วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การท่องเที่ยวจังหวัดพิษณุโลก

:: จังหวัดพิษณุโลก ::

" พระพุทธชินราชงามเลิศ ถิ่นกำเนิดพระนเรศวร สองฝั่งน่านล้วนเรือนแพ
หวานฉ่ำแท้กล้วยตาก ถ้ำและน้ำตกหลากตระการตา "


จังหวัดพิษณุโลก :: ข้อมูลทั่วไป

พิษณุโลก เป็นจังหวัดใหญ่ อยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 377 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 10,815.854 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศมีภูเขาและที่ราบสลับป่าไม้ในเขตตะวันออก นอกนั้นเป็นที่ราบลุ่มอยู่โดยทั่วไป และมีแม่น้ำสำคัญไหลผ่าน 2 สาย คือ แม่น้ำน่าน และแม่น้ำยม

ประวัติและความเป็นมา

พิษณุโลก เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ สร้างเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 สมัยขอมมีอำนาจปกครองแถบนี้ แต่เดิมมีชื่อเรียกว่า “เมืองสองแคว” เนื่องจากเมืองนี้ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำน่าน และแม่น้ำแควน้อย (ที่ตั้งของวัดจุฬามณีในปัจจุบัน) ในสมัยสุโขทัย ครั้งสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไท ได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองสองแควมาตั้งอยู่ ณ ที่ปัจจุบัน เมื่อประมาณปี พ.ศ. 1900 และยังเรียกว่าเมืองสองแควเรื่อยมา ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นพิษณุโลกในสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชกาลของสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ เมื่อครั้งที่เสด็จมาประทับเมืองสองแควตั้งแต่ พ.ศ. 2006 จนสิ้นรัชกาลในปี พ.ศ. 2031

เมืองพิษณุโลก มีฐานะเป็นราชธานีแทนกรุงศรีอยุธยานานถึง 25 ปี ในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ และเป็นเมืองลูกหลวง ซึ่งกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาส่งมหาอุปราช หรือพระราชโอรสมาครองเมือง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ก็ทรงมีราชสมภพ ณ เมืองนี้ และได้ทรงครองเมืองนี้เช่นกัน

ในสมัยรัตนโกสินทร์ พิษณุโลกยังคงเป็นเมืองเอกขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ เรื่อยมา ครั้นถึงปี พ.ศ. 2437 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะเมืองพิษณุโลกขึ้นเป็นมณฑลเรียกว่า มณฑลพิษณุโลก ต่อมาเมื่อยกเลิกการปกครองแบบมณฑลแล้ว พิษณุโลกจึงมีฐานะเป็นจังหวัดเรื่อยมาจนปัจจุบัน

อาณาเขตและการปกครอง

ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดอุตรดิตถ์และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดพิจิตร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดเลย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดสุโขทัยและจังหวัดกำแพงเพชร

พิษณุโลก แบ่งการปกครองออกเป็น 9 อำเภอคือ อำเภอเมือง อำเภอวังทอง อำเภอพรหมพิราม อำเภอบางระกำ อำเภอบางกระทุ่ม อำเภอนครไทย อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอชาติตระการ อำเภอเนินมะปราง

ระยะทางจากอำเภอเมืองไปอำเภอต่างๆ

อำเภอนครไทย 97 กิโลเมตร
อำเภอชาติตระการ 136 กิโลเมตร
อำเภอบางระกำ 17 กิโลเมตร
อำเภอบางกระทุ่ม 35 กิโลเมตร
อำเภอพรหมพิราม 40 กิโลเมตร
อำเภอวัดโบสถ์ 30 กิโลเมตร
อำเภอวังทอง 17 กิโลเมตร
อำเภอเนินมะปราง 75 กิโลเมตร

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ (รหัสทางไกล 055)

สำนักงานจังหวัดพิษณุโลก
259-001

ททท.สำนักงานภาคเหนือเขต 3 จ.พิษณุโลก
252-742-3

ตำรวจท่องเที่ยว
1155

ตำรวจทางหลวง พิษณุโลก
259-503

ตู้ยามสุโขทัย
612-993

ตู้ยามอุตรดิตถ์
412-193

สถานีตำรวจภูธร อ.เมือง
258-777 , 240-199

สถานีรถไฟ
258-005

รพ.พุทธชินราช
258-031

รพ.นครไทย
389-015

รพ.บางระกำ
371-168

รพ.บางกระทุ่ม
391-016-2

รพ.พรหมพิราม
369-034

รพ.วัดโบสถ์
361-079

รพ.วังทอง
311-017

รพ.เนินมะปราง
243-099

รพ.ชาติตระการ
381-020-1

รพ.อินเตอร์เวชการ
217-800-1



จังหวัดพิษณุโลก :: กิจกรรมท่องเที่ยวน่าสนใจ

ล่องแก่งลำน้ำโจน จ.พิษณุโลก

ลำน้ำโจนอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติลำน้ำแควน้อย เป็นลำน้ำที่ไหลมาจากแก่งเจ็ดแคว มีต้นกำเนิดจากอำเภอชาติตระการ ทางนครชุม ไหลลงสู่ลำน้ำ แควน้อย เป็นลำน้ำที่มีความกว้าง และลึกพอสมควร ฤดูที่มีน้ำมากน้ำจะไหลเชี่ยวแรง ลำน้ำแห่งนี้จะมีน้ำตลอดปี

การล่องแก่ง สามารถเลือกเวลาในการล่องแก่งได้ตั้งแต่เวลา 07.00-17.00 น. ใช้เวลาในการล่อง 1.20 ชั่วโมง ระยะทาง ประมาณ 8 กิโลเมตร ลำน้ำมีความกว้าง 15 เมตร ซึ่งขนาดใกล้เคียงกับลำน้ำเข็ก จุดขึ้นและลงเรืออยู่บริเวณน้ำตกโจน เส้นทางการล่องแก่งจะผ่านเกาะแก่งต่าง ๆ ประมาณ 10 แก่ง ซึ่งไม่อันตราย และไม่เสี่ยงภัยมาก เรือ 1 ลำ สามารถบรรทุกได้ 8-10 คน แก่งที่ท้าทาย 4 แก่ง ได้แก่ แก่งโจน แก่งขาม แก่งบ้า และแก่งขี่ม้า ตลอดสองข้างทางมีสภาพธรรมชาติที่สวยงาม ฤดูล่องแก่งอยู่ในช่วงเดือนมิถุนายน - ธันวาคม อัตราค่าบริการราคา 3,500 บาท ต่อลำ เป็นค่าบริการล่องแก่ง อาหาร ที่พัก ค่าพาหนะรับส่ง ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณสุรศักดิ์ สีเคลือบ 103 หมู่ 1 บ้านคันโช้ง ตำบลคันโช้ง อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก โทร. 0 5523 9008

การเดินทาง จาก จ.พิษณุโลก ใช้เส้นทางพิษณุโลก-หล่มสัก ประมาณ 6 กม. เลี้ยวซ้ายเข้าเส้นทางพิษณุโลก-อุตรดิตถ์ ตรงไปประมาณ 27 กม. จะถึง อ.วัดโบสถ์ เมื่อขึ้นสะพานข้ามแม่น้ำน่านแล้ว เลี้ยวขวาตามทางวัดโบสถ์-ชาติตระการ ตรงไปอีก 31 กม. เมื่อผ่านหลัก กม.ที่ 31 ประมาณ 100 เมตร จะพบทางแยกด้านขวามือ ไปหมู่บ้านคันโช้ง ให้เลี้ยวขวาตามทางไปอีก 10 กม.


ล่องแก่งลำน้ำเข็ก จังหวัดพิษณุโลก

ที่ตั้ง

ลำน้ำเข็กเป็นลำน้ำที่กำเนิดจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ในเขตอำเภอเขาค้อ ไหลผ่านอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง เนื่องจากผ่านเทือกเขาที่ลดหบลั่นเป็นลำดับ จึงมีน้ำตกและเกาะแก่งตามลำน้ำแห่งนี้อยู่มากมาย อาทิ น้ำตกศรีดิษฐ์ น้ำตกแก่งโสภา ที่เลื่องชื่อของพิษณุโลก น้ำตกปอย น้ำตกแก่งซองและน้ำตกสกุโณทยาน แล้วไหลผ่านอำเภอวังทอง ซึ่งนิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า แม่น้ำวังทอง ไปรวมกับแม่น้ำน่านที่อำเภอบางกระทุ่ม จุดลงล่องแก่งลำน้ำเข็กสามารถลงได้หลายจุด บริเวณบ้านทรัพย์ไพรวัลย์ อ.วังทอง จ.พิษณุโลก ช่วง กม.ที่ 52 - 53

ลักษณะน้ำ

เป็นลำน้ำที่มีขนาดปานกลางไม่ใหญ่นัก และมีเกาะแก่งสวยงาม คดเคี้ยวบ้าง ตรงบ้าง ฤดูฝน ปริมาณน้ำมาก มีระดับสูง ไหลแรงมีสีขุ่น ฤดูแล้ง น้ำน้อย สีใส สองฟากฝั่งสวยงามร่มรื่นด้วยป่าไม้ตามธรรมชาติ มีนกกระยาง และนกอื่น ๆ อาศัยอยู่มาก มีปลาหลายชนิด

จุดเด่นของลำน้ำและกิจกรรม

ลำน้ำเข็กเป็นลำน้ำที่สามารถนำเรือยางมาใช้ล่องแก่งได้อย่างสนุกสนานเร้าใจ ตลอดเส้นทาง คือ ระยะทางล่องแก่งประมาณ 7-8 กิโลเมตร ใช้ระยะเวลา 2 - 3 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับระดับกระแสน้ำที่ไหลเคียงคู่ขนานกับทางหลวงหมายเลข 12 (เส้นทางพิษณุโลก-หล่มสัก ที่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น The Green Route) เข้าถึงสะดวก สามารถเลือกจุดขึ้นลงได้ตามความเหมาะสม ระดับความท้าทายมีตั้งแต่ระดับความง่ายไปจนถึงยากระดับ 1 - 5 ซึ่งถือว่ามีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย ที่มีความพิเศษตรงที่เริ่มจากผ่านเกาะแก่งที่ง่ายไปถึงยากตามลำดับ หากไม่ต้องการล่องแก่งต่อก็สามารถพายเรือยางเข้าหาฝั่งและขึ้นรถได้ ระหว่างเส้นทางล่องแก่ง มีทัศนยภาพที่สวยงามของป่าไม้สองข้างทาง พบเกาะแก่งมากมาย กระจายอยู่ตามลำน้ำเป็นระยะไม่น่าเบื่อ มีระยะให้พัก และเตรียมตัวก่อนลงแก่งต่อไป ฝึกการทำงานเป็นหมู่คณะ การระดมความคิดและความสามัคคี รวมทั้งได้ออกกำลังกายกึ่งผจญภัยที่ท้าทาย สนุกสนานและได้รับคามรู้ เมื่อถึงจุดขึ้นจากเรือยาง สามารถพักผ่อนชิมกาแฟสดแก่งซอง กาแฟท้องถิ่นพันธุ์ดี รสชาติดี กลิ่นหอม กลมกล่อมไม่แพ้ที่อื่น หรือเลือกเข้าที่พักในบ้านพักรีสอร์ทสวย หรือเข้าห้องน้ำ อาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าเดินทางต่อไปได้

ข้อควรระวังในการล่องแก่งลำน้ำเข็ก

ลำน้ำเข็กค่อนข้างจะมีความรุนแรงเชี่ยวกรากในช่วงฤดูฝนที่มีฝนตกชุก แต่ในช่วงฤดูฝนนั้นนักท่องเที่ยวสามารถเล่นเรือยางล่องแก่งต่างๆ ได้อย่างสนุกสนานเร้าใจเป็นอย่างมาก

ฤดูการล่องแก่งที่เหมาะสม

ตั้งแต่เดือนมิถุนายน-ตุลาคม ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนในแต่ละป๊

ความปลอดภัย

ผู้ประกอบการล่องแก่งลำน้ำเข็กได้รับการอบรมหลักสูตร Best Practice และปฎิบัติตามข้อบังคับของชมรมผู้ประกอบการล่องแก่งลำน้ำเข็ก มีชุดปฏิบัติการช่วยเหลือและระวังภัยตามจุดต่าง ๆ เป็นระยะ มีการบรรยายสรุปสร้างความเข้าใจในการปฏิบัติร่วมกันระหว่างนักท่องเที่ยว ใช้อุปกรณ์มาตรฐาน อาทิ เรือยาง หมาวกนิรภัย เสื้อชูชีพ มีประกันภัย (ขึ้นอยุ่กับเงื่อนไข-ข้อตกลงของผู้ประกอบการ) ฯลฯ

ติดต่อล่องแก่ง

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านทรัพย์เจริญ โทร. 0 7210 3843
แค้มปิ้งไซด์เซ็นเตอร์ โทร. 0 2961 2204-5, 0 1341 4529
เนเจอร์แคมป์ (ลูกน้ำเข็กทัวร์) โทร. 0 1973 5882
ลุงหนวดทัวร์ โทร. 0 1036 6322, 0 4819 3979
น้ำเข็กทัวร์ โทร. 0 9858 3525, 0 1441 6728
ป๊อปทัวร์ โทร. 0 1680 3939, 0 1707 0440
มาร์คทัวร์ โทร. 0 1973 5188, 0 4815 1011
รองฤทธิ์ทัวร์ โทร. 0 1041 6055, 0 9859 4563
แอดเวนเจอร์แค้มป์ โทร. 0 9751 3133

สอบถามเพิ่มเติม

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือเขต 3 โทร. 0 5525 2742-3 โทรสาร 0 5523 1063 e-mail : tatphlok@tat.or.th


ขี่จักรยานจังหวัดพิษณุโลก

จังหวัดพิษณุโลกมีเส้นทางที่ตัดผ่านธรรมชาติที่สวยงามมากมาย บางแห่งเหมาะแก่การท่องเที่ยวโดยจักรยานเสือภูเขา โดยเฉพาะที่อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง มีเส้นทางผจญภัยที่สนุกสนาน ต้องปีนเขา ลงทางดิ่ง และผ่านสภาพป่าหลายหลาก นักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการของบริษัททัวร์ในพิษณุโลกที่มีบริการจักรยานเสือภูเขา และคนนำทางที่ชำนาญในพื้นที่


จังหวัดพิษณุโลก :: สถานที่ท่องเที่ยว อำเภอเมือง

วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร หรือ วัดใหญ่
เป็นวัดสำคัญที่สุดของจังหวัดพิษณุโลก ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออกริมถนนพุทธบูชา ตำบลในเมือง อำเภอเมือง เป็นวัดหลวงชั้นเอก “วรมหาวิหาร” ภายในวิหารของวัดเป็นที่ประดิษฐาน “พระพุทธชินราช” หรือที่ชาวเมืองพิษณุโลกเรียกว่า “หลวงพ่อใหญ่” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท) โปรดให้สร้างขึ้นพร้อมกับพระพุทธชินสีห์ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดสุทัศน์เทพวราราม และพระศรีศาสดา ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหารพุทธลักษณะของพระพุทธชินราชนั้นสวยงามมาก เส้นรอบนอกพระวรกายอ่อนช้อย พระขนงโก่ง พระเกตุมาลาเป็นเปลวเพลิง พระหัตถ์มีปลายนิ้วทั้งสี่เสมอกัน ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษเรียกว่า ทีฒงฺคุลี ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดในโลก มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมาชมและสักการบูชาพระพุทธชินราชเป็นจำนวนมาก ทุก ๆ ปี จะมีงานนมัสการพระพุทธชินราชในวันขึ้น 6 ค่ำ ถึงวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 3 (ประมาณปลายเดือนมกราคม) เรียกว่า “งานวัดใหญ่”

ทางเข้าพระวิหารด้านหน้ามีบานประตูขนาดใหญ่ประดับมุกสวยงามสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2299 เป็นฝีมือช่างหลวงสมัยอยุธยาตอนปลาย ในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมโกศ

บริเวณหลังวิหารพระพุทธชินราช มีพระอัฏฐารส ซึ่งเป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติสูง 18 ศอก สร้างในสมัยเดียวกับพระพุทธชินราช ราว พ.ศ. 1800 เดิมประดิษฐานอยู่ในวิหารใหญ่แต่วิหารได้พังไปจนหมด เหลือเพียงเสาที่ก่อด้วยศิลาแลงขนาดใหญ่ 3-4 ต้น เรียกว่า “เนินวิหารเก้าห้อง”

ด้านหลังพระอัฏฐารส เป็นพระปรางค์ประธาน สร้างแบบสมัยอยุธยาตอนต้น ฐานย่อเหลี่ยมไม้ยี่สิบ สันนิษฐานว่าเดิมเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ (ดอกบัวตูม) ซึ่งถือว่าเป็นสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัยแท้ ต่อมาถูกแปลงให้เป็นพระปรางค์ในสมัยอยุธยา

นอกจากนี้ยังมี “พระเหลือ” ซึ่งพระยาลิไทรับสั่งให้ช่าง นำเศษทองสัมฤทธิ์ที่เหลือจากการสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา มารวมกันหล่อพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดเล็ก และพระสาวกยืนอีก 2 องค์ ประดิษฐานในวิหารน้อย เรียกยกว่า “วิหารพระเหลือ”

วัดราชบูรณะ
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออก ทางใต้ของวัดพระศรีมหาธาตุเล็กน้อย ตัวพระอุโบสถมีลักษณะพิเศษคือ เศียรนาคที่ชายคาเป็นนาค 3 เศียร มีลักษณะอ่อนช้อยงดงาม พิจารณาดูตามชื่อแล้ว วัดราชบูรณะน่าจะเป็นวัดที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้าง เชื่อว่าเป็นสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ เนื่องจากทรงประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลกถึง 25 ปี และทรงมีบทบาททางบำรุงพระศาสนาที่พิษณุโลกมากที่สุด

วัดนางพญา
ตั้งอยู่บริเวณเดียวกับวัดราชบูรณะ ถัดไปทางทิศตะวันออก มีลักษณะสถาปัตยกรรมสมัยเดียวกับวัดราชบูรณะ ต่างกันที่วัดนางพญาไม่มีพระอุโบสถมีแต่วิหาร มีการพบกรุพระเครื่อง “นางพญา” ซึ่งมีชื่อเสียงของจังหวัดพิษณุโลกเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2444 และครั้งหลังเมื่อ พ.ศ. 2497

วัดอรัญญิก
ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน อยู่ห่างจากกำแพงเมืองประมาณ 1 กิโลเมตร บนถนนพญาเสือ ซึ่งแยกจากถนนเอกาทศรถ เป็นวัดที่สร้างในสมัยสุโขทัย สำหรับสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสี วัดนี้มีคูน้ำล้อมรอบ ตามคติสมัยสุโขทัย ถมเป็นเนินสำหรับวิหาร ด้านหลังวิหารมีเจดีย์ใหญ่ทรงลังกาเป็นเจดีย์ประธาน และมีเจดีย์บริวารสี่องค์ แต่ปัจจุบันผุพังไปมาก

วัดเจดีย์ยอดทอง
ตั้งอยู่บนถนนพญาเสือ เช่นเดียวกับวัดอรัญญิก ปัจจุบันเหลือเพียงเจดีย์ทรงดอกบัวตูม ซึ่งเป็นศิลปะสมัยสุโขทัยเพียงองค์เดียวของจังหวัดที่สมบูรณ์ มีฐานกว้างประมาณ 9 เมตร สูง 20 เมตร

วัดวิหารทอง
เป็นวัดใหญ่ ตั้งอยู่ติดกับสำนักงานที่ดินจังหวัดพิษณุโลก ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน เยื้องกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเล็กน้อย ปัจจุบันเป็นวัดร้างเหลือแต่เนินฐานเจดีย์ซึ่งมีขนาดใหญ่มาก และเสาศิลาแลงขนาดใหญ่ประมาณ 7 ต้น เดิมเป็นที่ประดิษฐานพระอัฏฐารสซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดสระเกศ

วัดจุฬามณี
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออก ห่างจากตัวเมืองพิษณุโลกไปตามทางถนนบรมไตรโลกนารถ ประมาณ 5 ก.ม. วัดจุฬามณีเป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดของจังหวัด เคยเป็นที่ตั้งของเมืองพิษณุโลกเดิม ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถทรงสร้างพระวิหารและเสด็จออกผนวชที่วัดนี้ เมื่อ พ.ศ. 2007 เป็นเวลา 8 เดือน 15 วัน โดยมีข้าราชบริพาร ออกบวชตามเสด็จถึง 2,348 รูป

วัดนี้มีโบราณสถานสำคัญคือ มณฑปพระพุทธบาทจำลองและศิลาจารึก ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้โปรดสร้างขึ้นในแผ่นจารึกมีใจความสรุปได้ว่า เมื่อ พ.ศ. 2221 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงมีพระบรมราชโองการให้ใช้ผ้าทาบรอยพระพุทธบาท สลักลงบนแผ่นหิน พระราชทานไว้เป็นที่กราบไหว้ของฝูงชน นอกจากนี้ยังมีสิ่งสำคัญที่มีค่าสูงทางศิลปะ คือ ปรางค์แบบขอม ขนาดเล็ก ฐานกว้าง 11 เมตร ยาว 18 เมตร ก่อด้วยศิลาแลง ปั้นปูนประดับลวดลายเป็นรูปหงส์สวยงามมาก

ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ตั้งอยู่ในบริเวณโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมข้างศาลากลางจังหวัด เดิมคือพระราชวังจันทน์ ซึ่งเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภายในศาลประดิษฐานรูปหล่อของพระองค์ ขณะทรงหลั่งน้ำประทักษิโณทก ประกาศอิสรภาพกรุงศรีอยุธยา กรมศิลปากรดำเนินการสร้าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเปิดศาลนี้เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2504 ทางจังหวัดพิษณุโลกจึงถือเอาวันที่ 25 มกราคมของทุกปี เป็นวันจัดงานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ศาลนี้เป็นที่เคารพนับถือของชาวพิษณุโลกเป็นอย่างมาก นักท่องเที่ยวควรแวะชมและสักการะ

พระราชวังจันทน์
พระราชวังจันทน์เป็นสถานที่พระราชสมภพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม โดยเมื่อเดือนมีนาคม 2535 กรมศิลปากรได้ขุดค้นพบแนวเขตพระราชฐานพระราชวังจันทน์ในบริเวณโรงเรียน ซึ่งนับว่าเป็นการขุดค้นทางโบราณคดีและทางประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของจังหวัด ในปัจจุบันทางกรมศิลปากรได้กลบหลุมขุดค้นบางส่วน เพื่อเป็นการอนุรักษ์โบราณสถานไว้ จนกว่าจะมีการขุดค้นอย่างจริงจังอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ยังมีโบราณสถานบางส่วน ที่ยังไม่ได้กลบไว้ให้ผู้สนใจได้ชมและศึกษาต่อไป

สระสองห้อง
อยู่ทางด้านตะวันตกของพระราชวังจันทน์นอกกำแพง ปัจจุบันอยู่นอกรั้วของโรงเรียนพิษณุโลก พิทยาคม เดิมชาวบ้านเรียกว่า “หนองสองห้อง” เป็นที่ประทับสำราญพระทัยของพระมหากษัตริย์ที่มาประทับ ณ พระราชวังจันทน์

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าสิบเอก ดร. ทวี-พิมพ์ บูรณเขตต์
ตั้งอยู่ตรงข้างกับโรงหล่อพระบูรณะไทย ถนนวิสุทธิกษัตริย์ อำเภอเมืองพิษณุโลก เป็นที่เก็บรวบรวมศิลปะพื้นบ้าน ตั้งแต่ชิ้นเล็ก ๆ จนถึงชิ้นใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักสาน เครื่องปั้นดินเผา เครื่องใช้ในครัวโบราณ และเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพ เช่น เครื่องวิดน้ำด้วยมือ เครื่องสีข้าว เครื่องดักสัตว์ ตลอดจนเครื่องมือในการจับหนูและแมลงสาบ

จ่าสิบเอก ดร. ทวี บูรณเขตต์ ได้รับการยกย่องว่าเป็น “คนดีศรีพิษณุโลก” คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติยกย่องให้เป็น “บุคคลดีเด่นทางวัฒนธรรมสาขาการช่างฝีมือ” ประจำปี 2526 และสภามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเสนอชื่อเข้ารับพระราชทานปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ สาขาศิลปะ เมื่อปี พ.ศ. 2527 เนื่องจากเป็นผู้ที่มีฝีมือในทางประติมากรรม และเป็นผู้อนุรักษ์ศิลปะพื้นบ้านโดยเฉพาะศิลปะของล้านนาไทยไว้มากที่สุด

พิพิธภัณฑ์นี้ เปิดให้เข้าชมทุกวันโดยไม่เก็บค่าเข้าชม ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ โทร. (055) 252-121

กำแพงเมืองคูเมือง
กำแพงเมืองพิษณุโลกแต่เดิมเป็นกำแพงดินเช่นเดียวกับกำแพงเมืองสุโขทัย คาดว่าสร้างขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถเพื่อเตรียมรับศึกพระเจ้าติโลกราชแห่งราชอาณาจักรลานนา และต่อมาในรัชการสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ได้โปรดให้ซ่อมแซมกำแพงเมืองอีกครั้งเพื่อเตรียมรับศึกพม่า พอถึงรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้โปรดให้ช่างฝรั่งเศสสร้างกำแพงใหม่โดยก่ออิฐให้แข็งแรงยิ่งขึ้น ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้รื้อกำแพงเมืองและป้อมต่าง ๆ เสีย เพื่อไม่ให้พม่าซึ่งรุกรานไทยยึดเป็นที่มั่น ฉะนั้น ในปัจจุบันจึงเหลือเพียงกำแพงดินบางจุด ที่เห็นได้ชัดในขณะนี้คือบริเวณวัดโพธิญาณซึ่งอยู่ทางเหนือใกล้ ๆ ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช บริเวณวัดน้อย ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกใกล้ทางรถไฟ และบริเวณสถานีตำรวจภูธรจังหวัดพิษณุโลก

สำหรับคูเมืองที่เห็นได้ชัดคือ แนวที่ขนานกับถนนพระร่วง ทางด้านตะวันตกขนาดกว้างประมาณ 12 เมตร ซึ่งได้มีการขุดลอกเพื่อมิให้ตื้นเขินอยู่เสมอ

เรือนแพ
เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของพิษณุโลก บริเวณสองฝั่งแม่น้ำน่านในเขตอำเภอเมืองพิษณุโลกมีเรือนแพตั้งเรียงรายไปตามลำน้ำจากทิศเหนือสู่ทิศใต้ ชีวิตชาวแพเป็นชีวิตที่เรียบง่าย นักทัศนาจรนิยมถ่ายภาพไว้เป็นที่ระลึกเพราะเป็นภาพที่หาดูไม่ได้ง่ายนัก

มะขามยักษ์
มีอายุประมาณ 700 ปี อยู่ที่ตำบลบ้านกอกจากตัวเมืองใช้เส้นทางไปนครสวรรค์เลี้ยวซ้าย ตรงคอสะพานข้ามแม่น้ำน่านไปประมาณ 700 เมตร อยู่ในบริเวณที่ดินของคุณยายไสว ภู่เพ็ง ตามประวัติกล่าวว่าเดิมบริเวณนี้เป็นป่าพง วันหนึ่งมีช้างเชือกหนึ่งหลุดเข้ามาอาศัยอยู่รอบ ๆ ต้นมะขาม ไม่ยอมห่าง เจ้าของต้องใช้กำลังอย่างมากจึงสามารถนำช้างกลับไปได้ ไม่นานช้างนั้นก็ตายในลักษณะยืนตาย ต่อมาบริเวณโคนต้นมะขามนั้นเกิดมีตะปุ่มตะป่ำงอกขึ้นมาจนเป็นรูปหัวช้าง พร้อมทั้งมีรากงอกเป็นรูปงวงและงาช้าง ซึ่งได้ผุกร่อนจนไม่อาจมองเห็นรูปร่างหัวช้างได้อีก อย่างไรก็ตาม ต้นมะขามนี้แผ่กิ่งก้านสาขาใหญ่โตให้ความร่มรื่นอย่างมาก และที่คบกิ่งด้านเหนือจะมีกล้วยไม้ติดอยู่ซึ่งจะมีดอกในเดือนหกทุกปี ฉะนั้นชาวบ้านจึงทำบุญกันในวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี มีมหรสพลิเกแสดงด้วย


:: อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว ::

:: ข้อมูลทั่วไป ::
อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำปาด ท้องที่ตำบลม่วงเจ็ดต้น ตำบลนาขุม ตำบลบ้านโคก อำเภอบ้านโคก อำเภอห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ตำบลบ่อภาค อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก เป็นพื้นที่ที่มีสภาพป่าค่อนข้างสมบูรณ์ปกคลุมไปด้วยป่าธรรมชาติที่สวยงาม เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีจุดเด่นที่น่าสนใจและเป็นที่ดึงดูดใจของนักท่องเที่ยว ได้แก่ น้ำตกภูสอยดาว เป็นน้ำตก 5 ชั้น มีเนื้อที่กว้างประมาณ 1,000 ไร่ มีความสวยงามมาก มีถนนลาดยาง เข้าถึงพื้นที่ทำให้สะดวกสบายในการเดินทางพักผ่อนหย่อนใจ อุทยานแห่งชาติภูสอยดาวมีเนื้อที่ 125,110 ไร่ หรือ 200.18 ตารางกิโลเมตร

อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว แต่เดิมเป็นวนอุทยานแห่งชาติภูสอยดาว ได้สำรวจจัดตั้งเป็นวนอุทยาน แห่งชาติภูสอยดาว โดยสำนักงานป่าไม้เขตพิษณุโลก เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2533 มีพื้นที่เพียง 20,000 ไร่ จนกระทั่งปีงบประมาณ 2535 กรมป่าไม้ได้จัดสรรงบประมาณ ให้สำนักงานป่าไม้เขตพิษณุโลก ทำการสำรวจพื้นที่เพิ่มเติม เพื่อผนวกเข้ากับพื้นที่เดิม ของวนอุทยานภูสอยดาว ผลการสำรวจพื้นที่เพิ่มเติมในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำปาด ท้องที่อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ และในเขตป่าไม้ถาวรตามป่าภูสอยดาวท้องที่อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ป่าภูสอยดาว ท้องที่อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ตามมติคณะรัฐมนตรีได้เนื้อที่รวม 48,962.5 ไร่ หรือ 78.34 ตารางกิโลเมตร

ต่อมาสำนักงานป่าไม้เขตพิษณุโลกได้มีหนังสือที่ กษ 0725.07/5819 ลงวันที่ 11 สิงหาคม 2536 เรื่อง ขอจัดตั้งวนอุทยานแห่งชาติภูสอยดาวเป็นอุทยานแห่งชาติภูสอยดาว ได้รายงานให้กรมป่าไม้ทราบว่า พื้นที่วนอุทยานแห่งชาติภูสอยดาวซึ่งตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำปาด ท้องที่อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ และเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรีป่าภูสอยดาว ท้องที่อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก เป็นพื้นที่ที่มีสภาพป่าค่อนข้างสมบูรณ์ ปกคลุมไปด้วยป่าธรรมชาติที่สวยงาม เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นภูเขาสูงชัน บางจุดสูงจากระดับน้ำทะเล 1,600 เมตร เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า และเป็นพื้นที่ชายแดนติดต่อประเทศลาว ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความมั่นคงของชาติ มีจุดเด่นที่น่าสนใจเป็นที่ดึงดูดให้ประชาชน นักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวชม ได้แก่ น้ำตก 5 ชั้น ชื่อว่า ภูสอยดาว มีเนื้อที่กว้าง 1,000 ไร่ มีความสวยงามมากและพื้นที่ใกล้เคียงยังมีสภาพป่าธรรมชาติที่สมบูรณ์ สามารถผนวกเป็นเขตอุทยานแห่งชาติได้อีกเป็นจำนวนมาก จึงเห็นสมควรที่จะ รักษาพื้นที่ป่าแห่งนี้ไว้เป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ โดยกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติภูสอยดาว

ปัจจุบันคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ เห็นชอบในการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติแล้ว และอยู่ในขั้นตอนจัดทำ/ปรับปรุง/แก้ไข รายละเอียดเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี อนุมัติในหลักการ ให้จัดตั้งอุทยานแห่งชาติต่อไป

:: ลักษณะภูมิประเทศ ::
ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนตั้งแต่ทิศเหนือจดทิศใต้ เป็นเทือกเขากั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทย กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 500-1,800 เมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและป่าไม้ประมาณร้อยละ 85 ของพื้นที่ทั้งหมด เป็นที่ราบประมาณร้อยละ 15 ของพื้นที่ทั้งหมด เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของลำน้ำภาค และลำน้ำปาด


:: ลักษณะภูมิอากาศ ::
อากาศเย็นสบายตลอดปี อุณหภูมิสูงเฉลี่ย 35.0 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 13.0 องศาเซลเซียส อุณหภูมิโดยเฉลี่ยทั่วไป 27.0 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,334.4 มิลลิเมตร/ปี ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน


:: พรรณไม้และสัตว์ป่า ::
สภาพป่าในพื้นที่ที่จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติภูสอยดาว มีความหลากหลายผสมกัน มีความต่าง ระดับของพื้นที่มาก ในพื้นที่ประกอบด้วย

ป่าสนเขา พบขึ้นในระดับความสูงจากน้ำทะเล 1,400 เมตรขึ้นไป เป็นป่าผืนใหญ่ขึ้นเป็นกลุ่ม ชนิดไม้ที่สำคัญที่พบได้แก่ สนสามใบ ก่อชนิดต่างๆ พืชพื้นล่างเป็นพวกหญ้าชนิดต่างๆ ดอกไม้ดิน เช่น ดอกหงอนนาค ดอกกุง เป็นต้น

ป่าดิบเขา พบในพื้นที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป ชนิดไม้ที่ขึ้นประกอบด้วย ก่อ ทะโล้ จำปาป่า กำลังเสือโคร่ง พืชพื้นล่างและพืชอิงอาศัยเป็นพวกพืชในตระกูลขิง ข่า กูด กล้วยไม้ เป็นต้นไม้พุ่มชนิดต่างๆ

ป่าดิบชื้น พบขึ้นอยู่ทั่วไปในเขตอุทยานห่งชาติในระดับความสูงจากน้ำทะเล 400-1,000 เมตร พันธุ์ไม้สำคัญได้แก่ กระบาก ยาง จำปีป่า พะอง ก่อเดือย ก่อรัก พืชพื้นล่างและพืชอิงอาศัยได้แก่ สะบ้า กูด และกล้วยไม้ชนิดต่างๆ

ป่าดิบแล้ง พบมากตอนกลางของพื้นที่อุทยานแห่งชาติในบริเวณที่เป็นหุบเขา พันธุ์ไม้ที่ขึ้นมี ตะแบกใหญ่ สมพง พะยอม ตะเคียนทอง มะค่าโมง ยมหอม กระบก ฯลฯ

ป่าเบญจพรรณ พบอยู่ทั่วไปในแขตอุทยานแห่งชาติ ในระดับความสูงจากน้ำทะเล 300-600 เมตร บริเวณที่ราบเชิงเขา พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ตะแบก แดง ชิงชัน ประดู่ สมอพิเภก ตีนนก ตะคร้ำ พืชพื้นล่างได้แก่ ไผ่และหญ้าชนิดต่างๆ

ป่าเต็งรัง พบขึ้นในพื้นที่บริเวณตอนล่างและตอนบน ขึ้นอยู่ในไหล่เขา เนินเขา และบริเวณที่ราบซึ่งเป็นดินลูกรัง ประกอบด้วย เต็ง รัง เหียง มะขามป้อม ส้าน อ้อยช้าง มะกอกป่า พืชพื้นล่างประกอบด้วยหญ้าคา และหญ้าเพ็ก เป็นต้น

ส่วนสัตว์ป่ามีอยู่ชุกชุมหลายชนิดที่พบเห็นและปรากฏร่องรอยได้แก่ เลียงผา กวางป่า เสือโคร่ง เก้ง หมีควาย หมูป่า ลิง อีเห็น เม่น กระต่ายป่า ไก่ป่า ไก่ฟ้าพญาลอ นกเขาไฟ นกขุนทอง นกกระปูดใหญ่ งูจงอาง งูเหลือม ตะกวด ตะพาบน้ำ เป็นต้น

:: ที่ตั้งและการเดินทาง ::
อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว
ต.ห้วยมุ่น อ. น้ำปาด จ. อุตรดิตถ์ 53110
โทรศัพท์ : 0 5541 9234-5

รถยนต์
จากจังหวัดพิษณุโลก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 แล้วแยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1246 ถึงบ้านแพะแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 1143 ผ่านอำเภอชาติตระการ แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 1237 ผ่านบ้านบ่อภาคไปบรรจบกับเส้นทางแผ่นดินหมายเลข 1268 ถึงน้ำตกภูสอยดาว อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว รวมระยะทางประมาณ 188 กิโลเมตร

จากจังหวัดอุตรดิตถ์ใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1047 (อุตรดิตถ์-น้ำปาด) จนถึงอำเภอน้ำปาดแล้วเข้าสู่ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1239 ไปอีก 47 กิโลเมตร จึงเข้าสู่ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1268 ไปอีก 18 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ รวมระยะทางประมาณ 133 กิโลเมตร

รถโดยสารประจำทาง
การเดินทางด้วยรถโดยสารวิธีที่ 1
- ช่วงที่ 1 จากกรุงเทพฯ ขึ้นรถโดยสารที่สถานีขนส่งหมอชิต สายกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ไปลงที่จังหวัดพิษณุโลก
- ช่วงที่ 2 จากจังหวัดพิษณุโลก เดินทางด้วยรถโดยสารระหว่างอำเภอ ไปอำเภอชาติตระการ ระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตร
- ช่วงที่ 3 จากอำเภอชาติตระการ เดินทางด้วยรถสองแถว ซึ่งมีวันละ 1 เที่ยว รถออกเดินทางไม่เกิน 09.00 น. ไปที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูสอยดาว ระยะทางประมาณ 70 กิโลเมตร

การเดินทางด้วยรถโดยสารวิธีที่ 2
- ช่วงที่ 1 จากกรุงเทพฯ ขึ้นรถโดยสารที่สถานีขนส่งหมอชิต สายกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ไปลงที่จังหวัดพิษณุโลก
- ช่วงที่ 2 จากจังหวัดพิษณุโลก เดินทางด้วยรถรับจ้างเหมาไป-กลับ ราคาประมาณ 2,600 บาท ไปอุทยานแห่งชาติภูสอยดาว ระยะทางประมาณ 170 กิโลเมตร

หมายเหตุ หากนักท่องเที่ยวเดินทางไปถึงอุทยานแห่งชาติภูสอยดาวแล้ว ไม่สามารถขึ้นยอดภูสอยดาวได้ทัน (อุทยานแห่งชาติเปิดให้ขึ้นลานสนภูสอยดาวตั้งแต่เวลา 8.00 - 14.00 น.) ทางอุทยานแห่งชาติได้จัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์ไว้บริการ บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติที่อยู่ด้านล่างไว้แล้ว

:: แหล่งท่องเที่ยว ::
อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว มีสภาพภูมิทัศน์ที่สวยงาม ทิวเขาส่วนมากทอดตัวจากทิศตะวันออกสู่ทิศตะวันตกมีความลดหลั่นสูงสลับซับซ้อน หุบเขา เนินเขา ก่อให้เกิดภาพรวมของภูมิทัศน์ที่สวยงามทั้งในการมองมุมกว้างและมุมแคบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามเช้ามีเมฆหมอกปกคลุม อีกทั้งสภาพอากาศโดยทั่วไปค่อนข้างเย็น และความชื้นในอากาศทุกฤดูก็มีอยู่สูง ก่อให้เกิดความชุ่มชื้นของอากาศน่าพักผ่อนหย่อนใจ ในฤดูหนาวอุณหภูมิโดยทั่วไปอยู่ระหว่าง 1-20 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูร้อนมีลมจากหุบเขาพัดผ่านจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้อากาศเย็นสบายไม่ร้อน

อุทยานแห่งชาติเปิดให้ขึ้นลานสนภูสอยดาว ตั้งแต่เวลา 8.00 - 14.00 น. ของทุกวัน โดยมีช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการเดินทางไปเยือนดังนี้ ช่วงเดือนกันยายน - ต้นพฤศจิกายน บนลานสนภูสอยดาวจะเต็มไปด้วยพรรณไม้ดอกนานาชนิด เช่น หงอนนาค สร้อยสุวรรณา กระดุมเงิน บานสะพรั่งอวดความงามทั่วลานสนสามใบ ช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน - กลางเดือนมกราคม เป็นช่วงที่อากาศหนาวเย็น เหมาะแก่การสัมผัสความหนาวเย็นพร้อมชมทิวทัศน์ที่สวยงาม ชมพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกที่สวยงามไม่แพ้ที่ใดในประเทศไทย เป็นช่วงที่กล้วยไม้รองเท้านารีพันธุ์อินทนนท์ ออกดอกอวดสายตาผู้ที่ขึ้นไปเยือน รวมถึงใบเมเปิลแดงที่เปลี่ยนสีเพิ่มสีสันแก่ลานให้น่าสนใจมากขึ้น และในช่วงตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม-31 มิถุนายน ของทุกปี อุทยานแห่งชาติปิดการพักแรมบนลานสนภูสอยดาว

:: ด้านธรรมชาติที่สวยงาม ::
ลานสนสามใบภูสอยดาว เป็นพื้นที่ป่าธรรมชาติ มีพื้นที่ประมาณ 1,000 กว่าไร่ เป็นที่ราบบนเทือกเขาภูสอยดาว ตั้งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,633 เมตร สภาพพื้นที่ของลานสนสามใบจะเป็นเนินสูงต่ำสลับกันไป เป็นป่าสนสามใบ พืชชั้นล่างเป็นทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ ช่วงฤดูฝน เดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายนของทุกปี กลางทุ่งหญ้ามีดอกไม้ดินชูช่อแย่งกันออกดอกเป็นกลุ่มหนาแน่น เช่น ดอกหงอนนาคจะมีดอกสีม่วง ดอกสร้อยสุวรรณาจะมีดอกสีเหลือง และดอกหญ้ารากหอมจะมีดอกสีม่วงเข้มสวยงามมาก ฤดูหนาวจะมีอุณหภูมิระหว่าง 1-5 องศาเซลเซียส มีดอกกระดุมเงิน, กล้วยไม้รองเท้านารีอินทนนท์ ,ใบเมเปิลซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีแดงสวยงามมาก การเดินทางไปเที่ยวลานสนสามใบภูสอยดาว ต้องเดินทางเท้าจากน้ำตกภูสอยดาวริมเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1268 ขึ้นสู่ยอดภูสอยดาวระยะทางประมาณ 6.5 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 4-6 ชั่วโมง โดยระหว่างเดินเท้าขึ้นสู่ลานสนสามใบภูสอยดาวจะพบ สภาพป่าที่สมบูรณ์และสวยงามมาก ยอดสูงสุดของภูสอยดาวสูงจากระดับน้ำทะเล 2,102 เมตร ซึ่งสูงเป็นอันดับ 4 ของประเทศไทย

น้ำตกภูสอยดาว ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นน้ำตกขนาดกลางในลำห้วยน้ำพายไหลลงสู่แม่น้ำปาดที่อำเภอน้ำปาด มีชั้นน้ำตกทั้งหมด 5 ชั้น แต่ละชั้นมีชื่อไว้อย่างไพเราะว่า ภูสอยดาว สกาวเดือน เหมือนฝัน กรรณิการ์ และสุภาภรณ์ มีน้ำไหลตลอดปี อยู่ริมเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1268 ใกล้กับที่ทำการอุทยานแห่งชาติ


น้ำตกสายทิพย์ ตั้งอยู่บนรอยต่อระหว่างป่าดิบชื้นกับป่าสนเขา เป็นน้ำตกขนาดเล็ก มีสายน้ำไหลลดหลั่นลงมาตามชั้นเตี้ยๆ รวม 7 ชั้น ความสูงแต่ละชั้นประมาณ 5-10 เมตร ฤดูฝนน้ำจะไหลแรงมองดูสวยงามมากและมีน้ำไหลตลอด สภาพป่าโดยรอบน้ำตกมีความชุ่มชื้นมาก จึงมีมอสสีเขียวขึ้นปกคลุมทั่วไปตามก้อนหินริมน้ำ เมื่อขึ้นเที่ยวบนลานสนสามใบภูสอยดาวสามารถเที่ยวน้ำตกแห่งนี้ได้ด้วย


ลานหินลำน้ำภาค ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลบ่อภาค อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก เป็นหินธรรมชาติที่เกิดขึ้นสองริมฝั่งลำน้ำภาคไหลลงแม่น้ำแดงน้อย ที่อำเภอชาติตระการ มีความกว้างของลานหินฝั่งละประมาณ 10-15 เมตร ยาวประมาณ 100 เมตร


:: สิ่งอำนวยความสะดวก ::
สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมเต็นท์และสถานที่กางเต็นท์ ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง


ที่จอดรถ มีที่จอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


บริการอาหาร มีร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยว


ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.



จังหวัดพิษณุโลก :: การเดินทาง

ทางรถยนต์

จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ถึงวังน้อยแล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเซีย) ผ่านอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท เข้านครสวรรค์ แล้วใช้เส้นทางสาย 117 ตรงสู่พิษณุโลก รวมระยะทาง 337 กิโลเมตร เป็นเส้นทางที่สะดวกที่สุด หรือจากสิงห์บุรี ใช้เส้นทางสายอินทร์บุรี-ตากฟ้า (ทางหลวงหมายเลข 11) จนถึงทางหลวงหมายเลข 12 (พิษณุโลก-หล่มสัก) ที่เขตอำเภอวังทอง เลี้ยวซ้ายไปอีก 17 กิโลเมตร เข้าสู่พิษณุโลกรวมระยะทางประมาณ 450 กิโลเมตร หากเดินทางจากจังหวัดตาก ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 12 ผ่านสุโขทัยเข้าพิษณุโลกระยะทาง 138 กิโลเมตร และทางสายเดียวกันจากขอนแก่น 391 กิโลเมตร จากแยกเพชรบูรณ์หล่มสักมาพิษณุโลก ระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตร เส้นทางนี้ผ่านแหล่งท่องเที่ยวสองข้างทางหลายแห่ง

รถโดยสารประจำทาง

บริษัท ขนส่ง จำกัด จัดบริการรถโดยสารธรรมดา และปรับอากาศทุกวัน ตั้งแต่เวลา 07.00-22.30 น. รายละเอียดติดต่อที่ โทร. 272-5228, 2725254 (ธรรมดา) โทร. 272-5299, 272-5253 (ปรับอากาศ) และที่สถานีขนส่งพิษณุโลก โทร. (055) 242-430

นอกจากนี้ยังมีรถ บขส. บริการระหว่างพิษณุโลกกับจังหวัดต่างๆ คือ อุตรดิตถ์ แพร่ ลำปาง เชียงใหม่ สุโขทัย ตาก (แม่สอด) พิจิตร เพชรบูรณ์ และขอนแก่น ทุกวัน

บริษัททัวร์ที่บริการรถประจำทางไป-กลับ ระหว่าง กรุงเทพฯ-พิษณุโลก ได้แก่

พิษณุโลกยานยนต์ทัวร์ มีรถปรับอากาศบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-16.00 น. รายละเอียดติดต่อ โทร. 272-5304 สำนักงานพิษณุโลก (055) 258-647, 258-941

ถาวรฟาร์ม มีรถบริการตั้งแต่เวลา 11.00-17.00 น. รายละเอียดติดต่อ โทร. 272-0277 สำนักงานพิษณุโลก โทร. (055) 258-526, 241-044

วินทัวร์ มีรถออกทุกชั่วโมงตั้งแต่เวลา 09.00-22.30 น. รายละเอียดติดต่อ โทร. 272-5262 สำนักงานพิษณุโลก โทร. (055) 243-222, 258-010

รถไฟ

ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย จัดบริการรถด่วนพิเศษ (สปรินท์เตอร์) รถเร็ว และรถธรรมดา จากกรุงเทพฯ ไปพิษณุโลกทุกวัน รายละเอียดสอบถามได้ที่ หน่วยบริการเดินทาง โทร. 223-7010, 223-7020 และที่สถานีรถไฟพิษณุโลก โทร. (055) 258-005

เครื่องบิน

บริษัท การบินไทย จำกัด มีเที่ยวบินไปจังหวัดพิษณุโลกทุกวัน ใช้เวลาเดินทาง 50 นาที ติดต่อสำรองที่นั่งได้ที่ บริษัท การบินไทย จำกัด ถนนหลานหลวง โทร. 280-0060, 628-2000 หรือที่สำนักงานพิษณุโลก โทร. (055) 258-020, 251-671

ระยะทางจากอำเภอเมืองไปอำเภอต่างๆ

อำเภอนครไทย 97 กิโลเมตร
อำเภอชาติตระการ 136 กิโลเมตร
อำเภอบางระกำ 17 กิโลเมตร
อำเภอบางกระทุ่ม 35 กิโลเมตร
อำเภอพรหมพิราม 40 กิโลเมตร
อำเภอวัดโบสถ์ 30 กิโลเมตร
อำเภอวังทอง 17 กิโลเมตร
อำเภอเนินมะปราง 75 กิโลเมตร


จังหวัดพิษณุโลก :: สถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ

เส้นทางสายพิษณุโลก-หล่มสัก (ทางหลวงหมายเลข 12)

เขาสมอแครง
ตั้งอยู่ที่ตำบลวังทอง อำเภอวังทอง ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 3 กิโลเมตร จากตัวเมืองพิษณุโลกไปตามถนนสายพิษณุโลก-หล่มสัก ประมาณ 14 กิโลเมตร เขานี้มีความสูง 200 เมตร ด้านซ้ายมือจะมองเห็นทิวเขาขนาดเล็กอยู่ริมทางบนเขามีสระน้ำ เรียกว่าสระสองพี่น้อง น้ำในสระนี้ใช้ได้ตลอดปี ด้วยเหตุนี้คนโบราณจึงได้ไปสร้างวัดไว้ถึง 7 วัด บัดนี้เป็นวัดร้างไปแล้วคงเหลือแต่ วัดพระพุทธบาทเขาสมอแครง หรือ วัดราชคีรีหิรัญยาราม ตั้งอยู่เชิงเขาด้านตะวันออก เดิมเป็นวัดร้างเพิ่งจะมีพระสงฆ์มาจำพรรษา เมื่อ พ.ศ. 2496 ในบริเวณวัดมีรอยพระพุทธบาทจำลองและบนเขาด้านตะวันตกของวัดมีรอยพระบาทตะแคงติดกับหน้าผา ทางวัดมีงานนมัสการพระพุทธบาทในกลางเดือน 3 ของทุกปี

เมื่อประมาณต้นปี 2535 ได้มีการอัญเชิญพระโพธิสัตว์กวนอิมหยกขาว ซึ่งแกะสลักจากหินทะเลสาบหยกขาวจากเมืองหางโจว ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นปางพิเศษที่ได้รับอนุมัติให้สร้างโดยรัฐบาลจีนโดยใช้ต้นแบบจากวัดเจ้าแม่กวนอิมพันมือเมืองหางโจว มีขนาดสูง 3 เมตร หนัก 3 ตัน พร้อมฐานบัวคว่ำ บัวหงาย ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์กวนอิมหยกขาวที่ใหญ่และสวยงามที่สุดในโลกมาประดิษฐาน ณ วัดราชคีรีหิรัญยารามนี้

ส่วนอีกวัดหนึ่งที่น่าสนใจมากคือ วัดเจดีย์ยอดด้วน มีพระเจดีย์ใหญ่ตั้งอยู่ตรงยอดเขา ซึ่งเป็นบริเวณที่สูงที่สุด ยอดพระเจดีย์หัก จึงเรียกว่า วัดเจดีย์ยอดด้วน สันนิษฐานว่าสร้างราวสมัยพระมหาธรรมราชา (ลิไท) และซ่อมแซมในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ จากนั้นได้มีการบูรณะต่อมาอีกหลายครั้งในสมัยอยุธยา

สวนรุกขชาติสกุโณทยาน (น้ำตกวังนกแอ่น) ตั้งอยู่ในเขตอำเภอวังทอง ห่างจากจังหวัดประมาณ 33 กิโลเมตร ตามถนนสายพิษณุโลก-หล่มสัก ตรงหลักกิโลเมตรที่ 33 แล้วเลี้ยวขวาไปตามถนนลูกรังอีก 1 กิโลเมตร บริเวณทั่วไปร่มรื่นไปด้วยแมกไม้นานาชนิด มีศาลาที่พัก 2 หลัง ที่สร้างขึ้นเพื่อรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คราวเสด็จประภาสภาคเหนือ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2501

ในบริเวณสวนรุกขชาติสกุโณทยาน เป็นที่ตั้งของน้ำตกวังนกแอ่น หรือน้ำตกสกุโณทยาน น้ำตกขนาดเล็กที่ไหลจากหน้าผาสูงประมาณ 10 เมตร ที่เกิดจากลำธารวังทอง อันมีต้นกำเนิดมาจากแม่น้ำเข็ก นอกจากนี้ยังมี "แก่งไทร" ซึ่งมีหินน้อยใหญ่คั่นกลางลำน้ำเป็นชั้น ๆ น่าชมมาก เป็นจุดที่มีนักท่องเที่ยวนิยมไปพักผ่อนกันมาก

น้ำตกแก่งซอง
อยู่ริมถนนบริเวณกิโลเมตรที่ 45 ของถนนสายพิษณุโลก-หล่มสัก น้ำตกแก่งซองเป็นน้ำตกขนาดใหญ่กว่าน้ำตกสกุโณทยาน มีร้านค้าจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มริมน้ำตก

น้ำตกปอย
อยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 59-60 ของถนนสายพิษณุโลก-หล่มสัก เลี้ยวขวาไปตามถนนลูกรังอีก 2 กิโลเมตร อยู่บริเวณสวนป่ากระยาง ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ เป็นน้ำตกที่สวยงาม สภาพโดยรอบร่มรื่นเหมาะเป็นที่พักผ่อน


:: อุทยานแห่งชาติน้ำตกชาติตระการ ::

:: ข้อมูลทั่วไป ::
อุทยานแห่งชาติน้ำตกชาติตระการ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอชาติตระการและอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก สภาพทั่วไปเป็นป่าอุดมสมบูรณ์และธรรมชาติที่สวยงาม เป็นต้นว่า น้ำตกชาติตระการ หรือที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า “น้ำตกปากรอง” เพราะตั้งอยู่ที่หมู่บ้านปากรอง หน้าผาสูงชันที่มีสีสันผิดแปลกกัน เป็นร่องรอยของศิลปยุคแรกของมนุษย์ คือ รอยแกะสลักกับแผ่นดินและจุดชมวิวทิวทัศน์บนยอดเขาสูงๆ มีเนื้อที่ประมาณ 339,375 ไร่ หรือ 543 ตารางกิโลเมตร

ความเป็นมา: ด้วยกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนในท้องที่ตำบลนครไทย ตำบลน้ำกุ่ม อำเภอชาติตระการ และอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ได้เสนอผ่านนายประเทือง วิจารย์ปรีชา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดพิษณุโลก ขอให้กรมป่าไม้เข้าไปจัดการพื้นที่บริเวณป่าเขาย่าปุก ซึ่งมีน้ำตกสวยงามเป็นวนอุทยาน เพื่อสงวนทรัพยากรป่าไม้และป่าต้นน้ำของลำแควน้อย ในปี พ.ศ. 2523 กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้เริ่มดำเนินการจัดสำรวจและจัดตั้งวนอุทยานขึ้นโดยใช้ชื่อว่า “วนอุทยานเขาย่าปุก” ต่อมาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2525 จึงได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อ “วนอุทยานน้ำตกชาติตระการ” ตามชื่ออำเภอชาติตระการ

ต่อมากรมป่าไม้ได้มีหนังสือ ที่ กษ 0706/10459 ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2525 แต่งตั้งคณะทำงานประกอบด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานป่าไม้เขตพิษณุโลก กองอุทยานแห่งชาติ และ กองจัดการป่าไม้ทำการสำรวจพื้นที่ดังกล่าว เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ผลการสำรวจคณะทำงาน โดยเจ้าหน้าที่สำนักงานป่าไม้เขตพิษณุโลก และกองจัดการป่าไม้ เห็นควรกำหนดบริเวณน้ำตกชาติตระการ และพื้นที่ป่าเขาย่าปุก เนื้อที่ประมาณ 253 ตารางกิโลเมตร หรือ 146,875 ไร่ เป็นอุทยานแห่งชาติ และเจ้าหน้าที่วนอุทยานน้ำตกชาติตระการ (นายภูมิ สมวัฒนศักดิ์ ช่างโยธา 3) เห็นควรกำหนดพื้นที่ที่ได้ทำการสำรวจทั้งหมด เนื้อที่ประมาณ 1,274 ตารางกิโลเมตร หรือ 764,250 ไร่ เป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อคณะทำงานทำการสำรวจพื้นที่ฯได้พิจารณาขอบเขตถึงความเหมาะสม โดยได้พิจารณาถึงการจัดการอุทยานแห่งชาติ และการอนุรักษ์ป่าไม้ และต้นน้ำลำธาร จึงเห็นควรกำหนดพื้นที่ ที่ทำการสำรวจประมาณครึ่งหนึ่งเป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ได้ดำเนินการสำรวจเพิ่มเติม

เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2528 คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติมีมติในคราวประชุม ครั้งที่ 1/2528 เห็นชอบในหลักการที่จะกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ให้คำนึงถึงความเป็นไปได้การจัดการอุทยานแห่งชาติ และการอนุรักษ์ป่าไม้ในส่วนดังกล่าวด้วย กองอุทยานแห่งชาติ จึงกำหนดพื้นที่ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน คลอบคลุมพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารของลำน้ำแคว ลำน้ำภาค ทั้งเป็นพื้นที่ที่มีสภาพเหมาะสม ต่อการจัดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวศึกษาหาความรู้ ค้นคว้าวิจัย เนื้อที่ 339,375 ไร่ เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยมีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าน้ำภาค ป่าลำน้ำแควน้อยฝั่งซ้ายป่าแดง และป่าชาติตระการ ในท้องที่ตำบลชาติตระการ และตำบลน้ำกุ่ม ตำบลนครชุม ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 104 ตอนที่ 220 ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2530 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 55 ของประเทศ


:: ลักษณะภูมิประเทศ ::
สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นเทือกเขาและภูเขาสูงสลับซับซ้อน เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของแม่น้ำหลายสาย เช่น แม่น้ำภาค แม่น้ำแควน้อย ภูเขาหินทรายโดยเฉพาะหน้าผาบริเวณ น้ำตก เพราะเกิดจากการเรียงตัวของชั้นหิน ประเภทหินทราย ที่ทับถมกันมาเป็นเวลานาน ดินเป็นดินทรายเพราะต้นกำเนิดของดินบริเวณนี้คือ หินทราย


:: ลักษณะภูมิอากาศ ::
โดยทั่วไปอากาศเย็นสบายดี ฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม อุณหภูมิประมาณ 25-29 องศาเซลเซียส ฤดูฝนระหว่างเดือนมิถุนายน-ตุลาคม และฤดูหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์อากาศจะหนาวมากในเวลากลางคืน


:: พรรณไม้และสัตว์ป่า ::
สภาพป่าประกอบด้วย ป่าเต็งรัง อยู่ในบริเวณสภาพดินค่อนข้างต่ำ เป็นดินลูกรัง พรรณไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง เหียง แดง ประดู่ พะยอม เป็นต้น และป่าดิบเขา ขึ้นอยู่ในบริเวณริม ลำธารและพื้นที่ที่มีความชุ่มชื้นสูง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ไม้ยาง กระบาก ก่อ มะม่วงป่า มะค่าโมง ตะแบก เป็นต้น ไม้พื้นล่าง ได้แก่ ปาล์ม หวาย และไผ่ต่าง ๆ

สัตว์ป่าส่วนใหญ่ จะเข้าไปอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเมี่ยง - ภูทอง ซึ่งอยู่ใกล้กัน สัตว์ป่าที่พบส่วนใหญ่ จะเป็นสัตว์ขนาดเล็ก ได้แก่ เก้ง หมูป่า ไก่ป่า กระจง กระรอก กระแต และนกชนิดต่างๆ


:: ที่ตั้งและการเดินทาง ::
อุทยานแห่งชาติน้ำตกชาติตระการ
หมู่ 3 บ้านปากรอง ต.ชาติตระการ อ. ชาติตระการ จ. พิษณุโลก 65170
โทรศัพท์ : 0 5523 7028 โทรสาร : 0 5523 7028

รถยนต์
- จากจังหวัดพิษณุโลกไปได้ 2 เส้นทางคือ ไปตามเส้นทางหลวงพิษณุโลก-หล่มสัก เลี้ยวซ้ายเข้าอำเภอนครไทย และจากอำเภอนครไทย เดินทางสู่ อำเภอชาติตระการ ก่อนถึงอำเภอชาติตระการ 1 กิโลเมตร มีทางแยกเลี้ยวขวาไปอีกประมาณ 9 กิโลเมตร และเลี้ยวขวาเข้าเส้นทางของอุทยานฯ อีก 1 กิโลเมตร รวมระยะทางประมาณ 145 กิโลเมตร

- เส้นทางสายพิษณุโลก - วัดโบสถ์ จากอำเภอวัดโบสถ์เลี้ยวขวาไปตามเส้นทางสายวัดโบสถ์ - คันโซ้ง - โป่งแค่ จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าอำเภอชาติตระการ และเลี้ยวซ้ายเข้าสู่เส้นทางเข้าอุทยานแห่งชาติ รวมระยะทางประมาณ 120 กิโลเมตร


รถโดยสารประจำทาง
มีรถโดยสารประจำทางจากจังหวัดพิษณุโลก ถึงอำเภอชาติตระการ ทุก 2 ชั่วโมง ตั้งแต่ 05.00 น. ถึง 17.00 น. จากอำเภอชาติตระการโดยสารรถเมล์เล็กสายชาติตระการ - บ่อภาค - ร่มเกล้า ประมาณ 9 กิโลเมตร จากนั้น เดินเท้าเข้าสู่อุทยานแห่งชาติอีกประมาณ 1 กิโลเมตร หรือจากอำเภอชาติตระการ โดยสารมอเตอร์ไซด์รับจ้า งเข้าสู่อุทยานแห่งชาติโดยตรง


:: แหล่งท่องเที่ยว :: ด้านธรรมชาติที่สวยงาม ::
น้ำตกชาติตระการ เป็นน้ำตกที่มีอยู่ถึง 7 ชั้น แต่ละชั้นมีความสวยงามตามธรรมชาติที่แตกต่างกันออกไป มีชื่อเรียกตามชั้นต่าง ๆ ดังนี้ ชั้นที่ 1 ชื่อ “มะลิวัลย์” เป็นน้ำตกที่ตกจากช่องผาสูงประมาณ 30 เมตร น้ำตกจะตกลงสู่ธารน้ำซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นแอ่งวงกลมเหมาะสำหรับลงเล่นน้ำ บริเวณริมแอ่งน้ำ เป็นหาดทรายเล็กๆ สวยงามมาก ชั้นที่ 2 ชื่อ “กรรณิการ์” ลักษณะของน้ำตกจะลดหลั่นลงมาตามโขดหินเป็นชั้นๆ ดูสวยงาม แต่ไม่เหมาะต่อการลงเล่นน้ำ เพราะน้ำจะไหลวนลงสู่ชั้นที่ 1 ชั้นที่ 3 ชื่อ “การะเกด” มีความสวยงามพอสมควร น้ำตกชั้นที่ 4 ชื่อ “ยี่สุ่นเทศ” น้ำไหลเป็นสายกว้างลงสู่แอ่งน้ำน่าลงเล่นน้ำ น้ำตกชั้นที่ 5 ชื่อ “เกศเมือง” ชั้นที่ 6 ชื่อ “เรืองยศ” และชั้นที่ 7 ชื่อ “รจนา” ทั้ง 3 ชั้น เป็นน้ำตกเล็กๆ หน้าผาบริเวณน้ำตก มีสภาพธรรมชาติที่สวยงามมีสีสรรต่างๆ บริเวณหน้าผาน้ำตกชั้นที่ 1 ในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน จะมีฝูงผึ้งบินมาทำรังเป็นจำนวนมากเป็นสิ่งที่แปลกตามธรรมชาติ


น้ำตกนาจาน อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปทางบ้านนาจาน 3 กิโลเมตร จากบ้านนาจานเดินเท้าอีกประมาณ 3 กิโลเมตร ลักษณะเป็นน้ำตกขนาดกลางมีทั้งหมด 7 ชั้น เริ่มจากชั้นที่ 1 จะมีลักษณะไหลเอื่อยๆ ไม่สูงนัก ชั้นนี้จะมีหินมากและลื่น ชั้นที่ 2 จะมีลักษณะที่สวยงามมาก สูงประมาณ 7-10 เมตร ทางลงเป็นดินค่อนข้างลื่น ชั้นที่ 4 มีความสวยงามเป็นพิเศษ น้ำตกไหลลงมาพร้อมกันที่เดียว 3 สาย สูงประมาณ 20 เมตร และกว้างประมาณ 50 เมตร น้ำตกนาจานชั้นที่ 1-4 อยู่ห่างกันไม่มากนัก ชั้นที่ 4-5 อยู่ห่างกันประมาณ 200 เมตร ชั้นที่ 5-6 ห่างกันประมาณ 100 เมตร ชั้นที่ 6-7 ห่างกันประมาณ 30 เมตร สภาพเส้นทางจะมีความลาดชันปานกลาง หากนักท่องเที่ยวประสงค์จะเที่ยวชม ควรติดต่อเจ้าหน้าที่ ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติเพื่อนำเที่ยว


น้ำตกผาคุคา หรือน้ำตกนาหิน อยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ชก.4 (น้ำกุ่ม) ประมาณ 4 กิโลเมตร ต้องเดินเท้าจากวัดชัยวราราม (วัดนาหิน) เป็นระยะทางประมาณ 1,500 เมตร เป็นน้ำตกชั้นเดียวที่ตกจากหน้าผาสูง 50 เมตร ลงมายังแอ่งน้ำ แล้วไหลลอดผ่านช่องหินมาเป็นลำธารเบื้องล่าง ลักษณะคล้ายห้องขนาดใหญ่ มีน้ำไหลตลอดปี ในช่วงฤดูฝนจะมีน้ำไหลสองสายมีความสวยงามอย่างยิ่ง สำหรับในช่วงฤดูแล้ง จะมีน้ำไหลเพียงสายเดียว แต่ก็มีความสวยงามไม่แพ้กัน สภาพป่าทั่วไปเป็นป่าเบญจพรรณ ที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์


เขาช้างล้วง มีสัณฐานคล้ายลูกช้างหมอบ เป็นดินแดนแห่งประวัติศาสตร์ที่มีตำนานเล่าขานสืบทอดกันมาว่า เป็นสถานที่ปักธงแห่งพ่อขุนบางกลางท่าวหรือพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เจ้าเมืองบางยาง ก่อนและหลังทำศึกสงครามประเพณีปักธงชัยเป็นประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญของชาวอำเภอนครไทย ที่จัดขึ้นระหว่างวันขึ้น 14-15 ค่ำ เดือน 12 จากที่ทำการหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ชก.2 (เขาช้างล้วง) ขึ้นไปประมาณ 4 กิโลเมตร จะถึงเขาฉันเพลซึ่งเป็นหินก้อนใหญ่สูงประมาณ 15 เมตร สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของอำเภอนครไทยได้โดยรอบ เมื่อเดินทางต่อไปอีกประมาณ 400 เมตร จะถึงเขายั่นไฮ มีลักษณะเป็นหน้าผาตระหง่านสูงประมาณ 15 เมตร และมีบันไดขึ้นสู่ยอดเขาเพื่อดูทิวทัศน์ของอำเภอนครไทย และเป็นสถานที่ปักธงชัยอีกแห่งหนึ่ง จากจุดนี้สามารถมองเห็นยอดเขาช้างล้วง จากนั้นเดินทางต่อ จากเขายั่นไฮไปอีกประมาณ 100 เมตร จะถึงยอดเขาช้างล้วงซึ่งสูงประมาณ 15 เมตร เป็นสถานที่ที่ชาวอำเภอนครไทย นำธงขึ้นไปปัก และเป็นเทือกเขาที่สวยงามแปลกตาเป็นอย่างมาก สภาพป่าทั่วไปเป็นป่าเต็งรัง


ผาแดง เป็นหน้าผาชัน ลักษณะเป็นหินทรายสีแดงสวยสดงดงามตามธรรมชาติ ตั้งอยู่ถัดจากน้ำตกชาติตระการ ชั้นที่ 4 ไปทางขวามือประมาณ 450 เมตร บริเวณผาแดงจะเป็นจุดชมทิวทัศน์ สามารถมองลงมาเบื้องล่างได้ซึ่งจะเห็นสภาพป่าสมบูรณ์ และภาพบ้านเรือนของอำเภอชาติตระการ การประกอบอาชีพเกษตร ปลูกข้าว ทำนา เขียวสะพรั่ง



:: ด้านประวัติศาสตร์ ::
ผากระดานเลข เป็นแหล่งที่พบหลักฐานทางโบราณคดี และประวัติศาสตร์ว่า มีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นภาพการแกะสลักของมนุษย์ยุคหินโบราณ เป็นรูปทรงเรขาคณิต โดยเทคนิคการตอกสลักผสมการฝน (Pecking and abrading technique) บนหินทรายสีเทา ซึ่งนักธรณีวิทยาสันนิษฐานว่า ตัวอักษรเหล่านี้เป็นการสื่อของมนุษย์ยุคหินโบราณ และครั้งหนึ่ง ณ พื้นที่แห่งนี้เคยมีมนุษย์ยุคหินอาศัยอยู่ เขากระดานเลขอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณ 3 กิโลเมตร


รอยตีนสัตว์ รอยตีนสัตว์อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติน้ำตก ชาติตระการประมาณ 500 เมตร จากการสำรวจและพิสูจน์ของ ผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่น รวมกับกรมทรัพยากรธรณีและจุฬา ลงกรณ์มหาวิทยาลัย เบื้องต้นแจ้งว่าเป็นรอยตีนของนกโบราณในยุคไดโนเสาร์ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการตรวจพิสูจน์ในห้องปฏิบัติการ



:: สิ่งอำนวยความสะดวก ::
ห้องสุขาชาย มีห้องสุขาชายไว้บริการ


ห้องสุขาหญิง มีห้องสุขาหญิงไว้บริการ


ที่พักแรม/บ้านพัก อุทยานฯ มีบ้านพักไว้บริการนักท่องเที่ยว


สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์ และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียด และสำรองที่พักเต็นท์ได้กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง


ที่จอดรถ มีลานจอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


บริการอาหาร อุทยานฯ มีร้านอาหารไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยว


ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.




จังหวัดพิษณุโลก :: เทศกาล งานประเพณี

งานนมัสการพระพุทธชินราช
ในวันขึ้น 6-12 ค่ำ เดือนมกราคมของทุกปี

ประเพณีการแข่งเรือยาว
การแข่งเรือยาวเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของจังหวัดพิษณุโลก ที่ได้ยึดถือมาเป็นเวลาช้านาน จนกระทั่งปัจจุบัน จังหวัดพิษณุโลกจะจัดงานแข่งเรือยาวประเพณีประมาณเดือนตุลาคมของทุกปี หลังจากนำผ้าห่มมาห่มองค์พระพุทธชินราช ในงานนี้จะมีการประกวดขบวนเรือ การแข่งขันเรือยาวประเพณี และมีการประดับขบวนเรือต่าง ๆ สวยงามน่าชม งานนี้จัดขึ้นบริเวณแม่น้ำน่าน หน้าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

ประเพณีปักธงนครไทย
เป็นประเพณีดั้งเดิมของชาวอำเภอนครไทย โดยมีความเชื่อว่า อำเภอนครไทยคือ เมืองบางยาง ในอดีตซึ่งพ่อขุนบางกลางหาวใช้เป็นที่รวบรวมไพร่พลเพื่อขับไล่ขอม ในการต่อสู้ครั้งนั้น พ่อขุนบางกลางหาวได้รับชัยชนะ จึงทรงเอาผ้าคาดเอวผูกปลายไม้ไว้บนยอดเขาช้างล้วง เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะ ชาวนครไทยจึงได้ยึดถือเป็นประเพณีปฏิบัติในวันขึ้น 14 ค่ำเดือน 12 ของทุกปี โดยจะร่วมกันทอผืนธงผ้าฝ้าย และนำไปยังเขาช้างล้วงเพื่อปักธงชัย โดยมีพระสงฆ์ร่วมเจริญชัยมงคลคาถา กิจกรรมในงานได้แก่ การประกวดแห่ธง การแข่งขันผู้พิชิตเขาช้างล้วง การประกวดธิดาปักธง

งานมหกรรมอาหารและสินค้าของที่ระลึกจังหวัดพิษณุโลก
จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนเมษายนและธันวาคมของทุกปี โดยเทศบาลนครพิษณุโลก ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือเขต 3 จัดรวบรวมร้านอาหาร และร้านจำหน่ายของที่ระลึกที่มีคุณภาพ และมีชื่อเสียง มาร่วมออกร้านในบริเวณสวนสาธารณะริมแม่น้ำน่าน มีผู้สนใจเดินทางมาร่วมชิมอาหารพื้นเมืองและซื้อหาสินค้าที่ระลึกจำนวนมาก


:: สารบัญเว็บไซท์ ::

:: ข้อมูล สถานที่ท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว จังหวัดพิษณุโลก ::

สารบัญเว็บไซท์ > ท่องเที่ยว > ข้อมูล และสถานที่ท่องเที่ยว > ภาคเหนือ > พิษณุโลก

จำนวนเว็บไซท์ในหมวดนี้ : 19 [ แนะนำเว็บไซท์ได้ที่นี่ ]


จังหวัดพิษณุโลก
แนะนำข้อมูลทั่วไป สถานที่ท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว จองโรงแรม ที่พัก รีสอร์ท โรงแรม จังหวัดพิษณุโลก แผนที่ การเดินทาง ร้านอาหาร เทศกาล งานประเพณี ของฝาก ประวัติความเป็นมา คำขวัญประจำจังหวัด
http://www.relaxzy.com/province/phitsanulok/

จังหวัดพิษณุโลก
ข้อมูลของจังหวัดพิษณุโลก คำขวัญจังหวัด สัญลักษณ์จังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัด แหล่งท่องเที่ยว การเด...
http://www.phitsanulok.go.th

จังหวัดพิษณุโลก
ข้อมูลประวัติความเป็นมาของเมืองพิษณุโลก แผนผังเมืองพิษณุโลก สถานที่ท่องเที่ยว สถานที่ราชการ สถานศ...
http://www.phitsanulok.com/

จังหวัดพิษณุโลก
แนะนำการท่องเที่ยวพิษณุโลก รวมแหล่งท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร
http://phitsanulok.has.it

พิดโลก
เว็บท่าจังหวัดพิษณุโลก แสดงข้อมูลและข่าวสารภายในจังหวัด แนะนำเว็บไซต์และเบอร์โทรศัพท์ที่สำคัญในจั...
http://www.pitlok.net

จังหวัดพิษณุโลก
ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดพิษณุโลก ประวัติความเป็นมา แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว โรงแรมที่พัก และร้านอาหาร
http://prawute.tripod.com

ศูนย์ข้อมูลจังหวัดพิษณุโลก
เสนอข้อมูลภายในจังหวัดพิษณุโลก ศูนย์กลางการเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศของทุกส่วนราชการ ในจังหวัดพิษณุ...
http://www.phitsanulok.go.th/oc/

จังหวัดพิษณุโลก
ข้อมูลท่องเที่ยวจังหวัดพิษณุโลก แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัด หน่วยงานราชการ โรงแรม ที่พัก การเ...
http://www.philoke.8m.com

พิษณุโลก ทราเวล ไกด์
เวบไซต์แนะนำนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ในจังหวัดพิษณุโลก
http://www.phitsanulok.has.it/

อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก
ข้อมูลทั่วไปของอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก มีประวัติความเป็นมา แนะนำสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภ...
http://www.geocities.com/phrom61

สวนนกไทยศึกษา
รายละเอียดต่างๆ วัตถุประสงค์ ของโครงการสวนนกไทยศึกษา ตั้งอยู่เลขที่ 26/43 ถ.วิสุทธิ์กษัตริย์ ต.ใ...
http://www.geocities.com/thaibirdgarden

ชมรมล่องแก่งและผจญภัยลำน้ำเข็ก
ดำเนินงานด้านการท่องเที่ยวแบบผจญภัยและล่องแก่งในลำน้ำเข็ก อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก
http://www.visahakit-raft.com

พิษณุโลก
ข่าวคราวความเคลื่อนไหวในพิษณุโลก รวมรวมเว็บที่เกี่ยวกับพิษณุโลก เว็บบอร์ดโรงเรียนต่าง ๆใน จ.พิษณุโลก
http://www.phitsanulok.org

พิษณุโลกดอทคอม
ข้อมูลท่องเที่ยว กิจกรรม วัฒนธรรม รายชื่อโรงแรมที่พักที่พิษณุโลกและสามารถจองห้องพักออนไลน์ได้
http://www.phitsanuloke.com

อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง
มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอวังทอง อำเภอนครไทย อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก และอำเภอเขาค้อ อำ...
http://www.dnp.go.th/parkreserve/asp/style1/default.asp?npid=20&lg=1

อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง
อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอวังทอง อำเภอนครไทย อำเภอเนินมะปราง จังหวั...
http://www.dnp.go.th/parkreserve/asp/style1/default.asp?npid=20&lg=1

อุทยานแห่งชาติน้ำตกชาติตระการ
อุทยานแห่งชาติน้ำตกชาติตระการ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอชาติตระการและอำเภอนครไทย จังหวัด...
http://www.dnp.go.th/parkreserve/asp/style1/default.asp?npid=140&lg=1

อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า
อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า มีพื้นที่ครอบคลุมรอยต่อสองจังหวัด คือ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และอำเ...
http://www.dnp.go.th/parkreserve/asp/style1/default.asp?npid=86&lg=1

อุทยานแห่งชาติแก่งเจ็ดแคว
อุทยานแห่งชาติแก่งเจ็ดแคว ครอบคลุมพื้นที่วนอุทยานแก่งเจ็ดแคว และวนอุทยานภูแดงร้อน โดยมีน้ำตกสวยงา...
http://www.dnp.go.th/parkreserve/asp/style1/default.asp?npid=187&lg=1




:: อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง ::

:: ข้อมูลทั่วไป ::
อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอวังทอง อำเภอนครไทย อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก และอำเภอเขาค้อ อำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ มีสภาพธรรมชาติ ทิวทัศน์ และลักษณะทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแหล่ง เช่น ถ้ำ น้ำตก ทุ่งหญ้าโล่งใหญ่ อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ไม้และสัตว์ป่านานาชนิด มีเนื้อที่ประมาณ 789,000.00 ไร่ หรือ 1,262.40 ตารางกิโลเมตร สำหรับชื่อของอุทยานแห่งชาติเป็นชื่อของทุ่งหญ้าขนาดใหญ่ทางด้านทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติ ซึ่งสันนิษฐานว่าตั้งขึ้นโดยอาศัยชื่อพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งในทุ่งหญ้าแห่งนี้ คือ ต้นแสลงใจ เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ผลสุกสีแสด เมล็ดให้สารสตริคนิน ซึ่งเป็นสารเบื่อเมา คาดว่าในสมัยก่อน มีต้นแสลงใจขนาดใหญ่ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก ประกอบกับสภาพภูมิประเทศเป็นเนินสูงๆ ต่ำๆ มีป่าหลายชนิด และสัตว์ป่าชุกชุม จึงตั้งชื่อว่า “ทุ่งแสลงหลวง” ให้สมกับเป็นพื้นที่ที่รวบรวมความหลากหลายของธรรมชาติไว้

ความเป็นมา: มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2502 ให้กำหนดป่าทุ่งแสลงหลวง จังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดเพชรบูรณ์ และป่าอื่นๆ ในท้องที่จังหวัดต่างๆ รวม 14 ป่า เป็นอุทยานแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2503 กรมป่าไม้จึงได้ให้เจ้าหน้าที่ไปทำการสำรวจ และหมายแนวเขตป่าทุ่งแสลงหลวง เพื่อกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติ และได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มีมติเห็นชอบให้กำหนดป่าทุ่งแสลงหลวง เนื้อที่ประมาณ 801,000 ไร่ เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าทุ่งแสลงหลวงในท้องที่ตำบลวังนกนางแอ่น ตำบลชมภู ตำบลบ้านมุง อำเภอวังทอง ตำบลหนองกระท้าว อำเภอนครไทย จังหวัดจังหวัดพิษณุโลก และตำบลท่าผล อำเภอเมือง ตำบลน้ำชุน อำเภอหล่มสัก ตำบลวังโปร่ง อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 80 ตอนที่ 11 ลงวันที่ 29 มกราคม 2506 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 3 ของประเทศ

ต่อมากองทัพภาคที่ 3 ส่วนหน้า ได้มีหนังสือที่ กห 0334/137 ลงวันที่ 7 มกราคม 2514 ขอใช้พื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง ที่หมู่บ้านเข็กน้อย อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก เพื่อจัดตั้งกองร้อยชาวเขาอาสาสมัคร กรมป่าไม้ จึงได้นำเสนออนุกรรมการอุทยานแห่งชาติในคราวประชุมครั้งที่ 1/2514 เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2514 มีมติเห็นควรให้ทำการเพิกถอนพื้นที่ดังกล่าวให้ทางราชการทหาร โดยออกประกาศพระราชกฤษฎีกา ให้เป็นพื้นที่หวงห้ามทางราชการทหารต่อไป เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ และประชาชน โดยได้มีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 357 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 เพิกถอนเขตอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวงบางส่วน และกำหนดเขตอุทยานแห่งชาติขึ้นใหม่ รวมเนื้อที่ประมาณ 789,000 ไร่ เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 89 ตอนที่ 190 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515

ต่อมาอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวงได้มีหนังสือที่ 49/2517 ลงวันที่ 17 เมษายน 2517 รายงานว่าตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 357 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 กำหนดให้บริเวณที่ดินป่าทุ่งแสลงหลวงเป็นอุทยานแห่งชาติ จากการตรวจสอบของอุทยานแห่งชาติ ปรากฏว่า การประกาศมิได้ระบุบางตำบลที่เป็นเขตอุทยานแห่งชาติไว้ด้วย กรมป่าไม้จึงได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2517 เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2517 มีมติให้ขยายบริเวณที่ดินส่วนที่มิได้ระบุในประกาศคณะปฏิวัติให้ถูกต้อง โดยมีพระราชกฤษฎีกา ให้ยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ และกำหนดบริเวณที่ดินทุ่งแสลงหลวง ในท้องที่ตำบลวังนกนางแอ่น ตำบลชมภู อำเภอหล่มสัก ตำบลท่าพล อำเภอเมือง ตำบลวังโปร่ง อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 92 ตอนที่ 101 ลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2518 รวมพื้นที่ 789,000 ไร่


:: ลักษณะภูมิประเทศ ::
พื้นที่อุทยานแห่งชาติ ตั้งอยู่ในเขตเทือกเขาเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นเทือกเขาที่วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ และเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างจังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดเพชรบูรณ์ ความสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 500 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ยอดสูงสุดคือ บริเวณเขาแค สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 1,028 เมตร เนื่องจากภูเขาบริเวณนี้เป็นภูเขาหินทราย ลักษณะของภูเขาจะเป็นภูเขายอดตัดหรือมีที่ราบบริเวณยอดเขา แต่บริเวณร่องเขาจะลึก และมีความลาดชันสูง เนื่องจากหินทรายเป็นหินที่ง่ายต่อการถูกกัดเซาะ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ของลำน้ำที่สำคัญหลายสาย เช่น ห้วยเข็กใหญ่ ห้วยเข็กน้อย ลำน้ำทุ่ม คลองชมภู คลองน้ำปอย คลองวังทอง และห้วยกอก เป็นต้น


:: ลักษณะภูมิอากาศ ::
ในระหว่างเดือนมีนาคม-มิถุนายน เป็นช่วงที่อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 29 องศาเซลเซียส ฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม มีปริมาณน้ำฝนอยู่ในช่วง 1,300-1,700 มิลลิเมตรต่อปี โดยมีปริมาณมากที่สุดในเดือนกันยายน และในฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ โดยทั่วไปอากาศจะหนาวเย็นมากเหมาะแก่การไปท่องเที่ยว


:: พรรณไม้และสัตว์ป่า ::
สภาพป่าในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวงประกอบด้วย
1. ป่าดิบเขา พบขึ้นอยู่ในที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไปชนิดไม้สำคัญที่พบเป็นไม้เด่นได้แก่ หว้าหิน ก่อหิน ก่อเดือย ก่อตาหมู หว้าดง ทะโล้ ตำแยต้น กระดูกไก่ สนสองใบ ฯลฯ พืชพื้นล่างเป็นพวกมอส เฟิน เถาวัลย์ หวาย และว่านชนิดต่างๆ

2. ป่าดิบชื้น พบในระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 800 เมตรขึ้นไป และตามร่องน้ำ หรือที่ลาดเขาที่มีความชุ่มชื้นสูง ชนิดไม้สำคัญที่พบได้แก่ ก่อตลับ ตาเสือ มะไฟ ดำดง ชะมวง มะกอก ยมหอม ยางโดน กระเบากลัก จำปาป่า ตะเคียนหิน อบเชย พญาไม้ ฯลฯ พืชพื้นล่างและพืชอิงอาศัยได้แก่ ข้าหลวงหลังลาย ชายผ้าสีดา มะพร้าวนกคุ่ม ม้ากระทืบโรง หวาย เฟิน และพืชในตระกูลขิงข่า เป็นต้น

3. ป่าดิบแล้ง พบกระจายอยู่ทั่วไปตั้งแต่ระดับความสูงจากน้ำทะเล 500 เมตรขึ้นไป ชนิดไม้สำคัญที่พบได้แก่ ยอป่า เต็งตานี มะหาด ยางโดน ยางนา แคทราย กระบาก มะกล่ำต้น ขี้อ้าย ก่อข้าว กฤษณา ฯลฯ

4. ป่าสนเขา ขึ้นอยู่ในที่สูง 700 - 900 เมตรจากระดับน้ำทะเล ลักษณะเป็นป่าโปร่งสลับทุ่งหญ้า มีสนสองใบ เหียง เหมือดแอ เหมือดคน ส้านใหญ่ ชะมวง ตับเต่าต้น ฯลฯ ขึ้นอยู่ พืชพื้นล่างเป็นหญ้าขน หญ้าคมบาง หญ้าคา พง บุก กระเจียว และเฟิน เป็นต้น

5. ป่าเบญจพรรณ พบขึ้นอยู่ในระดับความสูง 400-700 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ประดู่ แดง ตะแบกเปลือกบาง กระบาก ซ้อ ปอสำโรง เก็ดดำ ตีนนก แต้ว พลับพลา ชิงชัน พะยูง โมกมัน ฯลฯ พืชพื้นล่างเป็นพวกไผ่ชนิดต่างๆ กลอย กระทือ ว่านมหากาฬ โด่ไม่รู้ล้ม เป็นต้น

6. ป่าเต็งรัง พบขึ้นอยู่ในระดับความสูงประมาณ 400 เมตร ชนิดไม้สำคัญที่พบได้แก่ รัง เหียง กราด พลวง เต็ง มะม่วงป่า ตับเต่าต้น ส้านใหญ่ มะเกิ้ม งิ้วป่า มะขามป้อม ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ หญ้าเพ็ก หญ้าคา หญ้าขน บุก กวาวเครือ กระเจียว ไพล เป็นต้น

7. ทุ่งหญ้า เป็นพื้นที่โล่งกว้างใหญ่ ประกอบด้วยหญ้าชนิดต่างๆ มีไม้ใหญ่ขึ้นอยู่ในสภาพแคระแกร็นประกอบด้วย เหมือดคน ส้านใหญ่ เหียง มะขามป้อม พืชพื้นล่างเป็นพวกหญ้าขน หญ้าคมบาง หญ้าคา พง กระเจียว กลอย บุก ก้ามกุ้ง ก้ามปู ว่านมหากาฬ ข่าป่า อบเชยเถา คราม และเป้ง เป็นต้น

สัตว์ป่าที่พบในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง แตกต่างกันตามสภาพพื้นที่ประกอบด้วยสัตว์นานาชนิด ได้แก่ ช้างป่า กระทิง ลิงกัง ค่างแว่นถิ่นเหนือ กวางป่า หมูป่า กระต่ายป่ากระแตธรรมดา กระรอกหลากสี กระเล็น หนูท้องขาว ค้างคาวขอบหูขาวกลาง นกเขาเปล้าธรรมดา นกแอ่นตาล นกตะขาบทุ่ง นกนางแอ่นบ้าน นกปรอดเหลืองหัวจุก นกจับแมลงหัวเทา เต่าหับ ตะพาบน้ำ ตะกวด ตุ๊กแกบ้าน กิ้งก่าบ้าน จิ้งเหลนหลากหลาย งูลายสอธรรมดา งูทางมะพร้าวธรรมดา งูเขียวหัวจิ้งจก อึ่งกรายลายเลอะ เขียดอ่อง กบหนอง ปาดแคระธรรมดา เป็นต้น ในบริเวณแหล่งน้ำพบปลาที่อาศัยอยู่หลายชนิด เช่น ปลาซิว ปลาพุง ปลาขาว ปลาเขียว ปลามุด ปลาติดหิน ปลารากกล้วย และปลากั้ง เป็นต้น


:: ที่ตั้งและการเดินทาง ::
อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง
ตู้ ปณ. 64 อ. เมืองพิษณุโลก จ. พิษณุโลก 65000
โทรศัพท์ : 0 5526 8019 โทรสาร : 0 5526 8019

รถยนต์
การเดินทางเข้าสู่อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง สามารถเข้าได้หลายทาง ทางที่สะดวกที่สุดคือ จากจังหวัดพิษณุโลกใช้เส้นทางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข12 สายพิษณุโลก - หล่มสัก ระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง


รถโดยสารประจำทาง
เริ่มต้น บขส.พิษณุโลก โดยนั่งรถพิษณุโลก - หล่มสัก - เพชรบูรณ์ ถึงหลักกิโลเมตรที่ 80 ถึงที่ทำการอุทยานฯ แต่ถ้าเดินทางไปทุ่งแสลงหลวงต้องนั่งรถไปลงที่สามแยกตำบลแคมป์สน โดยต่อรถหรือเหมารถสองแถวไปยังหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งฃาติที่ สล.8 ( หนองแม่นา )


:: แหล่งท่องเที่ยว :: ด้านธรรมชาติที่สวยงาม ::
น้ำตกแก่งโสภา เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่เกิดจากลำห้วยเข็กใหญ่ไหลผ่านหน้าผาขนาดใหญ่ลดหลั่นกันประมาณ 3 ชั้น และไหลผ่านไปตามแก่งหินอีกหลายแก่ง ตั้งอยู่ระหว่างกิโลเมตรที่ 71-72 ของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (พิษณุโลก-หล่มสัก) ซึ่งจะมีทางแยกเข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร


ทุ่งแสลงหลวง เป็นทุ่งหญ้าแบบสะวันนา อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 60 กิโลเมตร ตั้งอยู่บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ สล.8 (หนองแม่นา) สภาพพื้นที่เป็นทุ่งหญ้าโล่งใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 10 ตารางกิโลเมตร ตามเส้นทางจะตัดผ่านป่าเบญจพรรณจะพบสัตว์ป่าออกมาหากินตามข้างทางเป็นประจำ และพันธุ์ไม้ดอกมากมาย การเดินทางจากอำเภอหล่มสัก ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ไปทางจังหวัดพิษณุโลก เมื่อถึงทางแยกแค็มป์สน ให้เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2196 ไปอำเภอเขาค้อ เมื่อถึงสี่แยกให้เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2258 ตรงไปจนถึงบ้านทานตะวัน แล้วเลี้ยวขวาเข้าสู่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ


ทุ่งนางพญา เป็นทุ่งหญ้าที่แวดล้อมด้วยป่าสนสองใบสลับกับป่าดิบแล้งและป่าเต็งรัง เหมาะสำหรับการกางเต็นท์พักแรมมาก โดยเฉพาะในช่วงปลายฝนต้นหนาว จะมีสายหมอกลอยอ้อยอิ่งปกคลุมไปทั่วบริเวณ อยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ สล.8 (หนองแม่นา) ประมาณ 14 กิโลเมตร ปัจจุบันเป็นที่นิยมสำหรับกิจกรรมปั่นจักรยานเสือภูเขา


ทุ่งโนนสน เป็นทุ่งหญ้าสลับกับป่าสนเขาที่สวยงามมาก โดยเฉพาะในช่วงปลายฝนต้นหนาว ตามบริเวณลานหินจะเต็มไปด้วยดอกไม้เล็กๆ เช่น ดุสิตา สร้อยสุวรรณา กระดุมเงิน ฯลฯ รวมทั้งกล้วยไม้ดินนานาชนิด เช่น เอื้องม้าวิ่ง ยี่โถปีนัง ฯลฯ จึงนับเป็นทุ่งดอกไม้ที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่ง นอกจากนี้ยังสามารถพบรอยเท้าสัตว์ป่าพวกเก้ง กวางป่า ได้ไม่ยาก การเดินทาง สามารถเดินทางโดยรถยนต์จากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ สล.8 (หนองแม่นา) มาประมาณ 17 กิโลเมตร แล้วเดินเท้าเข้าไปอีก 15 กิโลเมตร จึงจะถึง ปัจจุบันเป็นที่นิยมสำหรับกิจกรรมปั่นจักรยานเสือภูเขาเช่นกัน


แก่งวังน้ำเย็น เป็นแก่งหินขนาดใหญ่กว้าง 40-50 เมตร ยาวหลายร้อยเมตร ประกอบด้วยแก่งหินขนาดใหญ่หลายแก่ง โดยในระหว่างแก่งแต่ละแก่งเป็นวังน้ำลึกขนาดใหญ่ อยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ สล.8 (หนองแม่นา) ไปตามทางที่จะไปทุ่งโนนสนประมาณ 7 กิโลเมตร แล้วมีทางแยกเข้าไปอีก 500 เมตร ระหว่างทางเป็นป่าเต็งรัง ป่าสนเขา และป่าเบญจพรรณ มีโอกาสพบนกมากมายหลายชนิด เช่น นกหัวขวานใหญ่สีเทา นกโกโรโกโส ฯลฯ บริเวณแก่งวังน้ำเย็นยังมีผีเสื้อให้ชม เช่น ผีเสื้อถุงทองป่าสูง ผีเสื้อหนอนคืบสไบแดง เป็นต้น


น้ำตกซอนโสม เป็นน้ำตกขนาดเล็กสูงประมาณ 10 เมตร 2 ชั้น ซึ่งแต่ละชั้นห่างกันประมาณ 200 เมตร อยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ สล.8 (หนองแม่นา) ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 10 กิโลเมตร การเดินทางสามารถไปได้ทั้งรถยนต์และเดินเท้าอีกประมาณ 2 กิโลเมตร ระหว่างทางสามารถพบเห็นดอกไม้ต่างๆ


ถ้ำเดือน-ถ้ำดาว ลักษณะถ้ำ มีโถงถ้ำสูงใหญ่ มีหินงอกหินย้อยและลำธารไหลผ่านในถ้ำ ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอเนินมะปรางประมาณ 8 กิโลเมตร


ถ้ำพระวังแดง เป็นถ้ำขนาดใหญ่และมีความยาวถึง 13 กิโลเมตร มีทางเข้าถ้ำอยู่ตรงกลางถ้ำ ทางด้านท้ายถ้ำยาวประมาณ 2.5 กิโลเมตร เป็นที่อาศัยของค้างคาวจำนวนมาก สำหรับทางด้านหน้าถ้ำมีทางเล็กๆ ลงไปพบกับโถงถ้ำใหญ่ และมีลำห้วยอยู่ด้านล่าง ถ้ำมีความคดเคี้ยวมาก มีหินงอกหินย้อยสวยงาม และมีอากาศหายใจสะดวกตลอดถ้ำ


ถ้ำค้างคาว อยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ สล.1 (สะพานสลิง) ไปทางทิศใต้ระยะทางทางบกประมาณ 5 กิโลเมตร ทางน้ำประมาณ 4 กิโลเมตร (ต้องใช้เรือ) ระหว่างเส้นทางจะพบนกและปลานานาชนิด ตลอดทางมีแก่งหินที่สามารถนั่งพักผ่อนได้


เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ระยะทาง 2.5 กิโลเมตร เส้นทางนี้จะได้ชมพื้นที่นาและบ้านพักอาศัยของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ซึ่งเคยตั้งกองกำลังในพื้นที่มาก่อน รวมทั้งชมความหลากหลายของพันธุ์ไม้ เช่น สน ค้อ เสม็ดแดงใบมน ฯลฯ และนก เช่น นกกระทาทุ่ง นกกะรางหัวขวาน นกแซงแซวสีเทา เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเส้นทางเดินป่าจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ สล.12 (รักไทย) ผ่านฐานแตก (ฐานปฏิบัติการของทหารที่มีการสู้รบกับ ผกค.) และเดินเท้าต่อไปยังทุ่งโนนสนอีกประมาณ 8 กิโลเมตร และยังมีน้ำตกคนเมินซึ่งเป็นน้ำตกเล็กๆ ที่ซุกซ่อนอยู่กลางป่าดงดิบ



:: สิ่งอำนวยความสะดวก ::
ห้องสุขาชาย มีห้องสุขาชายให้บริการ


ห้องสุขาหญิง มีห้องสุขาหญิงให้บริการ


ที่พักแรม/บ้านพัก มีบ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว จำนวน 15 หลัง แบ่งโซนที่พักเป็น 3 โซน คือ
- บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 7 หลัง
- บริเวณหนองแม่นา 8 หลัง
- บริเวณลำน้ำเข็ก 2 หลัง


สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์ และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียด และสำรองที่พักเต็นท์ได้ กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง


ค่ายเยาวชน มีห้องสุขาหญิงให้บริการ


ที่จอดรถ มีลานจอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


บริการอาหาร มีร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยว


ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.



:: อุทยานแห่งชาติแก่งเจ็ดแคว ::

:: ข้อมูลทั่วไป ::
อุทยานแห่งชาติแก่งเจ็ดแคว ครอบคลุมพื้นที่วนอุทยานแก่งเจ็ดแคว และวนอุทยานภูแดงร้อน โดยมีน้ำตกสวยงามที่เกิดขึ้นตามลำน้ำแควน้อย เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ มีพื้นที่ประมาณ 163,125 ไร่ หรือ 261 ตารางกิโลเมตร ในท้องที่อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอชาติตระการ อำเภอนครไทย และอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ความเป็นมา: เนื่องจากปัจจุบันพื้นที่บริเวณป่าต่างๆ กำลังถูกบุกรุกทำลายและยึดถือครอบครองเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดการขาดความสมดุลทางธรรมชาติเป็นผลให้เกิดภัยแล้งฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล เพื่อเป็นการขจัดปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าและยึดถือครอบครองแผ้วถางพื้นที่ป่าที่ยังอุดมสมบูรณ์ให้หมดไป และเป็นนโยบายของรัฐบาลที่จะรักษาพื้นที่ป่าอนุรักษ์ให้เพิ่มมากขึ้น กรมป่าไม้ได้รับรายงานจากสำนักงานป่าไม้เขตพิษณุโลกว่า พื้นที่วนอุทยานแก่งเจ็ดแควและพื้นที่วนอุทยานภูแดงร้อนเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม และป่าบริเวณข้างเคียงยังมีสภาพสมบูรณ์มีความเหมาะสมที่จะกำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติ

กรมป่าไม้จึงมีคำสั่งที่ 911/2537 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2537 ให้ นายจงคล้าย วรพงศธร นักวิชาการป่าไม้ 4 ไปสำรวจเพิ่มเติมและจัดตั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าสองฝั่งลำน้ำแควน้อยและป่าสวนเมี่ยง จังหวัดพิษณุโลก และพื้นที่ป่าบริเวณใกล้เคียงเป็นอุทยานแห่งชาติโดยได้รับรายงานว่า พื้นที่ที่มีความเหมาะสม ที่จะกำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติครอบคลุมพื้นที่วนอุทยานแก่งเจ็ดแคว ป่าสงวนแห่งชาติป่าสองฝั่งลำน้ำแควน้อย (กฎกระทรวงฉบับที่ 704 พ.ศ. 2517) ในท้องที่ตำบลบ้านยาง ตำบลคันโช้ง อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก ป่าสงวนแห่งชาติป่าสวนเมี่ยง (กฎกระทรวง ฉบับที่ 1,158 พ.ศ. 2529) ท้องที่ตำบลสวนเมี่ยง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขากระยาง (กฎกระทรวง ฉบับที่ 977 พ.ศ. 2525) ในท้องที่ตำบลหนองกระยาง ตำบลบ้านแยง อำเภอนครไทย ตำบลบ้านกลาง ตำบลแก่งโสภา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก พื้นที่ประมาณ 163,125 ไร่ หรือ 261 ตารางกิโลเมตร โดยไม่มีปัญหาการบุกรุกพื้นที่ เนื่องจากได้กันเขตหมู่บ้านและที่ทำกินของราษฎรรวมทั้งพื้นที่ สทก. สปก. ออกจากเขตที่จะ กำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติแล้ว มีอาณาเขตทิศเหนือจดกับเขาอุโมง ทิศใต้จดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ทิศตะวันออกจดกับบ้านโป่งปะ ทิศตะวันตกจดกับบ้านหนองกะบาก


:: ลักษณะภูมิประเทศ ::
ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเทือกเขายาวสลับซับซ้อน มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์


:: พรรณไม้และสัตว์ป่า ::
สภาพป่าโดยทั่วไปประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง หนาแน่นด้วยพรรณไม้ที่สำคัญและมีค่าทางเศรษฐกิจนานาชนิด เช่น สัก มะค่าโมง แดง ประดู่ ตะเคียน ยาง ฯลฯ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าชนิดต่าง ๆ เช่น เก้ง หมูป่า ลิง ค่าง อีเห็น เม่น กระต่าย นกมากมายหลายชนิด งูชนิดต่าง ๆ ตะกวด โดยเฉพาะสัตว์น้ำจำพวกปลามีมากหลายชนิด


:: ที่ตั้งและการเดินทาง ::
อุทยานแห่งชาติแก่งเจ็ดแคว
ต.แก่งโสภา อ. วังทอง จ. พิษณุโลก 65220

รถยนต์
การเดินทางไปยังพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งเจ็ดแควสามารถเข้าได้หลายทาง โดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (พิษณุโลก-อุตรดิตถ์) แยกเข้าบ้านนาขามที่อำเภอวัดโบสถ์ ระยะทางประมาณ 51 กิโลเมตร ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (พิษณุโลก-หล่มสัก) แยกเข้าบ้านทรัพย์ไพรวัลย์ ระยะทาง 95 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 450 กิโลเมตร


:: แหล่งท่องเที่ยว :: ด้านธรรมชาติที่สวยงาม ::
แก่งเจ็ดแคว
เป็นแนวหินอยู่ในลำน้ำแควน้อย มีสันดอนเป็นพื้นที่ป่าอยู่ตรงกลางลำน้ำ ทำให้ลำน้ำแควน้อยแยกออกเป็น 7 สาย ฤดูน้ำหลากที่กระแสน้ำไหลแรงจะมีเสียงน้ำ กระทบโขดหินดังกึกก้อง ฤดูแล้งน้ำน้อยแต่ใสจะมองเห็นแนวหินโขดหิน




แก่งลานกลอย
เป็นแนวพื้นหินกว้างกวางลำน้ำแควน้อย




แก่งคันนาน้อย
มีลักษณะเป็นหินสูงอยู่กลางลำน้ำแควน้อย อยู่ห่างจากแก่งเตาเหล็กประมาณ 1.5 กิโลเมตร




แก่งบัวคำ
เป็นแก่งที่สวยอีกแห่งหนี่งอยู่ระหว่างป่าเขากระยางกับป่าสวนเมี่ยง บ้านแก่งบัวคำ




ทางเดินศึกษาธรรมชาติแก่งเจ็ดแคว
ระยะทางประมาณ 800 เมตร มีสถานีสื่อความหมายธรรมชาติสำหรับศึกษาหาความรู้ได้ตลอดเส้นทาง จำนวน 7 แห่ง ใช้เวลาเดินศึกษาประมาณครึ่งชั่วโมง




จุดชมทิวทัศน์บ้านหนองหิน
ซึ่งจะเห็นสภาพป่าของอุทยานแห่งชาติแก่งเจ็ดแคว




น้ำตก 9 ชั้น
ในป่าเขากระยาง ซึ่งสวยงามมากในฤดูฝนอยู่บริเวณบ้านห้วยพลู ตำบลแก่งโสภา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก




น้ำตก 5 ชั้น
อยู่ห่างจากน้ำตก 9 ชั้น ประมาณ 500 เมตร สามารถทำเป็นเส้นทางเดินเท้าศึกษา ธรรมชาติได้อีกแห่ง




แก่งเตาเหล็ก
เป็นลานหินกว้างอยู่กลางลำน้ำแควน้อย มีความสวยงามแตกต่างจากแก่งเจ็ดแคว โดยอยู่ห่างออกไปประมาณ 3 กิโลเมตร




แก่งโจน
เป็นลานหินอยู่กลางลำน้ำแควน้อย มีความสูงต่างระดับประมาณ 5 เมตร มีปลาที่ชอบอาศัยอยู่ในบริเวณที่น้ำไหลแรงเป็นจำนวนมาก เช่น ปลาดัก ปลาเสาหิน ปลาลูกผึ้ง ฯลฯ สามารถมองเห็นปลาเหล่านี้กระโดดขึ้นจากน้ำเพื่อไปวางไข่บนพื้นน้ำซึ่งอยู่เหนือน้ำขึ้นไป อยู่ห่างจากแก่งคันนาน้อยประมาณ 500 เมตร



:: สิ่งอำนวยความสะดวก ::
สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ อุทยานแห่งชาติ ยังไม่ที่พัก-บริการไว้บริการนักท่องเที่ยว มีแต่สถานที่กางเต็นท์ให้บริการนักท่องเที่ยว เนื่องจากเป็นอุทยานแห่งชาติจัดตั้งใหม่ หากสนใจที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติ ท่านต้องจัดเตรียมเต็นท์และอาหารไปเอง รายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่กางเต็นท์ขอให้ติดต่อสอบถามกับอุทยานแห่งชาติโดยตรง

0 ความคิดเห็น: