วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การท่องเที่ยวจังหวัดสุโขทัย

:: จังหวัดสุโขทัย ::

" กำเนิดอักษรไทย งานใหญ่ลอยกระทง มั่นคงพุทธศาสนา พระแม่ย่ามิ่งเมือง อดีตรุ่งเรือง คือเมืองสุโขทัย "



จังหวัดสุโขทัย :: ข้อมูลทั่วไป

สุโขทัย เป็นจังหวัดหนึ่งในเขตภาคเหนือตอนล่าง คำว่า "สุโขทัย" มาจากสองคำคือ "สุข+อุทัย" อันมีความหมายว่า "รุ่งอรุณแห่งความสุข" สุโขทัยเป็นราชธานีแห่งแรกของไทย ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 1700 มีกษัตริย์ปกครองหลายพระองค์ ที่สำคัญคือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ผู้ประดิษฐ์อักษรไทย และวางรากฐานการเมือง การปกครอง ศาสนา ตลอดจนขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง

อาณาเขตและการปกครอง
จังหวัดสุโขทัย อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 440 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมด 6,596 ตารางกิโลเมตร

ทิศเหนือ จดจังหวัดแพร่
ทิศใต้ จดจังหวัดกำแพงเพชร
ทิศตะวันออก จดจังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดอุตรดิตถ์
ทิศตะวันตก จดจังหวัดตาก และจังหวัดลำปาง

สุโขทัย แบ่งการปกครองออกเป็น 9 อำเภอ คือ อำเภอเมืองสุโขทัย อำเภอกงไกรลาศ อำเภอคีรีมาศ อำเภอทุ่งเสลี่ยม อำเภอบ้านด่านลานหอย อำเภอศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสำโรง อำเภอสวรรคโลก และอำเภอศรีนคร


หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ (รหัสทางไกล 055)
สำนักงานจังหวัดสุโขทัย
611-619

ประชาสัมพันธ์จังหวัด
612-286

บริษัทขนส่ง จำกัด
613-296

ไปรษณีย์จังหวัด
611-645

ททท.สำนักงานภาคเหนือเขต 3 จ.พิษณุโลก
252-743

ตำรวจท่องเที่ยว
1155

ตำรวจทางหลวง ส.ทล.3 กก.5 จ.พิษณุโลก
259-503

ตู้ยามสุโขทัย
612-993

ตู้ยามอุตรดิตถ์
412-193

สถานีตำรวจภูธร อ.เมือง
611-199

รพ.สุโขทัย
611-702

รพ.ศรีสังวร
681-331-2

รพ.ศรีสัชนาลัย
671-484

รพ.ศรีนคร
651-177 , 651-178

รพ.กงไกรลาศ
691-153

รพ.ทุ่งเสลี่ยม
659-175

รพ.คีรีมาศ
695-145

รพ.สวรรคโลก
641-083



จังหวัดสุโขทัย :: สถานที่ท่องเที่ยว อำเภอเมือง

ศาลพระแม่ย่า
ตั้งอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดสุโขทัย ถนนนิกรบำรุง (ริมน้ำยม) ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองสุโขทัยทั่วไป เพราะศาลนี้เป็นที่ประดิษฐานเทวรูปพระแม่ย่าและดวงวิญญาณของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช รูปพระแม่ย่านี้ทำด้วยศิลาสลักแบบเทวรูป พระพักตร์ยาว พระหนุเสี้ยม พระเกตุมาลายาวประดับเครื่องทรงแบบนางพญาสูงประมาณ 1 เมตร พระแม่ย่าองค์นี้สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ทรงสร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้กับพระแม่ คือนางเสือง การที่เรียกว่า "พระแม่ย่า" นี้เพราะว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเรียกมารดาว่า "พระแม่" และชาวเมืองสุโขทัยเคารพพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเสมอด้วยบิดา ดังนั้น จึงรวมเรียกพระมารดาของพระองค์ว่า "พระแม่ย่า" ดังกล่าว แต่เดิมพระแม่ย่าประดิษฐานอยู่บนเขาพระแม่ย่าห่างจากตัวเมืองเก่า ประมาณ 8 กิโลเมตร ตรงยอดเขามีเพิงหินเป็นผาป้องกันแดดฝน ต่อมาชาวสุโขทัยได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่เมืองใหม่ โดยสร้างศาลขึ้นที่หน้าศาลากลางจังหวัดริมแม่น้ำยมดังเช่นปัจจุบัน และมีการจัดงานเฉลิมฉลองทุกปีในเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า "งานพระแม่ย่า"


อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย

ข้อมูลทั่วไป

อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดสุโขทัยตามทางหลวงแผ่นดินสายสุโขทัย-ตาก ทางหลวงหมายเลข 12 ไปทางทิศตะวันตก 12 กิโลเมตร ถนนหลวงตัดผ่านกลางเมืองจากตะวันออกไปตะวันตก เมื่อผ่านเข้าเขตเมืองเก่าจะแลเห็นยอดพระเจดีย์แบบต่างๆ อันสง่างามและวิหารอันศักดิ์สิทธิ์ เปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น. อัตราค่าเข้าชมท่านละ 20 บาท

กำแพงเมืองสุโขทัย ตั้งอยู่ตำบลเมืองเก่า เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นกำแพงพูนดิน 3 ชั้น โดยการขุดเอาดินขึ้นมาถมเป็นกำแพงและพื้นดินที่ขุดขึ้นยังเป็นคูขังน้ำไว้ใช้สอยและเป็นกำแพงน้ำขึ้นอีก 2 ชั้น กำแพงด้านทิศเหนือจดทิศใต้ยาว 2,000 เมตร ด้านทิศตะวันตกยาว 1,600 เมตร มีประตูเมือง 4 ประตู ด้านเหนือเรียกว่า "ประตูศาลหลวง" ด้านใต้เรียกว่า "ประตูนะโม" ด้านทิศตะวันออกเรียกว่า "ประตูกำแพงหัก" ด้านทิศตะวันตกเรียกว่า "ประตูอ้อ" ภายนอกกำแพงเมืองในรัศมี 5 กิโลเมตร มีโบราณสถานประมาณ 70 แห่ง สร้างขึ้นไว้ในพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ ได้รับการบูรณะซ่อมแซมโดยกรมศิลปากร และได้รับการจัดตั้งให้เป็นมรดกโลกโดยองค์การ UNESCO ในปี 2537


การเดินทาง

การเดินทางไปอุทยานฯ จากตัวเมืองสุโขทัย นักท่องเที่ยวสามารถนั่งรถประจำทางสายเมืองเก่า (รถสองแถว) จอดรอบบริเวณที่ท่ารถใกล้ป้อมยามตำรวจ ห่างจากสะพานข้ามแม่น้ำยมไปทางฝั่งตะวันตกราว 200 เมตร มีรถออกทุก 20 นาที ค่าโดยสารคนละ 5 บาท ตั้งแต่ 06.00-18.00 น. ทุกวัน และจากอุทยานฯ มีรถจอดที่บริเวณลานจอดรถ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

สิ่งอำนวยความสะดวก

อัตราการเข้าชมโบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยต้องเสียค่าธรรมเนียมเข้าชมชาวไทย 20 บาท และการนำยานพาหนะ 4-6 ล้อ เข้าเขตโบราณสถานต้องเสียค่าธรรมเนียมอีก 30 บาท ส่วนพาหนะเกิน 6 ล้อ ไม่อนุญาตให้นำเข้า

กรณีเข้าชมเป็นหมู่เป็นคณะ และต้องการวิทยากรนำชม หรือนักท่องเที่ยวที่ต้องการสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับอุทยานฯ สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ต. เมืองเก่า อ. เมือง จ. สุโขทัย 64210 โทร. (055) 613241


จุดเด่นที่น่าสนใจ

ภายในกำแพงเมือง

วัดมหาธาตุ
เป็นวัดใหญ่อยู่กลางเมือง สร้างสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ มีพระเจดีย์ต่างๆ รวมถึง 200 องค์ นับเป็นวัดสำคัญประจำกรุงสุโขทัย มีพระเจดีย์มหาธาตุ ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ศิลปะแบบสุโขทัยแท้ตั้งเป็นเจดีย์ประธาน ล้อมรอบด้วยเจดีย์ 8 องค์ บนฐานเดียวกัน คือ ปรางค์ศิลาแลงตั้งอยู่ที่ทิศทั้ง 4 และเจดีย์แบบศรีวิชัยผสมลังกาก่อด้วยอิฐอยู่ที่มุม ด้านตะวันออกบนเจดีย์ประธานมีวิหารขนาดใหญ่ก่อด้วยศิลาแลง มีแท่นซึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ พระศรีศากยมุนี ปัจจุบันได้รับการเคลื่อนย้ายไปอยู่ที่วัดสุทัศน์ฯ กรุงเทพฯ ที่ด้านเหนือและด้านใต้เจดีย์มหาธาตุมีพระพุทธรูปยืนภายในซุ้มพระ เรียกว่า "พระอัฎฐารศ" ด้านใต้ยังพบแท่งหินเรียกว่า "ขอมดำดิน" อีกด้วย

ศาลาผาแดง
เป็นศาสนสถานตามคติศาสนาฮินดู ก่อด้วยศิลาแลง ส่วนยอดหักพังลงหมด รูปแบบทางสถาปัตยกรรม และประติมากรรมศิลาที่เป็นรูปเคารพเปรียบเทียบได้กับศิลปะของสมัยนครวัต (ราว พ.ศ. 1650-1720) จัดเป็นโบราณสถานที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในเมืองสุโขทัย

เนินปราสาทพระร่วง
หรือเขตพระราชวัง ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของวัดมหาธาตุ เป็นซากอาคารก่อด้วยอิฐ ขุดแต่งบูรณะแล้ว มีฐานบัวโดยรอบทำด้วยรูปปั้น สันนิษฐานว่าเนินแห่งนี้คือ ที่ตั้งของพระที่นั่ง หรือปราสาทที่ประทับ ของกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง ที่ครองกรุงสุโขทัยในกาลก่อน แต่องค์ปราสาทหาชิ้นดีไม่ได้แล้ว เพราะคงจะสร้างด้วยเครื่องไม้ เดี๋ยวนี้มีแต่ซากกระเบื้องมุงหลังคากระจัดกระจายทั่วไป ณ เนินปราสาทแห่งนี้เอง ที่ได้ค้นพบศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงและพระแท่นมนังคศิลา

วัดตระพังเงิน
(คำว่า "ตระพัง" หมายถึง สระน้ำ หรือหนองน้ำ) เป็นโบราณสถานสำคัญตั้งอยู่บริเวณขอบตระพังเงินด้านทิศตะวันตก มีเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือดอกบัวตูมเป็นประธาน บริเวณเรือนธาตุจะมีชั้นประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นประทับยืนทั้ง 4 ทิศ ด้านหน้าเป็นวิหาร 7 ห้อง ฐานและเสาก่อด้วยศิลาแลง ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย บริเวณตรงกลางตระพังเป็นเกาะขนาดเล็ก เป็นที่ตั้งของพระอุโบสถ บริเวณตระพังจะมีดอกบัวขึ้นอยู่รอบสระสวยงามมาก

พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2518 ตั้งอยู่ริมถนนจรดวิถีถ่องทางทิศเหนือของวัดมหาธาตุ ลักษณะพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นพระบรมรูปหล่อด้วยโลหะทองเหลืองผสมทองแดงรมดำ ขนาด 2 เท่าขององค์จริง สูง 3 เมตร ประทับนั่งห้อยพระบาทบนพระแท่นมนังคศิลาบาตร พระหัตถ์ขวาถือคัมภีร์ พระหัตถ์ซ้ายอยู่ในท่าทรงสั่งสอนประชาชน พระแท่นด้านซ้ายมีพานวางพระขรรค์ไว้ข้างๆ ลักษณะพระพักตร์เหมือนอย่างพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยตอนต้น ถ่ายทอดความรู้สึกว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีน้ำพระทัยเมตตากรุณา ยุติธรรมและเฉียบขาด ที่ด้านข้างมีภาพแผ่นจำหลักจารึกเหตุการณ์เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระองค์ตามที่อ้างถึงในจารึกสุโขทัย

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง
เป็นสถานที่รวบรวม และจัดแสดงศิลปโบราณที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีภายในเมืองสุโขทัย และที่ประชาชนมอบให้ บริเวณพิพิธภัณฑ์จะแบ่งส่วนการแสดงโบราณวัตถุไว้เป็น 3 ส่วนคือ

1. อาคารลายสือไท 700 ปี เป็นอาคารใหม่ที่ตั้งอยู่ด้านหน้าทางเข้าอาคารใหญ่ เป็นที่จัดแสดงศิลปวัตถุสมัยสุโขทัย เช่น พระพุทธรูป เครื่องใช้ ถ้วยชาม สังคโลก ศิลาจารึก ฯลฯ

2. อาคารพิพิธภัณฑ์ แบ่งออกเป็น 2 ชั้น แสดงศิลปวัตถุในยุดสมัยต่างๆ มากมาย อาทิ พระพุทธรูปสำริด โอ่ง สังคโลก เครื่องศาสตราวุธ เครื่องถ้วยชามสังคโลก เงินตรา ท่อน้ำระบบชลประทานสุโขทัย ฯลฯ

3. พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง จะอยู่ด้านนอกโดยรอบอาคารใหญ่ เป็นที่ตั้งแสดงศิลปะวัตถุโบราณต่างๆ อาทิ พระพุทธรูปศิลา แผ่นจำหลัก รูปทรงอาคารไทยแบบต่างๆ เตาทุเรียงจำลอง เสมาธรรมจักศิลา เป็นต้น

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง เปิดให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเข้าชมได้ทุกวัน ยกเว้น วันหยุดนักขัตฤกษ์ ระหว่างเวลา 09.00-16.00 น. ค่าธรรมเนียมเข้าชม ชาวไทยคนละ 5 บาท ชาวต่างประเทศคนละ 10 บาท กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะควรติดต่อล่วงหน้าที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง ถนนจรดวิถีถ่อง ตำบลเมือง จังหวัดสุโขทัย 64210 โทร. (055) 612167

นอกกำแพงเมืองด้านเหนือ

ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
เป็นอาคารทรงไทยสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัย ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ ใกล้กับวัดพระพายหลวง เป็นศูนย์ให้ข้อมูลและอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย รวมทั้งจัดแสดงแบบจำลองของโบราณสถานต่างๆ ในเขตเมืองเก่าสุโขทัย นักท่องเที่ยวควรเริ่มต้นชมอุทยานฯ จากจุดนี้เพื่อจะได้เห็นภาพรวมของสุโขทัยในอดีต


อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย

แหล่งโบราณคดีเครื่องปั้นดินเผาสุโขทัย (เตาทุเรียง)
อยู่ใกล้วัดพระพายหลวงบริเวณแนวคูเมืองเก่าที่เรียกว่า "แม่โจน" เป็นเตาเผาถ้วยชามสมัยสุโขทัย มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 ค้นพบเตาโดยรอบ 49 เตา ซึ่งส่วนใหญ่อยู่บริเวณคันคูแม่น้ำโจนด้านทิศเหนือ 37 เตา ด้านทิศใต้ข้างกำแพงเมือง 9 เตา และด้านทิศตะวันออก 3 เตา เตาเผาเครื่องสังคโลกมีลักษณะคล้ายประทุนเกวียนขนาดกว้าง 1.50-2.00 เมตร ยาว 4.5 เมตร เครื่องปั้นดินเผาที่พบบริเวณนี้ส่วนใหญ่เป็นประเภทถ้วยชามมีขนาดใหญ่ น้ำยาเคลือบขุ่นสีเทาแกมเหลือง มีลายเขียนสีดำ ส่วนใหญ่ทำเป็นรูปดอกไม้ ปลา และจักร

วัดพระพายหลวง
ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองทางด้านทิศเหนือ เป็นโบราณสถานขนาดใหญ่มีความสำคัญเป็นอันดับสองรองจากวัดมหาธาตุ วัดนี้มีคูน้ำล้อมรอบ 3 ชั้น มีปรางค์ 3 องค์ เป็นปรางค์ประธานของวัด ทำด้วยศิลาแลง แบบศิลปะลพบุรี ยังคงเห็นลายปูนปั้นที่ปรางค์ด้านทิศเหนือ ด้านหน้าปรางค์มีฐานวิหารเจดีย์ที่ปรักหักพัง ทางด้านประติมากรรม มีพระพุทธรูปปูนปั้นปางต่างๆ เช่น นั่ง ยืน เดิน นอน ซึ่งส่วนใหญ่ชำรุดแล้วประดิษฐานที่มณฑปและซุ้มเจดีย์

วัดศรีชุม
ตั้งอยู่ห่างจากวัดพระพายหลวงไปทางทิศตะวันตก 800 เมตร เป็นวัดที่ประดิษฐานพระอจนะ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย และลักษณะของวิหารอันเป็นที่ประดิษฐานพระอจนะนั้น สร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมลักษณะคล้ายมณฑป แต่หลังคาพังทลายลงมาหมดแล้ว เหลือเพียงผนังทั้งสี่ด้าน ผนังแต่ละด้านก่ออิฐถือปูนอย่างแน่นหนา ผนังทางด้านใต้มีช่องให้คนเข้าไปภายใน และเดินขึ้นไปตามทางบันไดแคบๆ ถึงผนังด้านข้างขององค์พระอจนะ หรือสามารถขึ้นไปถึงสันผนังด้านบนได้ ภายในช่องกำแพงตามฝาผนังมีภาพเขียนเก่าแก่แต่เลอะเลือนเกือบหมด ภาพเขียนนี้มีอายุเกือบ 700 ปี นอกจากนี้แล้วบนเพดานช่องบันไดยังมีแผ่นหินชนวนขนาดใหญ่แกะสลักลวดลายต่างๆ ไว้มีจำนวนทั้งหมด 50 ภาพ เมื่อเดินตามช่องทางบันไดขึ้นไปจะโผล่บนหลังคาวิหารมองเห็นทิวทัศน์อันงดงามของเมืองเก่าสุโขทัยได้โดยรอบ

เพราะเหตุใดวิหารวัดศรีชุมจึงมีความเร้นลับซ่อนอยู่อย่างนี้ เรื่องนี้หากพิจารณากันอย่างลึกซึ้งแล้ว จะพบว่าพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วงทรงพระปรีชาสามารถในด้านปลุกปลอบใจทหารหาญและด้านอื่นๆ อีกมาก เพราะผนังด้านข้างขององค์พระอจนะมีช่องเล็กๆ ถ้าหากใครแอบเข้าไปทางอุโมงค์ แล้วไปโผล่ที่ช่องนี้และพูดออกมาดังๆ ผู้ที่อยู่ภายในวิหารจะต้องนึกว่าพระอจนะพูดได้ และเสียงพูดนั้นจะกังวานน่าเกรงขาม เพราะวิหารนี้ไม่มีหน้าต่าง แต่เดิมคงมีหลังคาเป็นรูปโค้งคล้ายโดม

นอกกำแพงเมืองด้านตะวันตก

วัดสะพานหิน
โบราณสถานด้านทิศตะวันตกของกำแพงเมืองที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง วัดนี้ตั้งอยู่บนเนินลูกเตี้ย สูงประมาณ 200 เมตร มีทางเดินปูด้วยหินชนวนแผ่นบางๆ จนถึงบริเวณลานวัด มีวิหารก่อด้วยอิฐ มีเสาก่อด้วยศิลาแลง 4 แถว 5 ห้อง ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระปางประทานอภัยสูง 12.50 เมตร เรียกว่า "พระอัฏฐารศ"

เขื่อนสรีดภงค์ หรือทำนบพระร่วง
ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเมืองเก่า ทำนบนี้เป็นเขื่อนดิน (คันดิน) สำหรับกั้นน้ำอยู่ระหว่างซอกเขาระหว่างเขาพระบาทใหญ่และเขากิ่วอ้ายมา เพื่อกักน้ำและชักน้ำไปตามคลองส่งน้ำมาเข้ากำแพงเมืองเข้าสระตระพังเงิน ตระพังทอง เพื่อนำไปใช้ในเมืองและพระราชวังในสมัยโบราณ ซึ่งปัจจุบันกรมชลประทานได้ปรับปรุงบูรณะและซ่อมแซมขึ้นใหม่

นอกกำแพงเมืองด้านใต้

วัดเจดีย์สี่ห้อง
โบราณสถานที่น่าสนใจ คือ เจดีย์ที่เข้าใจว่าเป็นทรงลังกา ที่ฐานมีลวดลายปูนปั้นเป็นรูปสิงห์ขี่ช้าง รูปเทวดาทั้งผู้หญิง ผู้ชาย ถือแจกัน ดอกไม้ ลวดลายสวยงามมาก

วัดเชตุพน
ศิลปกรรมที่น่าสนใจ คือ มณฑปสร้างด้วยหินชนวน ประดิษฐานพระพุทธรูปสี่อิริยาบถ คือ พระพุทธรูปแบบนั่ง ยืน เดิน นอน ภายในมณฑปเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป มีการใช้วัสดุทั้งอิฐ หินชนวน ศิลาแลง ในการก่อสร้างที่ประสานกันอย่างกลมกลืน ได้มีการพบศิลาจารึกหลักที่ 58 จารึกในปี พ.ศ. 2057 กล่าวว่าเจ้าธรรมรังสีสร้างพระพุทธรูปในวัดนี้

นอกกำแพงเมืองด้านตะวันออก

วัดช้างล้อม
เป็นโบราณสถานที่สำคัญ มีเจดีย์ทรงกลมแบบลังกาเป็นประธานของวัด รอบฐานเจดีย์ ประดับด้วยปูนปั้นเป็นรูปช้างโผล่ครึ่งตัว ด้านหน้ามีฐานวิหารก่อด้วยอิฐ และยังมีฐานกำแพงแก้วก่อด้วยอิฐล้อมรอบ

วัดตระพังทองหลาง
ศิลปกรรมที่สำคัญ คือ มณฑปรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ก่อด้วยอิฐ ผนังด้านนอกประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น ตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์ ตอนประทานเทศนาโปรดพระพุทธบิดากับกษัตริย์ศากยราช และตอนเสด็จโปรดนางพิมพา นับเป็นศิลปกรรมชิ้นเอกของสุโขทัย บริเวณพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ครอบคลุมพื้นที่กว่า 70 ตารางกิโลเมตร และมีโบราณสถานสำคัญที่น่าชมอีกมากมาย กรณีนักท่องเที่ยวมีเวลามาก โบราณสถานที่ควรชม นอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้น มีดังนี้

ทิศตะวันออก
วัดเจดีย์สูง วัดเกาะไม้แดง
วัดหอดพยอม
ทิศตะวันตก
วัดพระบาทน้อย วัดเจดีย์งาม
วัดมังกร วัดอรัญญิก วัดช้างรอบ
ทิศใต้
วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม
วัดต้นจัน วัดอโศการาม


อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

ข้อมูลทั่วไป

ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า บนฝั่งขวาของแม่น้ำยม เดิมชื่อว่า "เมืองเชลียง" เปลี่ยนชื่อเป็น "ศรีสัชนาลัย" ในสมัยกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงขึ้นครองกรุงสุโขทัย และได้สร้างเมืองขึ้นใหม่เป็นศูนย์กลางการปกครองแทนเชลียง ในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์มีโบราณสถานและโบราณวัตถุอยู่มากมาย สำรวจค้นพบแล้ว 134 แห่ง


การเดินทาง

การเดินทางไปยังอำเภอศรีสัชนาลัยจากตัวเมืองสุโขทัย ใช้ทางหลวงหมายเลข 101 (สุโขทัย-สวรรคโลก-ศรีสัชนาลัย) ถึงบริเวณกิโลเมตร 64 เลี้ยวซ้ายข้ามสะพานข้ามแม่น้ำยม จะมีทางแยกขวาเข้าอุทยานฯ ประมาณ 2 กิโลเมตร ระยะทาง 68 กิโลเมตร หรือโดยสารรถประจำทาง สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย ได้ที่คิวรถ บริเวณตลาดเทศบาล นอกจากนี้นักท่องเที่ยวสามารถใช้เส้นทางจากสวรรคโลกไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1201 ไปจนถึงตำบลเมืองเก่า บริเวณเชิงสะพานข้ามแม่น้ำยมแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าอุทยานฯ อีก 2 กิโลเมตร รวมระยะทาง 22 กิโลเมตร

สิ่งอำนวยความสะดวก

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 40 บาท นักท่องเที่ยวที่ต้องการขอวิทยากรนำชม หรือสอบถามรายละเอียด สามารถติดต่อได้ที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อ. ศรีสัชนาลัย จ. สุโขทัย 64130 โทร. (055) 679211


จุดเด่นที่น่าสนใจ

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
หรือวัดพระบรมธาตุเมืองเชลียงหรือวัดพระปรางค์ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองเก่า ศรีสัช นาลัย ลงไปทางด้านใต้ประมาณ 3 กิโลเมตร สิ่งสำคัญภายในวัด มีพระปรางค์องค์ใหญ่ก่อด้วยศิลาแลง ฐานสี่เหลี่ยมจตุรัส กว้าง 22.50 เมตร ด้านหน้าพระปรางค์มีบันไดขึ้นไปสู่ซุ้มประตูเข้าองค์ปรางค์ ซึ่งมีพระปรางค์องค์เล็กตั้งอยู่กลางห้องเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ

วัดเขาพนมเพลิง
ตั้งอยู่บนยอดเขาลูกเตี้ยๆ ของเมืองเก่าศรีสัชนาลัย สิ่งที่สำคัญของวัดนี้อยู่ที่ตัวพระเจดีย์ศิลาแลง และวิหารใหญ่ด้านหน้า ด้านหลังของเจดีย์มีมณฑปเล็กๆ หลังหนึ่งตั้งอยู่ ที่วิหารมีเสาศิลาแลงและพระพุทธรูปซึ่งตั้งเป็นประธานแต่ได้ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา พระประธานในวิหารประทับหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยสร้างด้วยศิลาแลงเป็นชั้นๆ นำมาต่อกัน และตกแต่งพอกปูนภายนอกอีกทีหนึ่ง

วัดเขาสุวรรณคีรี
อยู่ทางทิศตะวันตก ห่างจากยอดเขาพนมเพลิง 200 เมตร และมีความสูงกว่ายอดเขาพนมเพลิงเล็กน้อย เป็นที่ตั้งของพระเจดีย์ที่มีรูปเป็นองค์ระฆังคว่ำใหญ่โตและสูงมาก ฐานของเจดีย์ทำสูงขึ้นไปถึง 5 ชั้น มีบันไดศิลาแลงเตี้ยๆ สำหรับเดินขึ้นไปบริเวณทักษิณของเจดีย์ได้ ที่ด้านหลังของเจดีย์ใหญ่มีวิหารน้อยและเจดีย์ขนาดเล็กๆ และตรงกำแพงแก้วชั้นในทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีรูปยักษ์ปูนปั้นขนาดใหญ่ และรูปสิงห์ รูปปูนปั้นเหล่านี้ชำรุดและล้มอยู่กับพื้นดิน ลักษณะของรูปยักษ์คล้ายรูปยักษ์วัดช้างล้อมมาก สันนิษฐานว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงสร้างวัดนี้

วัดช้างล้อม
อยู่ในเขตตัวเมืองศรีสัชนาลัย เป็นวัดสำคัญของเมือง มีเจดีย์ทรงลังกาองค์ใหญ่เป็นหลักของวัด ที่ฐานเจดีย์มีช้างปูนปั้นยืนหันหลังชนผนังเจดีย์อยู่โดยรอบ จำนวน 39 เชือก และช้างที่อยู่ตามมุมเจดีย์ทั้ง 4 ทิศ ตกแต่งเป็นช้างทรงเครื่องตัวใหญ่สวยงามกว่าช้างเชือกอื่นๆ โดยรอบเหนือฐานเจดีย์จะมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยทุกซุ้ม

วัดเจดีย์เจ็ดแถว
วัดเจดีย์เจ็ดแถวนี้ นับว่ามีความสวยงามมากกว่าวัดอื่นในเมืองสุโขทัย เพราะมีเจดีย์แบบต่างๆ กันมากมายเป็นศิลปะสุโขทัยแท้ก็มี เป็นศิลปะแบบศรีวิชัยผสมสุโขทัยก็มี นอกจากนี้ภายในเจดีย์บางองค์ยังมีภาพเขียนผนังอีกด้วย แต่ในปัจจุบันลบเลือนไปเกือบหมดแล้ว

วัดสวนแก้วอุทยานใหญ่
อยู่ไม่ห่างจากวัดเจดีย์เจ็ดแถวนัก มีกำแพงศิลาแลงล้อมรอบ สิ่งสำคัญของวัดนี้ก็คือ เจดีย์ทรงลังกา ที่ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจตุรัส ทำให้ดูแปลกตากว่าเจดีย์ทรงลังกาวัดอื่นๆ

วัดสวนแก้วอุทยานน้อย
หรือที่เรียกกันอีกชื่อว่า วัดสระแก้ว มีพระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์เป็นหลักของวัด ด้านหน้าของซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป ทางด้านทิศตะวันตกมีสระน้ำอยู่สระหนึ่งทำให้สันนิษฐานว่าวัดนี้คือ วัดแก้วราชประดิษฐานที่มีกล่าวถึงในพงศาวดารเหนือนั่นเอง

วัดนางพญา
เป็นวัดที่มีลวดลายปูนปั้นงดงามมาก ปรากฏอยู่บนซากผนังวิหารด้านตะวันตกเฉียงเหนือซึ่งเป็นวิหารขนาดเจ็ดห้อง ภายในวิหารตามเสาทุกด้านมีเทพนมและลวดลายต่างๆ ทำด้วยสังคโลกไม่เคลือบ เจดีย์ของวัดก่อด้วยศิลาแลงสูงใหญ่ และมีสภาพสมบูรณ์รอบฐานเจดีย์ มีเสาโคมไฟโดยตลอด มีบันไดขึ้นไปบนเจดีย์


จังหวัดสุโขทัย :: การเดินทาง

ทางรถยนต์
จากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางได้ 2 ทางคือ

1. ตามทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านนครสวรรค์ กำแพงเพชร เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 101 ผ่านอำเภอพรานกระต่าย อำเภอคีรีมาศ ระยะทางประมาณ 440 กิโลเมตร

2. ตามทางหลวงหมายเลข 1 ประมาณ กม. ที่ 50 เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 32 ผ่าน อยุธยามุ่งสู่นครสวรรค์ แล้วเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 117 ตรงเข้าพิษณุโลก ก่อนจะเปลี่ยนไปใช้ทางหลวงหมายเลข 12 เข้าสุโขทัย รวมระยะทาง 427 กิโลเมตร

ทางรถโดยสารประจำทาง
มีรถโดยสารทั้งแบบธรรมดาและปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวันจากกรุงเทพฯ-สุโขทัย ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7 ชั่วโมง ติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) โทร. 936-3660, 936-3666

นอกจากนี้ยังมีบริษัทเดินรถเอกชนวิ่งบริการ ได้แก่ บริษัท วินทัวร์ โทร. 611-039 และบริษัท พิษณุโลกยานยนต์ โทร. 258-941, 258-647

ทางรถไฟ
มีรถด่วนและรถเร็วสายเหนือออกจากสถานีหัวลำโพง ไปลงที่พิษณุโลกทุกวัน จากนั้นจึงเดินทางต่อโดยรถประจำทางไปสุโขทัย อีก 59 กิโลเมตร ติดต่อรายละเอียดที่หน่วยบริการเดินทาง โทร. 223-7010, 223-7020

ทางเครื่องบิน
การบินไทยมีเที่ยวบินจากกรุงเทพฯ ไปลงที่พิษณุโลกทุกวัน วันละ 4-5 เที่ยว จากนั้นจึงเดินทางต่อโดยรถยนต์ไปสุโขทัย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 280-0060, 628-2000 พิษณุโลก (055)258-029, 258-020

บริษัท บางกอกแอร์เวย์ส มีเครื่องบินจากกรุงเทพฯ-สุโขทัย ออกวันละ 1 เที่ยว สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 229-3456-63 พิษณุโลก (055) 612448


จังหวัดสุโขทัย :: สถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ

อำเภอคีรีมาศ

อุทยานแห่งชาติรามคำแหง (เขาหลวง จังหวัดสุโขทัย)

อำเภอสวรรคโลก

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสวรรควรนายก
ตั้งอยู่ที่ตำบลวังไม้ขอน หลังวัดสวรรคาราม (วัดกลาง) ห่างจากสุโขทัย 38 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายมือเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ชั้นบนจัดแสดงประติมากรรมสมัยต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสมบัติของพระสวรรควรนายก และบางส่วนย้ายมาจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพระพุทธรูปในยุคสมัยต่างๆ ตั้งแต่ก่อนยุคสุโขทัย จนถึงศิลปะรัตนโกสินทร์ตอนต้น ส่วนบริเวณชั้นล่าง จัดแสดงเครื่องถ้วยสังคโลก เพื่อประโยชน์ในการศึกษาหาความรู้เรื่องเครื่องถ้วยสังคโลก ซึ่งขุดค้นพบมากที่แหล่งโบราณคดี เครื่องถ้วยสังคโลกบ้านเกาะน้อย อำเภอศรีสัชนาลัย รวมทั้งแสดงเครื่องถ้วยสมบัติใต้ทะเลที่งมได้มาจากแหล่งเรือจม เปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.30-16.30 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 30 บาท ในกรณีเข้าเป็นหมู่คณะและต้องการวิทยากรนำชม ติดต่อได้ที่พิพิธภัณฑ์สวรรควรนายก จังหวัดสุโขทัย โทร. (055) 641571

อำเภอศรีสัชนาลัย

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย

อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย

ศูนย์ศึกษาและอนุรักษ์เตาสังคโลก (เตาทุเรียง)
ตั้งอยู่ที่บ้านเกาะน้อย อยู่เหนือเมืองศรีสัชนาลัยไปอีกประมาณ 4 กิโลเมตร มีเตาเผาที่ขุดพบแล้วกว่า 500 เตา ในบริเวณยาวประมาณ 1 กิโลเมตร ถือได้ว่าเป็นนิคมอุตสาหกรรมของเมืองศรีสัชนาลัย มีการขุดพบเครื่องสังคโลกทั้งในสภาพสมบูรณ์และแตกหักเป็นจำนวนมาก ลักษณะเตาเผาจะเป็นรูปยาวรีคล้ายประทุนเรือจ้างยาวประมาณ 7-8 เมตร

ศูนย์ศึกษาฯ ดังกล่าว ปัจจุบันมีอยู่ 2 อาคาร ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเตาที่ใช้เป็นที่ศึกษา มีหมายเลขเตาที่ใช้เรียกในการศึกษา คือ เตาที่ 42 และเตาที่ 61 ภายในตัวอาคารจะมีการตั้งแสดงโบราณวัตถุ เอกสารทางวิชาการ ตลอดจนวิวัฒนาการเครื่องถ้วยสมัยโบราณให้นักท่องเที่ยวชมอีกด้วย โดยศูนย์ฯ จะเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00-12.00 น. และเวลา 13.00-16.00 น. ค่าธรรมเนียมเข้าชม คนไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 20 บาท

การเดินทาง จากบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยไปทางทิศเหนือ ทางประตูหม้อไปถึงบ้านเกาะน้อยราว 5 กิโลเมตร จะเห็นซากเตาเผาโบราณเรียงรายอยู่โดยทั่วไป หรือจากตัวอำเภอศรีสัชนาลัย ใช้เส้นทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1201 ลงมาที่บ้านเกาะน้อย ประมาณ 7 กิโลเมตร จะเห็นอาคารศูนย์ฯ อยู่ทางซ้ายมือ


:: อุทยานแห่งชาติรามคำแหง ::

:: ข้อมูลทั่วไป ::
อุทยานแห่งชาติรามคำแหง มีเนื้อที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่ อำเภอบ้านด่านลานหอย อำเภอคีรีมาศ และอำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย เป็นอุทยานแห่งชาติทางประวัติศาสตร์ ประกอบด้วย ปูชนียวัตถุอันเป็นโบราณสถานสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี มีสภาพป่าอันอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ตลอดจนมีสภาพธรรมชาติ และทิวทัศน์ที่สวยงาม เช่น น้ำตกสายรุ้ง อุทยานแห่งชาติรามคำแหงมีเนื้อที่ประมาณ 213,125 ไร่ หรือ 341 ตารางกิโลเมตร

กรมป่าไม้ได้ประกาศให้ป่าเขาหลวง เป็นป่าสงวนแห่งชาติตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2512 หลังจากนั้นกรมป่าไม้มีหนังสือที่ กส 0706/2978 ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2517 เรื่อง การเลือกพื้นที่เพื่อจัดตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และอุทยานแห่งชาติ ให้จังหวัดทุกจังหวัด ประสานงานกับป่าไม้เขต ดำเนินการตรวจสอบพื้นที่ป่าไม้ในท้องที่แต่ละเขตว่า บริเวณใดบ้างเหมาะที่จะจัดเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรืออุทยานแห่งชาติ จากการสำรวจจังหวัดสุโขทัยได้มีหนังสือที่ สท 0009/1370 ลงวันที่ 15 กรกฎาคม 2517 ส่งสำเนาหนังสือจังหวัดที่ได้ดำเนินการติดต่อประสานงานกับป่าไม้เขตตากมายังกรมป่าไม้ เพื่อให้พิจารณาจัดตั้งอุทยานแห่งชาติในบริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาหลวง ท้องที่อำเภอคีรีมาศ อำเภอบ้านด่านลานหอย และอำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย เนื่องจากป่าแห่งนี้มีทรัพยากรที่สำคัญ น้ำตก ทิวทัศน์ที่สวยงามและมีปูชนียวัตถุ อันเป็นโบราณสถานสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้มีหนังสือที่ 177/2518 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2518 ให้นายเชาวลิต เลิศชยันตี นักวิชาการป่าไม้ตรี ไปดำเนินการสำรวจหาข้อมูล ปรากฏว่า ป่าเขาหลวงมีสภาพป่าธรรมชาติสมบูรณ์มีทิวทัศน์สวยงาม เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร และเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์สมัยกรุงสุโขทัย เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ดังนั้นในเดือนเมษายน พ.ศ. 2518 กองอุทยานแห่งชาติ จึงเริ่มดำเนินการจัดตั้งป่าเขาหลวงเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยใช้ชื่อว่า “อุทยานแห่งชาติรามคำแหง” ซึ่งได้อัญเชิญสมญานามของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระมหากษัตริย์ไทย ผู้ทรงแสนยานุภาพเป็นอัจฉริยะ ทางด้านความคิดของกรุงสุโขทัย มาเป็นชื่อของอุทยานแห่งชาติ เพื่อเทอดพระเกียรติแด่องค์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช และเป็นสิริมงคลแก่อุทยานแห่งชาติ ตลอดจนเพื่อเป็นการรำลึกถึง สถานที่อันมีค่าทางประวัติศาสตร์ชาติไทย ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย กรมป่าไม้จึงได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติในคราวประชุมครั้งที่ 2/2518 เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2518 เห็นชอบในหลักการให้กำหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยมีพระราชกฤษฎีกา กำหนดบริเวณที่ดินป่าเขาหลวง ในท้องที่ตำบลบ้านด่าน ตำบลลานหอย อำเภอบ้านด่านลานหอย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย และตำบลบ้านป้อม ตำบลคีรีมาศ อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 97 ตอนที่ 175 ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2523 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 18 ของประเทศ


:: ลักษณะภูมิประเทศ ::
พื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติรามคำแหง มีภูมิประเทศเป็นเทือกเขาขนาดใหญ่ ที่ตั้งสูงขึ้นไปจากที่ราบคล้ายจอมปลวก ซึ่งแยกตัวจากเทือกเขาอื่นโดยเด่นชัด มีลักษณะเป็นเขาสูงสลับซับซ้อน ทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ ระหว่างจังหวัดกำแพงเพชรและสุโขทัย มีภูเขาที่สูงที่สุดคือ “เขาหลวง” ประกอบด้วยเขานารายณ์ สูง 1,160 เมตร เขาพระเจดีย์ สูง 1,185 เมตร เขาภูคาและเขาพระแม่ย่า สูง 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารหลายสายซึ่งไหลรวมกันลงสู่แม่น้ำยม ประกอบด้วย คลองตาเจ็ก คลองเสาหอ คลองวังเงิน คลองเนินคลี คลองด้วงงาม คลองลานทอง คลองมะซาง และคลองเพชรหึง เป็นต้น


:: ลักษณะภูมิอากาศ ::
บริเวณอุทยานแห่งชาติรามคำแหง จัดอยู่ในภูมิอากาศแบบฝนตกชุก สลับแห้งแล้งในเขตร้อน ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม มีอากาศร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในช่วงเดือนเมษายนประมาณ 31 องศาเซลเซียส แต่อากาศเย็นในตอนกลางคืน ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม มีปริมาณฝนมากในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,323 มิลลิเมตรต่อปี และฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ มีอากาศหนาวเย็นสบาย โดยเฉพาะบนยอดเขาหลวง อุณหภูมิจะหนาวเย็นในเวลากลางคืน ช่วงที่อากาศเย็นสบายที่สุดระหว่างเดือนธันวาคม – มกราคม อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 27.6 องศาเซลเซียส


:: พรรณไม้และสัตว์ป่า ::
พื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติรามคำแหง ปกคลุมไปด้วยป่าเต็งรัง รองลงมาคือ ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขา ตามลำดับ

ป่าเต็งรัง พบตั้งแต่พื้นที่ระดับต่ำขึ้นไป ตามไหล่เขาและสันเขาที่แห้งแล้ง พื้นที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 140-900 เมตร ซึ่งมีดินตื้นและอุดมสมบูรณ์ต่ำ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง เหมือดหลวง มะเกิ้ม ตาลเหลือง แข้งกวาง รักขน สารภีป่า ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ ขางครั่ง นมแมว ย่านลิเภา เป้ง ปรง เป็นต้น

ป่าเบญจพรรณ ที่พบส่วนใหญ่ จะอยู่ตามร่องห้วยและหุบเขาที่ชื้นปานกลาง แต่แห้งแล้งมากในช่วงฤดูแล้ง โดยพบตามร่องห้วยในบริเวณที่มีป่าเต็งรังอยู่ตามไหล่เขาและสันเขา ตามพื้นที่รอยต่อกับป่าดิบแล้งที่มีสภาพความชุ่มชื้นน้อยลง และพื้นที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-800 เมตร พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เปล้าหลวง ตีนนก เครือออน อุโลก ตะแบกเปลือกบาง แดง ตะคร้อ ปอยาบ แคทรายงิ้วป่า เค็ด ไผ่ไร่ ไผ่ซางนวล ฯลฯ พืชพื้นล่างที่พบมากได้แก่ หวายขม กระทือ มะแฮะนก และเขิงแข้งม้า เป็นต้น

ป่าดิบแล้ง พบตามหุบเขาที่ชุ่มชื้นเกือบตลอดทั้งปี จากพื้นล่างขึ้นไปตามภูเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 150-900 เมตร พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ยางแดง ปอสลักพาด คำไก่ มะไฟ เลือดควายใบใหญ่ เสลาดำ ดีหมี จิก ไผ่หก ไผ่ไร่ ไผ่เฮียะ ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ หวายขม หวายโป่ง หวายนิ้ว เขิงช้าง และว่านนกคุ้ม เป็นต้น สำหรับพื้นที่ระดับสูงจากระดับน้ำทะเล 900 เมตรขึ้นไปเป็น

ป่าดิบเขา ซึ่งกระจายอยู่เป็นหย่อมเล็กๆ ตามยอดเขา และพบทุ่งโล่งที่มีหญ้าปกคลุมสลับกันอยู่ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ตองลาด จำปีป่า มันปลา สอยดาว ไคร้ขน หมี่ปัง อบเชย ตองหอม ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ คนางใบหยก เขิงแข้งม้า ก๋ง เป็นต้น

สัตว์ป่าในพื้นที่อุทยานแห่งชาติรามคำแหง ประกอบด้วย เก้ง หมูป่า ลิงกัง ชะมดเช็ด อีเห็นเครือ ลิ่นใหญ่ ค้างคาวเล็บกุด ค้างคาวขอบหูกลาง กระรอกท้องแดง กระรอกหลากสี กระจ้อน นกเขียวก้านตองหน้าผากสีทอง นกแซงแซวหางปลา นกจับแมลงจุกดำ นกปรอดเหลืองหัวจุก นกระจิ๊ดธรรมดา นกกินแมลงอกเหลือง นกตีทอง นกบั้งรอกใหญ่ กิ้งก่าเขาหนามสั้น จิ้งจกหางหนาม จิ้งเหลนหางยาว ตุ๊กแกบ้าน ตะกวด งูลายสาบคอแดง งูเขียวหัวจิ้งจกป่า งูเหลือม อึ่งอ่างบ้าน กบว้าก อึ่งน้ำเต้า และกบหลังไพล เป็นต้น ในบริเวณแหล่งน้ำพบปลาหลากชนิด เช่น ปลาแขยง ปลาซิวควาย ปลาสร้อยขาว ปลาตะเพียนน้ำตก ปลาเข็ม และปลากระดี่ เป็นต้น


:: ที่ตั้งและการเดินทาง ::
อุทยานแห่งชาติรามคำแหง
ตู้ ปณ.1 อ. คีรีมาศ จ. สุโขทัย 64160
โทรศัพท์ : 0 5591 0000-1 โทรสาร : 0 5591 0000

รถยนต์
การเดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติรามคำแหงสามารถเดินทางได้ 2 เส้นทาง คือ

- จากกรุงเทพฯ เดินทางสู่ถนนกำแพงเพชร ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 ถึงอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย แยกซ้ายเข้าสู่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติอีกประมาณ 12 กิโลเมตร

- จากกรุงเทพฯ เดินทางสู่พิษณุโลก ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117 แล้วเดินทางต่อไปจังหวัดสุโขทัย ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ผ่านอำเภอกงไกรลาศ เข้าสู่อำเภอเมืองสุโขทัย แล้วเดินทางสู่อำเภอคีรีมาศ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 ระยะทางประมาณ 19 กิโลเมตร และแยกขวาที่อำเภอคีรีมาศ เข้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติอีกประมาณ 12 กิโลเมตร


:: แหล่งท่องเที่ยว ::
อุทยานแห่งชาติรามคำแหง เป็นอุทยานแห่งชาติที่พบหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์มากมาย ได้แก่ รอยพระพุทธบาท อยู่ที่เชิงเขาถ้ำพระบาท ปรางค์เขาปู่จา ซึ่งเป็นศิลปะเขมรสมัยบาปวน ถนนพระร่วง ที่เชื่อมระหว่างเมืองกำแพงเพชรผ่านสุโขทัยไปพบกับศรีสัชนาลัย ซึ่งเชื่อว่าสร้างขึ้นเมื่อกว่า 700 ปีก่อน ปล่องนางนาค และเขื่อนสรีดภงส์ ซึ่งเป็นทำนบกั้นน้ำในสมัยสุโขทัย นอกจากนี้ ยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่น่าสนใจดังนี้


:: ด้านธรรมชาติที่สวยงาม ::
เขาหลวง เป็นภูเขาที่มียอดเขาสูงที่สุด อยู่ทางด้านทิศใต้ของเมืองสุโขทัย รูปพรรณสัณฐาน คล้ายสตรีนอนสยายผม ที่มีส่วนใบหน้าเคลียอยู่กับเมฆหมอกตลอดเวลา บนยอดเขามีทิวทัศน์สวยงาม ประกอบไปด้วยยอดเขาสูง ที่ปกคลุมด้วยทุ่งหญ้าธรรมชาติ บริเวณผานารายณ์ เป็นจุดที่สามารถไปยืนชมทิวทัศน์กว้างไกลของทุ่งหญ้า และผืนป่าดงดิบตามริมห้วยชุ่มชื้น และยังเป็นจุดชมดวงอาทิตย์ขึ้นในยามเช้า และตกในยามเย็น จากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ มีเส้นทางเดินเท้าสู่ยอดเขาหลวงระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร โดยเป็นเส้นทางดิ่งชันขึ้นที่สูงตลอด ผู้ที่ต้องการพิชิตยอดเขาหลวง จึงต้องเตรียมร่างกายให้พร้อม ระหว่างทางจะพบกับสิ่งที่น่าสนใจเป็นระยะๆ ช่วงแรกผ่านไปตามป่าดงดิบแน่นทึบ เมื่อถึงต้นประดู่ใหญ่ที่ยืนต้นตระหง่านอยู่ริมทาง สภาพทางจะเริ่มชันขึ้นๆ ราวกับหน้าผา รวมระยะทาง 3 กิโลเมตร ระหว่างทางมีจุดให้พักชมทิวทัศน์ จนไปถึงจุดพักที่เรียกว่า น้ำดิบผามะหาด ซึ่งมีธารน้ำซับให้แวะพักล้างหน้าล้างตา จากนั้นทางจะลาดขึ้น จนกระทั่งถึงยอดเขาหลวง


ทุ่งหญ้าธรรมชาติ บนยอดเขาจะเป็นทุ่งหญ้าที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติมีเนื้อที่ประมาณ 3,000 ไร่ มีหญ้าหลายชนิดขึ้นอยู่รวมกัน บางชนิดเป็นพืชสมุนไพร โดยเฉพาะบริเวณสวนขวัญไทรงาม ไทรขนาดใหญ่ แผ่กิ่งก้านสาขาได้ลักษณะสวยงาม เหมาะสำหรับนั่งพักผ่อน อยู่ระหว่างทางขึ้นยอดเขาหลวง


สมุนไพร และว่าน ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติมีว่าน และสมุนไพรหลายร้อยชนิด เช่น โด่ไม่รู้ล้ม หอมไกลดง นางคุ้ม อบเชย หนุมานประสานกาย เสน่ห์สาวหลง หนุมานนั่งแท่น สบู่เลือด เพชรหน้าทั่ง เลือดค้างคาว รางจืด กระวาน กำลังเสือโคร่ง ฯลฯ


น้ำตกสายรุ้ง เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่สูงชันและสวยงาม เกิดจากต้นน้ำบริเวณเขาเจดีย์ มาเป็นลำธารคลองไผ่นา ไหลลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีโตรกผาสูงชันกว่าร้อยเมตร มีทั้งหมด 4 ชั้น น้ำตกชั้นบนสุด เป็นชั้นสูงใหญ่และงดงามมาก แต่ต้องเดินเท้าทวนสายน้ำตกขึ้นไปประมาณ 1.2 กิโลเมตร น้ำตกสายรุ้งมีน้ำตก เฉพาะในฤดูฝนเท่านั้น การเดินทางจากอำเภอคีรีมาศ ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 ไปประมาณ 16 กิโลเมตร แล้วมีทางแยกเข้าสู่บ้านใหม่เจริญผล เข้าไปประมาณ 9 กิโลเมตร จะพบทางแยกเข้าไปอีก 4 กิโลเมตร ถึงน้ำตก


อ่างเก็บน้ำคลองข้างใน เป็นแหล่งชมทัศนียภาพของทิวเขา วิถีชีวิตของผู้มีอาชีพหาปลา และในฤดูหนาวจะมีนกเป็ดน้ำเข้ามาอยู่ในอ่างเก็บน้ำเป็นจำนวนมาก เป็นจุดแวะพักก่อนที่จะเดินทาง ต่อไปยังที่ทำการอุทยานแห่งชาติรามคำแหง ประมาณ 12 กิโลเมตร


น้ำตกลำเกลียว เป็นน้ำตกขนาดกลางที่มีน้ำไหลตลอดปี น้ำใส โอบล้อมไปด้วยสภาพธรรมชาติที่สวยงาม ของป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้ง ที่แทรกตัวอยู่เป็นระยะๆ มีโขดหินขนาดใหญ่จำนวนมาก มีบรรยากาศที่เงียบสงบ ร่มรื่น เย็นสบาย และให้ความเป็นส่วนตัว การเดินทางใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1319 เมื่อถึงสี่แยกที่บ้านนาสระลอย เลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 150 กิโลเมตร เมื่อถึงที่ทำการหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติชั่วคราว (น้ำตกลำเกลียว) ต้องเดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ 4 กิโลเมตร จึงจะถึงตัวน้ำตกชั้นที่สูงสุด ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 20 กิโลเมตร


น้ำตกหินราง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นร่องหินที่มีน้ำไหลลงมาเป็นทางมีน้ำไหลเป็นบางฤดู


ถ้ำนารายณ์ ตั้งอยู่บริเวณทางขึ้นเขาหลวง ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 3 กิโลเมตร เดิมเป็นที่ประดิษฐานของเทวรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ซึ่งสลักจากหินทรายโบราณ ที่มีพุทธลักษณะคล้ายรูปพระนารายณ์ จึงทำให้ชาวบ้านเรียกขานเป็นชื่อถ้ำ ปัจจุบันได้ย้ายไปไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติรามคำแหง


ถ้ำพระแม่ย่า ตั้งอยู่ที่ตำบลนาเชิงคีรี อำเภอคีรีมาศ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 25 กิโลเมตร เป็นที่ประดิษฐานเดิมของพระแม่ย่า ซึ่งเป็นพระพุทธรูปโบราณสมัยสุโขทัย อันเป็นที่เคารพสักการะของชาวสุโขทัย ลักษณะคล้ายเพิงหินขนาดใหญ่ และด้านหลังเป็นถ้ำตื้น การเดินทางใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1319 เมื่อถึงสี่แยกบ้านขุนนาวัง เลี้ยวซ้ายผ่านเขากุดยายชีเข้าไปอีกประมาณ 12 กิโลเมตร ผ่านหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ รค.3 (ถ้ำพระแม่ย่า) ไปก็จะถึงถ้ำพระแม่ย่า


ลานพม่าลับหอก ตั้งอยู่ที่ตำบลศรีคีรีมาศ อำเภอคีรีมาศ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นลานหินทรายขนาดใหญ่ในลำน้ำ ซึ่งเดิมเป็นจุดพักทัพ และลับอาวุธของทหารพม่า ขณะที่เดินทางมารบกับไทยในสมัยสุโขทัย


พระร่วงวิ่งว่าว ตั้งอยู่ที่ตำบลศรีคีรีมาศ อำเภอคีรีมาศ มีตำนานเล่าขานว่า เดิมบริเวณนี้เป็นสถานที่ที่พระร่วงมาเล่นว่าว เคยมีประเพณีสักการบูชาสืบทอดกันมาแต่โบราณ ซึ่งเกิดขึ้นจาก ความเชื่อของชาวบ้านในพื้นที่ใกล้เคียง ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 6 กิโลเมตร


เส้นทางศึกษาธรรมชาติ อุทยานแห่งชาติรามคำแหง ได้จัดทำเส้นทางเดินป่าเพื่อศึกษาความหลากหลายของธรรมชาติไว้ 2 เส้นทาง ได้แก่

- เส้นทางศึกษาธรมชาติ สายที่ 1 อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติรามคำแหง 300 เมตร จุดเริ่มต้นอยู่ใกล้กับพื้นที่กางเต็นท์ ระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ในการศึกษาสภาพธรรมชาติของป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ลานสมุนไพรโบราณ ป่าเต็งรัง ลำน้ำ สภาพป่าธรรมชาติที่มีการทดแทนตลอดเวลา และน้ำตกหินราง

- เส้นทางศึกษาธรรมชาติ สายที่ 2 เป็นเส้นทางที่เหมาะกับกิจกรรมเดินทางไกล ในการศึกษาความหลากหลายทางธรรมชาติ และชมสวนสมุนไพรโบราณ จุดเริ่มต้นเดียวกับเส้นทางศึกษาธรรมชาติ สายที่ 1 ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง



:: สิ่งอำนวยความสะดวก ::
ที่พักแรม/บ้านพัก มีบ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียด และสำรองที่พักเต็นท์ได้กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง


ที่จอดรถ มีที่จอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


บริการอาหาร มีร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยว


ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.



อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

ข้อมูลทั่วไป

ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า บนฝั่งขวาของแม่น้ำยม เดิมชื่อว่า "เมืองเชลียง" เปลี่ยนชื่อเป็น "ศรีสัชนาลัย" ในสมัยกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงขึ้นครองกรุงสุโขทัย และได้สร้างเมืองขึ้นใหม่เป็นศูนย์กลางการปกครองแทนเชลียง ในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์มีโบราณสถานและโบราณวัตถุอยู่มากมาย สำรวจค้นพบแล้ว 134 แห่ง


การเดินทาง

การเดินทางไปยังอำเภอศรีสัชนาลัยจากตัวเมืองสุโขทัย ใช้ทางหลวงหมายเลข 101 (สุโขทัย-สวรรคโลก-ศรีสัชนาลัย) ถึงบริเวณกิโลเมตร 64 เลี้ยวซ้ายข้ามสะพานข้ามแม่น้ำยม จะมีทางแยกขวาเข้าอุทยานฯ ประมาณ 2 กิโลเมตร ระยะทาง 68 กิโลเมตร หรือโดยสารรถประจำทาง สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย ได้ที่คิวรถ บริเวณตลาดเทศบาล นอกจากนี้นักท่องเที่ยวสามารถใช้เส้นทางจากสวรรคโลกไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1201 ไปจนถึงตำบลเมืองเก่า บริเวณเชิงสะพานข้ามแม่น้ำยมแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าอุทยานฯ อีก 2 กิโลเมตร รวมระยะทาง 22 กิโลเมตร

สิ่งอำนวยความสะดวก

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 40 บาท นักท่องเที่ยวที่ต้องการขอวิทยากรนำชม หรือสอบถามรายละเอียด สามารถติดต่อได้ที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อ. ศรีสัชนาลัย จ. สุโขทัย 64130 โทร. (055) 679211


จุดเด่นที่น่าสนใจ

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
หรือวัดพระบรมธาตุเมืองเชลียงหรือวัดพระปรางค์ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองเก่า ศรีสัช นาลัย ลงไปทางด้านใต้ประมาณ 3 กิโลเมตร สิ่งสำคัญภายในวัด มีพระปรางค์องค์ใหญ่ก่อด้วยศิลาแลง ฐานสี่เหลี่ยมจตุรัส กว้าง 22.50 เมตร ด้านหน้าพระปรางค์มีบันไดขึ้นไปสู่ซุ้มประตูเข้าองค์ปรางค์ ซึ่งมีพระปรางค์องค์เล็กตั้งอยู่กลางห้องเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ

วัดเขาพนมเพลิง
ตั้งอยู่บนยอดเขาลูกเตี้ยๆ ของเมืองเก่าศรีสัชนาลัย สิ่งที่สำคัญของวัดนี้อยู่ที่ตัวพระเจดีย์ศิลาแลง และวิหารใหญ่ด้านหน้า ด้านหลังของเจดีย์มีมณฑปเล็กๆ หลังหนึ่งตั้งอยู่ ที่วิหารมีเสาศิลาแลงและพระพุทธรูปซึ่งตั้งเป็นประธานแต่ได้ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา พระประธานในวิหารประทับหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยสร้างด้วยศิลาแลงเป็นชั้นๆ นำมาต่อกัน และตกแต่งพอกปูนภายนอกอีกทีหนึ่ง

วัดเขาสุวรรณคีรี
อยู่ทางทิศตะวันตก ห่างจากยอดเขาพนมเพลิง 200 เมตร และมีความสูงกว่ายอดเขาพนมเพลิงเล็กน้อย เป็นที่ตั้งของพระเจดีย์ที่มีรูปเป็นองค์ระฆังคว่ำใหญ่โตและสูงมาก ฐานของเจดีย์ทำสูงขึ้นไปถึง 5 ชั้น มีบันไดศิลาแลงเตี้ยๆ สำหรับเดินขึ้นไปบริเวณทักษิณของเจดีย์ได้ ที่ด้านหลังของเจดีย์ใหญ่มีวิหารน้อยและเจดีย์ขนาดเล็กๆ และตรงกำแพงแก้วชั้นในทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีรูปยักษ์ปูนปั้นขนาดใหญ่ และรูปสิงห์ รูปปูนปั้นเหล่านี้ชำรุดและล้มอยู่กับพื้นดิน ลักษณะของรูปยักษ์คล้ายรูปยักษ์วัดช้างล้อมมาก สันนิษฐานว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงสร้างวัดนี้

วัดช้างล้อม
อยู่ในเขตตัวเมืองศรีสัชนาลัย เป็นวัดสำคัญของเมือง มีเจดีย์ทรงลังกาองค์ใหญ่เป็นหลักของวัด ที่ฐานเจดีย์มีช้างปูนปั้นยืนหันหลังชนผนังเจดีย์อยู่โดยรอบ จำนวน 39 เชือก และช้างที่อยู่ตามมุมเจดีย์ทั้ง 4 ทิศ ตกแต่งเป็นช้างทรงเครื่องตัวใหญ่สวยงามกว่าช้างเชือกอื่นๆ โดยรอบเหนือฐานเจดีย์จะมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยทุกซุ้ม

วัดเจดีย์เจ็ดแถว
วัดเจดีย์เจ็ดแถวนี้ นับว่ามีความสวยงามมากกว่าวัดอื่นในเมืองสุโขทัย เพราะมีเจดีย์แบบต่างๆ กันมากมายเป็นศิลปะสุโขทัยแท้ก็มี เป็นศิลปะแบบศรีวิชัยผสมสุโขทัยก็มี นอกจากนี้ภายในเจดีย์บางองค์ยังมีภาพเขียนผนังอีกด้วย แต่ในปัจจุบันลบเลือนไปเกือบหมดแล้ว

วัดสวนแก้วอุทยานใหญ่
อยู่ไม่ห่างจากวัดเจดีย์เจ็ดแถวนัก มีกำแพงศิลาแลงล้อมรอบ สิ่งสำคัญของวัดนี้ก็คือ เจดีย์ทรงลังกา ที่ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจตุรัส ทำให้ดูแปลกตากว่าเจดีย์ทรงลังกาวัดอื่นๆ

วัดสวนแก้วอุทยานน้อย
หรือที่เรียกกันอีกชื่อว่า วัดสระแก้ว มีพระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์เป็นหลักของวัด ด้านหน้าของซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป ทางด้านทิศตะวันตกมีสระน้ำอยู่สระหนึ่งทำให้สันนิษฐานว่าวัดนี้คือ วัดแก้วราชประดิษฐานที่มีกล่าวถึงในพงศาวดารเหนือนั่นเอง

วัดนางพญา
เป็นวัดที่มีลวดลายปูนปั้นงดงามมาก ปรากฏอยู่บนซากผนังวิหารด้านตะวันตกเฉียงเหนือซึ่งเป็นวิหารขนาดเจ็ดห้อง ภายในวิหารตามเสาทุกด้านมีเทพนมและลวดลายต่างๆ ทำด้วยสังคโลกไม่เคลือบ เจดีย์ของวัดก่อด้วยศิลาแลงสูงใหญ่ และมีสภาพสมบูรณ์รอบฐานเจดีย์ มีเสาโคมไฟโดยตลอด มีบันไดขึ้นไปบนเจดีย์


:: อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย ::

:: ข้อมูลทั่วไป ::
ความเป็นมา : ในปี 2519 สำนักราชเลขาธิการ ได้มีหนังสือถึงกรมป่าไม้ ความว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระราชประสงค์สงวนป่าบริเวณตำบลแม่สำ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ซึ่งในบริเวณนี้ประกอบด้วย ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์และสัตว์ป่านานาชนิด ราษฎรในแถบนี้และใกล้เคียง ได้รับความสมบูรณ์จากน้ำที่เกิดจาก พื้นที่ต้นน้ำลำธารในพื้นที่ป่าแห่งนี้ กรมป่าไม้ควรสงวนไว้เป็นวนอุทยานซึ่ง ฯพณฯ พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ นายกรัฐมนตรี ได้พิจารณาแล้ว มีบัญชาให้ดำเนินการตามพระราชประสงค์"

กรมป่าไม้จึงได้ประชุมผู้แทนกองต่างๆ พิจารณาเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2519 และมีหนังสือให้กองจัดการป่าไม้ กองอุทยานแห่งชาติ และกองอนุรักษ์สัตว์ป่า แต่งตั้งผู้แทนของกองออกไปร่วมกับป่าไม้เขตตาก และจังหวัดสุโขทัย ดำเนินการตรวจสอบป่าโครงการแม่สิน-แม่สาน (สท.1) ซึ่งเป็นพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งคณะทำงานได้ร่วมกันตรวจสอบ และเห็นสมควรให้จัดป่าแห่งนี้บางส่วนเป็นอุทยานแห่งชาติ เฉพาะในพื้นที่ป่าส่วนที่เป็นต้นน้ำลำธาร กรมป่าไม้จึงมีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ ไปทำการสำรวจเบื้องต้น สภาพโครงการป่าโครงการแม่สิน-แม่สาน ซึ่งได้รับรายงานว่า พื้นที่ ดังกล่าวมีสภาพป่าเป็นต้นน้ำลำธาร พันธุ์ไม้มีค่า และสัตว์ป่านานาชนิด น้ำตกหลายแห่ง ตลอดจนทัศนียภาพที่สวยงามมากมาย มีสภาพเหมาะสมจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติได้

กรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีมติในคราวประชุมเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2521 เห็นชอบให้กำหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ และให้ใช้ชื่อว่า “อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย” โดยได้มีพระราชกฤษฎีกา กำหนดบริเวณที่ดินป่าแม่สินป่าแม่สาน ป่าแม่สูงฝั่งซ้าย และ ป่าแม่ท่าแพ ในท้องที่ตำบลแม่ล้น ตำบลแม่สำ ตำบลบ้านแก่ง อำเภอศรีสัชนาลัย และตำบลกลางดง อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2524 ซึ่งประกาศลงในพระราชกิจจานุเบกษา เล่ม 98 ตอนที่ 70 ลงวันที่ 8 พฤษภาคม 2524 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 26 ของประเทศ มีเนื้อที่ประมาณ 213.20 ตารางกิโลเมตร


:: ลักษณะภูมิประเทศ ::
สภาพทั่วไปเป็นภูเขาสลับซับซ้อน บางตอนเป็นภูเขาหิน มีหน้าผาสูงทางทิศตะวันตกของพื้นที่ซึ่งเป็นภูเขาสูง เช่น ดอยแม่วังช้าง ดอยแม่มอก มีแนวติดต่อกันจากเหนือจรดใต้ ลักษณะเป็นรูปปีกการอบพื้นที่ ซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ตั้งแต่ 300-1,200 เมตร โดยพื้นที่มีความลาดชัน ซึ่งเป็นข้อดีข้อหนึ่ง ที่เป็นอุปสรรคต่อการแผ้วถางป่ายึดครองพื้นที่ เพื่อทำการเกษตรกรรม ของราษฎรรอบพื้นที่ เป็นต้นกำเนิดของลำห้วยหลายสาย เช่น ห้วยทรายขาว ห้วยแม่ท่าแพ ห้วยแม่สาน ห้วยผาจ่อ และห้วยมะนาว เป็นต้น มีที่ราบตามริมห้วยช้างและบริเวณริมฝั่งแม่น้ำยม


:: ลักษณะภูมิอากาศ ::
อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย มีลักษณะอากาศคล้ายคลึงกันกับท้องถิ่นใกล้เคียง ของจังหวัดในภาคเหนือ สภาพอากาศในฤดูร้อนค่อนข้างร้อน อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยในเดือนเมษายน 38oC ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยประมาณ 1,433 มิลลิเมตร และฤดูหนาวจะมีอากาศหนาวจัด โดยเฉพาะระหว่างเดือนธันวาคม–กุมภาพันธ์ อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย ในเดือนมกราคม 16oC อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 27oC


:: พรรณไม้และสัตว์ป่า ::
สภาพป่า ประกอบไปด้วย ป่าเบญจพรรณ มีพื้นที่ประมาณร้อยละ 93.40 ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ พบมากในที่ลาดชัน ลาดเขา ริมห้วย พันธ์ไม้ที่พบมากได้แก่ กระเบา สัก คอแลน ชมพู่ป่า แดง มะค่าโมง ไผ่เฮียะ เป็นต้น รองลงมาเป็น ป่าเต็งรัง มีพื้นที่ประมาณร้อยละ 4.72 ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ พันธุ์ไม้ที่พบมากได้แก่ เต็ง รัง ประดู่ ตะแบก ตะคร้อ เป็นต้น และพื้นที่ที่เหลือจะเป็น ป่าดงดิบเขา พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ก่อเดือย ก่อนก ยางแดง เหมือด เป็นต้น

เนื่องจากมีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์และมีลำห้วยมากมาย จึงทำให้มีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่ ที่พบเห็นบ่อยได้แก่ เสือไฟ หมูป่า อีเห็นข้างลาย กระรอกหลากสี กระแตเหนือ ค้างคาว เหยี่ยว นกเขาใหญ่ นกจาบคาหัวสีส้ม เต่าเหลือง ฯลฯ ในบริเวณถ้ำธาราวสันต์และถ้ำผาจ่อ ซึ่งเป็นถ้ำหินปูน เป็นที่อยู่อาศัยของค้างคาวหน้ายักษ์ทศกรรณ ค้างคาวมงกุฎมลายู ค้างคาวแวมไพร์แปลงใหญ่ ค้างคาวเล็บกุด นอกจากนี้ยังพบว่า เป็นแหล่งสร้างรัง และเลี้ยงดูตัวอ่อนของนกเอี้ยงถ้ำ ที่หลบภัยตามธรรมชาติของเม่น และที่หาอาหารของหนูฟานเหลือง ในบริเวณริมลำห้วยและในลำธารต่างๆ ของอุทยานแห่งชาติเป็นที่อยู่อาศัยของ จิ้งเหลนห้วยท้องแดง กบห้วยขาปุ่ม กบทูด เขียดงู ปลาจาด ปลาก้าง ปลาค้อ ปูน้ำตก และหอยเจดีย์ เป็นต้น


:: ที่ตั้งและการเดินทาง ::
อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย
ตู้ ปณ.10 ต.บ้านแก่ง อ. ศรีสัชนาลัย จ. สุโขทัย 64130
โทรศัพท์ : 0 5591 0002-3

รถยนต์
จากอำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย เข้าถึงอุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย มีสองเส้นทางหลักด้วยกัน

- เริ่มจากอำเภอเมือง มาตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 สายเลี่ยงเมืองประมาณ 15 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาไปตามทางหลวงจังหวัด หมายเลข 1113 มาถึงสี่แยกสารจิตร แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงจังหวัด หมายเลข 1294 ประมาณ 40 กิโลเมตร เข้าสู่อุทยานแห่งชาติ รวมระยะทางทั้งหมดประมาณ 100 กิโลเมตร

- เริ่มจากอำเภอเมืองมาตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 ระยะทางประมาณ 68 กิโลเมตร ถึงอำเภอศรีสัชนาลัย แล้วเลี้ยวซ้ายผ่านหน้าโรงพยาบาลศรีสัชนาลัย มาตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1201 ระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร ถึงสี่แยกสารจิตร แล้วเลี้ยวขวาไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1294 ประมาณ 40 กิโลเมตร เข้าสู่อุทยานแห่งชาติ ระยะทางรวมประมาณ 122 กิโลเมตร


รถโดยสารประจำทาง
1.จากกรุงเทพโดยรถทัวร์ไปลงที่ อ.ศรีสัชนาลัย รอรถสองแถวเข้าไปที่ทำการอุทยานฯ รถมีวันละ 1 เที่ยว รถออกก่อนเที่ยงวัน
2.จากกรุงเทพ โดยรถทัวร์ไปลงที่สารจิตร โดยบรัษัทวินทัวร์หรือบริษัทขนส่งจำกัด ค่าโดยสารประมาณคนละ 300 บาท ไปถึงประมาณ 05.00 น. และรอรถโดยสารเข้าต่อไปที่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ



:: แหล่งท่องเที่ยว ::
อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอศรีสัชนาลัย และอำเภอทุ่งเสลี่ยง จังหวัดสุโขทัย เมืองเชลียงหรือศรีสัชนาลัย ได้ชื่อว่า เป็นเมืองประวัติศาสตร์ เป็นที่รวมของโบราณวัตถุ สถานที่ล้ำค่า และแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง เช่น วัดพระศรีมหาธาตุราชวรวิหาร วัดนางพญา แก่งหลวง เตาทุเรียง ซึ่งเป็นเตาเผาเครื่องสังคโลก ยังเป็นที่ตั้งอุทยานแห่งชาติ ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เพื่อรักษาสภาพป่าอันเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร และทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่าสวยงาม เป็นมรดกของชาติสืบไปอีกด้วย มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่


:: ด้านธรรมชาติที่สวยงาม ::
น้ำตกตาดดาว มีต้นกำเนิดจากห้วยแม่ท่าแพ ตกผ่านหน้าผา สูงประมาณ 30 เมตร มีถึง 3 ชั้น เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่สวยงามมาก ลักษณะของธารน้ำตกจะแยกเป็น 2 สาย ไหลลงสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง ในช่วงฤดูที่มีน้ำมาก ละอองของน้ำตกจะฟุ้งกระจายไปทั่ว และสะท้อนแสงแดดเกิดเป็นสายรุ้งงดงาม น้ำตกแห่งนี้ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 3 กิโลเมตร ต้องเดินเลียบลำห้วยไป สภาพทางช่วงสุดท้ายค่อนข้างชัน


น้ำตกตาดเดือน เป็นน้ำตกที่อยู่ในห้วยท่าแพ สูงประมาณ 10 เมตร ลำน้ำไหลคดเคี้ยวตกลงแอ่งน้ำลึก สามารถลงเล่นน้ำได้ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติเพียง 300 เมตร


โป่งน้ำเดือด อยู่ห่างจากบ้านป่าคาประมาณ 500 เมตร น้ำใสสะอาด มีลักษณะเหมือนเดือดตลอดเวลา แต่มีกลิ่นคล้ายแก๊สไข่เน่าระเหยออกมาด้วย ปัจจุบันถูกทำลายไปแล้วโดยพวกเหมืองแร่เหลือแต่น้ำอุ่นในฤดูหนาว


น้ำตกห้วยทรายขาว เกิดจากลำห้วยทรายขาว มี 7 ชั้น ลดหลั่นกันไปอยู่ใจกลางขุนเขาและแมกไม้อันสงบเงียบ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 3 กิโลเมตร


ถ้ำธาราวสันต์ เป็นถ้ำหินปูนที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก ลักษณะเป็นลานกว้างเป็นชั้นๆ ภายในถ้ำมีค้างคาวอาศัยอยู่ จากปากถ้ำต้องไต่เขาลงไปในถ้ำตามซอกหิน มีอุโมงค์ทางเดิน ที่เป็นผนังหินของภูเขาสองลูกมาชนกัน ผ่านอุโมงค์ที่คล้ายธารน้ำไหล ผนังหินเป็นหินที่มีลักษณะคล้ายหินอ่อน และมีบริเวณหนึ่งเป็นหินทรายรูปหัวสิงโต

จากบริเวณนี้จะไปออกพ้นขึ้นเหนือถ้ำบนเชิงหน้าผา และทางด้านซ้ายมือ มีทางเดินลงไปในอีกถ้ำหนึ่ง ซึ่งภายในค่อนข้างมืด เป็นถ้ำโล่ง มีค้างคาวอาศัยอยู่มาก รอบบริเวณพบพรรณไม้และสัตว์ป่าได้ทั่วไป เช่น จันทน์ผา เลียงผา เป็นต้น ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 1.5 กิโลเมตร โดยไปตามทางร่องน้ำเก่า ซึ่งผ่านป่าดงดิบอันร่มครึ้ม บางช่วงจะผ่านป่าสัก


ถ้ำค้างคาว เป็นถ้ำขนาดใหญ่ที่มีหินงอกหินย้อยสวยงามมาก และเป็นที่อยู่อาศัยของค้างคาวนับแสนตัว อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 20 กิโลเมตร


น้ำตกแม่สาน ต้นกำเนิดจากห้วยแม่สาน เป็นน้ำตกหินปูนมีหลายชั้น ไม่สูงมากนัก ลดหลั่นกันสวยงาม อยู่ใกล้กับ ถ้ำแม่สาน บริเวณเขาผาจ่อ ซึ่งเป็นถ้ำขนาดใหญ่ มีหินงอกหินย้อยสวยงามมาก ภายในถ้ำเป็นที่อยู่ของค้างคาวนับแสนตัว อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 25 กิโลเมตร ใกล้หมู่บ้านแม่สาน


น้ำตกปากะญอ เป็นน้ำตกที่สวยงาม มีหลายชั้น บางชั้นเป็นลักษณะของสไลด์เดอร์ สูงสวยงาม อยู่บริเวณทิศตะวันออกเฉียงเหนือของที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ห่างประมาณ 12 กิโลเมตร ใกล้หมู่บ้านห้วยหยวก



:: สิ่งอำนวยความสะดวก ::
ห้องสุขาชาย มีห้องสุขาชายให้บริการ


ห้องสุขาหญิง มีห้องสุขาหญิงให้บริการ


ที่พักแรม/บ้านพัก อุทยานแห่งชาติได้จัดเตรียมบ้านพักไว้ให้บริการในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ


สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียด และสำรองที่พักเต็นท์ได้กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง


ที่จอดรถ มีลานจอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว 2 แห่ง ได้แก่
-ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
-บริเวณน้ำตกตาดเดือน


ร้านขายเครื่องดื่ม/ร้านกาแฟ บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ มีร้านอาหารและเครื่องดื่มสำหรับบริการนักท่องเที่ยว เปิดบริการตั้งแต่เวลา 8.30-16.30 น.


ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เพื่อศึกษาหาข้อมูลเบื้องต้นก่อนไปท่องเที่ยว ในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ เปิดให้บริการตั้งแต่ 8.30 - 16.30



:: อุทยานแห่งชาติรามคำแหง ::

:: ข้อมูลทั่วไป ::
อุทยานแห่งชาติรามคำแหง มีเนื้อที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่ อำเภอบ้านด่านลานหอย อำเภอคีรีมาศ และอำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย เป็นอุทยานแห่งชาติทางประวัติศาสตร์ ประกอบด้วย ปูชนียวัตถุอันเป็นโบราณสถานสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี มีสภาพป่าอันอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ตลอดจนมีสภาพธรรมชาติ และทิวทัศน์ที่สวยงาม เช่น น้ำตกสายรุ้ง อุทยานแห่งชาติรามคำแหงมีเนื้อที่ประมาณ 213,125 ไร่ หรือ 341 ตารางกิโลเมตร

กรมป่าไม้ได้ประกาศให้ป่าเขาหลวง เป็นป่าสงวนแห่งชาติตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2512 หลังจากนั้นกรมป่าไม้มีหนังสือที่ กส 0706/2978 ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2517 เรื่อง การเลือกพื้นที่เพื่อจัดตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และอุทยานแห่งชาติ ให้จังหวัดทุกจังหวัด ประสานงานกับป่าไม้เขต ดำเนินการตรวจสอบพื้นที่ป่าไม้ในท้องที่แต่ละเขตว่า บริเวณใดบ้างเหมาะที่จะจัดเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรืออุทยานแห่งชาติ จากการสำรวจจังหวัดสุโขทัยได้มีหนังสือที่ สท 0009/1370 ลงวันที่ 15 กรกฎาคม 2517 ส่งสำเนาหนังสือจังหวัดที่ได้ดำเนินการติดต่อประสานงานกับป่าไม้เขตตากมายังกรมป่าไม้ เพื่อให้พิจารณาจัดตั้งอุทยานแห่งชาติในบริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาหลวง ท้องที่อำเภอคีรีมาศ อำเภอบ้านด่านลานหอย และอำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย เนื่องจากป่าแห่งนี้มีทรัพยากรที่สำคัญ น้ำตก ทิวทัศน์ที่สวยงามและมีปูชนียวัตถุ อันเป็นโบราณสถานสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้มีหนังสือที่ 177/2518 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2518 ให้นายเชาวลิต เลิศชยันตี นักวิชาการป่าไม้ตรี ไปดำเนินการสำรวจหาข้อมูล ปรากฏว่า ป่าเขาหลวงมีสภาพป่าธรรมชาติสมบูรณ์มีทิวทัศน์สวยงาม เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร และเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์สมัยกรุงสุโขทัย เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ดังนั้นในเดือนเมษายน พ.ศ. 2518 กองอุทยานแห่งชาติ จึงเริ่มดำเนินการจัดตั้งป่าเขาหลวงเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยใช้ชื่อว่า “อุทยานแห่งชาติรามคำแหง” ซึ่งได้อัญเชิญสมญานามของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระมหากษัตริย์ไทย ผู้ทรงแสนยานุภาพเป็นอัจฉริยะ ทางด้านความคิดของกรุงสุโขทัย มาเป็นชื่อของอุทยานแห่งชาติ เพื่อเทอดพระเกียรติแด่องค์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช และเป็นสิริมงคลแก่อุทยานแห่งชาติ ตลอดจนเพื่อเป็นการรำลึกถึง สถานที่อันมีค่าทางประวัติศาสตร์ชาติไทย ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย กรมป่าไม้จึงได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติในคราวประชุมครั้งที่ 2/2518 เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2518 เห็นชอบในหลักการให้กำหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยมีพระราชกฤษฎีกา กำหนดบริเวณที่ดินป่าเขาหลวง ในท้องที่ตำบลบ้านด่าน ตำบลลานหอย อำเภอบ้านด่านลานหอย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย และตำบลบ้านป้อม ตำบลคีรีมาศ อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 97 ตอนที่ 175 ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2523 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 18 ของประเทศ


:: ลักษณะภูมิประเทศ ::
พื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติรามคำแหง มีภูมิประเทศเป็นเทือกเขาขนาดใหญ่ ที่ตั้งสูงขึ้นไปจากที่ราบคล้ายจอมปลวก ซึ่งแยกตัวจากเทือกเขาอื่นโดยเด่นชัด มีลักษณะเป็นเขาสูงสลับซับซ้อน ทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ ระหว่างจังหวัดกำแพงเพชรและสุโขทัย มีภูเขาที่สูงที่สุดคือ “เขาหลวง” ประกอบด้วยเขานารายณ์ สูง 1,160 เมตร เขาพระเจดีย์ สูง 1,185 เมตร เขาภูคาและเขาพระแม่ย่า สูง 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารหลายสายซึ่งไหลรวมกันลงสู่แม่น้ำยม ประกอบด้วย คลองตาเจ็ก คลองเสาหอ คลองวังเงิน คลองเนินคลี คลองด้วงงาม คลองลานทอง คลองมะซาง และคลองเพชรหึง เป็นต้น


:: ลักษณะภูมิอากาศ ::
บริเวณอุทยานแห่งชาติรามคำแหง จัดอยู่ในภูมิอากาศแบบฝนตกชุก สลับแห้งแล้งในเขตร้อน ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม มีอากาศร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในช่วงเดือนเมษายนประมาณ 31 องศาเซลเซียส แต่อากาศเย็นในตอนกลางคืน ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม มีปริมาณฝนมากในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,323 มิลลิเมตรต่อปี และฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ มีอากาศหนาวเย็นสบาย โดยเฉพาะบนยอดเขาหลวง อุณหภูมิจะหนาวเย็นในเวลากลางคืน ช่วงที่อากาศเย็นสบายที่สุดระหว่างเดือนธันวาคม – มกราคม อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 27.6 องศาเซลเซียส


:: พรรณไม้และสัตว์ป่า ::
พื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติรามคำแหง ปกคลุมไปด้วยป่าเต็งรัง รองลงมาคือ ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขา ตามลำดับ

ป่าเต็งรัง พบตั้งแต่พื้นที่ระดับต่ำขึ้นไป ตามไหล่เขาและสันเขาที่แห้งแล้ง พื้นที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 140-900 เมตร ซึ่งมีดินตื้นและอุดมสมบูรณ์ต่ำ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง เหมือดหลวง มะเกิ้ม ตาลเหลือง แข้งกวาง รักขน สารภีป่า ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ ขางครั่ง นมแมว ย่านลิเภา เป้ง ปรง เป็นต้น

ป่าเบญจพรรณ ที่พบส่วนใหญ่ จะอยู่ตามร่องห้วยและหุบเขาที่ชื้นปานกลาง แต่แห้งแล้งมากในช่วงฤดูแล้ง โดยพบตามร่องห้วยในบริเวณที่มีป่าเต็งรังอยู่ตามไหล่เขาและสันเขา ตามพื้นที่รอยต่อกับป่าดิบแล้งที่มีสภาพความชุ่มชื้นน้อยลง และพื้นที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-800 เมตร พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เปล้าหลวง ตีนนก เครือออน อุโลก ตะแบกเปลือกบาง แดง ตะคร้อ ปอยาบ แคทรายงิ้วป่า เค็ด ไผ่ไร่ ไผ่ซางนวล ฯลฯ พืชพื้นล่างที่พบมากได้แก่ หวายขม กระทือ มะแฮะนก และเขิงแข้งม้า เป็นต้น

ป่าดิบแล้ง พบตามหุบเขาที่ชุ่มชื้นเกือบตลอดทั้งปี จากพื้นล่างขึ้นไปตามภูเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 150-900 เมตร พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ยางแดง ปอสลักพาด คำไก่ มะไฟ เลือดควายใบใหญ่ เสลาดำ ดีหมี จิก ไผ่หก ไผ่ไร่ ไผ่เฮียะ ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ หวายขม หวายโป่ง หวายนิ้ว เขิงช้าง และว่านนกคุ้ม เป็นต้น สำหรับพื้นที่ระดับสูงจากระดับน้ำทะเล 900 เมตรขึ้นไปเป็น

ป่าดิบเขา ซึ่งกระจายอยู่เป็นหย่อมเล็กๆ ตามยอดเขา และพบทุ่งโล่งที่มีหญ้าปกคลุมสลับกันอยู่ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ตองลาด จำปีป่า มันปลา สอยดาว ไคร้ขน หมี่ปัง อบเชย ตองหอม ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ คนางใบหยก เขิงแข้งม้า ก๋ง เป็นต้น

สัตว์ป่าในพื้นที่อุทยานแห่งชาติรามคำแหง ประกอบด้วย เก้ง หมูป่า ลิงกัง ชะมดเช็ด อีเห็นเครือ ลิ่นใหญ่ ค้างคาวเล็บกุด ค้างคาวขอบหูกลาง กระรอกท้องแดง กระรอกหลากสี กระจ้อน นกเขียวก้านตองหน้าผากสีทอง นกแซงแซวหางปลา นกจับแมลงจุกดำ นกปรอดเหลืองหัวจุก นกระจิ๊ดธรรมดา นกกินแมลงอกเหลือง นกตีทอง นกบั้งรอกใหญ่ กิ้งก่าเขาหนามสั้น จิ้งจกหางหนาม จิ้งเหลนหางยาว ตุ๊กแกบ้าน ตะกวด งูลายสาบคอแดง งูเขียวหัวจิ้งจกป่า งูเหลือม อึ่งอ่างบ้าน กบว้าก อึ่งน้ำเต้า และกบหลังไพล เป็นต้น ในบริเวณแหล่งน้ำพบปลาหลากชนิด เช่น ปลาแขยง ปลาซิวควาย ปลาสร้อยขาว ปลาตะเพียนน้ำตก ปลาเข็ม และปลากระดี่ เป็นต้น


:: ที่ตั้งและการเดินทาง ::
อุทยานแห่งชาติรามคำแหง
ตู้ ปณ.1 อ. คีรีมาศ จ. สุโขทัย 64160
โทรศัพท์ : 0 5591 0000-1 โทรสาร : 0 5591 0000

รถยนต์
การเดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติรามคำแหงสามารถเดินทางได้ 2 เส้นทาง คือ

- จากกรุงเทพฯ เดินทางสู่ถนนกำแพงเพชร ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 ถึงอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย แยกซ้ายเข้าสู่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติอีกประมาณ 12 กิโลเมตร

- จากกรุงเทพฯ เดินทางสู่พิษณุโลก ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117 แล้วเดินทางต่อไปจังหวัดสุโขทัย ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ผ่านอำเภอกงไกรลาศ เข้าสู่อำเภอเมืองสุโขทัย แล้วเดินทางสู่อำเภอคีรีมาศ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 ระยะทางประมาณ 19 กิโลเมตร และแยกขวาที่อำเภอคีรีมาศ เข้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติอีกประมาณ 12 กิโลเมตร


:: แหล่งท่องเที่ยว ::
อุทยานแห่งชาติรามคำแหง เป็นอุทยานแห่งชาติที่พบหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์มากมาย ได้แก่ รอยพระพุทธบาท อยู่ที่เชิงเขาถ้ำพระบาท ปรางค์เขาปู่จา ซึ่งเป็นศิลปะเขมรสมัยบาปวน ถนนพระร่วง ที่เชื่อมระหว่างเมืองกำแพงเพชรผ่านสุโขทัยไปพบกับศรีสัชนาลัย ซึ่งเชื่อว่าสร้างขึ้นเมื่อกว่า 700 ปีก่อน ปล่องนางนาค และเขื่อนสรีดภงส์ ซึ่งเป็นทำนบกั้นน้ำในสมัยสุโขทัย นอกจากนี้ ยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่น่าสนใจดังนี้


:: ด้านธรรมชาติที่สวยงาม ::
เขาหลวง เป็นภูเขาที่มียอดเขาสูงที่สุด อยู่ทางด้านทิศใต้ของเมืองสุโขทัย รูปพรรณสัณฐาน คล้ายสตรีนอนสยายผม ที่มีส่วนใบหน้าเคลียอยู่กับเมฆหมอกตลอดเวลา บนยอดเขามีทิวทัศน์สวยงาม ประกอบไปด้วยยอดเขาสูง ที่ปกคลุมด้วยทุ่งหญ้าธรรมชาติ บริเวณผานารายณ์ เป็นจุดที่สามารถไปยืนชมทิวทัศน์กว้างไกลของทุ่งหญ้า และผืนป่าดงดิบตามริมห้วยชุ่มชื้น และยังเป็นจุดชมดวงอาทิตย์ขึ้นในยามเช้า และตกในยามเย็น จากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ มีเส้นทางเดินเท้าสู่ยอดเขาหลวงระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร โดยเป็นเส้นทางดิ่งชันขึ้นที่สูงตลอด ผู้ที่ต้องการพิชิตยอดเขาหลวง จึงต้องเตรียมร่างกายให้พร้อม ระหว่างทางจะพบกับสิ่งที่น่าสนใจเป็นระยะๆ ช่วงแรกผ่านไปตามป่าดงดิบแน่นทึบ เมื่อถึงต้นประดู่ใหญ่ที่ยืนต้นตระหง่านอยู่ริมทาง สภาพทางจะเริ่มชันขึ้นๆ ราวกับหน้าผา รวมระยะทาง 3 กิโลเมตร ระหว่างทางมีจุดให้พักชมทิวทัศน์ จนไปถึงจุดพักที่เรียกว่า น้ำดิบผามะหาด ซึ่งมีธารน้ำซับให้แวะพักล้างหน้าล้างตา จากนั้นทางจะลาดขึ้น จนกระทั่งถึงยอดเขาหลวง


ทุ่งหญ้าธรรมชาติ บนยอดเขาจะเป็นทุ่งหญ้าที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติมีเนื้อที่ประมาณ 3,000 ไร่ มีหญ้าหลายชนิดขึ้นอยู่รวมกัน บางชนิดเป็นพืชสมุนไพร โดยเฉพาะบริเวณสวนขวัญไทรงาม ไทรขนาดใหญ่ แผ่กิ่งก้านสาขาได้ลักษณะสวยงาม เหมาะสำหรับนั่งพักผ่อน อยู่ระหว่างทางขึ้นยอดเขาหลวง


สมุนไพร และว่าน ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติมีว่าน และสมุนไพรหลายร้อยชนิด เช่น โด่ไม่รู้ล้ม หอมไกลดง นางคุ้ม อบเชย หนุมานประสานกาย เสน่ห์สาวหลง หนุมานนั่งแท่น สบู่เลือด เพชรหน้าทั่ง เลือดค้างคาว รางจืด กระวาน กำลังเสือโคร่ง ฯลฯ


น้ำตกสายรุ้ง เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่สูงชันและสวยงาม เกิดจากต้นน้ำบริเวณเขาเจดีย์ มาเป็นลำธารคลองไผ่นา ไหลลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีโตรกผาสูงชันกว่าร้อยเมตร มีทั้งหมด 4 ชั้น น้ำตกชั้นบนสุด เป็นชั้นสูงใหญ่และงดงามมาก แต่ต้องเดินเท้าทวนสายน้ำตกขึ้นไปประมาณ 1.2 กิโลเมตร น้ำตกสายรุ้งมีน้ำตก เฉพาะในฤดูฝนเท่านั้น การเดินทางจากอำเภอคีรีมาศ ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 ไปประมาณ 16 กิโลเมตร แล้วมีทางแยกเข้าสู่บ้านใหม่เจริญผล เข้าไปประมาณ 9 กิโลเมตร จะพบทางแยกเข้าไปอีก 4 กิโลเมตร ถึงน้ำตก


อ่างเก็บน้ำคลองข้างใน เป็นแหล่งชมทัศนียภาพของทิวเขา วิถีชีวิตของผู้มีอาชีพหาปลา และในฤดูหนาวจะมีนกเป็ดน้ำเข้ามาอยู่ในอ่างเก็บน้ำเป็นจำนวนมาก เป็นจุดแวะพักก่อนที่จะเดินทาง ต่อไปยังที่ทำการอุทยานแห่งชาติรามคำแหง ประมาณ 12 กิโลเมตร


น้ำตกลำเกลียว เป็นน้ำตกขนาดกลางที่มีน้ำไหลตลอดปี น้ำใส โอบล้อมไปด้วยสภาพธรรมชาติที่สวยงาม ของป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้ง ที่แทรกตัวอยู่เป็นระยะๆ มีโขดหินขนาดใหญ่จำนวนมาก มีบรรยากาศที่เงียบสงบ ร่มรื่น เย็นสบาย และให้ความเป็นส่วนตัว การเดินทางใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1319 เมื่อถึงสี่แยกที่บ้านนาสระลอย เลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 150 กิโลเมตร เมื่อถึงที่ทำการหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติชั่วคราว (น้ำตกลำเกลียว) ต้องเดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ 4 กิโลเมตร จึงจะถึงตัวน้ำตกชั้นที่สูงสุด ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 20 กิโลเมตร


น้ำตกหินราง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นร่องหินที่มีน้ำไหลลงมาเป็นทางมีน้ำไหลเป็นบางฤดู


ถ้ำนารายณ์ ตั้งอยู่บริเวณทางขึ้นเขาหลวง ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 3 กิโลเมตร เดิมเป็นที่ประดิษฐานของเทวรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ซึ่งสลักจากหินทรายโบราณ ที่มีพุทธลักษณะคล้ายรูปพระนารายณ์ จึงทำให้ชาวบ้านเรียกขานเป็นชื่อถ้ำ ปัจจุบันได้ย้ายไปไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติรามคำแหง


ถ้ำพระแม่ย่า ตั้งอยู่ที่ตำบลนาเชิงคีรี อำเภอคีรีมาศ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 25 กิโลเมตร เป็นที่ประดิษฐานเดิมของพระแม่ย่า ซึ่งเป็นพระพุทธรูปโบราณสมัยสุโขทัย อันเป็นที่เคารพสักการะของชาวสุโขทัย ลักษณะคล้ายเพิงหินขนาดใหญ่ และด้านหลังเป็นถ้ำตื้น การเดินทางใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1319 เมื่อถึงสี่แยกบ้านขุนนาวัง เลี้ยวซ้ายผ่านเขากุดยายชีเข้าไปอีกประมาณ 12 กิโลเมตร ผ่านหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ รค.3 (ถ้ำพระแม่ย่า) ไปก็จะถึงถ้ำพระแม่ย่า


ลานพม่าลับหอก ตั้งอยู่ที่ตำบลศรีคีรีมาศ อำเภอคีรีมาศ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นลานหินทรายขนาดใหญ่ในลำน้ำ ซึ่งเดิมเป็นจุดพักทัพ และลับอาวุธของทหารพม่า ขณะที่เดินทางมารบกับไทยในสมัยสุโขทัย


พระร่วงวิ่งว่าว ตั้งอยู่ที่ตำบลศรีคีรีมาศ อำเภอคีรีมาศ มีตำนานเล่าขานว่า เดิมบริเวณนี้เป็นสถานที่ที่พระร่วงมาเล่นว่าว เคยมีประเพณีสักการบูชาสืบทอดกันมาแต่โบราณ ซึ่งเกิดขึ้นจาก ความเชื่อของชาวบ้านในพื้นที่ใกล้เคียง ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 6 กิโลเมตร


เส้นทางศึกษาธรรมชาติ อุทยานแห่งชาติรามคำแหง ได้จัดทำเส้นทางเดินป่าเพื่อศึกษาความหลากหลายของธรรมชาติไว้ 2 เส้นทาง ได้แก่

- เส้นทางศึกษาธรมชาติ สายที่ 1 อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติรามคำแหง 300 เมตร จุดเริ่มต้นอยู่ใกล้กับพื้นที่กางเต็นท์ ระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ในการศึกษาสภาพธรรมชาติของป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ลานสมุนไพรโบราณ ป่าเต็งรัง ลำน้ำ สภาพป่าธรรมชาติที่มีการทดแทนตลอดเวลา และน้ำตกหินราง

- เส้นทางศึกษาธรรมชาติ สายที่ 2 เป็นเส้นทางที่เหมาะกับกิจกรรมเดินทางไกล ในการศึกษาความหลากหลายทางธรรมชาติ และชมสวนสมุนไพรโบราณ จุดเริ่มต้นเดียวกับเส้นทางศึกษาธรรมชาติ สายที่ 1 ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง



:: สิ่งอำนวยความสะดวก ::
ที่พักแรม/บ้านพัก มีบ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียด และสำรองที่พักเต็นท์ได้กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง


ที่จอดรถ มีที่จอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


บริการอาหาร มีร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยว


ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.



จังหวัดสุโขทัย :: เทศกาล งานประเพณี

งานวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ในวันที่ 17 มกราคมของทุกปี ทางจังหวัดได้จัดให้มีงานวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ณ บริเวณอนุสาวรีย์ของพระองค์ท่าน เพื่อเป็นการรำลึกและเผยแพร่พระเกียรติคุณให้ขจรขจายไปทั่วในงานดังกล่าว จะมีการทำบุญตักบาตรและพิธีทางศาสนา ขบวนสักการะพ่อขุน การบวงสรวง การเล่นพลุ ตลอดจนนาฏศิลป์และมหรสพต่างๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน

ประเพณีงานบวชพระ ที่อำเภอศรีสัชนาลัย
หรือชาวบ้านเรียกว่า "บวชช้าง" เป็นงานประเพณีอุปสมบทของชาวบ้านหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย กำหนดการจัดงานวันที่ 7-8 เมษายน ของทุกปี ลักษณะเป็นการอุปสมบทหมู่ แห่ด้วยช้างเป็นขบวน ประมาณ 20-30 เชือก มีการตกแต่งนาคและช้างอย่างสวยสดงดงาม มีการประกวดกันระหว่างเจ้าภาพที่นัดหมายกันมาเป็นประจำทุกปี

งานประเพณีสรงน้ำโอยทาน
จัดขึ้นในวันสงกรานต์ของทุกปี ณ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย เป็นการสืบทอดงานประเพณีเก่าแก่ของสุโขทัย ดังหลักฐานที่ปรากฏในหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่ว่า "คนสุโขทัยนี้มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน" งานประกอบไปด้วยสิ่งที่น่าสนใจ อาทิ กิจกรรมทางศาสนา การประกวดผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน การแสดงนาฏศิลป์ และละครประกอบแสงเสียง การเล่นไฟ ขบวนแห่สงกรานต์ ฯลฯ

งานลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ
งานลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟเป็นงานประเพณีที่จังหวัดจัดขึ้นในวันเพ็ญเดือนสิบสองของทุกปี ณ บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ ลักษณะของงานประกอบด้วยการลอยกระทงจุดประทีปโคมไฟ จุดตะไลไฟพะเนียง การละเล่นพื้นบ้าน ขบวนแห่ต่างๆ และระบำโบราณคดีชุดสุโขทัย แสดงออกถึงวิถีชีวิตของชาวสุโขทัยตามศิลาจารึก ในบรรยากาศและ สิ่งแวดล้อมของโบราณสถานในบริเวณเมืองเก่าสุโขทัย นอกจากนี้ยังมีการแสดงแสงเสียง เกี่ยวกับประวัติศาสตร์อันรุ่งเรืองของอาณาจักรสุโขทัย

งานวันพิชิตยอดเขาหลวง
เป็นงานประจำปีที่จังหวัดสุโขทัยจัดให้นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไป ได้เดินทางขึ้นสู่ยอดเขาหลวง ในอุทยานแห่งชาติรามคำแหง อ. คีรีมาศ โดยจัดประมาณ เสาร์-อาทิตย์ที่สองของเดือนธันวาคม ผู้สนใจสอบถามรายละเอียด สามารถติดต่อได้ที่สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสุโขทัย โทร. (055) 612286


จังหวัดสุโขทัย :: ของฝาก ของที่ระลึก

สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก

เครื่องสังคโลก
เป็นเครื่องสังคโลกที่ทำเลียนแบบของเดิมได้เหมือนจริงและงดงามมาก เหมาะเป็นสินค้าที่ระลึกอย่างยิ่ง อีกทั้งราคายังย่อมเยา

เครื่องปั้นดินเผาทุ่งหลวง
อำเภอคีรีมาศ เป็นงานดินเผาที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นหม้อรูปต่างๆ มีลายฉลุ หรือเป็นรูปสัตว์ตัวเล็กตัวน้อย เช่น กบ อึ่งอ่าง สุนัข

ทองโบราณ
สินค้าที่ระลึกที่มีชื่อเสียง คุณค่าสูงทั้งด้านวัตถุและฝีมือช่างของ อ.ศรีสัชนาลัย ทำขึ้นใหม่จากฝีมือคนท้องถิ่นโดยไม่ใช้เครื่องจักรใด ๆ ช่วย โดยทำเลียนแบบเครื่องประดับโบราณสุโขทัย เช่น สร้อยคอ สร้อยข้อมือ กำไล ต่างหู แหวน เป็นต้น

เงินโบราณ
เพิ่งถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อไม่นานมานี้ เพื่อสร้างงานและรายได้ให้แก่ชาวบ้าน เป็นงานฝีมือแท้ๆ ที่ใช้ความประณีตในแต่ละขั้นตอน ทำเลียนแบบเครื่องทองโบราณ หาชมได้ตามร้านเครื่องเงินในเขต อ. ศรีสัชนาลัย

ขนมเกลียว
เป็นของฝากประเภทขบเคี้ยวที่ขึ้นชื่ออีกชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งหมี่ผสมไข่ ปรุงรสด้วยพริกไทย เกลือ เคล้าให้เข้ากัน ก่อนจะนำมาปั้นเป็นเกลียว ทอดกรอบ คลุกน้ำตาล มีรสหวาน หาซื้อได้ตามร้านขายของฝากทั่วไป หรือสามารถติดต่อซ้อโดยตรงที่ ร้านครูแอ๊ว โทร. 612-037 ร้านสุคนธา โทร. 612-112

ถั่วทอด
เป็นของฝากขึ้นชื่อของ อ. ศรีสำโรง จนมีคนขนานนามว่า "ถั่วทอดสองร้อยปี" เนื่องจากมีการถ่ายทอดสูตรดั้งเดิมจากรุ่นปู่ย่า มาสู่รุ่นหลาน ทำจากแป้งข้าวจ้าว แป้งหมี่ ไข่ กะทิ เกลือ พริกไทย และกลอยหั่น นำส่วนผสมทั้งหมดเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำไปทอดจนเหลืองกรอบ สามารถสั่งซื้อได้โดยตรงที่ ร้านลอนศิลป อ.ศรีสำโรง โทร. 681-443 และร้านถั่วทอดทั่วไปใน อ.ศรีสำโรง

กล้วยอบเนย
เป็นของฝากของ อ. คีรีมาศ คล้ายกับขนมรังนกซึ่งใช้มันเทศแต่ดัดแปลงมาใช้กล้วยแทน ทำมาจากกล้วยน้ำว้าดิบปอกเปลือกซอยขวางเป็นชิ้นบาง ๆ ผึ่งลมไว้ครึ่งวันก่อนจะนำไปปรุงรสด้วยเกลือ น้ำตาล และเนยครีม (คอฟฟี่เมท)

ผ้าหาดเสี้ยว
ในเขต อ. ศรีสัชนาลัย เป็นผ้าซิ่นตีนจกที่งดงามหลากหลายสี เปี่ยมไปด้วยคุณภาพ เป็นฝีมือของชาวไทยพวนที่อพยพมาจากเมืองพวน ทางตอนเหนือของเมืองเวียงจันทน์ ประเทศลาว

ผลิตภัณฑ์หินอ่อน
ของอำเภอทุ่งเสลี่ยม มีของที่ระลึกและสินค้าประเภท เช่น โต๊ะ เก้าอี้ แจกัน ที่เขี่ยบุหรี่


ร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึก (รหัสทางไกล 055)

- อำเภอเมือง

เครื่องปั้นดินเผา
ลุงแฟง หมู่ 3 ต. เมืองเก่า
ร้านคุณตา ต. ธานี โทร. 612112

ขายของฝากประเภทขบเคี้ยว
ร้านครูแอ๊ว ถ. ศรีอินทราทิตย์ ต. ธานี โทร. 612037

ศูนย์วัฒนธรรมสุโขทัย (น้ำค้าง) ถ. จรดวิถีถ่อง ต. เมืองเก่า โทร. 611049, 697022 อยู่ใกล้เมืองเก่าสุโขทัย จำหน่ายสินค้าพื้นเมืองทุกชนิด เช่น ผ้าทอ เครื่องจักสาน ผ้าหาดเสี้ยว ซิ่นตีนจก เครื่องข้าวตอกพระร่วง วัตถุโบราณ

ห้างหุ้นส่วนจำกัดโฟร์วี ถ.จรดวิถีถ่อง จำหน่าย สินค้าหินอ่อนและของที่ระลึกหินอ่อน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ แจกันที่เขี่ยบุหรี่ ที่ใส่ไม้จิ้มฟัน โทร. 612456, 612978

อาณาจักรพ่อกู สังคโลก หมู่ 3 ต. เมืองเก่า โทร. 612180, 697050 ก่อนถึงอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย 2 กิโลเมตร เป็นศูนย์อนุรักษ์เครื่องสังคโลกสุโขทัย และผลิตเครื่องสังคโลกด้วยรูปแบบและลวดลายสมัยสุโขทัย

- อำเภอคีรีมาศ

บ้านทุ่งหลวง ตั้งอยู่ตามเส้นทางสายสุโขทัย-กำแพงเพชร ไปประมาณ 15 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายเข้าบ้านทุ่งหลวง ซึ่งมีการปั้นหม้อดินเผาสืบต่อมาแต่โบราณ มีรูปทรงและลวดลายสวยงาม บางบ้านมีการปั้นตุ๊กตารูปสัตว์ต่างๆ และมีสินค้าไว้จำหน่ายแก่นักท่องเที่ยวด้วย ร้านแอ๋วคีรีมาศ ถ. สุขาภิบาล ต. ตะโหนด โทร. 695111 ขายของฝากประเภทขบเคี้ยว มีกล้วยอบเนยเป็นของที่ระลึกขึ้นชื่อ

- อำเภอศรีสัชนาลัย

บ้านหาดเสี้ยว เป็นแหล่งจำหน่ายผ้าทอพื้นเมือง เช่น ซิ่นตีนจก ผ้าขาวม้า ผ้าคลุมต่างๆ ผ้าทอหาดเสี้ยวเป็นผ้าที่มีลวดลายสวยงามและมีชื่อเสียงมาก เกือบทุกบ้านจะมีกี่ทอผ้าตั้งอยู่และมีร้านจำหน่ายผ้าพื้นเมืองหลายร้าน เช่น

ร้านเริง ถ. สวรรคโลก-ศรีสัชนาลัย ต. หาดเสี้ยว โทร. 671129

ร้านสาธร หมู่ 2 ต. หาดเสี้ยว โทร. 671143 มีพิพิธภัณฑ์ผ้าเก่าบ้านหาดเสี้ยว เปิดให้ชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00-18.00 น.

ร้านทำทองโบราณในอำเภอศรีสัชนาลัย


ร้านสมศักดิ์ วงศ์ใหญ่ หมู่ 3 ต. ศรีสัชนาลัย โทร. 679186-7

ร้านสมสมัย 95/1 ต. ศรีสัชนาลัย โทร. 679095

ร้านสุภาภรณ์ หมู่ 4 ต. ท่าชัย โทร. 679122

ร้านลำตัดเงินโบราณ หมู่ 3 ถ. สวรรคโลก-ศรีสัชนาลัย ต. ท่าชัย โทร. 679068

- อำเภอทุ่งเสลี่ยม

โรงงานหินอ่อน อำเภอทุ่งเสลี่ยม มีของที่ระลึกและสินค้าประเภทหินอ่อน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ แจกัน ที่เขี่ยบุหรี่ และของที่ระลึกหินอ่อนอื่นๆ นักท่องเที่ยวสามารถหาซื้อได้ตามเส้นทางสายทุ่งเสลี่ยมเถิน ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 2 นาที หรือที่ 201/1 หมู่ 2 ต. ทุ่งเสลี่ยม โทร. 659060, 659213

- อำเภอศรีสำโรง

ร้านถั่วทอดลอนศิลป์ ถ. สิริสมาลังค์ โทร. 681443


:: สารบัญเว็บไซท์ ::

:: ข้อมูล สถานที่ท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว จังหวัดสุโขทัย ::

สารบัญเว็บไซท์ > ท่องเที่ยว > ข้อมูล และสถานที่ท่องเที่ยว > ภาคเหนือ > สุโขทัย

จำนวนเว็บไซท์ในหมวดนี้ : 8 [ แนะนำเว็บไซท์ได้ที่นี่ ]


จังหวัดสุโขทัย
แนะนำข้อมูลทั่วไป สถานที่ท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว จองโรงแรม ที่พัก รีสอร์ท โรงแรม จังหวัดสุโขทัย แผนที่ การเดินทาง ร้านอาหาร เทศกาล งานประเพณี ของฝาก ประวัติความเป็นมา คำขวัญประจำจังหวัด
http://www.relaxzy.com/province/sukhothai/

จังหวัดสุโขทัย
ข้อมูลของจังหวัดสุโขทัย ประวัติจังหวัด ผู้บริหารจังหวัด หน่วยงานในจังหวัด ข้อมูลสำคัญจังหวัด ข้อม...
http://www.sukhothai.go.th

มรดกโลก
ข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติรา...
http://www.su.ac.th/sukhothai/

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสุโขทัย
แนะนำสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสุโขทัย ข่าวสารประชาสัมพันธ์ ข่าวประจำจังหวัดสุโขทัย แนะนำสถานที...
http://www.geocities.com/prsukhothai

สุโขทัยซิตี้
ข้อมูลการท่องเที่ยวจังหวัดสุโขทัย ข่าวสารการท่องเที่ยว แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว และรวมลิงค์การท่องเ...
http://www.sukhothaicity.com/

จังหวัดสุโขทัย
ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดสุโขทัย ความเป็นมา ประวัติศาสตร์ สถานที่ท่องเที่ยว ข้อมูลการเดินทาง เทศกาลง...
http://www.dekferfa.com

อุทยานแห่งชาติรามคำแหง
อุทยานแห่งชาติรามคำแหง มีเนื้อที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอบ้านด่านลานหอย อำเภอคีรีมาศ และอำเภอเม...
http://www.dnp.go.th/parkreserve/asp/style1/default.asp?npid=50&lg=1

อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย
สภาพทั่วไปเป็นภูเขาสลับซับซ้อน บางตอนเป็นภูเขาหินมีหน้าผาสูงทางทิศตะวันตกของพื้นที่ซึ่งเป็นภูเขาส...
http://www.dnp.go.th/parkreserve/asp/style1/default.asp?npid=56&lg=1


อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย

ข้อมูลทั่วไป

อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดสุโขทัยตามทางหลวงแผ่นดินสายสุโขทัย-ตาก ทางหลวงหมายเลข 12 ไปทางทิศตะวันตก 12 กิโลเมตร ถนนหลวงตัดผ่านกลางเมืองจากตะวันออกไปตะวันตก เมื่อผ่านเข้าเขตเมืองเก่าจะแลเห็นยอดพระเจดีย์แบบต่างๆ อันสง่างามและวิหารอันศักดิ์สิทธิ์ เปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น. อัตราค่าเข้าชมท่านละ 20 บาท

กำแพงเมืองสุโขทัย ตั้งอยู่ตำบลเมืองเก่า เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นกำแพงพูนดิน 3 ชั้น โดยการขุดเอาดินขึ้นมาถมเป็นกำแพงและพื้นดินที่ขุดขึ้นยังเป็นคูขังน้ำไว้ใช้สอยและเป็นกำแพงน้ำขึ้นอีก 2 ชั้น กำแพงด้านทิศเหนือจดทิศใต้ยาว 2,000 เมตร ด้านทิศตะวันตกยาว 1,600 เมตร มีประตูเมือง 4 ประตู ด้านเหนือเรียกว่า "ประตูศาลหลวง" ด้านใต้เรียกว่า "ประตูนะโม" ด้านทิศตะวันออกเรียกว่า "ประตูกำแพงหัก" ด้านทิศตะวันตกเรียกว่า "ประตูอ้อ" ภายนอกกำแพงเมืองในรัศมี 5 กิโลเมตร มีโบราณสถานประมาณ 70 แห่ง สร้างขึ้นไว้ในพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ ได้รับการบูรณะซ่อมแซมโดยกรมศิลปากร และได้รับการจัดตั้งให้เป็นมรดกโลกโดยองค์การ UNESCO ในปี 2537


การเดินทาง

การเดินทางไปอุทยานฯ จากตัวเมืองสุโขทัย นักท่องเที่ยวสามารถนั่งรถประจำทางสายเมืองเก่า (รถสองแถว) จอดรอบบริเวณที่ท่ารถใกล้ป้อมยามตำรวจ ห่างจากสะพานข้ามแม่น้ำยมไปทางฝั่งตะวันตกราว 200 เมตร มีรถออกทุก 20 นาที ค่าโดยสารคนละ 5 บาท ตั้งแต่ 06.00-18.00 น. ทุกวัน และจากอุทยานฯ มีรถจอดที่บริเวณลานจอดรถ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

สิ่งอำนวยความสะดวก

อัตราการเข้าชมโบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยต้องเสียค่าธรรมเนียมเข้าชมชาวไทย 20 บาท และการนำยานพาหนะ 4-6 ล้อ เข้าเขตโบราณสถานต้องเสียค่าธรรมเนียมอีก 30 บาท ส่วนพาหนะเกิน 6 ล้อ ไม่อนุญาตให้นำเข้า

กรณีเข้าชมเป็นหมู่เป็นคณะ และต้องการวิทยากรนำชม หรือนักท่องเที่ยวที่ต้องการสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับอุทยานฯ สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ต. เมืองเก่า อ. เมือง จ. สุโขทัย 64210 โทร. (055) 613241


จุดเด่นที่น่าสนใจ

ภายในกำแพงเมือง

วัดมหาธาตุ
เป็นวัดใหญ่อยู่กลางเมือง สร้างสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ มีพระเจดีย์ต่างๆ รวมถึง 200 องค์ นับเป็นวัดสำคัญประจำกรุงสุโขทัย มีพระเจดีย์มหาธาตุ ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ศิลปะแบบสุโขทัยแท้ตั้งเป็นเจดีย์ประธาน ล้อมรอบด้วยเจดีย์ 8 องค์ บนฐานเดียวกัน คือ ปรางค์ศิลาแลงตั้งอยู่ที่ทิศทั้ง 4 และเจดีย์แบบศรีวิชัยผสมลังกาก่อด้วยอิฐอยู่ที่มุม ด้านตะวันออกบนเจดีย์ประธานมีวิหารขนาดใหญ่ก่อด้วยศิลาแลง มีแท่นซึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ พระศรีศากยมุนี ปัจจุบันได้รับการเคลื่อนย้ายไปอยู่ที่วัดสุทัศน์ฯ กรุงเทพฯ ที่ด้านเหนือและด้านใต้เจดีย์มหาธาตุมีพระพุทธรูปยืนภายในซุ้มพระ เรียกว่า "พระอัฎฐารศ" ด้านใต้ยังพบแท่งหินเรียกว่า "ขอมดำดิน" อีกด้วย

ศาลาผาแดง
เป็นศาสนสถานตามคติศาสนาฮินดู ก่อด้วยศิลาแลง ส่วนยอดหักพังลงหมด รูปแบบทางสถาปัตยกรรม และประติมากรรมศิลาที่เป็นรูปเคารพเปรียบเทียบได้กับศิลปะของสมัยนครวัต (ราว พ.ศ. 1650-1720) จัดเป็นโบราณสถานที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในเมืองสุโขทัย

เนินปราสาทพระร่วง
หรือเขตพระราชวัง ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของวัดมหาธาตุ เป็นซากอาคารก่อด้วยอิฐ ขุดแต่งบูรณะแล้ว มีฐานบัวโดยรอบทำด้วยรูปปั้น สันนิษฐานว่าเนินแห่งนี้คือ ที่ตั้งของพระที่นั่ง หรือปราสาทที่ประทับ ของกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง ที่ครองกรุงสุโขทัยในกาลก่อน แต่องค์ปราสาทหาชิ้นดีไม่ได้แล้ว เพราะคงจะสร้างด้วยเครื่องไม้ เดี๋ยวนี้มีแต่ซากกระเบื้องมุงหลังคากระจัดกระจายทั่วไป ณ เนินปราสาทแห่งนี้เอง ที่ได้ค้นพบศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงและพระแท่นมนังคศิลา

วัดตระพังเงิน
(คำว่า "ตระพัง" หมายถึง สระน้ำ หรือหนองน้ำ) เป็นโบราณสถานสำคัญตั้งอยู่บริเวณขอบตระพังเงินด้านทิศตะวันตก มีเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือดอกบัวตูมเป็นประธาน บริเวณเรือนธาตุจะมีชั้นประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นประทับยืนทั้ง 4 ทิศ ด้านหน้าเป็นวิหาร 7 ห้อง ฐานและเสาก่อด้วยศิลาแลง ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย บริเวณตรงกลางตระพังเป็นเกาะขนาดเล็ก เป็นที่ตั้งของพระอุโบสถ บริเวณตระพังจะมีดอกบัวขึ้นอยู่รอบสระสวยงามมาก

พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2518 ตั้งอยู่ริมถนนจรดวิถีถ่องทางทิศเหนือของวัดมหาธาตุ ลักษณะพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นพระบรมรูปหล่อด้วยโลหะทองเหลืองผสมทองแดงรมดำ ขนาด 2 เท่าขององค์จริง สูง 3 เมตร ประทับนั่งห้อยพระบาทบนพระแท่นมนังคศิลาบาตร พระหัตถ์ขวาถือคัมภีร์ พระหัตถ์ซ้ายอยู่ในท่าทรงสั่งสอนประชาชน พระแท่นด้านซ้ายมีพานวางพระขรรค์ไว้ข้างๆ ลักษณะพระพักตร์เหมือนอย่างพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยตอนต้น ถ่ายทอดความรู้สึกว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีน้ำพระทัยเมตตากรุณา ยุติธรรมและเฉียบขาด ที่ด้านข้างมีภาพแผ่นจำหลักจารึกเหตุการณ์เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระองค์ตามที่อ้างถึงในจารึกสุโขทัย

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง
เป็นสถานที่รวบรวม และจัดแสดงศิลปโบราณที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีภายในเมืองสุโขทัย และที่ประชาชนมอบให้ บริเวณพิพิธภัณฑ์จะแบ่งส่วนการแสดงโบราณวัตถุไว้เป็น 3 ส่วนคือ

1. อาคารลายสือไท 700 ปี เป็นอาคารใหม่ที่ตั้งอยู่ด้านหน้าทางเข้าอาคารใหญ่ เป็นที่จัดแสดงศิลปวัตถุสมัยสุโขทัย เช่น พระพุทธรูป เครื่องใช้ ถ้วยชาม สังคโลก ศิลาจารึก ฯลฯ

2. อาคารพิพิธภัณฑ์ แบ่งออกเป็น 2 ชั้น แสดงศิลปวัตถุในยุดสมัยต่างๆ มากมาย อาทิ พระพุทธรูปสำริด โอ่ง สังคโลก เครื่องศาสตราวุธ เครื่องถ้วยชามสังคโลก เงินตรา ท่อน้ำระบบชลประทานสุโขทัย ฯลฯ

3. พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง จะอยู่ด้านนอกโดยรอบอาคารใหญ่ เป็นที่ตั้งแสดงศิลปะวัตถุโบราณต่างๆ อาทิ พระพุทธรูปศิลา แผ่นจำหลัก รูปทรงอาคารไทยแบบต่างๆ เตาทุเรียงจำลอง เสมาธรรมจักศิลา เป็นต้น

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง เปิดให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเข้าชมได้ทุกวัน ยกเว้น วันหยุดนักขัตฤกษ์ ระหว่างเวลา 09.00-16.00 น. ค่าธรรมเนียมเข้าชม ชาวไทยคนละ 5 บาท ชาวต่างประเทศคนละ 10 บาท กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะควรติดต่อล่วงหน้าที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง ถนนจรดวิถีถ่อง ตำบลเมือง จังหวัดสุโขทัย 64210 โทร. (055) 612167

นอกกำแพงเมืองด้านเหนือ

ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
เป็นอาคารทรงไทยสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัย ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ ใกล้กับวัดพระพายหลวง เป็นศูนย์ให้ข้อมูลและอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย รวมทั้งจัดแสดงแบบจำลองของโบราณสถานต่างๆ ในเขตเมืองเก่าสุโขทัย นักท่องเที่ยวควรเริ่มต้นชมอุทยานฯ จากจุดนี้เพื่อจะได้เห็นภาพรวมของสุโขทัยในอดีต


อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย

แหล่งโบราณคดีเครื่องปั้นดินเผาสุโขทัย (เตาทุเรียง)
อยู่ใกล้วัดพระพายหลวงบริเวณแนวคูเมืองเก่าที่เรียกว่า "แม่โจน" เป็นเตาเผาถ้วยชามสมัยสุโขทัย มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 ค้นพบเตาโดยรอบ 49 เตา ซึ่งส่วนใหญ่อยู่บริเวณคันคูแม่น้ำโจนด้านทิศเหนือ 37 เตา ด้านทิศใต้ข้างกำแพงเมือง 9 เตา และด้านทิศตะวันออก 3 เตา เตาเผาเครื่องสังคโลกมีลักษณะคล้ายประทุนเกวียนขนาดกว้าง 1.50-2.00 เมตร ยาว 4.5 เมตร เครื่องปั้นดินเผาที่พบบริเวณนี้ส่วนใหญ่เป็นประเภทถ้วยชามมีขนาดใหญ่ น้ำยาเคลือบขุ่นสีเทาแกมเหลือง มีลายเขียนสีดำ ส่วนใหญ่ทำเป็นรูปดอกไม้ ปลา และจักร

วัดพระพายหลวง
ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองทางด้านทิศเหนือ เป็นโบราณสถานขนาดใหญ่มีความสำคัญเป็นอันดับสองรองจากวัดมหาธาตุ วัดนี้มีคูน้ำล้อมรอบ 3 ชั้น มีปรางค์ 3 องค์ เป็นปรางค์ประธานของวัด ทำด้วยศิลาแลง แบบศิลปะลพบุรี ยังคงเห็นลายปูนปั้นที่ปรางค์ด้านทิศเหนือ ด้านหน้าปรางค์มีฐานวิหารเจดีย์ที่ปรักหักพัง ทางด้านประติมากรรม มีพระพุทธรูปปูนปั้นปางต่างๆ เช่น นั่ง ยืน เดิน นอน ซึ่งส่วนใหญ่ชำรุดแล้วประดิษฐานที่มณฑปและซุ้มเจดีย์

วัดศรีชุม
ตั้งอยู่ห่างจากวัดพระพายหลวงไปทางทิศตะวันตก 800 เมตร เป็นวัดที่ประดิษฐานพระอจนะ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย และลักษณะของวิหารอันเป็นที่ประดิษฐานพระอจนะนั้น สร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมลักษณะคล้ายมณฑป แต่หลังคาพังทลายลงมาหมดแล้ว เหลือเพียงผนังทั้งสี่ด้าน ผนังแต่ละด้านก่ออิฐถือปูนอย่างแน่นหนา ผนังทางด้านใต้มีช่องให้คนเข้าไปภายใน และเดินขึ้นไปตามทางบันไดแคบๆ ถึงผนังด้านข้างขององค์พระอจนะ หรือสามารถขึ้นไปถึงสันผนังด้านบนได้ ภายในช่องกำแพงตามฝาผนังมีภาพเขียนเก่าแก่แต่เลอะเลือนเกือบหมด ภาพเขียนนี้มีอายุเกือบ 700 ปี นอกจากนี้แล้วบนเพดานช่องบันไดยังมีแผ่นหินชนวนขนาดใหญ่แกะสลักลวดลายต่างๆ ไว้มีจำนวนทั้งหมด 50 ภาพ เมื่อเดินตามช่องทางบันไดขึ้นไปจะโผล่บนหลังคาวิหารมองเห็นทิวทัศน์อันงดงามของเมืองเก่าสุโขทัยได้โดยรอบ

เพราะเหตุใดวิหารวัดศรีชุมจึงมีความเร้นลับซ่อนอยู่อย่างนี้ เรื่องนี้หากพิจารณากันอย่างลึกซึ้งแล้ว จะพบว่าพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วงทรงพระปรีชาสามารถในด้านปลุกปลอบใจทหารหาญและด้านอื่นๆ อีกมาก เพราะผนังด้านข้างขององค์พระอจนะมีช่องเล็กๆ ถ้าหากใครแอบเข้าไปทางอุโมงค์ แล้วไปโผล่ที่ช่องนี้และพูดออกมาดังๆ ผู้ที่อยู่ภายในวิหารจะต้องนึกว่าพระอจนะพูดได้ และเสียงพูดนั้นจะกังวานน่าเกรงขาม เพราะวิหารนี้ไม่มีหน้าต่าง แต่เดิมคงมีหลังคาเป็นรูปโค้งคล้ายโดม

นอกกำแพงเมืองด้านตะวันตก

วัดสะพานหิน
โบราณสถานด้านทิศตะวันตกของกำแพงเมืองที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง วัดนี้ตั้งอยู่บนเนินลูกเตี้ย สูงประมาณ 200 เมตร มีทางเดินปูด้วยหินชนวนแผ่นบางๆ จนถึงบริเวณลานวัด มีวิหารก่อด้วยอิฐ มีเสาก่อด้วยศิลาแลง 4 แถว 5 ห้อง ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระปางประทานอภัยสูง 12.50 เมตร เรียกว่า "พระอัฏฐารศ"

เขื่อนสรีดภงค์ หรือทำนบพระร่วง
ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเมืองเก่า ทำนบนี้เป็นเขื่อนดิน (คันดิน) สำหรับกั้นน้ำอยู่ระหว่างซอกเขาระหว่างเขาพระบาทใหญ่และเขากิ่วอ้ายมา เพื่อกักน้ำและชักน้ำไปตามคลองส่งน้ำมาเข้ากำแพงเมืองเข้าสระตระพังเงิน ตระพังทอง เพื่อนำไปใช้ในเมืองและพระราชวังในสมัยโบราณ ซึ่งปัจจุบันกรมชลประทานได้ปรับปรุงบูรณะและซ่อมแซมขึ้นใหม่

นอกกำแพงเมืองด้านใต้

วัดเจดีย์สี่ห้อง
โบราณสถานที่น่าสนใจ คือ เจดีย์ที่เข้าใจว่าเป็นทรงลังกา ที่ฐานมีลวดลายปูนปั้นเป็นรูปสิงห์ขี่ช้าง รูปเทวดาทั้งผู้หญิง ผู้ชาย ถือแจกัน ดอกไม้ ลวดลายสวยงามมาก

วัดเชตุพน
ศิลปกรรมที่น่าสนใจ คือ มณฑปสร้างด้วยหินชนวน ประดิษฐานพระพุทธรูปสี่อิริยาบถ คือ พระพุทธรูปแบบนั่ง ยืน เดิน นอน ภายในมณฑปเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป มีการใช้วัสดุทั้งอิฐ หินชนวน ศิลาแลง ในการก่อสร้างที่ประสานกันอย่างกลมกลืน ได้มีการพบศิลาจารึกหลักที่ 58 จารึกในปี พ.ศ. 2057 กล่าวว่าเจ้าธรรมรังสีสร้างพระพุทธรูปในวัดนี้

นอกกำแพงเมืองด้านตะวันออก

วัดช้างล้อม
เป็นโบราณสถานที่สำคัญ มีเจดีย์ทรงกลมแบบลังกาเป็นประธานของวัด รอบฐานเจดีย์ ประดับด้วยปูนปั้นเป็นรูปช้างโผล่ครึ่งตัว ด้านหน้ามีฐานวิหารก่อด้วยอิฐ และยังมีฐานกำแพงแก้วก่อด้วยอิฐล้อมรอบ

วัดตระพังทองหลาง
ศิลปกรรมที่สำคัญ คือ มณฑปรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ก่อด้วยอิฐ ผนังด้านนอกประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น ตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์ ตอนประทานเทศนาโปรดพระพุทธบิดากับกษัตริย์ศากยราช และตอนเสด็จโปรดนางพิมพา นับเป็นศิลปกรรมชิ้นเอกของสุโขทัย บริเวณพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ครอบคลุมพื้นที่กว่า 70 ตารางกิโลเมตร และมีโบราณสถานสำคัญที่น่าชมอีกมากมาย กรณีนักท่องเที่ยวมีเวลามาก โบราณสถานที่ควรชม นอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้น มีดังนี้

ทิศตะวันออก
วัดเจดีย์สูง วัดเกาะไม้แดง
วัดหอดพยอม
ทิศตะวันตก
วัดพระบาทน้อย วัดเจดีย์งาม
วัดมังกร วัดอรัญญิก วัดช้างรอบ
ทิศใต้
วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม
วัดต้นจัน วัดอโศการาม


:: อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย ::

:: ข้อมูลทั่วไป ::
ความเป็นมา : ในปี 2519 สำนักราชเลขาธิการ ได้มีหนังสือถึงกรมป่าไม้ ความว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระราชประสงค์สงวนป่าบริเวณตำบลแม่สำ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ซึ่งในบริเวณนี้ประกอบด้วย ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์และสัตว์ป่านานาชนิด ราษฎรในแถบนี้และใกล้เคียง ได้รับความสมบูรณ์จากน้ำที่เกิดจาก พื้นที่ต้นน้ำลำธารในพื้นที่ป่าแห่งนี้ กรมป่าไม้ควรสงวนไว้เป็นวนอุทยานซึ่ง ฯพณฯ พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ นายกรัฐมนตรี ได้พิจารณาแล้ว มีบัญชาให้ดำเนินการตามพระราชประสงค์"

กรมป่าไม้จึงได้ประชุมผู้แทนกองต่างๆ พิจารณาเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2519 และมีหนังสือให้กองจัดการป่าไม้ กองอุทยานแห่งชาติ และกองอนุรักษ์สัตว์ป่า แต่งตั้งผู้แทนของกองออกไปร่วมกับป่าไม้เขตตาก และจังหวัดสุโขทัย ดำเนินการตรวจสอบป่าโครงการแม่สิน-แม่สาน (สท.1) ซึ่งเป็นพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งคณะทำงานได้ร่วมกันตรวจสอบ และเห็นสมควรให้จัดป่าแห่งนี้บางส่วนเป็นอุทยานแห่งชาติ เฉพาะในพื้นที่ป่าส่วนที่เป็นต้นน้ำลำธาร กรมป่าไม้จึงมีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ ไปทำการสำรวจเบื้องต้น สภาพโครงการป่าโครงการแม่สิน-แม่สาน ซึ่งได้รับรายงานว่า พื้นที่ ดังกล่าวมีสภาพป่าเป็นต้นน้ำลำธาร พันธุ์ไม้มีค่า และสัตว์ป่านานาชนิด น้ำตกหลายแห่ง ตลอดจนทัศนียภาพที่สวยงามมากมาย มีสภาพเหมาะสมจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติได้

กรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีมติในคราวประชุมเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2521 เห็นชอบให้กำหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ และให้ใช้ชื่อว่า “อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย” โดยได้มีพระราชกฤษฎีกา กำหนดบริเวณที่ดินป่าแม่สินป่าแม่สาน ป่าแม่สูงฝั่งซ้าย และ ป่าแม่ท่าแพ ในท้องที่ตำบลแม่ล้น ตำบลแม่สำ ตำบลบ้านแก่ง อำเภอศรีสัชนาลัย และตำบลกลางดง อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2524 ซึ่งประกาศลงในพระราชกิจจานุเบกษา เล่ม 98 ตอนที่ 70 ลงวันที่ 8 พฤษภาคม 2524 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 26 ของประเทศ มีเนื้อที่ประมาณ 213.20 ตารางกิโลเมตร


:: ลักษณะภูมิประเทศ ::
สภาพทั่วไปเป็นภูเขาสลับซับซ้อน บางตอนเป็นภูเขาหิน มีหน้าผาสูงทางทิศตะวันตกของพื้นที่ซึ่งเป็นภูเขาสูง เช่น ดอยแม่วังช้าง ดอยแม่มอก มีแนวติดต่อกันจากเหนือจรดใต้ ลักษณะเป็นรูปปีกการอบพื้นที่ ซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ตั้งแต่ 300-1,200 เมตร โดยพื้นที่มีความลาดชัน ซึ่งเป็นข้อดีข้อหนึ่ง ที่เป็นอุปสรรคต่อการแผ้วถางป่ายึดครองพื้นที่ เพื่อทำการเกษตรกรรม ของราษฎรรอบพื้นที่ เป็นต้นกำเนิดของลำห้วยหลายสาย เช่น ห้วยทรายขาว ห้วยแม่ท่าแพ ห้วยแม่สาน ห้วยผาจ่อ และห้วยมะนาว เป็นต้น มีที่ราบตามริมห้วยช้างและบริเวณริมฝั่งแม่น้ำยม


:: ลักษณะภูมิอากาศ ::
อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย มีลักษณะอากาศคล้ายคลึงกันกับท้องถิ่นใกล้เคียง ของจังหวัดในภาคเหนือ สภาพอากาศในฤดูร้อนค่อนข้างร้อน อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยในเดือนเมษายน 38oC ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยประมาณ 1,433 มิลลิเมตร และฤดูหนาวจะมีอากาศหนาวจัด โดยเฉพาะระหว่างเดือนธันวาคม–กุมภาพันธ์ อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย ในเดือนมกราคม 16oC อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 27oC


:: พรรณไม้และสัตว์ป่า ::
สภาพป่า ประกอบไปด้วย ป่าเบญจพรรณ มีพื้นที่ประมาณร้อยละ 93.40 ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ พบมากในที่ลาดชัน ลาดเขา ริมห้วย พันธ์ไม้ที่พบมากได้แก่ กระเบา สัก คอแลน ชมพู่ป่า แดง มะค่าโมง ไผ่เฮียะ เป็นต้น รองลงมาเป็น ป่าเต็งรัง มีพื้นที่ประมาณร้อยละ 4.72 ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ พันธุ์ไม้ที่พบมากได้แก่ เต็ง รัง ประดู่ ตะแบก ตะคร้อ เป็นต้น และพื้นที่ที่เหลือจะเป็น ป่าดงดิบเขา พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ก่อเดือย ก่อนก ยางแดง เหมือด เป็นต้น

เนื่องจากมีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์และมีลำห้วยมากมาย จึงทำให้มีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่ ที่พบเห็นบ่อยได้แก่ เสือไฟ หมูป่า อีเห็นข้างลาย กระรอกหลากสี กระแตเหนือ ค้างคาว เหยี่ยว นกเขาใหญ่ นกจาบคาหัวสีส้ม เต่าเหลือง ฯลฯ ในบริเวณถ้ำธาราวสันต์และถ้ำผาจ่อ ซึ่งเป็นถ้ำหินปูน เป็นที่อยู่อาศัยของค้างคาวหน้ายักษ์ทศกรรณ ค้างคาวมงกุฎมลายู ค้างคาวแวมไพร์แปลงใหญ่ ค้างคาวเล็บกุด นอกจากนี้ยังพบว่า เป็นแหล่งสร้างรัง และเลี้ยงดูตัวอ่อนของนกเอี้ยงถ้ำ ที่หลบภัยตามธรรมชาติของเม่น และที่หาอาหารของหนูฟานเหลือง ในบริเวณริมลำห้วยและในลำธารต่างๆ ของอุทยานแห่งชาติเป็นที่อยู่อาศัยของ จิ้งเหลนห้วยท้องแดง กบห้วยขาปุ่ม กบทูด เขียดงู ปลาจาด ปลาก้าง ปลาค้อ ปูน้ำตก และหอยเจดีย์ เป็นต้น


:: ที่ตั้งและการเดินทาง ::
อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย
ตู้ ปณ.10 ต.บ้านแก่ง อ. ศรีสัชนาลัย จ. สุโขทัย 64130
โทรศัพท์ : 0 5591 0002-3

รถยนต์
จากอำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย เข้าถึงอุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย มีสองเส้นทางหลักด้วยกัน

- เริ่มจากอำเภอเมือง มาตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 สายเลี่ยงเมืองประมาณ 15 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาไปตามทางหลวงจังหวัด หมายเลข 1113 มาถึงสี่แยกสารจิตร แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงจังหวัด หมายเลข 1294 ประมาณ 40 กิโลเมตร เข้าสู่อุทยานแห่งชาติ รวมระยะทางทั้งหมดประมาณ 100 กิโลเมตร

- เริ่มจากอำเภอเมืองมาตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 ระยะทางประมาณ 68 กิโลเมตร ถึงอำเภอศรีสัชนาลัย แล้วเลี้ยวซ้ายผ่านหน้าโรงพยาบาลศรีสัชนาลัย มาตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1201 ระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร ถึงสี่แยกสารจิตร แล้วเลี้ยวขวาไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1294 ประมาณ 40 กิโลเมตร เข้าสู่อุทยานแห่งชาติ ระยะทางรวมประมาณ 122 กิโลเมตร


รถโดยสารประจำทาง
1.จากกรุงเทพโดยรถทัวร์ไปลงที่ อ.ศรีสัชนาลัย รอรถสองแถวเข้าไปที่ทำการอุทยานฯ รถมีวันละ 1 เที่ยว รถออกก่อนเที่ยงวัน
2.จากกรุงเทพ โดยรถทัวร์ไปลงที่สารจิตร โดยบรัษัทวินทัวร์หรือบริษัทขนส่งจำกัด ค่าโดยสารประมาณคนละ 300 บาท ไปถึงประมาณ 05.00 น. และรอรถโดยสารเข้าต่อไปที่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ



:: แหล่งท่องเที่ยว ::
อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอศรีสัชนาลัย และอำเภอทุ่งเสลี่ยง จังหวัดสุโขทัย เมืองเชลียงหรือศรีสัชนาลัย ได้ชื่อว่า เป็นเมืองประวัติศาสตร์ เป็นที่รวมของโบราณวัตถุ สถานที่ล้ำค่า และแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง เช่น วัดพระศรีมหาธาตุราชวรวิหาร วัดนางพญา แก่งหลวง เตาทุเรียง ซึ่งเป็นเตาเผาเครื่องสังคโลก ยังเป็นที่ตั้งอุทยานแห่งชาติ ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เพื่อรักษาสภาพป่าอันเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร และทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่าสวยงาม เป็นมรดกของชาติสืบไปอีกด้วย มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่


:: ด้านธรรมชาติที่สวยงาม ::
น้ำตกตาดดาว มีต้นกำเนิดจากห้วยแม่ท่าแพ ตกผ่านหน้าผา สูงประมาณ 30 เมตร มีถึง 3 ชั้น เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่สวยงามมาก ลักษณะของธารน้ำตกจะแยกเป็น 2 สาย ไหลลงสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง ในช่วงฤดูที่มีน้ำมาก ละอองของน้ำตกจะฟุ้งกระจายไปทั่ว และสะท้อนแสงแดดเกิดเป็นสายรุ้งงดงาม น้ำตกแห่งนี้ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 3 กิโลเมตร ต้องเดินเลียบลำห้วยไป สภาพทางช่วงสุดท้ายค่อนข้างชัน


น้ำตกตาดเดือน เป็นน้ำตกที่อยู่ในห้วยท่าแพ สูงประมาณ 10 เมตร ลำน้ำไหลคดเคี้ยวตกลงแอ่งน้ำลึก สามารถลงเล่นน้ำได้ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติเพียง 300 เมตร


โป่งน้ำเดือด อยู่ห่างจากบ้านป่าคาประมาณ 500 เมตร น้ำใสสะอาด มีลักษณะเหมือนเดือดตลอดเวลา แต่มีกลิ่นคล้ายแก๊สไข่เน่าระเหยออกมาด้วย ปัจจุบันถูกทำลายไปแล้วโดยพวกเหมืองแร่เหลือแต่น้ำอุ่นในฤดูหนาว


น้ำตกห้วยทรายขาว เกิดจากลำห้วยทรายขาว มี 7 ชั้น ลดหลั่นกันไปอยู่ใจกลางขุนเขาและแมกไม้อันสงบเงียบ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 3 กิโลเมตร


ถ้ำธาราวสันต์ เป็นถ้ำหินปูนที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก ลักษณะเป็นลานกว้างเป็นชั้นๆ ภายในถ้ำมีค้างคาวอาศัยอยู่ จากปากถ้ำต้องไต่เขาลงไปในถ้ำตามซอกหิน มีอุโมงค์ทางเดิน ที่เป็นผนังหินของภูเขาสองลูกมาชนกัน ผ่านอุโมงค์ที่คล้ายธารน้ำไหล ผนังหินเป็นหินที่มีลักษณะคล้ายหินอ่อน และมีบริเวณหนึ่งเป็นหินทรายรูปหัวสิงโต

จากบริเวณนี้จะไปออกพ้นขึ้นเหนือถ้ำบนเชิงหน้าผา และทางด้านซ้ายมือ มีทางเดินลงไปในอีกถ้ำหนึ่ง ซึ่งภายในค่อนข้างมืด เป็นถ้ำโล่ง มีค้างคาวอาศัยอยู่มาก รอบบริเวณพบพรรณไม้และสัตว์ป่าได้ทั่วไป เช่น จันทน์ผา เลียงผา เป็นต้น ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 1.5 กิโลเมตร โดยไปตามทางร่องน้ำเก่า ซึ่งผ่านป่าดงดิบอันร่มครึ้ม บางช่วงจะผ่านป่าสัก


ถ้ำค้างคาว เป็นถ้ำขนาดใหญ่ที่มีหินงอกหินย้อยสวยงามมาก และเป็นที่อยู่อาศัยของค้างคาวนับแสนตัว อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 20 กิโลเมตร


น้ำตกแม่สาน ต้นกำเนิดจากห้วยแม่สาน เป็นน้ำตกหินปูนมีหลายชั้น ไม่สูงมากนัก ลดหลั่นกันสวยงาม อยู่ใกล้กับ ถ้ำแม่สาน บริเวณเขาผาจ่อ ซึ่งเป็นถ้ำขนาดใหญ่ มีหินงอกหินย้อยสวยงามมาก ภายในถ้ำเป็นที่อยู่ของค้างคาวนับแสนตัว อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 25 กิโลเมตร ใกล้หมู่บ้านแม่สาน


น้ำตกปากะญอ เป็นน้ำตกที่สวยงาม มีหลายชั้น บางชั้นเป็นลักษณะของสไลด์เดอร์ สูงสวยงาม อยู่บริเวณทิศตะวันออกเฉียงเหนือของที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ห่างประมาณ 12 กิโลเมตร ใกล้หมู่บ้านห้วยหยวก



:: สิ่งอำนวยความสะดวก ::
ห้องสุขาชาย มีห้องสุขาชายให้บริการ


ห้องสุขาหญิง มีห้องสุขาหญิงให้บริการ


ที่พักแรม/บ้านพัก อุทยานแห่งชาติได้จัดเตรียมบ้านพักไว้ให้บริการในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ


สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียด และสำรองที่พักเต็นท์ได้กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง


ที่จอดรถ มีลานจอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว 2 แห่ง ได้แก่
-ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
-บริเวณน้ำตกตาดเดือน


ร้านขายเครื่องดื่ม/ร้านกาแฟ บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ มีร้านอาหารและเครื่องดื่มสำหรับบริการนักท่องเที่ยว เปิดบริการตั้งแต่เวลา 8.30-16.30 น.


ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เพื่อศึกษาหาข้อมูลเบื้องต้นก่อนไปท่องเที่ยว ในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ เปิดให้บริการตั้งแต่ 8.30 - 16.30

0 ความคิดเห็น: