วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การท่องเที่ยวจังหวัดพะเยา

:: จังหวัดพะเยา ::

" กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต ศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวง บวงสรวงพ่อขุนงำเมือง งามลือเลื่องดอยบุษราคัม "


- จังหวัดพะเยา :: ข้อมูลทั่วไป

- พะเยา เป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่งในแถบลานนาไทย เดิมมีชื่อว่า ภูกามยาว หรือ พยาว มีอายุกว่า 900 ปี โดยพ่อขุนศรีจอมธรรม กษัตริย์แห่งราชวงศ์ลัวะจักรราชหิรัญนครเงินยาง เมืองเชียงแสน และเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในสมัยพ่อขุนงำเมือง ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงการปกครองตามอิทธิพลของอาณาจักรต่างๆ ที่ผลัดกันมีอำนาจในแถบนี้ จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พยาวเปลี่ยนชื่อเป็นพะเยา และรวมอยู่กับจังหวัดเชียงรายจนในปี พ.ศ. 2520 จึงได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นจังหวัดพะเยา

- อาณาเขตและการปกครอง
ทิศเหนือ ติดอำเภอพาน อำเภอป่าแดด และอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย
ทิศตะวันออก ติดแขวงไชยบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และอำเภอท่าวังผา อำเภอบ้านหลวง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
ทิศใต้ ติดอำเภองาว จังหวัดลำปาง และอำเภอสอง จังหวัดแพร่
ทิศตะวันตก ติดอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง และอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย

- พะเยา มีเนื้อที่ประมาณ 6,335 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองพะเยา อำเภอจุน อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงม่วน อำเภอดอกคำใต้ อำเภอปง และอำเภอแม่ใจ กิ่งอำเภอภูซาง กิ่งอำเภอกามยาว


หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ (รหัสทางไกล 054)
ททท.สำนักงานภาคเหนือ เขต 2 จ.เชียงราย
053-717-433 , 744-164-5

ตำรวจท่องเที่ยว
1155

ตำรวจทางหลวง ส.ทล.5 จ.พะเยา
410-954

ตู้ยามร้องกวาง
597-304

สถานีตำรวจภูธร อ.เมือง
431-143 , 431-888 , 482-293

ที่ว่าการอำเภอเมือง
431-390

เทศบาลเมือง
431-350

ประชาสัมพันธ์จังหวัด
481-704

สำนักงานจังหวัด
431-412

สถานีขนส่งจังหวัด
431-488 , 431-111 , 481-600

รพ.พะเยา
431-189 , 431-209

รพ.เชียงคำ
431-190 , 481-271

รพ.ดอกคำใต้
431-520

รพ.จุน
481-605

รพ.เชียงม่วน
431-593

รพ.ปง
431-574



จังหวัดพะเยา :: สถานที่ท่องเที่ยว อำเภอเมือง

- อนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง
อดีตกษัตริย์ผู้ปกครองเมืองภูกามยาวลำดับที่ 9 ระหว่างปี พ.ศ. 1801-1841 เป็นยุคที่เจริญรุ่งเรืองมาก ประดิษฐานอยู่ที่สวนสาธารณะเทศบาลเมืองพะเยา (สวนสมเด็จย่า 90) หน้ากว๊านพะเยา เป็นพระสหายร่วมน้ำสาบาน กับพ่อขุนเม็งรายแห่งเมืองเชียงราย และพ่อขุนรามคำแหงแห่งกรุงสุโขทัย ซึ่งทั้งสามพระองค์ได้กระทำสัตย์ต่อกัน ณ บริเวณแม่น้ำอิง ซึ่งปัจจุบันอยู่บริเวณสถานีประมงน้ำจืดพะเยา พ่อขุนงำเมืองเป็นผู้ทรงอิทธิฤทธิ์กล่าวกันว่า เมื่อพระองค์เสด็จไปทางไหน "แดดก็บ่อฮ้อน ฝนก็บ่อฮำ จักให้แดดก็แดด จักให้บดก็บด" จึงได้พระนามว่างำเมือง

- กว๊านพะเยา
เกิดจาการยุบตัวของเปลือกโลกเมื่อประมาณ 70 ล้านปีมาแล้วเป็นแอ่งน้ำซึ่งเป็นที่รวบรวมของลำห้วยต่างๆ 18 สาย ต่อมาในปี 2478 กรมประมงได้ตั้งสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยาขึ้นบริเวณต้นแม่น้ำอิงและสร้างฝายกั้นน้ำทำให้เกิดเป็นบึงขนาดใหญ่ มีความลึกเฉลี่ย 1.5 เมตร คำว่า "บึง" ภาษาพื้นเมือง เรียกว่า "กว๊าน"

- กว๊านพะเยาเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญที่สุดของจังหวัดพะเยา คือเป็นทั้งแหล่งประมงน้ำจืด ที่สำคัญที่สุดของภาคเหนือตอนบน และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดพะเยา มีเนื้อที่ประมาณ 12,831 ไร่ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาชนิดต่างๆ เช่น ปลากราย ปลาสวาย ปลาเทโพ ปลาจีน ปลาไน รวมทั้งปลานิล อันลือชื่อของจังหวัดพะเยา ทัศนียภาพโดยรอบกว๊านพะเยา มีความร่มรื่น สามารถมองเห็นแนวทิวเขาสลับซับซ้อน งดงามมาก บริเวณริมกว๊านมีร้านอาหาร และจัดเป็นสวนสาธารณะเหมาะที่จะไปนั่งเล่น พักผ่อนหย่อนใจในยามเย็น ชมพระอาทิตย์ตกริมกว๊านเป็นภาพที่สวยงามมาก

- สถานีประมงน้ำจืดพะเยา
ตั้งอยู่ตรงถนนพหลโยธินระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 734-735 เป็นสถานีเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืด ปลาที่เพาะพันธุ์เพื่อแจกจ่ายแก่เกษตรกรได้แก่ ปลานิล ปลาไน ปลาตะเพียนขาว ปลายี่สกเทศ ฯลฯ และสามารถเพาะพันธุ์ปลาบึกได้สำเร็จเพื่อนำไปปล่อยในแหล่งน้ำต่างๆ สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ห้องจัดแสดงพันธุ์ปลาสวยงามที่หาดูยากไว้หลายชนิด เปิดให้ชมในวันเวลาราชการ และยังมีเรือนประทับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเมื่อครั้งเสด็จมาทรงงานที่จังหวัดพะเยาอยู่ในบริเวณเดียวกัน บริเวณรอบตำหนักจะมีดอกไม้เมืองหนาวนานาพันธุ์ สระน้ำพุอันสวยงาม ตั้งอยู่บริเวณสถานีประมงพะเยา

- หอวัฒนธรรมนิทัศน์
อยู่ใกล้กับวัดศรีโคมคำ จัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงโบราณวัตถุ เอกสารข้อมูลสำคัญทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดพะเยา และเรื่องราวความเป็นมาทั้งด้านวรรณกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมประเพณี และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวพะเยาโดยใช้รูปแบบเทคโนโลยีสมัยใหม่ เปิดให้เข้าชมในวันพุธ-อาทิตย์ เวลา 09.00-16.00 น.

- วัดศรีโคมคำ
เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี และวัดพัฒนาตัวอย่าง ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกว่า "วัดพระเจ้าตนหลวง" ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลปเชียงแสนองค์ใหญ่ที่สุดในล้านนาไทย ขนาดหน้าตักกว้าง 16 เมตร สูง 18 เมตร สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2034-2067 พระเจ้าตนหลวง หรือ พระเจ้าองค์หลวง มิใช่เป็นแต่เพียงพระพุทธรูปคู่เมืองพะเยาเท่านั้น แต่ถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอาณาจักรล้านนาไทยด้วย วันวิสาขบูชามีงานนมัสการพระเจ้าตนหลวงเป็นประจำทุกปีเรียกว่า "งานประเพณีนมัสการพระเจ้าองค์หลวงเดือนแปดเป็ง"

- วัดพระธาตุจอมทอง
ตั้งอยู่บนดอยจอมทอง ห่างจากตัวเมือง 3 กิโลเมตร อยู่ตรงข้ามกับกับวัดศรีโคมคำ มีถนนขึ้นไปถึงเจดีย์พระธาตุจอมทองเป็นปูชนียสถานโบราณคู่เมืองพะเยา บริเวณโดยรอบมีป่าไม้ปกคลุม เป็นสวนรุกชาติ มองเห็นตัวเมืองและกว๊านพะเยาได้โดยรอบ

- วัดอนาลโย
ตั้งอยู่บนดอยบุษราคัมห่างจากตัวจังหวัด 20 กิโลเมตร ไปทางทิศเหนือตามทางหลวงหมายเลข 1 (พะเยา-เชียงราย) ประมาณ 7 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1127-1193 อีก 9 กิโลเมตร ทางลาดยางตลอดสาย บริเวณดอยบุษราคัม และม่อนพระนอน ประกอบด้วยพระพุทธรูปศิลปสุโขทัยลักษณะงดงามมาก และยังมีพระพุทธรูปปางต่างๆ อีกหลายองค์ อาทิ พระพุทธไสยาสน์ พระพุทธรูปปางลีลา พระพุทธรูปปางนาคปรก สร้างด้วยความประณีตสวยงามแบบศิลปไทย รัตนเจดีย์ เป็นศิลปะแบบอินเดียพุทธคยา เก๋งจีนประดิษฐานเจ้าแม่กวนอิม หอพระแก้วมรกตจำลอง จากยอดเขาสามารถชมทัศนียภาพของกว๊านพะเยาและเมืองพะเยาได้อย่างสวยงาม ขึ้นได้ 2 ทาง คือ ทางบันไดและทางรถยนต์

- วัดศรีอุโมงค์คำ
มีพระเจดีย์สมัยเชียงแสนที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์มาก เป็นวัดที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่เมืองพะเยาอีกองค์หนึ่งนามว่า "หลวงพ่องามเมืองเรืองฤทธิ์" แต่ชาวบ้านเรียกว่า "พระเจ้าล้านตื้อ" ซึ่งถือกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงามที่สุดแห่งล้านนาไทย และนับเป็นเอกลักษณ์ทางศิลปะของภูกามยาวโดยเฉพาะ

- วัดลี
ตั้งอยู่หลังโรงเรียนเทศบาล 3 มีสถูปที่เป็นแบบสถาปัตยกรรมของภาคเหนือ และโบราณวัตถุสมัยอาณาจักรพะเยาอีกมากมาย โดยเฉพาะพระพุทธรูปหินทราย ถือเป็นพิพิธภัณฑ์ย่อยๆ ได้อีกแห่งหนึ่ง ยังมีพุทธศาสนสถานเก่าในเมืองพะเยาที่น่าสนใจอีกหลายแห่ง ได้แก่ ป่าแดงบุนนาค มีตำนานเกี่ยวพันครั้งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมายังดินแดนแห่งนี้ วัดศรีจอมเรือง มีศิลปะสวยงามแบบไทยผสมพม่า วัดราชคฤห์ มีเจดีย์เก่าแก่ของเมืองพะเยา และพระพุทธรูปศิลาซึ่งพุทธลักษณะสวยงามแบบเดียวกับพระเจ้าล้านตื้อ

- หมู่บ้านทำครกและโม่หิน บ้านงิ้ว
ตำบลบ้านสาง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 20 กิโลเมตร ใช้เส้นทางเดียวกับทางไปวัดอนาลโย เป็นถนนรอบกว๊านพะเยา รถยนต์สามารถเข้าถึงได้ทุกฤดูกาล ชาวบ้านมีอาชีพเสริมหลังการทำนาคือการ ทำครก โม่หิน ใบเสมา และลูกนิมิต เป็นต้น โดยทำเป็นอุตสาหกรรมภายในครอบครัว และส่งไปขายในตัวเมืองพะเยา

- หมู่บ้านทำผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา
อยู่ที่บ้านสันป่าม่วงใช้เส้นทางเดียวกับทางไปหมู่บ้านทำครกและโม่หิน ห่างกันประมาณ 2 กิโลเมตร ชาวป่าม่วงได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มขึ้นทำเป็นงานอดิเรก ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผักตบชวา ได้แก่ หมวก กระเป๋า จานรองแก้ว และของประดับตกแต่งต่างๆ

- อุทยานแห่งชาติดอยหลวง


:: อุทยานแห่งชาติดอยหลวง ::

:: ข้อมูลทั่วไป ::
อุทยานแห่งชาติดอยหลวง มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่รอยต่อของ 3 จังหวัด คือ เชียงราย ลำปาง และพะเยา เป็นอุทยานแห่งชาติที่ได้ยกฐานะมาจากวนอุทยานน้ำตกจำปาทอง วนอุทยานน้ำตกผาเกล็ดนาค วนอุทยานน้ำตกปูแกง และวนอุทยานน้ำตกวังแก้ว รวม 4 แห่ง ที่มีพื้นที่ติดต่อเป็นผืนเดียวกัน มีสภาพธรรมชาติ และจุดเด่นเป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่มีความสวยงามมากแห่งหนึ่งของภาคเหนือ มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 731,250 ไร่ หรือ 1,170 ตารางกิโลเมตร

- กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ กส 0708/3430 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2524 เสนอกรมป่าไม้ เพื่อขอยกฐานะวนอุทยานน้ำตกจำปาทอง วนอุทยานน้ำตกผาเกล็ดนาค อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา และวนอุทยานน้ำตกปูแกง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกัน และอยู่ในป่าเทือกเขาดอยหลวงด้วยกัน เป็นอุทยานแห่งชาติดอยหลวง โดยได้มีคำสั่งกรมป่าไม้ ที่ 1578/2524 ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2524 ให้ นายธวัชชัย เสถียรกาล นักวิชาการป่า 4 ไปทำการสำรวจเบื้องต้นและทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยหลวง ซึ่งอุทยานแห่งชาติดอยหลวงได้มีหนังสือที่ กษ 0713(ดล)/5 ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2525 ส่งรายงานการสำรวจ ปรากฏว่าพื้นที่ดังกล่าว มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะสมที่จะรวมวนอุทยานทั้งหมด จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ

- ต่อมาจังหวัดลำปาง และป่าไม้เขตลำปาง ได้ขอให้กรมป่าไม้จัดบริเวณวนอุทยาน น้ำตกวังแก้ว จังหวัดลำปาง เป็นอุทยานแห่งชาติเพื่อให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐ เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2526 ที่กำหนดให้จังหวัดลำปางเป็นจังหวัดส่งเสริมการท่องเที่ยว ผลการสำรวจปรากฏว่า มีพื้นที่เป็นบริเวณติดต่ออยู่ในเทือกเขาดอยหลวง ซึ่งเป็นป่าผืนเดียวกันทั้งหมดและเป็นป่าต้นน้ำลำธารชั้นที่ 1 A ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2528 และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของลำห้วยหลายสายซึ่งไหลลงสู่กว้านพะเยา พื้นที่ที่สำรวจมีธรรมชาติและจุดเด่นที่สวยงามมากมาย เหมาะสำหรับการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ

- กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติมีมติในการประชุมครั้งที่ 4/2523 เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2528 เห็นชอบในหลักการ ที่จะให้ดำเนินการ ออกพระราชกฤษฎีกา กำหนดพื้นที่ดังกล่าว เป็นอุทยานแห่งชาติดอยหลวงต่อไปได้ ทั้งนี้ให้กันพื้นที่บริเวณที่ราษฎรถือครองออกเสียก่อน โดยให้ยึดถือแนวทางปฏิบัติ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2527 คือ ให้ยึดถือภาพถ่ายทางอากาศปี 2510 เป็นเกณฑ์พิจารณา

- กองอุทยานแห่งชาติ จึงได้ติดต่อประสานงาน กับเจ้าหน้าที่ท้องที่ดำเนินการตรวจสอบ เพื่อดำเนินการออกประกาศพระราชกฤษฎีกา กำหนดบริเวณที่ดินป่าแม่ลาวฝั่งขวา ป่าแม่ส้าน และป่าแม่ใจ ในท้องที่ตำบลแม่สรวย ตำบลแม่พริก ตำบลศรีถ้อย ตำบลท่าก๊อ อำเภอแม่สรวย ตำบลธารทอง ตำบลทรายขาว ตำบลสันกลาง ตำบลป่าหุ่ง ตำบลม่วงคำ ตำบลแม่เย็น อำเภอพาน ตำบลสันสลี ตำบลเวียง ตำบลบ้านโป่ง ตำบลป่างิ้ว ตำบลหัวฝาย อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ตำบลป่าแฝก ตำบลเจริญราษฎร์ ตำบลศรีถ้อย ตำบลแม่สุก อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ป่าขุนวัง แปลงที่สอง ป่าขุนวังแปลงที่สาม ป่าขุนวังแปลงที่หนึ่ง ป่าแม่โป่ง และป่าแม่งาวฝั่งซ้าย ในท้องที่ตำบลทุ่งฮั้ว ตำบลวังเหนือ ตำบลวังใต้ ตำบลร่องเคาะ อำเภอวังเหนือ และตำบลบ้านร้อง อำเภองาว จังหวัดลำปาง และป่าแม่ต้ำ ป่าแม่นาเรือ ในท้องที่ตำบลบ้านใหม่ ตำบลท่าจำปี ตำบลบ้านต้ำ ตำบลบ้านต๋อม ตำบลบ้านสาง ตำบลบ้านตุ่น ตำบลแม่นาเรือ อำเภอพะเยา จังหวัดพะเยา ให้เป็นอุทยานแห่งชาติดอยหลวง ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 107 ตอนที่ 61 ลงวันที่ 16 เมษายน 2533 มีพื้นที่ทั้งหมด 731,250 ไร่ เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 61 ของประเทศ


:: ลักษณะภูมิประเทศ ::
สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนทอดตัวยาวตามแนวเหนือ-ใต้ โดยค่อนข้างสูงขึ้นจากทางเหนือลงมาทางใต้ โดยมีจุดสูงสุดคือ ยอดดอยหลวง ซึ่งมีความสูงประมาณ 1,694 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง และสภาพดินเป็นดินลูกรังผสมหินโดยเฉพาะบนยอดเขา ส่วนบริเวณหุบเขาจะมีดินสีดำอุดมไปด้วยแร่ธาตุ และหินมีลักษณะเป็นหินกรวดหรือหินปูนทราย เป็นป่าต้นน้ำของแม่น้ำวังและกว๊านพะเยา


:: ลักษณะภูมิอากาศ ::
ประกอบไปด้วยฤดูกาล 3 ฤดูกาล คือ ฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน-ตุลาคม ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม


:: พรรณไม้และสัตว์ป่า ::
ประกอบด้วยป่าชนิดต่างๆ 5 ประเภท ได้แก่ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง และป่าสนเขา มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ เช่น สัก เสลา อินทนิน มะขามป้อม มะกอกป่า มะม่วงป่า ตะเคียนหิน ตะเคียนทอง ชิงชัน ประดู่ กระบก ยมหิน ยมหอม บุนนาค เต็ง รัง เหียง พลวง ยางนา หว้า ก่อเดือย ก่อแป้น ก่อกำยาน สนสามใบ รวมถึงไผ่ขาว ไผ่บง กล้วยป่า เฟินก้านดำ ขิง ข่า กล้วยไม้ดิน ชายผ้าสีดา กระแตไต่ไม้ เอื้องผึ้ง หวายป่า เท้าสิงห์โต เอื้องหมายนา ค้างคาวดำ ดุสิตา แววมยุรา กระดุมเงิน

สัตว์ป่าประกอบด้วย เลียงผา เก้ง กวางป่า หมูป่า หมี อีเห็น ชะมด บ่าง ชะนี ลิงกัง เสือดาว แมวดำ หมาใน กระต่ายป่า กระรอกบิน ตะกวด เต่าปูลู งูชนิดต่างๆ รวมไปถึงไก่ป่า นกเงือก นกพญาไฟพันธุ์เหนือ นกปีกลายสก็อต นกกางเขนหัวขาวท้ายแดง นกศิวะปีกสีฟ้า และนกย้ายถิ่นหายาก เช่น นกกินปลีหางยาวคอสีดำ และนกอื่นมากมายกว่า 200 ชนิด นอกจากนี้ยังมีแมลงมากมายหลายชนิด เช่น ผีเสื้อกลางวัน ผีเสื้อกลางคืน กว่างห้าเขา ผีเสื้อใบไม้ใหญ่ ผีเสื้อหางติ่งปารีส ผีเสื้อถุงทอง เป็นต้น


:: ที่ตั้งและการเดินทาง ::
อุทยานแห่งชาติดอยหลวง
ต.แม่เย็น อ.พาน จ.เชียงราย อ. พาน จ. เชียงราย 57280
โทรศัพท์ : 0 5360 9042

- รถยนต์
ที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยหลวง อยู่บริเวณน้ำตกปูแกง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย สามารถเดินทางไปได้ 2 ทาง

- เดินทางจากอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย มาตามถนนสายเชียงราย-พะเยา ถึงบ้านปูแกงระยะทางประมาณ 56 กิโลเมตร แยกทางด้านขวามือเป็นทางเข้าสู่หมู่บ้านและอุทยานแห่งชาติดอยหลวง ระยะทาง 9.5 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตกปูแกง

- เดินทางจากอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา มาตามถนนสายเชียงราย-พะเยา ถึงบ้านปูแกงระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตร แยกทางด้านซ้ายมือเป็นทางเข้าสู่หมู่บ้านและอุทยานแห่งชาติดอยหลวง ระยะทาง 9.5 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตกปูแกง

:: แหล่งท่องเที่ยว :: ด้านธรรมชาติที่สวยงาม ::
- น้ำตกปูแกง เป็นน้ำตกที่มีการทับถมของหินปูนที่ปนมากับน้ำ ทำให้เกิดหินงอกหินย้อย และถ้ำมากมายในบริเวณน้ำตก เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามมากแห่งหนึ่ง มีจำนวน 9 ชั้น ตั้งอยู่บริเวณบ้านปูแกง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย โดยปกติจะมีราษฎรในท้องถิ่นเดินทางไปเที่ยวพักผ่อนอยู่เป็นประจำ การเดินทางไปยังบริเวณน้ำตกมีทางลาดยาง แยกจากถนนสายเชียงราย-พะเยา เข้าไปถึงบริเวณน้ำตกระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร เส้นทางใช้ได้ตลอดทั้งปี


- น้ำตกจำปาทอง เป็นน้ำตกที่พบเห็นในสภาพป่าดิบชื้นทั่วๆ ไป มีลักษณะเป็นน้ำตกสูงชัน น้ำใสสะอาด มีทั้งหมด 7 ชั้น โดยมีชั้นที่ 2 และชั้นที่ 3 เป็นชั้นที่สูงและสวยที่สุด บางชั้นสายน้ำตกลงมามีลักษณะคล้ายงาช้างหรือหัวช้างบ้าง ซึ่งราษฎรในท้องถิ่นก็ตั้งชื่อชั้นของน้ำตกที่เห็นตามลักษณะของน้ำตกที่ปรากฏให้เห็น การเดินทางมีถนนลาดยางแยกจากถนนสายเชียงราย-พะเยา ตรงหลักกิโลเมตรที่ 7 ก่อนจะถึงตัวจังหวัดพะเยาเข้าไปประมาณ 16 กิโลเมตร ก็ถึงบริเวณน้ำตก


- น้ำตกวังแก้ว เป็นน้ำตกที่สวยงามมากของอุทยานแห่งชาติดอยหลวง เป็นน้ำตกที่เกิดจากการทับถมของหินปูนที่ปนมากับน้ำเช่นเดียวกับน้ำตกปูแกง แต่มีความสูงมากกว่า มีชั้นของน้ำตกถึงประมาณ 102 ชั้น น้ำตกนี้มีความสวยงามตลอดทั้งปี


- ถ้ำนางพญาปางดินไฟ เป็นถ้ำที่อยู่บริเวณทางน้ำตกวังแก้ว ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นถ้ำไม่ลึกมากนัก ผนังถ้ำมีหินงอกและหินย้อยที่เกิดจากหินปูน บริเวณก่อนถึง ถ้ำพญาปางดินไฟนี้มีเนินเขาเตี้ยๆ


- น้ำตกแม่เหยี่ยน เป็นน้ำตกสูงชัน น้ำใสสะอาด ไหลตลอดทั้งปี น้ำตกไหลลงมาเป็นสายคล้ายงาช้าง ลดหลั่นกันมาเป็นชั้นๆ จำนวน 7 ชั้น มีความสูงประมาณ 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง สภาพป่าเป็นป่าดิบชื้น มีไม้ยางเป็นไม้เด่น


- ดอยหนอก อยู่ในเทือกเขาดอยหลวง มีลักษณะนูนขึ้นมาเป็นรูปรีคล้ายโหนกวัว เป็นภูเขาที่มีหน้าผาสูงชันสามารถมองเห็นได้จากเบื้องล่างทางทิศตะวันออกของกว๊านพะเยา ทิศเหนือถนนพหลโยธินไปจังหวัดเชียงราย การไปเที่ยวดอยหนอกเริ่มต้นจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยหลวง ที่ 6 (น้ำตกจำปาทอง) ใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 10 ชั่วโมง เพื่อไปชมโบราณสถานที่ครูบาศรีวิชัยเป็นผู้สร้างไว้ ชมพันธุ์ไม้ กล้วยไม้ป่า ที่หายาก นก ผีเสื้อ และแมลงต่างๆ ชมทิวทัศน์บริเวณกว๊านพะเยา และชมดวงอาทิตย์ขึ้นยามเช้าในสภาพอากาศที่หนาวเย็นปกคลุมด้วยม่านหมอก การเข้ามาท่องเที่ยวควรติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อนำทางด้วย



:: สิ่งอำนวยความสะดวก ::
ห้องสุขาชาย มีห้องสุขาชายให้บริการ


ห้องสุขาหญิง มีห้องสุขาหญิงให้บริการ


สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง


สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ มีพื้นที่กางเต็นท์ พร้อมห้องน้ำ-ห้องสุขารวม ไว้ให้บริการ ท่านสามารถนำเต็นท์มากางเอง หรือติดต่อขอใช้บริการเต็นท์ของอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีค่าบริการอยู่หลายอัตราขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของเต็นท์ และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ รายละเอียดเกี่ยวกับที่พักเต็นท์ขอให้ติดต่อสอบถามกับอุทยานแห่งชาติโดยตรง


- ที่จอดรถ มีลานจอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


- บริการอาหาร มีร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยว


- ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.


- จังหวัดพะเยา :: การเดินทาง

- ทางรถยนต์

- สามารถเดินทางเป็นวงรอบได้โดยใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-นครสวรรค์-พิษณุโลก-สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-เด่นชัย-แพร่-ร้องกวาง-พะเยา รวมระยะทางประมาณ 782 กิโลเมตร ตอนกลับใช้เส้นทางพะเยา-เชียงราย-แม่สรวย-เวียงป่าเป้า-ดอยสะเก็ด-เชียงใหม่-ลำปาง-ตาก-กรุงเทพฯ ระยะทาง 966 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 9 ชั่วโมง

- ทางรถโดยสารประจำทาง

- ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือถนนกำแพงเพชร 2 มีรถโดยสารประจำทางทั้งธรรมดาและปรับอากาศวันละหลายเที่ยว สอบถามได้ที่ โทร. 537-8055, 936-2852 บริษัทขนส่ง จำกัด พะเยา โทร. (054) 431363 สยามเฟิร์สทัวร์ โทร. 954-3601, (054) 431865 สมบัติทัวร์ โทร. 936-2495-9 , (054) 246503

- จากเชียงใหม่มีรถโดยสารประจำทางทั้งธรรมดา และปรับอากาศไป-กลับพะเยาทุกวัน ตั้งแต่ 06.00-17.30 น. รถออกทุกๆครึ่งชั่วโมง สอบถามได้ที่บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด โทร.(053) 246503

- ทางรถไฟ

จากสถานีรถไฟหัวลำโพงไปลงที่ลำปาง หรือเชียงใหม่ แล้วต่อรถโดยสารไปพะเยา สอบถามที่การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 223-7010, 223-7020

- ทางเครื่องบิน

มีเที่ยวบินตรงจากกรุงเทพฯ ไปเชียงรายทุกวัน สอบถามได้ที่ 1566 จองตั๋ว 280-0060, 628-2000

- ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอต่างๆ

อำเภอจุน 48 กิโลเมตร
อำเภอเชียงคำ 76 กิโลเมตร
อำเภอเชียงม่วน 117 กิโลเมตร
อำเภอดอกคำใต้ 15 กิโลเมตร
อำเภอปง 79 กิโลเมตร
อำเภอแม่ใจ 24 กิโลเมตร

- ระยะทางจากจังหวัดพะเยาไปยังจังหวัดอื่น ๆ ดังนี้

ลำปาง 131 กิโลเมตร
สุโขทัย 337 กิโลเมตร
เชียงใหม่ 222 กิโลเมตร
เชียงราย 94 กิโลเมตร
อำเภอแม่สาย (เชียงราย) 156 กิโลเมตร



- จังหวัดพะเยา :: สถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ

- อำเภอดอกคำใต้

- ดอกคำใต้
คือ ดอกกระถินสีเหลือง ซึ่งเป็นต้นไม้ขนาดย่อม มีลักษณะเป็นพุ่มใบเล็กเป็นฝอย ดอกสีเหลืองทอง มีกลิ่นหอมกรุ่นละไม ช่วงเดือนสิงหาคมไปจนถึงปีใหม่ ดอกคำใต้ก็จะผลิดอกเหลืองสะพรั่งไปทั้งต้น งดงามมาก

- วนอุทยานบ้านถ้ำ
ตำบลบ้านถ้ำ ตามเส้นทางสายดอกคำใต้-เชียงม่วน ระยะทาง 14 กิโลเมตร จากตัวอำเภอ เป็นสถานที่อันร่มรื่นเหมาะสำหรับการพักผ่อน และในบริเวณเดียวกันนั้นยังประดิษฐาน พระธาตุจอมศีล ตั้งอยู่บนเชิงเขาเป็นปูชนียสถานสำคัญแห่งหนึ่งของดอกคำใต้มาช้านาน เมื่อขึ้นไปถึงบนลานพระธาตุแล้ว จะมองเห็นทิวทัศน์อำเภอดอกคำใต้อย่างสวยงาม และชาวอำเภอดอกคำใต้จะมีงานประเพณีไหว้พระธาตุจอมศีล ในวันมาฆบูชา และวันสงกรานต์

- อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง
ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอดอกคำใต้ อำเภอปง และอำเภอเชียงม่วน มีพื้นที่ทั้งหมด 462,775 ไร่ พื้นที่ประกอบไปด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อน สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง


- อำเภอจุน


- โบราณสถานเวียงลอ (เมืองพระลอ)
อยู่ห่างจากอำเภอจุน ตามทางหลวงหมายเลข 1021 ถึงบ้านห้วยงิ้ว ประมาณ 17 กิโลเมตร มีทางแยกไปเป็นทางดินถึงบ้านน้ำจุนอีกประมาณ 12 กิโลเมตร นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าคงเป็นเมืองในสมัยพ่อขุนงำเมือง เพราะปรากฏซากกำแพงเมืองเก่า วัดร้าง อยู่มากมาย พระธาตุและวัดเก่าแก่คือ วัดศรีปิงเมือง และใกล้เวียงลอนี้ยังเป็นจุดที่ลำน้ำจุน ไหลลงสู่แม่น้ำอิงด้วย จึงเรียกบริเวณนี้ว่า "สบอิง"

- วัดพระธาตุขิงแกง
ห่างจากอำเภอจุนตามทางหลวงหมายเลข 1091 ถึงบ้านธาตุขิงแกงประมาณ 10 กิโลเมตร แยกขวาเป็นทางเดินไปอีก 300 เมตร ถึงตัววัดตั้งอยู่บนเนินเขาธาตุขิงแกง ซึ่งสามารถมองเห็นทัศนียภาพของหมู่บ้านขิงแกงได้อย่างชัดเจน องค์พระธาตุมีรูปทรงแบบล้านนา คล้ายพระธาตุสบแวนที่อำเภอเชียงคำ แต่ขนาดใหญ่และมีการตกแต่งมากกว่า


- อำเภอเชียงคำ

เป็นอำเภอหนึ่งที่มีความเจริญทัดเทียมกับอำเภอเมือง มีแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติ และโบราณสถานวัดวาอารามที่มีความสวยงามหลายแห่ง

- วัดพระนั่งดิน
อยู่ในตำบลเวียง ไปตามทางหลวง 1148 ห่างจากตัวอำเภอ 4 กิโลเมตร เป็นวัดที่องค์พระประธานของวัดไม่มีฐานชุกชีรองรับเหมือนกับพระประธานองค์อื่นๆ เคยมีราษฎรสร้างฐานชุกชีเพื่ออัญเชิญพระประธานขึ้นประดิษฐาน แต่ปรากฏว่าพยายามยกเท่าไรก็ยกไม่ขึ้น จึงเรียกสืบต่อกันมาว่า พระนั่งดิน

- อนุสรณ์ผู้เสียสละ พ.ต.ท. 2324
อยู่ห่างจากตัวอำเภอเชียงคำ ตามทางหลวง 1021 ไปประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นอนุสรณ์สถานที่สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงวีรกรรมของพลเรือน ตำรวจ ทหารที่ได้พลีชีพในการสู้รบเพื่อรักษาอธิปไตยในพื้นที่ชายแดนจังหวัดพะเยาและเชียงราย นอกจากนั้นยังจัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงภาพถ่ายรูปจำลองและอาวุธยุโธปกรณ์ที่เคยใช้ต่อสู้ในการรบครั้งนั้นไว้ด้วย เปิดให้เข้าชมในวันเวลาราชการ

- วัดพระธาตุสบแวน
อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอ 4 กิโลเมตร มีองค์พระธาตุเจดีย์ที่มีอายุเก่าแก่มาก คาดว่าอายุราว 800 ปี ภายในบรรจุเส้นพระเกศา และกระดูกส่วนคางของพระพุทธเจ้า องค์พระธาตุได้รับการบูรณะมาแล้วหลายครั้ง แต่ยังคงรักษาสภาพศิลปะแบบล้านนาไทยไว้ได้

- วัดนันตาราม
อยู่ที่บ้านดอนไชย เขตสุขาภิบาลเชียงคำ เป็นวัดที่มีศิลปะแบบพม่า ตัววิหารสร้างด้วยไม้สักทั้งหลังตกแต่งลวดลายฉลุไม้อย่างสวยงามตามส่วนประกอบต่างๆ เช่น หน้าต่าง หน้าบันระเบียง เป็นต้น

- ศูนย์วัฒนธรรมไทยลื้อ
ตั้งอยู่ที่วัดหย่วนในอำเภอเชียงคำ จัดตั้งเป็นศูนย์แสดงผลงานทางศิลปวัฒนธรรม และฝึกอาชีพของชาวไทยลื้อ โดยเฉพาะผ้าของชาวไทยลื้อที่มีลวดลายและสีสันสดใส ในอดีตชาวไทยลื้อมีถิ่นอาศัยอยู่ในเขตสิบสองปันนามณฑลยูนาน ประเทศสาธารณะรัฐประชาชนจีน มีพื้นที่ประมาณ 25,000 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขามีที่ราบแคบๆอยู่ตามหุบเขา และลุ่มแม่น้ำ อันเป็นบริเวณที่อยู่อาศัย และที่ทำมาหากินของชาวไทลื้อ โดยเฉพาะการทำนาที่ลุ่มเช่นเดียวกับคนไทยทั่วไป มีแม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่านแคว้นสิบสองปันนา ซึ่งชาวไทยลื้อเรียกว่า "แม่น้ำของ" ในปี พ.ศ. 2399 เจ้าสุริยพงษ์ ผริตเดช ผู้ครองนครน่านได้อพยพมามาอยู่ที่บ้านท่าฟ้าเหนือและท่าฟ้าใต้อำเภอเชียงม่วน หลังจากนั้นมีบางส่วนได้อพยพมาอยู่ที่อำเภอเชียงคำ ชาวไทลื้อมีอุปนิสัยรักสงบ ขยันอดทน นอกจากนั้นยังเป็นผู้ที่อนุรักษ์วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมไว้อย่างดี เช่น วัฒนธรรมการแต่งกาย เป็นต้น


- กิ่งอำเภอภูซาง

- อุทยานแห่งชาติภูซาง
ตั้งอยู่ในท้องที่กิ่งอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา และอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย มีพื้นที่ทั้งหมด 178,123 ไร่ พื้นที่ดังกล่าวเป็นป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณ พันธุ์ไม้ที่มีค่า ได้แก่ ไม้ยาง ไม้ตะเคียน จำปีป่า ยมหอม ประดู่ สัก และรัง เป็นต้น อุทยานแห่งชาติภูซางยังเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำลำธารที่สำคัญของจังหวัดพะเยา

- บ้านฮวก
อยู่ห่างจากอุทยานแห่งชาติน้ำตกภูซางประมาณ 5 กิโลเมตร เป็นด่านชายแดนไทย - ลาว ทุกๆวันที่ 10, 20 และ 30 ของเดือน จะจัดเป็นตลาดนัดเพื่อให้ประชาชนทั้งไทยและลาวได้ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากัน ส่วนมากเป็นของใช้ในชีวิตประจำวัน พืชผลทางการเกษตรและหัตถกรรม เป็นต้น และเส้นทางนี้ยังสามารถเดินทางต่อไปถึงภูชี้ฟ้าและผาตั้งจังหวัดเชียงรายได้ ระยะทางประมาณ 38 กิโลเมตร สภาพถนนเป็นลูกรัง


- พะเยา พะเยา พะเยา พะเยา พะเยา พะเยา พะเยา พะเยา พะเยา พะเยา พะเยา พะเยา พะเยา


:: อุทยานแห่งชาติภูซาง ::

:: ข้อมูลทั่วไป ::
อุทยานแห่งชาติภูซาง มีพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่ดินบริเวณป่าน้ำหงาวฝั่งซ้าย ในท้องที่อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ป่าน้ำเปี๋อยและป่าน้ำหย่วน และป่าน้ำลาว ในท้องที่อำเภอเชียงคำ กิ่งอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา มีสภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขา มีความอุดมสมบูรณ์ประกอบด้วย ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น พันธุ์ไม้ ของป่า สัตว์นานาชนิด ตลอดจนทิวทัศน์ป่า และภูเขาที่สวยงาม มีเนื้อที่ประมาณ 178,049.62 ไร่ หรือ 284.88 ตารางกิโลเมตร

- ความเป็นมา: เดิมจัดตั้งเป็นวนอุทยานแห่งชาติภูซาง อยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำเปื๋อย ป่าน้ำหย่วน และป่าน้ำลาว (กฎกระทรวงฉบับที่ 966 พ.ศ. 2541 ) ในท้องที่ตำบลภูซาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ซึ่งกรมป่าไม้จัดตั้งเป็นวนอุทยาน เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2533 เนื่องจากสำนักงานป่าไม้เขตเชียงราย สำรวจเสนอ และกองบัญชาการหน่วยรบเฉพาะกิจ กองพลที่ 4 สนับสนุนให้จัดตั้งเป็นวนอุทยาน ตามหนังสือที่ กส 0809 (ชร) /1975 ลงวันที่ 5 เมษายน 2522 และ กห 0334 (ฉก.พล.) /1819 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2531 กองทัพภาคที่ 3 และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 มีหนังสือที่ นร 5106/2616 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2532 ให้กรมป่าไม้จัดตั้งพื้นที่วนอุทยานน้ำตกภูซาง มีเนื้อที่ประมาณ 73,000 ไร่

- ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2534 เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2534 ทำการสำรวจ และเตรียมจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ตามคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 1316/2534 ลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2534 สั่งการให้ นายจุมพล วนธารกุล นักวิชาการป่าไม้ 5 ไปดำเนินการสำรวจจัดตั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ผลการ สำรวจพบว่า พื้นที่ที่มีความเหมาะสมจะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ อยู่ในป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำเปื๋อย ป่าน้ำหย่วน และป่าน้ำลาว ท้องที่ตำบลภูซาง ตำบลทุ่งกล้วย ตำบลร่มเย็น ตำบลเวียง ตำบลแม่ลาว ตำบลฝายกวาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ป่าน้ำหงาวฝั่งซ้าย ในท้องที่ตำบลตับเต่า ตำบลหงาว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย มีเนื้อที่ประมาณ 186,512 ไร่ ภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูง 440-1,548 เมตร ติดเขตแดนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร สภาพป่าเป็นป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง ป่าสนเขา ป่าเบญจพรรณ และป่าดิบเขา มีสัตว์ป่าหลายชนิด

- เจ้าหน้าที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้แจ้งว่าตามมติที่ประชุมรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2536 ให้ ททท. ประสานงานกับกรมป่าไม้ เพื่อพิจารณาพื้นที่ที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติใหม่ กรมป่าไม้จึงมีหนังสือ กษ 0721.03/7244 ลงวันที่ 14 มีนาคม 2537 เสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นอุทยานแห่งชาติภูซาง สำนักงานเลขาคณะรัฐมนตรีได้มีหนังสือที่ นร 0204/11694 ลงวันที่ 15 กันยายน 2543 แจ้งว่า คณะรัฐมนตรีได้มติเห็นชอบร่างดังกล่าวเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2543 ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าน้ำหงาวฝั่งซ้าย ในท้องที่ตำบลตับเต่า ตำบลหงาว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย และป่าน้ำเปื๋อย ป่าน้ำ หย่วนและป่าน้ำลาว ในท้องที่ตำบลภูซาง ตำบลทุ่งกล้วย กิ่งอำเภอภูซาง อำเภอเชียงคำ และตำบลร่มเย็น ตำบลแม่ลาว อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2543 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 117 ตอนที่ 98 ก วันที่ 2 พฤศจิกายน 2543 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 98 ของประเทศไทย


:: ลักษณะภูมิประเทศ ::
เป็นเทือกเขาติดชายแดนกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวยาวประมาณ 30 กิโลเมตร มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 440 - 1,548 เมตร โดยมียอดดอยผาหม่นเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของแม่น้ำลาว น้ำหงาว น้ำเปื๋อย น้ำบง น้ำญวน ซึ่งเป็นแหล่งน้ำหล่อเลี้ยงพื้นที่เกษตรกรรมของอำเภอเชียงคำ


:: ลักษณะภูมิอากาศ ::
อุทยานแห่งชาติภูซาง จะมีฤดูกาล 3 ฤดู คือ ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน


:: พรรณไม้และสัตว์ป่า ::
สภาพป่าโดยทั่วไปประกอบด้วย ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าสนเขา ป่าดิบเขา พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ยางนา ยางขาว ยางแดง ตะเคียน ตุ้มเต๋น มะไฟ ยมหอม จำปีป่า จำปาป่า กระบาก ตะแบก มะหาด ประดู่ แดง สัก เสลา ส้าน มะค่าโมง ตะคร้อ สมอพิเภก กระบก ก่อ มะม่วงป่า รวมทั้งไผ่ กล้วยป่า หวาย และเฟิน เป็นต้น สัตว์ป่ามีเลียงผา กวางป่า เก้ง ลิง หมูป่า กระจง ค่าง ชะนี กระต่าย แมวป่า เม่น อีเห็น ชะมด กระรอก หมาไน เต่าปูลู และนกชนิดต่างๆ


:: ที่ตั้งและการเดินทาง ::
อุทยานแห่งชาติภูซาง
ต.ภูซาง อ. กิ่งอำเภอภูซาง จ. พะเยา 56110
โทรศัพท์ : 0 5440 1099

- รถยนต์
จากตัวเมืองพะเยา ไปตามถนนสายพะเยา-อำเภอจุน-อำเภอเชียงคำ-น้ำตกภูซาง รวมระยะทาง 104 กิโลเมตร

จากตัวเมืองเชียงราย ไปตามถนนสายเชียงราย-อำเภอเทิง-อำเภอเชียงคำ-น้ำตกภูซาง รวมระยะทาง 124 กม.


:: แหล่งท่องเที่ยว ::
อุทยานแห่งชาติภูซาง มีพื้นที่ครอบคลุมในท้องที่อำเภอเชียงคำ กิ่งอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา มีสภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขา มีความอุดมสมบูรณ์ประกอบด้วย ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น พันธุ์ไม้ ของป่า สัตว์นานาชนิด ตลอดจนทิวทัศน์ป่า และภูเขาที่สวยงาม มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่

:: ด้านธรรมชาติที่สวยงาม ::
- ถ้ำผาแดง
เป็นถ้ำขนาดใหญ่ มีความลึกประมาณ 450 เมตร ภายในมีหินงอกหินย้อยสวยงามแปลกตา ถ้ำผาแดงอยู่บนภูเขาหินปูนซึ่งยังมีถ้ำอีกหลายแห่ง การเดินทางจากอำเภอเชียงคำใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1210 จนถึงพระธาตุดอยคำ แล้วเลี้ยวขวาเข้าไปเป็นระยะทาง 14 กิโลเมตร จะถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ภซ.1 (ผาแดง)




- ดอยผาดำ
ดอยผาดำ เป็นภูเขาหินปูน มีหน้าผาขนาดใหญ่สวยงาม




- ถ้ำน้ำดั้น
ตั้งอยู่ในหุบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,200 เมตร เป็นถ้ำหินปูนขนาดกลาง ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยที่สวยงามมาก ลักษณะเด่นของถ้ำน้ำดั้นคือ บริเวณปากถ้ำจะมีลำธารขนาดใหญ่ (ลำห้วยน้ำดั้น) ไหลหายลงไปในถ้ำ อดีตเคยเป็นที่หลบซ่อนของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์




- บ่อน้ำซับอุ่น
เป็นบ่อน้ำซับแหล่งต้นน้ำของน้ำของน้ำตกภูซาง อุณหภูมิประมาณ 35oC ขณะที่อุณหภูมิอากาศ 10 oC เป็นบริเวณที่ธารน้ำอุ่นผุดขึ้นจากใต้พื้นดิน และมีสภาพเป็นพรุน้ำจืดที่เต็มไปด้วยพรรณไม้แปลกตาซึ่งหาชมได้ยาก




- น้ำตกภูซาง
เป็นน้ำตกที่มีน้ำอุ่นเพียงแห่งเดียวที่พบในประเทศไทย อุณหภูมิสูงถึง 35 -36oC น้ำตกตั้งอยู่บนเทือกเขาดอยผาหม่น เกิดจากสายน้ำอุ่นและปราศจากกลิ่นกำมะถันที่ไหลมาจากผาหินปูนสูง 25 เมตร ใต้น้ำตกเป็นแอ่งน้ำสีเขียวมรกตที่ใสราวกับกระจก จึงเหมาะสำหรับการลงแช่น้ำให้อบอุ่น สบายตัว เหนือน้ำตกภูซางมีเส้นทางชมป่าต้นน้ำซึ่งเป็นป่าดงดิบ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 1 กิโลเมตร




- น้ำตกห้วยโป่งผา
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 5 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่มีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาดอยผาหม่น และเป็นต้นกำเนิดของลำน้ำเปื๋อย มีน้ำไหลตลอดปี น้ำตกมีทั้งหมด 19 ชั้น และมีลำห้วยแยกออกมาเป็นน้ำตกอีก 2 สาย แต่ละชั้นของน้ำตกมีความสวยงามแตกต่างกันออกไป ระยะทางจากชั้นแรกถึงชั้นบนสุดประมาณ 1,500 เมตร ใช้เวลาในการเดินชมน้ำตกตลอดสายประมาณ 3 ชั่วโมง อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 700 -900 เมตร น้ำตกห้วยโป่งผายังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของเต่าปูลู ซึ่งเป็นสัตว์ที่หายากและใกล้สูญพันธุ์อีกด้วย




- ถ้ำน้ำลอด
อยู่ห่างจากถ้ำผาแดงประมาณ 10 เมตร เป็นถ้ำขนาดเล็กที่มีธารน้ำไหล ความลึกของถ้ำประมาณ 250 เมตรและมีระดับน้ำลึกประมาณ 0.5-1 เมตร



:: สิ่งอำนวยความสะดวก ::
ห้องสุขาชาย มีห้องสุขาชายไว้บริการ


ห้องสุขาหญิง มีห้องสุขาหญิงไว้บริการ


ที่พักแรม/บ้านพัก อุทยานแห่งชาติได้จัดเตรียมบ้านพักไว้ให้บริการในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ


สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียด และสำรองที่พักเต็นท์ได้กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง


- ที่จอดรถ มีลานจอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


- บริการอาหาร อุทยานฯ มีร้านอาหารไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยว


- ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เพื่อศึกษาหาข้อมูลเบื้องต้นก่อนไปท่องเที่ยว ในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ



- จังหวัดพะเยา :: ของฝาก ของที่ระลึก

- ผ้าทอไทยลื้อ
ศิลปะและลวดลายบนพื้นผ้าที่มีความสวยงามเป็นเอกลัษณ์ของตัวเองของชาวไทยลื้อ แวะไปชมวิธีการทอ และซื้อหาได้บริเวณวัดพระธาตุสบแวน เวลาว่างจากภาระกิจประจำ แม่บ้านจะมารวมตัวกันทอผ้าที่นี่ นอกจากนั้นยังหาซื้อได้ที่ตลาดนัดที่บ้านฮวกซึ่งจะจัดทุกวันที่ 10 20 และ 30 ของทุกเดือน


:: สารบัญเว็บไซท์ ::

:: ข้อมูล สถานที่ท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว จังหวัดพะเยา ::

สารบัญเว็บไซท์ > ท่องเที่ยว > ข้อมูล และสถานที่ท่องเที่ยว > ภาคเหนือ > พะเยา

จำนวนเว็บไซท์ในหมวดนี้ : 9 [ แนะนำเว็บไซท์ได้ที่นี่ ]


จังหวัดพะเยา
แนะนำข้อมูลทั่วไป สถานที่ท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว จองโรงแรม ที่พัก รีสอร์ท โรงแรม จังหวัดพะเยา แผนที่ การเดินทาง ร้านอาหาร เทศกาล งานประเพณี ของฝาก ประวัติความเป็นมา คำขวัญประจำจังหวัด
http://www.relaxzy.com/province/phayao/

จังหวัดพะเยา
ข้อมูลจังหวัดพะเยา แผนที่ท่องเที่ยว ข้อมูลท่องเที่ยวจังหวัดพะเยา เทศกาลประเพณีประจำจังหวัด ประวัต...
http://www.phayao.go.th

จังหวัดพะเยา
รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับจังหวัดพะเยา คำขวัญ ตราประจำจังหวัด ประวัติ อาณาเขต แผนที่ ข้อมูลแหล่งท่องเท...
http://travel.sanook.com/north/prayow/

ประชาสัมพันธ์จังหวัดพะเยา
สำนักประชาสัมพันธ์จังหวัดพะเยา ให้ข้อมูลข่าวสารและงานประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับจังหวัดพะเยา สถานที่ท่...
http://www.prphayao.prdnorth.in.th

จังหวัดพะเยา
เกี่ยวกับความเป็นมาของจังหวัดพะเยา สภาพทั่วไป การปกครอง ประชากร อาชีพและการจ้างงาน ทรัพยากรธรร...
http://www.thai.to/phayao

จังหวัดพะเยา
รวบรวมข้อมูลในด้านต่าง ๆ ของจังหวัดพะเยา ทั้งวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์จังหวัด ทำเนียบส่วนราชการ แผน...
http://www.phayaoprovince.net

แอ่วพะเยา
แนะนำข้อมูลการท่องเที่ยวในจังหวัดพะเยา ได้แก่ ปฏิทินการท่องเที่ยว กิจกรรมต่างๆ บริการข้อมูลทั่วไป...
http://www.l-phayao.com

วิวพะเยา
แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดพะเยา ที่พัก โรงแรมและรีสอร์ท ร้านอาหาร แหล่งชอปปิ้ง สินค้าโอทอป
http://www.viewphayao.com

เวลคัมทูพะเยา
รวมข้อมูลการท่องเที่ยวจังหวัดพะเยา เช่น กิจกรรม สถานที่พัก ร้านอาหาร สินค้าโอทอป ข่าวประชาสัมพันธ์
http://www.welcometophayao.com



:: อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง ::

:: ข้อมูลทั่วไป ::
อุทยานแห่งชาติดอยภูนางมีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอดอกคำใต้ อำเภอปง และ อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา มีสภาพป่าแตกต่างกันไป ได้แก่ ป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง อีกทั้งยังมีจุดเด่น ทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตกนาปัง น้ำตกธารสวรรค์ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่อุดมสมบูรณ์ อุทยานแห่งชาติดอยภูนางมีเนื้อที่ประมาณ 538,125 ไร่ หรือ 861 ตารางกิโลเมตร

- ความเป็นมา: มติที่ประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติครั้งที่ 2/2537 วันที่ 20 เมษายน 2537 เห็นชอบให้จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติดอยภูนางได้ เพื่อดำเนินการเสนอร่างพระราชกฤษฎีกา กำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติต่อไป ตามคำสั่งกรมป่าไม้ ที่ 243/2534 ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2534 ให้ นายวราวุธ อมรทัต นักวิชาการป่าไม้ 5 ไปดำเนินการสำรวจเบื้องต้นที่ป่าไม้สงวนแห่งชาติ ในท้องที่อำเภอดอกคำใต้ อำเภอปง จังหวัดพะเยา และบริเวณป่าใกล้เคียงเพิ่มเติม เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ผลการสำรวจตามหนังสือที่ กษ.0713/พิเศษ ลงวันที่ 13 มีนาคม 2534 ปรากฏว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นป่าธรรมชาติที่มีความสวยงาม และมีลักษณะสมบูรณ์ เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำหลายสาย เพื่อสะดวกในการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ จึงขอกำหนดชื่อ อุทยานแห่งชาติว่า “อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง” และใช้รหัสย่อว่า ที่ กษ.0713(ภน) ใช้ในราชการติดต่อราชการต่างๆ

- กองอุทยานแห่งชาติได้พิจารณาแล้วว่า ดอยภูนางเป็นเทือกเขาที่สูงที่สุดของพื้นที่ และเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป ประกอบกับมีความสำคัญในด้านเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร จึงเห็นชอบด้วยที่จะให้ใช้ชื่ออุทยานแห่งชาติว่า “อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง” และใช้รหัสย่อ กษ.0713(ภน) เป็นต้นมา เนื่องจากบริเวณสำรวจบางจุด ไปทับที่ทำกินของราษฎร จึงทำให้เกิดการขัดแย้งในพื้นที่ขึ้น ตามนโยบายของรัฐบาล ในการประกาศจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ ไม่ให้เกิดปัญหาขัดแย้งกับราษฎรในพื้นที่ที่ประกอบกัน ขั้นตอนของการประกาศจัดตั้งอุทยานแห่งชาตินั้นต้องไม่มีปัญหากับราษฎร และได้รับความเห็นชอบจาก องค์การบริหารส่วนตำบล หรือกำนันในพื้นที่ อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง พิจารณาแล้วเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหา จัดตั้งอุทยานแห่งชาติ จึงขอปรับพื้นที่ในส่วนที่จะประกาศตามความเป็นจริง โดยกันในส่วนที่ชาวบ้านทำกินออก และผนวกพื้นที่ที่สมบูรณ์เข้าเป็นอุทยานแห่งชาติตามนโยบายของรัฐบาล จากที่สำรวจครั้งแรกมีเนื้อที่ประมาณ 36,500 ไร่ และในการสำรวจเพิ่มเติมมีเนื้อที่ประมาณ 500,000ไร่ ขณะนี้อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง กำลังรวบรวมข้อมูล ในการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติต่อไป

:: ลักษณะภูมิประเทศ ::
สภาพทั่วไปเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนสูง ทอดตัวในแนวเหนือใต้ ส่วนป่าแม่ยมและป่าน้ำปี้ จะเป็นเทือกเขาสูงทอดตัวกันคล้ายรูปเกือกม้า โดยมีพื้นที่ราบลุ่มของอำเภอเชียงม่วน อยู่ตอนกลางมีจุดสูงสุดของพื้นที่ทั้งสอง คือดอยภูนาง สูง 1,202 เมตร ทำให้เกิดเป็นต้นน้ำที่สำคัญ ซึ่งจะไหลลงแม่น้ำแม่ยมทั้งหมด สูงจากระดับน้ำทะเล 300 เมตร


:: ลักษณะภูมิอากาศ ::
อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 31 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 26 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยในรอบ 10 ปี ของทั้งสามอำเภอเท่ากับ 1,093-1,778 มิลลิเมตร


:: พรรณไม้และสัตว์ป่า ::
สภาพป่าทั่วไปเป็นป่าดิบชื้น ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ที่สำคัญและมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ คือ ยาง ตะเคียน ประดู่ มะค่าโมง ตะแบก มะม่วงป่า มะยมป่า จำปาป่า เลียงมัน ตะคร้อ ตีนนก รวมถึงไม้จำพวกก่อและไม้สนเขาขึ้นปะปนอยู่

สำหรับสัตว์ป่าที่พบโดยทั่วไปได้แก่ เสือปลา หมีควาย หมูป่า เก้ง อีเห็น อ้น กระแต กระรอก นกชนิดต่างๆ รวมถึงสัตว์เลื้อยคลาน


:: ที่ตั้งและการเดินทาง ::
อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง
หมู่ 6 ต.บ้านมาง อ. เชียงม่วน จ. พะเยา 56160
โทรศัพท์ : 0 5448 9202

- รถยนต์
ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1091 สายอำเภอจุน-จังหวัดน่าน ซึ่งอยู่ด้านทิศเหนือ ติดต่อมาทางด้านทิศตะวันออกของป่าแม่ยมฝั่งขวา และตัดผ่านป่าปี้ไปยังอำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน เป็นเส้นทางที่สะดวก สามารถใช้ได้ทุกฤดูกาล

- ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1120 สายอำเภอเชียงม่วน-อำเภอสอง ซึ่งอยู่ต่อจากทางหลวงจังหวัด หมายเลข 1091 ไปทางตอนใต้ ตัดผ่านป่าปี้ ไปยังอำเภอสอง จังหวัดแพร่ เป็นอีกเส้นทางหนึ่งที่ใช้ได้ตลอดฤดูกาล

- ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1251 สายอำเภอดอกคำใต้-อำเภอเชียงม่วน ตัดผ่านป่าแม่ยมฝั่งขวา จากเขตตำบลหนองหล่ม อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ไปเชื่อมกับทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1091 สายอำเภอจุน จังหวัดน่าน ที่บริเวณบ้านสระ ตำบลสระ อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา มีระยะทางไปเขตป่าแม่ยม ขวางประมาณ 3.5 กิโลเมตร และเข้าไปบ้านนาบัว หมู่ 4 ตำบลสระ อำเภอเชียงม่วน ประมาณ 10 กิโลเมตร (บ้านนาบัวและบ้านห้วยก้างปลาอยู่ในเขตการปกครองหน่วยเดียวกันแต่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างกันไป)


:: แหล่งท่องเที่ยว :: ด้านธรรมชาติที่สวยงาม ::
ฝั่งต้า ตั้งอยู่ในเขตติดต่อกับบ้านไชยสถาน หมู่ที่ 4 ตำบลเชียงม่วน จังหวัดพะเยา มีสภาพคล้าย แพะเมืองผี คือ เป็นลักษณะของการกัดเซาะ พังทะลายของดินที่ภูเขาเตี้ยๆ แห่งหนึ่ง ทำให้เกิดรูปร่างที่คงเหลืออยู่ ภายหลังจากการพังทลายอย่างรุนแรงผ่านไปแล้ว มีรูปร่างคล้ายเสาแหลมๆ เรียงรายติดต่อกันเป็นแนวยาวประมาณ 200 เมตร สูงประมาณ 25 เมตร พื้นที่อยู่บริเวณรอยต่อของป่าน้ำปี้และป่าแม่ยมฝั่งซ้าย-น้ำควรฝั่งซ้าย สภาพพื้นที่เป็นภูเขามีทางลูกรังเชื่อมต่อกับบ้านไชยสถานได้ พื้นที่รอบๆ นอกจากจะมีเขตติดต่อ กับที่ทำกินของราษฎรบ้านไชยสถานบนยอดเขาของฝั่งต้า ยังเป็นจุดชมทิวทัศน์ และบริเวณพักผ่อนได้ เนื่องจากมีพื้นที่ค่อนข้างราบ มีเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ และสามารถมองเห็นความสวยงามได้รอบด้าน


- น้ำตกธารสวรรค์ น้ำตกธารสวรรค์หรือน้ำตกบ่อเบี้ย ตั้งอยู่ในเขตติดต่อกับบ้านบ่อเบี้ยหมู่ที่ 6 ตำบลบ้านยาง อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา อยู่ในเขตป่าแม่ยมฝั่งขวามีลักษณะเป็นน้ำตกหิน 4 ชั้น ชั้นที่ 1 เป็นที่มีความสูงมากที่สุด ประมาณ 8 เมตร ชั้นที่ 2 สูงประมาณ 2.50 เมตร ชั้นที่ 3 และ 4 สูงประมาณ 2 เมตร มีต้นกำเนิดจากห้วยแม่ปิง ซึ่งประกอบด้วยลำห้วยหลายสายไหลมารวมกัน น้ำตกชั้นที่สวยที่สุดคือ ชั้นที่ 1 ซึ่งตกลงมาจากแผ่นหินปูนที่กว้างประมาณ 150 เมตร สภาพโดยรอบ ๆ จะเป็นป่าเบญจพรรณผสมป่าดิบชื้น และพื้นที่ทำเลของราษฎรบ่อเบี้ย


- น้ำตกนาบัว ตั้งอยู่ในเขตติดต่อกับบ้านบัว หมู่ที่ 4 ตำบลสระ อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ซึ่งอยู่ในเขตป่าแม่ยมฝั่งขวาเป็นน้ำตกหินปูนสามชั้น ชั้นที่ 1 มีความสูงประมาณ 10 เมตร กว้างประมาณ 6 เมตร ชั้นที่ 2 อยู่ห่างจากชั้นที่ 1 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 5 กิโลเมตร สูงประมาณ 6 เมตร กว้างประมาณ 15 เมตร ชั้นที่ 3 อยู่ห่างจากชั้นที่ 2 ไปทางทิศเหนือประมาณ 500 เมตร กว้างประมาณ 20 เมตร มีต้นกำเนิดมาจากห้วยแม่จั๊งซึ่งมีน้ำไหลตลอด


- เส้นทางศึกษาธรรมชาติ เส้นทางเดินเท้านี้จะพาไปสู่ธรรมชาติอันสวยงามของอุทยานแห่งชาติดอยภูนาง ซึ่งทางอุทยานแห่งชาติได้จัดไว้ในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ น้ำตกห้วยต้นผึ้ง และห้วยยั๊วะ


- น้ำตกห้วยต้นผึ้ง เป็นน้ำตกขนาดเล็กมี 3 ชั้น ชั้นที่ 3 สูงประมาณ 40 เมตร และมีน้ำไหลตลอดปี การเดินทางใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1251 สายดอกคำใต้-เชียงม่วน เมื่อผ่านสามแยกบ้านบ่อเบี้ยไปประมาณ 1 กิโลเมตร จะพบกับทางเข้าน้ำตกซึ่งเป็นทางเดินเท้าประมาณ 1 กิโลเมตร ตลอดเส้นทางจะพบกับธารน้ำตกชั้นเล็กชั้นน้อย


- ถ้ำใหญ่ผาตั้ง เป็นถ้ำลึกประมาณ 800 เมตร มีหินงอกหินย้อยงดงามอยู่ทั่วไป บริเวณผาตั้งยังมีถ้ำขนาดเล็กอีกหลายแห่ง มีหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ภน.1 (ถ้ำผาตั้ง) คอยดูแลและอำนวยความสะดวก ถ้ำใหญ่ผาตั้งอยู่ห่างจากอำเภอปงไปประมาณ 23 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากบ้านผาตั้งไปอีก 1 กิโลเมตร



:: สิ่งอำนวยความสะดวก ::
สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ อุทยานแห่งชาติ ยังไม่ที่พัก-บริการไว้บริการนักท่องเที่ยว หากสนใจที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติ ท่านสามารถนำเต็นท์และอาหารไปเอง หรือติดต่อขอใช้บริการเต็นท์ของอุทยานแห่งชาติ รายละเอียดเกี่ยวกับที่พักเต็นท์ ขอให้ติดต่อสอบถามกับอุทยานแห่งชาติโดยตรง

0 ความคิดเห็น: