วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่

:: จังหวัดเชียงใหม่ ::

" ดอยสุเทพเป็นศรี ประเพณีเป็นสง่า บุปผาชาติล้วนงามตา นามล้ำค่านครพิงค์ "


จังหวัดเชียงใหม่ :: ข้อมูลทั่วไป

เชียงใหม่ นพบุรี ศรีนครพิงค์ หรือเวียงพิงค์ ของพ่อ ขุนเม็งรายมหาราชในอดีต หรือเชียงใหม่ในวันนี้เป็นเมืองที่ รวบรวมศิลปกรรม โบราณวัตถุ ตลอดจนวัฒนธรรมดั้งเดิม ของลานนาไทยเอาไว้ ส่วนสภาพทางภูมิศาสตร์นั้น พื้นที่ จังหวัดเชียงใหม่ส่วนใหญ่เป็นป่าละเมาะและภูเขา เนื้อที่ ประมาณ 20,107 ตารางกิโลเมตร มีที่ราบอยู่ตอนกลาง ตามสองฟากฝั่งแม่น้ำปิง

เชียงใหม่ มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน ในตำนานแรกๆ ที่กล่าวถึงเชียงใหม่ อย่างตำนานว่าด้วยพระธาตุในล้านนา กล่าวถึง ลัวะ ว่าเป็นชนพื้นเมืองมาก่อน ตำนานมูลศาสนา ชินกาลมาลีปกรณ์และจามเทวีวงศ์ กล่าวเปรียบเทียบลัวะ ว่าเป็นคนเกิด ในรอยเท้าสัตว์ ด้วยเหตุที่ ลัวะ ถือเอารูปสัตว์เป็นสัญลักษณ์ ตำนานรุ่นหลังอย่างตำนานสุวรรณคำแดง หรือ ตำนานเสาอินทขิล เล่าว่า ลัวะ เป็นผู้สร้าง เวียงเจ็ดลิน เวียงสวนดอก และเวียงนพบุรี หรือ เชียงใหม่ ลัวะ จึงน่าจะเป็นชนกลุ่มแรก ที่สร้างเมือง แต่ก่อนหน้านี้ ก็คงมีมนุษย์อาศัยอยู่ที่นี่ก่อนแล้ว แต่ยังไม่เป็นเมืองเต็มรูปแบบ

ในขณะเดียวกัน ที่ลำพูน ก็มีเมืองชื่อหริภุญไชย ตามตำนานการสร้างเมืองเล่าว่า พระนางจามเทวีวงศ์ ธิดากษัตริย์เมืองละโว้ เสด็จขึ้นมาครองหริภุญไชยใน พ.ศ.1310-1311 ครั้งนั้น พระนางได้พาบริวาร ข้าราชบริพาร ที่เชี่ยวชาญ ในศิลปวิทยาการต่างๆ ขึ้นมาด้วย หริภุญไชยจึงได้รับเอาพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรม ละโว้ มาใช้ในการพัฒนาจนเจริญขึ้นเป็นแคว้นใหญ่ จวบจนประมาณปี พ.ศ.1839 พญามังราย ผู้สืบเชื้อสายมาจากปู่เจ้าลาวจก หรือ ลวจักราช เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์ลาว ครองเมืองเงินยาง ซึ่งได้แผ่อำนาจครอบคลุมลุ่มแม่น้ำกก และได้สร้างเวียงเชียงราย ขึ้นเป็นกองบัญชาการ ซ่องสุมไพร่พล เพื่อยึดครองหริภุญไชย เนื่องจากหริภุญไชย เป็นเมืองศูนย์กลางความเจริญ และเป็นชุมทางการค้า

พญามังรายได้เข้ายึดครองหริภุญไชย แล้วประทับอยู่เพียง 2 ปี ก็ทรงย้ายไปสร้างเวียงกุมกาม ใน พ.ศ.1837 ก่อนจะย้ายมาสร้าง เวียงเชียงใหม่ ใน พ.ศ.1839 โดยได้ร่วมกับพระสหายคือ พญางำเมือง และพ่อขุนรามคำแหง สถาปนา "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" ขึ้น

พญามังรายได้พัฒนาเมืองเชียงใหม่ ทั้งการก่อสร้างวัดวาอาราม มีการตรากฏหมายที่เรียกว่า "มังรายศาสตร์" รวมถึง รับเอาพุทธศาสนานิกายลังกาวงศ์ เข้ามาเผยแผ่ ในอาณาจักร ซึ่งทำให้พระภิกษุ ในล้านนา สนใจศึกษาพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก สมัยพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์องค์ที่ 9 อาณาจักรล้านนา ได้ขยายออกไปอีกอย่างกว้างขวาง พร้อมกับได้ผูกสัมพันธไมตรี กับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แห่งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งในสมัยของพระเจ้าติโลกราชนี้เอง ที่ได้มีการสังคายนาพระไตรปิฎก ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย

อาณาจักรล้านนาเริ่มเสื่อมลงไปปลายสมัยพญาเมืองแก้ว เนื่องจากทำสงครามกับเชียงตุง พ่ายแพ้เสียชีวิตไพร่พลเป็นอันมาก ประกอบกับเกิดอุทกภัย กระทบถึงความมั่นคงของอาณาจักร เมืองในการปกครองเริ่มตีตัวออกห่าง พ.ศ.2101 ในสมัยมหาเทวีจิรประภา กษัตริย์องค์ที่ 15 พม่าได้ยกกองทัพมาตีเชียงใหม่ เพียง 3 วันก็เสียเมือง และกลายเป็นเมืองขึ้นของพม่ายาวนานถึง 216 ปี

ต่อมาในปี พ.ศ.2317 พญาจ่าบ้านและพระเจ้ากาวิละ ได้ร่วมกันต่อต้านพม่า และอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี ยกทัพมาขับไล่พม่าพ่ายแพ้ไป ต่อมาในสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงแต่งตั้งพระเจ้ากาวิละ ขึ้นครองเมือง ในฐานะเมืองประเทศราช พระเจ้ากาวิละ ได้ฟื้นฟูเชียงใหม่จนมีอาณาเขตกว้างขวาง การค้าขายรุ่งเรือง ขณะเดียวกันก็ได้จัดส่งบรรณาการ ส่วยสิ่งของและอื่นๆ ให้แก่กรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งยังมีอำนาจในการแต่งตั้งตำแหน่งเจ้าเมืองและขุนนางระดับสูง

ล่วงมาถึงสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่ออิทธิพลตะวันตกแผ่เข้ามาในเมืองไทย มีการปฏิรูปการปกครอง โดยผนวกดินแดนล้านนาเข้ามาเป็นมณฑลพายัพ แต่ก็ยังเป็นเมืองประเทศราชในอาณัติราชอาณาจักรสยาม ตรงกับรัชสมัยของเจ้าอินทวิชยานนท์ และรัชกาลที่ 5 ได้ทรงขอเจ้าดารารัศมี ธิดาของเจ้าอินทวิชยานนท์ไปเป็นชายา ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองอาณาจักรใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น

เมื่อมีการสร้างทางรถไฟขึ้นในเวลาต่อมา ส่งผลให้เมืองเชียงใหม่ ขยายตัวยิ่งขึ้น และใกล้ชิดกรุงเทพฯ มากขึ้น ในปี พ.ศ.2475 เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มณฑลเทศาภิบาลถูกยกเลิก เชียงใหม่มีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่ง หลังจากนั้นเชียงใหม่พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จนมีความสำคัญรองจากกรุงเทพฯ เท่านั้น

อาณาเขต :
ทิศเหนือ ติดกับรัฐเชียงตุงของประเทศพม่า
ทิศใต้ ติดกับจังหวัดลำพูน และ จังหวัดตาก
ทิศตะวันออก ติดกับ จังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงราย และ จังหวัดลำพูน
ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน

จังหวัดเชียงใหม่ แบ่งการปกครองออกเป็น 22 อำเภอและ 2 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอหางดง อำเภอแม่แตง อำเภอสารภี อำเภอสันกำแพง อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอเชียงดาว อำเภอสันทราย อำเภอฝาง อำเภอฮอด อำเภออมก๋อย อำเภอพร้าว อำเภอแม่ริม อำเภอสะเมิง อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอสันป่าตอง อำเภอแม่อาย อำเภอดอยเต่า อำเภอเวียงแหง อำเภอไชยปราการ อำเภอแม่วาง กิ่งอำเภอแม่ออน และกิ่งอำเภอดอยหล่อ

ระยะทางจากตัวเมืองไปยังอำเภอและกิ่งอำเภอต่างๆ
อำเภอแม่ริม 8 กิโลเมตร
อำเภอสารภี 10 กิโลเมตร
อำเภอสันทราย 12 กิโลเมตร
อำเภอสันกำแพง 13 กิโลเมตร
อำเภอหางดง 15 กิโลเมตร
อำเภอดอยสะเก็ด 18 กิโลเมตร
อำเภอสันป่าตอง 22 กิโลเมตร
กิ่งอำเภอแม่ออน 29 กิโลเมตร อำเภอแม่วาง 35 กิโลเมตร
อำเภอแม่แตง 40 กิโลเมตร
อำเภอสะเมิง 54 กิโลเมตร
อำเภอจอมทอง 58 กิโลเมตร
อำเภอเชียงดาว 68 กิโลเมตร
อำเภอฮอด 88 กิโลเมตร
อำเภอพร้าว 103 กิโลเมตร
อำเภอดอยเต่า 121 กิโลเมตร
อำเภอไชยปราการ 131 กิโลเมตร
อำเภอเวียงแหง 150 กิโลเมตร
อำเภอฝาง 154 กิโลเมตร
อำเภอแม่แจ่ม 156 กิโลเมตร
อำเภอแม่อาย 174 กิโลเมตร
อำเภออมก๋อย 179 กิโลเมตร





หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ (รหัสทางไกล 053)
งานข่าวสารการท่องเที่ยว ททท.
02-694-1222 ต่อ 8 , 02-282-9773

ททท.ภาคเหนือ เขต 1 (เชียงใหม่)
053-248-604 , 053-248-607

ประชาสัมพันธ์จังหวัด
053-219-092 , 053-219-291

สำนักงานท่องเที่ยวเทศบาลนครเชียงใหม่
053-252-557 , 053-233-178

ตำรวจท่องเที่ยว จ.เชียงใหม่
053-278-798 , 053-248-974 , 053-242-966 , 053-248-130

ตำรวจทางหลวง
053-242-441

สภ.อ.เมืองเชียงใหม่
053-814-313-4

สภ.อ.จอมทอง
053-341-193-4

สภ.อ.ช้างเผือก
053-218-443

สภ.อ.เชียงดาว
053-455-081-3

สภ.อ.ดอยสะเก็ด
053-495-491-3

สภ.อ.ดอยเต่า
053-469-019

สภ.อ.ฝาง
053-451-148

สภ.อ.พร้าว
053-475-312

สภ.อ.ภูพิงค์ราชนิเวศน์
053-211-750

สภ.อ.แม่แจ่ม
053-485-110

สภ.อ.แม่แตง
053-471-317

สภ.อ.แม่ปิง
053-272-212

สภ.อ.แม่ริม
053-297-040

สภ.กิ่ง อ.แม่วาง
053-928-028

สภ.กิ่ง อ.แม่ออน
053-859-452

สภ.อ.แม่อาย
053-459-033

สภ.อ.เวียงแหง
053-477-066

สภ.อ.สะเมิง
053-487-090

สภ.อ.สันกำแพง
053-332-452 , 053-331-191

สภ.อ.สันทราย
053-491-949

สภ.อ.สันป่าตอง
053-311-122-3

สภ.อ.สารภี
053-322-997

สภ.อ.หางดง
053-441-801-3

สภ.อ.อมก๋อย
053-467-003

สภ.อ.ฮอด
053-461-101

รพ.จินดา
053-244-140 , 053-243-673

รพ.ช้างเผือก
053-220-022

รพ.เชียงใหม่ เซ็นทรัล เมมโมเรียล
053-277-090-3

รพ.เชียงใหม่ราม
053-852-590-6

รพ.เซนต์ปีเตอร์ อาย
053-225-011-5

รพ.ดารารัศมี
053-297-207

รพ.ประชาเวศ เชียงใหม่
053-801-999

รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ (สวนดอก)
053-221-122

รพ.แมคคอร์มิค
053-262-200-19

รพ.ลานนา
053-357-234-53

รพ.รวมแพทย์
053-273-576-7

รพ.นครพิงค์
053-890-755-64

รพ.ดอยสะเก็ด
053-495-505

รพ.แม่อาย
053-459-036

รพ.สะเมิง
053-487-124-5

รพ.ฮอด
053-831-443

รพ.แม่แจ่ม
053-485-073

รพ.ดอยเต่า
053-833-098


จังหวัดเชียงใหม่ :: กิจกรรมท่องเที่ยวน่าสนใจ

• ขี่ช้าง

• สายเชียงใหม่-ฝาง (ทางหลวง 107) ท่าแพแม่ตะมาน จากเชียงใหม่มาตามทางหลวง 107ประมาณ 43 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้ามาประมาณ 7 กิโลเมตร โทร. 0 5329 7060 ปางช้างแม่แตง เข้าทางเดียวกับท่าแพ แม่ตะมานจากปากทางเข้ามา 9 กิโลเมตร ตรงข้ามวัดแม่ตะมาน โทร. 0 5384 4818, 0 5327 2855, 0 5327 1680 และ ศูนย์ฝึกช้างเชียงดาว ประมาณกิโลเมตรที่ 56 หากมาจากเชียงใหม่จะอยู่ทางขวามือ เป็นศูนย์ที่รับฝึกลูกช้าง เพื่อใช้งานชักลากไม้จริง แต่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมด้วยโดยคิดค่าข้าชมผู้ใหญ่ 60 บาท เด็ก 30 บาท ชมได้ วันละ 2 รอบ คือ 09.00 น. และ 10.00 น. ทุกวัน รายละเอียดติดต่อ โทร. 0 5329 8553, 0 5386 2037

• สายแม่ริม-สะเมิง ที่ปางช้างแม่สา กิโลเมตรที่ 10 ค่าเข้าชมคนละ 80 บาท โทร. 0 5320 6247-8 www.elephantcamps.com E-mail: maesaele@loxinfo.co.th และที่ปางช้างโป่งแยง เข้าทางเดียวกับไร่กังสดาล (กิโลเมตรที่ 18.5)

• สายสันป่าตอง-แม่วาง ทางหลวงหมายเลข 108 (เชียงใหม่-ฮอด) ไปประมาณ 23 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาตามทางหลวงหมายเลข 1013 (สันป่าตอง-บ่อแก้ว) ไปอีก กม.ที่ 22 สังเกตหน่วยป่าไม้แม่วิน มีบริการล่องแพและนั่งช้างเที่ยวป่าประมาณ 5 จุดเรียงรายตลอด แนวถนน สามารถให้ควาญช้างนำชมสวนป่า หมู่บ้านชาวม้ง บ้านกะเหรี่ยงบริเวณนั้นได้ทุก ฤดูกาลใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง รับนักท่องเที่ยวได้ครั้งละ 2-4 คน ติดต่อเจ้าของแพโดยตรง น้ำแม่วาง เป็นสายน้ำใหญ่ไหลเลียบเชิงเขาด้านที่ติดกับอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ใน อำเภอแม่วาง มีทิวทัศน์สองฟากฝั่งลำน้ำงดงามร่มรื่น ท่าแพแม่วางลุงมี อยู่ในเขตอำเภอ สันป่าตอง จากสามแยกสันป่าตองไปทาง ต.บ้านกาด ประมาณ 24 กิโลเมตร ที่ท่าแพมีบริการ ขี่ช้างแก่นักท่องเที่ยว เพื่อชมธรรมชาติบริเวณรอบๆท่าแพ บริการล้อเกวียน และการล่องแพ ชมธรรมชาติที่งดงาม ทั้งสองริมฝั่งแม่น้ำวางแก่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ

นอกจากนี้ยังมีน้ำตกแม่วางที่มีน้ำไหลตลอดทั้งปีอยู่ในบริเวณใกล้เคียงซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเที่ยวชมได้ เปิดบริการทุกวันตั้งแต่เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป

• ล่องแพ-ล่องแก่ง

• ล่องแพลำน้ำแม่แตง เป็นกิจกรรมที่กำลังได้รับความนิยมมาก เนื่องจากลำน้ำแม่แตง ไหลคดเคี้ยวไปตามหุบเขา ด้วยกระแสน้ำที่ไม่เชี่ยวจนเกินไป และมีทัศนียภาพตลอดสองฝั่งลำน้ำที่งดงามมาก การเดินทางเริ่มต้นที่ โป่งเดือด โดยเดินป่าไปพักค้างแรมที่บ้านป่าข้าวหลามซึ่งเป็นบ้านกะเหรี่ยง 1 คืน จากนั้นจึงลงแพล่องลำน้ำแม่แตงไปสิ้นสุดที่บ้านสบก๋าย ใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การล่องแพลำน้ำแม่แตงที่สุดอยู่ในช่วงปลายฤดูฝนจนถึงฤดูหนาว ผู้สนใจติดต่อบริษัททัวร์ในเมืองเชียงใหม่ที่ให้บริการล่องแพลำน้ำแม่แตง

ล่องแก่งลำน้ำแม่แตง การล่องแก่งในสายน้ำแม่แตงสามารถแบ่งได้เป็นสามช่วงด้วยกัน คือ ช่วงแรก จากบ้านเมืองคอง - บ้านป่าข้าวหลาม เส้นทางช่วงนี้ค่อนข้างจะราบเรียบ ช่วงที่สอง คือ บ้านป่าข้าวหลาม - บ้านสบก๋าย จะมีแก่งเยอะ เป็นช่วงที่ค่อนข้างสนุก ส่วนช่วงที่สาม คือบ้านสบก๋าย-แคมป์ช้างแม่แตง สามารถ พายเรือคยัคได้ แต่เหมาะกับผู้ที่มีประสบการณ์มาแล้ว การล่องแก่งด้วยเรือคยัคสามารถสอบถามได้ที่ บริษัท เชียงใหม่ แอดเวนเจอร์ จำกัด โทร. 0 5320 8476-7, 0 5341 8534, 0 5341 8197-8 e-mail: nxadventure@hotmail.com

ล่องแพลำน้ำแม่แจ่ม สามารถล่องได้ทั้งปี แต่ในฤดูฝนน้ำจะขุ่นไหลแรง ฤดูแล้งน้ำใส มีล่องทั้งเรือยาง และแพไม้ไผ่ ใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง

• ล่องแก่งลำน้ำแม่แจ่ม บริเวณออบหลวงยากระดับ 3-4 ในช่วงหน้าน้ำหลากไม่ควรล่องเพราะน้ำจะเชี่ยวเกินไปอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ นักท่องเที่ยวที่สนใจสามารถ สอบถามรายละเอียดที่อุทยานแห่งชาติออบหลวง โทร. 0 5322 9272

• ล่องแพแม่น้ำกก ปัจจุบันนี้ การล่องแพแม่น้ำกกเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวทั้ง ชาวไทยและชาวต่างประเทศมาก ได้ชมทัศนียภาพที่งดงามและชีวิตความเป็นอยู่ริมฟาก แม่น้ำกก

นักท่องเที่ยวที่ประสงค์จะล่องแพสามารถติดต่อกับบริษัทนำเที่ยวในบริเวณ บ้านท่าตอน เช่น ท่าตอนทัวร์ โทร. 0 5337 3143 ชาวแพ (ทิพย์ทราเวล) โทร.0 5345 9312 กลางบ้านท่าตอน โทร. 0 5345 9138

• ล่องเรือชมทัศนียภาพแม่น้ำปิง

ปัจจุบันได้มีเอกชนดำเนินกิจการล่องเรือหางยาวและเรือขนาดกลาง ชมทัศนียภาพของเมืองเชียงใหม่ สองฝั่งแม่น้ำปิงมีทั้งบรรยากกาศของเมืองเชียงใหม่ สองฝั่งแม่น้ำปิงมีทั้งบรรยากาศของตัวเมืองและชนบทซึ่ง นักท่องเที่ยวสามารถเพลิดเพลินกับการล่องเรือดังกล่าวโดยติดต่อกับบริษัทแม่ปิงริเวอร์ครูซ โทร. 0 5327 4822 ในราคาค่าบริการ ไป-กลับคนละ 300 บาท ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง

• จักรยานเสือภูเขา เป็นกิจกรรมที่ทำได้ทั้งในเมืองและนอกเมือง ได้ทั้งความสุนทรียภาพและสุขภาพที่แข็งแรง เส้นทาง มีหลายแห่งให้เลือก เช่น รอบคูเมือง, ดอยสุเทพ-ขุนช่างเขียน-ห้วยตึงเฒ่า, ห้วยน้ำดัง, ห้วยน้ำรู, แม่แตง เป็นต้น บริษัทที่ทำทัวร์จักรยานได้แก่ เชียงใหม่กรีนทัวร์ โทร. 0 5324 7374

• โฮมสเตย์ บ้านแม่กำปอง มีอากาศเย็นสบายตลอดปีอยู่ท่ามกลางธรรมชาติที่สวยงามบนเขาสูง ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำเขตแบ่งแดนลำปาง-เชียงใหม่ อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ 51 กิโลเมตร อยู่ท่ามกลางหุบเขาแวดล้อมด้วยไร่ชา กาแฟ หมู่บ้านนี้แปรรูปเมี่ยงมากว่า 100 ปี ผู้มาเยือน จะได้ศึกษาและรับประสบการณ์ตรงจากการเยี่ยมชมและทำกิจกรรมสวนเมี่ยง เพื่อให้เกิด จิตสำนึกในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และยังได้ร่วมกิจกรรมศึกษาธรรมชาติน้ำตกแม่กำปอง มีกิจกรรมปีนเขาสู่ดอยม่อนล้าน และยังมีการนวดแผนโบราณ อบสมุนไพร ผู้สนใจร่วม กิจกรรมติดต่อได้ที่ สหกรณ์ไฟฟ้าโครงการหลวงแม่กำปอง โทร. 0 5322 9526 E-mail: kimrangsit@hotmail.com

• แม่ปั้นดิน พ่อทำสวน เป็นพิพิธภัณฑ์เอกชนที่จัดแสดงงานปั้นส่วนตัว และใช้ยุ้งข้าวจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ ภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนา จัดแสดงเครื่องมือ เครื่องใช้ในการทำนา จับสัตว์น้ำ เลี้ยงสัตว์ ทอผ้า ข้าวของเครื่องใช้ ในการดำรงชีวิตประจำวัน เช่น ขันโตก เชี่ยนหมาก ผ้าทอ คันฉ่องโบราณ ซองพลูเงิน เตารีดเหล็ก เครื่องจักรสาน เปิดเวลา 09.00-17.00 น. นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมโฮมสเตย์ แขกที่มาพักจะได้เรียนปั้นดิน และทำกับข้าว รายละเอียดติดต่อ โทร. 0 5329 8867, 0 5329 0087 website: www.mae-pundin.tripod.com
การเดินทาง เดินทางไปตามเส้นทางเชียงใหม่ - แม่ริม เมื่อเลยเชียงใหม่กรีนวัลเล่กอล์ฟคลับ (ด้านขวามือ) จะมีทางแยกขวาเข้าเส้นทาง แม่ริม-สันทรายไปประมาณ 2 กิโลเมตร “แม่ปั้นดิน พ่อทำสวน” จะอยู่ทางซ้ายมือ

กิจกรรมอื่นๆ

• ไต่หน้าผาจำลอง สถานตั้งที่ คือ The Peak Rock Climbing Plaza ตั้งอยู่ที่ ถนนช้างคลาน ติดกับ ธนาคารไทยพาณิชย์สาขาท่าแพ หน้าผาจำลองมีความสูง 15 เมตร กว้าง 8 เมตร ซึ่งเป็นหน้าผาจำลองที่นำเข้า จากประเทศฝรั่งเศส ซึ่งได้มาตรฐานโลก ค่าบริการ ผู้ใหญ่150 / ครั้ง 250 / ชั่วโมง เด็ก 100บาท / ครั้ง 200 บาท / ชั่วโมง นอกจากนี้พื้นที่ส่วนหนึ่งได้แบ่งเป็นศูนย์การค้าและร้านจำหน่ายสินค้าหัตถกรรม รายละเอียดติดต่อ 0 5380 0567


จังหวัดเชียงใหม่ :: สถานที่ท่องเที่ยว อำเภอเมือง

วัดสวนดอก หรือวัดบุปผาราม
ตั้งอยู่ที่ถนนสุเทพ ในเขตอำเภอเมือง พระเจ้ากือนาทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1914 (ศักราชนี้ถือตามหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ของพระรัตนปัญญาเกตุ) เพื่อให้เป็นที่จำพรรษาของพระมหาเถระสุมน ผู้ประดิษฐานพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ในล้านนา วัดนี้แต่เดิมเป็นพระราชอุทยานของกษัตริย์ลานนาไทยสมัยแรกเริ่ม มีสถาปัตยกรรมสำคัญ คือ เจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ทรงกลม กู่บรรจุอัฐิเจ้าตระกูล ณ เชียงใหม่ และวิหารโถง นอกจากนี้ ยังเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าเก้าตื้อ ซึ่งพญาเมืองแก้วโปรดให้หล่อขึ้น เป็นพระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่ ศิลปะล้านนาผสมกับศิลปะสุโขทัย

วัดเชียงมั่น
อยู่ถนนราชภาคินัย อำเภอเมือง เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดภายในตัวเมืองเชียงใหม่ เมื่อพญามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. 1839 พระองค์ทรงยกพระตำหนักเชียงมั่น ถวายเป็นพระอารามให้ชื่อว่า วัดเชียงมั่น วัดนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญของเชียงใหม่ คือ พระเสตังคมณี หรือพระแก้วขาว ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะ ของประชาชนชาวเชียงใหม่ มีสถาปัตยกรรมสำคัญ ได้แก่ เจดีย์สี่เหลี่ยมผสมทรงกลม ฐานช้างล้อม พระอุโบสถ และหอไตร

วัดพระสิงห์วรวิหาร
อยู่ถนนสามล้าน อำเภอเมือง เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งซึ่งประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชร ประดิษฐานอยู่ในวิหารลายคำ เมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์ ชาวเมืองจะอัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้แห่ไปตามถนนรอบเมือง เพื่อให้ประชาชนสรงน้ำโดยทั่วถึงกัน แต่เดิมที่ดินบริเวณวัดนี้เป็นตลาด เรียกชื่อว่า วัดลีเชียง (ลี หมายถึง ตลาด) จนถึงปี พ.ศ. 1888 พระเจ้าผายู กษัตริย์องค์ที่ 5 ในราชวงศ์มังรายทรงโปรดฯ ให้สร้างวัดนี้ขึ้น พร้อมทั้งสร้างพระเจดีย์สูง 24 ศอกองค์หนึ่ง เพื่อใช้เป็นที่บรรจุอัฐิพระราชบิดาของพระองค์ สถาปัตยกรรมสำคัญของวัดนี้ได้แก่ วิหารลายคำที่มีจิตรกรรมฝาผนังงดงาม พระอุโบสถ หอไตรที่มีปูนปั้นรูปเทวดาประดับ และเจดีย์ทรงกลมแบบล้านนา

วัดปราสาท
ตั้งอยู่บนถนนอินทวโรรส อำเภอเมืองใกล้กับวัดพระสิงห์ วิหารภายในวัดมีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบล้านนาดั้งเดิม ที่หน้าบันวิหารมีลวดลายปูนปั้นประดับกระจก และไม้แกะสลักรูปสิงห์ฝีมือประณีต ซุ้มปราสาทที่ประดิษฐานพระประธาน เป็นศิลปะล้านนาโบราณที่หลงเหลืออยู่ไม่กี่แห่ง

วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร
ประดิษฐานเจดีย์ใหญ่ที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่ วัดนี้ตั้งอยู่ในใจกลางเมืองเชียงใหม่พอดี สร้างขึ้นในรัชกาลของพระเจ้าแสนเมืองมากษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย ต่อมาพระยาติโลกราชให้ช่างสร้างเป็นเจดีย์องค์ใหญ่ สูงถึง 98 เมตร ฐานกว้างด้านละ 54 เมตร แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2024 ต่อมาในสมัยพระนางจิระประภาครองเมืองเชียงใหม่ ได้เกิดแผ่นดินไหวทำให้ยอดเจดีย์หักโค่นลงเมื่อปี พ.ศ. 2088 วิหารด้านหน้าของวัดนี้เจ้าคุณอุบาลีคุณปรมาจารย์ (สิริจันทะเถระ) และเจ้าแก้วนวรัฐเป็นผู้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2471 หน้าประตูทางเข้าวิหาร มีบันไดนาคเลื้อยงดงามยิ่ง ใช้หางเกี่ยวกระหวัดขึ้นไปเป็นซุ้มประตูวิหาร นาคคู่นี้เป็นฝีมือเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่เดิมได้ชื่อว่าเป็นนาคที่สวยที่สุดของภาคเหนือ

วัดพันเตา
ตั้งอยู่บนถนนพระปกเกล้า ติดกับวัดเจดีย์หลวง เดิมเป็นหอคำหรือท้องพระโรงหน้าของพระเจ้ามโหตรประเทศ ซุ้มประตูทำเป็นรูปนกยูงอันเป็นสัญลักษณ์ของกษัตริย์

เสาอินทขิล หรือ เสาหลักเมือง
เป็นหลักเมืองเมื่อครั้งพ่อขุนเม็งรายมหาราชสร้างเมืองเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 1839 ปัจจุบันนี้อยู่ตรงหน้าวัดเจดีย์หลวง เสาอินทขิลนี้ประดิษฐานอยู่ในวิหารจตุรมุขทรงไทยหลังเล็กๆ หลักอินทขิลนี้สร้างด้วยไม้ซุงต้นใหญ่ ฝังอยู่ใต้ดิน ทุกปีในเดือนพฤษภาคมจะมีงานเรียกว่า เข้าอินทขิล เป็นการฉลองหลักเมืองเป็นประจำ

วัดตำหนัก (วัดศิริมังคลาจารย์หรือวัดสวนขวัญ)
สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2050 ในสมัยพระเจ้าศิริธรรมจักรพรรดิราช (พระเมืองแก้ว) กษัตริย์องค์ที่ 13 แห่งราชวงศ์มังราย อาศรมแห่งนี้เป็นที่จำพรรษาของพระศิริมังคลาจารย์ผู้นิพนธ์พระคัมภีร์ “มังคลัตถทีปนี” ปัจจุบันนี้ชำรุดทรุดโทรมปรักหักพังลงแล้ว วัดนี้ตั้งอยู่เส้นทางหางดงระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 7-8 ตรงข้ามสำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงใหม่

วัดกู่เต้า
เดิมชื่อ วัดเวฬุวนาราม ตั้งอยู่ในตำบลศรีภูมิ ติดกับสนามกีฬาเทศบาลนครเชียงใหม่ มีเจดีย์ที่มีลักษณะแปลกไปกว่าเจดีย์อื่นๆ ในเมืองไทย วัดนี้ไม่มีประวัติแจ้งไว้แน่ชัดว่าสร้างขึ้นในสมัยใด แต่มีตำนานเล่าว่า เจดีย์กู่เต้านี้เป็นที่บรรจุอัฐิของเจ้าฟ้าสารวดี ซึ่งเป็นราชโอรสของพระเจ้าบุเรงนอง ซึ่งมาครองเมืองเชียงใหม่ในระหว่างปี พ.ศ. 2122-2150 ลักษณะของเจดีย์องค์นี้คล้ายกับนำผลแตงโมมาวางซ้อนกันไว้หลายๆ ลูก ชาวบ้านจึงเรียกว่า เจดีย์กู่เต้า

วัดแสนฝาง
ตั้งอยู่ที่ถนนท่าแพ เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งที่มีศิลปกรรมพม่าผสมอยู่ โดยเฉพาะเจดีย์ที่มีการตกแต่งลวดลายปูนปั้นวิจิตรงดงาม นอกจากนี้ยังมีกุฏิเจ้าอาวาสซึ่งสร้างมานานกว่า 100 ปี เป็นจุดที่น่าสนใจอีกด้วย ตามประวัติเล่าว่าพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7 ให้รื้อที่ประทับของพระเจ้ากาวิโรรสสุริวงศ์ (เจ้าชีวิตอ้าว) เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 6 มาสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2420 ครั้นสร้างเสร็จแล้วจึงโปรดให้มีการฉลองในปี พ.ศ. 2421

วัดบุพพาราม
ตั้งอยู่บนถนนท่าแพ อำเภอเมือง สิ่งที่น่าชมคือ เจดีย์ทรงพม่า วิหารหลังใหญ่ซึ่งหน้าบันมีลวดลายไม้แกะสลักแบบพม่า และวิหารหลังเล็กซึ่งเป็นทรงพื้นเมืองสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง

เวียงกุมกาม
เป็นเมืองโบราณที่พญามังราย (พ่อขุนเม็งราย) ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1829 โดยให้ขุดคูเวียงทั้ง 4 ด้าน ไขน้ำแม่ปิงให้ขังไว้ในคูเวียง โบราณสถานที่ปรากฎอยู่ในเวียงกุมกาม และใกล้เคียง จากการสำรวจพบว่ามีอยู่ 20 แห่ง ทั้งที่เป็นซากโบราณสถาน และเป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่ แต่ละแห่งอยู่กระจัดกระจายกัน มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 21-22 โบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่ วัดเจดีย์เหลี่ยม วัดช้างค้ำ และซากเจดีย์ วัดน้อย วัดปู่เปี้ย วัดกู่ขาว วัดอีก้าง วัดหัวหนอง และ วัดปู่ซ้ง

ปัจจุบันเวียงกุมกาม อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองเชียงใหม่ ประมาณกิโลเมตรที่ 3-4 ถนนเชียงใหม่-ลำพูน ในเขตตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี และอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำปิงด้านทิศตะวันออก การเดินทาง เข้าทางตู้ยามหนองหอยและตรงมาจนทะลุแยกเกาะกลางป่ากล้วยตรงต่อไปจนถึงตู้ยามเจดีย์เหลี่ยม

วัดเจดีย์เหลี่ยม หรือ เจดีย์กู่คำ
สร้างขึ้นในรัชสมัยของพญามังราย เมื่อปี พ.ศ. 1831 กล่าวคือ หลังจากที่พระองค์ได้ยกทัพมาตีเมืองลำพูนแล้ว ทรงมอบเมืองลำพูนให้อำมาตย์คนสนิทชื่อ อ้ายฟ้า ครองเมืองแทน ส่วนพระองค์ก็ยกทัพไปสร้างเมืองใหม่ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ได้ 5 ปี จึงยกทัพไปสร้างเมืองใหม่อยู้ใกล้ฝั่งแม่น้ำปิง เมื่อปี พ.ศ. 1820 ให้ชื่อเมืองนี้ว่าเวียงกุมกาม จนถึงปี พ.ศ. 1830 พระองค์ทรงให้ช่างไปถ่ายแบบพระเจดีย์มาจากวัดจามเทวีลำพูน เพื่อนำมาสร้างให้เป็นที่สักการะแก่คนทั้งหลาย

หลังจากนั้นมาเป็นเวลาหลายร้อยปี วัดนี้ได้ถูกทอดทิ้งให้รกร้าง จนถึงปี พ.ศ. 2451 มีคหบดีชาวพม่าคนหนึ่งได้มาเห็นเข้า เกิดความเลื่อมใส ได้บูรณะขึ้นใหม่ โดยให้ช่างชาวพม่าเป็นผู้ดำเนินการ จึงมีศิลปแบบพม่าเข้ามาแทนที่ศิลปแบบขอม ซึ่งเป็นแบบดั้งเดิม คงมีแต่โครงสร้างที่ยังเป็นรูปเดิมอยู่เท่านั้น

วัดเจ็ดยอด หรือวัดโพธารามวิหาร
ตั้งอยู่บนถนนซุปเปอร์ไฮเวย์(เชียงใหม่-ลำปาง) ห่างจากตัวเมือง 4 กิโลเมตร ป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ ชำรุดทรุดโทรมมาก และเพิ่งได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่เมื่อไม่นานมานี้ สถาปัตยกรรมสำคัญของวัดนี้ ได้แก่ เจดีย์เจ็ดยอด ซึ่งได้รับอิทธิพลจากเจดีย์พุทธคยาในประเทศอินเดีย ที่ฐานเจดีย์ประดับปูนปั้นรูปเทวดา นอกจากนี้ยังมีเจดีย์ทรงปราสาท บรรจุอัฐิพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์แห่งราชวงศ์เม็งราย ผู้สร้างวัดนี้

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่
ตั้งอยู่บนถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ (เชียงใหม่-ลำปาง) ใกล้ๆ กับวัดเจ็ดยอด จะเห็นตึกรูปทรงแบบล้านนาไทยประยุกต์ตั้งเด่นอยู่ริมถนน ภายในบริเวณกว้างขวางและร่มรื่น รวบรวมศิลปวัฒนธรรมของภาคเหนือไว้ มีสิ่งที่น่าสนใจและน่าศึกษามากมาย เปิดให้เข้าชมในวันพุธ-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. ปิดวันจันทร์-อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ โทร. (053) 221308

วัดอุโมงค์
ตั้งอยู่ที่ถนนสุเทพ ในตัวเมืองเชียงใหม่ สร้างขึ้นในสมัยพญามังรายเมื่อราวปี พ.ศ. 1839 และได้บูรณะเพิ่มเติมในสมัยพระเจ้ากือนา เป็นวัดที่มีอาณาเขตกว้างขวาง มีโบราณสถานที่สำคัญ คือ สิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่เป็นแนวยาวคล้ายกำแพง ภายในเป็นอุโมงค์ทางเดินหลายช่อง เดินทะลุกันได้ ด้านบนกำแพงมีเจดีย์ก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่ ปัจจุบันปรับปรุงบริเวณเป็นสวนพุทธธรรม ร่มรื่นด้วยแมกไม้นานาพันธุ์

ศูนย์ศิลปะการแสดงกาดสวนแก้ว
ตั้งอยู่ในอุทยานการค้ากาดสวนแก้ว สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการนำเสนอกิจกรรมทางศิลปะและวัฒนธรรม โรงละครกาดสวนแก้วเป็นโรงละครที่มีการออกแบบ และใช้อุปกรณ์ทางเทคนิคที่ทันสมัย เปิดแสดงละครทั้งของไทยและต่างประเทศ สอบถามรายการการแสดงได้ที่ โทร. (053) 224333 ต่อ กาดศิลป์


:: ดอยอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่ ::

ข้อมูลทั่วไป :

อากาศบนดอยหนาวเย็นตลอดปีโดยเฉพาะในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม อากาศเย็นจนน้ำค้างกลายเป็นน้ำค้างแข็ง นักท่องเที่ยวจึงควรเตรียมเครื่องกันหนาวมาให้พร้อม เช่น หมวก ถุงมือ ถุงเท้า เสื้อกันหนาว

การเดินทาง :

บนเส้นทางหลวงหมายเลข 107 (เชียงใหม่-ฝาง) ประมาณกิโลเมตรที่ 137 จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าบ้านยางที่ตลาดแม่ข่า เข้าไปอีกประมาณ 25 กิโลเมตร เป็นทางลาดยาง สูงและคดเคี้ยว ต้องใช้รถสภาพดีและมีกำลังสูง คนขับชำนาญ หรือจะหาเช่ารถสองแถวได้ที่ตลาดแม่ข่า

สิ่งอำนวยความสะดวก :

สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง มีที่พักแรมได้ประมาณ 80 คน บริการอาหารวันละ 3 มื้อ/คน/วันคนละ 100 บาท เฉพาะกรณีที่สถานีฯมีความสะดวกในการรับบุคคลภายนอกเท่านั้น ติดต่อรายละเอียดโครงการหลวง 65 ถนนสุเทพเชียงใหม่ 50002 หรือ สถานีเกษตรหลวงอ่าวขาง ตู้ปณ.14 อำเภอฝาง เชียงใหม่ 50110

ที่พักเอกชนหน้าสถานีฯ ได้แก่ บ้านดอกเหมย, บ้านคนเมือง และร้านสามพี่น้อง มีที่พักเป็นหลังๆ พักได้ 4-8 คน อัตราค่าที่พัก 350-500 บาท/หลัง ติดต่อบ้านดอกเหมย บ้านสามพี่น้องที่ 62 หมู่ บ้านหลาจู ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่


กิจกรรมท่องเที่ยวบนดอยอ่างขาง :

มีหลายอย่างที่สามารถจัดขึ้นได้ รีสอร์ทธรรมชาติอ่างขางริเริ่มจัดกิจกรรมท่องเที่ยวขึ้นที่นี่ ได้แก่

เส้นทางศึกษาธรรมชาติระยะสั้น
ประมาณ 2 กิโลเมตร จะได้ชมน้ำตกเล็กๆ และกุหลาบพันปี

เส้นทางจักรยานเสือภูเขา
จากบ้านคุ้มไปยังบ้านนอแล และ จากบ้านหลวงไปยังบ้านผาแดง

จุดชมนก
มีนกมากกว่า 1,000 สายพันธุ์ จุดที่เหมาะคือสถานีป่าแม่เผอะและบริเวณรอบๆรีสอร์ธรรมชาติอ่างขาง

การขี่ฬ่อล่องไพร
ชมความงดงามของธรรมชาติในบรรยากาศเย็นสบายรอบๆดอยอ่างขางด้วยการนั่งบนหลังฬ่อ (การนั่งบนหลังฬ่อต้องนั่งหันข้างเนื่องจากอานกว้างไม่สามารถนั่งคร่อมอย่างการขี่ม้าได้) หากสนใจกิจกรรมนี้ต้องติดต่อกับรีสอร์ทล่วงหน้าอย่าน้อย 1 วัน เพราะปกติชาวบ้านจะนำฬ่อไปเป็นพาหนะขนผลิตผลทางการเกษตรด้วย


จุดเด่นที่น่าสนใจ :

สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
เรื่องกำเนิดของสถานีฯแห่งนี้ เป็นเกร็ดประวัติเล่ากันต่อมาว่า ครั้งหนึ่งพระเจ้าอยู่หัวเสด็จทางเฮลิคอปเตอร์ผ่านยอดดอยแห่งนี้ และทอดพระเนตรลงมาเห็นหลังคาบ้านคนอยู่กันเป็นหมู่บ้าน จึงมีพระดำรัสสั่งให้เครื่องลงจอด เมื่อเสด็จพระราชดำเนินลงมาทอดพระเนตรเห็นทุ่งดอกฝิ่น และหมู่บ้านตรงนั้นก็คือหมู่บ้านของชาวเขาเผ่ามูเซอซึ่งในสมัยนั้นชาวเขากลุ่มนี้ยังไว้แกละถักเปียยาว แต่งกายสีดำ สะพายดาบ พระองค์จึงมีพระราชดำรัสที่จะแปลงทุ่งฝิ่นให้เป็นแปลงเกษตร สถานีฯจึงเกิดขึ้นเมื่อปี 2512 มีโครงการวิจัยผลไม้ ไม้ดอกเมืองหนาว งานสาธิตพืชไร่ พืชน้ำมัน โดยมุ่งที่จะหาผลิตผลที่มีคุณค่าพอที่จะทดแทนการปลูกฝิ่นของชาวเขา และทำการส่งเสริมพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมแก่ชาวเขาในบริเวณใกล้เคียง สามารถชมแปลงทดลองปลูกไม้ผลเมืองหนาว ได้แก่ ท้อ บ๊วย พลัม สตรอเบอรี่ สาลี่ ราสเบอรี่ พลับ กีวี ลูกไหน เป็นต้น พืชผักเมืองหนาว เช่น แครอท ผักสลัดต่างๆ ฯลฯ แปลงไม้ดอก เช่น คาร์เนชั่น กุหลาบ แอสเตอร์ เบญจมาศ ฯลฯ มีการจำหน่ายผลิตผลที่ปลูกในบริเวณโครงการฯ ให้แก่นักท่องเที่ยวตามฤดูกาล

สวนบอนไซ
อยู่ในบริเวณสถานีฯ เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ไม้เขตอบอุ่นและเขตหนาวทั้งในและต่างประเทศ ปลูก ดัด แต่ง โดยใช้เทคนิคบอนไซ สวยงามน่าชม และในบริเวณเดียวกันก็มีสวนสมุนไพรด้วยฤดูท่องเที่ยวอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม

หมู่บ้านคุ้ม
ตั้งอยู่ใกล้กับสถานีฯ เป็นชุมชนเล็กๆประกอบด้วยผู้อยู่อาศัยหลายเชื้อชาติอยู่รวมกัน อาทิชาวไทยใหญ่ ชาวพม่าและชาวจีนฮ่อ ซึ่งได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนี้และเปิดร้านค้าบริการแก่นักท่องเที่ยว

จุดชมวิวกิ่วลม
อยู่ทางด้านซ้ายมือก่อนถึงทางแยกซึ่งจะไปหมู่บ้านปะหล่องนอแลทางหนึ่ง และบ้านมูเซอขอบด้งทางหนึ่ง สามารถชมวิวได้ทั้งพระอาทิตย์ขึ้นและตก หรือทะเลหมอก มองเห็นทิวเขารอบด้านและหากฟ้าเปิดจะมองเห็นสถานีเกษตรหลวงอ่างขางด้วย

หมู่บ้านนอแล
ตั้งอยู่บริเวณชายแดนไทย - พม่า แต่เดิมคนกลุ่มนี้อยู่ในพม่าและพึ่งอพยพมาที่นี่ได้ประมาณ 15 ปี คนที่นี่เป็นชาวเขาเผ่าปะหล่องเชื้อสายพม่า ซึ่งมีภาษาและวัฒนธรรมเป็นของตนเอง นับถือศาสนาพุทธ ทุกวันพระผู้คนที่นี่หยุดอยู่บ้านถือศีล จากหมู่บ้านนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์สวยงามของธรรมชาติบริเวณพรมแดนไทย-พม่า

หมู่บ้านขอบด้ง
เป็นที่ที่ชาวเขาเผ่ามูเซอดำและเผ่ามูเซอแดงอาศัยอยู่ร่วมกัน คนที่นี่นับถือผี มีวัฒนธรรมและความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย หมู่บ้านแห่งนี้ได้รับการส่งเสริมจากโครงการหลวงในด้านการเกษตรและด้านหัตถกรรมพื้นบ้าน (เช่น อาบูแค เป็นกำไลถักด้วยหญ้าไข่เหามีสีสันและลวดลายในแบบของมูเซอ)

บริเวณหน้าหมู่บ้านจะมีการจำลองบ้านและวิถีชีวิตของชาวมูเซอ โดยชาวบ้าน ครู และนักเรียนโรงเรียนบ้านขอบด้งช่วยกันสร้างขึ้นมา เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้มีโอกาสเรียนรู้ และศึกษาวัฒนธรรมของหมู่บ้าน โดยที่ไม่เข้าไปรบกวนความเป็นส่วนตัวของเขามากเกินไป และยังมีโครงการมัคคุเทศก์น้อย ที่อบรมเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านขอบด้ง เพื่อช่วยอธิบายวิถีชีวิตของพวกเขาให้ผู้มาเยือน ทั้งนี้เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึก และสร้างความรักท้องถิ่นให้เด็กๆด้วย

หมู่บ้านหลวง
ชาวหมู่บ้านหลวงเป็นชาวจีนยูนานที่อพยพมาจากประเทศจีนในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และประกอบอาชีพด้านการเกษตรกรรมเป็นหลัก อาทิ ปลูกผักผลไม้ เช่น พลัม ลูกท้อ และสาลี่


จังหวัดเชียงใหม่ :: การเดินทาง

ทางรถยนต์
จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเชีย) ผ่านอยุธยา อ่างทอง นครสวรรค์ แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 117 ไปยังพิษณุโลก แล้วต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 11 ผ่านลำปาง ลำพูน ถึงเชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 695 กิโลเมตร อีกทางหนึ่งคือจากนครสวรรค์ ไปตามทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านกำแพงเพชร ตาก และลำปาง ถึงเชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 696 กิโลเมตร

ทางรถโดยสารประจำทาง

มีรถประจำทางปรับอากาศสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ออกจากสถานี ขนส่งสายเหนือ (หมอชิต 2) ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวันๆละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 10 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่ บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร. 0 2936 2852- 66 และที่เชียงใหม่ โทร. 0 5324 1449, 0 5324 2664 บริษัทที่มีบริการเดินรถ กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ ได้แก่ ทันจิตต์ทัวร์ โทร. 0 2936 3210, นครชัยแอร์ โทร. 0 2936 3901, 0 2936 3355 นิววิริยะยานยนต์ทัวร์ โทร. 0 2936 2207, สมบัติทัวร์ โทร. 0 2936 3355, สหชาญทัวร์ โทร. 0 2936 2762, สยามเฟิสท์ทัวร์ โทร. 0 2954 3601-7

ตารางโทรศัพท์ติดต่อรถโดยสารที่สถานีขนส่งหมอชิตใหม่ - สถานีขนส่งอาเขต
บริษัท ประเภทรถ หมอชิตใหม่ อาเขต
บริษัทขนส่ง จำกัด
ปรับอากาศ VIP
(24 ที่นั่ง)
ปรับอากาศชั้น 1,2
02-936-2852-66
053-241-449, 0 5324 2664

ทันจิตต์ทัวร์
ปรับอากาศชั้น 1
02-936-3210
053-247-569

นครชัยแอร์
ปรับอากาศ VIP
(32 ที่นั่ง)
02-936-3900 , 02-936-3355
053-262-799

นิววิริยะยานยนต์ทัวร์
ปรับอากาศ VIP
(32 ที่นั่ง)
ปรับอากาศชั้น 1
02-936-2207
053-247-007

สมบัติทัวร์
ปรับอากาศ VIP
(32 ที่นั่ง)
02-936-2495-8
053-246-531 , 053-247-232

สหชาญทัวร์
ปรับอากาศ VIP
(32 ที่นั่ง)
02-936-2762
053-246-881

สยามเฟิสท์ทัวร์
ปรับอากาศ VIP
(32 ที่นั่ง)
ปรับอากาศชั้น 1
02-954-3601-7
053-247-233


หมายเหตุ
- ตารางเวลารถโดยสารไปจังหวัดใกล้เคียง เชียงราย เชียงแสน แม่สาย สามเหลี่ยมทองคำ ปาย แม่สะเรียง แม่ฮ่องสอน ติดต่อสอบถาม โทร.053-242-664 , 053-246-503
- ตารางเวลารถโดยสาร ไปต่างอำเภอ ขึ้นรถที่สถานีขนส่งช้างเผือก โทร.053-211-586
- ตารางเวลารถตู้ปรับอากาศ ไปต่างอำเภอ ขึ้นรถที่สถานีขนส่งช้างเผือก โทร.053-211-577


ทางรถไฟ

มีรถด่วน และรถเร็ว ออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ ทุกวัน สอบถามรายละเอียดกำหนดการเดินรถได้ที่ หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย (หัวลำโพง) โทร. 02-223-3762 , 02-220-4334 ประชาสัมพันธ์ โทร.1690 และที่สถานีรถไฟเชียงใหม่ โทร. 053-244-795 , 053-245-363

ทางเครื่องบิน
หน่วยงาน โทรศัพท์
บริษัท การบินไทย จำกัด
สำนักงานใหญ่
ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ ดอนเมือง
สำนักงานหลานหลวง
สำนักงานเชียงใหม่ ถ.พระปกเกล้า
ท่าอากาศยานเชียงใหม่
สอบถามตารางเที่ยวบิน

02-513-0121
02-535-2081-2
02-280-0060 , 02-628-2000
053-210-210
053-270-222
1566

บริษัท บางกอกแอร์เวย์ จำกัด
สำนักงานใหญ่
สำนักงานเชียงใหม่

02-265-5555
053-281-281-519 , 053-276-176

บริษัท ภูเก็ตแอร์ไลน์ จำกัด
สำนักงานใหญ่
สำนักงานเชียงใหม่

02-679-8999
053-922-118-9

บริษัท โอเรียนท์ไทยแอร์ไลนส์ จำกัด
สำนักงานใหญ่
สำนักงานเชียงใหม่

02-267-3214-6
053-904-334

บริษัท แอร์เอเซีย เอวิเอชั่น จำกัด
สำนักงานใหญ่

02-515-9999



การเดินทางภายในตัวเมือง

เมื่อถึงเมืองเชียงใหม่แล้ว สามารถใช้บริการรถพาหนะในตัวเมืองไปเที่ยวชมสถานที่ต่างๆได้

1. รถสองแถวเล็ก รถแดง หรือ สองแถวแดง เป็นพาหนะที่ใช้เดินทางหลักๆ ในเขตเมืองเชียงใหม่ รถแดงส่วนใหญ่ ไม่วิ่งประจำสาย แต่จะวิ่งรับผู้โดยสารไปเรื่อยๆ โดยมีท่ารถใหญ่ๆ กระจายอยู่ตามย่านต่างๆ เช่น สถานีขนส่งอาเขต ขนส่งช้างเผือก ประตูเชียงใหม่ หน้าไนท์บาซาร์ สถานีรถไฟ ถ.ท่าแพ นักท่องเที่ยว สามารถเรียกรถแดงที่แล่นอยู่ทั่วไป จากนั้นจะต้องบอกคนขับว่าจะไปที่ใด ถ้าอยู่ไกลจากเส้นทางที่รถจะไปส่ง ผู้โดยสารรายอื่นๆ คนขับจะปฏิเสธ หรือ เรียกค่าโดยสารเพิ่ม หากรถที่เรียกเป็นรถเปล่า ต้องตกลงราคาก่อนขึ้น ไม่เช่นนั้นวคนขับจะคิดค่าโดยสารเป็นราคาเหมา อาจสูงถึง 70-100 บาท แม้ว่าจะไปส่งในเมือง

ค่าโดยสารรถแดงมีราคาค่อนข้างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับนักท่องเที่ยว และยังไม่มีมาตรการควบคุม กำหนดราคาให้เป็นมาตรฐาน ปกติหากเป็นระยะทางใกล้ๆ ภายในเมือง ไม่เกิน 1 กม. จะคิด 15 บาท แต่หากเลยออกไปไกล จะคิด 20-30 บาท ควรตกลงราคากับคนขับก่อน

รถแดงที่รอรับผู้โดยสารตามสถานีขนส่ง มักจะมาตื้อเชิญชวนนักท่องเที่ยว และคิดราคาสูงมาก บางครั้งไปส่งในเมืองที่ไม่ไกลเกินไป กลับโก่งราคาเป็นร้อยบาท จึงควรศึกษาเส้นทางที่จะไปให้ดี เพื่อโต้แย้งกับคนขับและต่อรองราคา

2. รถสามล้อถีบ จอดบริการอยู่ตามจุดต่างๆ ในเมือง อัตราค่าโดยสารคิดตามระยะทาง เส้นทางใกล้ ๆ เช่น ตลาดวโรรส ถึง ไนท์บาซาร์ ราคาอยู่ที่ 20-30 บาท ปัจจุบันนี้มีจำนวนน้อย

3. รถสามล้อเครื่อง จอดบริการอยู่ตามจุดต่างๆ โดยรอบตัว อ.เมือง อัตราค่าโดยสารคิดตามระยะทาง นักท่องเที่ยวสามารถ เช่าเหมาไปที่เที่ยวภายใน จ.เชียงใหม่ได้ แต่ต้องตกลงกันเรื่องราคาไปส่งอย่างเดียว หรือ ไป-กลับ รอกี่ชั่วโมง เป็นต้น เช่น ไปกลับสันกำแพง ราคา 150 บาท รอ 1 ชม.

4. รถเช่า เชียงใหม่เป็นแหล่งท่องเที่ยวใหญ่ มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวจำนวนมาก จึงมีบริการให้เช่ารถอยู่หลายแห่ง ทั้งที่เป็นบริษัทรถเช่าภายในจังหวัด หรือ บริษัทรถเช่า ระหว่างประเทศ ซึ่งมีบริการตั้งแต่รถจักยานธรรมดา จักรยานเสือภูเขา รถมอเตอร์ไซค์แบบครอบครัว รถมอเตอร์ไซค์วิบาก รถยนต์ รถตู้ ทั้งที่ไม่มีคนขับ และมีคนขับให้

- รถจักยาน ค่าเช่า 60-150 บาทต่อวัน ค่ามัดจำ 1,000 บาท ส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ นิยมขี่จักรยานมากกว่านักท่องเที่ยวชาวไทย จักรยานเหมาะกับการท่องเที่ยวภายในตัว อ.เมืองอย่างมาก เนื่องจากสถานที่ท่องเที่ยวแต่ละแห่ง อยู่ไม่ห่างกันนัก มีเส้นทางจักรยานพร้อมที่จอดไว้ให้ตามจุดต่างๆ ด้วย

- รถมอเตอร์ไซค์ ค่าเช่า 150-250 บาทต่อวัน ค่ามัดจำ 2,000 บาท พร้อมเก็บบัตรประชาชนไว้ เป็นหลักฐาน

- รถยนต์ ค่าเช่า 800-1,500 บาทต่อวัน ค่ามัดจำรถ 3,000 บาท พร้อมเก็บบัตรประชาชนไว้เป็นหลักฐาน ติดต่อเช่ารถได้บริเวณท่าแพ ซึ่งมีบริษัทให้เช่ารถรวมกันอยู่จำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีที่ ถ.มูลเมือง ถ.ลอยเคราะห์ ถ.เจริญประเทศ ฯลฯ หรืออาจใช้บริการตามโรงแรม เงื่อนไขการเช่ารถแต่ละบริษัท อาจไม่เหมือนกัน ส่วนใหญ่แล้วเวลาส่งคืนรถ ผู้เช่าต้องเติมน้ำมันให้เต็มก่อน


จังหวัดเชียงใหม่ :: ตัวอย่างโปรแกรมท่องเที่ยว

เที่ยวอ่างขาง ขึ้นดอยผ้าห่มปก

4 วัน 3 คืน ไม่รวมวันเดินทาง
- วันแรก ออกจากเชียงใหม่ตอนเช้า มุ่งหน้าไปดอยอ่างขาง ใช้ทางขึ้นด้านบ้านอรุโณทัย แวะเที่ยวถ้ำเชียงดาว และน้ำตกศรีสังวาลย์ ช่วงบ่าย มุ่งหน้าขึ้นดอยอ่างขาง ชมทิวทัศน์ก่อนถึงบ้านหลวง เข้าที่พักที่รีสอร์ทธรรมชาติอ่างขาง หรือที่พักเอกชน หรือพักแรมแบบแค้มปิ้ง ที่จุดแคมป์
- วันที่ 2 ขับรถเที่ยวชมบ้านชาวเขาเผ่าปะหล่อง ชมทิวทัศน์เทือกเขาชายแดนไทย-พม่าที่ขอบด้ง ออกจากอ่างขางหลังเที่ยง มุ่งหน้าไป อช.แม่ฝาง แวะซื้อส้มสายน้ำผึ้งระหว่างทาง เย็นถึง อช.แม่ฝาง อาบน้ำแร่คลายเหนื่อย พักที่ อช.แม่ฝาง
- วันที่ 3 ขออนุญาตขึ้นดอยผ้าห่มปก เตรียมเสบียง เดินทางไปพักแรมแบบแค้มปิ้ง ที่จุดพักแรมกิ่วลม ชมทิวทัศน์ พักผ่อน
- วันที่ 4 เดินขึ้นยอดดอยผ้าห่มปกแต่เช้าตรู่ ชมทะเลหมอก กลับถึงแคมป์ตอนใกล้เที่ยง เก็บสัมภาระ เดินทางกลับเข้าตัวเมืองเชียงใหม่

เที่ยวดอยอินทนนท์

3 วัน 2 คืน ไม่รวมวันเดินทาง
- วันแรก ชมวัดในเมืองเชียงใหม่ ช่วงบ่ายออกเดินทางสู่ดอยอินทนนท์ แวะเที่ยวชมสินค้าหัตถกรรมที่บ้านถวาย ถึงดอยอินทนนท์ตอนเย็น ติดต่อขออนุญาตใช้เส้นทางศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปานไว้ก่อน

- วันที่ 2 ขึ้นยอดดอยแต่เช้าตรู่ สัมผัสอากาศที่หนาวจัดจนเกิดน้ำค้างแข็ง หากเป็นช่วงปลายเดือน ม.ค. - ต้น มี.ค. จะได้ชมดอกกุหลาบพันปีและกล้วยไม้ป่า นมัสการสถูปเจ้าอินทวิชยานนท์ เดินเที่ยวเส้นทางศึกษาธรรมชาติอ่างกาหลวง จากนั้นลงจากยอดดอย เดินชมธรรมชาติที่กิ่วแม่ปาน ใช้เวลา 2-3 ชม. แวะนมัสการพระมหาธาตุนภเมทนีดล และพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ

- วันที่ 3 เที่ยวชมโครงการหลวงฯ น้ำตกสิริภูมิ แล้วเดินทางกลับ โดยแวะเที่ยวน้ำตกวชิรธาร ถ้ามีเวลาเลยไปเที่ยวน้ำตกแม่ยะ (หากขับรถกลับกรุงเทพฯ สามารถใช้เส้นทางจอมทอง-บ้านโฮ่ง-ลี้-เถิน)


เที่ยววัด ชมวัฒนธรรม ช้อปปิ้ง

3 วัน 2 คืน ไม่รวมวันเดินทาง
- วันแรก ชมหอวัฒนธรรมเชียงใหม่ วัดในเวียง และย่านจำหน่ายสินค้าหัตถกรรมที่ ถ.ท่าแพ เลือกซื้อผ้าใยกัญชา ผ้าทอ ที่ตรอกเล่าโจ๊ว ชมของตกแต่งบ้านที่ ถ.นิมมานเหมินท์ ช่วงบ่ายขึ้นไปเที่ยวบ้านม้งดอยปุย สันกู่ แวะนมัสการพระธาตุดอยสุเทพ รอชมความงามของตัวเมืองเชียงใหม่ จากมุมสูงในตอนหัวค่ำ ถึงตัวเมืองเชียงใหม่ ช้อปปิ้งที่ไนท์บาซาร์

- วันที่ 2 ท่องเที่ยวเส้นทาง เชียงใหม่ - สันกำแพง ออกจากตัวเมืองแต่เช้า แวะเที่ยวชมจิตรกรรมฝาผนัง วัดบวกครกหลวง แวะชมแหล่งผลิตกระดาษสา ที่บ้านต้นเปา ชมการทำร่มที่บ่อสร้าง และโรงงานทอผ้าไหมชินวัตร ที่สันกำแพง เย็นกลับมาร่วมขันโตกดินเนอร์ที่ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่

- วันที่ 3 ออกเดินทางแต่เช้า ชมหมู่บ้านปั้นหม้อน้ำต้นบ้านเหมืองกุง เลยไปชมวัดต้นเกว๋น จากนั้นมุ่งหน้าไปบ้านถวาย ชมแหล่งผลิตจำหน่ายไม้แกะสลัก เย็นกลับเข้าตัวเมือง ขึ้นรถเดินทางกลับกรุงเทพฯ



จังหวัดเชียงใหม่ :: สถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ

เส้นทางแม่ริม-สะเมิง
(ทางหลวงหมายเลข 1096 แยกจากทางหลวงหมายเลข 107)

การเดินทาง ตามเส้นทางสายนี้มีรถสองแถวสายแม่ริม - สะเมิง ท่ารถอยู่ใกล้กับตลาดวโรรส

สวนกล้วยไม้และฟาร์มผีเสื้อ
ตามเส้นทางนี้มีอยู่หลายแห่งที่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม ได้รวบรวมพันธุ์กล้วยไม้ที่แปลกและหาดูได้ยากไว้ด้วย อาทิ สายน้ำผึ้งพิพิธภัณฑ์กล้วยไม้ไทย ไปตามถนนสายแม่ริม-สะเมิง 2 กิโลเมตร และแยกซ้ายอีก 1 กิโลเมตร เป็นสวนกล้วยไม้ที่ใหญ่ที่สุดในเชียงใหม่ มีฟาร์มผีเสื้อ แมวไทย และสัตว์อื่นๆ ให้ชมด้วย โทร. (053) 297152, 298771-2 ตรงกันข้ามเป็น สวนกล้วยไม้เมาท์เท่น ออคิด โทร. (053) 297343 แม่แรมออร์คิด ตั้งอยู่ประมาณกิโลเมตรที่ 5.5 มีการปลูกพันธุ์กล้วยไม้นานาชนิด สาธิตการปลูกกล้วยไม้ และจัดเป็นฟาร์มผีเสื้อด้วย จำหน่ายสินค้าที่ระลึกประเภทเครื่องประดับ เช่น เข็มกลัด ต่างหู สร้อย ซึ่งทำจากกล้วยไม้ ใบไม้ และแมลงต่างๆ โทร. (053)298801-2

ฟาร์มงูแม่สา
ตั้งอยู่ประมาณกิโลเมตรที่ 3 เส้นทางสายแม่ริม-สะเมิง เป็นสถานที่รวบรวมพันธุ์งูที่มีในเมืองไทยและศึกษาด้านการขยายพันธุ์ มีการแสดงของงูและการรีดพิษงูให้นักท่องเที่ยวชมทุกวัน แบ่งเป็นรอบๆ แต่ละรอบใช้เวลาแสดงประมาณ 30 นาที ข้อมูลเพิ่มเติม โทร. (053) 860719

น้ำตกแม่สา
แยกเข้าทางซ้ายมือตรงกิโลเมตรที่ 7 เข้าเขตวนอุทยาน น้ำตกแม่สาเป็นน้ำตกที่มีชื่อเสียงของอำเภอแม่ริม แบ่งเป็นชั้นๆ ขึ้นไปตามเชิงเขาถึง 8 ชั้น ปกคลุมด้วยต้นไม้ใหญ่ทั่วบริเวณ ทำให้สภาพอากาศร่มรื่นเย็นสบายตลอดปี เป็นสถานที่พักผ่อนที่ได้รับความนิยมมากทั้งชาวเชียงใหม่และนักท่องเที่ยวต่างถิ่น

สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
ตั้งอยู่ในพื้นที่จำนวน 3,500 ไร่ บริเวณชายเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ท้องที่ตำบลแม่แรม อำเภอแม่ริม ทางเข้าอยู่ด้านซ้ายมือบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 12 สายแม่ริม-สะเมิง สภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบและที่สูงสลับกันเป็นชั้นๆ ในระดับ 300-970 เมตร จัดทำเป็นสวนพฤกษศาสตร์ระดับนานาชาติ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ลักษณะการจัดสวนของที่นี่จะแบ่งพันธุ์ไม้ตามวงศ์และความเหมาะสมของสภาพพื้นที่ รวบรวมพันธุ์ไม้ทั้งในและต่างประเทศ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาเกี่ยวกับพันธุ์ไม้ สามารถขับรถเที่ยวชมรอบๆได้ จุดที่แวะชมได้ คือ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ศูนย์เพาะกล้วยไม้ไทย อาคารพืชสมุนไพร พิพิธภัณฑ์พืชสมุนไพร ศูนย์วิจัย และอาคารเรือนกระจก และมีเส้นทางเดินเท้าที่จัดไว้ 3 เส้น คือ 1. Rock Garden - Thai Orchid Nursery (สวนหิน-ศูนย์อนุบาลกล้วยไม้ไทย) ใช้เวลาประมาณ 30-60 นาที 2. Arboreta (เส้นทางศึกษาพรรณไม้) รวบรวมพรรณไม้ไว้มากกว่า 10 วงศ์ เช่น กล้วย ปาล์ม ไซแคด เฟิร์น ขิง เป็นต้น ใช้เวลา 45-60 นาที 3. Climber Collection (เส้นทางขึ้นเขา) ใช้เวลา 1-2 ชั่วโมง เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 8.30-16.00 น. ค่าธรรมเนียม ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท รถรวมทั้งคนขับ 50 บาท

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อที่ ตู้ ปณ. 7 อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่ 50180 โทร. (053) 298171-5 ต่อ 4736, 4739 โทรสาร 299754 กรุงเทพฯ ติดต่อได้ที่ อาคารสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โทร. 280-2907

บ้านม้ง (แม้ว) แม่สาใหม่
เลี้ยวซ้ายมือตรงกิโลเมตรที่ 12 เข้าไปอีก 7 กิโลเมตร แต่สภาพทางเป็นลูกรังและสูงชัน ต้องใช้รถขับเคลื่อน 4 ล้อเท่านั้น ชาวบ้านมีความเป็นอยู่และขนบธรรมเนียมประเพณีความเป็นจริงของการดำเนินชีวิต การประกอบอาชีพ ตลอดจนงานศิลปหัตถกรรมของชาวเขา

บนเส้นทางสายนี้ยังมีรีสอร์ทหลายแห่งที่ประดับด้วยดอกไม้และตกแต่งสวยงามพร้อมเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมด้วย เช่น แม่สาวาเลย์ แม่สารีสอร์ท (มีสนามกอล์ฟ 9 หลุม) ไร่กังสดาล เป็นต้น (ดูรายละเอียดในสถานที่พัก)



เส้นทางแม่มาลัย-ปาย
(ทางหลวงหมายเลข 1095 แยกจากทางหลวงหมายเลข 107)

โป่งเดือดป่าแป๋
อยู่ในท้องที่อำเภอแม่แตง ห่างจากเชียงใหม่ประมาณ 40 กิโลเมตร เป็นน้ำร้อนที่พุ่งขึ้นมาจากพื้นดินสูงเกือบ 4 เมตร นับว่าเป็นน้ำพุร้อนที่ใหญ่และสูงที่สุดในประเทศ รอบๆ บริเวณซึ่งเป็นป่าทึบจะอบอวลไปด้วยกลิ่นกำมะถัน การเดินทาง ใช้ถนนสายแม่มาลัย-ปาย ไปประมาณ 35 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าไปอีกประมาณ 6.5 กิโลเมตร เป็นทางลูกรัง สภาพยังไม่ดีนัก

น้ำตกหมอกฟ้า
ตั้งอยู่บนถนนสายแม่มาลัย-ปาย กิโลเมตรที่ 20 แยกซ้ายยเข้าไปเป็นทางลูกรังอีกประมาณ 2 กิโลเมตรจึงจะถึงน้ำตก เป็นน้ำตกชั้นเดียวที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก แต่มีน้ำไหลตลอดทั้งปีและมีบรรยากาศร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ

อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง

นอกจากนี้ยังมีสถานที่น่าสนใจอื่นๆใกล้เคียงอีก ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้แก่ โป่งน้ำร้อนท่าปาย น้ำตกแม่เย็น

ห้วยน้ำรูหรือดอยสามหมื่น
ตั้งอยู่ในเขตท้องที่ตำบลเมืองคอง อำเภอเชียงดาว มีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง เช่น หมูบ้านชาวเขาเผ่าลีซอ ทัศนียภาพที่สวยงาม และชมการปลูกกาแฟและไม้ผลเมืองหนาว มีที่พักและอาหารไว้บริการแก่นักท่องเที่ยว เป็นบ้านพักรวม 4 หลัง แต่ละหลังมีเครื่องทำน้ำอุ่นไว้บริการ

การเดินทาง ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ ประมาณ 130 กิโลเมตร ใช้เส้นทางเชียงใหม่-ห้วยน้ำดัง และเลยเข้าไปทางห้วยน้ำดังอีก 21 กิโลเมตร ทางยังไม่ลาดยางใช้ได้เฉพาะฤดูแล้งเท่านั้น ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมง มีบ้านพักแต่ต้องจองล่วงหน้าอย่างน้อย 2 เดือน ที่ส่วนอนุรักษ์ต้นน้ำ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บางเขน กรุงเทพฯ โทร. 579-7587

ป่าสนบ้านวัดจันทร์
ผืนดินแห่งนี้ชาวกะเหรี่ยง มูเส่คี (หมายถึง ต้นน้ำแม่แจ่ม) ได้พึ่งพาอาศัยดำรงชีวิตมานับร้อยปี พวกเขาช่วยกันดูแลรักษาผืนดินผืนป่าแห่งนี้อย่างดี เหมือนเป็นสามชิกครอบครัวเลยก็ว่าได้ ตามธรรมเนียมกะเหรี่ยง เมื่อมีเด็กเกิดใหม่จะนำสายสะดือของเด็กไปผูกไว้กับต้นไม้ กำหนดว่าเป็นต้นไม้ของครอบครัวใครจะมาตัดไม่ได้

สนที่ขึ้นที่นี่เป็นสนเขาทั้งสนสองใบและสามใบที่จะขึ้นเฉพาะในที่สูง 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลางขึ้นไป ยางสนนำไปใช้ประโยช์ได้หลายอย่าง เช่น เป็นตัวช่วยให้ฝืดโดยนำไปใช้กับเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายได้ หรือนำไปสกัดเป็นน้ำมันสนที่ใช้ผสมกับสีน้ำมันช่วยให้สีแห้งเร็ว แต่เพื่อเป็นการรักษาสมดุลของป่าที่นี่จึงไม่มีการทำยางสน ชาวบ้านได้รับการส่งเสริมจากโครงการหลวงให้เลี้ยงไก่เบสซึ่งเป็นไก่เนื้อพันธุ์ดีกิโลกรัมละหลายร้อยบาท

ผู้สนใจมาหาประสบการณ์ชีวิตจากที่นี่นำจักรยานมาปั่นได้จะดีมากเพราะอากาศที่นี่เย็นสบายตลอดปี ทิวทัศน์เป็นป่าสนสวยงาม หรือจะนำเรือยางมาพายในทะเลสาบที่นี่ก็ได้ กิจกรรมแบบนี้นอกจากไม่ก่อมลพิษแล้วเรายังได้อยู่กับธรรมชาติอย่างใกล้ชิดด้วย บ้านพักติดต่อที่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) บ้านวัดจันทร์ โทร.(053) 249349

การเดินทาง มีหลายเส้นทางให้เลือกแต่ไม่ว่าจะเลือใช้ทางใดก็ต้องใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อเท่านั้น เส้นทางที่สะดวกที่สุดคือ สายแม่มาลัย-ปาย ประมาณ 80 กิโลเมตร และเลี้ยวซ้ายเข้าทางลูกรังอีกประมาณ 40 กิโลเมตร สายสะเมิง-วัดจันทร์ เป็นทางลูกรังเช่นกันระยะทาง 80 กิโลเมตร อีกสองเส้นทางที่ลำบากกว่าสองทางแรกคือ อำเภอแม่แจ่ม-บ้านวัดจันทร์ และ อำเถเมืองแม่ฮ่องสอน-บ้านวัดจันทร์ เส้นทางหลังจะมีความงามมาก

เส้นทางบ้านเมืองงาย- อำเภอเวียงแหง
(ทางหลวงหมายเลข 1322 แยกจากทางหลวงหมายเลข 107)

พระสถูปเจดีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชานุสรณ์
อยู่ที่บ้านเมืองงาย ประชาชนได้ร่วมกันสร้างขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์ว่า พระองค์เคยเสด็จมาประทับแแรมที่เมืองงายแห่งนี้ ก่อนที่จะกรีฑาทัพต่อไปยังเมืองอังวะของพม่า เป็นเจดีย์ฐาน 8 เหลี่ยม ที่ฐานด้านหนึ่งประดิษฐานพระบรมรูปของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แต่ละด้านของฐานเป็นแผ่นศิลาสลัก เรื่องพระราชกรณียกิจของพระองค์ สลับกับแผ่นหินอ่อนที่เล่าพระราชประวัติ ประวัติการสร้างพระสถูป ด้านหลังเป็นค่ายหลวงจำลอง ที่ภายในประดิษฐานพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ และสมเด็จพระสุพรรณกัลยา

อำเภอเวียงแหง
เป็นเมืองที่อยู่ติดชายแดนไทยพม่า มีคนหลายเชื้อชาติอยู่ด้วยกันอย่างสันติ ทั้งชาวเขา ไทยใหญ่ จีนฮ่อ แต่ละกลุ่มต่างก็ยังดำรงชีวิตตามขนบธรรมเนียมเดิมของตนเอง ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ส่วนใหญ่จะปลูกข้าว เพราะมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบกว้างใหญ่ใจกลางหุบเขา ชาวบ้านใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย เพราะความเจริญยังแพร่มาไม่มากนัก เนื่องจากการสัญจรไปมา ต้องผ่านเส้นทางคดเคี้ยวสูงชัน เลาะขุนเขาหลายลูกกว่าจะเข้าถึงได้ ปัจจุบันพึ่งมีถนนลาดยางตัดเข้าถึง จึงเหมือนเป็นการเปิดอำเภอนี้ สู่โลกภายนอกอย่างแท้จริง

แต่ในขณะเดียวกันทางอำเภอมีนโยบายที่จะแบ่งเขตการพัฒนา โดยตำบลเมืองแห่งเป็นที่อยู่อาศัย และอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี โบราณสถาน ตำบลแสนไหเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมและการเกษตร ตำบลเปียงหลวงเป็นพื้นที่ธุรกิจการค้าขายชายแดน อำเภอนี้มีสิ่งที่น่าชมหลายอย่าง ได้แก่

พระบรมธาตุแสนไห
อยู่ที่ตำบลเมืองแหง จากบ้านเมืองายเข้ามา 55 กิโลเมตร เชื่อกันว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล แต่มาได้รับการบูรณะในพ.ศ. 2457 เป็นปฏิมากรรมผสมระหว่างพม่าและลานนาไทย ซึ่งการก่อสร้างทับพระธาตุเดิมที่มีขนาดเล็ก โดยของใหม่มีสันฐาน 8 เหลี่ยม สันนิษฐานว่า ที่นี่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อครั้งยกทัพไปยังเมืองอังวะของพม่าเมือปี พ.ศ. 2147 หลังจากประชุมพลที่เมืองงาย จึงเสด็จไปทางเมืองห้างหลวง ซึ่งน่าจะเป็นเมืองแหงในปัจจุบันเพราะมีคูเมืองล้อมยาวกว่า 2 กิโลเมตร และเป็นเมืองเดียวที่อยู่ระหว่างเมืองงายกับเมืองอังวะของพม่า เชื่อว่าพระองค์น่าจะเสด็จมาพักทัพที่พระบรมธาตุแห่งนี้ และสร้างบ่อน้ำใช้ส่วนพระองค์และช้างศึก ตรงบริเวณด้านหน้าเนินเขาที่ประดิษฐานพระบรมธาตุ ชาวบ้านเรียกว่าบ่อน้ำช้าง ประเพณีที่สำคัญของวัดนี้ คือ งานสรงน้ำพระบรมธาตุ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี

วัดฟ้าเวียงอินทร์
ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบไทยใหญ่ อยู่ที่บ้านหลักแต่งตรงชายแดนไทย-พม่าพอดี สมัยก่อนบริเวณบ้านหลักแห่งนี้ ถือเป็นเขตอิทธิพลของขุนส่า อาณาเขตของวัดนี้ จึงนับเป็นดินแดนเดียวกัน แต่เมื่อขุนส่ามอบตัวแก่รัฐบาลทหารพม่า ดินแดนวัดถูกแยกเป็นสองส่วน มีเจดีย์สีเหลืองทองอร่ามอยู่ในแดนไทย และจะมองเห็นหลังคาโบสถ์สีแดงทรงไทยใหญ่อยู่ในฝั่งพม่า ด้านหลังเป็นศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ชาวบ้านจะให้ความเคารพมาก และที่เชิงเขาด้านหลังเป็นสุสานนายพลโมเฮงอดีตผู้นำชาวไทยใหญ่ที่นี่

บ้านเปียงหลวง
อยู่ติดชายแดนไทย-พม่า มีด่าน “ช่องหลักแต่ง” เป็นด่านชั่วคราว ที่เปิดการค้าขายชายแดนในระดับท้องถิ่น ในยามเหตุการณ์สงบ ด่านจะเปิดให้ชาวบ้านในละแวกข้ามมาค้าขายกันได้ ชาวบ้านในตำบลนี้เป็นจีนฮ่อและไทยใหญ่ โดยชาวจีนฮ่อนั้นอพยพเข้ามาในสมัยเจียงไคเช็คเป็นประธานประเทศ แต่ก็ยังไม่ละทิ้งวัฒนธรรมเดิม ทุกคนจะเรียนภาษาจีนเพิ่มเติมตอนเย็นโดยได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลไต้หวัน

การเดินทาง หากจะเดินทางมาที่อำเภอนี้โดยรถยนตร์ส่วนตัวใช้ทางหลวง 107 และแยกซ้ายที่เมืองงายเข้าทางหลวง 1322 ระยะทาง 72 กิโลเมตร แต่หากมาโดยรถประจำทางขึ้นรถที่ท่ารถถนนช้างเผือก สายดาวทอง (เวียงแหง-เปียงหลวง) เป็นรถสองแถวสีขาว 6 ล้อ รถออก เวลา 8.00, 12.00 และ 15.00 น. จากเวียงแหงรถออกตรงหน้าตลาด เวลา 7.00, 8.00 และ 15.00 น. ใช้เวลาเดินทาง 4 ชั่วโมง ค่ารถ 70 บาท


เส้นทางหางดง-สะเมิง
(ทางหลวงหมายเลข 1269 แยกจากทางหลวงหมายเลข 108)

โครงการหลวงห้วยผักไผ่ (สวนกุหลาบหลวง)
ตั้งอยู่ที่บ้านแม่ฮะ ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง บนเส้นทางสายสะเมิง-หางดง บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 17 แยกเข้าไปประมาณ 300 เมตร สามารถเดินทางจากเชียงใหม่ได้สองทาง คือ ตามทางสายเชียงใหม่-แม่ริม-สะเมิง-หางดง ระยะทาง 32 กิโลเมตร และเส้นทางสายเชียงใหม่-หางดง-สะเมิง ระยะทาง 43 กิโลเมตร งานหลักของโครงการฯ คือ การรวบรวม ศึกษา และขยายพันธุ์กุหลาบชนิดต่างๆ สิ่งที่น่าสนใจคือ “สวนกุหลาบหลวง” ซึ่งเป็นแปลงกุหลาบในเนื้อที่12 ไร่ ปลูกไล่ไปตามไหล่เขา มองดูสวยงาม นับเป็นสถานที่รวบรวมพันธุ์กุหลาบที่มากที่สุด ช่วงฤดูที่เหมาะแก่การท่องเที่ยว คือ เดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์

ตามเส้นทางสายนี้มีรีสอร์ทหลายแห่งที่มีการตกแต่งด้วยไม้ดอกไม้ประดับอย่างสวยงาม และเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม หรือไปแค้มป์ปิ้งได้ เช่น กฤษดาดอย อุทยานล้านนา ดูรายละเอียดในข้อมูลที่พัก


เส้นทางสายเหนือ
(ทางหลวงหมายเลข 107 เชียงใหม่-ฝาง)

พิพิธภัณฑ์ชาวเขา
ตั้งอยู่ในบริเวณสวนล้านนา ร.9 ถนนโชตนา อยู่ในความดูแลของสถาบันวิจัยชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เป็นพิพิธภัณฑ์เฉพาะทางด้านชาติพันธุ์วิทยา จัดเก็บรวบรวมวัตถุพยานหลักฐานวัฒนธรรมของชนเผ่าบนที่สูง หรือ “ชาวเขา” ประกอบด้วยกลุ่มชนจำนวน 9 กลุ่ม คือ กะเหรี่ยง แม้ว เย้า ลีซอ อีก้อ มูเซอ ลัวะ ถิ่น ขมุ และกลุ่มชนเล็กที่สุดอีกกลุ่มหนึ่งคือ มลาบรี หรือผีตองเหลือง มีลักษณะวัฒนธรรมของตนเองที่แตกต่างกันไป พิพิธภัณฑ์ชาวเขาได้จัดแสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ประเพณี ความเชื่อและภูมิปัญญาชาวเขา ซึ่งถูกนำมาถ่ายทอดผ่านการจัดแสดงทางวัตถุศิลป์ จัดเป็นแหล่งความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมชาวเขาที่เป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าสำหรับผู้สนใจทั่วไป

พิพิธภัณฑ์ชาวเขาแห่งนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญและน่าสนใจแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ เปิดทุกวัน เวลา 9.00-16.00 น. ข้อมูลเพิ่มเติม โทร. (053) 210872

โรงงานไทยศิลาดล
เป็นโรงงานผลิตเครื่องเคลือบดินเผาแบบโบราณ ห่างจากตัวเมือง 6 กิโลเมตร โรงงานเปิดจันทร์-เสาร์ เวลา 8.00-17.00 โทร. (053) 213245, 213541

ป่าเกี๊ยะหรือแม่ตะมาน
(เกี๊ยะ เป็นคำเมืองแปลว่า ต้นสน) ตั้งอยู่ในเขตท้องที่อำเภอเชียงดาว ขึ้นอยู่กับส่วนอนุรักษ์ต้นน้ำ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จากหน่วยงานมองเห็นยอดดอยเชียงดาวและทะเลหมอกยามเช้า มีแปลงดอกไม้ และแปลงทดลองปลูกกาแฟ การเดินทาง ใช้เส้นทางเชียงใหม่-ฝาง ประมาณ 67 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าหน่วยงานฯ อีกประมาณ 21 กิโลเมตรสภาพทางช่วงนี้ลำบากมากเป็นทางลูกรังและเป็นหลุมเป็นบ่อต้องใช้รถขับเคลื่อน 4 ล้อเท่านั้น

ถ้ำเชียงดาว
อยู่ในเขตอำเภอเชียงดาว การเดินทาง จากเชียงใหม่ไปยังอำเภอเชียงดาว ระยะทาง 72 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายตรงทางแยกเข้าไปจนถึงถ้ำอีก 5 กิโลเมตร เป็นถนนลาดยางจนถึงบริเวณถ้ำ มีบริเวณจอดรถกว้างขวาง ทางเข้าถ้ำเป็นบันไดมีหลังคามุงสังกะสี หน้าถ้ำมีธารน้ำไหลผ่านเต็มไปด้วยปลาหลายชนิด ด้านขวามือตรงกลางสระเป็นเรือสำเภาหิน เสียค่าเข้าชมคนละ 5 บาท หรือหากต้องการชมบริเวณถ้ำทั้งหมด ติดต่อคนนำทางได้บริเวณหน้าถ้ำโดยเสียค่าบริการพิเศษ

ดอยเชียงดาว
อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยเชียงดาว อำเภอเชียงดาว ยอดสูงสุดของดอยเชียงดาว เรียกว่า ดอยหลวงเชียงดาว (เพี้ยนมาจากคำที่ชาวบ้านในละแวกเปรียบเทียบดอยนี้ว่าสูง "เพียงดาว") มีลักษณะเป็นภูเขาหินปูนรูปกรวยคว่ำสูง 2,195 เมตร จากระดับน้ำทะเล นับเป็นยอดดอยที่สูงอันดับ 3 ของประเทศรองจากดอยอินทนนท์และผ้าห่มปก จากบนยอดดอยซึ่งเป็นที่ราบแคบๆ สามารถมองเห็นทัศนียภาพอันงดงามรอบด้าน คือ ทะเลหมอกด้านอำเภอเชียงดาว ดอยสามพี่น้อง เทือกดอยเชียงดาว ตลอดจนถึงยอดดอยอินทนนท์อันไกลลิบอากาศเย็น ลมแรง และสมบูรณ์ด้วยดอกไม้ป่าภูเขาที่หาชมได้ยากมากมายรวมทั้งนกและผีเสื้อด้วย (ไม่เหมาะที่จะขึ้นไปยืนบนยอดดอยทีละกลุ่มใหญ่ๆ เพราะจะไปเหยีบย่ำทำลายพรรณไม้บนนั้นได้ แม้จะโดยไม่ตั้งใจก็ตาม)

การเข้าไปใช้พื้นที่ต้องทำหนังสือขออนุญาตถึงผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ อย่างน้อย 2 อาทิตย์ก่อนการเดินทาง รายละเอียด โทร. 561-2947

การเดินทางสู่ยอดดอยเชียงดาวเริ่มที่ถ้ำเชียงดาว ซึ่งนักท่องเที่ยวจะสามารถติดต่อคนนำทาง ลูกหาบ รวมทั้งรถไปส่งที่จุดเริ่มเดินได้ โดยค่าเช่ารถประมาณ 900 บาท ค่าจ้างลูกหาบประมาณวันละ 300 บาทต่อลูกหาบหนึ่งคน บนดอยเชียงดาวไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆ นักท่องเที่ยวต้องเตรียมตัวไปด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องนอน อาหาร และน้ำ

ส่วนเส้นทางลง นิยมใช้ทางสายบ้านถ้ำ ซึ่งอยู่ใกล้กับถ้ำเชียงดาว เพราะมีทางสูงชันสามารถลงได้รวดเร็วกว่า แต่ไม่เหมาะกับการขึ้น

โครงการหลวงห้วยลึก
ตั้งอยู่ที่อำเภอเชียงดาวตามเส้นทางสายเชียงใหม่-ฝาง ประมาณกิโลเมตรที่ 95 เลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 500 เมตร โครงการนี้ดำเนินการจัดพื้นที่ทำกินให้แก่ชาวเขาเผ่าแม้ว กะเหรี่ยง และคนเมืองในบริเวณพื้นที่ โดยทำการส่งเสริม วิจัย และเพาะพันธุ์ให้แก่เกษตรกร ผลิตผล ได้แก่ ผักจำพวกผักสลัด แคนตาลูป ฯลฯ ไม้ดอก เช่น เบญจมาศ พีค็อก ฯลฯ ไม้ผล เช่น ทับทิม ฝรั่งคั้นน้ำ เป็นต้น ฤดูท่องเที่ยวของที่นี่จะอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มีนาคม เนื่องจากมีผลิตผลให้ชมและซื้อหาได้

วัดถ้ำตับเต่า
อยู่ในเขตอำเภอไชยปราการ บนเส้นทางสายเชียงใหม่-ฝาง ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 120 และ 121 แยกซ้ายมือเข้าไปประมาณ 3 กิโลเมตร ภายในบริเวณวัดร่มรื่น มีหอพระไตรปิฎกสร้างอยู่กลางน้ำ สิ่งสำคัญในวัดคือถ้ำตับเต่า มีขนาดเล็กกว่าถ้ำเชียงดาว แต่มีความสวยงามไม่แพ้กัน ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ ถ้ำตับเต่านี้แยกออกเป็น 2 ถ้ำ คือ ถ้ำผาขาว และถ้ำปัญเจค บริเวณหน้าถ้ำมีกุฏิและศาลาสำหรับพักผ่อน

ดอยอ่างขาง

บ่อน้ำร้อนฝาง
ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอฝางไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 8 กิโลเมตร ในเขตตำบลบ้านปิน น้ำร้อนเกิดจากหินแกรนิตที่มีความร้อนเกือบเดือด หรือเดือดระหว่าง 90 - 100 องศาเซลเซียส มีมากกว่า 50 แห่ง บ่อใหญ่มีไอน้ำพุ่งขึ้นสูงส่งกลิ่นกำมะถันกระจายไปทั่ว

ดอยผ้าห่มปก
อยู่ในเทือกแดนลาวที่ทอดตัวยาวมาตั้งแต่ตอนใต้ของประเทศยูนนานลงมาแบ่งชายแดนไทย-พม่าตั้งแต่เชียงรายจนถึงแม่ฮ่องสอนจึงไปจรดกับเทือกเขาถนนธงชัย ดอยแห่งนี้มีความสูงเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศ (2,297 เมตร) ดูจะสูงตระหง่านเสียดฟ้ามีเมฆหมอกปกคลุมอยู่ตลอดเวลาจึงมีผู้เปรียบเปรยว่า “ฟ้าห่มปก” การที่ขึ้นไปสัมผัสหมอกหนาวและไอเย็นที่นี่ นอกจากจะได้ชมทัศนียภาพภาพอันสวยงามแล้ว ยังจะได้พบนกนานาชนิดที่อาศัยที่นี่เป็นทั้งที่พักพิงชั่งคราวและประจำ มีชนเผ่าหนึ่งอาศัยอยู่ที่นี่มานานกว่าครึ่งศตวรรษแล้วคือมูเซอ การจะเดินทางขึ้นสู่จุดยอดดอยผ้าห่มปกนั้นต้องเตรียมตัวอย่างดีเพราะต้องเดินป่าปีนเขาอย่างสมบุกสมบัน และก่อนเดินทางติดต่อขออนุญาตจากส่วนอนุรักษ์ต้นน้ำ กรมป่าไม้ โทร. 561-4292 ต่อ 736 และที่นี่ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆนักท่องเที่ยวต้องเตรียมไปเอง

การเดินทาง ใช้เส้นทางเชียงใหม่-ฝางประมาณ 150 กิโลเมตร ฝาง-แม่อาย 9 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายที่ตลาดบ้านป่าซางอีก 14 กิโลเมตร ผ่านดอยปู่หมื่นไปจนถึงหน่วยจัดการต้นน้ำแม่สาว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมง สภาพทางยังเป็นลูกรัง มีเส้นทางต่อไปหน่วยย่อยอีก 5 กิโลเมตร จากนั้นต้องเดินเท้าต่อไปยอดดอย 8 กิโลเมตร

ท่าตอน-เชียงราย
ท่าตอนเป็นหมู่บ้านหนึ่งในเขตอำเภอแม่อาย เป็นที่ซึ่งแม่น้ำกกไหลผ่านลงไปถึงตัวอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย แม่น้ำกกนี้เป็นแม่น้ำสายสำคัญในการคมนาคมระหว่าง 2 จังหวัด ปกติแล้วจะมีเรือหางยาวบริการรับส่งผู้โดยสารจากท่าตอนล่องไปตามแม่น้ำกกจนถึงเชียงราย จะเห็นชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนที่อาศัยอยู่ริมสองฟากฝั่งแม่น้ำกก ซึ่งเรือดังกล่าวออกจากท่าตอนเวลา 12.30 น. ไปถึงเชียงรายประมาณ 16.00 น. (ค่าโดยสารเรือหางยาวคนละ 200 บาท เหมาลำละ1,600 บาท) สอบถามรายละเอียด โทร. (053) 459427

นอกจากนี้ยังมีทัวร์ล่องแพพาแวะเที่ยวบ่อน้ำพุร้อน บ้านชาวเขาเผ่ามูเซอ นั่งช้างชมรอบหมู่บ้านและเดินป่าบริเวณใกล้เคียง ติดต่อที่ร้านจันทร์เกษม โทร. (053) 459313 คุณตาบทิพย์ วรรณรัตน์ โทร. (053) 459138 และท่าตอนทัวร์ โทร. (053) 373143

วัดท่าตอน
เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนเนินเขาต่อเนื่องกันหลายลูก มีเนื่อที่กว่า 400 ไร่ อยู่ติดริมแม่น้ำกก เดิมเป็นวัดเก่าแก่สันนิษฐานได้จากวัตถุโบราณที่ค้นพบในบริเวณนี้ วัดท่าตอนยังเป็นสถาบันการศึกษาสำหรับพระภิกษุ สามเณร และเยาวชน เป็นศูนย์บำบัดยาเสพติด และสงเคราะห์ชาวเขา เป็นวัดที่มีทิวทัศน์งดงาม และเนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชย์เป็นปีที่ 50 ทางวัดได้ริเริ่มโครงการก่อสร้างเจดีย์แก้วเฉลิมพระเกียรติไว้บนยอดเขา ด้านบนมีจุดชมวิวซึ่งจะมองเห็นชุมชน ทุ่งนา และแม่น้ำกกไหลคดเคี้ยวอยู่เบื้องล่าง



เส้นทางสายตะวันตก (ทางหลวงหมายเลข 1004)

สวนรุกขชาติห้วยแก้ว
อยู่ข้างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นที่รวบรวมพันธุ์ไม้นานาชนิดไว้ศึกษา เป็นสถานที่ร่มรื่น เหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อนและยังมีสวนสุขภาพสำหรับออกกำลังกาย

สวนสัตว์เชียงใหม่
อยู่ใกล้กับสวนรุกขชาติ เป็นสวนสัตว์ขนาดใหญ่ได้รับการจัดสภาพอย่างดี บริเวณกว้างขวาง มีบรรยากาศร่มรื่น และมีสัตว์อยู่มากกว่า 2,000 ชนิด ทั้งที่มีอยู่ในเมืองไทยและนำมาจากต่างประเทศ เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 08.00-19.00 น. ค่าเข้าชมผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก 5 บาท และยังมีร้านอาหาร สถานที่แค้มปิ้งพร้อมเต็นท์ ไว้บริการนักท่องเที่ยว ติดต่อจองล่วงหน้าที่ โทร. (053) 221179, 222283


เส้นทางสายตะวันตกเฉียงใต้ (ทางหลวงหมายเลข 108)

หมู่บ้านทำเครื่องเงิน
อยู่บริเวณถนนวัวลาย ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเครื่องเงิน เช่น หีบบุหรี่ ช้อนส้อม ถาดผลไม้ เชี่ยนหมาก ฯลฯ มีลวดลายประณีตบรรจง นอกจากนี้ยังมีโรงงานผลิตเครื่องเงินอยู่บริเวณเส้นทางเชียงใหม่-สันกำแพง และถนนช้างคลาน

ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่
ตั้งอยู่บนถนนสายเชียงใหม่-หางดง เป็นที่รวมศิลปะและวัฒนธรรมของล้านนา เป็นหมู่เรือนไทยไม้สัก ประตูหน้าต่างประดับด้วยไม้แกะสลักอย่างสวยงาม มีร้านขายของที่ระลึกอยู่หลายร้าน และมีหมู่บ้านชาวเขาให้เที่ยวชม ส่วนในตอนกลางคืนมีบริการอาหารเย็นแบบ“ขันโตก” ซึ่งประกอบด้วยอาหารเหนือ เช่น แกงฮังเล น้ำพริกอ่อง แคบหมู เป็นต้น โดยนักท่องเที่ยวจะรับประทานอาหาร และชมการแสดงฟ้อนพื้นเมืองไปพร้อมๆ กัน

เมื่อเสร็จสิ้นการแสดงฟ้อนรำพื้นเมืองแล้ว นักท่องเที่ยวจะได้ชมการแสดงของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง ม้ง (แม้ว) อีก้อ มูเซอ เย้า และลีซอ อีกทั้งแต่ละเผ่ามีการแสดงที่ไม่เหมือนกัน โดยแสดงทุกวันตั้งแต่เวลา 19.00-22.00 น. รายละเอียดเพิ่มเติม โทร. (053) 274540, 275097

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายแห่งที่จัดกิจกรรมแบบนี้ เช่น คุ้มแก้วพาเลซ โทร. 214315 ขันโตกบ้านร้อยจันทร์ โรงแรมปางสวนแก้ว โทร. 224444 เป็นต้น

หมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาเหมืองกุง
ผลิตภัณฑ์มีหลายอย่างเช่น หม้อแกง หม้อน้ำ แจกัน โดยเฉพาะน้ำต้น (คนโทใส่น้ำที่ชาวเหนือนิยมวางไว้หน้าบ้านให้ผู้ผ่านไปมาได้ดื่มดับกระหาย) นั้นเป็นที่นิยมทั่วไปแก่คนที่พบเห็น ปัจจุบันได้มีการพัฒนากรรมวิธีในการผลิต และรูปแบบเครื่องปั้นดินเผาเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีสีสันสดขึ้น แต่มีการทำเครื่องปั้นดินเผาในบางครัวเรือนเท่านั้น

การเดินทาง บ้านเหมืองกุงอยู่ห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ ไปตามเส้นทางเชียงใหม่-หางดง ประมาณ 10 กิโลเมตร และระยะทางห่างจากถนนสายวงแหวน (ทางหลวงหมายเลข 11 สนามบิน) ประมาณ 6 กิโลเมตร โดยอยู่ก่อนถึงทางแยกตัดใหม่สายหางดง-สะเมิงเพียงเล็กน้อย

บ้านถวาย
อยู่ถัดจากเหมืองกุงไปตามเส้นทางสายเชียงใหม่-ฮอด ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 15 ถึงห้องสมุดประชาชนอำเภอหางดง จึงแยกซ้ายเข้าหมู่บ้าน มีโรงงานผลิตไม้แกะสลักเพื่อจำหน่ายทั้งปลีกและส่ง มีชื่อเสียงในการทำผลิตภัณฑ์เลียนแบบของเก่า ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถชมการผลิตและซื้อเป็นสินค้าที่ระลึกได้

เวียงท่ากาน
เป็นเมืองเก่าแก่แห่งหนึ่งในสมัยหริภุญชัย เชื่อว่าเมืองนี้คงจะเริ่มสร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 สมัยพระเจ้าอาทิตยราชกษัตริย์ผู้ครองแคว้นหริภุญชัย สืบต่อมาจนถึงสมัยพญามังรายช่วงก่อนสร้างเมืองเชียงใหม่ โบราณสถานที่สำคัญอยู่บริเวณกลางเมืองในเขตโรงเรียน วัดท่ากาน และวัดต้นกอก โบราณวัตถุที่พบ ได้แก่ พระพุทธรูปหินทราย พระพุทธรูปดินเผา พระพิมพ์จำนวนมาก ไหเคลือบสีน้ำตาลบรรจุกระดูก และเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หยวน (พ.ศ.1823-1911)

ปัจจุบัน เวียงท่ากานอยู่ในเขตท้องที่บ้านท่ากาน ตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง ห่างจากเมืองเชียงใหม่ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 108 ประมาณ 34 กิโลเมตร ผ่านอำเภอสันป่าตอง แล้วเลี้ยวซ้ายที่บ้านทุ่งเสี้ยว เข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร
จากตัวเมืองเชียงใหม่มุ่งหน้าไปตามถนนสายเชียงใหม่-ฮอด 58 กิโลเมตร เป็นวัดสำคัญคู่เมืองจอมทอง และเป็นที่เคารพสักการะของชาวเหนือโดยทั่วไป ประะเพณีเด่นของวัดคือ “การแห่ไม้ค้ำโพธิ์” ซึ่งเป็นประเพณีของชาวลานนาที่ถือว่าการเอาไม้มาค้ำโพธิ์เป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนา

วัดพระธาตุดอยน้อย
ตั้งอยู่ที่ตำบลดอยหล่อ อำเภอจอมทอง ตามทางหลวงหมายเลข 108 ระหว่างกิโลเมตรที่ 43-44 หากมาจากเชียงใหม่จะอยู่ฝั่งซ้ายมือ ตามประวัติว่าสร้างโดยพระนางจามเทวี เมื่อปี พ.ศ. 1201 มีโบราณสถาน และโบราณวัตถุที่พบ ได้แก่ พระบรมธาตุ โข่งพระ (กรุพระ) โบสถ์ วิหาร และพระพุทธรูปหินอ่อนแกะสลัก ทั้งองค์เล็กองค์ใหญ่มากมาย บริเวณวัดตั้งอยู่บนภูเขาติดลำน้ำปิง มองเห็นทิวทัศน์โดยรอบทุกทิศ มีบันไดนาคขึ้นไป 241 ขั้น

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

วัดพุทธเอิ้น
ตั้งอยู่ที่ตำบลช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจ่ม ตามประวัติกล่าวว่า วัดพุทธเอิ้นก่อสร้างในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เมื่อ 200 กว่าปีมาแล้ว มีโบราณสถานซึ่งขึ้นทะเบียนกับกรมศิลปากรแล้วคือ “โบสถ์น้ำ” คือมีน้ำล้อมรอบเป็น “อุทกสีมา” มีความหมายเหมือนกับ “ขันทสีมา” ของโบสถ์บนบกบริเวณด้านหลังโบสถ์น้ำมีวิหารเก่าแก่ ซึ่งภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง แต่เลือนลางไปมากแล้ว

บ้านไร่ไผ่งาม
เป็นหมู่บ้านผลิตผ้าฝ้ายทอมือแบบโบราณที่มีคุณภาพและมีชื่อเสียงของจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 69-70 ตามเส้นทางเชียงใหม่-ฮอด และเลี้ยวซ้ายเข้าไปหมู่บ้านอีกประมาณ 1 กม. ทางเข้าหมู่บ้านร่มรื่นด้วยเงาไม้ไผ่สองข้างทาง ปัจจุบันกลุ่มแม่บ้าน ซึ่งได้รับการถ่ายทอดการผลิตผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีธรรมชาติ จากคุณป้าแสงดา บันสิทธิ์ ศิลปินแห่งชาติ รวมกลุ่มกันผลิตที่บ้านป้าแสงดา ซึ่งอยู่ติดกับลำน้ำปิง ปัจจุบันได้จัดทำเป็น “พิพิธภัณฑ์ผ้าป้าดา” เพื่อรำลึกถึงผลงานของท่าน และยังแสดงถึงชีวิตความเป็นอยู่แบบพื้นบ้านในสมัยก่อนด้วย ข้อมูลเพิ่มเติม โทร. (053) 361231 โทรสาร (053) 361230 สถานที่ติดต่อในเมืองเชียงใหม่ โทร. (053) 273625

อุทยานแห่งชาติออบหลวง

สถานีทดลองปลูกพรรณไม้บ่อแก้ว (สวนสนบ่อแก้ว)
ตามเส้นทางสายฮอด-แม่สะเรียง กิโลเมตรที่ 36 สถานีฯเป็นส่วนหนึ่งของโครงการสำรวจวัตถุดิบเพื่อทำเยื่อกระดาษ เป็นแปลงทดลองปลูกพืชจำพวกสน และยูคาลิบตัส ในเนื้อที่ทั้งหมด 2,072 ไร่ อากาศของที่นี่ชื้นและเย็นตลอดปี งามด้วยทิวสนที่ปลูกอย่างเป็นระเบียบงามตา จึงทำให้บริเวณสถานีกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมแห่งหนึ่ง

การเดินทาง หากไม่มีรถยนตร์ส่วนตัวสามารถนั่งรถประจำทางสีฟ้าสายเชียงใหม่-ฮอด-ดอยเต่ามาลงที่หน้าสถานีฯ

อุทยานแห่งชาติแม่โถ
อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 160 กิโลเมตร ครอบคลุม พื้นที่ตำบลบ่อสลี อำเภอฮอด ตามเส้นทางสายฮอด-แม่สะเรียง ถึงกิโลเมตรที่ 55 แล้วแยกเข้าเส้นทางไปแม่โถอีก 16 กิโลเมตร ช่วงนี้สภาพถนนลาดยางสลับลูกรัง ลาดชันและคดเคี้ยวจึงควรใช้รถที่มีกำลังและสภาพดี จากที่ทำการมองลงมายังหุบบเขาเบื้องล่าง จะเห็นนาข้าวขั้นบันไดของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง เป็นเส้นคดเคี้ยวดูคล้ายแม่น้ำ โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนนาข้าวจะเขียวขจีชุ่มชื้น หากอากาศปลอดโปร่งจะมองเห็นยอดดอยอินทนนท์ ตอนเช้าหมอกจะหนามาก และอากาศเย็นตลอดปี ทางอุทยานฯกำลังจัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติ คาดว่าอีก 3-4 ปีจึงจะเปิดเป็นทางการ แต่หากต้องการจะขอเข้าไปศึกษาธรรมชาจิตอนนี้ติดต่อขอเจ้าหน้าที่นำทางได้ที่ที่ทำการฯ

หากต้องการมาพักแรมตรงที่ทำการฯ ซึ่งปัจจุบันมีบ้านพัก 7 หลัง แต่ต้องเตรียมเครื่องนอน และอาหารมาเอง สอบถามรายละเอียดได้ที่ศูนย์ประสานงานนอุทยานแห่งชาติและวนอุทยานกลุ่มนครพิงค์ โทร. (053) 818384


ทะเลสาบดอยเต่า
อยู่ห่างจากตัวเมืองไปตามถนนเชียงใหม่-ฮอด-ดอยเต่า ระยะทางประมาณ 133 กิโลเมตร ที่ดอยเต่ามีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งอยู่เหนือเขื่อนภูมิพล เคยใช้ในการเกษตรกรรมการประมง

ในบริเวณอ่างเก็บน้ำ หากมีน้ำมากพอ (โดยมากจะอยู่ในช่วงเดือนตุลาคม-เมษายน) จะมีบริการแพพัก ราคา 1,000-1,500 บาท และเรือนำเที่ยวไปยังเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก ค่าเช่าเหมาเรือประมาณ 3,000-4,000 บาท รายละเอียดติดต่อ บริษัท เพชรสุวรรณ โทร. 469069 หรือ บริษัท ท่องนที จำกัด โทร. (02) 457-6873-4, 457-3428 นำเที่ยวจากเขื่อนภูมิพล มายังอ่างเก็บน้ำดอยเต่า


เส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ
(ทางหลวงหมายเลข 1001 เชียงใหม่-พร้าว)

อุทยานแห่งชาติศรีลานนา
จัดเป็นป่าต้นน้ำลำธารชั้นหนึ่ง ประกอบด้วยสัตว์ป่าและสภาพป่าธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ ครอบคลุมเนื้อที่ป่าแม่งัด ป่าแม่แตง และป่าเชียงดาว ในท้องที่อำเภอพร้าว อำเภอแม่แตง และอำเภอเชียงดาว รวมเนื้อที่ 652,000 ไร่ ลักษณะเป็นป่าดิบเขา ภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนทอดตัวเป็นแนวเหนือใต้ เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธาร ไหลสู่แม่น้ำปิง

สถานที่น่าสนใจในอุทยานฯ

น้ำตกม่อนหินไหล
ตั้งอยู่บริเวณป่าแม่งัด อำเภอพร้าว ใช้เส้นทางเชียงใหม่-พร้าวประมาณ 85 กิโลเมตร แล้วแยกซ้ายเข้าน้ำตก 14 กิโลเมตรซึ่งเป็นทางลูกรังจึงต้องใช้รถขับเคลื่อน 4 ล้อเท่านั้น น้ำตกมี 9 ชั้น เป็นตาดหินลาดเขาตรง น้ำไหลตลอดปี แต่ละชั้นมีลักษณะเด่นที่แปลกตา และบนชั้นที่ 9 คือยอดดอยม่อนหินไหล เป็นจุดชมวิวมองเห็นทัศนียภาพที่สวยงามของอำเภอพร้าว

อ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล
โครงการชลประทานเขื่อนแม่งัด-สมบูรณ์ชล ตั้งอยู่ที่หลักกิโลเมตรที่ 41 บนเส้นทางสายเชียงใหม่-ฝาง แล้วเลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 11 กิโลเมตร ทิวทัศน์ประกอบด้วยป่าเขารอบข้างสวยงาม มีแพที่พักพร้อมอาหารของเอกชนเปิดบริการตลอดปี

นอกจากนั้นยังมีสถานที่น่าสนใจอีกหลายแห่ง ได้แก่ น้ำตกห้วยแม่ระงอง น้ำตกห้วยป่าพลู ถ้ำผาแดง เทือกเขาหินปูน เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติบริเวณดอยแม่วะห่าง (จากที่ทำการประมาณ 4 กิโลเมตร)

การเดินทาง ไปตามทางหลวงหมายเลข 107 สายเชียงใหม่-ฝาง และแยกขวาเข้าเส้นทางสู่เขื่อนแม่งัด-สมบูรณ์ชล ประมาณ 12 กิโลเมตร (ระหว่างทางจะมีแผงขายมะนาวน้ำหอมซึ่งมีรสหวานกลมกล่อมผู้ผผ่านมานิยมแวะซิมกัน) ที่อุทยานฯ ยังไม่มีบ้านพักแต่มีจุดพักแรมห้วยกุ่ม ซึ่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิงติดกับหน่วยพิทักษ์ที่ ศล.6 ห้วยกุ่ม ประมาณกิโลเมตรที่ 260 เส้นทางเชียงใหม่-ฝาง รายละเอียดติดต่อ อุทยานแห่งชาติศรีลานนา ตำบลบ้านเป้า อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 50150

น้ำตกบัวตอง และน้ำพุเจ็ดสี (น้ำพุเย็น น้ำตกเย็น)
ตั้งอยู่บริเวณแยกกิโลเมตรที่ 42 สายเชียงใหม่-พร้าว ตำบลหอพระ อำเภอแม่แตง เป็นน้ำแร่ซึ่งมีแคลเซียมคาร์บอเนตพุ่งขึ้นมาจากพื้นดิน แล้วไหลเป็นลำธารและน้ำตกขนาดเล็ก มีพื้นดินที่ใต้ลำธารแข็งสีขาวเป็นประกาย เพราะมีแคลเซียบคาร์บอเนตเคลือบอยู่ ดูแปลกตา

วัดดอยแม่ปั๋ง
อยู่หมู่ที่ 5 ตำบลแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว ห่างจากตัวเมืองตามเส้นทางสายเชียงใหม่-แม่โจ้-พร้าว (ทางหลวงหมายเลข 1001) เป็นระยะทางประมาณ 75 กิโลเมตร วัดดอยแม่ปั๋ง เป็นวัดที่หลวงปู่แหวน สุจิณโณ เคยจำพรษาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 จนถึงมรณภาพในปี พ.ศ. 2528 ภายในวัดมีสิ่งที่น่าสนใจ คือ วิหารไม้ กุฏิหลวงปู่แหวน กุฏิไม้ที่เรียกว่า “โรงย่างกิเลส” หรือ “โรงไฟ” และวิหารที่ประดิษฐานรูปเหมือนหลวงปู่แหวนเท่าองค์จริง


เส้นทางสายตะวันออก
(ทางหลวงหมายเลข 118 และ 1006)

สันกำแพง
สันกำแพงเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ มีชื่อเสียงในด้านการทอผ้าไหมและผ้าฝ้าย อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันออก 13 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวที่เดินทางไปเยือนเชียงใหม่ มักจะไปเที่ยวที่อำเภอสันกำแพง เพราะผ้าไหมและผ้าฝ้ายซึ่งทอมาจากอำเภอนี้ มีคุณภาพดี ราคาถูก เหมาะสำหรับเป็นของที่ระลึกแก่ญาติสนิทมิตรสหาย นอกจากนั้นยังมีโรงงานทอผ้าให้นักท่องเที่ยวได้ชมวิธีการทอ รวมทั้งการเลี้ยงตัวไหมให้ชมด้วย และระหว่างเส้นทางจากอำเภอเมืองถึงอำเภอสันกำแพง (ระยะทาง 13 ก.ม.) ยังมีโรงงานและร้านค้าของที่ระลึกเป็นจำนวนมาก เช่น เครื่องไม้แกะสลัก เครื่องเงิน เครื่องเขิน เครื่องหนัง เครื่องปั้นดินเผา และผ้าฝ้าย ให้นักท่องเที่ยวได้ชมและเลือกซื้ออีกด้วย

วัดป่าตึง
ตั้งอยู่ในเขตตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง เดิมเป็นวัดร้าง คู่กับวัดเชียงแสน ก่อนที่จะสร้างวัดนี้ขึ้นมา ได้พบพระบรมสารีริกธาตุ และของมีค่ามากมายหลายอย่าง อาทิ วัตถุโบราณ พระพุทธรูป เครื่องถ้วยชามสังคโลก ซึ่งปัจจุบันเก็บอยู่ใน พิพิธภัณฑ์เครื่องถ้วยชาม ที่ตั้งอยู่ในบริเวณวัด ในศาลาการเปรียญ เป็นที่ตั้งศพของเกจิอาจารย์ชื่อดัง คือหลวงปู่หล้าซึ่งไม่เน่าเปื่อย ให้ผู้ที่มีศรัทธาได้บูชา

บ่อน้ำพุร้อน
ตามเส้นทางนี้มีบ่อน้ำพุร้อนอยู่สองแห่งตกแต่งสถานที่ด้วยสวนดอกไม้สวยงาม มีห้องอาบน้ำแร่ ที่พัก สถานที่กางเต็นท์ ร้านอาหาร ได้แก่ น้ำพุร้อนสันกำแพง อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 34 กิโลเมตร สามารถไปได้ 2 ทางด้วยกัน คือ เส้นทางเชียงใหม่-สันกำแพง-สถานีเพาะพันธุ์กล้าไม้สัก-น้ำพุร้อน (เส้นทางนี้จะผ่านถ้ำเมืองคอน ซึ่งอยู่ห่างจากน้ำพุร้อน 4 กิโลเมตร) หรือเส้นทางเชียงใหม่-สันกำแพง-หมู่บ้านออนหลวย-น้ำพุร้อน หากเดินทางโดยรถประจำทางขึ้นรถจากสถานีขนส่งช้างเผือกไปยังสันกำแพง และเช่าเหมารถสองแถว จากสันกำแพงไปน้ำพุร้อนในราคาประมาณ 200 บาทต่อคัน สำรองที่พักล่วงหน้าที่ ธุรกิจน้ำพุร้อนสันกำแพงหมู่บ้านสหกรณ์ โทร. (053) 929077 และรุ่งอรุณน้ำพุร้อน รายละเอียดติดต่อ โทร. (053) 248475

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์การพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2525 เพื่อศึกษาด้านการพัฒนาป่าไม้และด้านการเกษตรที่เหมาะกับบริเวณต้นน้ำลำธารของภาคเหนือ ในศูนย์แห่งนี้ประกอบด้วย งานศึกษาและพัฒนาแหล่งน้ำ ปศุสัตว์และโคนม การประมง งานปลูกหญ้าแฝก และการดำเนินงานหมู่บ้านรอบบริเวณศูนย์ห้วยฮ่องไคร้ โดยจัดเป็นเขตต่างๆ นับเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และศึกษาเกี่ยวกับนิเวศน์วิทยาได้เป็นอย่างดี ผู้ที่สนใจเข้าชมได้ทุกวัน ระหว่างเวลา 8.30-16.30 น. หากต้องการวิทยากรนำชมติดต่อล่วงหน้าที่ โทร. (053) 248004, 248483 และที่นี่มีบ้านพักรับรอง หรือกางเต็นท์พักแรมได้แต่ต้องนำอุปกรณ์มาเองโดยติดต่อขออนุญาตล่วงหน้า

การเดินทาง ใช้เส้นทางเชียงใหม่-เชียงราย ประมาณ 23 กิโลเมตร และเลี้ยวขวาเข้าศูนย์อีกประมาณ 1 กิโลเมตร


จังหวัดเชียงใหม่ :: เทศกาล งานประเพณี

• งานร่มบ่อสร้าง จัดขึ้นประมาณเดือนมกราคมของทุกปี ที่บริเวณศูนย์หัตถกรรม ร่มบ่อสร้าง มีการแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ทำจากกระดาษสา โดยเฉพาะร่มบ่อสร้าง มีการแสดงทางวัฒนธรรม ขบวนแห่ประเพณีพื้นบ้าน และการประกวดต่างๆ

• งานมหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ จัดขึ้นเดือนกุมภาพันธ์ ในงานจัดให้มีการประกวดสวนหย่อมพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ ภาคเช้าของงานจะจัดให้มีขบวนรถบุปผชาติ และนางงามบุปผชาติ แห่จากบริเวณหน้าสถานีรถไฟ ผ่านสะพานนวรัฐไปสู่สวนสาธารณะหนองบวกหาด จัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ มีการประกวดพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ และมีขบวนรถบุปผชาติด้วย

• งานประเพณีสงกรานต์ จังหวัดเชียงใหม่ได้จัดงานประเพณีสงกรานต์ขึ้นเป็นประจำทุกปี ในระหว่าง วันที่ 13-15 เมษายน โดยในวันที่ 13 จะเป็นวันมหาสงกรานต์ มีขบวนแห่ พระพุทธสิหิงค์ และขบวนแห่ นางสงกรานต์ โดยเริ่มจากวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร แห่ไปรอบเมืองเชียงใหม่ แล้วมีพิธีสรงน้ำพระ ก่อพระเจดีย์ทราย รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ และเล่นสาดน้ำกัน

• งานประเพณียี่เป็ง จัดขึ้นในช่วงวันลอยกระทงของทุกปี เป็นงานประเพณีที่น่าสนใจยิ่งของจังหวัดเชียงใหม่ จะมีการปล่อยโคมลอยเพื่อเป็นการบูชาพระธาตุจุฬามณีบนสวรรค์มีการจุดดอกไม้ไฟ ประกวดกระทง ขบวนแห่นางนพมาศ ฯลฯ

• งานประเพณีเข้าอินทขีล ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน ชาวเชียงใหม่จะร่วมกันประกอบพิธีบูชาอินทขีล ซึ่งเป็นเสาหลักเมือง โดยจำนำดอกไม้ธูปเทียนมาใส่ขันหรือถาดกราบไหว้บูชาอินทขีล

• ประเพณีตานหลัวพระเจ้า เป็นประเพณีการนำฟืนมาเผาเพื่อให้พระพุทธเจ้าได้ผิงไฟ จัดในเดือน 4 เหนือ (ประมาณเดือนมกราคม) จัดที่วัดยางหลวงหรือวัดป่าแดด อำเภอแม่แจ่มเท่านั้น

• จุลกฐิน หลังจากผ่านเทศกาลออกพรรษาแล้วยังมีกฐินที่เรียกว่า จุลกฐิน หรือที่คนโบราณ เรียกว่า “กฐินแล่น” ที่มีลักษณะพิเศษ คือ ไม่ใช่ถึงเวลาก็สามารถไปทอดที่วัดได้ หากแต่คิดจะร่วมจุลกฐินแล้วต้อง เตรียมตัวก่อนเข้าพรรษาด้วยซ้ำไป โดยเริ่มตั้งแต่ ปลูกฝ้าย ดูแลรักษาให้งอกงามจนต้นฝ้ายโตแตกเป็นปุย พอดี เมื่อถึงเวลาทอดกฐิน สาวพรหมจรรย์ 6 นาง นุ่งขาว ห่มขาว ฟ้อนรำจากวิหารออกไปสู่ไร่ฝ้าย เพื่อเก็บมาให้ชาวบ้านช่วยกัน ดีดฝ้ายจนฟู นำมาปั่นเป็นหลอดเป็นเส้นใย แล้วทอย้อมสีให้เสร็จ ผึ่งแดดให้แห้ง รีดให้เรียบเพียงชั่วข้ามคืน ตอนบ่ายตั้งขบวนด้วยความเริงรื่น ปลื้มใจที่ถวายกฐินเสร็จ จากนั้นแห่ผ่านทุ่งนา ด้วยกลองสะบัดชัย ตามด้วยการฟ้อนเจิง ศิลปะเก่าแก่ของพ่อเฒ่า มาถวายที่วัดยางหลวง วัดเก่าแก่ของ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่


จังหวัดเชียงใหม่ :: ของฝาก ของที่ระลึก

แหล่งผลิตและจำหน่ายงานหัตถกรรมของเมืองเชียงใหม่

• เครื่องเขิน เป็นสินค้าพื้นเมืองที่ขึ้นหน้าขึ้นตาอย่างหนึ่งของเชียงใหม่ นักท่องเที่ยวนิยมซื้อไปใช้และประดับบ้าน เป็นภาชนะเครื่องใช้ที่สานด้วยไม้ไผ่แล้วเคลือบด้วยรัก เขียนลวดลายประดับตกแต่งด้วยชาด ทองคำเปลว หรือ เงินเปลว ส่วนมากแล้วในบริเวณตอนเหนือของไทยรอบๆ เชียงใหม่มีการผลิตกันเป็นศูนย์อุตสาหกรรม เครื่องเขินของไทยนั้นมีลักษณะเด่นแตกต่างจากเครื่องเขินประเทศอื่นๆ ในภาคพื้นเอเชีย เช่น จีนและญี่ปุ่น โดยมากมักจะ ทำเป็นรูปภาชนะเบาๆ เช่น ถ้วย ขัน กล่องบุหรี่ ถาด แจกัน เป็นต้น มีโรงงานอยู่แถวถนนนันทาราม ถนนเชียงใหม่ -สันกำแพง และถนนช้างคลาน และที่หมู่บ้านศรีปันครัว ต. ท่าศาลา อ. เมือง เป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงในการทำ ไม้ไผ่ขดโครง เครื่องเขิน

• เครื่องเงิน หมู่บ้านทำเครื่องเงิน อยู่บริเวณถนนวัวลาย ต. หายยา อ. เมือง ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ทำจาก เครื่องเงินลวดลายประณีตบรรจง เช่น หีบบุหรี่ ช้อนส้อม ถาดผลไม้ เชี่ยนหมาก ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีโรงงาน ผลิตเครื่องเงินอยู่บริเวณเส้นทางเชียงใหม่-สันกำแพง

• เครื่องจักสาน หมู่บ้านร้อยจันทร์ ต. หนองควาย อ. หางดง เป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงในการสานฝาลายอ่ำ
หมู่บ้านดอนแก้ว ต. ดอนแก้ว อ. สารภี เป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงในการสานคุ
หมู่บ้านป่าบง ต. ป่าบง อ. สารภี จากทางหลวงหมายเลข 11 ไปตามทางเส้นสารภี เป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงในการจักสาน ชาวบ้านผลิตเครื่องจักสานจากไผ่หลามมากันตั้งแต่ บรรพบุรุษ เครื่องจักสานที่สาน เช่น โคมไฟ ตะกร้า แซก (เครื่งมือหาปลา)

• เครื่องปั้นดินเผา เครื่องเคลือบดินเผาสังคโลก เครื่องสังคโลกเป็นเครื่องปั้นดินเผาชนิดพิเศษและมี ชื่อเสียงมาก มีลักษณะเป็นสีเขียวไข่กา ปั้นด้วยมือเคลือบน้ำยาแล้วเข้าเตาเผา เป็นวิธีเดียวกันกับที่ทำมาแล้วในสมัยโบราณ สินค้าสำเร็จรูปที่เป็นสังคโลกนี้นิยมกันแพร่หลายทั่วประเทศและ ทั่วโลก มีตั้งแต่ของใช้จนกระทั่งถึงโป๊ะตะเกียง แจกัน จาน ที่เขี่ยบุหรี่ ขันและเครื่องถ้วยชามอื่นๆ แหล่งผลิตอยู่แถวถนนเชียงใหม่-สันกำแพง และถนนโชตนา
หมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาเหมืองกุง ต.หนองควาย อ.หางดง เป็นหมู่บ้านที่ทำเครื่องปั้นดินเผาชนิดต่างๆ เช่น หม้อแกง หม้อน้ำ แจกัน โดยเฉพาะน้ำต้น (คนโทใส่น้ำที่ชาวเหนือนิยมวางไว้หน้าบ้านให้ผู้ผ่านไปมาได้ดื่มดับกระหาย) นั้นเป็นที่นิยมทั่วไปแก่คนที่ พบเห็น ปัจจุบันได้มีการพัฒนากรรมวิธีในการผลิตและรูปแบบเครื่องปั้นดินเผาเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีสีสันสดขึ้น บ้านเหมืองกุงอยู่ห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ ไปตามเส้นทางเชียงใหม่ -หางดง ประมาณ 10 กิโลเมตร หรือจากถนนสายวงแหวน (ทางหลวงหมายเลข 11 สนามบิน) ประมาณ 6 กิโลเมตร โดยอยู่ก่อนถึงทางแยกตัดใหม่สายหางดง-สะเมิงเพียงเล็กน้อย
หมู่บ้านกวนหารแก้ว ต. หารแก้ว อ. หางดง เป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงในการทำเครื่องปั้นดินเผา
โรงงานไทยศิลาดล เป็นโรงงานผลิตเครื่องเคลือบดินเผาแบบโบราณ ห่างจากตัวเมือง 6 กิโลเมตร โรงงานเปิดจันทร์-เสาร์ เวลา 08.00-17.00 น. โทร. 0 5321 3245, 0 5321 3541

• ไม้แกะสลัก
หมู่บ้านถวาย ต. ขุนคง อ. หางดง อยู่ถัดจากเหมืองกุงไปตามเส้นทางสายเชียงใหม่-ฮอด ประมาณ กม. 15 และมีทางแยกซ้ายเข้าหมู่บ้าน มีโรงงานผลิตไม้แกะสลัก ผลิตภัณฑ์เลียนแบบของเก่าเพื่อจำหน่ายทั้งปลีกและส่ง อำเภอหางดงจะจัดงานศิลปะหัตถกรรมไม้แกะสลักบ้านถวายเป็นประจำทุกปี ซึ่งจะเริ่มเสาร์สุดท้ายของเดือนมกราคม สอบถามรายละเอียดได้ที่ อบต.ขุนคง โทร. 0 5344 1258
หมู่บ้านบ่อสร้าง ต. ต้นเปา อ. สันกำแพง เป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงในการทำร่ม พัด ไม้แกะสลัก
หมู่บ้านต้นผึ้ง ต. ต้นเปา อ. สันกำแพง เป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงในการทำร่ม ไม้แกะสลัก

• ผ้าไทย
หมู่บ้านหนองอาบช้าง ต. สบเตี๊ยะ อ.จอมทอง เป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงในการทำผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีธรรมชาติ (ทางหลวงหมายเลข 108 กม.ที่ 62 เลยทางขึ้นดอยอินทนนท์ไปอีก)
เก๊าไม้ล้านนา รีสอร์ท ตั้งอยู่ริมถนนสายเชียงใหม่-ฮอด กม.ที่ 29 จากตัวเมืองเชียงใหม่ บ้านเลขที่ 1 หมู่ 6 ถนนเชียงใหม่-ฮอด ต.บ้านกลาง อ.สันป่าตอง ลักษณะเด่นของรีสอร์ทแห่งนี้คือ การดัดแปลงเตาบ่มใบยาสูบมาเป็นที่พักและร้านอาหารในบรรยากาศร่มรื่นของต้นไม้ นานาพันธุ์ ห้องประชุมขนาด 50-60 คน และเรือนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายจากฝีมือของ กลุ่มแม่บ้านในอำเภอใกล้เคียง ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0 5383 4470-5
บ้านไร่ไผ่งาม เป็นหมู่บ้านผลิตผ้าฝ้ายทอมือแบบโบราณที่มีคุณภาพและมีชื่อเสียงของจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 69-70 ตามเส้นทางเชียงใหม่-ฮอด และเลี้ยวซ้ายเข้าไป หมู่บ้านอีกประมาณ 1 กม. ทางเข้าหมู่บ้านร่มรื่นด้วยเงาไม้ไผ่สองข้างทาง ปัจจุบันกลุ่มแม่บ้านซึ่งได้รับการถ่ายทอดการผลิตผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีธรรมชาติ จากคุณป้าแสงดา บันสิทธิ์ ศิลปินแห่งชาติ รวมกลุ่มกันผลิตที่บ้านป้าแสงดา ซึ่งอยู่ติดกับลำน้ำปิง ปัจจุบันได้ จัดทำเป็น “พิพิธภัณฑ์ผ้าป้าดา” เพื่อรำลึกถึงผลงานของท่าน และยังแสดงถึงชีวิตความเป็นอยู่แบบพื้นบ้าน ในสมัยก่อนด้วย ข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0 5336 1231 โทรสาร 0 5336 1230 สถานที่ติดต่อในเมืองเชียงใหม่ โทร. 0 5327 3625
หมู่บ้านทอผ้าซิ่นตีนจกแม่แจ่ม อยู่ในเขตอำเภอแม่แจ่ม เดินทางโดยใช้เส้นทางสายจอมทอง - อินทนนท์ ประมาณ กม. 38 มีทางแยกซ้ายเข้าอำเภอแม่แจ่ม ตำบลที่มีชาวบ้านทอผ้ามากที่สุด คือ ตำบลท่าผา ห่างจาก ตัวอำเภอ 3 กิโลเมตร

• กระดาษสา หมู่บ้านต้นเปา ต. ต้นเปา อ. สันกำแพง เป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงในการทำกระดาษสา

• ร่ม ร่มบ่อสร้าง เป็นสินค้าพื้นเมืองที่ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่นักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ สาเหตุที่เรียกว่าร่มบ่อสร้างเพราะร่มนี้ผลิตกันที่บ้านบ่อสร้าง สมัยก่อนชาวบ้านจะทำร่มกันใต้ถุนบ้าน แล้วนำออกมาวางเรียงรายเต็มกลางลานบ้านเพื่อ ผึ่งแดดให้แห้ง สีสันและลวดลายบนร่มนั้นสะดุดตาผู้พบเห็น มีทั้งหมด 3 ชนิดด้วยกัน คือ ร่มที่ทำด้วยผ้าแพร ผ้าฝ้าย และกระดาษสา แต่ละชนิดมีวิธีทำอย่างเดียวกัน ปัจจุบันถ้าหาก นักท่องเที่ยวประสงค์จะชมขั้นตอนการผลิตไปชมได้ที่ศูนย์อุตสาหกรรมทำร่ม ไปตามถนน สายเชียงใหม่-สันกำแพง 9 กิโลเมตร และมีทางแยกซ้ายมือเข้าไป

• เบ็ดเตล็ด
ศูนย์ผลิตตุ๊กตาเชียงใหม่ เป็นศูนย์ผลิตตุ๊กตาเชียงใหม่ ที่มีเอกลักษณ์ บ่งบอกถึงวัฒนธรรมของไทย ไม่ว่าจะเป็นตุ๊กตาที่แต่งกายด้วยชุดพื้นบ้านชาวเขา และนาฏศิลป์ไทย นอกจากนั้นยังมีพิพิธภัณฑ์ตุ๊กตาซึ่งได้ รวบรวมตุ๊กตาจากนานาประเทศ มีความสวยงามและน่าสนใจ ศูนย์ผลิตตุ๊กตาฯเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้ทุกวัน โรงงานตั้งอยู่เลขที่ 187/2 หมู่ 9 บ้านดงขี้เหล็ก ต.มะขามหลวง อ.สันป่าตอง หรือ ถ.เชียงใหม่ - ฮอด (ทางหลวง หมายเลข 108) และเลี้ยวซ้ายที่กิโลเมตร 23 (ถนนบ้านไร่) ไปอีก 5 กิโลเมตร หรือติดต่อสอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 5383 7229 เปิด 08.00-17.00 น. ปิดวันอาทิตย์
ศูนย์จำหน่ายสินค้าหัตถกรรมชาวเขา หน้าวัดสวนดอก ถนนสุเทพ จำหน่ายผลิตภัณฑ์จากฝีมือชาวเขา
ไนท์บาซาร์ ตั้งอยู่สองฝั่งถนนช้างคลาน เป็นแหล่งรวมร้านค้าที่จำหน่ายสินค้าหลากชนิดทั้งเครื่องเงิน เครื่องเขิน ไม้แกะสลัก ผลิตภัณฑ์กระดาษสา ผ้าไหม ผ้าฝ้าย อาหารพื้นเมือง ฯลฯ
ตลาดวโรรส หรือกาดหลวง เป็นตลาดใหญ่ที่จำหน่ายอาหารพื้นเมืองจำพวกแหนม หมูยอ น้ำพริกหนุ่ม ไส้อั่ว ฯลฯ เปิดตั้งแต่เช้าถึงเย็น ด้านหลังตลาดฝั่งแม่น้ำปิงคือตลาดดอกไม้ยามค่ำคืนจะมีดอกไม้ใหม่ๆ มาลงมาก


ร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึก

เซรามิคส์
- เตาเม็งราย 79/2 ถ.สามล้าน ซ.6 ถ.อารักษ์ ต.พระสิงห์ อ.เมือง โทร. 0 5327 2063, 0 5381 4080
- เตาสันกำแพง 60/3 หมู่ 10 ถ.เชียงใหม่-สันกำแพง อ.สันกำแพง โทร. 0 5333 1034
- ไทยศิลาดล 112 ถ.โชตนา อ.เมือง โทร. 0 5321 3541, 0 5321 3245
- สยามศิลาดล 3-8 หมู่ 10 ต.ต้นเปา อ.สันกำแพง โทร. 0 5333 1526, 0 5333 2437
เครื่องเงิน
- เชียงใหม่ซิลเว่อร์แวร์ 62/10-11 ถ.เชียงใหม่-สันกำแพง อ.เมือง โทร. 0 5324 6037, 0 5324 6086
- พี. คอลเล็คชั่น 2 หมู่ 1 ถ.เชียงใหม่-สันกำแพง ต.ท่าศาลา อ.เมือง โทร. 0 5324 0222
- ลานนาไทยเครื่องเงิน 79 ถ.เชียงใหม่-สันกำแพง อ.สันกำแพง โทร. 0 5333 8015
- สยามซิลเวอร์แวร์ 5 ถ.วัวลาย ซ.3 อ.สันกำแพง โทร. 0 5327 4736
- หลุยส์ซิลเวอร์แวร์ 99/1 ถ.ชียงใหม่-สันกำแพง อ.เมือง โทร. 0 5333 8494
ผ้าฝ้ายและผ้าไหม
- โจลี ฟาร์ม 8/3 ถ.เชียงใหม่-สันกำแพง อ.สันกำแพง โทร. 0 5324 7222, 0 5324 7333
- ชินวัตรเทรดดิ้ง 16 ถ.ห้วยแก้ว อ.เมือง โทร. 0 5322 1638, 0 5321 3091
- ชินวัตรพาณิชย์ 73 ถ.เชียงใหม่-สันกำแพง อ.สันกำแพง โทร. 0 5333 1187-8
- ชินวัตรไหมไทย 18/1 ถ.ห้วยแก้ว ต.ช้างเผือก อ.เมือง โทร. 0 5322 1076, 0 5321 8674
- นันทขว้าง 6/1-3 ถ.นิมมานเหมินทร์ อ.เมือง โทร. 0 5322 2261
- บัวผัดพาณิช 147/4-5 ถ.ช้างคลาน อ.เมือง โทร. 0 5327 5741, 0 5327 3799
- ศูนย์ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือตำบลท่าผา 99 หมู่ 4 ต.ท่าผา อ.แม่แจ่ม โทร. 0 5348 5185 (ผ้าฝ้ายทอมือ)
- อ.เพียรกุศล 56 หมู่ 3 ถ.เชียงใหม่-สันกำแพง ต.สันกลาง อ.สันกำแพง โทร. 0 5333 8040-6
ผลิตภัณฑ์ร่ม
- ศูนย์หัตถกรรมกระดาษสาและร่ม 99/16 ถ.เชียงใหม่-สันกำแพง อ.สันกำแพง โทร. 0 5333 8973
- ศูนย์หัตถกรรมบ่อสร้าง 228/1 หมู่ 3 ถ.บ่อสร้าง-ดอยสะเก็ด ต.ต้นเปา อ.สันกำแพง โทร. 0 5333 8466
- ศูนย์อุตสาหกรรมทำร่ม 112/2 ถ.บ่อสร้าง-ดอยสะเก็ด อ.สันกำแพง โทร. 0 5333 8324
ไม้แกะสลัก
- บานเย็น 201/1 ถ.วัวลาย ต.หายา อ.เมือง โทร. 0 5327 4007 (ไม้แกะสลัก, เครื่องเขิน)
- ไม้มุงเงิน 4 ซ.1 ถ.นิมมานเหมินทร์ ต.สุเทพ อ.เมือง โทร. 0 5321 6019
- วิจิตรศิลป์ 54/5-7 ถ.สิงหราช อ.เมือง โทร. 0 5322 1024, 0 5321 9598
หัตถกรรมอื่นๆ
- กลุ่มจักรสาน การผลิต 93 บ้านป่าบง ต.ป่าบง อ.สารภี (ผลิภัณฑ์จากไม้ไผ่ หวายทุกชนิด)
- ดอยคำ (ผลิตภัณฑ์โครงการหลวง) สาขาสนามบินเชียงใหม่ โทร. 0 5327 0222 ต่อ 2127, สาขาสุเทพ อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะเกษตรศาตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โทร. 0 5321 1673, 0 5321 1656
- ต้นเปากระดาษสา 109 หมู่ 1 บ้านต้นเปา สันกำแพง โทร. 0 5333 8877
- ไทยช็อพ 106 หมู่ 3 ถ.เชียงใหม่-สันกำแพง อ.เมือง โทร. 0 5324 5466, 0 5324 5733 (ผลิตภัณฑ์จากทองเหลือง)
- มณีศิลป์แอนติคส์ 289 ถ.ท่าแพ อ.เมือง โทร. 0 5327 6586, 0 5328 2047 (ผลิตภัณฑ์ของเก่า)
- มูลนิธิส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชาวเขา 21/17 ข้างวัดสวนดอก ถ.สุเทพ อ.เมือง โทร. 0 5327 7743(หัตถกรรมชาวเขา)
- อิ่มบุญ ศูนย์สินค้าเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม “อิ่มบุญ” 158 หมู่บ้านอิ่มบุญ ถ.เมืองสมุทร ต.ช้างม่อย อ.เมือง โทร. 0 5323 2020 (พืชผัก ผลิตภัณฑ์ปลอดสารพิษ)

0 ความคิดเห็น: