี่แยกชะอำ และที่หัวหิน ขากลับ เข้ากรุงเทพฯ สามารถดักรอที่จุดต่างๆ เหล่านี้ได้

ตารางโทรศัพท์ติดต่อรถโดยสาร ที่สถานีขนส่งสายใต้ กรุงเทพฯ
ประเภทรถ บริษัท โทรศัพท์
ปรับอากาศชั้น 1
กรุงเทพฯ - เพชรบุรีทัวร์ จำกัด
หัวหิน - ปราณทัวร์ จำกัด
02-435-7408
02-435-5097 , 02-884-6192

ปรับอากาศชั้น 2 (สายใหม่)
บริษัทขนส่ง จำกัด
02-435-1195-6



ตารางโทรศัพท์ติดต่อรถโดยสาร ที่เพชรบุรี
ประเภทรถ บริษัท สถานี โทรศัพท์
ปรับอากาศชั้น 1
กรุงเทพฯ - เพชรบุรีทัวร์ จำกัด

หัวหิน - ปราณทัวร์ จำกัด
ใกล้ที่ทำการ ปณ.
อ.ท่ายาง
อ.บ้านแหลม
ถ.ร่วมจิตต์
อ.ชะอำ
032-425-922
032-461-813
032-483-314
032-471-654

ปรับอากาศชั้น 2 (สายใหม่)
บริษัทขนส่ง จำกัด
ใกล้ที่ทำการ ปณ.
032-425-307



หมายเหตุ สายเก่าผ่าน จ.นครปฐม และราชบุรี ส่วนสายใหม่ผ่าน จ.สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม

ทางรถไฟ

สำหรับรถไฟ มีทั้งรถธรรมดา รถเร็ว รถด่วน ฯลฯ การเที่ยวทางรถไฟต้องใช้ระยะเวลาเดินทางเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับประเภทของรถไฟ แต่ทัศนียภาพสองข้างทาง ก็ให้บรรยากาศ และความเพลิดเพลิน ในอีกรูปแบบที่ต่างไปจากการเดินทางโดยรถยนต์ นอกจากนี้ รฟท. ยังให้บริการนำเที่ยว เมืองเพชร โดยใช้เวลา 1 วันด้วย ค่าโดยสารรถไฟ มีสองส่วน คือ ค่าธรรมเนียมรถไฟ ซึ่งจ่ายตามประเภทรถ และค่าโดยสารซึ่งจ่ายตามชั้นที่นั่ง

นำเที่ยวเมืองเพชร โดย รฟท.
หากต้องการท่องเที่ยวแบบประหยัดเวลา สะดวกสบาย และปลอดภัย รฟท. ได้จัดนำเที่ยวแบบพิเศษ ไปเช้ากลับเย็น สู่ จ.เพชรบุรี ทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดราชการ โดยขบวนรถจะออกจากสถานีหัวลำโพง เวลา 06.30 น. หยุดนมัสการพระปฐมเจดีย์ ที่นครปฐม เมื่อถึงสถานีเพชรบุรี มัคคุเทศน์ จะนำชมอุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี แวะซื้อของฝากจากเมืองเพชร จากนั้นมีบริการอาหารกลางวัน ช่วงบ่ายคลายร้อน ด้วยการเล่นน้ำที่หาดชะอำ แล้วเที่ยวชมพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เป็นการปิดท้ายรายการ รถไฟจะออกจากสถานีชะอำ กลับถึง กรุงเทพฯ ประมาณ 20.00 น. สำรองที่นั่ง ได้ที่ สถานีรถไฟหัวลำโพง โทร. 02-225-6964 หรือ 02-225-0300 ต่อ 5217

อัตราค่าบริการ
- รถธรรมดา ผู้ใหญ่ 580 บาท เด็ก 480 บาท
- รถปรับอากาศ ผู้ใหญ่ 680 บาท เด็ก 580 บาท

ตารางโทรศัพท์ติดต่อสอบถามรถไฟ
สถานี โทรศัพท์
กรุงเทพฯ (หัวลำโพง)
02-223-3762 , 02-220-4334

ธนบุรี (บางกอกน้อย)
02-411-3102

สอบถามตารางรถไฟ (ปชส.)
1690

เพชรบุรี
032-425-211

ชะอำ
032-471-159



การเดินทางภายในตัวเมือง
การเดินทางในตัวเมืองเพชรบุรีค่อนข้างสะดวกสบาย มีรถหลายประเภท ให้เลือกใช้บริการ ดังนี้

1. รถสี่ล้อเล็ก ชาวเมืองเพชร เรียกว่า "รถเล้ง" มีวิ่งบริการอยู่ทั่วไป จะจอดรอผู้โดยสารอยู่ตามหน้าสถานีขนส่ง สถานีรถไฟ ตลาด นักท่องเที่ยวควรถามคนขับก่อนขึ้นรถ ถึงเส้นทางที่รถจะผ่าน และจุดหมายปลายทางที่ต้องการจะไป รวมทั้งค่าโดยสาร อัตราค่าโดยสาร อย่างต่ำคนละ 5 บาท ราคาเหมารวม พาไปตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ในตัวเมืองประมาณ 200-300 บาท

2. สามล้อถีบ มีบริการอยู่ทั่วไป จอดรอผู้โดยสารอยู่ตามจุดต่างๆ เช่นเดียวกับรถเล้ง รถหนึ่งคัน นั่งได้สองคน อัตราค่าโดยสาร ในระยะทางสั้นๆ (ประมาณ 1-2 กม.) คนละ 15 บาท ราคาเหมารวมพาไปตามที่ท่องเที่ยวต่างๆ ประมาณ สี่ห้าแห่ง 100 บาท

3. มอเตอร์ไซค์รับจ้าง มีวิ่งบริการในเมืองเพชรบุรี อยู่มากมายเช่นเดียวกัน อัตราค่าโดยสารไม่เกิน 2 กม. คนละ 15 บาท มีบริการตั้งแต่ 06.00 - 23.00 น.

การเดินทางไปเที่ยวต่างอำเภอ
1. รถสองแถว คิวรถสองแถวไปต่างอำเภอจอดกระจายอยู่ ในบริเวณตลาดเพชรบุรี ค่ารถประมาณ 10-20 บาท รถบางสายมีเวลาออกไม่แน่นอน โดยเฉพาะช่วงเวลากลางวันที่มีผู้โดยสารน้อย

2. รถแท็กซี่ป้ายดำ เป็นรถเก๋ง แต่ไม่มีสี หรือมีป้ายบอกชัดเจนเหมือนแท็กซี่ในกรุงเทพฯ จึงสังเกตได้ยาก รถพวกนี้จะจอดอยู่ตามคิว และมีคนคอยร้องเรียกผู้โดยสาร ต้องมีผู้โดยสารครบหกคน รถจึงออก ข้อดีของรถชนิดนี้คือ ใช้เวลาเดินทางน้อยกว่ารถสองแถว และสามารถเหมา ไปที่ต่างๆ ได้

3. รถเช่า ที่บริเวณชายหาดชะอำ มีรถมอเตอร์ไซค์ และรถจักยานให้เช่า ต้องวางบัตรประชาชน ไว้เป็นหลักฐาน และจ่ายค่าเช่าล่วงหน้า มีตัวอย่างราคา ดังนี้
- มอเตอร์ไซค์ 120 บาท / ชม. และ 300 บาท / วัน
- จักรยาน 10 บาท / ชม. และ 50 บาท / วัน

ระยะทางจากตัวเมืองไปอำเภอต่าง ๆ และจังหวัดใกล้เคียง
จากตัวเมือง มีรถโดยสารไปยังอำเภอต่าง ๆ โดยมีระยะทางดังนี้
- อำเภอท่ายาง 18 กิโลเมตร
- อำเภอชะอำ 45 กิโลเมตร
- อำเภอบ้านแหลม 12 กิโลเมตร
- อำเภอบ้านลาด 8 กิโลเมตร
- อำเภอเขาย้อย 23 กิโลเมตร
- อำเภอหนองหญ้าปล้อง 34 กิโลเมตร
- อำเภอแก่งกระจาน 57 กิโลเมตร

นอกจากนี้จากตัวเมืองเพชรบุรียังมีรถโดยสารไปหัวหิน ปราณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และราชบุรี ระยะทางเป็นดังนี้

เพชรบุรี-หัวหิน 66 กิโลเมตร
เพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ 158 กิโลเมตร
เพชรบุรี-ราชบุรี 54 กิโลเมตร

จังหวัดเพชรบุรี :: ตัวอย่างโปรแกรมท่องเที่ยว

ขึ้นเขาวัง เที่ยววัดในเมือง

2 วัน 1 คืน พักที่หาดเจ้าสำราญ
- วันแรก ช่วงเช้า เดินขึ้นเขาวัง ชมทัศนียภาพเมืองเพชรบุรี ชมพิพิธภัณฑ์และพระที่นั่งต่างๆ แล้วแวะชิมก๋วยเตี๋ยวน้ำแดง หน้าวัดมหาธาตุ ก่อนไปชมงานปูนปั้นอันอลังการในวัดมหาธาตุ ตอนเย็นหาที่พักแถบหาดเจ้าสำราญ ลงเล่นน้ำทะเลริมหาด

- วันที่ 2 ช่วงเช้า กลับมาเที่ยววัดใหญ่สุวรรณาราม ในตัวเมืองเพชรบุรี ชมจิตรกรรมฝาผนัง ชมหอไตร ถ้ายังไม่จุใจ และมีเวลาพอ อาจจะเข้าไปชมจิตรกรรมฝาผนังที่วัดเกาะอีกแห่งหนึ่งก็ได้ หรือจะเดินเล่นแถบบ้านหัวถนน หาซื้อทองคำแบบโบราณ จากช่างทองเมืองเพชร ก่อนกลับแวะตลาดซื้อของทะเลแห้ง ขนมต่างๆ บริเวณตลาดสดเมืองเพชร กลับไปเป็นของฝาก กลับกรุงเทพฯ ช่วงบ่ายๆ

ชมวัง เที่ยวหาดชะอำ

2 วัน 1 คืน พักที่หาดชะอำ
- วันแรก ช่วงเช้า แวะไปสะพานปลาของชาวบ้านที่ชะอำ ซื้อของทะเลสดๆ เตรียมไว้เป็นเสบียงกรัง บ่ายเล่นน้ำทะเล ขี่ม้าตามชายหาด หรือเช่าจักรยานขี่เที่ยว ค้างแรมริมทะเล ที่ชายหาดชะอำ

- วันที่ 2 เดินทางไปพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ชมสถาปัตยกรรมพระที่นั่งไม้สัก อันงดงาม ดื่มด่ำกับธรรมชาติ ริมทะเล ช่วงบ่ายแวะซื้อขนมหวานของฝากต่างๆ รวมถึงผลไม้ต่างๆ ตามฤดูกาล บริเวณสองข้าง ถ.เพชรเกษม แถบ อ.บ้านลาด

ดูนก ชมธรรมชาติ แก่งกระจาน

2 วัน 1 คืน พักใน อช.แก่งประจาน
- วันแรก ช่วงเช้า ชมนิทรรศการที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เดินดูนก รอบที่ทำการ อช.แก่งกระจาน แวะกินอาหารกลางวัน ริมอ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน เดินทางขึ้นไปตั้งแคมป์พักแรม ที่หน่วยฯ บ้านกร่าง ดูนก ตามเส้นทาง หรือริมลำห้วยไปด้วยก็ได้

- วันที่ 2 ตื่นเช้าไปชมทะเลหมอก ที่จุดชมทิวทัศน์ หน่วยฯ พะเนินทุ่ง ชมธรรมชาติ แล้วย้อนกลับมาบริเวณ กม.27 ค้นหานกกะลิงเขียดหางหนาม พบที่นี่แห่งเดียวในประเทศ หรือนกชนิดอื่นๆ ก่อนเดินทางกลับในช่วงบ่าย แล้วแวะซื้อขนมหม้อแกง หรือทองม้วน ในตลาดท่ายาง เป็นของฝาก

จังหวัดเพชรบุรี :: สถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ

อำเภอเขาย้อย

ถ้ำเขาย้อย
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเขาย้อยหลังสถานีรถไฟ เขาย้อยเป็นภูเขาโดดเด่นริมทางหลวงหมายเลข 4 อยู่ก่อนถึงตัวเมืองเพชรบุรีประมาณ 22 กิโลเมตร

ในถ้ำนี้มีพระพุทธรูปใหญ่น้อยหลายปางประดิษฐานอยู่ คล้ายกับถ้ำเขาหลวง หรือถ้ำเขาบันไดอิฐ ตามประวัติเล่าว่าพระพุทธรูปเหล่านี้มีมานานแล้ว และต่อมาพระครูอ่อนวัดท้ายตลาดมาบูรณะใหม่ และมีเกร็ดประวัติศาสตร์เล่ากันว่าสมัยเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงผนวชอยู่นั้น พระองค์ได้เสด็จธุดงค์วัตรมาปักกลดวิปัสสนาที่หน้าเขาย้อย แล้วทรงย้ายขึ้นมาประทับนั่งกรรมฐานอยู่ในถ้ำเขาย้อยหลายคืน

เขาอีโก้
อยู่ตำบลห้วยโรง ทางตอนเหนือของอำเภอเขาย้อย บนยอดเขาอีโก้ มีพระเจดีย์สำคัญองค์หนึ่งซึ่งเจ้าอธิการแก้ว วัดพวงมาลัย เมืองแม่กลองมาสร้างไว้เมื่อ พ.ศ. 2455 ในเทศกาลสงกรานต์ ชาวเขาย้อยนิยมเดินขึ้นมาไหว้พระบนยอดเขานี้เป็นประเพณีสืบมา

วัดกุฏิ
ตั้งอยู่ที่ตำบลบางเค็ม เป็นวัดโบราณ พระอุโบสถสร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง รอบพระอุโบสถด้านนอกสลักเป็นเรื่องทศชาติ มหาชาติ และไซอิ๋ว หน้าบันสร้างเป็นมุขประเจิด ลายหน้าบันเป็นลายไม้แกะสลัก ทางด้านข้างมีตับ หลังคาปีกนกลาดลง 2 ชั้น เครื่องลำยองเป็นไม้แกะสลักลงรักปิดทองประดับกระจกมีลวดลายแกะสลักงดงาม บานประตูเป็นลายเถาทะลุโปร่ง แกะสลักลายลึก ฝีมือประณีตด้วยช่างชั้นครู

หมู่บ้านไทยดำหรือไทยทรงดำ หรือลาวโซ่ง
พบได้ทั่วไปในเขตอำเภอเขาย้อย โดยเฉพาะ ที่บ้านหนองปรงและบ้านทับคาง ชาวไทยดำเป็นชนกลุ่มหนึ่งที่อพยพมาจากประเทศลาว และยังรักษาวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมไว้ในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี ชาวไทยดำจะจัดงานสังสรรค์ มีการแต่งกายแบบพื้นเมือง และการละเล่นต่าง ๆ


อำเภอหนองหญ้าปล้อง

น้ำพุร้อน
อยู่ห่างจากจังหวัดเพชรบุรีประมาณ 50 กิโลเมตร สามารถนำรถเข้าถึงบริเวณน้ำพุร้อนได้ หรือจากอำเภอหนองหญ้าปล้องเข้าไปประมาณ 16 กิโลเมตร มีน้ำพุ 3 แอ่ง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 เมตร ความร้อนของน้ำสามารถต้มไข่ให้สุกได้

อำเภอบ้านแหลม

แหลมหลวง
อยู่ในตำบลแหลมผักเบี้ย ห่างจากตัวเมืองเพชรบุรี 15 กิโลเมตร ตามเส้นทางเดียวกับทางไปหาดเจ้าสำราญ โดยแยกซ้ายก่อนถึงหาดเจ้าสำราญเล็กน้อย ลักษณะเป็นปลายแหลมของหาดทรายยื่นยาวออกไปในทะเลถึง 2 กิโลเมตร เป็นชายทะเลที่สามารถชมได้ทั้งพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก

วัดเขาตะเครา
ตั้งอยู่ตำบลบางครก อำเภอบ้านแหลม สามารถไปได้สองทาง ทางแรกก่อนจะเข้าตัวเมืองเล็กน้อย มีถนนแยกซ้ายมือเข้าสู่วัดเขาตะเครา ระยะทาง 15 กิโลเมตร อีกเส้นทางหนึ่งคือ เดินทางจากเมืองเพชรไปบ้านแหลม แล้วขับรถต่อไปอีก 6 กิโลเมตร ก็ถึงวัดเขาตะเครา ที่วัดนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย สูง 29 นิ้ว หน้าตักกว้าง 21 นิ้ว เรียกกันว่า หลวงพ่อเขาตะเครา มีชาวเมืองและนักท่องเที่ยวไปกราบไหว้ปิดทองเป็นอันมาก จนกระทั่งบัดนี้แลไม่เห็นพุทธลักษณะเดิม มีประวัติเล่าถึงหลวงพ่อองค์นี้ว่าเป็นพระพี่พระน้อง 3 องค์กับหลวงพ่อโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา หลวงพ่อบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม บางตำราว่าเป็นพี่น้องกันถึง 5 องค์คือ หลวงพ่อบางพลีใหญ่ และหลวงพ่อวัดไร่ขิงที่นครปฐมด้วย ที่มาของพระพุทธรูปนี้เมื่อปลายสมัยอยุธยา ตอนที่ชาวบ้านแหลมเมืองเพชรหนีพม่า ไปตั้งหลักแหล่งอยู่ที่ปากน้ำแม่กลอง จนกระทั่งกลายเป็นบรรพบุรุษของชาวสมุทรสงครามในทุกวันนี้นั้น วันหนึ่งชาวประมงบ้านแหลมไปตีอวนที่ปากอ่าว ได้พระพุทธรูปขึ้นมา 2 องค์ องค์หนึ่งเป็นพระยืนปางอุ้มบาตร อีกองค์หนึ่งเป็นพระปางมารวิชัย ชาวบ้านแหลมนำพระยืนไปประดิษฐานที่วัดบ้านแหลมเดี๋ยวนี้ คือ วัดเพชรสมุทรวิหาร กลางเมืองสมุทรสงคราม ส่วนอีกองค์มอบให้ญาติชาวบางตะบูนนำมาประดิษฐานที่ วัดเขาตะเครา อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

หมู่บ้านบางขุนไทร
ตั้งอยู่ตำบลบางขุนไทร จากตัวเมืองไปทางบ้านแหลม ระยะทาง 12 กิโลเมตร แล้วเดินทางต่อไปบางขุนไทรเป็นระยะทางอีก 7 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านชาวประมงเล็กๆ ติดริมทะเล ชาวบ้านมีอาชีพเก็บหอยเสียบ โดยใช้กระดานเลื่อนไปบนผิวเลน


อำเภอท่ายาง

หาดปึกเตียน
อยู่ในท้องที่ตำบลปึกเตียน ห่างจากหาดเจ้าสำราญไปทางใต้ประมาณ 7 กิโลเมตร หรือสามารถเดินทางไปทางถนนเพชรเกษมถึงอำเภอท่ายางแล้วเลี้ยวซ้ายตรงสี่แยกคลองชลประทานสาย 2 ไปตามถนนนี้ประมาณ 15 กิโลเมตร บริเวณหาดปึกเตียนเป็นหาดทรายขาว สะอาด เหนือหาดมีลำคลองปึกเตียนไหลผ่าน

อำเภอแก่งกระจาน

เขื่อนแก่งกระจาน
อยู่ห่างจากตัวเมืองเพชร 53 กิโลเมตร สามารถไปได้ 2 ทาง คือ ไปทางอำเภอท่ายางขับรถต่อไปอีกประมาณ 30 กิโลเมตร ก็จะถึงเขื่อนหรือไปตามทางหลวงหมายเลข 4 ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 186-187 จะมีทางแขกขวามือเข้าไปตามทางอีกประมาณ 30 กิโลเมตร เขื่อนแก่งกระจาน สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2509 สูง 58 เมตร เป็นเขื่อนดินกั้นแม่น้ำเพชรบุรี สันเขื่อนยาว 760 เมตร กว้าง 8 เมตร ฐานตอนที่กว้างที่สุด 250 เมตร เป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่และเป็นสถานที่เหมาะสำหรับพักผ่อนที่สวยงามมากแห่งหนึ่ง

อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
เป็นอุทยานที่มีพื้นที่กว้างใหญ่มากที่สุดของประเทศไทย มีพื้นที่ถึง 2,915 ตารางกิโลเมตร หรือ 1.8 ล้านไร่ ได้รับการประกาศให้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2524 โดยกำหนดพื้นที่บริเวณอ่างเก็บน้ำและป่าเหนือเขื่อนแก่งกระจานเป็นเขตอุทยานฯ สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นป่าดิบชื้น เป็นต้นน้ำลำธารของแม่น้ำหลายสายที่ทำการอุทยานตั้งอยู่ริมทะเลสาบตอนใต้ จากสันเขื่อนแก่งกระจาน มีถนนเลียบออกมาทางซ้ายมือเป็นระยะทาง 3 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานฯ


อำเภอชะอำ

หุบกระพง
อยู่ก่อนถึงชะอำประมาณ 4 กิโลเมตร ตามเส้นทาง 3203 ตรงหลักกิโลเมตรที่ 201-202 จะมีทางแยกขวามือเป็นทางลาดยาง เข้าไปอีก 8 กิโลเมตร ก็จะถึง สหกรณ์หุบกระพง ซึ่งอยู่ในตำบลเขาใหญ่ เขตอำเภอชะอำ แต่เดิมมีสภาพแห้งแล้ง จนในปี พ.ศ.2505 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริที่จะช่วยเหลือเกษตรกรในนิคมเขื่อนเพชร โครงการพัฒนาชนบท “หุบกระพง” ตามพระราชประสงค์จึงได้เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2507 โดยมีประเทศอิสราเอลให้ความช่วยเหลือ โครงการนี้ชื่อว่า “โครงการไทย-อิสราเอล” ได้มีการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกพืฃผลต่าง ๆ ตามความต้องการของตลาด มีการแนะนำให้เกษตรกรรู้จักการปลูกพืชตามหลักวิชาการ และมีการจัดตั้ง สหกรณ์การเกษตรหุบกระพง นักท่องเที่ยวสามารถซื้อผลิตผลทางการเกษตรได้ที่ ตลาดหน้าศูนย์สาธิต รวมทั้งสามารถซื้อสินค้าในโครงการศิลปาชีพ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากป่านศรนารายณ์

จังหวัดเพชรบุรี :: สถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ

หาดชะอำ
อยู่ห่างจากตัวเมือง 41 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายเข้าชายหาด ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นชายหาดที่สวยงามและมีชื่อเสียงของจังหวัดเพชรบุรี เดิมชะอำเป็นเพียงตำบลหนึ่งขึ้นอยู่กับอำเภอหนองจอก แต่ภายหลังที่หัวหินมีชื่อเสียง ที่ดินแถบชายทะเลถูกจับจองหมด พวกเจ้านายชั้นผู้ใหญ่สมัยนั้นจึงพยายามหาสถานที่พักผ่อนแห่งใหม่ โดยการนำของสมเด็จกรมพระยานราธิปประพันธ์พงศ์ และได้พบว่าหาดชะอำเป็นชายหาดที่สวยงามไม่แพ้หัวหิน ชะอำจึงเริ่มเป็นที่รู้จักตั้งแต่นั้นมา ชะอำได้รับการพัฒนาเจริญเติบโตขึ้น และยกฐานะเป็นอำเภอจนปัจจุบัน

การรถไฟแห่งประเทศไทยจัดขบวนการรถไฟพิเศษนำเที่ยวกรุงเทพฯ-ชะอำ ทุกวันหยุด รายละเอียดติดต่อหน่วยบริการเดินทาง โทร. 223-7010, 223-7020

วนอุทยานชะอำ
อยู่ในความดูแลของกรมป่าไม้ ตั้งอยู่บนถนนเพชรเกษมเลยสี่แยกอำเภอชะอำไปทางใต้ประมาณ 3 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 400 กว่าไร่ ภายในวนอุทยานฯ มีสวนหย่อมสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ มีไม้ดอกไม้ประดับสวยงามมากมาย มีต้นไม้ใหญ่น้อย ร่มรื่น อากาศเย็นสบาย นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์ขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับด้วย ผู้สนใจนำไปตกแต่งประดับสถานที่ต่าง ๆ สามารถติดต่อได้ที่วนอุทยานฯ

ศูนย์เพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทราย
ตั้งอยู่บริเวณเขาเตาปูน ตำบลสาม-พระยา จากอำเภอชะอำไปทางใต้ประมาณ 14 กิโลเมตร จะมีทางแยกขวามือไปวิทยาลัยเกษตรกรรมเพชรบุรี จากทางแยกเข้าประมาณ 4 กิโลเมตร เป็นศูนย์อนุรักษ์และขยายพันธุ์สัตว์ป่าหลายชนิด เปิดให้เข้าชมได้ทุกวัน ไม่เสียค่าเข้าชม

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
ตั้งอยู่ในบริเวณค่ายพระรามหก ที่ตำบลห้วยเหนือ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ตรงหลักกิโลเมตรที่ 216 เลยหาดชะอำมาเล็กน้อย เป็นพระตำหนักที่ประทับริมทะเล ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้รื้อพระตำหนักหาดเจ้าสำราญมาปลูกขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ.2466 ได้รับขนานนามว่า “พระราชนิเวศน์แห่งความรักและความหวัง” ลักษณะเป็นพระตำหนักไม้สองชั้น หันหน้าออกสู่ทะเล พระตำหนักฝ่ายในอยู่ปีกขวา ทางปีกซ้ายเป็นส่วนของฝ่ายหน้า ประกอบด้วยพระที่นั่งสามองค์เชื่อมต่อถึงกันโดยตลอด พระที่นั่งสุนทรพิมาน เป็นที่ประทับของพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี พระวรชายา พระที่นั่งพิศาลสาครเป็นที่ประทับของพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นหมู่พระที่นั่งตรงกลางประกอบด้วยห้องต่าง ๆ สำหรับสำราญพระอิริยาบถ ห้องพักข้าราชบริพารที่คอยรับใช้ใกล้ชิด ห้องทรงพระอักษร และพระที่นั่งสโมสรเสวกามาตย์ เป็นอาคารโถงสองชั้นเปิดโล่งใช้เป็นที่ประชุมในโอกาสต่าง ๆ และเป็นโรงละครซึ่งเคยจัดแสดงละครครั้งสำคัญ 2 ครั้ง คือ เรื่องพระร่วง และวิวาห์พระสมุทร

ในปี พ.ศ.2484 เจ้าพระยารามราฆพ ได้สร้างพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ถวายเป็นพระราชานุสรณ์ประดิษฐานไว้ ณ ท้องพระโรงพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน และได้จัดงานบำเพ็ญพระราชกุศลถวายเป็นพระราชสักการะ เนื่องในวันที่ระลึกคล้ายวันสวรรคตของพระองค์ในวันที่ 25 พฤศจิกายน เป็นประจำทุกปี

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เปิดให้เข้าชมทุกวัน ระหว่างเวลา 08.30-16.00 น. สำหรับผู้เข้าชมเป็นหมู่คณะ ต้องทำหนังสือถึงผู้กำกับการกองบังคับการฝึกพิเศษ ค่ายพระรามหก อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โทร. (032) 471388

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน จังหวัดเพชรบุรี

ตั้งอยู่ในบริเวณค่ายพระรามหก ที่ตำบลห้วยเหนือ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ตรงหลักกิโลเมตรที่ 216 เลยหาดชะอำมาเล็กน้อย เป็นพระตำหนักที่ประทับริมทะเล ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้รื้อพระตำหนักหาดเจ้าสำราญมาปลูกขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ.2466 แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2467 ได้รับขนานนามว่า “พระราชนิเวศน์แห่งความรักและความหวัง” ลักษณะเป็นพระตำหนักไม้สองชั้น หันหน้าออกสู่ทะเล พระตำหนักฝ่ายในอยู่ปีกขวา ทางปีกซ้ายเป็นส่วนของฝ่ายหน้า ประกอบด้วย พระที่นั่งสามองค์เชื่อมต่อถึงกันโดยตลอด พระที่นั่งสุนทรพิมาน เป็นที่ประทับของพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี พระวรชายา พระที่นั่งพิศาลสาครเป็นที่ประทับของพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นหมู่พระที่นั่งตรงกลาง ประกอบด้วยห้องต่าง ๆ สำหรับสำราญพระอิริยาบถ ห้องพักข้าราชบริพารที่คอยรับใช้ใกล้ชิด ห้องทรงพระอักษร และพระที่นั่งสโมสรเสวกามาตย์ เป็นอาคารโถงสองชั้นเปิดโล่งใช้เป็นที่ประชุมในโอกาสต่าง ๆ และเป็นโรงละครซึ่งเคยจัดแสดงละครครั้งสำคัญ 2 ครั้ง คือ เรื่องพระร่วง และวิวาห์พระสมุทร

ในปี พ.ศ.2484 เจ้าพระยารามราฆพ ได้สร้างพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ถวายเป็นพระราชานุสรณ์ประดิษฐานไว้ ณ ท้องพระโรงพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน และได้จัดงานบำเพ็ญพระราชกุศลถวายเป็นพระราชสักการะ เนื่องในวันที่ระลึกคล้ายวันสวรรคต ของพระองค์ในวันที่ 25 พฤศจิกายน เป็นประจำทุกปี

สิ่งที่น่ายกย่องของสถานที่แห่งนี้ ได้แก่ ความตั้งใจและความพยายาม ที่จะสร้างที่ประทับ ให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศอย่างแท้จริง พระที่นั่งและส่วนประกอบอื่นๆ ทั้งหมดจึงใช้ไม้เป็นวัสดุหลัก มีลักษณะโปร่ง รับแสงแดด และลมทะเล ใต้ถุนสูง และมีหลังคาคุ้มแดด เดินถึงกันได้ตลอดทุกส่วน ฝ้าเพดาน ทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก เพื่อให้มีน้ำหนัก และแข็งแรงต้านลมทะเลได้ ความละเอียดรอบคอบ ในการสร้าง เห็นได้จากโคนเสาคอนกรีต ใต้ถุนอาคาร มีที่หล่อน้ำ กันมดแมลงด้วย

สภาพของอาคารส่วนที่ได้รับการบูรณะแล้วในปัจจุบัน ทำให้เห็นถึงความงดงาม ความน่าสบาย และความกลมกลืนกับธรรมชาติรอบข้างของพระราชนิเวศน์ แห่งนี้ได้อย่างชัดเจน

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เปิดให้เข้าชมทุกวัน ระหว่างเวลา 08.30-16.00 น. สำหรับผู้เข้าชมเป็นหมู่คณะ ต้องทำหนังสือถึงผู้กำกับการกองบังคับการฝึกพิเศษ ค่ายพระรามหก อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โทร. 032-471-388

ประวัติความเป็นมา

เมื่อแรกสร้างพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน อยู่ใน ต.บางกรา แขวงเมืองเพชรบุรี (ปัจจุบัน ต.บางกรา อยู่ใน อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์) ที่บริเวณดังกล่าว เป็นป่าเขา ห่างจากชุมชน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ โปรดเกล้าฯ ให้แบ่งพื้นที่ส่วนน้อย ที่ติดทะเล เป็นเขตพระราชนิเวศน์ ส่วนพื้นที่ส่วนใหญ่ ที่เหลือ ให้คงสภาพธรรมชาติไว้ให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ที่มีมาแต่เดิม ทั้งให้ประกาศ เป็นเขตอภัยทานอีกด้วย บริเวณพระราชนิเวศน์จึงมีสัตว์ป่าชุกชุม โดยเฉพาะกวาง ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ พระราชนิเวศน์ คือ มฤคทายวัน ซึ่งแปลได้ว่า "สวนกวาง"

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ได้เสด็จมาประทับที่นี่สองครั้ง เมื่อ พ.ศ.2467 และ 2468 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายก่อนเสด็จสวรรคต หลังจากนั้นพระราชวังแห่งนี้ได้ถูกทิ้งร้าง จนกระทั้งได้รับการบูรณะขึ้นใหม่ ตามรูปแบบเดิมทั้งหมด และเสร็จสมบูรณ์เมื่อ พ.ศ.2537

ปัจจุบันกรมตำรวจ ได้รับพระบรมราชานุญาต ให้ใช้พื้นที่เป็นศูนย์ฝึกอบรมตำรวจตระเวนชายแดน

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว จาก อ.ชะอำ ใช้ ถ.เพชรเกษม ผ่านสี่แยกชะอำ โรงแรมรีเจนท์ชะอำ จนถึงหลัก กม.216 ซ้ายมือจะเป็นประตู ทางเข้าค่ายพระรามหก เข้าไปประมาณ 3 กม. มีป้ายบอกเป็นระยะ พระราชนิเวศน์ ตั้งอยู่ริมทะเล ระหว่างทางเป็นแปลงปลูกพันธุ์ไม้ชายเลนขนาดใหญ่ จำนวนหลายแปลง ตามพระราชดำริ ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เช่น จาก โปรงแดง แสม โกงกาง

รถประจำทาง ขึ้นรถสายเพชรบุรี - หัวหิน แล้วต่อมอเตอร์ไซค์รับจ้าง จากชายหาดชะอำ มาส่งเที่ยวเดียว ราคาประมาณ 60 บาท (ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง)

รถรับจ้าง เหมาจากชายหาดชะอำ ราคาประมาณ 100 บาท (ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง)

รถไฟ ปัจจุบัน รฟท. ได้จัดนำเที่ยวพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ทุกวันหยุด


สิ่งที่น่าสนใจ

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ประกอบด้วย พระที่นั่งสามองค์ คือ พระที่นั่งสโมสรเสวกามาตย์ พระที่นั่งสมุทรพิมาน และ พระที่นั่งพิศาลสาคร มีรายละเอียด ดังนี้

พระที่นั่งสโมสรเสวกามาตย์ สร้างเพื่อเป็นที่ประชุมและจัดงานสโมสรต่างๆ รวมถึงการแสดงละคร ซึ่งพระองค์โปรดอย่างยิ่ง ลักษณะเป็นอาคารไม้สองชั้น รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ชั้นล่างเป็นโถงโล่ง ชั้นบนด้านทิศใต้ มีระเบียงเป็นที่ประทับ เวลาเสด็จออก และมีระเบียบรอบ ปล่อยส่วนกลางโล่ง หลังระเบียงที่ประทับ มีห้องซึ่งปัจจุบันจัดแสดงเรื่องราว และสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับความเป็นมา และการบูรณะพระราชนิเวศน์แห่งนี้ไว้อย่างน่าชม

พระที่นั่งสมุทรพิมาน มีทางเดินเชื่อมต่อจากพระที่นั่งสโมสรเสวกามาตย์ลงมาทางใต้ พระที่นังองค์นี้ เคยเป็นที่ประทับในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ อาคารด้านหน้า ประกอบด้วย ห้องสรง ห้องพระบรรทม และห้องทรงพระอักษร ซึ่งมีการจัดวางสิ่งของเครื่องใช้ และเครื่องเรือน ส่วนพระองค์ให้ชม อาคารส่วนกลางเป็นห้องโล่งกว้าง มีเพียงลูกกรงกั้นโดยรอบ ลักษณะคล้ายศาลา เป็นที่ซึ่งพระองค์โปรดประทับในเวลากลางวัน ปัจจุบันจัดตั้งโต๊ะหมู่บูชา ประดิษฐานพระบรมรูป ให้คนทั่วไปได้สักการะ

อาคารด้านหลังปีกทางทิศใต้ เคยเป็นที่ประทับของพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ในการเสด็จประทับครั้งที่ 2 จากด้านหน้าของพระที่นั่งองค์นี้ มีทางเดินทอดยาวไปจดชายหาด พร้อมทั้งมีพลับพลาสำหรับเปลี่ยนเครื่องทรง เมื่อเสด็จลงสรงน้ำทะเลด้วย

พระที่นั่งพิศาลสาคร อยู่ถัดจากพระที่นั่งสมุทรพิมาน ไปทางทิศใต้ เคยเป็นที่ประทับของพระนางอินทรศักดิ์ศจี ในการเสด็จมาประทับครั้งแรก และเป็นกลุ่มอาคารสำหรับฝ่ายใน มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน และเป็นเอกเทศจากส่วนที่ประทับ มีบันได ขึ้นลงชายหาดและพลับพลาริมทะเล ซึ่งทอดขนานไปกับ พระที่นั่งสมุทรพิมาน ซึ่งเป็นส่วนของฝ่ายหน้า

:: โรงแรม หัวหิน ชะอำ ที่พัก หัวหิน ชะอำ ::


** ช่วงเทศกาล งานประเพณี วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ต่างๆ ห้องพักตามโรงแรม รีสอร์ทสวยๆ
บางแห่งมักจะเต็มเร็ว ... เพื่อความมั่นใจ กรุณาวางแผนจองห้องพักล่วงหน้าแต่เนิ่นๆครับ ** [ วิธีการจองที่พัก ]



โรงแรม หัวหิน ที่พัก หัวหิน

บานีโต้ บีช รีสอร์ท (Banito Beach Resort) Bangsapan, Prachuabkhirikhan
บ้านกลางอ่าว บีช รีสอร์ท (Baanklangaow Beach Resort) Bangsapan, Prachuabkhirikhan
Thai Bamboo Guesthouse Resort Cha Am
Bannpantai Hotel and Resort
Cha-am
โรงแรม แก่นจันทร์บีช (Kaenchan Beach Hotel) ชะอำ
ฮอลิเดย์ รีสอร์ท ชะอำ (Holiday Resort Cha-Am) ชะอำ
คาซา ปาปาย่า รีสอร์ท (Casa Papaya) ชะอำ
อิมพีเรียล เลค วิว แอนด์ กอล์ฟคลับ (Imperial Lake View & Golf Club) ชะอำ
สปริงฟิลด์ บีช รีสอร์ท (Springfield Beach Resort) ชะอำ
ดุสิต รีสอร์ท แอนด์ โปโล คลับ (Dusit Resort & Polo Club) ชะอำ
สปริงฟิลด์ วิลเลจ กอล์ฟ แอนด์ สปา (Springfield Village Golf & Spa) ชะอำ
โรงแรม เจมส์ ชะอำ (Gems Cha-Am Hotel) Cha Am Beach
โรงแรม ลอง บีช ชะอำ (Long Beach Cha-Am Hotel) Cha Am Beach
บีช การ์เด้น ชะอำ รีสอร์ท (Beach Garden Chaam Resort & Spa) Cha Am Beach
โรงแรม โกลเด้น บีช ชะอำ (Golden Beach Cha-Am Hotel) Cha Am Beach
โรงแรม เมธาวลัย ชะอำ (Methavalai Hotel Cha-Am) Cha Am Beach
Holiday Inn Resort Regent Beach Cha-Am Cha Am Beach
Baan Talay Samran Cha Am Beach
ทิพย์วิมาน บีช รีสอร์ท (Tipviman Beach Resort, Cha Am - Hua Hin) Cha Am Beach
วีรันดา รีสอร์ท แอนด์ สปา (Veranda Resort and Spa) ชะอำ
Tanawit Hua Hin Condo & Hotel หัวหิน
มาเจสติค บีช รีสอร์ท (Majestic Beach Resort) หัวหิน
Seahorse Resort หัวหิน
คาซา เดล มาเร่ย์ หัวหิน (Casa del Mare, Hua Hin) หัวหิน
หัวหิน แมริออท รีสอร์ท แอนด์ สปา (Hua Hin Marriott Resort & Spa) หัวหิน
วรบุระ รีสอร์ท แอนด์ สปา (Wora Bura Resort & Spa) หัวหิน
พุทธรักษา หัวหิน (Putahracsa Hua Hin) หัวหิน
ไฮแอท รีเจนซี่ หัวหิน (Hyatt Regency Hua Hin) หัวหิน
ฮิลตัน หัวหิน รีสอร์ท แอนด์ สปา (Hilton Hua Hin Resort & Spa) หัวหิน
โซฟิเทล เซ็นทารา แกรนด์ รีสอร์ท แอนด์ วิลล่า หัวหิน (Sofitel Centara Grand Resort & Villas Hua Hin) หัวหิน
Let`s Sea Hua Hin AL Fresco Resort Hua Hin
อนันตรา หัวหิน (Anantara Hua Hin) Hua Hin
The Villas At Sofitel Central Hua Hin Resort Hua Hin
Doodi Guesthouse Hua Hin Town
Ruen Rom Condominuim, Hua Hin Hua Hin
Imperial Hua Hin Beach Resort Hua Hin
Mango Spa & Resort Hua Hin
Sun Dance Wellness Residence Hua Hin Hua Hin
Napalai Resort & Spa Hua Hin
บ้านทะเลจีน (Baan Talay Chine Boutique Hotel and Yoga) Hua Hin
Baan Rajdamnern Hua Hin
Dhevan Dara Resort & Spa Hua Hin
Hua Hin Blue Lagoon Serviced Apartment Hua Hin
บ้านบาหยัน (Baan Bayan) Hua Hin
Baan Busaba Pool Villa Hua Hin
อาคา รีสอร์ท หัวหิน (AKA Resort Hua Hin) Hua Hin
Chomtawan Resort
Hua Hin
อนันตศิลา (Anantasila) Hua Hin
S` mor Spa Village Hua Hin
Baan Kangmung Hua - Hin Hua Hin
โรงแรม ทิพย์อุไร ซิตี้ (Thipurai City Hotel) Hua Hin Town
Hua Hin White Sand (forment Hua Hin Suites) Hua Hin Town
โรงแรม หัวหิน แกรนด์ (Hua Hin Grand Hotel) Hua Hin Town
โรงแรม แซนด์ อินน์ (Sand Inn Hotel) Hua Hin Town
ซิตี้ บีช รีสอร์ท (City Beach Resort) Hua Hin Town
Prinz Garden Villa Service Apartment Hua Hin Town
โรงแรม พีโอนี หัวหิน (Peony Hua Hin Hotel) Hua Hin Town
รอยัล เอเชีย ลอด์จ (Royal Asia Lodge) Hua Hin Town
Kao Tao Villa Beach Resort Hua Hin, Kao Tao Village
หิน น้ำ ทราย สวย (Hin Nam Sai Suay) Hua Hin, Petchkasem Road
เวอร์รันดา ลอด์จ (Veranda Lodge) Hua Hin, Petchkasem Road
Baan Na Takiab Hua-Hin Hua Hin-Khao Takiab Rd.,
แก่งกระจาน คันทรี คลับ (Kaeng Krachan Country Club and Resort) Kaeng Krachan
เกาะทะลุ ไอส์แลนด์ รีสอร์ท (Koh Talu Island Resort) Koh Talu
Lawana Beach Resort Paknampran
สวนบ้านกรูด บีช รีสอร์ท (Suan Bankrut Beach Resort) Petchburi, Bankrut Beach
ระเบียงเรือ (Rabiang Rua) Petchburi, Chaosamran Beach
Tuangsook Lake Hills Resort ปราณบุรี
Brassiere Beach, The Cosy Beach ปราณบุรี
ภูริมันตรา รีสอร์ท แอนด์ สปา (Purimuntra Resort and Spa) ปราณบุรี
อลีนตา รีสอร์ท แอนด์ สปา (Aleenta Resort & Spa) ปราณบุรี
เอวาซอน ไฮด์อเวย์ หัวหิน (Evason Hideaway Hua Hin & Spa) Pranburi
แบ็คคัส โฮม รีสอร์ท (Bacchus Home Resort) Pranburi , Paknampran
ปัตตาเวีย รีสอร์ท แอนด์ สปา (Pattawia Resort and Spa) Pranburi, Nareansaun Beach
โรงแรม มิลฟอร์ด พาราไดซ์ หัวหิน (Milford Paradise Hua Hin) Pranburi, Paknampran Beach
ตะนาวศรี รีสอร์ท (Tanao Sri Resort) Pranburi, Paknampran Beach
โกลเด้น ไพน์ บีช รีสอร์ท (Golden Pine Beach Resort & Spa) Pranburi, Paknampran Beach
เอวาซอน หัวหิน (Evason Hua Hin & Six Senses Spa) Pranburi, Paknampran Beach
ประเสบัน รีสอร์ท (Praseban Resort) Pranburi, Paknampran Beach
I Resort Cliff View
Pranburi
เลอ เบย์บุรี เดอ ปราณ (Le Bayburi De Pran) Pranburi
ดอลฟิน เบย์ รีสอร์ท (Dolphin Bay Resort) Pranburi, Samroiyod
อัญชนา รีสอร์ท แอนด์ สปา (Anchana Resort & Spa) Pranburi, Samroiyod
ปึกเตียน คาบาน่า บีช รีสอร์ท (Puktien Cabana Beach Resort) Puk Tien
คาชัวรินา รีสอร์ท (Casuarina Resort) Puk Tien Beach
สามร้อยยอด ฮอลิเดย์ รีสอร์ท (Sam Roi Yod Holiday Resort) Sam Roi Yod
ไพรเวซี่ บีช รีสอร์ท แอนด์ สปา (Privacy Beach Resort & Spa) Sam Roi Yod
Lealawadee At The Beach Sam Roi Yod
บ้านไทย รีสอร์ท (Baan Thai Resort) Takiab Beach
Coral Keys Bungalows Takiab Beach
ตะเกียบ บีช รีสอร์ท (Takiab Beach Resort) Takiab Beach
โรงแรม หัวหิน บลูเวฟ (Hua Hin Bluewave Hotel) Takiab Beach
Chom View Hotel Holiday Apartments Takiab Beach
บ้านดวงแก้ว รีสอร์ท (Baan Duangkaew Resort) Takiab Beach
กบาลถมอ รีสอร์ท (Kaban Tamor Resort) Takiab Beach
บ้านทะเลดาว รีสอร์ท (Baan Talay Dao Resort) Takiab Beach
Ocean Breeze Boutique Garden Suites Takiab Beach
เดอะร็อค หัวหิน (The Rock Hua Hin) Takiab Beach
สุภัทรา หัวหิน รีสอร์ท (Supatra Hua Hin Resort) Takiab Beach
X2 Resort Kui Buri
Muang, Prachuap Khiri Khan



จังหวัดเพชรบุรี :: เทศกาล งานประเพณี

งานพระนครคีรีและของดีเมืองเพชร
เพื่อเป็นการรำลึกถึงความสำคัญของประวัติศาสตร์เมืองเพชรบุรี โดย เฉพาะพระนครคีรีและมรดกศิลปวัฒนธรรมอื่น ๆ ที่มีสืบมาจนถึง ปัจจุบัน ตลอดจนเผยแพร่สิ่งดีงามต่าง ๆ ของจังหวัดให้เป็นที่รู้จักมากยิ่ง ขึ้น ทางจังหวัดจึงจัดงานพระนครคีรี-เมืองเพชร ขึ้นเป็นประจำ ในราว เดือนกุมภาพันธ์ ช่วงที่ตรงกับเทศกาลตรุษจีน

กิจกรรมในงานได้แก่ ขบวนแห่พยุหยาตราบุรพกษัตริย์ที่เคยครองเมือง เพชรบุรีในสมัยทวารวดีและศรีวิชัย นิทรรศการประวัติศาสตร์และ โบราณคดีเมืองเพชรบุรี การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน สาธิตการปรุง อาหารคาวหวาน อันเป็นเอกลักษณ์ของเมืองเพชรบุรี การแสดงแสงเสียง ที่บริเวณพระนครคีรี การประกวดพลุ ตะไล ไฟพะเนียง ดอกไม้ไฟ ประกวดวัวงาม และ ประกวดผลไม้ การแข่งขันฟันอ้อย การเล่นวัวลาน การเห่เรือนก และมหรสพนานาชนิด

งานปีใหม่ชายไทยทรงดำ
ถือเป็นวันรวมชาวไทยทรงดำจากอำเภอต่างๆ ใน จ.เพชรบุรี และจังหวัดใกล้เคียง เช่น ราชบุรี สุพรรณบุรี เป็นต้น ทุกคนจะแต่งกายด้วยชุดสีดำ ที่ทอขึ้นเองในครอบครัว เป็นวัฒนธรรมการแต่งกายที่น่าสนใจ

กำหนดจัดงานช่วงเดือนเมษายน และวันสงกรานต์ของทุกปี จัดขึ้นที่ วัดหนองปรง อ.เขาย้อย

กิจกรรมในงาน มีการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ และมีการละเล่นต่างๆ ของชาวไทยทรงดำ ที่หาชมได้ยาก เช่น เล่นลูกช่วง เล่นแคน เล่นเพลงโต้ตอบกัน เป็นต้น นอกจากนี้จะได้เห็นการแต่งกายด้วยผ้าทอสีดำ ทั้งชายและหญิง มีความสวยงามแก่ผู้พบเห็น

เทศกาลกินหอย ดูนก ตกหมึก
เป็นงานที่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนด้านการท่องเที่ยว ใน จ.เพชรบุรี จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในจังหวัด ช่วงวันเสาร์สุดท้ายของเดือนกันยายนของทุกปี งานจะมีประมาณ 9 วัน บริเวณหาดชะอำ

ในวันแรกของงานจะมีการแข่งเรือหลายประเภท เช่น เรือลากกล้วย เรือเร็ว เป็นต้น ภายในงานจะมีการออกร้านของหน่วยงานต่างๆ ทั้งของราชการ และโรงแรม สถานประกอบการต่างๆ ซึ่งมีทั้งการจำหน่ายอาหารทะเลสดใหม่ โดยเฉพาะหอยหลากชนิด ทั้งหอยแมลงภู่ หอยแครง หอยหวาน หอยตลับ นอกจากนี้ยังมีการแข่งขันดื่มเบียร์ กินหอย บนเวที พร้อมการแสดงต่างๆ ตั้งแต่ช่วงเย็นจนถึงเที่ยงคืน

ในงานนี้ยังมีกิจกรรมดูนก บริเวณวนอุทยานเขานางพันธุรัต ซึ่งเป็นป่าบนเขาหินปูน และตามทุ่งตะกาด ซึ่งมักมีนกชายเลน อพยพมาในฤดูหนาว นอกจากนี้ยังพาไปชมค้างคาว ที่เขานายาง ส่วนการตกหมึกนั้น เป็นกิจกรรมที่จัดให้นั่งเรือออกไปตอนกลางคืน ใช้เวลาประมาณ 2 ชม. คิดค่าบริการคนละ 50 บาท เป็นการสัมผัสวิถีชีวิตชาวประมง ชายฝั่งที่ออกไปหาปลาตอนกลางคืน

การวิ่งวัวลานคน
เป็นการแข่งขันที่ดัดแปลงมาจากกีฬาวัวลาน โดยใช้คนวิ่งแทนวัว มีกติกา เหมือนกันทุกประการ ไม่แต่เฉพาะชาวบ้านในท้องถิ่นเท่านั้น มีผู้คนท้อง ถิ่นต่างๆ เดินทางมาร่วมแข่งขันด้วยจึงเป็นกิจกรรมที่สนุกสนาน และมี เพียงแห่งเดียวที่จังหวัดเพชรบุรี แต่มีกำหนดการเล่นที่ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่ กับว่าท้องที่ใดจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ซึ่งบางครั้งก็จัดขึ้นในช่วง สงกรานต์

ประเพณีเล่นเพลงปรบไก่ขอฝน
เป็นกาลละเล่นของชาวบ้านตำบลลาดโพธิ์ อำเภอบ้านลาด เป็นการบวง สรวงศาลหลวงปู่เพื่อขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล น้ำท่าอุดมสมบูรณ์ โดยจะเล่นกันในวันเพ็ญเดือน 6

ลักษณะการเล่นเพลงปรบไก่นี้ จะมีพ่อเพลงแม่เพลงแต่งกายพื้นบ้านสีสด ใส หลังจากพิธีกรรมต่าง ๆ รวมถึงการไหว้ครูแล้ว ทั้งฝ่ายชายและฝ่าย หญิงจะสลับกันร้องและร่ายรำอยู่กลางวง ท่าร่ายรำของฝ่ายชายปัดไปปัด มาคล้ายกับอาการป้อของไก่ตัวผู้ อาจเป็นเพราะลักษณะนี้จึงเรียกว่าเพลง ปรบไก่

บทเพลงที่ใช้ร้องเป็นบทเกี้ยวพาราสีกัน และเล่นเป็นเรื่อง 2 เรื่อง คือ ไกร ทอง และสุวิญชา เมื่อร้องไปรำไปใครเหนื่อยก็หยุดพักดื่มน้ำ รับประทาน อาหาร กินหมาก แล้วก็เริ่มเล่นต่อจนจบเรื่อง

จังหวัดเพชรบุรี :: ของฝาก ของที่ระลึก

เพชรบุรี ได้ชื่อว่าเป็นจังหวัดที่มีขนมอร่อยมากมายหลายชนิด ได้แก่ ขนมหม้อแกง ข้าว-เกรียบ กล้วยอบน้ำผึ้ง ผลไม้กวน กะละแม ฯลฯ มีจำหน่ายทั้งในบริเวณตัวเมืองและที่บริเวณเขาวัง ริมถนนสายเพชรเกษม นอกจากนี้ยังมีผลไม้ที่มีชื่อเสียงหลายชนิดเช่น ชมพู่เพชร (มีมากในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม) สับปะรด กระท้อน และแคนตาลูบ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์จากต้นตาล ได้แก่ ลูกตาล และจาวตาล นำมาทำเป็นอาหาร ขนมหวาน น้ำตาลสด และน้ำตาลปึก และยังมีผลิตภัณฑ์จากป่านศรนารายณ์ที่นำมาทำเป็นกระเป๋าและเครื่องใช้สวยงาม

ร้านขายของฝาก เขต อ.เมือง

กาญจนา ถ.ดำเนินเกษม โทร.032-427-202

บุญสม ถ.อนามัย (ข้างตลาดสด)

แม่ปิ่น ในตลาด อ.เมือง

แม่ละเมียด ถ.เพชรเกษมสายเก่า (ตึกแถวข้างเขาวัง)

แม่สำลี ถ.พานิชเจริญ


ร้านขายของฝาก ริม ถ.เพชรเกษม

ชิดชนก ถ.เพชรเกษม ฝั่งเข้ากรุงเทพฯ โทร.032-586-555 , 01-433-9617

บ้านขนมนันทวัน ถ.เพชรเกษม ฝั่งเข้ากรุงเทพฯ โทร.032-419-910-2

พ่อเข่ง ถ.เพชรเกษม ฝั่งเข้ากรุงเทพฯ โทร.032-426-906 , 01-856-1843

แม่กิมลั้ง ถ.เพชรเกษม ฝั่งเข้ากรุงเทพฯ ก่อนถึงแยกท่ายาง 8 กม.

แม่กิมลุ้ย ถ.เพชรเกษม โทร.032-430-144 , 01-371-4434

แม่บุญสม ถ.เพชรเกษม จากแยกท่ายาง 6 กม. โทร.032-425-528

แม่ละเมียด ถ.เพชรเกษม โทร.032-437-809 , 437-497


ร้านขายของฝาก อ.บ้านแหลม

ขนมชั้นแม่จิรา ถ.เพชรเกษม โทร.032-588-376

ชาวสวน ถ.เพชร-วัดเขาตะเครา


ร้านขายของฝาก อ.ท่ายาง

เจ๊ใจ ถ.ใหญ่ท่ายาง ตรงข้ามสนามฟุตบอล

ทองม้วนธัญญาภรณ์ ถ.ราษฎร์บำรุง ใกล้ศาลเจ้ากวนอู หลังตลาดท่ายาง โทร.032-461-249

ทองม้วนแม่จำเรียง ถ.ใหญ่ท่ายาง ซอยธนาคารกรุงเทพ สาขาท่ายาง โทร.032-437-494

ทองม้วนแม่เล็ก ถ.ราษฎร์บำรุง ใกล้ศาลเจ้ากวนอู หลังตลาดท่ายาง โทร.032-461-433 , 01-371-9200

แม่บุญล้น ถ.ใหญ่ท่ายาง ซอยธนาคารกรุงเทพ สาขาท่ายาง โทร.032-461-181 , 032-461-935


ร้านขายของฝาก อ.ชะอำ

ค่ายพระรามหก ภายในค่ายพระรามหก โทร.032-508-026 (ต่อโรงมีด)

:: สารบัญเว็บไซท์ ::

:: ข้อมูล สถานที่ท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว จังหวัดเพชรบุรี ::

สารบัญเว็บไซท์ > ท่องเที่ยว > ข้อมูล และสถานที่ท่องเที่ยว > ภาคกลาง > เพชรบุรี

จำนวนเว็บไซท์ในหมวดนี้ : 14 [ แนะนำเว็บไซท์ได้ที่นี่ ]


จังหวัดเพชรบุรี
แนะนำข้อมูลทั่วไป สถานที่ท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว จองโรงแรม ที่พัก รีสอร์ท โรงแรม จังหวัดเพชรบุรี แผนที่ การเดินทาง ร้านอาหาร เทศกาล งานประเพณี ของฝาก ประวัติความเป็นมา คำขวัญประจำจังหวัด
http://www.relaxzy.com/province/phetchaburi/

จังหวัดเพชรบุรี
ข้อมูลจังหวัดเพชรบุรี ข่าวผลิตภัณฑ์จังหวัด ผู้บริหาร สถานที่ท่องเที่ยว สภาพเศรษฐกิจ การเมือง สังค...
http://www.phetchaburi.go.th

จังหวัดเพชรบุรี
รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับจังหวัดเพชรบุรี คำขวัญ ตราประจำจังหวัด ประวัติ อาณาเขต แผนที่ ข้อมูลแหล่งท่อ...
http://travel.sanook.com/west/petchaburi/

ชะอำนิวส์ดอทคอม
รวบรวมข้อมูลด้านการท่องเที่ยว ข่าวคราวความเคลื่อนไหว และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในเมืองชะอำ แล...
http://www.cha-amnews.com

ชะอำบีชดอทคอม
ทุกเรื่องราวเกี่ยวกับชายหาดชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ข้อมูลท่องเที่ยว รวมที่พัก โรงแรม ร้านอาหาร สถานท...
http://www.chaambeach.com

สวนลูกจันทร์
แหล่งท่องเที่ยวสำหรับผู้ที่สนใจรักธรรมชาติ และการปลูกต้นไม้ เช่น ลั่นทมหรือลีลาวดี ลิลลี่ และการท...
http://www.suanlukchan.com/

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเพชรบุรี
โฮมเพจเพื่อการประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่าง ๆ ในท้องถิ่นของจังหวัดเพชรบุรี ข่าวภูมิภาค กระดานสนทนา ข้อ...
http://province.prd.go.th/phetchaburi

เมืองเพชรดอทคอม
ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดเพชรบุรี ประวัติศาสตร์ ตราและธงประจำจังหวัด ทำเนียบผู้ว่าฯ เมืองเพชรบุรี แผ...
http://www.muangphet.com

อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี
ข้อมูลเกี่ยวกับอำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ประวัติความเป็นมา ข้อมูลทั่วไปของอำเภอบ้านลาด แนะนำสิ...
http://www.banlat.com

จังหวัดเพชรบุรี
แนะนำจังหวัดเพชรบุรี สถานที่ท่องเที่ยว สภาพทางภูมิศาสตร์ ข้อมูลอำเภอต่าง ๆ และข่าวสารเกี่ยวกับจัง...
http://www.geocities.com/phetburee

ตำบลหนองปรง จังหวัดเพชรบุรี
ข้อมูลของตำบลหนองปรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ประวัติความเป็นมาชาวไทยทรงดำ รวบรวมข้อมูลทางด้า...
http://mit.rajabhat.edu/nongprong

พระรามราชนิเวศน์
ประวัติของพระรามราชนิเวศน์ (พระราชวังบ้านปืน) รูปภาพบรรยากาศ สถานที่ ห้องโถงชั้นล่างบันไดเวียนคู่...
http://www.geocities.com/stevensae2002

เพชรบุรีดอทเน็ต
ข้อมูลจังหวัดเพชรบุรี ข่าวสารทั่วไป แนะนำสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ข้อมูลท่องเที่ยว รวมรูปภาพ...
http://www.phetburi.net

ศูนย์การท่องเที่ยวกีฬาและนันทนาการจังหวัดเพชรบุรี
แนะนำจังหวัดเพชรบุรี แผนที่จังหวัด ปฎิทินท่องเที่ยว โรงแรม ที่พักร้านอาหาร ของฝากที่ระลึก
http://www.tspetchaburi.com



:: อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ::

:: ข้อมูลทั่วไป ::
อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอหนองหญ้าปล้อง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นอุทยานแห่งชาติที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศไทย มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ เป็นป่าต้นน้ำของแม่น้ำเพชรบุรีและแม่น้ำปราณบุรี และมีลักษณะเด่นทางธรรมชาติที่สำคัญหลายแห่ง เช่น ทะเลสาบ น้ำตก ถ้ำ หน้าผาที่สวยงาม มีเนื้อที่ประมาณ 1,821,687.84 ไร่ หรือ 2,914.70 ตารางกิโลเมตร

ความเป็นมา : เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จแปรพระราชฐานที่พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเสด็จที่เขื่อนแก่งกระจาน ได้รับสั่งให้นายถนอม เปรมรัศมี อธิบดีกรมป่าไม้ เข้าเฝ้าเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2522 ได้มีกระแสพระราชดำรัสว่า “เรื่องป่าต้นน้ำ ลำธารของแม่น้ำเพชรบุรี ขอให้เจ้าหน้าที่ดูแลรักษาอย่าให้มีการลักลอบตัดไม้ ถางป่า ทำไร่ในป่าต้นน้ำของแม่น้ำเพชรบุรี เพราะจะทำให้เกิดความแห้งแล้ง แม้จะได้มีการให้สัมปทานป่าแปลงนี้ไปบ้างแล้ว ก็ขอให้ เจ้าหน้าที่ตรวจดูแลการทำไม้ อย่าให้เป็นการทำลายป่าเกิดขึ้น” จากพระราชดำรัสดังกล่าวประกอบกับนโยบายของรัฐบาลตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2522 ที่ให้รักษาป่าไว้โดยการประกาศให้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ

กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งที่ 452/2523 ลงวันที่ 6 มีนาคม 2523 ให้นายสามารถ ม่วงไหมทอง นักวิชาการป่าไม้ 4 ไปดำเนินการสำรวจหาข้อมูลเบื้องต้นบริเวณพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารแม่น้ำเพชรบุรีเหนือเขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ตามหนังสือรายงานการสำรวจ ด่วนที่สุด ที่ กส 0708/จช. 67 ลงวันที่ 15 เมษายน 2523 รายงานว่า บริเวณป่าดังกล่าวเป็นป่าต้นน้ำลำธารของแม่น้ำเพชรบุรีและแม่น้ำปราณบุรี เป็นภูเขาสลับซับซ้อน สภาพป่าสมบูรณ์ มีทิวทัศน์สวยงาม ประกอบด้วยน้ำตก ถ้ำ หน้าผา ทะเลสาบ พันธุ์ไม้มีค่านานาชนิด เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าต่างๆ เช่น เลียงผา วัวแดง กระทิง นก ปลาต่างๆ และช้างป่า ซึ่งเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมือง เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ เพื่อเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจและศึกษาความรู้ด้านต่างๆ ทั้งเป็นการรักษาสภาพป่าให้คงอยู่เป็นสมบัติของชาติถาวรสืบไปดังพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

กรมป่าไม้จึงได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มีมติการประชุมครั้งที่ 2/2523 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2523 เห็นสมควรให้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินบริเวณพื้นที่ป่ายางน้ำกลัดเหนือ และป่ายางน้ำกลัดใต้ในท้องที่ตำบลน้ำกลัดเหนือ กิ่งอำเภอหนองหญ้าปล้อง อำเภอเขาย้อย และตำบลสองพี่น้อง ตำบลแก่งกระจาน อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ครอบคลุมเนื้อที่ 1,548,750 ไร่ หรือ 2,478 ตารางกิโลเมตร ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 98 ตอนที่ 92 ลงวันที่ 12 มิถุนายน 2524 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 28 ของประเทศ


ต่อมาคณะอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ของอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้มีหนังสือลงวันที่ 17 ตุลาคม 2525 ถึงนายชวน หลีกภัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอให้อนุรักษ์ป่าห้วยแร่ห้วยไคร้ ตำบลหนองพลับ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ด้วย กรมป่าไม้ จึงให้ นายสามารถ ม่วงไหมทอง ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน และนายรุ่งโรจน์ อังกุรทิพากร เจ้าพนักงานป่าไม้ 2 สำรวจหาข้อมูลเบื้องต้น ปรากฏว่า ในบริเวณดังกล่าวมีสภาพป่าสมบูรณ์ดี มีทิวทัศน์สวยงาม มีธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตก ถ้ำ หน้าผา ลานหิน และมีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่ โดยมีอาณาเขตติดต่อกับเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ตามหนังสือรายงานผลการสำรวจ ที่ กส 0713(กจ) /78 ลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2526 เห็นควรให้ขยายเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานออกไปครอบคลุมพื้นที่ดังกล่าว

กรมป่าไม้จึงได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ต่อมาได้มีมติการประชุมครั้งที่ 1/2527 เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2527 ให้ขยายเขตอุทยานแห่งชาติให้ครอบคลุมพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งได้มีพระราชกฤษฎีกาขยายเขตอุทยานแห่งชาติป่ายางน้ำกลัดเหนือ และป่ายางน้ำกลัดใต้ ในท้องที่ตำบลแก่งกระจาน ตำบลสองพี่น้อง ตำบลกลัดหลวง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี และตำบลหนองพลับ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ครอบคลุมเนื้อที่ 273,125 ไร่ หรือ 437.00 ตารางกิโลเมตร โดยประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 101 ตอนที่ 194 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2527 รวมเนื้อที่ 1,821,875 ไร่ หรือ 2,915 ตารางกิโลเมตร

ต่อมากองบัญชาการทหารสูงสุด และจังหวัดเพชรบุรี ได้ขอเพิกถอนพื้นที่เพื่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยแม่เพรียง เนื้อที่ 28 ไร่ 2 งาน และอ่างเก็บน้ำห้วยป่าแดง เนื้อที่ 158 ไร่ 2 งาน 64 ตารางวา ซึ่งได้มีพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่ายางน้ำกลัดเหนือ และป่ายางน้ำกลัดใต้ บางส่วนในท้องที่ตำบลห้วยแม่เพรียง และตำบลป่าเต็ง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี เนื้อที่ 187.16 ไร่ หรือ 0.30 ตารางกิโลเมตร โดยประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 64 ก ลงวันที่ 24 กันยายน 2541 ทำให้ในปัจจุบันอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานคงเหลือพื้นที่ 1,821,687.84 ไร่ หรือ 2,914.70 ตารางกิโลเมตร



:: ลักษณะภูมิประเทศ ::
ลักษณะภูมิประเทศมีทั้งส่วนที่เป็นพื้นดินและส่วนที่เป็นอ่างเก็บน้ำ มีเนื้อที่ประมาณ 45 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ป่าเหนืออ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน ประกอบด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อนของเทือกเขาตะนาวศรี ซึ่งเป็นเทือกเขาที่เป็นเขตแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศพม่า ยอดสูงสุดได้แก่ เขางะงันนิกยวกตอง สูงประมาณ 1,513 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยเฉลี่ยสูงประมาณ 500 เมตร ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาหินแกรนิต บางแห่งเป็นเขาหินปูน ในหลายแห่งอุดมไปด้วยแร่ฟลูออไรน์ ปกคลุมด้วยป่าดิบชื้นเป็นส่วนใหญ่ เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำเพชรบุรีและแม่น้ำปราณบุรี ลำห้วยสำคัญของแม่น้ำเพชรบุรีที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานได้แก่ ห้วยประโดน ห้วยบางกลอย ห้วยแม่เสลียง ห้วยหินเพิง ห้วยสาริกา ห้วยฝาก ห้วยไผ่ และห้วยสามเขา ลำห้วยที่สำคัญของแม่น้ำปราณบุรีในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ได้แก่ ห้วยคมกฤช ห้วยโสก แม่น้ำสัตว์ใหญ่ ห้วยป่าแดง และห้วยป่าเลา


:: ลักษณะภูมิอากาศ ::
สภาพโดยทั่วไปเป็นป่าดิบชื้น จึงทำให้มีความชื้นสูง ส่วนใหญ่จะมีฝนตกชุก จึงมีอากาศเย็นสบายตลอดปี ไม่ร้อนอบอ้าว ปริมาณน้ำฝนรวมรายปีระหว่าง 986-1,140 มิลลิเมตร

ซึ่งในช่วงฤดูฝน การท่องเที่ยวและพักแรมในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ไม่สะดวกในการเดินทางไปท่องเที่ยว ก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติสูง และอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่นักท่องเที่ยว จึงมีกำหนดปิดการท่องเที่ยวและพักแรม เฉพาะบริเวณบ้านกร่างและเขาพะเนินทุ่ง ในระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม - 31 ตุลาคม ของทุกปี เพื่อความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว และเปิดโอกาสให้ธรรมชาติได้มีโอกาสฟื้นตัว


:: พรรณไม้และสัตว์ป่า ::
สังคมพืชหลักในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานได้แก่ระบบนิเวศของป่าไม้ ซึ่งปกคลุมพื้นที่อุทยานแห่งชาติถึงร้อยละ 85.64 ประกอบด้วยชนิดป่าที่สำคัญ 4 ชนิด ได้แก่
ป่าดงดิบชื้น พบขึ้นอยู่เป็นบริเวณกว้างในระดับความสูงประมาณ 400 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลางขึ้นไป พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ กระลอขน ตะแบก เสลา มะค่าโมง เขม่าสาย ยางโอน เสม็ดฟอง พญารากดำ มะกอกแบน นกน้อย ผมหอม ตาเสือ เสม็ดเขา หนามขี้แรด ชมพูป่า ฯลฯ ส่วนพืชพื้นล่างโดยทั่วไปเป็นลูกไม้ กล้าไม้ ของไม้ชั้นบน รวมทั้งไม้เถา เช่น เถากระไดลิง เป็นต้น

ป่าดงดิบแล้ง พบขึ้นกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ โดยเฉพาะตามที่ลุ่มริมฝั่งน้ำในหุบเขา ไหล่เขา และที่ราบต่ำระหว่างภูเขา ที่ระดับความสูงประมาณ 400-500 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ดำดง สมอ จัน ข่อยหนาม กระเบากลัก หมากเล็กหมากน้อย ถอบแถบ ดีหมี กระเบากลัก กระชิด หงอนไก่ดง ฯลฯ ส่วนพืชพื้นล่างโดยทั่วไปเป็นลูกไม้ กล้าไม้ ของไม้ชั้นบน รวมทั้งไม้เถา เช่น กำลังหนุมาน สะแกวัลย์ หวายลิง เป็นต้น

ป่าเบญจพรรณ พบขึ้นอยู่ทางตอนกลาง และส่วนเหนือของอุทยานแห่งชาติ พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ตีนนก แดง ตะคร้ำ มะกอก ประดู่ ตะแบก อ้อยช้าง ตะโก ตีนเป็ด งิ้วป่า โมกมัน ติ้ว ฯลฯ ส่วนพืชพื้นล่างโดยทั่วไปเป็นลูกไม้ กล้าไม้ ของไม้ชั้นบน รวมทั้งไผ่ หญ้าคา หญ้าปล้อง และไม้เถา เป็นต้น

ป่าเต็งรัง พบขึ้นอยู่ทางทิศเหนือและทิศตะวันออก ของอุทยานแห่งชาติในระดับความสูง 200-400 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง พลวง พะยอม ประดู่ ตะแบก เปล้าหลวง แดง ฯลฯ สำหรับพืชพื้นล่างประกอบด้วย หญ้า ลูกไม้ของไม้ชั้นบน และไม้เถา เป็นต้น

เนื่องจากอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อยู่ในเทือกเขาตะนาวศรี ซึ่งเชื่อมต่อกับเทือกเขาภูเก็ตของภาคใต้ และตอนเหนือเข้าไปในประเทศพม่า สัตว์ป่าจากประเทศอินเดียและพม่า จะแพร่กระจายลงมาทางทิศตะวันตกของประเทศลงมาถึงบริเวณนี้ และพวกสัตว์ป่าจากประเทศมาเลเซีย ก็จะแพร่กระจายขึ้นมาตามเทือกเขาภูเก็ตมาถึงบริเวณนี้เช่นเดียวกัน ทำให้อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เป็นแหล่งชุมนุมของสัตว์ป่า ทั้งจากทิศเหนือและทิศใต้ ชนิดของสัตว์ป่าที่สำคัญได้แก่ ช้างป่า หมีหมา หมาไน หมาจิ้งจอก เสือดาว เสือโคร่ง เลียงผา สมเสร็จ วัวแดง กวางป่า เก้งหม้อ ชะนีมือขาว ลิงเสน นกกระสาคอขาว เหยี่ยวปลาใหญ่หัวเทา นกเค้าหน้าผากขาว กบทูด ปาดยักษ์ เต่าหก จิ้งเหลนภูเขาสีจาง เป็นต้น นอกจากนี้ในบริเวณลำธารและอ่างเก็บน้ำ สำรวจพบปลาน้ำจืดอาศัยอยู่หลายชนิด เช่น ปลานางอ้าว ปลาซิวใบไผ่ ปลาขี้ยอก ปลากระสูบขีด ปลากดเหลือง ปลาดุกด้าน ปลากระทุงเหว ปลาหมอช้างเหยียบ ปละกระสง และปลากระทิง ฯลฯ


:: ที่ตั้งและการเดินทาง ::
อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
ต.แก่งกระจาน อ. แก่งกระจาน จ. เพชรบุรี 76170
โทรศัพท์ : 0 3245 9293 โทรสาร : 0 3245 9291

รถยนต์
จากกรุงเทพฯ เดินทางไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ผ่านจังหวัดนครปฐม จังหวัดราชบุรี เข้าสู่เขตจังหวัดเพชรบุรี หรือจะเดินทางไปตามถนนพระราม 2 (ถนนธนบุรี - ปากท่อ) ถึงสามแยกวังมะนาวให้เลี้ยวซ้าย ก็จะเข้าสู่เขตจังหวัดเพชรบุรีเช่นกัน จากนั้นมีหลายเส้นทางที่ไปที่ทำการอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ดังนี้

1. เข้าทางอำเภอหนองหญ้าปล้อง ไปตามทางหลวงหมายเลข 3349 ถึงเส้นทางระหว่างอำเภอท่ายาง - อำเภอแก่งกระจาน ให้เลี้ยวชวา เดินทางต่อไปจนผ่านที่ทำการอำเภอแก่งกระจาน เข้าสู่บริเวณเขตเขื่อนแก่งกระจานเลียบตามถนนลาดยางขอบอ่าง จากตัวเขื่อนอีกประมาณ 2 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เส้นทางนี้ถนนบางช่วงยังเป็นถนนลูกรัง ยังอยู่ระหว่างการทำถนน

2. เข้าทางสี่แยกเขาตะเครา (ก่อนเข้าตัวเมืองเพชรบุรี) ไปตามทางหลวงหมายเลข 3204 ถึงเส้นทางระหว่างอำเภอท่ายาง - อำเภอแก่งกระจาน ให้เลี้ยวชวา เดินทางต่อไปจนผ่านที่ทำการอำเภอแก่งกระจาน เข้าสู่บริเวณเขตเขื่อนแก่งกระจานเลียบตามถนนลาดยางขอบอ่าง จากตัวเขื่อนอีกประมาณ 2 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน

3. เข้าทางอำเภอท่ายาง เมื่อเดินทางถึงสี่แยกเขื่อนเพชร ให้เลี้ยวขวาเข้าไปตามเส้นทางระหว่างอำเภอท่ายาง - อำเภอแก่งกระจาน เดินทางต่อไปจนผ่านที่ทำการอำเภอแก่งกระจาน เข้าสู่บริเวณเขตเขื่อนแก่งกระจานเลียบตามถนนลาดยางขอบอ่าง จากตัวเขื่อนอีกประมาณ 2 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน


รถโดยสารประจำทาง
จากกรุงเทพฯ เดินทางโดยรถโดยสารสายกรุงเทพฯ-ท่ายาง ถึงอำเภอท่ายาง เดินทางต่อโดยรถสองแถวสายท่ายาง-แก่งกระจาน ถึงบ้านแก่งกระจาน จากนั้นต่อรถจักรยานยนต์รับจ้างหรือรถยนต์จ้างเหมาอีก 4 กิโลเมตร ก็ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน


:: แหล่งท่องเที่ยว ::
อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน นอกจากจะเป็นอุทยานแห่งชาติที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศไทยแล้ว ยังมีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ เป็นป่าต้นน้ำของแม่น้ำเพชรบุรี และแม่น้ำปราณบุรี มีลักษณะเด่นทางธรรมชาติ ได้แก่ ทะเลสาบ น้ำตก ถ้ำ หน้าผาที่สวยงาม นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งดูนก ดูผีเสื้อ และสัตว์ป่านานาชนิด จึงมีนักท่องเที่ยวเข้าไปใช้บริการจำนวนมาก ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ

ดังนั้นในช่วงฤดูฝน การท่องเที่ยวและพักแรมในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ไม่สะดวกในการเดินทางไปท่องเที่ยว ก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติสูง และอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่นักท่องเที่ยว จึงมีกำหนดปิดการท่องเที่ยวและพักแรม เฉพาะบริเวณบ้านกร่างและเขาพะเนินทุ่ง ในระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม - 31 ตุลาคม ของทุกปี เพื่อความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว และเปิดโอกาสให้ธรรมชาติได้มีโอกาสฟื้นตัว


:: ด้านธรรมชาติที่สวยงาม ::
อ่างเก็บน้ำเขื่อนแก่งกระจาน มีเนื้อที่ประมาณ 46.5 ตารางกิโลเมตร เกิดจากการสร้างเขื่อนดินปิด 3 ช่องทางระหว่างหุบเขา ทำให้น้ำเอ่อล้นท่วมแก่งน้ำเดิม เป็นพื้นน้ำอาณาเขตกว้างขวางจากยอดเขาเนินเขาหลากเป็นเกาะโผล่พ้นน้ำถึง 30-40 เกาะ ก่อให้เกิดทิวทัศน์งดงามยิ่งเหมาะสำหรับการนั่งเรือชมทัศนียภาพและชมพระอาทิตย์ตกยามเย็นที่สันเขาตะนาวศรี


เขาพะเนินทุ่ง อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 50 กิโลเมตร เป็นเขาที่สูงประมาณ 1,207 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง จึงมีความหนาวเย็นตลอดปี บนยอดเขาปกคลุมด้วยทุ่งหญ้าและไม้ต้นเล็กๆ ประกอบด้วยทิวทัศน์ที่งดงามทั้งยามปกติ และยามมีทะเลหมอกในช่วงปลายฤดูฝนและต้นฤดูฝนหนาวที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่ง การเดินเท้าขึ้นยอดเขาพะเนินทุ่งมี 2 เส้นทาง เส้นทางแรกเริ่มจาก กม. ที่ 27.5 ของเส้นทางสายวังวน-พะเนินทุ่ง โดยเดินข้ามลำธารหลายสายก่อนขึ้นถึงยอดเขา ใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง อีกเส้นทางหนึ่งเริ่มจากบริเวณ กม. ที่ 30 ของเส้นทางสายวังวน-พะเนินทุ่ง ใช้เวลาเพียง 4 ชั่วโมง แต่ต้องข้ามเนินเขาหลายลูก ผู้สนใจต้องติดต่อขอเจ้าหน้าที่ช่วยนำทาง


น้ำตกทอทิพย์ อยู่ห่างจากยอดเขาพะเนินทุ่งประมาณ 4 กิโลเมตร ซึ่งสามารถจะเดินทางไปชมโดยทางรถยนต์ จุดเริ่มต้นของทางลงเขาสู่น้ำตกทอทิพย์อยู่บริเวณ กม. 36 สุดทางของเส้นทางสายวังวน-พะเนินทุ่ง เป็นทางดิ่งลงเขาตลอดระยะทาง 4 กิโลเมตร ตัวน้ำตกมีถึง 9 ชั้น สายน้ำไหลลดหลั่นลงมาเป็นทางยาวตามความชันของพื้นที่ สามารถเดินเลาะข้างน้ำตกลงมาจนครบทุกชั้น ปลายทางของสายน้ำจะไหลลงสู่แม่น้ำเพชรบุรี บริเวณริมแม่น้ำเป็นจุดกางเต็นท์พักแรมที่เรียกว่า เคยู แค็มป์


ถ้ำต่างๆ อยู่ตรงบริเวณเทือกเขาสามยอด และบริเวณถ้ำวิมาน มีหินงอก หินย้อย ซึ่งธรรมชาติสร้างสรรค์ไว้อย่างสวยงามยิ่ง ภายในถ้ำยังมีหลักฐานและร่องรอยของมนุษย์โบราณ


ผาน้ำหยด เป็นหน้าผาอยู่ริมลำน้ำเพชรบุรีกลางพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ท่องเที่ยวโดยการล่องแก่งแม่น้ำเพชรบุรี มีลักษณะเป็นหน้าผาสูงชัน มีน้ำไหลหยดลงสู่แม่น้ำเพชรบุรีอยู่ตลอดเวลา ในฤดูฝน น้ำจะหยดเป็นสาย ก่อให้เกิดแผงมอสคลุมเขียวไปทั้งหน้าผา


น้ำตกหัวป่าเงา อยู่ทางด้านใต้ของพื้นที่มีน้ำตกใหญ่น้อยมากมาย รวมเป็นกลุ่มได้ถึง 4 กลุ่ม มีเส้นทางเข้าถึงสะดวก อยู่ในท้องที่ตำบลหนองพลับ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เขตติดต่อกับโครงการพระราชดำริห้วยสัตว์ใหญ่


น้ำตกธารทิพย์ มีความสูง 7 ชั้น มีน้ำไหลตลอดปีอยู่ใกล้กับน้ำตกทอทิพย์และน้ำตกหินลาด


น้ำตกหินลาด มีความสูง 5 ชั้น มีน้ำไหลตลอดปีอยู่ใกล้กับน้ำตกทอทิพย์และน้ำตกธารทิพย์


น้ำตกปราณบุรี มีความสูง 3 ชั้น อยู่ใกล้กับเส้นทางสายวังวน-น้ำตกทอทิพย์ (บริเวณ กม. 23) มีน้ำไหลตลอดปี


น้ำตกแม่สะเลียงหรือน้ำตกเสลียง มีความสูง 3 ชั้น น้ำไหลตลอดปี อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 34 กิโลเมตร ถึงทางแยกตรง กม. 27 แล้วเดินทางไปทางทิศตะวันตกอีก 5 กิโลเมตร เหมาะแก่การท่องเที่ยวแบบแคมป์ปิ้งและเดินป่า


น้ำตกกระดังลา อยู่ทางตอนเหนือของอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ท้องที่หมู่ 3 ตำบลยางน้ำกลัดเหนือ อำเภอหนองหญ้าปล้อง เป็นน้ำตกขนาดเล็ก มีความสูง 3 ชั้น


ถ้ำค้างคาว ถ้ำค้างคาว มีหลืบหินและปล่องถ้ำสวยงามระหว่างการเดินทางเข้าถ้ำ สามารถชมทิวทัศน์ของป่าและภูเขาได้


- ถ้ำวิมาน มีหินงอกหินย้อยสวยงาม อากาศเย็นสบาย ภายในถ้ำพบร่องรอยของมนุษย์โบราณ เช่น เศษกระเบื้อง และขวานหินใกล้ถ้ำ บริเวณใกล้ถ้ำมีน้ำตกห้วยปลาก้าง มีความสูง 3 ชั้น


- ล่องแก่งแม่น้ำเพชรบุรี แม่น้ำเพชรบุรีในช่วงที่ไหลผ่านผีนป่าแก่งกระจาน เป็นลำธารกว้างเต็มไปด้วยแก่งหิน และสายน้ำไหลเชี่ยวกราก บางช่วงมีหน้าผาหินขนาบข้าง จึงเหมาะสำหรับการล่องแก่งมาก จุดเริ่มต้นอยู่ที่บริเวณ เค ยู แค็มป์ และไปสิ้นสุดที่บ้านโป่งลึก รวมระยะทางประมาณ 33 กิโลเมตร ใช้เวลา 3 วัน 4 คืน ผู้สนใจติดต่อสอบถามที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว


- ชมความงามริมทางสายวังวน-น้ำตกทอทิพย์ เป็นเส้นทางเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวโดยเฉพาะ อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติประมาณ 34.5 กิโลเมตร ระหว่างทางสามารถชมทิวทัศน์ได้ตลอดสายเห็นภูเขา ทะเลหมอก ป่าเขียวขจี และพบเห็นสัตว์นานาชนิด


- ลานหนุมานหรือเขาประการัง ลักษณะของภูเขาเป็นหิน ที่มีรูปร่างลักษณะแปลกตาคล้ายประการัง บริเวณนี้มีลิง ค่าง และชะนี เป็นจำนวนมาก และยังเป็นสถานที่ชมวิวทิวทัศน์ที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง


- น้ำตกป่าละอู เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ อยู่ทางตอนใต้ของอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ในท้องที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ห่างจากหัวหินประมาณ 60 กิโลเมตร ใกล้หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ กจ.3 (ห้วยป่าเลา) มีความสูง 15 ชั้น ไหลลดหลั่นลงมาเป็นทางยาว ชั้นที่ 1-3 เหมาะสำหรับการเล่นน้ำ เนื่องจากน้ำตกชั้นที่สูงขึ้นไปต้องปีนป่ายไปตามโขดหินสูงชัน น้ำตกชั้นที่สวยที่สุดคือ น้ำตกชั้นที่ 7 มีแอ่งน้ำใหญ่อยู่ท่ามกลางป่าร่มครึ้ม


- น้ำตกห้วยป่าเลา มีทั้งหมด 7 ชั้น อยู่ใกล้เคียงกับน้ำตกป่าละอู อยู่ในท้องที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สองข้างเป็นป่าดงดิบที่สมบูรณ์ ตลอดเส้นทางมีพืชพันธุ์ที่แปลกตา


- น้ำตกชลนาฎ มีความสูง 3 ชั้น เป็นน้ำตกที่มีผาน้ำตกสูงที่สุดของน้ำตกในเขตอุทยานห่งชาติแก่งกระจาน สูงประมาณ 150-200 เมตร อยู่ใกล้เคียงกับน้ำตกป่าละอู ในท้องที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์


- จุดชมทะเลหมอก กม.36 สามารถชมทะเลหมอกได้เกือบตลอดปี จุดชมวิวนี้อยู่บริเวณ กม.ที่ 36 ของเส้นทางสายวังวน-พะเนินทุ่ง ก่อนถึงทางลงสู่น้ำตกทอทิพย์ ในยามเช้าจะมองเห็นทะเลหมอกสีขาวปกคลุมทั่วหุบเขา เมื่อทะเลหมอกสลายตัวไปแล้ว จะมองเห็นผืนป่าดงดิบเบื้องล่างเบียดตัวกันแน่น ท่ามกลางเทือกเขาสลับซับซ้อนกว้างไกลสุดตา บางครั้งอาจพบนกกกและนกเงือกกรามช้างบินอยู่เหนือผืนป่า การเดินทางขึ้นสู่จุดชมทะเลหมอก ใช้เส้นทางขึ้นเขาที่มีกำหนดเวลาแน่นอนในการขับรถยนต์ขึ้นเขาและลงเขา ต้องกางเต็นท์พักแรมที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ (พะเนินทุ่ง) บริเวณ กม.30 เพื่อตื่นขึ้นมาชมทะเลหมอกในยามเช้า


- พุน้ำร้อน อยู่ในเขตอำเภอหนองหญ้าปล้อง บริเวณหมู่ 5 ตำบลยางน้ำกลัดเหนือ ทางตอนเหนือของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เป็นบ่อน้ำผุด 2 บ่อ อุณหภูมิประมาณ 50-60 องศาเซลเซียส


- การดูนก จุดที่น่าสนใจสำหรับการดูนก ส่วนใหญ่อยู่ตามเส้นทางสายวังวน-พะเนินทุ่ง บริเวณ กม. ที่15 มีนกพญาปากกว้าง นกบั้งรอก นกหัวขวาน นกแต้วแล้ว และนกเงือกหลายชนิด ช่วง กม. ที่ 26-29 มีนกเสือแมลงหัวขาว นกกะรางหัวหงอก โดยเฉพาะนกกะลิงเขียดหางหนาม ซึ่งมักหากินรวมฝูงอยู่กับนกระวังไพรปากแดงสั้น จากบริเวณนี้เป็นต้นไปสามารถพบนกทางภาคเหนือ เช่น นกปรอดหัวตาขาว นกเสือแมลงปีกแดง นกกะลิงเขียดสีเทา ฯลฯ


- การดูผีเสื้อ จุดที่น่าสนใจสำหรับการดูผีเสื้อ อยู่บนเส้นทางสายวังวน-พะเนินทุ่ง โดยเริ่มตั้งแต่ กม. ที่ 10 เป็นต้นไป จะพบผีเสื้อตามสองข้างทาง บริเวณแอ่งน้ำมีผีเสื้อหนอนจำปีจุดแยก ผีเสื้อสะพายฟ้า ผีเสื้อวาวสีต่างฤดู ตามพุ่มไม้มีผีเสื้อกะลาสีธรรมดา ผีเสื้อสีตาลจุดตาห้า ผีเสื้อช่างร่อน ตามกองมูลสัตว์มีผีเสื้อเหลืองหนามธรรมดา ผีเสื้อตาลหนามใหญ่ จากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ กจ. 4 (บ้านกร่าง) อาจพบผีเสื้อหางติ่งสะพายเขียวซึ่งเป็นผีเสื้อหายากชนิดหนึ่ง



:: สิ่งอำนวยความสะดวก ::
ห้องสุขาชาย มีห้องสุขาชายไว้บริการ


- ห้องสุขาหญิง มีห้องสุขาหญิงไว้บริการ


- ที่พักแรม/บ้านพัก มีบ้านพักและค่ายพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยวดังนี้
1. บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ มีบ้านพักให้บริการ แบ่งออกเป็น 2 โซน คือ โซนบนเนินเขา และโซนริมอ่างเก็บน้ำ ทั้ง 2 โซนนี้ อยู่ห่างกันประมาณ 1.5 กิโลเมตร
2. บริเวณแคมป์บ้านกร่าง มีค่ายพักให้บริการ ผู้ประสงค์จะใช้บริการให้ติดต่อกับอุทยานแห่งชาติโดยตรง
3. บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ (น้ำตกป่าละอู) มีบ้านพักให้บริการ แต่ในขณะนี้ยังไม่เปิดให้บริการ


- สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว ท่านสามารถสำรองที่พักเต็นท์ โดยติดต่อสอบถามรายละเอียด และสำรองที่พักเต็นท์ได้กับอุทยานแห่งชาติโดยตรงที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ท่านสามารถเลือกสถานที่กางเต็นท์ได้ดังนี้
1. บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ บรรยากาศริมอ่างเก็บน้ำ ล่องเรือชมทิวทัศน์ พายคายัค/แคนู มีไฟฟ้าส่องสว่าง
2. บริเวณแคมป์บ้านกร่าง กม. 15 บรรยากาศริมลำธาร ชายป่า ชมนก ชมผีเสื้อ และสัตว์ป่า ไม่มีไฟฟ้า
3. บริเวณแคมป์พะเนินทุ่ง กม.30 บรรยากาศยอดเขา ชมทะเลหมอก ทิวทัศน์ และสัตว์ป่า ไม่มีไฟฟ้า


- ที่จอดรถ มีลานจอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


- บริการอาหาร มีร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยวบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ


- ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ ลงทะเบียนเข้าที่พักพร้อมรับกุญแจที่พัก ติดต่อรถยนต์ขึ้นเขาพะเนินทุ่ง นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.


- อื่นๆ เนื่องจากเส้นทางบ้านกร่าง-เขาพะเนินทุ่ง เป็นเส้นทางที่ลาดชัน บางช่วงแคบ ผ่านหน้าผา อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานจึงกำหนดเวลาขึ้น-ลงสำหรับรถยนต์ที่ใช้เส้นทางนี้ เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว ดังนี้
1. เวลาขึ้นจากบ้านกร่างไปพะเนินทุ่ง ระหว่างเวลา 05.30 - 08.00 น. และ 13.00 - 15.00 น.
2. เวลาลงจากพะเนินทุ่งไปบ้านกร่าง ระหว่างเวลา 10.00 - 12.00 น. และ 16.00 - 17.00 น.



- อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี (เขาวัง) จังหวัดเพชรบุรี

เป็นที่เที่ยวที่สำคัญของเพชรบุรี กล่าวได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของเมืองเพชรบุรี เพราะทันทีที่ย่างกรายเข้าสู่เมืองเพชร สิ่งที่จะได้เห็นโดดเด่น คือ เขาวัง ซึ่งมีเจดีย์และอาคารสีขาวสะอาดตา ปรากฎอยู่บนยอดเขาขนาดย่อมอีกด้วย

- เขาวังเป็นที่ตั้งของพระราชวังแห่งแรก ในหัวเมือง ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นที่ประทับเพื่อเสด็จแปรพระราชฐาน มาพักผ่อนพระอิริยาบท ท่ามกลางธรรมชาติที่สวยงามบนเขาแห่งนี้

เนื่องจากเขาวัง มีอาณาบริเวณกว้างขวางและสิ่งควรชมจำนวนมาก นักท่องเที่ยวจึงควรจะมีเวลามากพอสมควร เพื่อที่จะได้ชมสถานที่ต่างๆ อย่างทั่วถึง

- ที่ตั้งและการเดินทาง

เขาวัง อยู่ริม ถ.เพชรเกษมสายเก่า (ทางเข้าตัวเมือง) ทางหลวงหมายเลข 4

- เคเบิ้ลคาร์ หรือรถรางไฟฟ้า

สำหรับผู้ที่ต้องการขึ้นเขาวังโดยการนั่งรถรางไฟฟ้า หรือ เคเบิ้ลคาร์ สถานีรถราง ตั้งอยู่ทางด้านหลังของเขาวัง หากขับรถยนต์ส่วนตัวมาจากกรุงเทพฯ เมื่อเลี้ยวซ้ายเข้าเพชรบุรี มาประมาณ 1 กม. จะมองเห็นธนาคารกรุงไทย สาขาพระนครคีรี อยู่ด้านขวามือ ให้กลับรถ แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามถนนเลียบคลองชลประทาน ข้างธนาคาร ประมาณ 800 ม. ก็จะถึงที่ตั้ง สถานีรถราง นั่งได้ 15-20 คน/เที่ยว

- ประวัติความเป็นมา

- เดิมทีเดียวเขาวังมีชื่อว่า เขาคีรี ต่อมาสมัยกรุงศรีอยุธยา มีการสร้างวัดมหาสมณะขึ้นที่เชิงเขา จึงเรียกเขาลูกนี้ว่า เขามหาสมณะ หรือ เขาสมน เขาวังมีสามยอด ยอดกลางเป็นที่ตั้งของพระธาตุจอมเพชร ยอดทางทิศตะวันออก เป็นที่ตั้งวัดพระแก้ว และยอดทางทิศตะวันตก เป็นที่ตั้งพระราชวังพระนครคีรี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานชื่อเขามหาสมณะใหม่ว่า เขามหาสวรรค์ แต่นิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า เขาวัง

สิ่งที่น่าสนใจ

- วัดมหาสมณาราม อยู่บริเวณเชิงเขาวัง เดิมชื่อวัดสมณะ หรือ วัดมหาสมน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้เป็นที่ประทับเมื่อครั้งทรงผนวช ต่อมาเมื่อทรงสร้างพระนครคีรีแล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะวัดแห่งนี้ พระราชทานนามว่า วัดมหาสมณาราม เรียกกันโดยทั่วไปว่า วัดเขาวัง

- ภายในโบสถ์ ฝาผนังทั้งสี่ด้าน มีภาพเขียนฝีมือขวัวอินโข่ง ซึ่งเป็นจิตรกรไทยคนแรก ที่ใช้วิธีการเขียนภาพแบบทัศนียวิทยา (perspective) คือ ใช้สีและแสงเงาในการวาด ให้เกิดมิติ มีระยะใกล้-ไกล และแบบภาพมองจากมุมสูง (Birds-eye view) อย่างตะวันตก เป็นภาพเขียน เกี่ยวกับการไปนมัสการสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางพุทธศาสนา

- พระราชวังพระนครคีรี หรือที่คนทั่วไปเรียกกันว่า เขาวัง จัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่งดงามน่าชมทั้งด้านธรรมชาติ และศิลปกรรม ที่อยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน และที่น่าสนใจเป็นพิเศษ คือ ลักษณะสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมตะวันตก แบบนีโอคลาสสิก สถาปัตยกรรมไทย และ จีน จนมีเอกลักษณ์เฉพาะ ในช่วงรัชกาลที่ 4 เป็นเวลาที่เมืองไทยเริ่มปรับตัวให้ทันสมัย อย่างประเทศตะวันตก ขณะที่ความนิยมในสถาปัตยกรรมแบบจีน ที่มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ก็ยังคงมีอยู่ แต่ขณะเดียวกันก็ต้องดัดแปลงรูปแบบของสถาปัตยกรรมให้เข้ากันได้กับการก่อสร้างแบบไทยๆ ในยุคนั้น

พระราชวังพระนครคีรี ประกอบด้วยกลุ่มอาคารจำนวนมาก แต่สถานที่สำคัญสามารถเข้าชมได้ มีดังนี้

- พระที่นั่งสันถาคารสถาน เป็นหมู่พระที่นั่งขนาดใหญ่ สำหรับต้อนรับแขกเมืองที่มาพักบนพระนครคีรี มีห้องรับแขกอยู่ตรงกลาง สองข้างเป็นห้องนอน มีมุขหน้ายื่น

- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครคีรี ปัจจุบันเป็นพระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ และพระที่นั่งปราโมทย์มไหสวรรย์

- พระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ เป็นพระที่นั่งองค์ใหญ่ที่สุด ภายในจัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงเครื่องราชูปโภค เช่น พระแท่นบรรทม พระฉาย (กระจกเงา) บานใหญ่ เครื่องมุก เครื่องถ้วยชาม ตุ๊กตาโลหะ ฝีมือช่างยุโรป เป็นต้น

- พระที่นั่งปราโมทย์มไหสวรรย์ เป็นที่ประดิษฐานพระแท่นบรรทมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

- พระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาท เป็นปราสาทยอดปรางค์ขนาดย่อม สร้างตามคติที่ว่า การสร้างพระราชวังใหญ่ จะต้องมีปราสาท ภายในประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์แบบที่เคยทรง ในการเสด็จออกรับทูตานุฑูต

- พระที่นั่งราชธรรมสภา สร้างด้วยศิลปะแบบผสมระหว่างไทย จีน และตะวันตก กล่าวคือ มีรูปทรงอาคารคล้ายเก๋งจีน แต่ตกแต่งตามแบบไทยและตะวันตก

- หอชัชวาลเวียงชัย เป็นหอทรงกลมสูงสองชั้น หลังคาโค้งกรุกระจก สร้างขึ้นเป็นที่ศึกษาและสังเกตการณ์ ทางดาราศาสตร์ สามารถชมทิวทัศน์ของเมืองเพชรบุรีได้โดยรอบ ในอดีต เวลากลางคืน จะจุดโคมไฟแขวนไว้ภายในโดมกระจก เมื่อมองจากทะเลสามารถเห็นได้แต่ไกล จึงเป็นที่หมายของชาวเรือในการเดินเรือเข้าอ่าวบ้านแหลมได้อย่างดี

- พระธาตุจอมเพชร ตั้งอยู่ที่ยอดเขาลูกกลาง เป็นเจดีย์สีขาว ที่มองเห็นเด่นแต่ไกล พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะเจดีย์เก่าที่มีอยู่ก่อน แล้วอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ และพระราชทานนามว่า พระธาตุจอมเพชร

- วัดพระแก้วหรือ วัดพระแก้วน้อย ตั้งอยู่บนยอดเขาด้านทิศตะวันออก สร้างขึ้นเป็นวัดในเขตพระราชฐาน เช่นเดียวกับวัดพระแก้ว ในพระบรมมหาราชวัง สิ่งที่ควรชมภายใน ได้แก่

- เจดีย์แดง ปรางค์จัตุรมุข ทาสีแดงทั้งองค์

- โบสถ์ มีสัดส่วนงดงาม และมีหน้าบันเป็นลวดลายปูนปั้น รูปตราพระมหาพิชัยมงกุฎ ซึ่งเป็นตราประจำรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ จัดเป็นงานปูนปั้นที่มีชื่อเสียงชิ้นหนึ่งของเมืองเพชรบุรี

- พระสุทธเสลเจดีย์ เป็นเจดีย์หินอ่อน สีเทาอมเขียว ที่มีประวัติการสร้างอันน่าทึ่ง คือ เมื่อสลักหินอ่อนเป็นชิ้น และประกอบที่เกาะสีชังเสร็จแล้ว ได้รื้อนำลงเรือมาประกอบใหม่บนเขาแห่งนี้

0 ความคิดเห็น: