วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การท่องเที่ยวจังหวัดเลย

:: จังหวัดเลย ::

" เมืองแห่งทะเลภูเขา สุดหนาวในสยาม ดอกไม้งามสามฤดู "


จังหวัดเลย :: ข้อมูลทั่วไป

เลย เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ค่อนไปทางภาคเหนือ สถานที่ตั้งตัวเมืองอยู่ท่ามกลางภูเขาน้อยใหญ่ ดินฟ้าอากาศคล้ายกับภาคเหนือ คือมีอากาศหนาวเย็นมีหมอกปกคลุมอยู่เสมอ เป็นจังหวัดเดียวในประเทศ ที่อากาศเคยหนาวจัดจนอุณหภูมิลดลง ถึงศูนย์องศาเซลเซียส

อาณาเขตและการปกครอง
ทิศเหนือ จดประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศใต้ จดจังหวัดขอนแก่น
ทิศตะวันออก จดจังหวัดหนองคาย และหนองบัวลำภู
ทิศตะวันตก จดจังหวัดพิษณุโลก

จังหวัดเลย อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 520 กิโลเมตร มีพื้นที่ 11,426.612 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 12 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองเลย อำเภอวังสะพุง อำเภอปากชม อำเภอเชียงคาน อำเภอท่าลี่ อำเภอภูเรือ อำเภอด่านซ้าย อำเภอภูกระดึง อำเภอนาแห้ว อำเภอนาด้วง อำเภอภูหลวง อำเภอผาขาว และกิ่งอำเภอเอราวัณ


หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ (รหัสทางไกล 042)
ที่ว่าการอำเภอเมือง
811-213

สำนักงานจังหวัดเลย
811-746, 833-209

สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองเลย
811-254

ตำรวจท่องเที่ยว
1155

ตู้ยามวังสะพุง
841-262

สำนักงานการท่องเที่ยวภูหลวง
841-566

ททท.สำนักงาน เขต 5 จ.อุดรธานี
325-406-7

เทศบาลเมือง
811-140

รพ.เลย
811-820 , 811-541

รพ.ภูเรือ
899-094

รพ.วังสะพุง
841-101

รพ.ปากชม
881-188

รพ.นาแห้ว
897-094

รพ.ท่าลี่
889-035

รพ.นาด้วง
887-094

รพ.ภูกระดึง
871-017 , 871-025

รพ.ภูหลวง
879-064

รพ.เชียงคาน
821-101

รพ.ด่านซ้าย
891-276


จังหวัดเลย :: สถานที่ท่องเที่ยว อำเภอเมือง

ศาลเจ้าพ่อกุดป่อง
ตั้งอยู่ห่างจากหอนาฬิกาประมาณ 50 เมตร อยู่ติดกับศาลหลักเมือง เป็นศาลเก่าแก่ และมีประชาชนเคารพนับถือมากแห่งหนึ่ง

สวนสาธารณะกุดป่อง
ตั้งอยู่ด้านหลังศาลเจ้าพ่อกุดป่อง มีคูน้ำล้อมรอบ ภายในสวนสาธารณะตกแต่งด้วยไม้ดอกไม้ประดับต่าง ๆ อย่างสวยงาม ดูร่มรื่นและเป็นระเบียบ ประชาชนใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกาย

สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติฯ ป่าเลิงใหญ่
เป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ มีการจัดสวนไม้ดอกไม้ประดับ เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ โดยพื้นที่รอบสวนสาธารณะเป็นแม่น้ำเลย ตั้งอยู่ตรงข้ามด้านหน้าเทศบาลเมืองเลย ซึ่งนัก

:: อุทยานแห่งชาติภูเรือ ::

:: ข้อมูลทั่วไป ::
อุทยานแห่งชาติภูเรือ มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอภูเรือและอำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย อาณาเขตด้านทิศเหนืออยู่ติดกับประเทศลาว รูปพรรณสันฐานของภูเรือ มีรูปร่างลักษณะเหมือนเรือใหญ่บนยอดดอยสูง เป็นภูผาสีสันสะดุดตา หินบางก้อนมีลักษณะเหมือนถูกปั้นแต่งไว้ ชาวบ้านเรียกว่า “กว้านสมอ” โดยรอบๆ จะเห็นยอดดอยเป็นขุนเขาน้อยใหญ่ใกล้เคียงเป็นฝ้าขาวด้วยละอองน้ำ หมอก ปกคลุมไว้ท่ามกลางป่าอันอุดมสมบูรณ์ มีเนื้อที่ประมาณ 120.84 ตารางกิโลเมตร

ในปี พ.ศ. 2519 อธิบดีกรมป่าไม้ เดินทางมาราชการที่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง นายสุจินต์ เพชรดี ปลัดจังหวัดเลย ได้ให้ความเห็นว่า ควรส่งเสริมป่าภูเรือให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัด จากนั้นจังหวัดเลยจึงให้ทางอำเภอภูเรือสำรวจพื้นที่ป่าภูเรือ ซึ่งอำเภอภูเรือได้รายงานถึงจังหวัดเลยว่า พื้นที่ป่าภูเรือมีทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงามสำคัญหลายแห่ง เช่น ป่าไม้ น้ำตก ทิวทัศน์ เหมาะที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติได้ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้ให้เจ้าหน้าที่ไปทำการสำรวจหาข้อมูลเบื้องต้นของป่าภูเรือ ท้องที่อำเภอภูเรือและอำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย ปรากฏว่า ป่าแห่งนี้อยู่ในเขตป่าหมายเลข 23 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2506 ให้รักษาไว้ให้เป็นป่าถาวรของชาติ

พื้นที่ป่าภูเรือประกอบด้วยทิวเขาสูง สลับซับซ้อนเรียงรายเป็นรูปต่างๆ น่าพิศวงสลับกับที่ราบเป็นบางส่วน สาเหตุที่ขนานนามว่า “ภูเรือ” เพราะมีภูเขาลูกหนึ่งมีชะโงกผายื่นออกมาดูคล้ายสำเภาใหญ่ และที่ราบบนยอดเขา มีลักษณะคล้ายท้องเรือตลอดจนมีธรรมชาติและทิวทัศน์ที่สวยงาม เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ

กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2521 เห็นชอบให้กำหนดพื้นที่ป่าดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าภูเรือ ในท้องที่ตำบลอาชี ตำบลท่าลี่ อำเภอท่าลี่ และตำบลลาดค่าง ตำบลหนองบัว ตำบลร่องจิก อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 96 ตอนที่ 124 ลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2522 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 16 ของประเทศ


:: ลักษณะภูมิประเทศ ::
อุทยานแห่งชาติภูเรือ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นทิวเขาสูงสลับซับซ้อนประกอบด้วย เขาหินทรายเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนั้นเป็นหินแกรนิตสลับกันไป ลักษณะเช่นนี้จึงทำให้มีที่ราบสูงสลับกับ ยอดเขาสูงทั่วไป มียอดเขาสูงที่สุดคือ ยอดภูเรือ มีความสูงถึง 1,365 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ยังมียอดเขาที่สำคัญ คือ ยอดเขาภูสัน มีความสูง 1,035 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง และยอดภูกุ มีความสูง 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ลักษณะเช่นนี้เองจึงเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญก่อให้เกิดลำธารหลายสาย เช่น ห้วยน้ำด่าน ห้วยบง ห้วยเกียงนา ห้วยทรายขาว ห้วยติ้ว และห้วยไผ่ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของน้ำตกห้วยไผ่ที่สวยงามแห่งหนึ่ง

:: ลักษณะภูมิอากาศ ::
ด้วยอุทยานแห่งชาติภูเรืออยู่ที่จังหวัดเลย ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีอากาศหนาวเย็นที่สุดของประเทศไทย และอยู่บนยอดเขาสูง จึงทำให้มีอากาศเย็นตลอดปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวจะหนาวเย็นมาก จนกระทั่งน้ำค้างบนยอดหญ้าจะแข็งตัวกลายเป็นเกล็ดน้ำแข็ง ซึ่งมีภาษาพื้นเมืองเรียกว่า “แม่คะนิ้ง” ผู้ที่จะไปพักผ่อนควรเตรียมตัวให้พร้อมที่จะผจญกับความหนาวเย็น

:: พรรณไม้และสัตว์ป่า ::
ภูเรือ มีสภาพป่าหลายชนิดปะปนกันอย่างสวยงาม ทั้งป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดงดิบ ป่าสนเขา โดยเฉพาะยอดภูเรือ ประกอบด้วยป่าสนเขา สลับกับสวนหินธรรมชาติแซมด้วยพุ่มไม้เตี้ย สลับด้วยทุ่งหญ้าเป็นระยะ ไม้พื้นล่างที่พบโดยทั่วไป ได้แก่ กุหลาบป่า มอส เฟิน และกล้วยไม้ที่สวยงาม เช่น ม้าวิ่ง สามปอย ไอยเรศ เอื้องคำ เอื้องผึ้ง เอื้องเงิน ซึ่งขึ้นตามต้นไม้และโขดหิน กล้วยไม้เหล่านี้จะออกดอกบานสะพรั่งให้ชมสลับกันไปตลอดทั้งปี

นอกจากนี้ ป่าภูเรือยังมีสัตว์ป่าที่ชุกชุมพอสมควร ที่พบบ่อย เช่น หมี เก้ง กวางป่า หมูป่า หมาไน ลิง พญากระรอกดำ ไก่ฟ้าพญาลอ ไก่ป่า และชุกชุมไปด้วยกระต่ายป่า เต่าเดือย เต่าปูลูและนกชนิดต่างๆ ที่สวยงามอีกมากมาย โดยเฉพาะในฤดูหนาวจะอพยพมาจากประเทศจีนเป็นจำนวนมาก

:: ที่ตั้งและการเดินทาง ::
อุทยานแห่งชาติภูเรือ
ต.หนองบัว อ. ภูเรือ จ. เลย 42160
โทรศัพท์ : 0 4288 1716, 0 4288 4144 โทรสาร : 0 4285 3333

รถยนต์
อุทยานแห่งชาติภูเรือ อยู่ห่างจากจังหวัดเลย ประมาณ 48 กิโลเมตร โดยเดินทางไปโดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 203 ถึงอำเภอภูเรือ จะมีป้ายอุทยานแห่งชาติอยู่ปากทางเข้าซึ่งอยู่ข้างที่ว่าการอำเภอภูเรือ (มาจากจังหวัดเลย ป้ายจะอยู่ทางด้านขวามือ มาจากจังหวัดเพชรบูรณ์ ป้ายจะอยู่ทางด้านซ้ายมือ) จากปากทางเข้าเดินทางต่อไปอีก ประมาณ 4 กิโลเมตร ก็ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ถนนภายในอุทยานแห่งชาติเป็นถนนลาดยาง เป็นถนนบนภูเขา บางช่วงมีความลาดชัน นักท่องท่องเที่ยวควรขับขี่ด้วยความระมัดระวัง ใช้เกียร์ต่ำ มิฉะนั้นจะทำให้เบรคไหม้ได้


:: แหล่งท่องเที่ยว ::
ป่าภูเรือ มีจุดเด่นที่น่าสนใจหลายแห่งด้วยกัน ทางอุทยานแห่งชาติได้ดำเนินการปรับปรุงเส้นทางให้เข้าถึงกันได้ เช่น ลาดหินแตก หินค้างหม้อ หินวัวนอน หินพระศิวะ สวนหินเต่า ศาลารับเสด็จ ลาดเหมือนแอ ลานสาวเอ้ ทุ่งหินเหล็กไฟ น้ำตกแก่งสุข และสระสวรรค์ ตามตำนานรักภูทุ่ง (ภูเรือ) และภูครั่ง เป็นต้น


:: ด้านธรรมชาติที่สวยงาม ::
ผาโหล่นน้อย เป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นที่สวยงาม สามารถมองเห็นภูหลวง ภูผาสาด ภูครั่งและทะเลภูเขา อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 3 กิโลเมตร


ผาซำทองหรือผากุหลาบขาว เป็นหน้าผาสูงชันและเป็นแหล่งน้ำซับ ประกอบกับมีไลเคนที่มีสีเหลืองคล้ายสีทอง ซึ่งเรียกว่า “ผาซำทอง” เป็นจุดชมทิวทัศน์อีกจุดหนึ่ง อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ตามเส้นทางที่จะไปผาโหล่นน้อยประมาณ 2.5 กิโลเมตร


น้ำตกห้วยไผ่ เป็นน้ำตกสูงชัน สูงประมาณ 30 เมตร สายน้ำพุ่งแรงใสสะอาด อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญในการใช้ทำน้ำประปาในอำเภอภูเรือ


ยอดภูเรือ เป็นจุดที่สูงที่สุดในเขตอุทยานแห่งชาติ อยู่สูงประมาณ 1,365 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นหน้าผาสูงชัน พื้นที่โดยรอบปกคลุมด้วยป่าสนเขา ทั้งสนสองใบและสนสามใบ สลับกับลานหินธรรมชาติ ต้องเดินขึ้นเขาจากผาโหล่นน้อยมาประมาณ 700 เมตร จากจุดนี้สามารถมองเห็นทัศนียภาพที่สวยงามได้รอบด้านกระทั่งเห็นแม่น้ำเหือง และแม่น้ำโขง ซึ่งกั้นพรมแดนไทย – ลาว

บนยอดเรือยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปนาวาบรรพต ซึ่งชาวภูเรืออัญเชิญมาจากอยุธยาด้วย จากยอดภูเรือมีเส้นทางเดินป่าผ่านบริเวณที่มีดอกไม้เล็กๆ เช่น กระดุมเงิน ดาวเรืองภู เปราะภู ซึ่งออกดอกสวยงามในช่วงหน้าหนาว ที่ป่าสนบริเวณ ทุ่งกวางตาย มีดอกกระเจียวบานในช่วงต้นฤดูฝนราวเดือนพฤษภาคม นอกจากนั้นยังมี ลานหินพานขันหมาก เป็นลานหินแตกเป็นรอยตื้นๆ ที่จะพบดอกไม้ที่ชอบขึ้นตามลานหิน เช่น เอื้องม้าวิ่ง อยู่ทั่วไป เส้นทางเดินป่าจะวกกลับไปลานกางเต็นท์ในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ


สวนหินพาลี เป็นลานหินกว้างใหญ่ เต็มไปด้วยก้อนหินรูปทรงแปลกตาตั้งอยู่เรียงราย บางก้อนคล้ายเสาหินสูง บางก้อนคล้ายดอกเห็ด สวนหินพาลีอยู่ใกล้บริเวณลานกางเต็นท์


ถ้ำไทร อยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวที่ 2 (ภูสน) ประมาณ 500 เมตร ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ถ้ำไทรเป็นถ้ำหินทราย ปากทางเข้าถ้ำจะแคบมากต้องลงในทางดิ่งประมาณ 30 เมตร เมื่อถึงที่ราบภายในถ้ำจะเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ กว้างประมาณ 30 เมตร ยาวประมาณ 150 เมตร ภายในถ้ำประกอบด้วยหินทรายเป็นแผ่นๆ ซึ่งจะอยู่ตามเพดานถ้ำ ส่วนพื้นล่างจะเป็นลักษณะเม็ดทรายที่ไหลมากับน้ำ และในบริเวณปลายสุดของถ้ำจะมีสายธารน้ำไหลตลอดเวลา บางช่วงจะมีลักษณะเป็นน้ำตกที่เกิดภายในถ้ำ และเมื่อสายน้ำกระทบแสงไฟจะเกิดเป็นประกายที่สวยงาม ภายในถ้ำจะมีค้างคาวอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก


แหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ อุทยานแห่งชาติยังมีจุดเด่นที่สวยงามอีกหลายแห่ง เช่น ลาดหินแตก หินค้างหม้อ หินวัวนอน หินพระศิวะ สวนหินเต่า ศาลารับเสด็จ ลาดเหมือนแอ ลานสาวเอ้ ทุ่งหินเหล็กไฟ น้ำตกแก่งสุข และสระสวรรค์ ตามตำนานรักภูทุ่ง (ภูเรือ) และภูครั่ง เป็นต้น



:: สิ่งอำนวยความสะดวก ::
ห้องสุขาชาย มีห้องสุขาชายให้บริการ


ห้องสุขาหญิง มีห้องสุขาหญิงให้บริการ


ที่พักแรม/บ้านพัก อุทยานแห่งชาติได้จัดเตรียมบ้านพักไว้ให้บริการในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ


สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 2 จุด (กำลังจัดทำใหม่ 1 จุด) บริเวณภูสน 1 จุด การสำรองที่พักเต็นท์ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียด และสำรองที่พักเต็นท์ได้กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง


ที่จอดรถ อุทยานแห่งชาติได้จัดเตรียมลานจอดรถไว้ให้บริการ 2 แห่ง บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติและลานกางเต็นท์


บริการอาหาร อุทยานแห่งชาติได้จัดเตรียมร้านอาหาร ไว้บริการนักท่องเที่ยว ตามสถานที่ท่องเที่ยวของอุทยานแห่งชาติ ดังนี้
1) บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
2) บริเวณลานกางเต็นท์ภูสน


ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เพื่อศึกษาหาข้อมูลเบื้องต้นก่อนไปท่องเที่ยว ในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ และบริเวณสถานที่กางเต็นท์ภูสน



จังหวัดเลย :: การเดินทาง

ทางรถยนต์
จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1(พหลโยธิน) ผ่านตัวเมืองสระบุรี ตรงเข้าทางหลวงหมายเลข 21 ผ่านจังหวัดเพชรบูรณ์ ตรงเข้าทางหลวงหมายเลข 203 ผ่านอำเภอหล่มสัก หล่มเก่า เข้าเขตจังหวัดเลยที่อำเภอด่านซ้าย อำเภอภูเรือ ถึงตัวจังหวัดเลยใช้เวลาเดินทางประมาณ 7-8 ชั่วโมง หรือจะใช้เส้นทางจากสระบุรี ใช้ทางหลวงหมายเลข 2 มิตรภาพ ผ่านจังหวัดนครราชสีมา ถึงจังหวัดขอนแก่น แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 12 ผ่านอำเภอชุมแพ แล้วใช้เส้นทางหมายเลข 201 เข้าเขตจังหวัดเลยที่อำเภอภูกระดึง อำเภอวังสะพุง ถึงตัวจังหวัดเลยได้เช่นเดียวกัน

ทางรถโดยสาร
บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารประจำทางวิ่งระหว่างกรุงเทพฯ-เลย ทุกวัน ทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ ใช้เวลาประมาณ 10 ชั่วโมง รายละเอียดสอบถามได้ที่ สถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 โทร. 936-2852-66 ส่วนรถโดยสารของเอกชนติดต่อ บริษัท แอร์เลย

ทางเครื่องบิน
บริษัท การบินไทย จำกัด มีเที่ยวบินกรุงเทพฯ-อุดรธานี ทุกวัน วันละ 3 เที่ยว แล้วสามารถต่อรถยนต์ไปจังหวัดเลย อีกประมาณ 140 กิโลเมตร รายละเอียดสอบถาม โทร. 280-0060, 628-2000 และที่จังหวัดอุดรธานี โทร. (042) 243222, 246697

ทางรถไฟ
การรถไฟแห่งประเทศไทย มีรถไฟไปจังหวัดอุดรธานีและขอนแก่น ซึ่งสามารถต่อรถยนต์ไปจังหวัดเลยได้อีกต่อหนึ่ง รายละเอียดสอบถาม หน่วยบริการเดินทาง สถานีรถไฟกรุงเทพฯ โทร. 233-7010, 223-7020

ระยะทางจากตัวเมืองไปยังอำเภอ และกิ่งอำเภอต่างๆ
อำเภอวังสะพุง 23 กิโลเมตร
อำเภอนาด้วง 32 กิโลเมตร
อำเภอเชียงคาน 47 กิโลเมตร
อำเภอท่าลี่ 47 กิโลเมตร
อำเภอภูหลวง 49 กิโลเมตร
อำเภอภูเรือ 50 กิโลเมตร
อำเภอผาขาว 70 กิโลเมตร
อำเภอภูกระดึง 73 กิโลเมตร
อำเภอด่านซ้าย 82 กิโลเมตร
อำเภอปากชม 90 กิโลเมตร
อำเภอนาแห้ว 125 กิโลเมตร
กิ่งอำเภอเอราวัณ 50 กิโลเมตร


จังหวัดเลย :: สถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ

อำเภอเชียงคาน

วัดศรีคุณเมือง
ตั้งอยู่ที่ซอย 7 ถนนชายโขง ทางด้านเหนือของตลาดเชียงคาน มีกำแพงแก้วล้อมรอบตัวพระอุโบสถ สร้างในแบบแปลกตา รูปร่างคล้ายโบสถ์ตามวัดภาคเหนือ ด้านหน้าโบสถ์มีภาพจิตรกรรฝาผนังอยู่เต็มหน้าบัน ภาพทั้งหมดเป็นภาพนิทานชาดกชุดพระเจ้าสิบชาติ

วัดท่าแขก
เป็นวัดเก่าแก่โบราณ อยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ห่างจากอำเภอเชียงคาน 2 กิโลเมตร ก่อนถึงหมู่บ้านน้อยและแก่งคุดคู้ปัจจุบันเป็นวัดธรรมยุติ ภายในโบสถ์มีพระพุทธรูป 3 องค์ สกัดจากหินแกรนิตทั้งก้อน หน้าตักกว้าง 2 ศอก เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่และศักดิ์สิทธิ์มาก

พระพุทธบาทภูควายเงิน
ตั้งอยู่ที่บ้านอุมุง ตำบลบุฮม ตามเส้นทางสายเชียงคาน-ปากชม ระยะทาง 6 กิโลเมตร ถึงหมู่บ้านผาแบ่นมีทางแยกเข้าบ้านอุมุง 3 กิโลเมตร จะถึงทางขึ้นเขาเป็นทางลูกรังระยะทาง 1 กิโลเมตร เป็นรอยพระพุทธบาทที่ตั้งอยู่บนหินลับพร้า (หินลับมีด) ประชาชนเคารพนับถือมาก จะมีงานเทศกาลประจำปีในวันเพ็ญเดือน 3 หรือเดือน 4 ของทุกปี

แก่งคุดคู้
เป็นแก่งหินใหญ่ขวางอยู่กลางลำน้ำโขง ห่างจากตัวอำเภอเชียงคานประมาณ 3 กิโลเมตร ประกอบด้วยหินก้อนใหญ่ ๆ เป็นจำนวนมากจากการที่หินเหล่านี้อยู่ใต้น้ำเป็นเวลานาน ทำให้หินเหล่านี้มีสีสันไปต่าง ๆ ตัวแก่ง กว้างใหญ่เกือบจรดสองฝั่งแม่น้ำโขง มีกระแสน้ำไหลผ่านไปเพียงช่องแคบ ๆ ใกล้ฝั่งไทยเท่านั้นเอง ซึ่งกระแสน้ำเชี่ยวกราก เวลาที่เหมาะจะชมแก่งคุดคู้ที่สุดคือ เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นเวลาที่น้ำแห้ง มองเห็นเกาะแก่งชัดเจน บริเวณแก่ง มีร้านอาหารจำหน่ายมากมาย


อำเภอวังสะพุง

พระพุทธบาทถ้ำผาบิ้ง
ตั้งอยู่บริเวณวัดถ้ำผา บิ้ง บ้านผาบิ้ง ตำบลนาแก กรมศิลปากรจดทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งแรกของจังหวัดเลยพร้อมกับพระธาตุศรีสองรัก เมื่อ พ.ศ. 2498 เมื่อนักท่องเที่ยวเดินเข้าไปในถ้ำจะมองเห็น พระพุทธบาทขนาดใหญ่อยู่บนเพดานถ้ำ ลวดลายและนิ้วพระบาทไม่ปรากฏเด่นชัด ขนาดกว้าง 2 ฟุต ยาว 3 ฟุต

การเดินทางใช้เส้นทางสาย 201 (อำเภอเมือง-วังสะพุง) แล้วเลี้ยวขวาตรงระหว่างกิโลเมตรที่ 323-324 เข้าไปตามทางอีก 7 กิโลเมตร จะเห็นวัดอยู่ทางขวามือ ห่างจากอำเภอวังสะพุง ประมาณ 9 กิโลเมตร

พระเจดีย์วัดป่าสัมมานุสรณ์
วัดป่าสัมมานุสรณ์ บ้านโคกมน ตำบลผาน้อย ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการวังสะพุงไปตามถนนราดยางสายอำเภอวังสะพุง-อุดรธานี ถึงสี่แยกโรงเรียนบ้านวังไท แยกซ้ายไปตามถนน รพช. อีก 9 กิโลเมตร รวมระยะทางจากอำเภอถึงวัด 19 กิโลเมตร

พระเจดีย์วัดป่าสัมมานุสรณ์
สร้างตามแบบของกรมศิลปากรขนาดฐานองค์พระเจดีย์กว้างยาวด้านละ 25 เมตร สูง 33 เมตร ก่อสร้างด้วยโครงเหล็ก ก่ออิฐถือปูนและเคลือบด้วยกระเบื้องอย่างดี วัดป่าสัมมานุสรณ์นี้ เป็นวัดป่าวิปัสสนากัมมัฏฐาน สายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

เสมาหินทรายที่บ้านปากเป่งและบ้านนาหลัก
บ้านปากเป่งและบ้านนาหลัก ตำบลวังสะพุงอยู่ห่างกัน 4 กิโลเมตร โดยบ้านนาหลัก ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ และบ้านปากเป่งอยู่ทางทิศใต้ ทั้งสองแห่งเป็นหมู่บ้านเก่าแก่มานาน ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเลย ปัจจุบันคือหมู่บ้านในตัวอำเภอวังสะพุง ใบเสมาบ้านปากเป่งพบครั้งแรกเมื่อปลายปี พ.ศ. 2508

ลักษณะใบเสมามีลวดลายสลักรูปบัวบนฐาน แบบที่มีรูปพระสถูปเจดีย์ประทับอยู่ตรงกลางแผ่นเสมา โดยส่วนบนมีลักษณะรูปกรวยคล้ายกับยอดเจดีย์ที่พบในดินแดนอีสานทั่วไป

ที่บ้านนาหลัก เป็นเสมาหินปักคู่สองหลัก แบบที่มีคู่สลักนูนขึ้นไปจากยอดเสมา เป็นรูปคล้าย ๆ กับสถูปเท่านั้น โดยไม่มีลวดลายใด ๆ และปี พ.ศ. 2519 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ขอนแก่นได้นำไปเก็บรักษาไว้ 1 หลัก จึงเหลือไว้ในสถานที่เดิมเพียง 1 หลักเท่านั้น

กลุ่มเสมาหินที่พบในภาคอีสานแสดงให้เห็นถึงลักษณะเฉพาะของวัฒนธรรมในภูมิภาคตั้งแต่โบราณ โบราณวัตถุที่พบในเขตนี้ทั้งของสมัยก่อนประวัติศาสตร์ด้วย เสมาหินที่พบส่วนมากเป็นศิลปะวัตถุแบบทวาราวดีและลพบุรี


อำเภอภูหลวง

ภูหลวง
เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า มีพื้นที่รวม 530,000 ไร่ สภาพทั่วไปเป็นพื้นที่ราบสูง อากาศเย็นตลอดปี

จุดท่องเที่ยวบนภูหลวง เป็นเส้นทางเดินต่อเนื่องกัน โดยเริ่มจากโหล่นมน ซึ่งเป็นบริเวณที่พักนักท่องเที่ยว ผ่านป่าดงดิบ ลำห้วยป่าสนสามใบ และดอกไม้สลับทุ่งหญ้าระยะทางประมาณ 2.3 กิโลเมตร ถึงโหล่นสาวแยงคิว จากนั้นไปเป็นเส้นทางเดินไปยังโหล่นหินแอ่วขัน ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ผ่านดงดอกไม้หลายชนิด ต่อไปเป็นทางเดินสู่ลานหินโหล่นแต้ ระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร จะพบกุหลาบขาวและกล้วยไม้ป่าต่าง ๆ บริเวณผาโหล่นแต้ สามารถชมวิวทิวทัศน์ของภูหอ ภูกระดึง ภูยองภู และภูขวาง

นอกจากนั้น ยังมีจุดท่องเที่ยวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่ ผากบ ผาชมวิว โหล่นช้างผึ้ง และซุ้มงูเห่า ซึ่งแต่ละแห่งมีทางเดินต่อถึงกัน

การเดินทางขึ้นภูหลวง ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย จัดรถนำเที่ยว จากตัวจังหวัดไปยังเชิงภูหลวง และมีเจ้าหน้าที่นำนักท่องเที่ยวขึ้นสู่ภูหลวง ระยะทางประมาณ 14 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 5 ชั่วโมง พร้อมทั้งจัดที่พักและอาหารไว้บริการ เป็นเวลา 3 วัน 2 คืน โดยต้องติดต่อล่วงหน้า 15 วัน ได้ที่หัวหน้าส่วนอำเภอวังสะพุง สำนักงานการท่องเที่ยวภูหลวง โทร. (042) 841566 ในเวลาราชการ

บริษัททัวร์ที่จัดขึ้นภูหลวง ได้แก่ หนุ่มสาวทัวร์ โทร. 246-5659 และรุ่งเรืองทัวร์ โทร. 280-1460-3, 280-0736-9

ช่วงที่เหมาะเดินป่า อยู่ระหว่างเดือนตุลาคม-พฤษภาคม (เดือนมิถุนายน-กันยายน ภูหลวงจะปิด) หลังจากที่นักท่องเที่ยวเดินเที่ยวทั่วภูหลวงแล้วทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดจะมอบประกาศนียบัตรให้


อำเภอภูกระดึง

อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
ตั้งที่ตำบลศรีฐาน มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 217,576 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานฯ เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2505 บนยอดภูกระดึงเป็นที่ราบกว้างใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 60 ตารางกิโลเมตร มีต้นสนขึ้นเป็นดง มีไม้ดอกและป่าละเมาะ ทุ่งหญ้าสลับด้วยป่าดงดิบเรียงรายไปตามลำธาร มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่หลายชนิด

อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน
เป็นอุทยานแห่งชาติที่จัดตั้งขึ้นใหม่ มีเนื้อที่ประมาณ 72 ตารางกิโลเมตรหรือ 45,000 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย และเขตอำเภอภูผาม่าน อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น มีที่ทำการชั่วคราวตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข 201 สาย เลย-ชุมแพ ประมาณกิโลเมตรที่ 264-265 ห่างจากผานกเค้าเพียงไม่กี่กิโลเมตร

อำเภอภูเรือ

อุทยานแห่งชาติภูเรือ
เป็นภูเขาสูงใหญ่ บนยอดเขาเป็นที่ราบกว้างใหญ่ มีต้นสนขึ้นสลับซับซ้อน มีลักษณะแปลกคือมีส่วนหนึ่งเป็นผาชะโงกยื่นออกมาเหมือนหัวเรือสำเภาใหญ่ อุทยานแห่งชาติภูเรือ ตั้งอยู่ในเขตตำบลหนองบัว อำเภอภูเรือ มีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ 75,525 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2522

น้ำตกปลาบ่า
หรือน้ำตกตาดสาน อยู่ที่หมู่ 1 บ้านปลาบ่า ตำบลปลาบ่า เป็นน้ำตกที่ตกมาจากแผ่นหินขนาดใหญ่อย่างสวยงาม ลงสู่แอ่งน้ำเบื้องล่างเหมาะสำหรับเล่นน้ำและนั่งพักผ่อนรับประทานอาหาร บริเวณน้ำตกยังไม่มีร้านอาหาร การเดินทางใช้เส้นทางหมายเลข 203 (ภูเรือ-ด่านซ้าย) บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 57-58 เลี้ยวซ้ายตรงสถานีทดลองเกษตรที่สูง-ภูเรือ (บ้านกกโพธิ์) เข้าไปตามทางราดยาง 6.7 กิโลเมตร ก็จะถึงบ้านปลาบ่า จากนั้นเลี้ยวซ้ายไปตามทางลูกรังอีกประมาณ 2 กิโลเมตร จะถึงน้ำตก รวมระยะทางจากอำเภอภูเรือถึงน้ำตก 18 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวที่จะไปเที่ยวน้ำตกปลาบ่าควรใช้รถตู้หรือรถกระบะ


อำเภอด่านซ้าย

พระธาตุศรีสองรัก
ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำหมัน ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 1 กิโลเมตร หรือห่างจากตัวจังหวัด 83 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 203 แล้วแยกขวาตรงกิโลเมตรที่ 66 เข้าทางหลวงหมายเลข 2013 อีก 15 กิโลเมตร จากนั้นแยกขวาเข้าเส้นทาง 2113 อีก 1 กิโลเมตร พระธาตุศรีสองรักมีรูปทรงสัณฐานคล้ายพระธาตุพนม สร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2103 การสร้างพระธาตุศรีสองรักขึ้นนี้เพื่อเป็นสักขีพยานในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ระหว่างกรุงศรีอยุธยาและกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) องค์พระธาตุสูงประมาณ 30 เมตร ฐานเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีงานนมัสการใหญ่โตทุกปีในช่วงเดือน 6 มีประชาชนเคารพนับถือมาก นอกจากนี้ภายในวัดยังมีพระพุทธรูปปางนาคปรกศิลปะธิเบตด้วย

น้ำตกแก่งสองคอน
อยู่ที่บ้านหัวนายูง ตำบลด่านซ้าย เดินทางใช้เส้นทางหมายเลข 2013 (ด่านซ้าย-นครไทย) อยู่เลยพระธาตุศรีสองรักไปราว 400 เมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าไปตามทางลูกรังอีก 2 กิโลเมตร จากนั้นต้องเดินเท้าเข้าไปอีกเล็กน้อยก็จะถึงน้ำตก

ลักษณะของน้ำตก เป็นธารน้ำกว้างไหลผ่านก้อนหินใหญ่น้อยมากมายลดหลั่นกันลงมาอย่างน่าชม ท่ามกลางต้นไม้ใหญ่เขียวครึ้มทั่วบริเวณ เหมาะสำหรับนั่งพักผ่อนเป็นอย่างยิ่ง


อำเภอนาแห้ว

วัดโพธิ์ชัยนาพึง
ตั้งอยู่ที่บ้านนาพึง ตำบลนาพึง มีพระพุทธรูปสำคัญศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพของชาวบ้าน คือพระเจ้าองค์แสน หรือพระพุทธรูปฝนแสนห่า ตามประวัติเล่าว่า เสด็จมาจากเมืองเชียงแสนด้วยพระองค์เอง มาประดิษฐานอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย โดยมีฆ้องห้อยศอกมา 1 อัน และลูกแก้วเป็นทองสัมฤทธิ์มาด้วย 1 องค์ พร้อมด้วยปืน 1 กระบอก ต่อมาเจ้าเมืองเชียงของทราบข่าวจึงยกขบวนพลช้าง พลม้า เพื่อที่จะอัญเชิญไปเชียงของ แต่ไม่สามารถอัญเชิญไปได้ และเล่ากันต่อมาว่า ถ้าพระพุทธรูปองค์นี้เสด็จไปประดิษฐาน ณ ที่ใด ที่นั้นจะไม่มีการแห้งแล้ง จึงได้ชื่อว่าพระพุทธรูปฝนแสนห่า

พระพุทธรูปองค์แสน
เป็นพระพุทธรูปขนาดหน้าตักกว้าง 34 เซ็นติเมตร สูง 50 เซ็นติเมตร เนื้อองค์เป็นทองสัมฤทธิ์ พระสังฆาฏิเป็นทองนาค พอถึงฤดูตรุษสงกรานต์ ชาวบ้านจะนำพระพุทธรูปองค์แสนมาสรงน้ำและทำพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงทุกปี

โบสถ์และวิหารที่วัดแห่งนี้ก่อสร้างด้วยฝีมือประณีต ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับพุทธประวัติต่าง ๆ กรมศิลปากรได้ทำการตรวจสอบแล้ว พบว่า ทั้งโบสถ์ วิหาร และพระพุทธรูปนั้นมีอายุประมาณ 400 ปี นับเป็นโบราณสถานและโบราณวัตถุที่มีค่ายิ่งของจังหวัดเลย

นอกจากนี้ อำเภอนาแห้วมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ยังเป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำลำธาร และน้ำตกที่สวยงามหลายแห่ง

น้ำตกตาดหมี
เป็นน้ำตกที่กั้นลำน้ำหู ซึ่งมีต้นกำเนิดจากภูขาด อยู่ในพื้นที่ของตำบลนาพึง การเดินทางจากอำเภอถึงบริเวณน้ำตก โดยทางสายนาแห้ว-ด่านซ้าย ถึงทางแยกบ้านเกลี้ยงเป็นระยะทาง 6 กิโลเมตร จากบ้านเกลี้ยงเข้าไปถึงน้ำตก เป็นทางเดินเท้าประมาณ 3 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 40 นาที น้ำตกตาดหมีเป็นน้ำตกที่สวยงามมาก มีน้ำตลอดทั้งปี มีความสูงประมาณ 30 เมตร นอกจากนั้นยังมีลำธารน้อยใหญ่ แก่งต่าง ๆ บริเวณน้ำตกเป็นป่าทึบเนื่องจากไม่มีการตัดไม้ทำลายป่า

น้ำตกธารสวรรค์
เป็นน้ำตกที่ใกล้ตัวอำเภอมากที่สุด อยู่หลังโรงเรียนนาแห้ววิทยา ซึ่งห่างจากอำเภอประมาณ 800 เมตร การเดินทางโดยรถยนต์เข้าถึงบริเวณน้ำตกได้โดยสะดวก น้ำตกแห่งนี้มีความสูงประมาณ 15 เมตร บริเวณน้ำตกมีศาลาพักร้อนสำหรับนั่งพักผ่อนหย่อนใจ ตอนล่างมีก้อนหินน้อยใหญ่เรียงรายอย่างสวยงาม มีสาหร่ายและพันธุ์ไม้นานาชนิดขึ้นบริเวณริมฝั่งสองข้างทาง

น้ำตกขั้นบันได
อยู่เหนือน้ำตกธารสวรรค์ประมาณ 1 กิโลเมตร การเดินทางจากน้ำตกธารสวรรค์ไปน้ำตกขั้นบันไดโดยทางเท้าประมาณ 10 นาที แต่ละขั้นของน้ำตกประมาณ 4-7 เมตร ป่าไม้ยังคงอุดมสมบูรณ์ มีชั้นหินเรียงรายกันเป็นทอด ๆ

น้ำตกคริ้ง
อยู่ห่างจากอำเภอประมาณ 15 กิโลเมตร อยู่ติดกับถนนสายเหมืองแพร่-ร่มเกล้า บริเวณน้ำตกมีพืชพันธุ์นานาชนิดขึ้นริมฝั่งทำให้ดูมีความอุดมสมบูรณ์ สวยสด งดงาม มีก้อนหินเรียงกันเป็นชั้น ๆ ตอนล่างมีอ่างน้ำขนาดใหญ่ มีศาลาพักผ่อนหย่อนใจสำหรับผู้มาเที่ยว อยู่ในพื้นที่ของตำบลแสงภา

น้ำตกตาดเหือง (น้ำตกไทย-ลาว)
อยู่ห่างจากอำเภอประมาณ 25 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่มีขนาดใหญ่และสูงมาก ซึ่งเป็นสมบัติของสองประเทศ ไทย-ลาว เกิดจากลำน้ำเหือง บริเวณรอบๆ เป็นป่าทึบที่มีความอุดมสมบูรณ์ครบถ้วน การเดินทางไปเที่ยวชมโดยทางรถยนต์จากที่ว่าการอำเภอนาแห้วไปตามถนนสายนาแห้ว-ร่มเกล้า จนถึงทางแยกเข้าบ้านบ่อเหมืองน้อย ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร จากปากทางถึงบ้านบ่อเหมืองน้อยระยะทาง 10 กิโลเมตร เส้นทางตลอดสายเป็นทางราดยาง จากนั้นเดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ 200 เมตร ก็จะถึงบริเวณน้ำตก


อำเภอท่าลี่

พระธาตุสัจจะ
ตั้งอยู่บริเวณวัดลาดปู่ บ้านท่าลี่ ตำบลท่าลี่ ไปตามทางหลวงหมายเลข 201 แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2115 สายท่าลี่-อาฮี ห่างจากที่ว่าการอำเภอท่าลี่ประมาณ 2 กิโลเมตร องค์ประกอบของพระธาตุสัจจะ ประกอบด้วยดอกบัวบานมีกลีบ 3 ชั้น สูงประมาณ 1 เมตร ตั้งอยู่รอบองค์พระธาตุสัจจะ องค์พระธาตุสูง 33 เมตร มีสัญลักษณ์คล้ายคลึงกับพระธาตุพนม มีเศวตฉัตร 7 ชั้น ประดิษฐานไว้บนยอดสุดของพระธาตุสัจจะ


:: อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย (นาแห้ว) ::

:: ข้อมูลทั่วไป ::
อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย (นาแห้ว) ตั้งอยู่ในเขตอำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ครอบคลุมพื้นที่ 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลนาแห้ว ตำบลแสงภา ตำบลเหล่ากอหก อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย มีเนื้อที่ประมาณ 73,225 ไร่ หรือ 117.16 ตารางกิโลเมตร ด้วยสภาพขุนเขาที่สูงสลับซับซ้อนกันในพื้นที่ อำเภอนาแห้ว ประกอบกับเป็นผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ สภาพป่าโดยส่วนใหญ่เป็นป่าดิบชื้น ซึ่งมีที่ราบน้อย จุดที่สูงที่สุดประมาณ 1,408 เมตร จากระดับน้ำทะเล สภาพอากาศค่อนข้างเย็นสบายตลอดปี เนื่องจากความสมบูรณ์ของป่าธรรมชาติซึ่งมีพันธุ์ไม้อยู่หนาแน่น ในช่วงฤดูหนาวอากาศค่อนข้างจะหนาวเย็น

ป่าผืนนี้เป็นส่วนหนึ่งของป่าสงวนแห่งชาติป่าภูเปือย ป่าภูขี้เถ้า และป่าภูเรือ ตามกฎกระทรวงที่ 1041 (พ.ศ. 2527) ออกตามความในพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2507 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับที่ 101 ตอนที่ 69 วันที่ 30 พฤษภาคม 2527 เป็นป่าโครงการไม้กระยาเลย บ้านนาท่อน-บ้านบุ่ง (ลย.8) ตอนที่ 7 และ 8 ผ่านการคัดเลือกเพื่อให้ตัดฟันไม้ออกแล้ว แต่ราษฎรตำบลแสงภา ได้รวมตัวกันเมื่อเดือนธันวาคม 2530-มกราคม 2531 คัดค้านมิให้ทำไม้ออกทางราชการได้พิจารณาเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้วเห็นชอบตามราษฎรจึงระงับการทำไม้ไว้ก่อน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2532 ได้มีพระราชกฤษฎีกายกเลิกการทำไม้ตามสัมปทานเสียทั้งหมด จึงเป็นการยุติการทำไม้ออกตามสัมปทานโดยสิ้นเชิง

การจัดตั้งป่าผืนนี้ให้เป็นป่าอนุรักษ์ในรูปอุทยานแห่งชาติ เนื่องจากกองอำนวยการพัฒนาพื้นที่เพื่อความมั่นคง อำเภอนาแห้ว ฝ่ายทหาร เริ่มแรกต้องการให้เป็นปอดของสมาชิกราษฎรอาสาป้องกันชายแดน แต่เมื่อตระหนักถึงประโยชน์ในการพักผ่อน ในลักษณะป่าเขาลำเนาไพรแล้ว เห็นว่าน่าจะอำนวยประโยชน์แก่ราษฎรโดยทั่วกันอีกด้วย จึงตัดสินใจหาลู่ทางกำหนดให้ป่านาแห้วเป็นอุทยานแห่งชาติ ประกอบกับเนื่องในโอกาสครบ 3 รอบ หรือ 36 พระชนมพรรษาของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2534 ซึ่งกรมป่าไม้เห็นชอบด้วยเป็นอย่างยิ่ง และตอบสนองความต้องการอนุรักษ์ป่าผืนนี้อย่างจริงจัง

การสำรวจเบื้องต้นบนส่วนหนึ่งของพื้นที่จึงเริ่มขึ้น เพื่อให้ได้ข้อมูลต่างๆ มาประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติและคณะกรรมการชุดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติโดยได้พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าภูเปือย ป่าภูขี้เถ้า และป่าภูเรือ ในท้องที่ตำบลแสงภา ตำบลเหล่ากอหก และตำบลนาแห้ว อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ตามราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนที่ 52ก หน้า 54-56 เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2537 โดยใช้ชื่อว่า อุทยานแห่งชาตินาแห้ว นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 79 ของประเทศ

ต่อมาเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้พิจารณาชื่ออุทยานแห่งชาติให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับจุดเด่น และศักยภาพที่สำคัญของพื้นที่ที่จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ จึงเปลี่ยนชื่ออุทยานแห่งชาตินาแห้ว เป็นอุทยานแห่งชาติอุทยานแห่งชาติภูสวนทราย


:: ลักษณะภูมิประเทศ ::
ภูมิประเทศของอุทยานแห่งชาติเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนตามแนวชายแดนไทย-ลาว สันเขามีลักษณะเป็นที่ราบสูง มีความลาดเท ตั้งแต่ 2 เปอร์เซ็นต์ จนถึงมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ด้านตะวันตกซึ่งเป็นพื้นที่ป่าผืนใหญ่ จะมีความลาดชันมาก พื้นที่ราบเชิงเขาเกือบจะไม่มี ด้านตะวันออกจะมีความลาดชันน้อย ลาดเทลงไปทางด้านตะวันออกมีที่ราบเชิงเขาอยู่บ้าง พื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ตั้งแต่ 600 - 1,408 เมตร มีภูสันทรายเป็นยอดเขาสูงสุด เป็นแหล่งน้ำน้ำลำธารของแม่น้ำเหือง และ แม่น้ำแพร่


:: ลักษณะภูมิอากาศ ::
สภาพอากาศค่อนข้างเย็นสบายตลอดปี เนื่องจากความสมบูรณ์ของป่าธรรมชาติซึ่งมีพันธุ์ไม้อยู่หนาแน่น ในช่วงฤดูหนาวอากาศค่อนข้างจะหนาวเย็น


:: พรรณไม้และสัตว์ป่า ::
อุทยานแห่งชาติปกคลุมไปด้วยผืนป่าดิบเขา ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง มีสัตว์ป่ามากมายหลายชนิดดังนี้
1. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ได้แก่ เลียงผา เก้ง กระจง หมูป่า หมี เสือโคร่ง หมาไน อีเห็น บ่าง กระรอก ในป่านี้มีสัตว์ชนิดหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า “ตัวหอน” มีลักษณะคล้ายเม่นอยู่เป็นกลุ่มหากินกลางคืนอาศัยตามหลืบหิน โพรงหิน ไม่ขุดรูอยู่ด้วยตนเองเหมือนเม่น
2. นก ประกอบด้วย นกเหยี่ยว นกกระจิบ นกโพระดก นกกาเหว่า ไก่ป่า ไก่ฟ้า พญาลอไก่ฟ้าหลังขาว ไก่ฟ้าหลังเทา นกกก นกแซงแซว เป็นต้น และมีนกชนิดหนึ่งเรียกว่า “นกกองกอด” ลักษณะเด่น คือ ที่ขามีเดือยมากกว่า 1 เดือย หางคล้ายนกยูง
3. สัตว์เลื้อยคลาน มี เต่าปูลู กิ้งก่า กะท่าง แย้ จิ้งเหลน ตะกวด แลน และงูชนิดต่างๆ ทั้งมีพิษและไม่มีพิษ ประเภทงูมักพบในป่าเบญจพรรณ
4. ปลา พบในลำน้ำเหืองและแม้แต่ลำห้วยเล็กๆ ก็มีปลาน้ำจืดอาศัยอยู่ในลำห้วย มีพวกปลาประเภทที่มีเกล็ด เช่น ตะเพียน ปลากะสูบ ปลาช่อน ปลาช่อนงูเห่า ปลาซิวและปลาขนาดเล็กอื่นๆ ปลาไม่มีเกล็ด คือ ปลาไหล ปลาหลด ไม่มีปลาขนาดใหญ่


:: ที่ตั้งและการเดินทาง ::
อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย (นาแห้ว)
ต.แสงภา อ. นาแห้ว จ. เลย 42170
โทรศัพท์ : 0 4281 9340

รถยนต์
1. จากกรุงเทพฯ สู่จังหวัดเลย และเดินทางจากจังหวัดเลยโดยใช้เส้นทางหมายเลข 203 ระยะทาง 68 กิโลเมตร ถึงทางแยกบ้านโคกงามเลี้ยวขวาตามเส้นทางหมายเลข 2031 ระยะทาง 12 กิโลเมตร ถึงอำเภอด่านซ้าย เลี้ยวขวาตามเส้นทางหมายเลข 2113 ไปอีก 32 กิโลเมตร ถึงอำเภอนาแห้ว จากอำเภอนาแห้วเดินทางต่ออีก 4 กิโลเมตร ถึงบ้านเหมืองแพร่ เลี้ยวซ้ายตามเส้นทาง หมายเลข1268 ผ่านตำบลแสงภา และเลี้ยวขวาตามทางแยกบนทางหลวงหมายเลข 1268 หลักกิโลเมตรที่ 0 อีกประมาณ 3 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูสวนทราย(นาแห้ว)

2. จากกรุงเทพฯ สู่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ และเดินทางจากอำเภอหล่มสัก ใช้เส้นทางหมาเลข 203 จนถึงบ้านโป่งชีเลี้ยวซ้ายตามเส้นทางหมายเลข2014ถึงอำเภอด่านซ้ายเลี้ยวซ้ายตามเส้นทางหมายเลข 2113 ไปอีก 32 กิโลเมตร ถึงอำเภอนาแห้ว จากอำเภอนาแห้วเดินทางต่ออีก 4 กิโลเมตร ถึงบ้านเหมืองแพร่ เลี้ยวซ้ายตามเส้นทางหมายเลข 1268 ผ่านตำบลแสงภาและเลี้ยวขวาตามทางแยกบนทางหลวงหมายเลข 1268 หลักกิโลเมตรที่ 0 อีกประมาณ 3 กิโลเมตรถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูสวนทราย(นาแห้ว)

3. จากจังหวัดพิษณุโลก-อำเภอชาติตระการ-บ้านบ่อภาค ถึงกิโลเมตรที่ 50 เลี้ยวขวาเข้าเส้นทางหมายเลข 1268 ผ่านบ้านร่มเกล้า ผ่านตำบลเหล่ากอหก ถึงหลักกิโลเมตรที่ 0 อีกประมาณ 3 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูสวนทราย(นาแห้ว)

:: แหล่งท่องเที่ยว :: ด้านธรรมชาติที่สวยงาม ::
หินสี่ก้อน อยู่บนเทือกเขาภูตีนสวนทราย ด้านทิศใต้จะมีหินอยู่ 4 ก้อน โผล่ขึ้นกลางป่าดงดิบ เป็นเสมือนประตูภูตีนสวนทราย ชาวบ้านขึ้นสักการะทุก 3 ปี ภาษาชาวบ้านเรียกว่า 2 ปีหาม 3 ปีครอบ คือ ขึ้นไปทำบุญ 1 ครั้ง แล้วเว้นไปอีก 2 ปี ขึ้นไปสักการะอีก เรียกว่า บุญภูใหญ่หรือบุญสวนเมี่ยง จะทำปลายเดือน 3 ต้นเดือน 4 ไม่กำหนดวันที่แน่นอน


น้ำตกคิ้ง อยู่ในลำน้ำแพร่มีลักษณะเป็นแก่งหินลดหลั่นกันลงมา 2-3 ชั้น ตั้งอยู่ริมทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1268 สายแสงภา-เหล่ากอหก อยู่เลยน้ำตกวังตาดมา 1.2 กิโลเมตร จุดนี้ทางราชการได้ก่อสร้างเรือนประทับ ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ซึ่งเสด็จเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534


น้ำตกวังตาด อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 4 กิโลเมตร ตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1268 มีทางเดินเลาะไหล่เขาลงไปถึงน้ำตก ประมาณ 70 เมตร น้ำตกวังตาดเป็นน้ำตกขนาดเล็กมี 2 ชั้น สายน้ำไหลตกลงมาจากผาหินสูงประมาณ 5 เมตร กระทบก้อนหินใหญ่ลงสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง บรรยากาศสงบเงียบเหมาะสำหรับแวะพักผ่อน


น้ำตกผาค้อ อยู่ในลำน้ำเหือง ใช้ลำน้ำนี้เป็นเส้นแบ่งเขตพรมแดน ระหว่าง ไทย-ลาว สภาพโดยทั่วไป รอบพื้นที่น้ำตกมีต้นไม้ที่สมบูรณ์ อากาศร่มรื่นดีมาก เหมาะแก่การพักผ่อนอย่างแท้จริง


น้ำตกตาดเหือง อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 25 กิโลเมตร น้ำตกตาดเหืองเกิดจากลำน้ำเหือง ซึ่งเป็นเส้นแบ่งพรมแดนไทย-ลาว สายน้ำไหลลงมาจากหน้าผาสูง 30 เมตร ไหลลดหลั่นกัน 3 ชั้น มีน้ำไหลตลอดปี สภาพป่าบริเวณรอบ ๆ ร่มรื่นดีมาก เหมาะสำหรับการพักผ่อน น้ำตกตาดภา เป็นน้ำตกสูงประมาณ 60 เมตร ลดหลั่นกันเป็นชั้น ซึ่งอยู่ใกล้บ้านแสงภา


น้ำตกตาดภา เป็นน้ำตกสูงประมาณ 60 เมตร ลดหลั่นกันเป็นชั้น ซึ่งอยู่ใกล้บ้านแสงภา


น้ำตกช้างตก อยู่เหนือน้ำตกคิ้งขึ้นไปประมาณ 500 เมตร อยู่ในลำน้ำแพร่เช่นกัน แต่มีความลาดชันมากกว่า


หินก่วยหล่อ อยู่บนภูตีนสวนทรายเป็นหินทราย รูปร่างคล้ายดอกเห็ดตูมก้อนเดียวโผล่ขึ้นมากลางป่าดงดิบ ความโตโดยรอบประมาณ 19 เมตร สูงประมาณ 4 เมตร รอบ ๆ หินมีร่องรอยเหมือนมีคนมาขุดเป็นร่องน้ำไว้ แต่โดยความจริงธรรมชาติเป็นผู้สร้างขึ้นมาเอง


จุดชมวิว เนิน 1408 อยู่บนภูสวนทราย เมื่อมองลงไปทางทิศตะวันออก และทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จะเห็นบ้านบ่อเหมืองน้อย ทิวทัศน์ของป่าเต็งรังบ้านแสงภา อำเภอนาแห้ว จุดนี้หากขึ้นไปรอดูพระอาทิตย์ขึ้นในยามเช้าจะสวยงามมาก บริเวณนี้เป็นที่ราบสันเขายาว หมาะที่จะเดินพักผ่อนยิ่งนัก นับว่าเป็นใจกลางของอุทยานแห่งชาตินาแห้วอย่างแท้จริง


จุดชมวิว เนิน 1205 เป็นจุดชมวิวในระยะใกล้จะเห็นบ้านห้วยน้ำผักอยู่ด้านล่างและเห็นวิวภูสอยดาวภูเวียงในประเทศลาว เป็นวิวทางด้านทิศเหนือจะเห็นภูเขาสลับซับซ้อนกันสุดสายตาที่จุดชมวิวมีลมพัด


เส้นทางดูนก เส้นที่ 1 ทางเข้าบ้านพัก-ฐาน ตชด จุดเริ่มต้นเดินทางเข้าบ้านพักนักท่องเที่ยว-ฐาน ตชด. เก่า มีจุดชมนกลงกินและอาบน้ำ ทางอุทยานแห่งชาติจัดทำบังไพรไว้บริการ เส้นทางเส้นนี้มีต้นไทรอยู่หลายต้น ส่วนมากลูกไทรจะสุกประมาณ เดือนตุลาคม-มกราคม ของทุกปี ระยะทางประมาณ 2.5 กิโลเมตร เวลาในการดูนกอย่างน้อย 2 ชั่วโมง นกที่พบได้แก่ เหยี่ยวนกเขาหงอน ไก่ฟ้าหลังขาว นกตั้งล้อ นกขุนทอง นกปากนกแก้วหางสั้น นกมุ่นนรกคอแดง นกเสือแมลงหัวขาว นกกินแลงหัวสีทอง นกภูหงอนหัวน้ำตาลแดง นกอีเสือหลังเทา และนกกระเบื้องผา เป็นต้น

เส้นที่ 2 เก้าเลี้ยว-หินสี่ทิศ เส้นทางนี้เดินตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ควบคู่ไปกับการดูนกจะเป็นเส้นทางขึ้นเขา แล้วเดินบนสันเขา สภาพป่าเป็นป่าดิบเขา ถ้าใช้เส้นทางนี้ควรมีอาหาร น้ำ ยากันยุง และถุงกันทากติดตัวไปด้วย ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร ใช้เวลาในการดูนกอย่างน้อย 5 ชั่วโมง นกที่พบได้แก่ นกกระทาดงอกสีน้ำตาล นกกระทางดงแข้งเขียว นกมูม นกเปล้าหน้าเหลือง นกแว่นสีเทา นกเสือแมลงหัวขาว นกระวังไพรปากแดงยาว และนกพญาปากกล้างหางยาว เป็นต้น

เส้นที่ 3 ทับกอสอด-เนินสำนึกบาป เส้นทางนี้จะแยกจากเส้นที่ 1 บริเวณกิโลเมตร 7-8 สภาพป่าเป็นป่าไผ่ และป่าดิบเขามีต้นไทรหลายต้น มีลำห้วยตลอดเส้นทาง ส่วนมากจะเดินไปกลับทางเดิม ฤดูฝนจะมีทากควรมียาทาป้องกันและถุงกันทาก ระยะทางประมาณ 3.5 กิโลเมตร ใช้เวลาในการดูนกอย่างน้อยประมาณ 4 ชั่วโมง นกที่พบได้แก่ นกปากนำแก้วหูเทา นกปากนกแก้วหางสั้น นกมุ่นรกคอแดง นกกระติ๊ดเขียว นกไผ่ ไก่ฟ้าหลังขาว นกเปล้าท้องขาวล นกขุนทอง นกเอี้องถ้ำ และนกเขนน้ำหลังเทา เป็นต้น

เส้นที่ 4 เก้าเลี้ยว-ตก.2 เส้นนี้จะเดินตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติเส้นเดียวกับเส้นที่ 2 แล้วเลี้ยวซ้ายเดินตามสันเขาไป ตก.2 เส้นนี้จะมีนกมากมายหลายชนิด สภาพป่าเป็นป่าดิบเขา แล้วเดินลงทางเข้าบ้านห้วยน้ำผัก ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร ควรเตรียมอาหาร น้ำ และเครื่องใช้ส่วนตัวให้พร้อม ส่วนมากนักท่องเที่ยวจะนอนพักค้างแรมบริเวณลานกางเต็นท์ ตก.2 จุดที่สูงที่สุดในอุทยานแห่งชาติ นกที่พบได้แก่ นกจู๋เต้นคิ้วยาว นกบั้งรอกใหญ่ นกไต่ไม้หน้าผากกำมะหยี่ นกติ๊ดแก้มเหลือง นกเสื้อแมลงปีกแดง นกหัวขาวนแดงหลังลาย นกหัวขวานสี่นิ้วหลังทอง และนกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง เป็นต้น

เส้นที่ 5 ภูสามร้อย-ต้นผึ้ง ระยะทางระหว่าง กิโลเมตร 7-9 จะเป็นเส้นทางที่เหมาะสำหรับ คนที่ไม่ชอบขึ้นเขาเดินดูนกตามถนนลาดยาง ป่าสองข้างทางเปิดโล่งมองเห็นกว้างไกล เส้นนี้จะพบนกหายากหลายชนิดด้วยกัน ได้แก่ นกปีกแพรสีเขียว นกจาบคาเคราน้ำเงิน นกกระติ๊ดเขียว นกไผ่ นกระวังไพรปากแดงยาว นกพญาไฟใหญ่ นกขุนแผนหัวแดง นกพญาปากกว้างหางยาว นกพญาปากกว้างงอกสีเงิน นกเสือแมลงหน้าสีตาล และนกแซวสวรรค์ เป็นต้น

เส้นที่ 6 หน่วยพิทักษ์ฯ-ฐานทหารเก่า เส้นนี้จะเป็นเส้นทางดูนกที่อยู่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ 1 สภาพป่าเป็นป่าเต็งรัง ฤดูแล้งสามารถดูนกลงกินน้ำ อาบน้ำ มีนกหลายชนิด ทางอุทยานแห่งชาติจัดทำบังไพรไว้บริการ เส้นนี้มีนกที่พบได้แก่ นกอัญชันป่าขาเทา นกเขียวก้านตองหน้าผากสีทอง นกหัวขวานเขียวป่าไผ่ นกหัวขวานสี่นิ้วหลังทอง นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง นกคัดคูมรกต นกโพระดกธรรมดา นกแซวสวรรค์ นกกินแมลงหัวสีทอง นกหัวขวานจิ๋วคิ้วขาว และนกเค้าลงดง เป็นต้น



:: สิ่งอำนวยความสะดวก ::
ห้องสุขาชาย มีห้องสุขาชายให้บริการ


ห้องสุขาหญิง มีห้องสุขาหญิงให้บริการ


ที่พักแรม/บ้านพัก มีบ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียด และสำรองที่พักเต็นท์ได้กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง


ที่จอดรถ มีที่จอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว




จังหวัดเลย :: เทศกาล งานประเพณี

งานดอกฝ้ายบาน มะขามหวานเมืองเลย
จัดขึ้น ณ บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัดเลย ช่วงเทศกาลตรุษจีน ประมาณวันที่ 1-7 กุมภาพันธ์ ของทุกปี วันแรกของงานจะมีขบวนแห่จากอำเภอต่างๆ ที่ประดับตกแต่งรถด้วยผลิตภัณฑ์จากฝ้าย ซึ่งรถแต่ละคันจะมีเทพีนั่งประดับมาด้วย ส่วนบริเวณจัดงานจะมีการออกร้านของหน่วยงานราชการต่าง ๆ การประกวดนางสาวไทเลยและมหรสพอื่นๆ อีกมากมาย

งานประเพณีการละเล่นผีตาโขน
จัดขึ้นที่อำเภอด่านซ้าย ในวันเสาร์-อาทิตย์ หลังวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี หลังจากงานนมัสการพระธาตุศรีสองรักแล้ว งานประเพณีการละเล่นผีตาโขนเป็นการละเล่นพื้นบ้านที่มีขึ้นในอำเภอด่านซ้ายและอำเภอนาแห้วเท่านั้น โดยมีการแห่ผีตาโขนในงานบุญหลวง ซึ่งเป็นงานบุญใหญ่ประจำปีของท้องถิ่น การละเล่นผีตาโขนส่วนมากจะเล่นกันเฉพาะผู้ชาย ตั้งแต่เด็กรุ่นๆ ถึงผู้ใหญ่ โดยแบ่งการจัดงานเป็นสองวัน ในวันแรกจะมีพิธีแห่พระอุปคุตจากลำน้ำหมันมาที่วัดโพนชัย วันที่สองมีการแห่เข้าเมือง และผู้เล่นจะนำเครื่องผีตาโขนไปโยนทิ้งแม่น้ำหมัน จากนั้นเวลาค่ำจะมีการเทศก์มหาชาติถึง 13 กัณฑ์

งานแสดงไม้ดอกเมืองหนาว อำเภอภูเรือ
จัดขึ้นที่บริเวณสนามหน้าที่ว่าการอำเภอภูเรือ ในช่วงวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ประมาณวันที่ 31 ธันวาคม-3 มกราคม ของทุกปี ภายในงานจะจัดให้มีการออกร้านแสดงไม้เมืองหนาว การประกวดไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาว งานราตรีแม่คะนิ้ง ลีลาศโต้ลมหนาว และการจำหน่ายพืชผลทางการเกษตรของชาวอำเภอภูเรือ


จังหวัดเลย :: ของฝาก ของที่ระลึก

จังหวัดเลย มีสินค้าพื้นเมืองหลายประเภท ได้แก่ มะขามหวาน, กุนเชียง, หมูแผ่น, มะพร้าวแก้ว พวงกุญแจเซรามิครูปผีตาโขน, ผ้านวม, ผ้าไหม, และผ้าฝ้าย ซึ่งมีร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึก ดังนี้

ดำรงพาณิชย์ 2/6 ถนนเอื้ออารี อำเภอเมือง โทร. 811128

ดอกฝ้าย 138/2 ถนนเจริญรัฐ อำเภอเมือง โทร. 813063

เมืองเลยผ้าฝ้าย 50/10 ถนนเสริฐศรี อำเภอเมือง โทร. 813524, 811384

ส้มโอซิลเวอร์ 136 ถนเจริญรัฐ อำเภอเมือง โทร. 813051

ไหมไทย 38/3 ถนนพิพัฒน์มงคล อำเภอเมือง โทร. 811814

:: สารบัญเว็บไซท์ ::

:: ข้อมูล สถานที่ท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว จังหวัดเลย ::

สารบัญเว็บไซท์ > ท่องเที่ยว > ข้อมูล และสถานที่ท่องเที่ยว > ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ > เลย

หมวดย่อย

- ภูกระดึง (0/0)


จำนวนเว็บไซท์ในหมวดนี้ : 14 [ แนะนำเว็บไซท์ได้ที่นี่ ]


จังหวัดเลย
แนะนำข้อมูลทั่วไป สถานที่ท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว จองโรงแรม ที่พัก รีสอร์ท โรงแรม จังหวัดเลย แผนที่ การเดินทาง ร้านอาหาร เทศกาล งานประเพณี ของฝาก ประวัติความเป็นมา คำขวัญประจำจังหวัด
http://www.relaxzy.com/province/loey/

จังหวัดเลย
ข้อมูลของจังหวัดเลย ประวัติ ที่ตั้ง อาณาเขต ลักษณะภูมิประเทศ ป่าไม้ แร่ธาตุของจังหวัด สถานที่ท่อง...
http://www.loei.go.th

ไปเที่ยวเลย
ข้อมูลการท่องเที่ยวจังหวัดเลย ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ การท่องเที่ยวภูกระดึง รวมภาพสถานที่ท่...
http://www.gotoloei.com/

คำนวณเนิร์สเซอรี่
เป็นสวนดอกไม้ ที่ผลิตดอกไม้เมืองหนาวของอำเภอภูเรือ จังหวัดเลย ดอกไม้ที่ทดลองปลูกครั้งแรกคือ ซัลเว...
http://www.kamnuan.com

จังหวัดเลย
รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับจังหวัดเลย คำขวัญ ตราประจำจังหวัด ประวัติ อาณาเขต แผนที่ ข้อมูลแหล่งท่องเที่...
http://travel.sanook.com/northeast/loei/

จังหวัดเลย (ไทเลย)
รวมข้อมูลเกี่ยวกับการท่องเที่ยวจังหวัดเลย ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว รูปภาพ ชื่อสถานที่ท่องเที่ยว เส้น...
http://www.thailoei.com

ภูเรือทัวร์ดอทคอม
ข้อมูลการท่องเที่ยวอำเภอภูเรือ ตั้งอยู่บนเทือกเขาสูง เป็นดินแดนที่ หนาวที่สุดในสยาม
http://www.phuruatour.com

วรวิทย์เนอสเซอรรี่ (ด่านซ้าย) & เดอะไวท์โรสคอทเทจ
ที่พัก รีสอร์ท แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ สวนดอกไม้ และพรรณาไม้ ตั้งอยู่ที่ บ้านนาเจียง ตำบลโคกงาม อ...
http://www.worawit.com

ภูกระดึงดอทคอม
รวบรวมเรื่องราว และภาพเหตุการณ์ของผู้คนที่ได้เคยสัมผัสภูกระดึง จังหวัดเลย
http://www.phukradung.com

ดูเลย
เผยแพร่ข่าวสารด้านแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดเลย และข่าวสารเกี่ยวกับ Mambo
http://www.dooloei.com

อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
อุทยานแห่งชาติภูกระดึง ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ 2 ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 23 พ...
http://www.dnp.go.th/parkreserve/asp/style1/default.asp?npid=11&lg=1

อุทยานแห่งชาติภูเรือ
อุทยานแห่งชาติภูเรือ มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอภูเรือและอำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย อาณาเขตด้านทิศเ...
http://www.dnp.go.th/parkreserve/asp/style1/default.asp?npid=33&lg=1

อุทยานแห่งชาติภูเรือ
รวมข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติภูเรือ เช่น ที่พัก ประวัติ การเดินทาง ร้านอาหาร สวนไม้ดอก ไม้ประดับ
http://www.phurua.com

เลยเว็บดอทคอม
เว็บไซต์ประจำจังหวัดเลย แนะนำข้อมูลจังหวัด สถานที่ท่องเที่ยว ข่าวสารต่างๆ เว็บบอร์ด และอื่น ๆ
http://www.loeiweb.com



:: อุทยานแห่งชาติภูกระดึง ::

:: ข้อมูลทั่วไป ::
อุทยานแห่งชาติภูกระดึง ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ 2 ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2505 ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย ครอบคลุมพื้นที่ 348.12 ตารางกิโลเมตร (217,575 ไร่) ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาหินทรายยอดตัด โดยมีที่ราบบนยอดภูกระดึง ประมาณ 60 ตารางกิโลเมตร (37,500 ไร่) ภูกระดึงมีระดับความสูงอยู่ระหว่าง 400-1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล จุดสูงสุดอยู่ที่บริเวณคอกเมย มีความสูง 1,316 เมตรจากระดับน้ำทะเล สภาพทั่วไปของภูกระดึง ประกอบไปด้วยพรรณไม้นานาชนิด พันธุ์สัตว์ป่านานาพันธุ์ หน้าผา ทุ่งหญ้า ลำธาร และน้ำตก อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ต้นน้ำของลำน้ำพอง ซึ่งเป็นลำน้ำสายสำคัญสายหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยความสูง บรรยากาศ และสภาพอากาศที่เย็นสบายตลอดปี บนยอดภูกระดึง โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว อุณหภูมิอาจลดต่ำจนถึง 0 องศาเซลเซียส จึงเป็นแรงจูงใจให้นักท่องเที่ยว ปรารถนาและหวังจะเป็นผู้พิชิตยอดภูกระดึง สักครั้งหนึ่งในชีวิต

ข้อห้ามต่างๆ ของอุทยานแห่งชาติภูกระดึง

ห้ามก่อไฟ
เพื่อช่วยกันรักษาสภาพแวดล้อม มิให้ถูกทำลายลงไปอุทยานแห่งชาติภูกระดึง จึงห้ามมิให้นักท่องเที่ยว เก็บกิ่งไม้มาเพื่อทำการก่อไฟ หรือกระทำการอื่นใด ที่เสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติ สำหรับนักท่องเที่ยว ที่นำอาหารขึ้นไปประกอบ และหุงต้มเอง ขอให้จัดเตรียมเตาแก๊สขึ้นไปด้วย และประกอบการหุงต้ม ภายในบริเวณที่จัดไว้ให้เท่านั้น

ห้ามนำสัตว์เลี้ยงขึ้นเขา
นักท่องเที่ยวท่านใดนำสัตว์เลี้ยงมาด้วย เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้สัตว์เลี้ยงของท่านซึ่งอาจจะเป็นพาหะนำเชื้อโรคไปสู่สัตว์ป่า และทำร้ายนักท่องเที่ยว ขอให้นำสัตว์เลี้ยงหรือสุนัขของท่าน ไปฝากไว้กับเจ้าหน้าที่ที่ด่านตรวจทางเข้าอุทยานฯ ซึ่งอุทยานแห่งชาติภูกระดึง จัดให้มีเจ้าหน้าที่ดูแลตลอด 24 ชั่วโมง

ห้ามนำโฟมเข้าในเขตอุทยานแห่งชาติ
อุทยานแห่งชาติภูกระดึง ห้ามมิให้นำภาชนะที่ทำด้วยโฟม เข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติโดยเด็ดขาด ทั้งนี้เพื่อเป็ฯการลดปริมาณมลพิษและขยะที่ย่อยสลายยาก ซึ่งดำเนินการตามประกาศกรอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ฉบับลงวันที่ 27 มกราคม 2546 เรื่อง ห้ามนำภาชนะที่ทำด้วยโฟมเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติ

:: ลักษณะภูมิประเทศ ::
สภาพทั่วไปของอุทยานแห่งชาติภูกระดึง เป็นภูเขาหินทรายยอดตัดอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของที่ราบสูงโคราช ใกล้กับด้านลาดทิศตะวันออกของเทือกเขาเพชรบูรณ์ ลักษณะโครงสร้างทางธรณีของภูกระดึงเกิดขึ้นในมหายุค Mesozoic เป็นหินในชุดโคราช ประกอบด้วยชั้นหินหมวดหินภูพานหมวดหินเสาขัว หมวดหินพระวิหาร และหมวดหินภูกระดึง พื้นที่ส่วนใหญ่ของภูเขาอยู่ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางระหว่าง 400-1,200 เมตร มีพื้นที่ราบบนยอดเขากว้างใหญ่คล้ายรูใบบอน ประกอบด้วยเนินเตี้ยๆ ยอดสูงสุดคือ ภูกุ่มข้าว สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,350 เมตร สภาพพื้นที่ราบบนยอดภูกระดึงมีส่วนสูงอยู่ทางด้านตะวันตกและตะวันออกเฉียงใต้ พื้นที่ค่อยๆ ลาดเทลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทำให้ลำธารสายต่างๆ ที่เกิดจากแหล่งน้ำบนภูเขาไหลไปรวมกันทางด้านนี้ เป็นแหล่งต้นน้ำของลำน้ำพอง ซึ่งหล่อเลี้ยงเขื่อนอุบลรัตน์และเขื่อนหนองหวาย ในจังหวัดขอนแก่น


:: ลักษณะภูมิอากาศ ::
ภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติภูกระดึงบริเวณที่ระดับต่ำตามเชิงเขา มีสภาพโดยทั่วไปใกล้เคียงกับบริเวณอื่นๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนตุลาคม ฝนตกชุกที่สุดระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน อุณหภูมิเฉลี่ยรายปี 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดในเดือนมกราคม และอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน สภาพอากาศทั่วไปบนยอดภูกระดึง แตกต่างจากสภาพอากาศในที่ราบต่ำเป็นอย่างมาก โดยปริมาณน้ำฝนจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ของปริมาณน้ำฝนบนที่ต่ำ เนื่องจากอิทธิพลของเมฆ/หมอกที่ปกคลุมยอดภูกระดึงเป็นเนืองนิจ ในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคมอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยระหว่าง 0-10 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยระหว่าง 21-24 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยระหว่าง 12-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยระหว่าง 23-30 องศาเซลเซียส อากาศบนยอดภูกระดึงมักจะแปรปรวน มีเมฆหมอก ลอยต่ำปกคลุมบ่อยครั้ง อากาศจึงค่อนข้างเย็นตลอดปี

ในช่วงฤดูฝน มักเกิดภัยธรรมชาติ เช่น เกิดการพังทะลายของภูเขาและมีน้ำป่า ทางอุทยานแห่งชาติจึงกำหนดให้ปิด-เปิดการท่องเที่ยวเฉพาะบนยอดเขาภูกระดึง เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว และให้สภาพธรรมชาติ และสภาพแวดล้อมได้มีการพักฟื้นตัว หลังจากนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมอย่างมากในแต่ละปี ดังนี้

- ปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน - 30 กันยายน ของทุกปี
- เปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม - 31 พฤษภาคม ของทุกปี


:: พรรณไม้และสัตว์ป่า ::
สังคมพืชของภูกระดึงเป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดป่าหนึ่ง มีทั้งป่าผลัดใบ และป่าดงดิบ ที่ระดับความสูงต่างๆ จำแนกออกได้เป็น

ป่าเต็งรัง พบบนที่ราบเชิงเขาและบนที่ลาดชันจนถึงระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 600 เมตร ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง กราด รกฟ้า อ้อยช้าง กว้าว มะกอกเลื่อม มะค่าแต้ ช้างน้าว ติ้วขน ยอป่า ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วย หญ้าเพ็ก ขึ้นเป็นกอหนาแน่น แทรกด้วยไม้พุ่มและพืชล้มลุก

ป่าเบญจพรรณ พบตั้งแต่บนพื้นที่ราบเชิงเขาและที่ลาดชันตามไหล่เขารอบภูกระดึง จนถึงระดับความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 950 เมตร พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ แดง ประดู่ป่า กระบก ตะแบกเลือด ยมหิน มะกอก งิ้วป่า แสมสาร มะค่าโมง ตะคร้ำ สมอไทย สำโรง โมกมัน ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วยหญ้าและกอไผ่ของไผ่รวก ไผ่ไร่ ไผ่หลวง ไผ่ซางหม่น ไม้พุ่ม เช่น หนามคณฑา กะตังใบ สังกรณี ไผ่หวานบ้าน ฯลฯ ไม้เถา เช่น แก้วมือไว สายหยุด นมวัว ตีนตั่ง หนอนตายหยาก กลอย ฯลฯ พืชล้มลุก เช่น บุกใหญ่ ผักปราบ แห้วกระต่าย ฯลฯ พืชกาฝากและอิงอาศัย เช่น ข้าวก่ำนกยูง ดอกดิน ชายผ้าสีดา เป็นต้น

ป่าดิบแล้ง พบตามฝั่งลำธารของหุบเขาที่ชุ่มชื้นทางทิศตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันตก ตั้งแต่เชิงเขาจนถึงระดับความสูงประมาณ 950 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้สำคัญได้แก่ ก่อ ตะเคียนทอง ยางแดง ยมหอม ตะแบกเปลือกบาง หว้า มะม่วงป่า สัตตบรรณ มะหาด คอแลน เชียด ฯลฯ พืชพื้นล่างแน่น เป็นพวกไม้พุ่ม ไม้เถา เช่น สร้อยอินทนิล กระทงลาย เถามวกขาว เล็บมือนาง กระไดลิง ฯลฯ พืชล้มลุก เช่น ข่าคม ก้ามกุ้ง ฯลฯ หวายและเฟินหลายชนิด

ป่าดิบเขา พบตั้งแต่ระดับ 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป ทางทิศเหนือและทิศตะวันตกเฉียงเหนือ พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ก่วมแดง ทะโล้ สนสามพันปี พะอง จำปีป่า พญาไม้ ก่อเดือย ก่อหนาม ก่อหมู ส้านเขา รัก เหมือดคนดง เฉียงพร้านางแอ พะวา เดื่อหูกวาง ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วยไม้พุ่ม เช่น กุหลาบแดง มือพระนารายณ์ ฮอมคำ จ๊าฮ่อม ฯลฯ ตามหน้าผาริมขอบภูพบปาล์มต้นสูงขึ้นห่างๆ ได้แก่ ค้อดอย ไม้เถา เช่น กระจับเขา เครือเขาน้ำ แก้มขาว หนามไข่ปู ใบก้นปิด ย่านหูเสือ เป็นต้น

ป่าสนเขา พบเฉพาะบนที่ราบยอดภูกระดึงที่ระดับความสูงประมาณ 1,200-1,350 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ สนสองใบ ก่อเตี้ย ทะโล้ สารภีดอย มะเขื่อเถื่อน รัก ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วย สนทราย ส้มแปะ กุหลาบขาว เม้าแดง พวงตุ้มหู นางคำ ฯลฯ ตามลานหินมีพืชชั้นต่ำพวกไลเคน ประเภทแนบกับหินเป็นแผ่น และประเภทเป็นฟองเรียก ฟองหิน ปกคลุมทั่วไป นอกจากนี้จะพบเอื้องคำหิน ม้าวิ่ง และเขากวาง ซึ่งเป็นกล้วยไม้ที่ออกเป็นกอหนาแน่น พืชล้มลุก เช่น ดาวเรืองภู ว่านคางคก ต่างหูขาว เนียมดอกธูป แววมยุรา หญ้าข้าวก่ำขาว โสภา เทียนภู เปราะภู ดอกหรีด ขนนกยูง หญ้าเหลี่ยม น้ำเต้าพระฤาษี กูดเกี๊ยะ เป็นต้น บนพื้นดินที่ชุ่มแฉะ มอสจำพวกข้าวตอกฤาษีหลายชนิดขึ้นทับถมแน่น คล้ายผืนพรม บางแห่งมีพืชล้มลุกขนาดเล็กหลายชนิดขึ้นปะปนกันแน่น เช่น กระดุมเงิน สาหร่ายข้าวเหนียว ดุสิตา และหญ้าข้าวก่ำ

ภูกระดึง ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งที่มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างชุกชุม เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศประกอบไปด้วยป่าไม้ ทุ่งหญ้าและลำธาร ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ สัตว์ป่าภูกระดึงมีหลายชนิดที่พบเห็นทั่วไป ได้แก่ ช้างป่า เก้ง กวางป่า หมูป่า ลิงกัง ลิงลม บ่าง กระรอกหลากสี กระแต หนูหริ่งนาหางยาว ตุ่น เม่นหางพวง พังพอน อีเห็น เหยี่ยวรุ้ง นกเขาเปล้า นกเขาใหญ่ นกกระปูดใหญ่ นกเค้ากู่ นกตะขาบทุ่ง นกโพระดกคอสีฟ้า นกตีทอง นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง นกนางแอ่นสะโพกแดง นกเด้าดินสวน นกอุ้มบาตร์ นกขี้เถ้าใหญ่ นกกระทาทุ่ง นกพญาไฟใหญ่ นกกางเขนดง นกจาบดินอกลาย นกขมิ้นดง ตุ๊กแก จิ้งจกหางแบนเล็ก กิ้งก่าสวน จิ้งเหลนบ้าน เต่าเหลือง งูทางมะพร้าว งูลายสอบ้าน งูจงอาง งูเก่า งูเขียวหางไหม้ อึ่งอี๊ดหลังลาย เขียดหนอง คางคก กบหูใหญ่ ปาดแคระ และมีเต่าชนิดหนึ่งซึ่งหาได้ยาก คือ เต่าปูลู หรือ “เต่าหาง” เป็นเต่าที่หางยาว อาศัยอยู่ตามลำธารในป่าเขาระดับสูงของประเทศไทย กัมพูชา และ ลาว


:: ที่ตั้งและการเดินทาง ::
อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
หมู่ 1 บ้านศรีฐาน ต.ศรีฐาน อ. ภูกระดึง จ. เลย 42180
โทรศัพท์ : 0 4287 1333, 0 4287 1458 โทรสาร : 0 4287 1333

รถยนต์
เดินทางโดยรถยนต์ สามารถเดินทางได้หลายเส้นทาง
1) เดินทางผ่านจังหวัดสระบุรี เพชรบูรณ์ อำเภอหล่มสัก หล่มเก่า ด่านซ้าย ภูเรือ และอำเภอเมืองเลย เลี้ยวเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 (เลย-ขอนแก่น) และเลี้ยวเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2019 เข้าสู่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
2) ใช้เส้นทางผ่านจังหวัดสระบุรี นครราชสีมา จนถึงจังหวัดขอนแก่นเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 ผ่านอำเภอภูผาม่านและตำบลผานกเค้า เข้าสู่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
3) เดินทางผ่านจังหวัดสระบุรี อำเภอปากช่อง เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 201 ผ่านจังหวัดชัยภูมิ อำเภอภูเขียว แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ผ่านอำเภอชุมแพ จากนั้นเดินทางเช่นเดียวกับเส้นทางที่ 2

เครื่องบิน
เดินทางโดยเครื่องบิน โดยใช้เที่ยวบิน กรุงเทพฯ-ขอนแก่น กรุงเทพฯ-เลย กรุงเทพฯ-อุดรธานี ของสายการบินต่างๆ สอบถามข้อมูลเที่ยวบินและสายการบิน โทร. 0-2628-2000, 0-2515-9999, 0-2267-2999 และ 1318


รถไฟ
เดินทางโดยรถไฟ ขึ้นรถไฟที่ที่สถานีรถไฟหัวลำโพงถึงสถานีรถไฟขอนแก่น ต่อรถโดยสารสายขอนแก่น-เลย ถึงอำเภอภูกระดึงแล้วต่อรถสองแถวเข้าอุทยานฯ สอบถามข้อมูลรถไฟ โทร. 0-2225-1300 ต่อ 5201 ,02223-0341-3


รถโดยสารประจำทาง
เดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง ขึ้นรถโดยสารที่สถานีขนส่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (หมอชิต 2) สายกรุงเทพ-เมืองเลย

:: แหล่งท่องเที่ยว ::
การเดินขึ้นภูกระดึงไม่ลำบากมากนัก แต่ระยะทางจะไกลและชัน แต่ระหว่างทางจะมีจุดให้แวะพักเหนื่อยต่างๆ ตามลำดับ ได้แก่ ปางกกค่า ซำแฮก ซำบอน ซำกกกอก พร่านพรานแป ซำกกหว้า ซำกกโดน และซำแคร่ หากเดินขึ้นภูตั้งแต่เช้า อากาศจะค่อนข้างเย็นสบาย มีสิ่งที่น่าสนใจให้ชมไปตลอดทาง โดยเฉพาะสภาพทางธรณี และสภาพป่าที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นระยะๆ จากป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา จนถึงหลังแป จากหลังแปถึงศูนย์บริการนักท่องเที่ยววังกวาง จะเป็นทางราบท่ามกลางทุ่งหญ้าป่าสนเขาอันกว้างใหญ่ รวมระยะทางจากทาง ขึ้นไปถึงหลังแป และศูนย์บริการนักท่องเที่ยววังกวาง ประมาณ 9 กิโลเมตร แหล่งท่องเที่ยวบนภูกระดึง ส่วนใหญ่มีทางเดินชมธรรมชาติติดต่อถึงกันหมด ฉะนั้น ผู้ที่จะไปท่องเที่ยวบนภูกระดึงควรใช้เวลาอย่างน้อย 3 วัน เพื่อจะได้เที่ยวชมธรรมชาติที่สวยงามเหล่านั้นได้ทั่วถึง อุทยานแห่งชาติภูกระดึง เปิดให้ท่องเที่ยวบนยอดภูกระดึง เฉพาะในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤษภาคม

การเดินทางขึ้นไปชมความงามบนยอดภูกระดึง ทางอุทยานแห่งชาติอนุญาตให้นักท่องเที่ยวเดินขึ้นได้ตั้งแต่เวลา 07.00 - 14.00 น. ของทุกวัน และหลังจากเวลา 14.00 น.เป็นต้นไป ทางอุทยานแห่งชาติจะไม่อนุญาต ให้นักท่องเที่ยวเดินทางขึ้นไปชมความงามบนยอดภูกระดึง เนื่องจากระยะทางในการเดินทางขึ้นเขาประมาณ 9 กิโลเมตร และมีความลาดชันในบางช่วง การเดินทางต้องใช้เวลาในการเดินเท้า ประมาณ 4-5 ชั่วโมง ซึ่งจะตรงกับเวลาพลบค่ำในระหว่างทางเกิดความยากลำบากในการเดินทาง อีกทั้งอาจได้รับอันตรายจากสัตว์ป่าที่ออกหากินในเวลากลางคืน

นอกจากความสวยงามทางธรรมชาติบนภูกระดึงแล้ว พื้นที่ด้านล่างบริเวณเชิงเขา ด้านทิศใต้ของภูกระดึง บริเวณพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ภด.3 (นาน้อย) ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวตามลำน้ำพองซึ่งประกอบด้วย น้ำตก แก่งหิน พันธุ์พืชที่น่าศึกษาแล้ว เป็นสถานที่พักผ่อนอยู่มากมาย นอกจากนี้ยังคงมีร่องรอยประวัติศาสตร์ของขบวนการเสรีไทย ตลอดทั้งภาพเขียนสีปรากฏบนผนังหินที่มีอายุหลายพันปี ซึ่งสามารถเดินทางจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2019 ย้อนกลับไปทางอำเภอภูกระดึงประมาณ 1.5 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาไปตามเส้นทาง รพช. จากบ้านหนองอิเลิง ถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ภด.3 (นาน้อย) จากนั้นเดินทางไปตามเส้นทางลูกรังไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ระยะเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยวในช่วงเดือนธันวาคม-เมษายน แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจได้แก่


:: ด้านธรรมชาติที่สวยงาม ::
ผานกแอ่น อยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยววังกวางประมาณ 2 กิโลเมตร และห่างจากหลังแป 2.5 กิโลเมตร ผานกแอ่นเป็นลานหินเล็กๆ มีสนขึ้นโดดเด่นริมหน้าผาต้นหนึ่ง เป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นที่งดงามยิ่ง อากาศสดชื่นเย็นสบาย มองเห็นทิวทัศน์เบื้องล่างซึ่งเป็นท้องทุ่งและเทือกเขา เห็นผานกเค้าได้ชัดเจน ริมทางเดินใกล้ผานกแอ่นเป็นสวนหินมีดอกกุหลาบป่าขึ้นอยู่เป็นดงใหญ่ จะบานสะพรั่งเต็มต้นในเดือนมีนาคม-เมษายน ผู้ที่ไปชมประอาทิตย์ขึ้นที่ผานกแอ่น ควรเตรียมไฟฉายสำหรับใช้ส่องทางไปด้วย


ผาหล่มสัก อยู่ห่างจากที่ทำการประมาณ 9 กิโลเมตร เป็นลานหินกว้าง และมีสนต้นหนึ่งขึ้นชิดริมผา ใกล้กับชะง่อนหินที่ยื่นออกไปในอากาศทางทิศใต้ บริเวณผาหล่มสักนี้ มองเห็นทิวทัศน์ของเทือกเขาสลับซับซ้อน ในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ และเป็นจุดหนึ่งที่จะชมพระอาทิตย์ตกได้อย่างชัดเจน และงดงามมาก ผู้ที่ไปชมประอาทิตย์ตกที่ผาหล่มสัก ควรเตรียมเสื้อกันหนาวและไฟฉายสำหรับใช้ส่องทางเวลาเดินกลับที่พัก ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง


สระแก้ว อยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยววังกวาง 1 กิโลเมตร อยู่ในส่วนต้นน้ำของลำธารสวรรค์ “ธารสวรรค์” ลักษณะเป็นวังน้ำลึกขนาดไม่กว้างนัก น้ำใสมากจนมองเห็นพื้นหินขาวสะอาด เป็นแหล่งน้ำของสัตว์ป่าจำนวนมาก ต่อจากบริเวณสระแก้วมีทางเดินชมธรรมชาติผ่านลานหิน ซึ่งมีดอกหรีดสีม่วงอมน้ำเงินเกสรสีเหลือง ขึ้นอยู่เป็นทุ่งไปจนถึงผานาน้อย แยกซ้ายไปจะพบกับผาจำศีล ซึ่งมีลานหินกว้างพอให้นั่งพักผ่อน จากผาจำศีลประมาณ 600 เมตร จะถึงผาหมากดูก หากแยกขวาจะผ่านผาเหยียบเมฆและผาแดง แล้วก็จะถึงผาหล่มสัก


สระอโนดาด อยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยว 2.7 กิโลเมตร เป็นสระน้ำขนาดไม่ใหญ่นักที่มีต้นสนขึ้นเป็นแนวแน่นขนัด ใกล้กันยังมีลานกินรีซึ่งเป็นสวนหินธรรมชาติที่อุดมไปด้วยพรรณไม้ทั้งพวกกินแมลงอย่างดุสิตา หยาดน้ำค้าง หรือเฟิน เช่น กระปรอกสิงห์ บนหินยังมีไลเคนขึ้นอยู่เต็มไปหมด


น้ำตกเพ็ญพบใหม่ เกิดจากลำธารวังกวาง น้ำตกผ่านผาหินรูปโค้ง ในหน้าหนาว ใบเมเปิ้ลที่อยู่บริเวณริมน้ำตก จะร่วงหล่นลอยไปตามผิวน้ำ ยามแดดสาดส่องผ่านลงมา จะเป็นสีแดงจัดตัดกับสีเขียวขจีของตะไคร่น้ำตามโขดหิน ลำธารวังกวางเป็นต้นกำเนิดน้ำตกที่มีชื่ออีกแห่งหนึ่ง คือ น้ำตกโผนพบ ซึ่งตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ โผน กิ่งเพชร นักชกแชมป์เปี้ยนโลกคนแรกของชาวไทย ในฐานะเป็นผู้ค้นพบคนแรก เมื่อคราวที่ขึ้นไปซ้อมมวยให้ชินกับอากาศหนาว ก่อนเดินทางไปชกในต่างประเทศ


น้ำตกตาดฮ้อง เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ 3 ชั้น เกิดจากลำน้ำพอง ซึ่งไหลลงมาจากภูกระดึงด้านหุบเขาตะวันตกเฉียงเหนือ สองฝั่งของตาดฮ้องเป็นผาหินสูงชันมาก เมื่อน้ำตกผ่านผาหินกว้างที่ลดหลั่นเป็นชั้นๆ จึงทำให้เกิดเสียงดังกึกก้อง จากบริเวณน้ำตก มองเห็นแนวภูเขาเปลือยขวางอยู่ข้างหน้า น้ำตกตาดร้องอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 20 กิโลเมตร


น้ำตกวังกวาง เป็นน้ำตกอยู่ใกล้กับที่พักมากที่สุดในบรรดาน้ำตกบนภูกระดึง ระยะทางเพียง 750 เมตร จากจุดเริ่มต้นตรงบริเวณบ้านพัก ลักษณะน้ำตกเป็นผาหินสูง 7 เมตร ตัดขวางลำธาร ธารน้ำไหลลงยังวังน้ำเบื้องล่าง ซึ่งมีลักษณะคล้ายโพลงถ้ำมุดลงไปและบริเวณป่าใกล้ๆ ก็เป็นที่อยู่อาศัยของฝูงกวางมักจะลงมากินน้ำอยู่เสมอๆ จึงเรียกว่า “วังกวาง” บริเวณน้ำตกมีที่กว้างขวางให้ได้นั่งพักสบายๆ หลายมุม เพราะน้ำตกอยู่ไม่ไกล สามารถลงเล่นน้ำได้


น้ำตกถ้ำใหญ่ ห่างจากน้ำตกเพ็ญพบประมาณ 1 กิโลเมตร เส้นทางเดินไปสู่น้ำตกจะดูใกล้นิดเดียวสำหรับคนชอบธรรมชาติ ชมนกชมไม้ เพราะตลอดเส้นทางครอบคลุมไปด้วยป่าดิบเขาที่มีพรรณไม้ใหญ่และร่มครึ้มกว่าทุกเส้นทางน้ำตกอื่นๆ อาจได้พบต้นส้มกุ้ง (Begonia sp.) ออกดอกเป็นสีชมพู เกสรกลางสีเหลือง ชอบขึ้นตามทางในพื้นที่สูงอย่างป่าดงดิบเขา ในเส้นทางถ้ำใหญ่นี้มีทางเดินบางช่วงที่เลียบข้างลำห้วยเล็กๆ มีต้นเมเปิ้ลอยู่เป็นระยะๆ หากช่วงต้นมกราคม เส้นทางนี้จะแดงฉานด้วยใบเมเปิ้ลที่ร่วงหล่นเกลื่อนพื้นป่า ความสวยงามของน้ำตกถ้ำใหญ่จะแปลกตาด้วยโขดหินมหึมาวางทับซ้อนไม่เป็นระเบียบ ลำธารนี้ขนาบข้างด้วยต้นเมเปิ้ล ยามเมเปิ้ลแดงล่วงหล่น ขัดสีให้ลำธารหินเขียวสวยงามมีสีสันและมีชีวิตชีวาขึ้นมามากนัก


น้ำตกธารสวรรค์ จากน้ำตกถ้ำใหญ่ เมื่อออกสู่ป่าสนไม่ไกลนัก จะมีทางแยกบนลานหินสู่น้ำตกธารสวรรค์ ซึ่งอยู่ห่างจากที่พักตามเส้นทางป่าสน ผ่านลานองค์พระพุทธเมตตาเพียง 1.6 กม. เท่านั้น เป็นน้ำตกขนาดเล็ก


น้ำตกโผนพบ เป็นหนึ่งในน้ำตกหลายจุดอันเกิดจากสายน้ำวังกวาง ห่างจากตัวน้ำตกเพ็ญพบใหม่เพียง 600 เมตรเท่านั้น ในส่วนของลำธารส่วนบนของน้ำตกโผนพบนี้ สามารถไปยืนชมตัวน้ำตกกลางลำธารซึ่งจะได้ชมทิวทัศน์ที่สวยงาม น้ำตกมี 8 ชั้น สูงประมาณ 30 เมตร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่และสวยงามไม่น้อยบนภูเขานี้ สำหรับชื่อ “โผนพบ” ตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ โผน กิ่งเพชร นักชกแชมป์เปี้ยน โลกคนแรกของชาวไทยในฐานะเป็นผู้ค้นพบคนแรก เมื่อคราวที่ขึ้นไปซ้อมมวยให้ชินกับอากาศหนาว ก่อนเดินทางไปชกในต่างประเทศ


น้ำตกพระองค์ คล้ายกับน้ำตกถ้ำใหญ่ แต่เป็นน้ำตกขนาดเล็กกว่า เกิดจากลำธารพระองค์ไหลเป็นลำธารเล็กๆ แล้วดิ่งตกลงหน้าผาที่ไม่สูงมากนักสู่หินเบื้องล่าง ลำธารพระองค์นี้เป็นลำห้วยเล็กๆ ที่ไหลจากสระอโนดาต สระน้ำกลางป่าสนซึ่งไม่เคยเหือดแห้ง จึงมีน้ำไหลตลอดปี อยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยววังกวาง 4 กิโลเมตร


น้ำตกถ้ำสอเหนือ อยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยววังกวาง 4.8 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดกลาง สูง 10 เมตร น้ำไหลมาจากผาเป็นม่านน้ำตก บริเวณเหนือน้ำตก มีดงกุหลาบแดง ซึ่งในช่วงฤดูร้อนจะผลิดอกสร้างสีสรรค์ให้กับบริเวณนี้สวยงามยิ่งขึ้น


น้ำตกถ้ำสอใต้ อยู่ถัดจากน้ำตกถ้ำสอเหนือลงไปตามลำน้ำประมาณ 500 เมตร เป็นน้ำตกขนาดเล็กที่เกิดจากหน้าผาหินถล่มลงไป สภาพภูมิประเทศไม่ได้อำนวยให้เกิดเป็นชั้นน้ำตกเหมือนแห่งอื่นๆ


ผาหมากดูก อยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยว 2.5 กิโลเมตร เป็นผาที่มีลานหินกว้างขวาง เป็นผาสำหรับชมพระอาทิตย์ตกที่ใกล้ที่พักมากที่สุด สามารถชมทิวทัศน์ภูผาจิตในเขตอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ในช่วงต้นฤดูฝนจะมีดอกกระเจียวขึ้นเต็มทุ่งตามเส้นทางสู่ผาหมากดูก


น้ำตกเพ็ญพบ อยู่ห่างจากน้ำตกโผนพบ 800 เมตร เป็นน้ำตกที่ไม่สูงนัก ลำห้วยช่วงก่อนไหลลงน้ำตกเป็นลานหินกว้าง ลักษณะคล้ายแก่งที่เต็มไปด้วยหลุมกลม


ลานหินบริเวณองค์พระพุทธเมตตา อยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยววังกวาง 500 เมตร ลานหินบริเวณองค์พระนี้เป็นจุดชมพันธุ์ไม้บนลานหิน เช่น ดุสิตา กระดุมเงิน เอื้องม้าวิ่ง ที่อยู่ใกล้ที่สุด


วังอีเมือง อยู่ห่างจากน้ำตกตาดฮ้องลงมาประมาณ 3.2 กิโลเมตร บริเวณนี้มีแก่งที่สวยงามหลายแห่ง เหมาะสำหรับนั่งพักผ่อนและลงเล่นน้ำ


แก่งป่าหินทราย อยู่ห่างจากน้ำตกตาดฮ้องลงมาประมาณ 5.6 กิโลเมตร เป็นแก่งหินที่สวยงาม มีความยาวประมาณ 750 เมตร ด้านบนมีจุดชมทิวทัศน์ สามารถมองเห็นทิวทัศน์โดยรอบของแก่งได้อย่างสวยงาม บริเวณแก่งหินจะมีหลุมเป็นอ่างหิน ที่เกิดจากการกัดกร่อนของแรงน้ำมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน เป็นจุดที่น่าสนใจอีกจุดหนึ่ง


น้ำตกตาดห้วยวัว อยู่ห่างจากน้ำตกตาดฮ้องลงมาประมาณ 6.5 กิโลเมตร และห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ภด.3 (นาน้อย) ประมาณ 4 กิโลเมตร ด้านบนมีแก่งหินเล็กๆ


ลานวัดพระแก้ว หลังจากชมพระอาทิตย์ขึ้นที่ผานกแอ่นแล้ว สามารถเดินไปลานวัดพระแก้วซึ่งอยู่ห่างไปเพียง 500 เมตร เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2463 บริเวณลานหินที่กว้างขวางมีพรรณไม้ดอกพวกดุสิตา เอื้องม้าวิ่ง ขึ้นอยู่ทั่วไป ในช่วงปลายฝนต้นหนาวจะพากันออกดอกอยู่เกลื่อนลาน



:: สิ่งอำนวยความสะดวก ::
ห้องสุขารวม/ห้องอาบน้ำ มีห้องน้ำและห้องอาบน้ำให้บริการแก่นักท่องเที่ยวทั้งที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวและบนยอดภูกระดึง


ที่พักแรม/บ้านพัก มีบ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว ทั้งบนยอดภูกระดึง และบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติซึ่งอยู่ด้านล่าง


สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมเต็นท์และสถานที่กางเต็นท์ ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว โดยนักท่องเที่ยวสามารถติดต่อจองเต็นท์กับทางอุทยานได้ในวันที่มาถึง ณ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวศรีฐาน<เชิงเขา>เท่านั้น สำหรับอัตราค่าบริการอยู่ระหว่าง 150-500 บาท ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของเต็นท์ และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ เช่น

- เต็นท์ ขนาด 2 คน ราคา 150 บาท/คืน
- เต็นท์ ขนาด 3 คน ราคา 225 บาท/คืน
- เต็นท์ ขนาด 4 คน ราคา 300 บาท/คืน
- เต็นท์ ขนาด 5 คน ราคา 500 บาท/คืน

หมายเหตุ:ราคาไม่รวม ชุดเครื่องนอน

สำหรับนักท่องเที่ยวที่นำเต็นท์มาเอง (หรือในกรณีที่เต็นท์ทางอุทยานเต็มและต้องไปเช่าเต็นท์บนยอดเขา)
- ชำระค่าขอใช้สถานที่กางเต็นท์ในอัตรา 30/คน/คืน
- เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 1 - 12 ปี จะไม่ได้ชำระค่าขอใช้สถานที่กางเต็นท์

สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการเช่าเครื่องนอนทางอุทยานแห่งชาติภูกระดึงมีไว้บริการดังนี้
- ถุงนอน อัตราการเช่า 30 บาท/คืน/ถุง
- ที่รองนอน อัตราการเช่า 20 บาท/คืน/อัน
- หมอน อัตราการเช่า 10 บาท/คืน/ใบ
- ผ้าห่ม อัตราการเช่า 10 บาท/คืน/ผืน
- ผ้าห่มอย่างหนา อัตราการเช่า 20 บาท/คืน/ผืน
- เสื่อ อัตราการเช่า 10 บาท/คืน/ผืน


ที่จอดรถ มีลานจอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


บริการอาหาร เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รับบริการที่ดี ทั้งคุณภาพอาหารและเครื่องดื่ม หากพบว่าไม่สะอาด ราคาไม่เป็นธรรม หรือมีการปลอมปน ขอให้นักท่องเที่ยวแจ้งเจ้าหน้าที่ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวหรือโทรศัพท์หมายเลข 0-4287-1333 เพื่อดำเนินการตามระเบียบและกฎหมายต่อไป สำหรับร้านอาหารและร้านจำหน่ายของที่ระลึกนั้น มีไว้คอยบริการตามจุดต่างๆ ดังนี้
1. บริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยวศรีฐาน (เชิงเขา)
2. ระหว่างทางเดินขึ้นเขา บริเวณซำแฮก ซำกอซาง ซำกกโดน และซำแคร่
3. บริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยววังกวาง (ยอดเขา) และจุดชมทิวทัศน์ต่างๆบนยอดเขา ดังนี้ ผาหมากดูก ผานาน้อย ผาเหยียบเมฆ ผาแดง และผาหล่มสัก



ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ทั้งบนยอดภูกระดึง และบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติซึ่งอยู่ด้านล่าง ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.



:: อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน ::

:: ข้อมูลทั่วไป ::
อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน เรียกตามชื่อของภูเขาเทือกหนึ่งทางตอนใต้ ของอุทยานแห่งชาติที่มีหน้าผาสูงชัน คล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มองดูเหมือนกับผ้าม่านผืนใหญ่ อยู่ในท้องที่อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น และอำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย มีเนื้อที่ประมาณ 350 ตารางกิโลเมตร หรือ 218,750 ไร่

อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน แต่เดิมเคยเป็นพื้นที่ที่สมบูรณ์ไปด้วยพรรณไม้และสัตว์ป่านานาชนิด ปัจจุบันผลจากการทำสัมปทานป่าไม้ทำให้พื้นป่า และจำนวนสัตว์ป่าลดลงอย่างรวดเร็ว กรมป่าไม้จึงได้มีคำสั่งที่ 1473/2532 ลงวันที่ 27 กันยายน 2532 มอบหมายให้ นายพนม พงษ์สุวรรณ นักวิชาการป่าไม้ 4 ให้สำรวจเพิ่มเติมและจัดตั้งพื้นที่ป่าดงลาน อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น และป่าภูเปือย อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย และพื้นที่ป่าใกล้เคียงเป็นอุทยานแห่งชาติ จากการสำรวจพื้นที่พบว่า เป็นพื้นที่แหล่งต้นน้ำลำธาร และมีจุดเด่นทางธรรมชาติหลายแห่ง โดยเฉพาะถ้ำและน้ำตก

ทางราชการจึงมีประกาศกฤษฎีกา กำหนดให้รวมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติภูเปือย อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย เข้ากับพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติดงลาน ท้องที่อำเภอชุมแพ กิ่งอำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน ในปี พ.ศ.2534 โดยได้พระราชกฤษฏีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าดงลานในท้องที่ตำบลนาหนองทุ่ม อำเภอชุมแพ และตำบลห้วยม่วง ตำบลวังสวาบ ตำบลนาฝาย ตำบลภูผาม่าน กิ่งอำเภอภูผาม่าน อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น และป่าภูเปือยในท้องที่ตำบลภูกระดึง ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย เนื้อที่โดยประมาณ 218,750 ไร่ หรือ 350 ตารางกิโลเมตร เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 108 ตอนที่ 215 ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2534 จัดเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 72 ของประเทศ

:: ลักษณะภูมิประเทศ ::
ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาหินปูนที่มีความสูงชันสลับซับซ้อนกันเป็นแนวยาวสลับกับที่ราบลุ่มเชิงเขา สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 200-800 เมตร เป็นแหล่งต้นน้ำของห้วยภูฮี ห้วยชมพู ห้วยคะเฮ้า ห้วยจอก ห้วยยาง ห้วยซำแคน ห้วยตากว้าง ห้วยข้าวหลาม ห้วยสงขะยวน และห้วยหม้อแตก ซึ่งลำห้วยเหล่านี้ไหลลงสู่ลำน้ำพองที่ไหลมาจากอุทยานแห่งชาติภูกระดึงและลำน้ำเชิญในจังหวัดขอนแก่น สภาพดินเป็นดินร่วนปนทรายและดินลูกรังอยู่ปะปนกับหินชนิดต่างๆ


:: ลักษณะภูมิอากาศ ::
ลักษณะอากาศโดยทั่วไป อากาศร้อนถึงร้อนจัดอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 39 องศาเซลเซียส


:: พรรณไม้และสัตว์ป่า ::
สภาพป่าประกอบด้วยป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง พรรณไม้สำคัญ ได้แก่ ประดู่ มะค่าโมง ตะแบก เหียง พลวง แดง เต็ง รัง พรรณไม้พื้นล่างที่ขึ้นอยู่หนาแน่น ได้แก่ หว่านไพร ชัน ข่าป่า เพ็ก หวาย กล้วยไม้ป่า หญ้าคา แฝก ฯลฯ

สัตว์ป่าที่พบได้แก่ เลียงผา หมูป่า เก้ง ลิง กระต่ายป่า นิ่มหรือลิ่น เม่น ตะกวด ไก่ป่า นกชนิดต่าง ๆ และแมลงกว่า 200 ชนิด


:: ที่ตั้งและการเดินทาง ::
อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน
ต.นาหนองทุ่ม อ. ชุมแพ จ. ขอนแก่น 40130
โทรศัพท์ : 0 4324 9050

รถยนต์
จากขอนแก่น โดยรถยนต์โดยสาร (ขอนแก่น - เลย) ตามทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 201 ลงที่หลักกิโลเมตรที่ 112 - 113 เลี้ยวซ้ายเข้าถนนลาดยาง 5 กิโลเมตร


รถโดยสารประจำทาง
- จากกรุงเทพฯ โดยรถประจำทางและรถปรับอากาศกรุงเทพฯ-เลย , กรุงเทพฯ-เชียงคาน ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 ถึงหลักกิโลเมตรที่ 112 - 113 เลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 5 กิโลเมตร

- จากขอนแก่น โดยรถยนต์โดยสาร (ขอนแก่น - เลย) ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 ถนนมะลิวัลย์ (ขอนแก่น - เลย) ลงที่หลักกิโลเมตรที่ 112 - 113 เลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 5 กิโลเมตร

:: แหล่งท่องเที่ยว ::


:: ด้านธรรมชาติที่สวยงาม ::
ถ้ำผาพวง เดิมเรียก “ถ้ำร้อยพวง” ภายในมีหินย้อยลงมาจากเพดานลักษณะเป็นพวง สวยงามมาก เพดานถ้ำสามารถทะลุออกไป ยอดเขาใช้เป็นจุดชมวิวได้เป็นอย่างดี เหมาะแก่การเดินป่าศึกษาธรรมชาติ


ถ้ำพญานาคราช เป็นถ้ำที่มีความสวยงามเป็นอันดับ 1 ของอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน ภายในถ้ำมืดสนิท แบ่งออกเป็นห้องๆ แต่ละห้องประกอบด้วยหินงอกหินย้อยที่ส่องประกายแวววาวระยิบระยับสวยงามตระการตา โดยเฉพาะห้องโถงใหญ่มีม่านหินย้อยขนาดใหญ่ห้อยลงมาจากเพดานสูงแล้วแผ่กว้างออก รถยนต์สามารถเข้าถึงเชิงเขาที่เป็นตัวถ้ำได้


ถ้ำภูตาหลอ ภายในถ้ำเป็นอุโมงค์ขนาดใหญ่ จุคนได้ถึง 1,000 คน พื้นถ้ำราบเรียบกว้างเพดานสูง มีหินงอกหินย้อยเป็นพวงๆ สวยงามตระการตา ปัจจุบันกำลังปรับปรุงเส้นทางเข้าถึงตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ


น้ำตกตาดฮ้อง เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ เกิดจากลำน้ำพองที่มีต้นกำเนิดอยู่บนภูกระดึง มีความสูงประมาณ 60-70 เมตร อยู่ระหว่างเขตรอยต่อของอุทยานแห่งชาติภูกระดึงและอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน ในยามที่สายน้ำตกกระทบแผ่นหินจะเกิดเสียงดังก้องทั่วป่า จนเป็นที่มาของชื่อ “ตาดฮ้อง” เส้นทางเข้าถึงค่อนข้างลำบาก จึงทำให้ยังเป็นน้ำตกที่ค่อนข้างบริสุทธิ์อยู่


น้ำตกตาดฟ้า เป็นน้ำตกที่เกิดจากลำห้วยตาดฟ้า มีความสูงประมาณ 20 -30 เมตร มีชั้นน้ำตกลดหลั่นลงไปตลอดสายก่อนไหลลงสู่ลำน้ำเชิญ ในฤดูฝนน้ำจะไหลแรงและมีความสวยงามมาก ห่างออกไปประมาณ 5 กิโลเมตร จะพบน้ำตกตาดใหญ่ซึ่งเป็นน้ำตกที่เกิดจากลำห้วยเดียวกัน


น้ำตกพลาญทอง เป็นน้ำตกขนาดเล็กที่มีความสวยงามในฤดูน้ำหลาก สูงประมาณ 10 เมตร ห่างจากที่ทำการของอุทยานฯ 1 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่เกิดจากต้นน้ำที่เป็นน้ำซับหลายๆ สายไหลมารวมกันแล้วไหลลงสู่หน้าผาเป็นชั้นเล็กชั้นน้อยลดหลั่นกันลงไป


น้ำตกตาดใหญ่ เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ ที่ประกอบด้วย น้ำตกชั้นเล็กชั้นน้อย ที่ไหลลดหลั่นกันลงไปเป็นขั้นบันไดหลายชั้น มีความสูงประมาณ 80 เมตร เป็นน้ำตกที่มีความอลังการและสวยงามมาก โดยเฉพาะในฤดูน้ำหลาก รถยนต์สามารถเข้าถึงตัวน้ำตกได้


ถ้ำค้างคาว มีค้างคาวอาศัยอยู่นับล้านตัว ช่วงหัวค่ำฝูงค้างคาวจะพากันบินออกจากถ้ำเป็นสาย พลิ้วไหวไปมาน่าตื่นตาตื่นใจ



:: ด้านประวัติศาสตร์ ::
ถ้ำลายแทง อยู่ห่างจากถ้ำพญานาคราช 800 เมตร ปากถ้ำอยู่บนเนินเขา สูง 8 เมตร มีลานกว้างอยู่ด้านหน้า บนผนังภายในถ้ำจะพบ ภาพเขียนสีโบราณกว้างประมาณ 2 ตารางเมตร ซึ่งในอดีตชาวบ้านเข้าใจว่า เป็นลายแทงบอกขุมสมบัติ ลักษณะเป็นภาพเขียนสีแดงรูปคน และสัตว์ในลักษณะต่างๆ ประมาณ 70 ภาพ อายุของภาพอยู่ในระหว่างการตรวจสอบอยู่


:: สิ่งอำนวยความสะดวก ::
ห้องสุขาชาย มีห้องสุขาชายให้บริการ


ห้องสุขาหญิง มีห้องสุขาหญิงให้บริการ


ที่พักแรม/บ้านพัก มีบ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียด และสำรองที่พักเต็นท์ได้กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง


ที่จอดรถ มีที่จอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว

0 ความคิดเห็น: