วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การท่องเที่ยวจังหวัดตาก

:: จังหวัดตาก ::

" ธรรมชาติน่ายล ภูมิพลเขื่อนใหญ่ พระเจ้าตากเกรียงไกร เมืองไม้และป่างาม "


- จังหวัดตาก :: ข้อมูลทั่วไป

เมืองตาก ในอดีตเป็นเมืองที่มีชาวมอญอยู่มาก่อน ดังมีหลักฐานศิลปะมอญปรากฏอยู่ ตัวเมืองเดิมตั้งอยู่ที่อำเภอบ้านตาก เมืองนี้สร้างขึ้นก่อนสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ต่อมาเมื่อได้สถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานีแล้ว เมืองตากมีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญด้านตะวันตกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้โปรดให้ย้ายตัวเมืองตาก จากฝั่งขวาของแม่น้ำปิง มายังฝั่งซ้ายบริเวณตำบลล้านระแหง จนกระทั่งทุกวันนี้

- จังหวัดตาก เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับสอง ของภาคเหนือ รองจากเชียงใหม่ พื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นป่าเขาอันเป็นที่อยู่ ของชาวเขาเผ่าต่างๆ มีแม่น้ำปิงไหลผ่านตัวจังหวัด และมีแม่น้ำเมย เป็นเส้นกั้นเขตแดนไทย กับพม่า ที่อำเภอแม่สอด ซึ่งเป็นศูนย์กลาง การค้าขาย ชายแดนระหว่างไทยกับพม่า

ตาก อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 426 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 10,254,156 ไร่ สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็น ภูเขา และป่าไม้ เป็นจังหวัดที่มีอุทยานแห่งชาติหลายแห่งที่ยังคงความสมบูรณ์ของป่า และธรรมชาติ อาทิ อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช อุทยานแห่งชาติแม่เมย อุทยานแห่งชาติลานสาง และอุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ ตลอดจนมีน้ำตกที่ นักท่องเที่ยวรักการผจญภัย และนิยมการล่องแก่งต้องมาเยือนสักครั้ง คือ น้ำตกทีลอซู และน้ำตกทีลอเร นอกจากความสวยงามตามธรรมชาติแล้ว ยังเป็นจังหวัดที่มีผลผลิตทางการเกษตรที่ขึ้นชื่อทั้งดอกไม้ และผลไม้ โดยเฉพาะทับทิม ซึ่งเป็นพันธุ์ ที่มีผลใหญ่ และกำลังได้รับความนิยมมาก


- ประวัติและความเป็นมา
จ.ตาก เป็นหนึ่งในหัวเมืองที่มีอายุ เกินกว่า 2,000 ปี และเคยเป็นชุมชนโบราณ ที่มีการเพาะปลูก และ ล่าสัตว์ มีการปั้น เครื่องปั้นดินเผา และ หล่อโลหะ ประเภท สำริด จากหลักฐานการค้นพบซากโบราณวัตถุหลายชิ้น ซึ่งเป็นเครื่องใช้ไม้สอย ในยุคโลหะตอนปลาย ก่อนประวัติศาสตร์ คือ ประมาณ 2,500 - 1,500 ปีมาแล้ว

- เดิมที ชุมชน ตาก ในอดีต คงเป็นเมืองที่ชาวมอญ สร้างขึ้น และเป็นราชธานีของแคว้นแถบตอนเหนือ ที่มีกษัตริย์ปกครอง ต่อเนื่องกันมาหลายพระองค์ ในรัชสมัย พระเจ้าสักดำ ราวปี พ.ศ.560 เมืองตาก เป็นเมืองที่ยิ่งใหญ่ มีอาณาเขตแผ่ไปไกล จนจดทะเลอันดามัน และมีการติดต่อค้าขาย กับเมือง อินเดีย ด้วย ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 10 พระยากาฬวรรณดิส อพยพโยกย้ายผู้คน ไปสร้างราชธานีใหม่ ขึ้นที่ เมืองละโว้ ทางตอนใต้ของ เมืองตาก ทิ้งให้ ตาก กลายเป็นเมืองร้าง อยู่หลายร้อยปี

- จนราวปี พ.ศ.1310 - 1311 พระนางจามเทวีวงศ์ พระราชธิดา ในกษัตริย์ เมืองละโว้ เสด็จตามลุ่มน้ำปิง ผ่าน เมืองตาก เพื่อไปปกครอง แคว้น หริภุญไชย หรือ ลำพูน ในปัจจุบัน ทรงพบร่องรอยกำแพงเก่า ตามริมฝั่งแม่น้ำ จึงโปรดฯ ให้สร้างเมืองแห่งนี้ขึ้นเป็นบ้านเมืองใหม่ เรียกกันว่า "บ้านตาก" ด้วยมีเรื่องเล่าว่า เป็นสถานที่ ที่พี่เลี้ยงของพระนาง ตากผ้า และสิ่งของที่เปียกชุ่ม ขณะเดินทางมาตามลำน้ำ

- หลังจาก พ่อขุนรามคำแหง ชนช้างชนะ ขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ในปี พ.ศ.1781 แล้ว พระองค์ได้ยกทัพผ่านลงมาทาง แหลมมลายู ปราบเมืองใหญ่น้อย ที่เคยเป็นอาณาจักร ทวารวดี และ ศรีวิชัย รวมเข้าเป็น อาณาจักร สุโขทัย เป็นผลให้มีการเปิดเส้นทางค้าขาย ทางบก ไปยังเมือง เมาะตะมะ ของ มอญ ซึ่งเป็นเมืองท่า ผ่านสินค้าต่อไปยัง อินเดีย เปอร์เซีย และ อาระเบีย โดยพ่อค้าไทย มักนำเครื่อง สังคโลก จาก สุโขทัย ผ่านแม่สอด ไปยัง เมาะตะมะ เพื่อส่งต่อไปยังประเทศต่างๆ โดยทางเรือ ขณะเดียวกัน ก็นำสินค้าจากเมือง เมาะตะมะ และประเทศ ทางตะวันตก กลับมาขายด้วย

- สมัย อยุธยา บ้านตาก เป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญ สำหรับป้องกันกองทัพ พม่า ที่ยกทัพเข้ามาทางด่าน แม่ละเมา มีแม่ทัพ นายกอง และไพร่พล จาก กรุงศรีอยุธยา มาประจำการ และยังเป็นที่ชุมนุมไพร่พล ทหารกล้า สำหรับการเดินทัพครั้งสำคัญ เพื่อเข้าตีเมือง เชียงใหม่ อีกหลายครั้ง ในสมัย สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ช่วงที่ กรุงศรีอยุธยา เป็นประเทศราช ขึ้นกับ พม่า สมัย พระเจ้าหงสาวดี ได้ย้ายเมือง จาก บ้านตาก ลงมาทางใต้ ประมาณ 25 กม. เรียกว่า "เมืองตากระแหง" ตั้งอยู่ ริมแม่น้ำปิง ฝั่งตะวันตก ด้วยเหตุที่การ คมนาคมติดต่อ ระหว่างเมืองนี้ กับเมือง มอญ ใกล้กว่าที่เก่า

- ก่อนเสียกรุงครั้งที่ 2 เมือง ตากระแหง ถูก พม่า ตีแตก ผู้คนหนีไป บ้านเมืองร้าง จนถึงสมัย ต้นรัตนโกสินทร์ พระเจ้ากาวิละ ได้รวบรวมชาว เมืองตาก เดิม ที่ บ้านตาก และ เมืองตากระแหง มาตั้งเมืองใหม่ โดยย้ายเมือง มาอยู่ฝั่งตะวันออก ของ แม่น้ำปิง เพื่อให้ ลำน้ำ เป็นปราการธรรมชาติ ที่ช่วยกั้นทัพ พม่า เมื่อ พม่า เป็นเมืองขึ้นของ อังกฤษ บ้านเมืองสงบ ปลอดศึกสงคราม ตาก เริ่มมีการค้าขาย กับ พม่า และเมืองทาง ภาคเหนือ โดยอาศัยลำน้ำปิง เป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญ ชุมชนจึงขยายตัว ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุด ตาก ก็กลายเป็นศูนย์กลางการค้า ทางเรือ ระหว่าง เชียงใหม่ นครสวรรค์ และ กรุงเทพฯ


- อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับ จ.แม่ฮ่องสอน จ.เชียงใหม่ จ.ลำพูน และ จ.ลำปาง
ทิศใต้ ติดต่อกับ จ.กาญจนบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จ.สุโขทัย จ.กำแพงเพชร จ.นครสวรรค์ และ จ.อุทัยธานี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ประเทศพม่า มีแม่น้ำเมย เป็นพรมแดน

- จังหวัดตาก ตั้งอยู่ในภาคเหนือตอนล่าง สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นป่าไม้และภูเขา มีเนื้อที่ประมาณ 16,406.650 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ และ 1 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองตาก อำเภอบ้านตาก อำเภอสามเงา อำเภอแม่สอด อำเภอแม่ระมาด อำเภอท่าสองยาง อำเภออุ้มผาง อำเภอพบพระ และกิ่งอำเภอวังเจ้า


หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ (รหัสทางไกล 055)
งานข่าวสารการท่องเที่ยว ททท.
02-250-5500 ต่อ 1555-1563 , 02-694-1222 ต่อ 8

ททท.ภาคเหนือ เขต 4
055-514-341-3

ประชาสัมพันธ์จังหวัด
055-513-584

ตำรวจทางหลวง จ.ตาก
055-511-340

ตำรวจทางหลวง อ.แม่สอด
055-532-222

สภ.อ.เมือง
055-511-355

สภ.อ.ท่าสองยาง
055-589-013 , 055-589-123

สภ.อ.บ้านตาก
055-591-009

สภ.อ.พบพระ
055-569-108

สภ.อ.แม่ระมาด
055-581-253

สภ.อ.แม่สอด
055-531-122 , 055-531-130

สภ.อ.อุ้มผาง
055-561-011 , 055-561-112

รพ.สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ
055-511-024-5 , 055-513-983-4

รพ.ท่าสองยาง
055-589-020 , 055-589-125 , 055-589-255-6

รพ.บ้านตาก
055-591-435

รพ.พบพระ
055-569-023 , 055-569-211-2

รพ.แม่ระมาด
055-581-136 , 055-581-229

รพ.แม่สอด
055-531-224 , 055-531-229

รพ.สามเงา
055-599-072 , 055-549-257-8

รพ.อุ้มผาง
055-561-016 , 561-270-2


จังหวัดตาก :: สถานที่ท่องเที่ยว อำเภอเมือง

- ริมสายธารลานกระทงสาย

ตั้งอยู่ริมถนนกิตติขจร ตำบลหนองหลวง บริเวณริมฝั่งแม่น้ำปิง ฝั่งตะวันออก ตลอดทั่งแนวเป็นสวนสาธารณะพักผ่อนหย่อนใจของชาวเมืองตาก ซึ่งช่วงยามเย็น จะมองเห็นพระอาทิตย์ตก ลับเหลี่ยมเขาสวยงามมาก และเป็นที่จัดกิจกรรมงานประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป 1,000 ดวง และบริเวณเดียวกันนั้นยังเป็นที่ตั้งของคลาดกลางตากสินและหอกิตติคุณ ซึ่งเป็นอาคารเอนกประสงค์ใช้จัดนิทรรศการงานสำคัญต่างๆ ของจังหวัด

- วัดเขาถ้ำ

ตั้งอยู่ที่บ้านแพะ ถนนพหลโยธิน ตำบลไม้งาม แยกขวาจากทางหลวงหมายเลข 1 ตรงกิโลเมตรที่ 423 เข้าไปตามถนนประมาณ 900 เมตร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2437 วัดเขาถ้ำนี้มีหินที่เป็นธรรมชาติวางเรียงรายเป็นชั้นสลับซับซ้อนกัน ทางเข้าถ้ำเป็นเขาสูงประมาณ 70 เมตร ภายในวัดเขาถ้ำมีรอยพระพุทธบาทจำลอง พระสังกัจจายน์ เจ้าแม่กวนอิม และหลวงพ่อทันใจประดิษฐานอยู่ในอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปที่ปั้นด้วยปูนเสร็จภายในหนึ่งวัน บนยอดเขามีเจดีย์ตั้งอยู่ และสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ของตัวเมืองตากได้ และทุกๆ ปี หลังวันสงกรานต์จะมีการจัดงานประเพณี ขึ้นวัดเขาถ้ำ โดยมีการทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ในเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ของไทย และสรงน้ำพระพุทธบาทจำลอง

- วัดมณีบรรพตวรวิหาร

อยู่ริมทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ใกล้โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และหนองน้ำมณีบรรพต อยู่ก่อนเข้าตัวเมืองเล็กน้อย ตั้งอยู่บนเนินเขา เป็นวัดพระอารามหลวงชั้นตรี เป็นวัดหลวงประจำจังหวัด และวัดพัฒนาตัวอย่าง

มีอีกชื่อว่า "วัดเขาแก้ว" เนื่องจากในอดีดพื้นที่วัดเป็นภูเขาเตี้ยๆ มีหินแก้วน้ำค้าง หรือเขี้ยวหนุมานในบริเวณวัด จึงเป็นที่มาของชื่อวัด สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2390 ภายในบริเวณวัดมีเจดีย์ทรงมอญย่อเหลี่ยมไม้ 16 ภายในอุโบสถมีพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานแก่วัดนี้ และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปแสงทอง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน หน้าตักกว้าง 30 นิ้ว ชาวบ้านอัญเชิญมาจากวัดร้างแห่งหนึ่งในเขตตำบลแม่ตื่น อำเภอแม่ระมาด เมื่อปี พ.ศ. 2473 ถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองตาก และด้านหลังมีหอไตรกลางน้ำ กุฏิเรือนไทยหมู่

- วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง

ตั้งอยู่ที่บ้านรมณีย์ ถนนตากสิน ตำบลหนองหลวง วัดนี้สร้างเมื่อ พ.ศ. 2401 บูรณะปฏิสังขรณ์ เมื่อ พ.ศ. 2533 ภายในวัดมีเจดีย์ทรงมอญบรรจุพระธาตุไว้ ได้บูรณะฉัตร และบรรจุพระธาตุไว้ที่ส่วนบนของยอดฉัตร ส่วนในวิหารประดิษฐานพระประธานที่ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อพุทธมนต์ สร้างสมัยสุโขทัย ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 19 มีพุทธลักษณะที่งดงามมาก

- วัดสีตลาราม หรือ วัดน้ำหัก

ตั้งอยู่ที่บ้านจีน ถนนตากสิน ตำบลระแหง เป็นวัดเก่าแก่ของจังหวัด เหตุที่ชาวบ้านเรียกวัดน้ำหัก เพราะในสมัยก่อนบริเวณด้านตะวันตกของวัดเป็นแม่น้ำปิง กระแสน้ำไหลหักวน เนื่องจากเมื่อถึงหน้าน้ำหลาก น้ำจากห้วยแม่ท้อซึ่งไหลแรงมากได้ไหลตัดกระแสน้ำของแม่น้ำปิงให้เบนหักมายังท่าน้ำหน้าวัดนี้ ต่อมาได้มีการถมดินสองฝั่งแม่น้ำ ร่องน้ำเปลี่ยนไป จึงไม่มีคุ้งน้ำที่มีกระแสน้ำไหลวนให้เห็นอีก ภายในวัดมีบรรยากาศร่มรื่น โบสถ์ และอาคารเรือนไม้สร้างตามศิลปะยุโรป พระอุโบสถของวัดเคยถูกไฟไหม้แต่ได้มีการสร้างขึ้นใหม่ หน้าอุโบสถมีวิหารคต สร้างด้วยไม้แกะสลักลวดลาย ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปสมัยอยุธยา

- วัดดอยข่อยเขาแก้ว และวัดกลางสวนดอกไม้

หรือวัดพระเจ้าตาก หรือวัดเสี่ยงทายบารมีพระเจ้าตาก ตั้งอยู่ริมถนนเลี่ยงเมือง ตำบลแม่ท้ ห่างจากลำน้ำปิงฝั่งตะวันตกประมาณ 250 เมตร ในสมัยเมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ดำรงตำแหน่งพระยาตาก พระองค์ได้เสี่ยงทายที่วัดนี้ โดยกล่าวว่า "ถ้าข้าพเจ้ามีบุญญาบารมี มากพอที่จะเป็นที่พึ่งของอาณาประชาราษฎร์ได้อย่างเที่ยงแท้แน่นอน ขอให้ไม้เคาะระฆังที่จะขว้างไปยังถ้วยแก้ว แล้วแตกหักออกไป ขออย่าให้ส่วนอื่นของถ้วยแก้วแตกเสียหาย ฯลฯ" ปรากฏว่า เมื่อพระองค์ขว้างไม้เคาะระฆังออกไป ก็เป็นอย่างที่พระองค์ได้เสี่ยงอธิษฐาน เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของบรรดาพุทธบริษัท ที่มาร่วมบำเพ็ญกุศลที่วัดดอยข่อยเขาแก้ว จนเล่าลือกันว่า "พระยาตากเป็นผู้มีบุญญาธิการและบารมีที่มหัศจรรย์ยิ่ง" ภายหลังจากการเสี่ยงทายแล้ว พระองค์ได้ให้ช่างนำลูกแก้วไปติดไว้ที่ยอดเจดีย์วัดดอยข่อยเขาแก้วลูกหนึ่ง อีกลูกหนึ่งข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ได้ขออนุญาตนำไปติดไว้ที่ยอดเจดีย์วัดกลางสวนดอกไม้ หลายปีเวลาผ่านไป ลูกแก้วที่ติดยอดเจดีย์ทั่งสองแห่งนั้นได้หลุดหายไป เนื่องจากยอดพระเจดีย์ได้หักพังลงมา และในพงศาวดาร กล่าวว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จไปยังเมืองเชียงใหม่ครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2317 เสด็จไปหาสมภารวัดดอยข่อยเขาแก้ว และตรัสถามถึงเรื่องลูกแก้ว ที่พระองค์ทรางเสี่ยงทายเมื่อครั้งยังเป็นพระยาตากอยู่วัดนี้ สันนิษฐานว่าสร้างตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา มีโบาณสถานที่สำคัญ ประกอบด้วยโบสถ์มีใบเสมาคู่ที่แสดงว่าพระมหากษัตริย์ทรงอุปถัมภ์เจดีย์ และพระพุทธบาทจำลองอยู่ในโบสถ์ ด้านหน้ามีเจดีย์ 2 องค์ บรรจุอังคารบิดา มารดาของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

- วัดพระนารายณ์มหาราช

- วัดนี้อยู่บนเนินเขาแก้ว ตำบลแม่ท้อใต้วัดดอยข่อยเขาแก้วลงไปประมาณ 12 กิโลเมตร มีซากพระอุโบสถซึ่งผูกพัทธสีมา 2 ชั้น จึงทำให้เข้าใจว่าน่าจะเป็นวัดหลวงมาก่อน แต่เดิมมีกำแพงแก้วรอบพระอุโบสถ ทางกำแพงด้านในทำเป็นช่องเล็กๆ เต็มไปหมดทั้ง 4 ด้าน ช่องเหล่านี้คล้ายกับช่องสำหรับตามประทีปที่พระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี ในบริเวณวัดพระนารายณ์มหาราชนั้น มีวิหารน้อยอยู่อีกแห่งหนึ่ง เป็นสิ่งปลูกสร้างในสมัยอยุธยาเหมือนกัน และต่อจากวิหารน้อยออกไป มีเจดีย์ฝีมือช่างอยุธยาสร้างหรือปฏิสังขรณ์ แต่ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพราะช่องตามประทีป ซึ่งทำไว้ตามกำแพงและฐานเจดีย์นั้น เป็นของที่นิยมสร้างในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ เพราะก่อนและหลังรัชกาลนี้ไม่ค่อยนิยมสร้างกัน ต่อจากเจดีย์คู่นี้ไปก็มีเจดีย์ใหญ่ฐานสี่เหลี่ยมอีกองค์หนึ่งซึ่งองค์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเข้าพระทัยว่า น่าจะเป็นของสมเด็จพระชัยราชาธิราช ทรงสร้างไว้แต่ครั้งตีเมืองเชียงใหม่ได้ ใน พ.ศ. 2088

- สะพานแขวนสมโภช กรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี

เป็นสะพานที่สร้างขึ้น เพื่อเฉลิมฉลองการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์มีอายุครบ 200 ปี สร้างเมื่อ พ.ศ. 2525 โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดตาก เพื่อเชื่อมสองฝั่งแม่น้ำปิงระหว่างเทศบาลเมืองตาก และตำบลป่ามะม่วง ซึ่งในอดีตสามารถใช้รถจักรยานและรถจักรยานยนต์สัญจร แต่ปัจจุบันเป็นสะพานสำหรับเดินชมทิวทัศน์แม่น้ำปิงและมีการประดับไฟสวยงามมากในยามค่ำคืน โครงสร้างของสะพานมีขนาดความกว้าง 250 เมตร ยาว 400 เมตร ฐานรากและจุดพื้นเป็นไม้โยงยึดด้วยลวดสลิงขนาดใหญ่

- ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ตั้งอยู่ที่ถนนจรดวิถีถ่อง ใกล้กับสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ศาลนี้แต่เดิมอยู่ที่วัดดอยเขาแก้วฝั่งตรงข้ามกับตัวเมือง ต่อมาในปี พ.ศ. 2490 ชาวเมืองเห็นว่าศาลนั้นไม่สมพระเกียรติ จึงช่วยกันสร้างศาลขึ้นใหม่ พร้อมกับให้กรมศิลปากร หล่อพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาดใหญ่กว่าพระองค์จริงเล็กน้อย ในพระอิริยาบถที่กำลังประทับอยู่บนราชอาสน์ มีพระแสงดาบพาดอยู่ที่พระเพลา ที่ฐานพระบรมรูปมีคำจารึกว่า พระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี ทรงพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. 2277 สวรรคต พ.ศ. 2325 รวม 48 พรรษา ศาลนี้เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป

- ศาลหลักเมืองสี่มหาราช

ตั้งอยู่เชิงสะพานกิตติขจร ก่อนเข้าตัวเมืองตาก จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เมืองตากเป็นเมืองเก่ามีมาก่อนสมัยกรุงสุโขทัย เป็นเมืองที่มีพระมหาราชเจ้าในอดีต ได้เสด็จมาชุมนุมกองทัพที่เมืองตากถึง 4 พระองค์ คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงชนช้างกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงประกาศอิสรภาพ ณ เมืองแกรง แล้วยกทัพกลับราชอาณาจักรไทย โดยเสด็จผ่านดินแดนเมืองตากเป็นแห่งแรก สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงนำทัพไปตีหัวเมืองฝ่ายเหนือ และได้สร้างวัดพระนารายณ์ ปัจจุบันอยู่ที่เชิงสะพานกิตติขจร และ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เคยได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองตาก เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของอดีตมหาราช ทั้งสี่พระองค์ และเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวจังหวัดตาก จึงได้จัดสร้างศาลหลักเมืองสี่มหาราชขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2535

จังหวัดตาก :: สถานที่ท่องเที่ยว อำเภอเมือง

- หาดทรายทองแม่ปิงเมืองตาก

ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิงฝั่งตะวันตก ตำบลป่ามะม่วง ตรงข้ามตัวเมืองตาก เป็นหาดทรายที่สร้างขึ้น ทอดตัวยาวตลอดแนวแม่น้ำปิง มีความยาวถึง 1.5 กิโลเมตร เป็นหาดทรายที่มีต้นไม้ ร่มรื่น ทรายขาว สะอาดไม่แพ้ชายทะเล เป็นสถานที่พักผ่อนและเล่นน้ำของชาวเมืองตาก นักท่องเที่ยวจังหวัดใกล้เคียง สามารถเดินทางมาท่องเที่ยวและเล่นน้ำได้ โดยไม่ต้องเดินทางไปไกลถึงทะเล นังหวัดตากได้จัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ห่วงยาง เก้าอี้ ชายหาดไว้ให้เช่า อีกทั้งยังเหมาะสำหรับการเล่นกีฬาทางน้ำทุกชนิด นับเป็นความภาคภูมิใจของชาวเมืองตากทุกคน

ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยผลิตตาก

อยู่ที่บ้านมูเซอ หมู่ 6 ตำบลแม่ท้อ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและให้ความรู้ทางด้านการเกษตา (Agro-tourism) แก่นักท่องเที่ยวและประชาชนผู้สนใจทั่วไปโดยดำเนินการค้นคว้าทดลองและวิจัยพืชสวนต่างๆ ทั้งพืชเมืองร้อนและกึ่งเมืองร้อน อาทิเช่น กาแฟ อโวคาโด้ มะคาเดเมียนัท ชา ลิ้นจี่ กุหลาบ กล้วยไม้ป่า หน้าวัว พืชผักพื้นเมือง และพืชสมุนไพร เช่น วานิลา อบเชย กระวานไทย กระวานเทศและอื่นๆ มากกว่า 252 ชนิดในประเทศไทย นอกจากนี้ยังเป็นจุดที่ตั้งเรือนประทับทรงงานของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี คร้งเสด็จทรงงานที่จังหวัดตากอีกด้วย

การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 105 สายตาก-แม่สอด ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 26-27 เลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวที่สนใจ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการด้านพืขและปัจจัยการผลิตตาก ต.แม่ท้อ อ.เมือง จ.ตาก 63000 โทร. 0 5551 2131, 0 5551 4034

หนองน้ำมณีบรรพต

อยู่ริมทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ใกล้วัดมณีบรรพตวรวิหาร และโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หนองน้ำแห่งนี้เป็นบึงน้ำขนาดใหญ่มีพื้นที่กว่า 60 ไร่ ภายในบริเวณร่มรื่นด้วยพันธุ์ไม้ต่างๆ มีศาลาพักผ่อน ปัจจุบันเทศบาลเมืองตากได้ดำเนินการก่อสร้าง เป็นสวนสาธารณะหนองมณีบรรพต เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามกลางเมืองตาก เหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ และเป็นทีพักรถของนักท่องเที่ยว

อุทยานแห่งชาติลานสาง

อยู่ที่บ้านลานสาง ตำบลแม่ท้อ ห่างจากตัวจังหวัดตากประมาณ 20 กิโลเมตร มีพื้นที่ 65,000 ไร่ ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับซับซ้อนติดต่อกันเกือบตลอดพื้นที่ ส่วนที่สูงที่สุดอยู่บริเวณด้านทิศตะวันตก และทิศใต้ และลาดต่ำลงมาทางด้านทิศตะวันออก มีลำธารไหลผ่านหลายสาย เช่น ลำห้วยลานสาง ห้วยท่าเล่ย์ คลองห้วยทราย ห้วยอุมยอม ป่าในเขตอุทยานฯ มีทั้งป่า ดงดิบ ป่าสนเขา ป่าดิบเขา ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ สลับกันไปตามลักษณะภูมิประเทศ สัตว์ป่าที่พบเห็น ได้แก่ หมูป่า เก้ง เต่าปูลู เลียงผา ชะมด นกปรอดเหลืองหัวจุก เป็นต้น

ตามตำนานเล่ากันว่า เมื่อครั้งที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เสด็จยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ครั้งที่ 2 ได้ทรงหยุดพักพลที่บ้านระแหง แขวงเมืองตาก มีชาวมอญเข้ามาสวามิภักดิ์ด้วยเป็นจำนวนมาก ทหารพม่าจึงติดตามเข้ามา สมเด็จพระเจ้า กรุงธนบุรีได้เสด็จยกทัพไปขับไล่ และพลัดหลงกับกองทัพ ประจวบกับเป็นเวลากลางคืน และสภาพพื้นที่เป็นป่าเขารกทึบยากแก่การติดตาม กองทัพไทยจึงหยุดพัก ขณะที่พักกันอยู่นั้นได้เกิดมีแสงสว่างพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า และได้ยินเสียงม้าศึกร้อง จึงรีบพากันไปยังจุดนั้น ก็พบสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีประทับม้าอยู่กลางลานหิน มีแสงสว่างออกมาจากพระวรกาย มีทหารพม่าคุกเข่าหมอบอยู่โดยรอบ และขณะนั้นเป็นเวลาฟ้าสางพอดี จึงเรียกบริเวณนั้นว่า ลานสาง และสถานที่ที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีประทับม้ายังคงมีอยู่ในปัจจุบัน คือ บริเวณน้ำตกลานสาง และที่บริเวณลานหินจะมีรอยเกือกม้าของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีอยู่ด้วย

อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช

มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในเขตป่าแม่ท้อ ตำบลแม่ท้อ ตำบลพะวอ อำเภอเมือง และป่าแม่ละเมา อำเภอแม่สอด มีเนื้อที่ 165,250 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2524 ภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงชัน มีภูเขาสลับซับซ้อน สภาพป่าสมบูรณ์ เป็นอุทยานฯ ที่มีป่าหลายชนิด เช่น ป่าดิบเขา ป่าสนเขา ป่าดงดิบ ป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ อุทยานฯ มีอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี อุณหภูมิโดยเฉลี่ยประมาณ 20 องศาเซลเซียส ฝนตกชุกในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม ส่วนฤดูหนาวช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม จะมีอุณหภูมิ 6 องศาเซลเซียส

พื้นที่ป่าแห่งนี้ในอดีตเคยใช้เป็นเส้นทางเดินทัพของไทย และพม่า ในปี พ.ศ. 2305 พระเจ้าอลองพญากษัตริย์พม่าได้ยกทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยา ในระหว่างยกทัพกลับทรงประชวร และสิ้นพระชนม์ในป่านี้

ตรอกบ้านจีน

ตั้งอยู่ที่ถนนตากสิน ใกล้วัดสีตลาราม ตำบลระแหง เป็นชุมชนการค้าขายที่รุ่งเรืองมากในอดีต โดยมีชาวจีนชื่อ "จีนเต็ง" ซึ่งอพยพเข้ามาอยู่กรุงเทพฯ มาทำการค้าขายไปถึงเชียงใหม่ และได้ขยายกิจการลงมาถึงเมืองตาก ได้เข้าหุ้นส่วนค้าขายกับพ่อค้าจีนอีกสองคนชื่อ "จีนบุญเย็น" และ "จีนทองอยู่" ต่อมาได้เข้าเกี่ยวพันกับระบบราชการไทยกล่าวคือ "จีนบุญเย็น" ได้รับแต่ตั้งเป็น "หลวงนราพิทักษ์" ปลัดฝ่ายจีนเมืองตาก แล้วได้รับแต่งตั้งให้เป็น "หลวงจิตรจำนงค์วานิช" สังกัดกรมท่าซ้าย ส่วนจีนทองอยู่ได้เป็นหลวงบริรักษ์ประชากรกรมการพิเศษเมืองตาก อากรเต็งและหุ้นส่วนทั้งสองใช้ยี่ห้อการค้าว่า "กิมเซ่งหลี" ห้างกิมเซ่งหลีได้เข้ารับช่วงผูกขาดการจัดเก็บภาษีอาการ ที่เมืองเชียงใหม่จึงได้นำพวกคนจีนเข้ามาอยู่ละแวกบ้านนี้ และได้แต่งงานกับผู้หญิงชาวเมืองตากชื่อ "นางก้อนทอง" มีบุตรชายหนึ่งคนและตั้งบ้านเรือนทำการค้าขายขยายวงขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ 5 "จีนเต็ง" ได้มอบหมายให้ "หลวงบริรักษ์ประชากร" (จีนทองอยู่) เป็นผู้จัดเก็บภาษีฝิ่น อากรสุรา บ่อนเบี้ย และหวย ก.ข. จนกระทั่ง พ.ศ. 2452 รัฐบาลเริ่มเข้ามาจัดเก็บเอง ภายหลังละแวกหมู่บ้านนี้จึงมีแต่ลูกหลานจีนดำเนินการค้าขาย ปลูกบ้าน ร้านค้า เริ่มมีถนนหนทางแต่เป็นเพียงทางเดินเท้า ร้านค้าจะมีของขายทุกอย่าง ในซอยตรอกบ้านจีนจะมุงหลังคาบ้านชนกัน จึงเป็นท่ร่มใช้เดินถึงกันได้ตลอด มีร้านขายถ้วยชาม ร้านผ้า ร้านหนังสือเรียน ร้านเครื่องอัฐบริขารในการบวชพระ สถานที่ควรพูดถึงในสมัยนั้น คือ สะพานทองข้ามปากคลองน้อยซึ่ง "คุณย่าทอง ทองมา" เป็นผู้สร้างและม่เสาโทรเลขซึ่งชาวบ้านมักจะเรียกว่า เสาสูง ต่อมามีการปกครองในระบอบประขาธิไตย "นายหมัง สายชุ่มอินทร์" ได้รับเลือกเป็นผู้แทนราษฎรคนแรก ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ในละแวกนั้น ตรอกบ้านจีนในสมัยนั้นมี 3 หมู่บ้าน หมู่บ้านเสาสูง หมู่บ้านปากครองน้อย หมู่บ้านบ้านจีน ต่อมาปี 2495 ทางเทศบาลได้รื้อสะพานทองและถมเป็นถนน เริ่มมีรถยนต์ใช้และหมู่บ้านก็เริ่มกั้นเขตแดนล้อมรั้ว ปี 2497 มีรถยนต์เล็กๆ วิ่งเข้าออกได้ ตรอกบ้านจีนเริ่มซบเซาลงหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ปี 2484 ร้านค้าเปิดอพยพไปอยู่ที่อื่นเมื่อ สงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง การค้าขายจึงได้ขยายขึ้นไปทางทิศเหนือ ปัจจุบันบ้านจีนจึงเหลือแต่บ้านเก่าๆ ซึ่งยังคงลักษณะของสถาปัตยกรรมเดิมไว้ค่อนข้างสมบูรณ์ เหมาะสำหรับเดินทางเที่ยวชมสภาพบ้านเรือนโดยรอบ และวิถีชีวิตอันเรียบง่ายของชุมชนตรอกบ้านจีน

ประติมากรรมกระทงสาย

ตั้งอยู่ตรงข้ามกับสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยภาคเหนือเขต 4 เป็นสวนสาธารณะที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ งานประเพณีลอยกระทงสาย ซึ่งเป็นประเพณีที่ชาวเมืองตากมีความภาคภูมิใจและมีเอกลักษณ์เฉพาะที่หาชมได้แห่งเดียวในประเทศไทย



จังหวัดตาก :: สถานที่ท่องเที่ยว อำเภออุ้มผาง

อำเภออุ้มผาง

แต่เดิมที่อ.อุ้มผางมีชาวกะเหรี่ยงอาศัยอยู่ทั้งหมด ต่อมาได้มีคนไทยอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานเพิ่มขึ้น อุ้มผางเดิมเป็นเมืองหน้าด่านชายแดนตะวันตกขึ้นอยู่กับจังหวัดอุทัยธานี เป็นจุดตรวจหนังสือเดินทางชาวพม่า ที่เข้ามาค้าขายในเขตไทย ในสมัยก่อนชาวพม่าจะนำเอกสารใส่กระบอกไม้ไผ่มีฝาปิดเพื่อป้องกันฝนและการฉีกขาดระหว่างการเดินทาง เมื่อมาถึงอุ้มผางก็จะเปิดกระบอกไม้ไผ่เก็บเอกสารเพื่อแสดงให้เจ้าหน้าที่ในเขตไทยตรวจประทับตรา เอกสารที่ว่านี้เรียกเป็นภาษากะเหรี่ยงว่า "อุ้มผะ" ต่อมาได้เพี้ยนเป็น "อุ้มผาง" ซึ่งเป็นชื่อของอำเภออุ้มผางในปัจจุบัน

การเดินทางผ่านถนนลอยฟ้าสู่อุ้มผาง

"อุ้มผาง" เป็นเมืองท่องเที่ยวในอ้อมกอดของผืนป่า และหุบเขาสูงแห่งสุดท้ายของประเทศไทยที่ยังเหลืออยู่ ผู้ไปเยือนอุ้มผางโดยทางรถยนต์จะได้สัมผ้สกับความงามของ "ถนนลอยฟ้า" ซึ่งเป็นแนวถนนลาดยางที่คดเคี้ยว 1,219 โค้งลัดเลาะไปในป่าใหญ่และสันเขาสูงสลับซับซ้อน

จากกรุงเทพฯ เดินทางตามทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ขัยนาท นครสวรรค์ กำแพงเพชร ถึง จังหวัดตาก ระยะทางประมาณ 425 กม. ก่อนถึงตัวจังหวัดตาก 7 กม. จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 105 (ตาก-แม่สอด) ถึงอำเภอแม่สอด ระยะทาง86 กม. แยกซ้ายมือไปตามทางหลวงหมายเลข 1090 (แม่สอด-อุ้มผาง) ตามเทือกเขาถนนธงชัย เส้นทางคดเคี้ยวสลับซับซ้อน 1,219 โค้งจาก อ.แม่สอด ถึงอุ้มผางระยะทาง 164 กม. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4-5 ชม. รวมระยะทาง จาก กทม. 668 กม.

หมายเหตุ : เส้นทางช่วงแม่สอด-อุ้มผาง นักเดินทางควรขับรถด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ และรถที่ใช้ควรมีสภาพดี หรือรถที่มีสมรรถนะสูง เพราะเป็นเส้นทางตัดผ่านเทือกเขา ถนนมีความคดโค้งมาก มีจุดแวะพักบริเวณกิโลเมตรที่ 84 มีร้านขายอาหาร และเครื่องดื่ม ผู้ที่เมารถควรรับประทานยาแก้เมารถไว้ล่วงหน้า

ปัจจุบันมีภาคเอกชนเปิดบริการการเดินทางสู่อุ้มผางด้วยเครื่องบินขนาดเล็กจาก กทม. ซึ่งทำให้นักท่องเที่ยวมีทางเลือกเพิ่มมากขึ้นและจะได้สัมผัสเมืองอุ้มผางในอีกมิติหนึ่ง บริษัท สยาม จีเอ.จำกัด (Siam GA) บริการเที่ยวบิน กรุงเทพฯ-อุ้มผาง สอบถามรายละเอียดได้ที่ 0 2535 7050 อุ้มผาง โทร. 0 5556 1611-2 หรือ www.sga.aero

เส้นทางเดินป่าใน อ.อุ้มผาง

ท่าทราย-น้ำตกทีลอซู นักท่องเที่ยวสามารถล่องเรือยางไปตามลำน้ำแม่กลองเริ่มจากอุ้มผางไปขึ้นที่ท่าทราย ใช้เวลา 3 ชั่วโมง แล้วเดินเท้าไปน้ำตกทีลอซู เส้นท่าทราย-น้ำตกทีลอซู ใช้เวลา 3 ชั่วโมง หรือจะนั่งเรือไปขึ้นที่แก่งมอกีโด้ แล้วจะเดินเท้า หรือจะนั่งช้างไปน้ำตกทีลอซู ใช้เวลา 4 ชั่วโมง หรือสามารถที่จะเดินเท้าจากบ้านเดลอถึงน้ำตกทีลอซู ระยะทาง 25 กิโลเมตร ใช้เวลา 7 ชั่วโมง

เส้นทางศึกษาวิถีชีวิตชาวเขาในอ.อุ้มผาง

บ้านกะเหรี่ยงปะละทะ เป็นหมู่บ้านกะเหรี่ยงที่เก่าแก่ ตั้งอยู่ริมลำน้ำแม่กลอง ในเขตอำเภออุ้มผาง เป็นหมู่บ้านที่ได้รับการพัฒนา มีไฟฟ้าใช้ สถานีอนามัย และโรงเรียน ชาวกะเหรี่ยงที่นี่ยังนิยมการแต่งกายแบบวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนเอง แต่ละบ้านจะมีหูกทอผ้า (เครื่องทอผ้า) ใช้กันเองในหมู่บ้าน สัตว์ที่เลี้ยงไว้ เช่น หมู และไก่ เพื่อสำหรับใช้เป็นอาหาร และเลี้ยงช้างไว้เป็นพาหนะในการเดินทาง และขนส่ง ชาวกะเหรี่ยงส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรรม การเดินทาง จากอุ้มผางสามารถใช้เส้นทางอุ้มผาง-บ้านปะละทะ ประมาณ 27 กิโลเมตร ถึงหมู่บ้านกะเหรี่ยงปะละทะ และจากบ้านปะละทะสามารถเดินป่า หรือขี่ช้างไปบ้านกระเหรี่ยงโคทะ และน้ำตกทีลอซูได้ ทั้งยังเป็นจุดล่องเรือยางตามลำน้ำแม่กลองไปน้ำตกทีลอเร

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง

มีพื้นที่ 1,619,280 ไร่ เป็นเขตป่าอนุรักษ์เพื่อการสงวน และรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และเป็นผืนป่าตะวันตกที่เป็นต้นกำเนิดของแหล่งมรดกโลก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน อากาศจะหนาว และเย็นมากในระหว่างเดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ พรรณไม้ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบ ป่าผลัดใบ สัตว์ป่าที่พบเห็น ได้แก่ เสือลายเมฆ สมเสร็จ เลียงผา เหยี่ยว นกกระทุง ได้รับการประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง เมื่อ พ.ศ. 2532

ล่องแก่งแม่น้ำแม่กลอง

อุ้มผาง-น้ำตกทีลอซู เริ่มต้นจากตัวอำเภออุ้มผาง ไปตามลำห้วยอุ้มผางออกสู่แม่น้ำแม่กลอง ผ่านธรรมชาติที่สวยงาม ถึง น้ำตกทีลอจ่อ เป็นน้ำตกที่ไหลมาจากยอดผาสูงชัน น้ำตกแตกกระเซ็นเป็นละอองคล้ายสายฝน และเป็นจุดพักเล่นน้ำอีกแห่งหนึ่ง โดยล่องเรือผ่านธารน้ำร้อนจนถึง แก่งตะโค๊ะบิ สายน้ำจะไหลเชี่ยวเป็นที่ชื่นชอบของนักท่องเที่ยว ผ่านผาเลือด ผาผึ้ง ผาบ่อ ถึงท่าทราย ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง แล้วเดินทางต่อโดยรถยนต์ที่มีสภาพดี มีสมรรถนะสูง ใช้เวลาไปเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง ประมาณ 45 นาที และจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง ต้องเดินเท้าไปน้ำตกทีลอซู ใช้เวลาประมาณ 45 นาที ในช่วงฤดูฝนเส้นทางรถยนต์จะปิดตั้งแต่ มิถุนายน-พฤศจิกายน ของทุกปี นักท่องเที่ยวสามารถพักค้างแรมได้ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง โดยติดต่อผ่านชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยว และอนุรักษ์อุ้มผาง โทร. 0 5556 1338

ล่องแก่งอุ้มผางคี

พักที่หมู่บ้านกะเหรี่ยงอุ้มผางคี (ใช้เวลาประมาณ 2 วัน 1 คืน)

ข้อมูลจำเพาะ : เดินเท้า หรือนั่งช้าง จากบ้านแปโดทะใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง พักค้างแรมที่บ้านกะเหรี่ยงอุ้มผางคี รุ่งขึ้นเดินป่าหรือนั่งช้าง ลัดเลาะไปตามลำน้ำอุ้มผาง ไปยังแก่งมะนาว เริ่มตื่นเต้นกับแก่ง ซึ่งมีมากกว่า 70 กว่าแก่ง ขึ้นฝั่งที่บ้านแปโดทะ ใช้เวลาในการล่อง 4-5 ชั่วโมง / ระดับแก่ง 2-3-4 / ราคา 1,800-2,500 บาท / คน (มากกว่า 8 คน)

ฤดูกาลท่องเที่ยว : สิงหาคม - ตุลาคม

ติดต่อสอบถาม : ชมรมส่งเสริมการทอ่งเที่ยวอุ้มผาง โทร. 0 5556 1338

น้ำตกทีลอซู

น้ำตกทีลอซู คำว่า ทีลอซู เป็นภาษากะเหรี่ยง แปลว่า น้ำตกดำ ตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง การเดินทางใช้เส้นทางบ้านแม่กลองใหม่-บ้านเปิ่งเคลิ่ง ระยะทาง 20 กม. ถึง ด่านป่าไม้เดลอแยกซ้ายมือจากถนนใหญ่ เป็นทางลำลองประมาณ27 กม. ถึงเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผางเดินเท้าอีก 3 กม. ถึงน้ำตก ทีลอซู ลักษณะเป็นน้ำตกเขาหินปูนขนาดใหญ่กลางป่าตะวันตก ตั้งอยู่บนความสูงจากระดับน้ำทะเล 900 เมตร เกิดจากลำห้วยกล้อทอ มีน้ำไหลตลอดปี ความกว้างของน้ำตกประมาณ 500 เมตร แวดล้อมด้วยป่าดงดิบที่สมบูรณ์สวยงาม ติดอันดับ 1 ใน 6 ของโลก และสวยที่สุดในประเทศไทย รถยนต์(ควรใช้รถปิคอัพ หรือรถขับเคลื่อน 4 ล้อที่มีสมรรถนะสูงเท่านั้น)สามารถเข้าถึงที่ทำการเขตฯ เฉพาะในระหว่างเดือนพฤศจิกายน-พฤษภาคม เท่านั้น ในช่วงเดือนอื่นๆ จะต้องใช้วิธีล่องแก่งแล้วเดินเท้าแทน

ล่องแพ นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อผ่านบริษัททัวร์ที่จัดล่องแพในอำเภออุ้มผางได้ โดยติดต่อได้ที่ ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยว และอนุรักษ์อุ้มผาง โทร. 0 5556 1338

การเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง หรือน้ำตกทีลอซู นักท่องเที่ยวทุกคนจะต้องดำเนินการขออนุญาตก่อน โดยผ่านการประทับตรา สป. 7 จากกรมป่าไม้ (แบบฟอร์มดังกล่าวสามารถติดต่อผ่านชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยว และอนุรักษ์อุ้มผาง) เพราะพื้นที่นี้ไม่ใช่พื้นที่ท่องเที่ยว เป็นการอนุญาตให้เข้าไปในฐานะผู้ศึกษาธรรมชาติ โดยเฉพาะในช่วงเวลาเทศกาลวันหยุด จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในเขตอำเภออุ้มผาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่น้ำตกทีลอซูเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดปัญหาความแออัดในแหล่งธรรมชาติ ตลอดจนปัญหาเรื่องขยะรวมถึงห้องสุขาไม่เพียงพอ และถนนเสียหาย

บ้านโบราณ

อุ้มผางเป็นชุมชนเล็กๆ มีวัฒนธรรมการดำรงชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย ลักษณะการสร้างบ้านเรือนส่วนใหญ่เป็นบ้านไม้ชั้นเดียว หลังคามุงด้วยวัสดุท้องถิ่น เช่น ใบตองตึง แป้นเกล็ดไม้ และกระเบื้องดินเผา ตัวบ้านยกสูง ใต้ถุนเปิดโล่ง มีบันไดขึ้นด้านหน้า ชานบ้านมีม้านั่งขนานกับขอบระเบียง รั้วบ้านทำด้วยปีกไม้ ปัจจุบันยังมีให้เห็นกันอยู่


ตาก จังหวัดตาก ตาก จังหวัดตาก ตาก จังหวัดตาก ตาก จังหวัดตาก ตาก จังหวัดตาก ตาก จังหวัดต


จังหวัดตาก :: สถานที่ท่องเที่ยว อำเภอบ้านตาก

อำเภอบ้านตาก

อำเภอบ้านตากเป็นเมืองตากเก่า มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญด้านตะวันตกของกรุงสุโขทัย จนในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาครองกรุงศรีอยุธยาได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองตากลงมาตั้งอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำปิง ตรงข้ามกับตัวเมืองตากในปัจจุบัน สถานที่ท่องเที่ยวในเขตอำเภอบ้านตากส่วนใหญ่จึงเป็นโบราณสถาน อำเภอบ้านตากอยู่ห่างจากอำเภอเมืองไปทางทิศเหนือราว 22 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 1 แต่หากเดินทางจากเส้นทางหลวงหมายเลข 1107 เลียบริมฝั่งแม่น้ำปิงด้านตะวันตกถึงอำเภอบ้านตาก ระยะทาง 25 กิโลเมตร

เจดีย์ยุทธหัตถี หรือ เจดีย์เฉลิมพระเกียรติพระเจ้ารามคำแหงมหาราช

หรือเจดีย์เฉลิมพระเกียรติพระเจ้ารามคำแหงมหาราช หรือ ชาวบ้านเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เจดีย์ชนช้าง ตั้งอยู่บนดอยช้าง ตำบลเกาะตะเภา ดอยช้างเป็นเนินดินเล็ก ๆ อยู่ทางเหนือของดอยพระธาตุไปเล็กน้อย เจดีย์นี้เป็นโบราณสถาน สร้างในสมัยสุโขทัยมีอายุราว 700 ปีเศษ องค์เจดีย์ยุทธหัตถีอยู่เยื้องกับวัดพระบรมธาตุประมาณ 200 เมตร ลักษณะของเจดีย์ยุทธหัตถีเป็นศิลปะแบบสุโขทัยคล้ายกับองค์อื่นๆ ทั่วไปในเมืองสุโขทัย ก่ออิฐถือปูนฐานกว้าง 12 เมตร เป็นเรือนธาตุรูปสี่เหลี่ยมย่อมุมขึ้นไป สูง 16 เมตร เหนือเรือนธาตุทำเป็นลำสี่เหลี่ยมย่อมุมตลอดถึงยอดที่เป็นทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ยอดสุดมีฉัตร มีร่องรอยการซ่อมแซมตลอดมา แต่ไม่เสียรูปทรงเดิม ฐานพุ่มมีลายปั้นเป็นรูปหน้าสิงห์สวยงาม หน้าสิงห์ด้านทิศเหนือยังสมบูรณ์ ด้านอื่นๆ ชำรุด องค์เจดีย์ส่วนใหญ่มีคราบตะไคร่น้ำจับอยู่ทั่วไป จะมีการขุดแต่ง และทำความสะอาดรอบบริเวณเจดีย์ในช่วงใกล้วันเทศกาล เป็นงานเดียวกับงานไหว้พระธาตุบ้านตาก

จากหลักฐานศิลาจารึกหลักที่ 1 พ่อขุนรามคำแหงมหาราชกล่าวว่า ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด ได้ยกทัพมาตีกรุงสุโขทัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ได้ทรงบกทัพมาป้องกันเมืองตาก พ่อขุนรามคำแหงมหาราช โอรสเสด็จติดตามไปด้วยและพทัพทั้งสองได้ปะทะกัน ณ ที่แห่งนี้ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำเสียทีแก่ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด พ่อขุนรามคำแหงมหาราชจึงได้ไสช้าง เบิกพลเข้าช่วยจนได้รับชัยชนะจึงได้สร้างเจดีย์ขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติในการทำยุทธหัตถีมีชัยชนะ

วัดพระบรมธาตุ

ตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะคา ใจกลางเมืองตากเก่า เป็นพระธาตุประจำปีเกิดของปีมะเมีย (แทนเจดีย์ชะเวดากอง) ซึ่งองค์เจดีย์เมมีลักษณะทรางสี่เหลี่ยม ต่อมาพระครูพิทักษ์บรมธาตุ (ทองอยู่) ได้บูรณะใหม่โดยสร้างครอบองค์เดิมไว้ สูงประมาณ 20 เมตร มีลักษณะทรงแปดเหลี่ยม ศิลปะล้านนา ภายนอกบุด้วยทองดอกบวบ (ทองเหลืองผสมทองแดง) มีเจดีย์องค์เล็ก 16 อง๕ ซุ้มสำหรับบรรจุพระพุทธรูป 12 องค์ ซึ่งซุ้มสำหรับใส่ปั้นอ้อนช้อย สวยงามมาก วัดพระบรมธาตุ เป็นวัดเก่ ได้รับ การปฏิสังขรณ์มาหลายครั้ง ตัวอุโบสถมีประตูเป็นไม้แกะสลักที่วสยงาม หน้าบันและจั่วเป็นไม้ หน้าต่างแกะสลักเป็นพุทธประวัติปิดทอง หัวบันได เป็นนาค วิหารของวัดเป็นวิหารเก่ามีเพดานสูง 2 ชั้นมีช่องลมอยู่โดยรอบ ทำให้อากาศภายในวิหารเย็นสบาย ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทองและมีวิหารอีกหลังหนึ่งซึ่งมพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทอง ชื่อหลวงพ่อทันใจ ซึ่งเป็นที่เคารพสักกาะของประชาชน ทั้งในจังหวัดตากและจังหวัดใกล้เคียงเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ภายในบริเวณวัดยังมีวิหารไม้เก่าแก่ ที่มีลายแกะสลักไว้ให้ชม นับเป็นวัดที่มีคุณค่าในทางโบราณคดีมาก

การเดินทาง จากตัวเมืองตากไปตามทางหลวงหมายเลข 1107 ประมาณ 35 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าสูทางหลวงหมายเลข 1175 อีกประมาณ 1 กิโลเมตร จะเห็นวัดพระบรมธาตุอยู่ทางซ้ายมือ หรือหากใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 ตรงกิโลเมตรที่ 442 เข้าอำเภอบ้านตากผ่านสะพานข้ามแม่น้ำปิ แล้วเลี้ยวขวาผ่านวัดท่านา จนถึงสามแยกแล้วเลี้ยวซ้าย 200 เมตร ถึงวัดพระบรมธาตุอยู่ทางซ้ายมือ

วัดพระพุทธบาทดอยโล้น

ตั้งอยู่ในตำบลท้องฟ้า หมู่ 3 เป็นวัดป่าสายปฏิบัติ ตั้งอยู่บนเนินเขาท่ามกลางป่าไม้ร่มรื่น ภายในบริเวณวัดมีสิ่งที่น่าสนใจคือ สมเด็จมหาสากยะมุณีศรีสรรเพชร เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่มีพุทธลักษณะงดงาม หน้าตักกว้าง 20 เมตร สูง 38 เมตร รอยพระพุทธบาทตั้งอยู่บนยอดเขาสูง มีมณฑปสร้างครอบไว้ ในบริเวณเดียวกันยังมีบ่อน้ำธรรมชาติ ที่ชาวบ้านถือว่าเป็นบ่อน้ำทิพย์ เมื่อถึงเดือนเมษายนของทุกปี ช่วงหลังประเพณีสงกรานต์ ชาวบ้านจะจัดประเพณีขึ้นเขาไหว้รอยพระพุทธบาท การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 1175 (บ้านตาก-แม่ระมาด) ถึงหลักกิโลเมตรที่ 8 เลี้ยวขวาเข้าเหมู่บ้านท้องฟ้าอีกประมาณ 2.5 กิโลเมตร

วนอุทยานแห่งชาติเขาพระบาท (ฟอสซิลไม้กลายเป็นหินใหญ่ที่สุดในเอเชีย)

ตั้งอยู่บริเวณท้องที่หมู่ที่ 7 ตำบลตากออกในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่สลิด-โป่งแดง ปากทางเข้าอยู่ตรงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 443 ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนหหลโยธิน) การเดินทางเข้าพื้นที่ ใช้เส้นทางลำลองตรงข้ามโรงพยาบาลบ้านตาก ห่างจากถนนพหลโยธิน ประมาณ 2.5 กิโลเมตร ไม้กลายเป็นหินที่พบยาวประมาณ 20 เมตร และเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 เมตร เป็นไม้กลายเป็นหินที่ใหญ่ที่สุด ตั้งแต่มีการค้นพบในทวีปเอเชีย โดยไม้กลายเป็นหินจัดเป็นฟอสซิลชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยเกิดจากซากต้นไม้ที่ถูกแทนที่ด้วยน้ำบาดาลซึ่งมสารละลายของซิลิกา และเกิดการตกตะกอนกลายสภาพเป็นหินอย่างช้ๆ คือแทนที่แบบโมเลกุลจนกระทั่งกลายเป็นหินทั้งหมด โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและโครงสร้างอีก ไม้กลายเป็นหินมักฝังตัวอยู่ในชั้นกรวด คาดว่าจะเกิดสะสมตัวในยุคควอเตอร์นารีคอนตัน อายุประมาณ 2 ล้านปี จากการแพร่กระจายตวของตะกอนตะพัก ที่ปรากฏน่าจะเกิดสะสมตัวบริเวณตะพักคุ้งน้ำของแม่น้ำปิงโบราณ ก่อนที่จะมีการปรับสภาพและเปลี่ยนทางเดิน กลายเป็นแม่น้ำปิงในปัจจุบัน

อุทยานประวัติศาสตร์เมืองตากเก่า

ดินแดนล้านนาตะวันตก อายุกว่า 2,000 ปี ที่ตั้งของเมืองซึ่งเป็นยุทธศาสตร์สำคัญเป็นที่หมายปองของ 2 อาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ในอดีด คือ ล้านนา และสุโขทัยตั้งอยู่บริเวณตำบลเกาะตะเภา ลักษณะเดิมของเมืองตากเก่าตั้งอยู่บนเนินดินสูงราว 20 เมตร มีกำแพงเมืองและคูน้ำล้อมรอบด้านละ 2-3 ชั้น ร่องรอยของแนวกำแพงเมืองซึ่งสร้างเป็นดินเหลือให้เห็นอยู่เป็นจำนวนมาก มีพื้นที่ภายในกำแพงเมืองประมาณ 172 ไร่ ปัจจุบันเป็นป่าไผ่ และเนินเขาสภาพทั่วไป ตัวเมืองเป็นรูปวงรีไปตามลักษณะของเนินเขาที่ตั้งตัวเองอยู่ห่างจากแม่น้ำปิงประมาณ 1 กิโลเมตร ภายในกำแพงเมืองมีโบราณสถานสำคัญ เช่น เจดีย์ยุทธหัตถี วัดสันย่าผ้าขาว วัดโขงพระโหมด วัดโองโมงค์ วันหนองช้างเผือก ด้านทิศใต้มีห้วยล้องลี่ เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติโดยการดัดแปลงของมนุษย์ ด้านทิศเหนือมีหนองน้ำขนาดใหญ่เรียกว่า หนองเล่ม ด้านทิศตะวันออกมีแนวแม่น้ำปิง

ดอยสอยมาลัย

ตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตื่น สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,600 เมตร สิ่งที่น่าสนใจ คือ สลาแมนเดอร์ หรือ จิ้งจกน้ำ สัตว์น้ำดึกดำบรรพ์ที่หายาก ลักษณะเหมือนจิ้งจก ลำตัวสีชมพู พื้นที่ทั่วไปมีสภาพเป็นป่าสนเมืองหนาว มีจุดชมวิว และชมทะเลสาบยามเช้าที่สวยงาม จุดกางเต็นท์พักแรมมี 3 จุด คือ หน่วยต้นน้ำเขื่อนภูมิพล บริเวณยอดสอยมาลัย หน่วยจัดการต้นน้ำกรมป่าไม้

การเดินทาง จากทางหลวงหมายเลข 1 มุ่งหน้าไป อ.บ้านตาก 22 กม. เลี้ยวซ้ายเข้า อ.บ้านตาก ข้ามแม่น้ำปิง ไปตามทางหลวงหมายเลข 1175 ประมาณ 40 กิโลเมตร แยกเจ้าทางลูกรังไปประมาณ 10 กิโลเมตร สอบถามรายละเอียดได้ที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตื่น โทร. 0 5551 9609 หรือ กรมอุทยานฯ โทร. 0 2562 0706

หมายเหตุ ก่อนขึ้นพิชิตหลังคาเมืองตาก ต้องขออนุญาตจากหน่วยพิทักษ์ป่าเกี่ยวสามล้อก่อนทุกครั้ง ซึ่งเลยปากทางขึ้นดอยไปประมาณ 2 กม. และพาหนะเดินทางต้องเป็น รถขับเคลื่อนสี่ล้อเท่านั้น ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆทั้งสิ้น


:: อุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ ::

:: ข้อมูลทั่วไป ::
น้ำตกพาเจริญเป็นน้ำตกหินปูนที่สวยงามด้วยชั้นน้ำตกที่ไหลลดหลั่นลงมาเป็นชั้นเล็กชั้นน้อยจำนวนมาก และตั้งอยู่ริมทางหลวง ไม่ไกลจากเมืองแม่สอด จึงเป็นจุดที่นิยมแวะมาท่องเที่ยวและพักผ่อน อยู่ในความดูแลของ อุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ใน อำเภอแม่สอด และอำเภอพบพระ จังหวัดตาก ประกอบไปด้วย ป่าที่อุดมสมบูรณ์ พื้นที่เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อนเป็น แหล่งต้นน้ำลำธาร และยังเป็นต้นกำเนิดของห้วยแม่ละเมา มีเนื้อที่ประมาณ 534,375 ไร่ หรือ 855 ตารางกิโลเมตร

ด้วยกองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้จัดตั้งวนอุทยานน้ำตกพาเจริญ ในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่สอด ท้องที่อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2535 ประกอบด้วยกรมป่าไม้ได้ พิจารณาแล้ว เนื่องจากปัจจุบันพื้นที่ป่าบริเวณต่างๆ กำลังถูกทำลาย และยึดถือครอบครองเป็นจำนวนมาก กรมป่าไม้ได้มีคำสั่งที่ 937/2536 ให้นายธารากร อุดมธรรม เจ้าพนักงานป่าไม้ 5 กองอุทยานแห่งชาติ ปฏิบัติงานประจำ และทำหน้าที่หัวหน้าวนอุทยานน้ำตกพาเจริญ จังหวัดตาก ไปดำเนินการสำรวจเพิ่มเติม และจัดตั้งพื้นที่ป่า บริเวณวนอุทยานน้ำตกพาเจริญ ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ละเมา ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่สอด ป่าสงวนแห่งชาติป่าช่องแคบ และป่าแม่โกนเกน ท้องที่จังหวัดตาก และพื้นที่ป่าบริเวณใกล้เคียง ที่มีสภาพเหมาะสมเป็นอุทยานแห่งชาติ จากรายงานการประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2537 เรื่องการจัดตั้งวนอุทยานน้ำตกพาเจริญ จังหวัดตาก ให้เป็นอุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่สอด ในท้องที่ตำบลด่านแม่ละเมา ตำบลพะวอ ตำบลธาตุผาแดง ตำบลแม่กุ ตำบลแม่ตาว ตำบลมหาวัน อำเภอแม่สอด ตำบลช่องแคบ ตำบลพบพระ ตำบลคีรีราษฎร์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก มีสภาพป่าที่สมบูรณ์และมีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามเหมาะสมที่จะจัดตั้งให้เป็นอุทยานแห่งชาติ

ต่อมากรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งให้สำรวจพื้นที่เพิ่มเติม เพื่อประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยกำหนดให้พื้นที่ป่าทั้งหมด ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่สอด เป็นอุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 534,375 ไร่ หรือ 855 ตารางกิโลเมตร ในท้องที่ตำบลด่านแม่ละเมา ตำบลพะวอ ตำบลพระธาตุผาแดง ตำบลแม่กุตำบลแม่ตาว ตำบลมหาวัน อำเภอแม่สอด และตำบลช่องแคบ ตำบลพบพระ ตำบลคีรีราษฎร์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก โดยมติที่ประชุม คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2537 วันที่ 8 พฤศจิกายน 2537 เห็นชอบในหลักการ ให้จัดตั้งเป็น “อุทยานแห่งชาติ”

:: ลักษณะภูมิประเทศ ::
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับซับซ้อนวางตัวไปตามแนวเหนือใต้ มีพื้นที่ราบเล็กน้อยตามเขตลำน้ำ ยอดเขาสูงเด่นในพื้นที่มีดอยป่าตาล ดอยเด่นกระทิง ดอยหลวง ดอยหมากหมื่น เขาลมพักเย็น เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาถนนธงชัย มียอดเขาที่สูงที่สุดอยู่ทางทิศใต้สูงถึง 1,765 เมตร จากระดับน้ำทะเล พื้นที่ตั้งอยู่ในเขตมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้มีฝนตกชุกตลอดปี จึงเป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธาร ต้นกำเนิดของห้วยแม่ละเมา ห้วยอุ้มเปี้ยม ที่มีทิศทางการไหลของน้ำจากทิศใต้สู่ทิศเหนือ มีลำห้วยหลายสายที่มีต้นกำเนิดจากพื้นที่นี้ไหลสู่พื้นที่เกษตรกรรมของอำเภอแม่สอด อำเภอพบพระ เช่น ห้วยแม่สอด ห้วยแม่ดาว ห้วยผักกูด ฯลฯ


:: ลักษณะภูมิอากาศ ::
เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศตั้งอยู่ในเขตมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ภูมิอากาศส่วนใหญ่จึงมีอากาศเย็นสบาย แบ่งตามฤดูกาลได้ 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มจากเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ฤดูฝน เริ่มจากเดือนมิถุนายน-ตุลาคม ฤดูหนาว เริ่มจากเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ ในช่วงฤดูร้อนอากาศไม่ร้อนจัด เพราะเป็นที่สูงมีลมพัด ฤดูหนาวไม่หนาวมาก วัดอุณหภูมิต่ำสุดได้ 6 องศาเซลเซียส ฤดูฝนมีฝนตกชุกและสม่ำเสมอตลอดฤดู ปริมาณน้ำฝนอยู่ระหว่าง 1,500-2,000 มิลลิเมตร/ปี


:: พรรณไม้และสัตว์ป่า ::
สภาพป่าทั่วไปยังคงสมบูรณ์ ส่วนมากเป็นป่าเบญจพรรณ และป่าบางส่วนเป็นป่าสนเขา พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ สัก ยาง ประดู่ สนเขา มะม่วงป่า เต็งรัง เหียง ตะเคียนหนู ตะเคียนทอง มะค่าโมง มะค่าแต้ แดง ยมหอม ยมหิน ฯลฯ ไม้พื้นล่าง เช่น เฟิร์น บอนป่า กระเจียวป่า เป็นต้น

สัตว์ป่า จากการสำรวจพบว่ามีหลายชนิดเช่น กระทิง กวาง เก้ง หมี นกชนิดต่างๆ เสือ หมูป่า ไก่ป่า ไก่ฟ้า งูชนิดต่าง ๆ เม่น อีเห็น ชะนี ลิง กระจง หมาป่า ฯลฯ ทั้งนี้เนื่องจากพื้นที่ทางใต้ติดกับอุทยานแห่งชาติ คลองวังเจ้า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง และสหภาพพม่า


:: ที่ตั้งและการเดินทาง ::
อุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ
หมู่ 6 ต.ช่องแคบ อ. พบพระ จ. ตาก 63160
โทรศัพท์ : 0 5550 0906

รถยนต์
จากอำเภอแม่สอด ใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1090 ถึง กม. ที่ 37 มีทางแยกเข้าไปประมาณ 700 เมตร จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ


รถโดยสารประจำทาง
เดินทางโดยรถ บขส. จากกรุงเทพฯ-แม่สอด โดยอาศัยทางเดินหมายเลข 105 ทางตอนเหนือของ ทางหลวงหมายเลข 1090 ทางทิศตะวันตก และทิศใต้ก็จะผ่านสถานที่ท่องเที่ยวแหล่งต่างๆ ของอุทยานแห่งชาติ น้ำตกเจริญ


:: แหล่งท่องเที่ยว :: ด้านธรรมชาติที่สวยงาม ::
น้ำตกพาเจริญ เป็นน้ำตกหินปูนเกิดจากห้วยน้ำนัก มีน้ำตลอดปี มีถึง 97 ชั้น สภาพป่าบริเวณน้ำตก อากาศเย็นสบายห่างจากทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1090 เพียง 700 เมตร กม.ที่ 37 ตำบลช่องแคบ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ชื่อของน้ำตก ตั้งตามชื่อของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ซึ่งเป็นผู้พบน้ำตกคนแรกนามว่า สหายพา ต่อมาชาวบ้านเข้ามาอาศัยในพื้นที่บริเวณนี้ จนเกิดเป็นชุมชนที่เจริญขึ้น จึงต่อคำว่าเจริญท้ายชื่อน้ำตก เป็นน้ำตกพาเจริญ นอกจากนี้ยังมีเรียกน้ำตกนี้อีกชื่อหนึ่งว่า น้ำตกร่มเกล้า 97 ชั้น


น้ำตกสายฟ้า มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า น้ำตกสายรุ้ง อยู่ท้องที่หมู่ที่ 4 ตำบลพบพระ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก มีถนนเข้าถึง ซึ่งสามารถเข้าชมได้เฉพาะฤดูแล้ง และฤดูหนาว มีต้นกำเนิดจากห้วยน้ำนัก มีน้ำตลอดปี น้ำตกมีความสวยงามตามธรรมชาติ และละอองน้ำกระทบแสงแดดเป็นรุ้งกินน้ำ


บ่อน้ำร้อนพาเจริญ เป็นบ่อน้ำร้อนตามธรรมชาติ อุณหภูมิของบ่อน้ำในบ่อวัดได้ 60 องศาเซลเซียส มีถึง 3 บ่อ ในบริเวณใกล้เคียงกัน ตั้งอยู่ที่หมู่ 4 อำเภอพบพระ ในเขตป่าแม่สอด เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ติดกับถนน รพช. สายพบพระ-ช่องแคบ สามารถเที่ยวชมได้ตลอดปี และมีห้วยน้ำนักไหลผ่านด้านหลังบ่อน้ำร้อน


น้ำตกป่าหวาย เป็นน้ำตกหินปูน เกิดจากลำห้วยหวาย มีน้ำไหลตลอดปี มีจำนวนชั้นมากกว่า 100 ชั้น สภาพป่าบริเวณน้ำตกสมบูรณ์มาก มีไม้ตั้งแต่ขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ เนื่องจากพันธุ์ไม้บริเวณน้ำตก มีไม้หวายจำนวนมาก จึงเรียกน้ำตกป่าหวาย เป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำอุ้มเปี่ยมอยู่ใน ท้องที่ หมู่ 3 ตำบลคีรีราษฎร์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ปัจจุบันทางอำเภอพบพระ ได้พัฒนาทางเข้าชมน้ำตกป่าหวาย จากทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1090 ตรงกิโลเมตรที่ 40 เข้าถึงหมู่บ้านป่าหวายเป็นระยะทาง 17 กิโลเมตร และจากหมู่บ้านป่าหวายถึงน้ำตกป่าหวาย อีก 3 กิโลเมตร นับว่าเป็นน้ำตกที่สวยงามและสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์


น้ำตกห้วยตะปูเคาะ เป็นน้ำตกที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง อยู่ทางทิศเหนือของป่าแม่สอด ห่างจากถนนหลวงสาย 105 บริเวณกิโลเมตรที่ 33 ประมาณ 1 กิโลเมตร เกิดจากห้วยตะปูเคาะ ที่มีต้นน้ำอยู่บริเวณดอยบุญตา พื้นที่นิคมชาวเขาดอยมูเซอร์ น้ำตกหลายชั้นแตกต่างกันไป มีน้ำไหลตลอดปี แต่สวยงามมากในฤดูฝน สภาพบางช่วงยังอุดมสมบูรณ์อยู่ มีไม้ใหญ่ขึ้นอยู่จำนวนมาก เป็นแหล่งต้นน้ำของห้วยแม่ละเมาแห่งหนึ่ง และบางส่วนถูกแผ้วถาง ใช้เป็นที่ทำการเกษตรอยู่ในท้องที่หมู่ 5 ตำบลแม่ละเมา อำเภอแม่สอด ปัจจุบันไม่เป็นที่รู้จัก แต่สามารถพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ เพราะอยู่ไม่ห่างจากถนนมากนัก ใกล้จุดชมวิวถนนหลวงสาย 105 ตรงกม. ที่ 33 และร้านค้าชาวเขาดอยมูเซอร์ การเดินเที่ยวชมสะดวกมาก เนื่องจากมีทางเดินชาวเขาเผ่ามูเซอร์


จุดชมทิวทัศน์ดอยเกี๊ยะ เป็นจุดสูงสุดบริเวณชายแดนไทย-พม่า สำหรับชมทัศนียภาพของแม่น้ำเมย และผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ทั้งในฝั่งไทยและพม่า ส่วนในฤดูหนาวจะมีทะเลหมอกสวยงาม


น้ำตกนางครวญ เป็นน้ำตกหินปูนขนาดกลางซึ่งไหลลดหลั่นลงมาเป็นชั้นๆ การเดินทางจากอำเภอแม่สอด ใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1090 แล้วแยกเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1206 ไปทางอำเภอพบพระ ประมาณ 12 กิโลเมตร จะถึงน้ำตก


น้ำตกธารารักษ์ อยู่เขตบ้านเจดีย์โค๊ะ ริมทางหลวงหมายเลข 1090 บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 26 มีทางแยกซ้ายมือเข้าสู่น้ำตก ระยะทางประมาณ 700 เมตร เป็นน้ำตกขนาดเล็กชั้นเดียว มีน้ำตลอดปี แต่ไม่มีแอ่งสำหรับเล่นน้ำ ลักษณะเป็นน้ำไหลตกลงมาจากหน้าผาหินปูนที่ชันระดับ 90 องศา สูงประมาณ 30 เมตร ข้างบนมีแอ่งน้ำขนาดใหญ่ ต้องปีนไปตามหินซึ่งลื่นมาก


ถ้ำช้างร้อง หรือ อุโมงค์วงกต อยู่หมู่ที่ 8 บ้านเสรีราษฎร์ใหม่ ตำบลช่องแคบ ริมทางหลวงหมายเลข 1090 (แม่สอด-อุ้มผาง) ระหว่างกิโลเมตรที่ 43-44 เป็นถ้ำที่ลึกมากประมาณ 10 เมตร จะพบภายในถ้ำเป็นห้องกว้างประมาณ 7 เมตร เคยเป็นแหล่งที่หลบซ่อน ของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์มาก่อน



:: สิ่งอำนวยความสะดวก ::
ห้องสุขาชาย มีห้องสุขาชายให้บริการ


ห้องสุขาหญิง มีห้องสุขาหญิงให้บริการ


สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ มีพื้นที่กางเต็นท์ พร้อมห้องน้ำ-ห้องสุขารวม ไว้ให้บริการ ท่านสามารถนำเต็นท์มากางเอง หรือติดต่อขอใช้บริการเต็นท์ของอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีค่าบริการอยู่หลายอัตราขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของเต็นท์ และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ


ที่จอดรถ มีลานจอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว



:: อุทยานแห่งชาติแม่เมย ::

:: ข้อมูลทั่วไป ::
ความเป็นมา : เริ่มมีการสำรวจว่าจัดตั้ง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 เป็นหน่วยงานกองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ใช้ชื่อว่า อุทยานแห่งชาติแม่เมยนั้น เพราะว่ามีแม่น้ำเมย ซึ่งกั้นระหว่างประเทศไทย และประเทศพม่า เป็นเขตด้านทิศตะวันตกเกือบ 50 กิโลเมตร จากทิศเหนือจรดทิศใต้ อีกทั้ง แม่น้ำเมยนั้นเป็นแม่น้ำที่แปลกคือ จะไหลมาทางทิศใต้ ขึ้นไปทางทิศเหนือ พื้นที่ที่ทำการสำรวจ จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่ของวนอุทยานถ้ำแม่อุสุ และรวมพื้นที่ของ ป่าสงวนแห่งชาติป่าท่าสองยางบางส่วน เป็นแนวเทือกเขาถนนธงชัย โดยเริ่มจากตำบลแม่ต้าน ผ่านตำบลแม่สอง จนถึงตำบลท่าสองยาง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 713,750 ไร่ หรือ 1,142 ตารางกิโลเมตร

อุทยานแห่งชาติแม่เมย ได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ตามพระราชกฤษฎีกา กำหนดบริเวณที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ ป่าท่าสองยาง ในท้องที่ตำบลแม่สอง และตำบลแม่อุสุ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 40 ก ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2542 มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 115,800 ไร่ หรือ 185.28 ตารางกิโลเมตร ในท้องที่ตำบลแม่อุสุนั้น เดิมเป็นวนอุทยานถ้ำแม่อุสุ มีอาณาเขตทิศเหนือจดแม่น้ำเมย ทิศใต้จดห้วยโป่งและห้วยม่วง ทิศตะวันออกจดห้วยพูลซะ ห้วยพอนอโก ตามทางหลวงสายแม่สอด-แม่สะเรียง ทิศตะวันตกจดแม่น้ำเมย ในท้องที่ตำบลแม่สอง เดิมเป็นพื้นที่ป่าสัมปทานเก่า อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าท่าสองยาง มีอาณาเขตติดต่อดังต่อไปนี้ คือ ทิศเหนือจดทางหลวงสายแม่สลิด – อมก๋อย ทิศใต้จดลำน้ำแม่สอง และทางหลวงสายแม่สอด–แม่สะเรียง ทิศตะวันออกจดห้วยแม่หลุยและลำน้ำแม่สอง ทิศตะวันตกจดแม่น้ำเมย

:: ลักษณะภูมิประเทศ ::
ส่วนมากเป็นภูเขาสลับซับซ้อนมีที่ราบน้อยมาก โดยมีความสูงเฉลี่ย 680 เมตร จากระดับน้ำทะเล จุดสูงสุด 1,250 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ปกคลุมไปด้วยป่าไม้ที่ค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ไม้ใหญ่มีน้อย เป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญ ของลำน้ำแม่สอง ลำน้ำแม่อุสุ ลำน้ำแม่สลิดหลวง และแม่น้ำเมย


:: ลักษณะภูมิอากาศ ::
จะมีฝนตกชุกมากในฤดูฝนตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - เดือนตุลาคม ซึ่งไม่เหมาะสมต่อการท่องเที่ยว ฤดูร้อนอากาศค่อนข้างอบอุ่น และจะหนาวถึงหนาวจัดในฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงที่เหมาะแก่การท่องเที่ยว ชมทะเลหมอก และสภาพทิวทัศน์ทั่วไป เป็นอย่างมาก พื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่เมย อยู่ในบริเวณร่องลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จากทะเลอันดามันพัดผ่าน ประกอบกับ อยู่ในตำแหน่งด้านหน้าเขา ทำให้ได้รับลมมรสุมมากกว่าบริเวณอื่น มีฝนตกชุกเหมือนภาคใต้ฝั่งตะวันตก จะมีฝนตกชุกมากในฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - เดือนตุลาคม ซึ่งไม่เหมาะสมต่อการท่องเที่ยว ฤดูร้อนอากาศค่อนข้างอบอุ่น และจะหนาวถึงหนาวจัดในฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงที่เหมาะแก่การท่องเที่ยว ชมทะเลหมอก และสภาพทิวทัศน์ทั่วไปเป็นอย่างมาก


:: พรรณไม้และสัตว์ป่า ::
พื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่เมยสามารถจำแนกสังคมพืชออกได้เป็น ป่าดิบแล้ง พบตามหุบเขาทั่วไป ในระดับความสูง จากระดับน้ำทะเล ประมาณ 300-700 เมตร พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่จำพวก ตะเคียนหิน ตะแบก สมพง ชมพู่ป่า กระบาก ยาง รกฟ้า สมอพิเภก ฯลฯ พืชพื้นล่างเป็นพวก ไผ่ หวาย เฟิน เร่ว เป็นต้น ป่าดิบชื้น จะพบในระดับสูงขึ้นมา โดยเฉพาะตามหุบเขาและริมห้วยในระดับความสูงจากน้ำทะเล 400-1,200 เมตร เป็นป่าทึบประกอบด้วย ยาง ตะเคียนหิน อบเชย มะไฟป่า อินทนิน ค้อ กระทุ่มน้ำ ลำพูป่า ฯลฯ พืชพื้นล่างเป็นพวกหวาย เต่าร้าง ไผ่สีสุก ไผ่หก ไผ่หนาม เฟิน ปรง และพืชในวงศ์ขิงข่า เป็นต้น ป่าดิบเขา พบตามภูเขาในระดับความสูงจากน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป พันธุ์ไม้ที่ขึ้นได้แก่ ก่อเดือย ก่อแป้น อบเชย ทะโล้ จำปีป่า ฯลฯ ป่าสนเขา ส่วนใหญ่ขึ้นเป็นหย่อมเล็กหย่อมน้อยในระดับความสูง700-1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้ที่ขึ้นได้แก่ สนสองใบ สนสามใบ และก่อชนิดต่างๆ ป่าเบญจพรรณ โดยมากพบอยู่ริมห้วยและหุบเขาในระดับ 300-600 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้ที่พบจำพวก สัก แดง ประดู่ มะค่าโมง มะค่าแต้ ชิงชัน ขะเจ๊าะ เสลา ตีนนก โมกมัน ฯลฯ และป่าเต็งรัง มักขึ้นอยู่บนเนินเขา ไหล่เขา และเชิงเขา โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีหินโผล่ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง ส้าน มะขามป้อม ยอป่า สลักป่า ติ้ว แต้ว เป็นต้น

สัตว์ป่าในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่เมยมีจำนวนน้อย อันเป็นผลเนื่องมาจากการล่า การยิง และถิ่นที่อยู่อาศัย ของสัตว์ป่าถูกทำลาย สัตว์ที่หลงเหลืออยู่จะเป็นสัตว์ขนาดเล็ก สัตว์ใหญ่พบน้อยมาก ที่สามารถพบเห็นได้บ่อย เช่น เก้ง กระจง หมี หมูป่า ลิง ชะนี ค่าง ลิงลม อีเห็น ชะมด เม่น เม่น กระต่ายป่า กระรอก ไก่ป่า นกเงือก นกขุนทอง นกตะขาบทุ่ง นกกะรางหัวหงอก นกเขาเขียว งูเห่า งูจงอาง งูเหลือม งูสิง ตะกวด แย้ กิ้งก่า ตะพาบน้ำ กบ เขียด เป็นต้น


:: ที่ตั้งและการเดินทาง ::
อุทยานแห่งชาติแม่เมย
ต.แม่สอง อ. ท่าสองยาง จ. ตาก 63150
โทรศัพท์ : 0 5557 6452 (สนง.), 08 5272 1171 (จนท.)

รถยนต์
จากจังหวัดตาก มาอำเภอแม่สอด และอำเภอท่าสองยาง ประมาณ 84 กิโลเมตร จากอำเภอท่าสองยาง ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 105 (แม่สอด – แม่สะเรียง) ระยะทางประมาณ 33 กิโลเมตร ถึงทางแยกแม่สลิดหลวง เลี้ยวขวาตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1267 (แม่สลิด-อมก๋อย) ระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่เมย


ถ้ำแม่อุสุอยู่ห่างจากอำเภอท่าสองยาง ตามทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 105 (แม่สอด – แม่สะเรียง) ระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายตามถนน รพช. ผ่านบ้านทีโนะโคะ ระยะทาง 2 กิโลเมตร ถึงถ้ำแม่อุสุ

:: แหล่งท่องเที่ยว ::
ม่อนกระทิง ม่อนกิ่วลม และม่อนพูนสุดา เป็นจุดชมทิวทัศน์ของขุนเขา และทะเลหมอก ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดี ในหมู่นักท่องเที่ยว และนักถ่ายภาพธรรมชาติมานาน หลายสิบปี ปัจจุบันยอดดอยเหล่านี้ รวมทั้งถ้ำแม่อุสุ ซึ่งมีความงดงามมาก อยู่ในความดูแล ของอุทยานแห่งชาติแม่เมย ท้องที่อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่


:: ด้านธรรมชาติที่สวยงาม ::
ถ้ำแม่อุสุ เป็นถ้ำหินปูนที่มีขนาดกว้างใหญ่ มีลำน้ำแม่อุสุไหลเข้าสู่ปากถ้ำ ซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ แล้วไหลเวียนไปออกด้านหลังถ้ำ ลงไปสู่แม่น้ำเมย ซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีระยะทางโดยประมาณ 450 เมตร ปากถ้ำกว้างประมาณ 20 เมตร สูงประมาณ 6 เมตร ภายในของถ้ำมีคูหาใหญ่ๆ อยู่ 3 คูหา มีหินงอกหินย้อยที่สวยงามมาก เวลากลางวัน แสงอาทิตย์ส่องลาดผ่านปล่องถ้ำลงมากระทบหินทราย เกิดประกายแวววาว บริเวณปากทางเข้าถ้ำมีเจ้าหน้าที่นำเที่ยวชมภายใน ทางเดินในถ้ำค่อนข้างสะดวก มีเพียงบางช่วงที่ต้องปีนป่ายก้อนหินบ้าง ใช้เวลาเที่ยวชมประมาณ 1 ชั่วโมง ในช่วงฤดูฝนระดับน้ำในถ้ำ จะขึ้นสูง จนไม่สามารถเข้าไปในถ้ำได้ ถ้ำแม่อุสุจึงเที่ยวได้เฉพาะในช่วงฤดูหนาว และฤดูแล้ง ถ้ำแม่อุสุอยู่ห่างจากอำเภอท่าสองยาง ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 105 สายแม่สอด - แม่สะเรียง ระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายตามถนน รพช. ผ่านบ้านทีโนะโคะ ระยะทาง 2 กิโลเมตร ถึงถ้ำแม่อุสุ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หมายเลข 08 5732 2532


น้ำตกแม่สลิดน้อย อยู่ด้านหลังที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ต้องเดินทางเท้าลัดเลาะไปตามลำห้วยแม่สลิด ใช้เวลาประมาณ 30 นาที ระหว่างทางจะมีพันธุ์ไม้ที่น่าสนใจให้ศึกษา เช่น ดอกเทียน หงอนเงือกเล็ก แววมยุราเล็ก ดอกไม้เถา เห็ดป่าสีสวยสดใส และเฟิร์น ใช้ชมตลอดทาง ถึงน้ำตกชั้นแรก แยกเป็นสองสายตกจากหน้าผาสูงราว 40 เมตร ส่วนชั้นที่ 2, 3 และ 4 ต้องปีนป่ายไปตามไหล่เขาที่สูงชัน ชั้นบนสุดจะพบน้ำตกอีกสองชั้นใหญ่ๆ มีสายน้ำทิ้งตัวไหลลงสู่เบื้องล่างติดต่อกันลงมาถึงสองชั้น จากหน้าผาสูงชันไม่น้อยกว่า 80 เมตร ลงสู่แอ่งน้ำใหญ่ด้วยความแรงของสายน้ำทำให้เกิดละอองเป็นฝอยฟุ้งกระจายไปทั่ว

ทางอุทยานแห่งชาติได้จัดทำ เส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกแม่สลิดน้อย สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการเดินท่องธรรมชาติ ฟังเสียงสายน้ำ และศึกษาพรรณไม้นานาชนิด อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 1.8 กิโลเมตร ระหว่างเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติมีน้ำตกขนาดเล็กมากมายให้ได้ชม


น้ำตกชาวดอย อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ตามถนนแม่สลิด-แม่ระเมิง ประมาณ 5 กิโลเมตร ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 17-18 มีเส้นทางเดินเท้าประมาณ 500 เมตร ใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที จะพบกับน้ำตกชาวดอย ที่ไหลจากหน้าผาสูงราว 25-30 เมตร ลักษณะเป็นน้ำตกขนาดกลาง ชั้นเดียว ที่ทิ้งลงสู่เบื้องล่าง รวมตัวเป็นสายธาร ไหลลัดเลาะไปตามโขดหิน ที่ระเกะระกะกลางลำห้วย แลดูสวยงามแปลกตา


จุดชมทะเลหมอก จุดชมทะเลหมอกนี้ อยู่หลังที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่เมย มีความสูงประมาณ 1,100 เมตร เป็นจุดที่มองเห็นทะเลหมอกได้กว้างไกลมาก รวมทั้งพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก อีกทั้งเป็นจุดชมวิว ที่ต้อนรับผู้ที่นิยมการเดินป่า เพราะจะต้องเดินเท้าเข้าไปประมาณ 3-4 ชั่วโมง และต้องพักค้างแรม 1 คืน เพื่อชมทิวทัศน์ที่สวยงาม


ม่อนครูบาใส อยู่ใกล้เคียงกับม่อนพูนสุดา ห่างกันประมาณ 200 เมตร สามารถชมทะเลหมอกยามเช้าและชมพระอาทิตย์ตกดินได้ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่เมย ประมาณ 7 กิโลเมตร


ม่อนกิ่วลม ที่ใช้ชื่อว่า ม่อนกิ่วลม ก็เพราะที่แห่งนี้มีช่องหรือกิ่ว ที่มีลมพัดผ่านอยู่เสมอ เป็นจุดชมดวงอาทิตย์ขึ้น ยามเช้า ที่สวยที่สุด บนเส้นทางสายสายแม่สลิดน้อย-แม่ระเมิง ม่อนกิ่วลมอยู่บนความสูง 940 เมตรจากระดับน้ำทะเล มองเห็นทะเลหมอกปกคลุมหุบเขาเบื้องล่าง โดยมียอดเขาสูงต่างๆ โผล่พันสายหมอก แลดูราวกับเกาะใหญ่น้อย กลางทะเลสีขาว อากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี สภาพป่าโดยรอบเป็นป่าดิบเขา เดินทางต่อจากม่อนกระทิง ลัดเลาะไปตามไหล่เขา อีกประมาณ 8 กิโลเมตร จุดชมทิวทัศน์ม่อนกิ่วลม อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแงชาติ ประมาณ 12 กิโลเมตร


ม่อนพูนสุดา เป็นจุดชมทะเลหมอกที่สวยงามมากอีกแห่งหนึ่ง อยู่ห่างจากม่อนกระทิง 2 กิโลเมตร ชื่อม่อนตั้งขึ้นตามชื่อของนักถ่ายภาพชั้นครูของเมืองไทย คือ อาจารย์พูน เกษจำรัส และภรรยาของท่านชื่อ สุดา เพื่อเป็นเกียรติแด่อาจารย์พูน ในฐานะที่เป็นผู้เดินทางมาถ่ายภาพบนหม่อนนี้เป็นคนแรก


ม่อนกระทิง เป็นจุดชมทะเลหมอกที่มีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่ง คำว่า “ม่อน” หมายถึง เนินดินหรือเนินเขาเตี้ยๆ ชื่อม่อนกระทิงมีที่มาจากว่าบริเวณนี้เคยมีกระทิงอาศัยอยู่ชุกชุมจนมีพรานป่าขึ้นมาล่าอยู่เสมอๆ เดินทางจากถ้ำแม่อุสุ ต่อไปจนพบกับทางหลวงจังหวัด หมายเลข 1267 สายแม่สลิดหลวง - แม่ระเมิง ให้เลี้ยวขวา ขึ้นสู่ดอยแม่ระเมิง ช่วงนี้เป็นทางขึ้นเขาชัน ระยะทางประมาณ 11 กม. จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ม่อนกระทิงอยู่ห่างออกไปอีกไม่ไกล


น้ำตกแม่ระเมิง น้ำตกแม่ระเมิง จากที่ทำการของอุทยานแห่งชาติ ตามเส้นทางสู่ม่อนกิ่วลม อยู่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 20 ทางด้านขวามือจะพบน้ำตก ลักษณะเป็นน้ำตกขนาดเล็กสูงราว 15 เมตร ตกลงมาเป็นสองชั้นไหลลงสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง



:: สิ่งอำนวยความสะดวก ::
ห้องสุขาชาย มีห้องสุขาชายให้บริการ


ห้องสุขาหญิง มีห้องสุขาหญิงให้บริการ


ที่พักแรม/บ้านพัก อุทยานแห่งชาติได้จัดเตรียมบ้านพักไว้ให้บริการในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ


สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์ และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียด และสำรองที่พักเต็นท์ได้กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง


ที่จอดรถ มีลานจอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เพื่อศึกษาหาข้อมูลเบื้องต้นก่อนไปท่องเที่ยว ในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ



จังหวัดตาก :: การเดินทาง

ทางรถยนต์

จากกรุงเทพฯ สามารถใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข 32 ถนนสายเอเซีย ผ่านประตูน้ำพระอินทร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท เข้านครสวรรค์แล้วแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1 อีกครั้ง ผ่านเข้ากำแพงเพชร และตรงไปจังหวัดตาก รวมระยะทาง 426 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 ชั่วโมงครึ่ง

รถโดยสารประจำทาง

บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการเดินรถระหว่าง กรุงเทพฯ-ตาก ทั้งช่วงเช้า และช่วงเย็น เวลา 05.30-13.00 น. และ 16.30-22.00 น. และกรุงเทพฯ-แม่สอด ตั้งแต่เวลา 08.00-19.00 น. ทุกวัน สอบถามรายละเอียดได้ที่ สถานีขนส่งหมอชิต 2 โทร. 0 2537 8055, 0 2936 2852-66 http://www.transport.co.th/

มีบริษัทเดินรถเอกชน ได้แก่ บริษัท ทันจิตต์ ทัวร์ วิ่งระหว่าง กรุงเทพฯ-ตาก ตั้งแต่เวลา 09.30-22.00 น., กรุงเทพฯ-แม่สอด เวลา 22.00 น. สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0 5551 1307 กรุงเทพฯ โทร. 0 2936 3210-13

บริษัท เชิดชัย ทัวร์ วิ่งระหว่าง กรุงเทพฯ-ตาก ตั้งแต่เวลา 12.30-22.00 น. กรุงเทพฯ-แม่สอดมีรถออกเที่ยวเดียวคือ เวลา 22.15 น. สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0 5551 1054 กรุงเทพฯ โทร. 0 2936 0199

นอกจากนี้ บริษัท ขนส่ง จำกัด และ บริษัทเดินรถเอกชน มีบริการรถโดยสารปรับอากาศ และรถธรรมดาวิ่งระหว่างอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ พิษณุโลก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ลำปาง พะเยา เชียงใหม่ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น อำเภอบ่อไร่ จังหวัดจันทบุรี สอบถามรายละเอียดได้ที่ สถานีขนส่ง จังหวัดตาก โทร. 0 5551 1057 สถานีขนส่ง อำเภอแม่สอด โทร. 0 5553 2949 และ บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด ถนนอินทรคีรี อำเภอแม่สอด วิ่งระหว่างแม่สอด-เชียงราย-แม่สาย โทร. 0 5553 2331

นอกจากนี้ยังมีบริษัทรถเช่าที่ให้บริการเช่ารถในเขตอำเภอเมืองอีกด้วย


เครื่องบิน

บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีบริการเที่ยวบินจากกรุงเทพ- แม่สอด สอบถามรายละเอียดได้ที่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 0 2280 0060, 0 2628 2000 สอบถามรายละเอียด โทร. 1566 http://www.thaiairways.com/ สำนักงานแม่สอด โทร. 0 5553 1440, 0 5553 1730

บริษัท สยาม จีเอ.จำกัด (Siam GA) บริการเที่ยวบิน กรุงเทพฯ-อุ้มผาง สอบถามรายละเอียดได้ที่ 0 2535 7050 อุ้มผาง โทร. 0 5556 1611-2 หรือ http://www.sga.aero/


การเดินทางระหว่างจังหวัดตากกับจังหวัดใกล้เคียง

การเดินทางจากจังหวัดตากไปจังหวัดใกล้เคียงนักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางจากจังหวัดตากกลับกรุงเทพฯ หรือไปจังหวัดอื่น สามารถเลือกใช้บริการได้ทั้งจากเครื่องบิน และรถประจำทาง

ระยะห่างระหว่าง จังหวัดตาก และจังหวัด ใกล้เคียง

กำแพงเพชร 68 กิโลเมตร
สุโขทัย 79 กิโลเมตร
พิจิตร 157 กิโลเมตร
นครสวรรค์ 185 กิโลเมตร

การเดินทางภายในตัวเมือง

มีรถต่างๆ ให้บริการดังต่อไปนี้

1. รถสองแถว มีวิ่งบริการจากสถานีขนส่งไปยังที่ต่างๆ ในตัวเมือง ตั้งแต่ 06.00 - 17.00 น. นักท่องเที่ยวอาจเหมารถสองแถว ไปเที่ยวได้ทั้งในเมือง และต่างอำเภอ คิดราคา วันละ 1,000 - 2,000 บาท แล้วแต่ระยะทาง และจำนวนคน ควรต่อรองราคาก่อนจะตกลงกัน

2. รถสามล้อเครื่อง มีจอดอยู่ตามจุดต่างๆ ในจังหวัด เช่น หน้าตลาดเทศบาล หน้าบริษัท ทันจิตต์ทัวร์ หน้าสถานีขนส่ง ค่าบริการแล้วแต่ระยะทาง

3. มอเตอร์ไซต์รับจ้าง จอดบริการอยู่ที่หน้าสถานีขนส่ง ค่ารถเท่ากับสามล้อเครื่อง


จังหวัดตาก :: ตัวอย่างโปรแกรมท่องเที่ยว

ชมทะเลหมอกที่ อช. แม่เมย แวะเมือง แม่สอด (3 วัน 2 คืน)

- วันแรก
- ออกเดินทางแต่เช้าตรู่ ถึง อ. แม่สอด ในช่วงบ่าย แวะซื้อเสบียง และเติมน้ำมันรถ จากนั้นเดินทางมุ่งหน้าสู่ อช. แม่เมย หากมีเวลา แวะชม ถ้ำแม่อุสุ ก่อนขึ้นดอยแม่ระเมิง
- พักแรมแบบแค้มปิ้ง หรือ พักที่บ้านพักของ อุทยานฯ

- วันที่ 2
- เช้าตรู่ ออกเดินทางไปชม ทะเลหมอก ที่ ม่อนกิ่วลม โดยผ่าน ม่อนครูบาใส และ ม่อนพูนสุดา ชมเฟินต้น และ พรรณไม้ แปลกๆ ระหว่างทาง
- ช่วงสาย เดินทางไปชมหมู่บ้าน กระเหรี่ยง แม่ระเมิง ใช้เวลา 1-2 ชม. จากนั้นย้อนกลับไปยังที่ทำการ อุทยานฯ เพื่อเดินป่า ไปชม น้ำตกชาวดอย
- ช่วงบ่ายเดินทางไป อ. แม่สอด
- ค้างคืนที่ อ. แม่สอด

- วันที่ 3
- ช่วงเช้า เที่ยวตัวเมือง แม่สอด แวะชม วัดชุมพลคีรี วัดมณีไพรสณฑ์ แวะชิมของอร่อย ก่อนเดินทางต่อไป ยัง ตลาดริมเมย ชมบรรยากาศ การค้าชายแดน และเลือกซื้อสินค้า แวะชม วัดพระธาตุดอยดินจี่ และ วัดไทยวัฒนาราม ก่อนเดินทางกลับ


ชมวัด เที่ยวเมือง เยือน เขื่อนภูมิพล (3 วัน 2 คืน)

- วันแรก
- เดินทางสู่ตัวเมืองตาก
- ช่วงบ่ายออกเดินเที่ยวชมตรอกบ้านจีน ชิมก๋วยเตี๋ยวร้านถอดรองเท้า จากนั้น ไปสักการะศาล สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ชม วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง และ ทิวทัศน์ ริมแม่น้ำปิง
- พักที่ตัวเมือง ตาก

- วันที่ 2
- ออกจาก ตัวเมืองตาก แต่เช้า ใช้ทางหลวงหมายเลข 1107 เลียบ แม่น้ำปิง ฝั่งตะวันตก ไป อ.บ้านตาก แวะชม วัดพระบรมธาตุ และ เจดีย์ยุทธหัตถี จากนั้นเดินทางต่อไปยัง เขื่อนภูมิพล
- พักที่ เขื่อนภูมิพล

- วันที่ 3
- เที่ยวชม เขื่อนภูมิพล และล่องเรือชม ทะเลสาบ แม่ปิง ก่อนเดินทางกลับ

ถ้าต้องการเที่ยวชมธรรมชาติ สามารถเลือกเดินทางไปยัง ดอยสอยมาลัย ได้ในวันที่ 2 เป็นการเดินทางที่สมบุกสมบันพอสมควร โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 1175 (อ.บ้านตาก - อ.แม่ระมาด) ผ่าน วัดสอยมาลัย มี ทะเลหมอก ที่สวยงาม ทิวทัศน์ ทะเลสาบ เหนือ เขื่อนภูมิพล และ ป่าดงดิบเขา ให้เที่ยวชม แล้วพักค้างแรมแบบแค้มปิ้งบนดอย ก่อนเดินทางกลับในวันรุ่งขึ้น


ล่องแก่ง ชมน้ำตก ทีลอซู อุ้มผาง - แม่สอด (4 วัน 3 คืน)

โปรแกรมนี้ หากมาเป็นกลุ่ม 8 - 10 คน นิยมซื้อ แพ็กเกจ ทัวร์ โดยเดินทางด้วยรถประจำทาง จาก กรุงเทพฯ ตอนค่ำ มาถึง อ.แม่สอด เช้าตรู่ บริษัททัวร์ จะมารอรับที่นี่ แต่หากต้องการขับรถเที่ยวเอง สามารถวางแผนการเที่ยวได้ ดังนี้

- วันแรก
หากต้องการไปถึง อ.อุ้มผาง ในวันเดียว ควรเดินทาง ถึง อ.แม่สอด ไม่เกินเวลา 14.00 น. เพราะจาก แม่สอด ต้องใช้เวลา ไม่น้อยกว่า 4 ชม. จึงจะถึง อุ้มผาง และควรติดต่อจองที่พัก ที่ อ.อุ้มผาง ไว้ล่วงหน้า แต่ถ้า เดินทางมาถึง อ.แม่สอด ค่อนข้างเย็น ควรค้างแรม ที่ตัวเมือง หรือ ออกไปพักแรม แบบแค้มปิ้ง ที่ อช.น้ำตกพาเจริญ ก็ได้

ถ้าต้องการเดินทางรวดเดียวจาก กรุงเทพฯ ก็จะถึง อ.อุ้มผาง ตอนบ่ายหรือ ค่ำ แต่ต้องขับรถเหนื่อยมาก

- วันที่ 2
ออกเดินทางไป น้ำตก ทีลอซู โดยขับรถไปยังที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า อุ้มผาง และอาจเลือกพักแรมแบบ แค้มปิ้ง บริเวณที่ทำการ หรือ กลับมาพักยังตัว อ.อุ้มผาง ก็ได้

หากซื้อแพ็กเกจทัวร์ บริษัททัวร์ จะใช้เวลา 1 วันเต็ม โดยล่องแก่ง ด้วยเรือยาง จากสะพาน ข้ามแม่น้ำแม่กลอง แล้วเดินทางด้วยรถกระบะ ต่อไปยังที่ทำการ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ และ เดินทางต่ออีกราว 1 ชม.

- วันที่ 3
เดินทางไปล่องแก่ง อุ้มผางคี (ควรติดต่อ บริษัททัวร์ ที่มีประสบการณ์) โดยขับรถไปยัง บ้าน แปโดทะ แล้วเดินต่อไปยัง บ้าน อุ้มผางคี สามารถพักแรมแบบโฮมสเตย์ ที่บ้าน อุ้มผางคี แล้ว ล่องแก่ง ในวันรุ่งขึ้น หรือ ถ้ามีเวลาก็ ล่องแก่ง ได้เลย แล้วกลับมาพักที่ตัว อ.อุ้มผาง

- วันที่ 4
เดินทางไปชมทิวทัศน์ บน ดอยหัวหมด จากนั้น เดินทางออกจาก อ.อุ้มผาง แวะชม และเลือกซื้อ สินค้าเกษตร ที่ ต.ช่องแคบ อ.พบพระ แล้วไปยัง ตลาดริมเมย ชมตลาด และซื้อของ ประมาณ 1-2 ชม. ก่อนเดินทางกลับ


จังหวัดตาก :: สถานที่ท่องเที่ยว อำเภอสามเงา

เขื่อนภูมิพล

เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เขื่อนยันฮี เป็นเขื่อนเอนกประสงค์แห่งแรกในประเทศไทย สร้างเป็นเขื่อนคอนกรีตรูปโค้งขนาดใหญ่ที่สูงที่สุดในประเทศไทย และเอเชียอาคเนย์ จัดอยู่ในอันดับ 8 ของโลก มีความสูงจากฐานถึงสันเขื่อน 154 เมตร กั้นแม่น้ำปิงที่เขาแก้ว อำเภอสามเงา สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า และด้านชลประทาน ความยาวของลำน้ำจากเขื่อนถึงอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นระยะทาง 207 กิโลเมตร รอบบริเวณเขื่อนภูมิพลเป็นแหล่งพักผ่อน และเพาะพันธุ์สัตว์น้ำจืดด้วย นอกจากนั้นทางเขื่อนภูมิพลได้จัดทำ เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ สองฝั่งลำน้ำปิง เหนืออ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล ในเขตป่าสงวนแห่งชาติแม่ตื่น เป็นเส้นทางเดินศึกษาสภาพความหลากหลายของพื้นที่ป่าดิบเขา และการฟื้นฟูสภาพป่า ตลอดจนการศึกษาลักษณะสภาพป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ความหลากหลายของภูเขาหิน ลำห้วย และน้ำตก เพื่อให้นักท่องเที่ยวมีโอกาสได้สัมผัสธรรมชาติอย่างใกล้ชิด อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวในเชิงอนุรักษ์

อาคารเฉลิมพระเกียรติ์ ตั้งอยู่ตรงข้ามกับสวนน้ำพระทัย จ้ดสร้างขึ้นในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ในวันที่ 5 ธันวาคม 2542 ภายในอาคารจัดแสดงเรื่องราวการก่อสร้างเขื่อนและนำเสนอประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมที่เกิดจากเขื่อนภูมิพล เรื่องในหลวงกับ กฟผ. การจำหน่ายผลผลิตจากโครงการหลวง ภายนอกอาคารจัดแสดงการทำงานของกังหันน้ำชัยพัฒนา

สนามกอล์ฟเขื่อนภูมิพล เป็นสนามภูเขาที่มีความท้าทายท่ามกลางธรรมชาติ และภูมิทัศน์ที่สวยงาม ระยะ 6,065 หลา พาร์ 71 จำนวน 18 หลุม สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและจองที่พักได้ที่เขื่อนภูมิพล โทร. 0 5554 9509-10, 0 5559 9093-7, ต่อ 2521

วัดชลประทานรังสรรรค์

อยู่ที่หมู่ที่ 3 บ้านจัดสรร ตำบลสามเงาเป็นวัดที่กรมชลประทานเป็นผู้สร้าง ห่างจากเขื่อนภูมิพลประมาณ 5 กิโลเมตร สาเหตุที่สร้างเพราะได้มีการสร้างเขื่อนภูมิพล เมื่อเริ่มกักเก็บน้ำ น้ำได้ท่วมพื้นที่ที่อยู่อาศัย วัดและโรงเรียน จึงอพยพประชาชนตำบลบ้านนาที่ถูกน้ำท่วม มาอยู่ในพื้นที่ที่ทางกรมชลประทานจัดสรรให้ ซึงวัดชลประทานฯ ได้ก่อสร้างทอแทนวัดจำนวน 8 วัด ที่ถูกน้ำท่วม เมื่อ พ.ศ.2502 ได้แก่ วัดบ้านห้วย วัดศรีแท่น วัดดอนแก้ว วัดหลวง วัดท่าเดื่อ วัดท่าโป่ง วัดอุมวาบ และวัดพระธาตุลอย โดยได้นำพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมนาสัมพุทธเจ้าองค์พระธาตุลอยอันศักดิ์สิทธิ์ ยอดฉัตรเจดีย์ พระพุทธรูปทองคำศักดิ์สิทธิ์ คือ หลวงพ่อทันใจจำนวน 3 องค์ และ ศาสนวัตถุต่างๆ เช่น พระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ขนาดและปางต่างๆ หีบลวดลายทองที่บรรจุพระธรรม ตู้ไม้ สิ่งของเครื่องใช้ของวัดทั้ง 8 วัดมารวมกัน ณ วัดชลประทานรังสรรค์

ผาสามเงา

อยู่ในตำบลย่านรี จากอำเภอเมืองใช้เส้นทางหมายเลข 1107 (เจดีย์ยุทธหัตถี-เขื่อนภูมิพล)ผ่านทางแยกไปเจดีย์ยุทธหัตถีประมาณ 25 กิโลเมตร หรือถ้าใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ถึงกิโลเมตรที่ 463 จะมีทางแยกซ้ายเข้าเขื่อนภูมิพลไปประมาณ 10 กิโลเมตร ถึงอำเภอสามเงา ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำปิง จะมองเห็นขุนเขาใหญ่ลูกหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ผาสามเงา" เพราะเป็นที่เชิงเขาริมหน้าผานั้นเจาะเป็นช่องลึกเข้าไปในเนื้อภูเขาเรียงกัน 3 ช่อง ประดิษฐานพระพุทธรูปปิดทองช่องละองค์ มีบันไดไม้ให้นักท่องเที่ยวขึ้นไปนมัสการพระพุทธรูปได้ จากตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาว่า เมื่อประมาณปี พ.ศ.1206 มีพระฤาษีสององค์สร้างเมืองหริภุญชัย (ลำพูน) และให้คนมาทูลเชิญราชวงศ์กษัตริย์จากเมืองละโว้หรือลพบุรีในปัจจุบัน ไปครองเมืองหริภุญชัย พระนางจามเทวี ได้รับมอบหมายให้ไปครองเมืองตามคำเชิญ พระนางจึงเสด็จมาทางชลมารค ขึ้นมาตามลำน้ำปิงปรากฏว่า เมื่อมาถึงบริเวณหน้าผาแห่งนี้ เกิดเหตุมหัสจรรย์มีฝนและพายุใหญ่พัดกระหน่ำ จนเรีอไม่สามารถแล่นทวนน้ำขึ้นไปได้ และปรากฏเงาพระพุทธรูปสามองค์ที่หน้าผาริมน้ำปิงแห่งนี้ พระนางจึงสั่งให้เจาะหน้าผาและสร้างพระพุทธรูปบรรจุไว้ในช่อง ช่องละองค์ ด้วยเหตุนี้จึงได้ชื่อว่า "ผาสามเงา" สืบมา


จังหวัดตาก :: สถานที่ท่องเที่ยว อำเภอพบพระ

อำเภอพบพระ

เป็นอำเภอที่มีชายแดนติดกับสหภาพพม่า ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดตาก การเดินทาง ใช้เส้นทางสายตาก - แม่สอด ทางหลวงหมายเลข 105 ถึงบริเวณกิโลเมตรที่ 75 เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1090 ถึงกิโลเมตรที่ 26 เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 1206 ไปอีกประมาณ 13 กิโลเมตร จึงถึงอำเภอพบพระ รวมระยะทางจากตัวจังหวัดประมาณ 135 กิโลเมตร ก่อนที่กรมทางหลวงจะตัดถนนลาดยางสายแม่สอด - พบพระ (ทางหลวงหมายเลข 1206) นั้น การคมนาคมระหว่างสองอำเภอนี้ลำบากมาก เพราะพื้นที่ของอำเภอพบพระเป็นพื้นที่ราบสูงระหว่างภูเขา รับลมมรสุมจากอ่าวเมาะตะมะ ดังนั้นพื้นที่นี้จึงมีฝนตกชุกที่สุดในเขตภาคเหนือราว 2,300-3,000 มิลลิเมตร เส้นทางการคมนาคมจึงมีแต่โคลนตม ต้องเดินลุยโคลนกัน ชาวบ้านจึงเรียกว่า ขี้เปรอะเพอะพะ แปลว่า ขี้โคลนเปรอะเลอะเทอะ หมายความว่า ถ้าใครผ่านไปแถบนี้ขาแข้งจะมีแต่ขี้โคลนเปรอะเพอะพะ จึงเรียกบริเวณนี้ว่า บ้านเพอะพะ แล้วจึงเปลี่ยนเป็น พบพระ

สวนเทพพิทักษ์

อยู่ห่างจากตัวอำเภอแม่สอด เส้นทางตาก – พบพระประมาณ 28 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้าย เข้าไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร เริ่มดำเนินการโดย คุณไพรัตน์ คุณบุปผา ไชยนอก เจ้าของสวนเริ่มปลูกและพัฒนาพันธุ์ทับทิมขึ้นมาใหม่ ชื่อ “ทับทิมศรีปัญญา” เมื่อปี พ.ศ. 2539 ซึ่งทับทิมที่ไร่เทพพิทักษ์จะออกลูกตลอดทั้งปีและมีผลผลิตที่มีคุณภาพ ผลใหญ่ เนื้อแดงเข้ม รสชาติหวานจัดชาวจีนถือเป็นผลไม้มงคลและเป็นพืชสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งทานได้ทั้งผลสุก และน้ำทับทิม ปัจจุบันสวนเทพพิทักษ์ได้พัฒนาทับทิมพันธ์ใหม่ ชื่อ “ทับทิมศรีสยาม” เป็นทับทิมไร้เมล็ด เริ่มให้ผลผลิตตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 และได้ผลผลิตมากขึ้นในปี พ.ศ. 2548 นี้ ทับทิมที่สวนเทพพิทักษ์มีผลผลิตทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงเดือนเมษายน – เดือนมิถุนายน และช่วงเดือนพฤศจิกายน – เดือนธันวาคม จะมีผลผลิตออกมามากเป็นพิเศษ

อุทยานแห่งชาติ น้ำตกพาเจริญ

มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในเขตตำบลช่องแคบ ตำบลพบพระ ตำบลคีรีราษฎร์ อำเภอพบพระ และตำบลด่านแม่ละเมา ตำบลพะวอ ตำบลพระธาตุผาแดง ตำบลแม่กุ ตำบลแม่ตาว ตำบลมหาวัน อำเภอแม่สอด มีพื้นที่ 534,375 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,765 เมตร สภาพทั่วไปส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ และป่าเขาสน ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537

ไร่กุหลาบ อ.พบพระ

นับว่ามีพื้นที่ปลูกกุหลาบมากที่สุดในภาคเหนือ มีสายพันธุ์ต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะกุหลาบไร้หนาม นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมได้ทุกฤดูกาล สอบถามรายละเอียดได้ที่สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยภาคเหนือเขต 4 โทร. 0 55514341-3

น้ำตกนางครวญ

เดิมชื่อ น้ำตกเพอะพะ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น น้ำตกพบพระ และเปลี่ยนมาเป็นชื่อ น้ำตกนางครวญ เป็นน้ำตกขนาดกลางไหลลดหลั่นลงไปเป็นชั้นเล็กๆ ท่ามกลางป่าร่มรื่น มีต้นน้ำมาจากลำคลองริมท้องนาข้างทาง และทางการได้ตัดถนนผ่านตัวน้ำตกจึงแลดูเป็นน้ำตกเล็กๆ

การเดินทาง ใช้เส้นทางหลวงสาย 1090 พอถึงบริเวณกิโลเมตรที่ 31-32 มีทางแยกขวามือเข้าอำเภอพบพระ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1206 ที่อยู่ริมสะพานคอนกรีตด้านขวาบริเวณกิโลเมตรที่ 12 ก่อนถึงอำเภอพบพระเล็กน้อย

บ่อน้ำร้อนห้วยน้ำนัก

เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ น้ำในบ่อนี้เป็นน้ำร้อนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ อุณหภูมิวัดได้ 60 องศาเซลเซียส สามารถเที่ยวชมได้ตลอดปี

การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 1206 สายพบพระ - บ้านช่องแคบ (ใช้เส้นทางเดียวกับน้ำตกพาเจริญ) มีทางแยกขวาก่อนเข้าอำเภอพบพระแล้วให้แยกขวาทางไปหมู่บ้านห้วยน้ำนัก


:: อุทยานแห่งชาติลานสาง ::

:: ข้อมูลทั่วไป ::
ตามตำนานกล่าวมา ในสมัยที่ป่าลานสาง ยังอุดมสมบูรณ์อย่างเต็มที่ เมื่อประมาณ 200 กว่าปี สมเด็จพระเจ้าตากสิน ได้ยกทัพไปตีเชียงใหม่ครั้งที่ 2 ทรงหยุดพักพลที่บ้านระแหง แขวงเมืองตาก มีพวกมอญหนีพม่าเข้ามาสวามิภักดิ์ พระเจ้าตากสินได้ยกทัพเข้าตีขับไล่พม่าซึ่งตามมอญเข้ามา ในคืนหนึ่งพระองค์ได้พลัดหลงทางออกไปจากกองทัพ ทำให้ไพร่พลทหารของพระองค์พากันออกติดตามก็ไม่พบ ประจวบกับภูมิประเทศซึ่งในสมัยนั้นเป็นป่าทึบรกชัฏ ในเวลากลางคืนเดือนมืดทำให้ยากแก่การติดตาม ทหารทุกคนก็ล้ากำลังลงจึงพากันหยุดพัก ขณะที่ทหารไทยเหล่านั้นพักอยู่ ก็เกิดปาฏิหารย์ มีแสงสว่างพุ่งสู่ท้องฟ้าพร้อมกับได้ยินเสียงม้าร้องอื้ออึง ทหารที่พักอยู่นั้น ต่างก็พากันรีบตรงไปหาจุดที่มี แสงสว่างนั้น พอไปถึงจึงเห็น พระเจ้าตากสินประทับม้าพระที่นั่งกลางลานนั้น มีแสงสว่างออกมาจากพระวรกาย พรั่งพร้อมไปด้วยทหารพม่า ประมาณ 50 คน คุกเข่าหมอบกราบสวามิภักดิ์ยอมแพ้อยู่เบื้องหน้า ทหารไทยต่างตกตะลึง กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อย่างปาฏิหารย์นั้น ประจวบกับเวลาฟ้าสางพอดี ต่อมาบริเวณนั้นเรียกว่า “ลานสาง”

อุทยานแห่งชาติลานสาง มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดตาก มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ ด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีสัตว์ป่าชุกชุม และมีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติ ทิวทัศน์ที่สวยงามร่มรื่น เช่น น้ำตกที่งดงามหลายแห่ง ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันทั่วไป คือ “น้ำตกลานสาง” เหมาะเป็นสถานที่ท่องเที่ยว และพักผ่อนหย่อนใจเป็นอย่างยิ่ง อุทยานแห่งชาติลานสาง มีเนื้อที่ประมาณ 65,000 ไร่ หรือ 104 ตารางกิโลเมตร

ในปี 2498 นายประดิษฐ์ วนาพิทักษ์ ป่าไม้เขตตาก ได้ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ริเริ่มจัดบริเวณน้ำตกลานสาง เป็นวนอุทยานเพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน ต่อมาได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2502 ให้กำหนดป่าลานสาง จังหวัดตาก และป่าอื่นๆ รวม 14 ป่า เป็นอุทยานแห่งชาติ

ปี 2504 กรมป่าไม้ได้ริเริ่มดำเนินการสำรวจเบื้องต้นป่าลานสาง และในปี พ.ศ. 2505 ในโครงการ แผนพัฒนาภาคเหนือ ได้ให้ความช่วยเหลืออีกด้วย ในขั้นแรกกรมป่าไม้ได้ประกาศป่าลานสางเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ตามกฏกระทรวงฉบับที่ 342 (พ.ศ. 2511) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2511 ทั้งได้ดำเนินการจัดตั้งป่าสงวนแห่งนี้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งอุทยานแห่งชาติลานสางโดย นายสุรินทร์ อร่ามกุล ได้รายงานผลการสำรวจตามหนังสืออุทยานแห่งชาติลานสางที่ กส 0708(ลส.)/พิเศษ ลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2517 และโดยนายสมยศ สุขะพิบูลย์ นักวิชาการป่าไม้ 4 ตามหนังสือ ที่ กษ 0808(ลว.)/115 ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2519 ปรากฏว่ามีสภาพป่าธรรมชาติที่สวยงาม ทั้งมีน้ำตกหลายแห่ง และสัตว์ป่าชุกชุม เหมาะสมจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ

กองอุทยานแห่งชาติ ได้ดำเนินการจัดตั้งป่าลานสางเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกา กำหนดบริเวณที่ดินป่าลานสาง ในท้องที่ตำบลแม่ท้อ อำเภอเมือง จังหวัดตาก ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2522 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 96 ตอนที่ 80 ลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2522 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 15 ของประเทศ

:: ลักษณะภูมิประเทศ ::
สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน มีเทือกเขาถนนธงชัย ตั้งอยู่กึ่งกลางพื้นที่อุทยานแห่งชาติ สัณฐานของเทือกเขา เรียงตัวเป็นแนวยาว ไปตามทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มียอดเขาอุมยอม เป็นยอดเขาสูงสุด สูงประมาณ 1,065 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง พื้นที่อุทยานแห่งชาติเกือบทั้งหมด เป็นพื้นที่แบบเทือกเขา มีที่ราบน้อยมาก มีความลาดชัน ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ มากกว่าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวคือจุดต่ำสุด ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 910 เมตร ในขณะที่จุดต่ำสุดทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลางเพียง 210 เมตร และบริเวณลาดต่ำทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ แผ่กว้างออกไปมากกว่าบริเวณลาดต่ำทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ธรณีสัณฐานเช่นนี้ทำให้เกิดบริเวณอับฝน (Rain – shadow) ตามแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของเขตอุทยานแห่งชาติ การเปลี่ยนแปลงทางธรณีของพื้นที่อุทยานแห่งชาติลานสาง จำแนกช่วงเวลา ของการเปลี่ยนแปลงออกได้เป็น 3 ช่วงที่ปรากฏชัดเจน ในช่วงแรกเป็นช่วงเวลาการตกทับถมของตะกอน หินและดินประเภทต่างๆ ตามขอบทวีป ประมาณเวลานับเป็นพันปีขึ้นไปในมหายุค Precambrian ช่วงที่สองเกิดการเปลี่ยนแปลงสัณฐานภูมิประเทศที่สำคัญ 2 ลักษณะคือ ลักษณะแรกเป็นการโก่ง หรือโค้งตัวของเปลือกโลกในยุค Carboniferous (ประมาณ 350 ล้านปีที่ผ่านมา) ปรากฏการณ์ชั้นหินดังกล่าว ทำให้ขอบทวีปแผ่กว้างออกไปในทะเล ช่วงที่สามมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ เกิดการบิด หรือหักตัวของชั้นหิน ที่โก่งหรือโค้งตัวนั้น ทำให้เกิดภูเขาสูงและหุบเหวตามเชิงเขา

ลักษณะการเปลี่ยนแปลง ทางธรณีวิทยาเช่นนี้ ก่อให้เกิดหินชนิดต่างๆ ในเขตอุทยานแห่งชาติ จากการสำรวจพบว่า มีหินไนส์แผ่เป็นบริเวณกว้าง บางแห่งมีหินแปร เช่น หินอ่อน และหินปูน แทรกอยู่ในบริเวณที่มีการจัดตัวของชั้นหิน และพบหินตะกอน ประเภทหินดินดาน บริเวณใกล้ผิวดินเป็นบางแห่งอีกด้วย สามารถพบเห็นหินเหล่านี้ บริเวณน้ำตกลานสาง ซึ่งมีอายุแต่ละก้อนอย่างน้อย 350 ล้านปี


:: ลักษณะภูมิอากาศ ::
อุทยานแห่งชาติลานสางแบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม- ตุลาคม ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน อุณหภูมิสูงสุด 43 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุด 7 องศาเซลเซียส


:: พรรณไม้และสัตว์ป่า ::
อุทยานแห่งชาติลานสาง เป็นจุดนัดพบของป่าประเภทต่างๆ ได้แก่ ป่าดิบแล้ง พบตามหุบเขา และบริเวณริมห้วยมีไม้สมพง กะบก ตะเคียนหิน เป็นพรรณไม้เด่น ป่าดิบเขา พบขึ้นเป็นหย่อมๆ บริเวณเทือกเขาสูงใกล้สันปันน้ำ พันธุ์ไม้ที่ขึ้นส่วนใหญ่เป็นพวกไม้ก่อ และทะโล้ ป่าสนเขา ขึ้นอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล ประมาณ 700 เมตร ไม้ที่พบเป็นพวกสนสองใบ อาจจะขึ้นปนอยู่กับเต็ง รัง เหียง พลวง และก่อชนิดต่างๆ ป่าเบญจพรรณ เป็นป่าที่ไม่รกทึบ พบ แดง ประดู่ มะค่าโมง สัก เสี้ยว เปล้า เก็ดแดง ตะคร้อ สมอ และไผ่หลายชนิด และ ป่าเต็งรัง พบบนเนินเขาสภาพพื้นที่มีหินโผล่ มีไม้เต็ง รัง และมะขามป้อมเป็นพันธุ์ไม้เด่น

สัตว์ป่าที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ เลียงผา เก้ง กวางป่า เสือไฟ หมูป่า ลิง ค่าง บ่าง ชะนี อีเห็น ชะมด กระต่ายป่า บ่าง และกิ้งก่าบิน เป็นที่น่าจะศึกษาชีวิตความเป็นอยู่เป็นอย่างยิ่ง


:: ที่ตั้งและการเดินทาง ::
อุทยานแห่งชาติลานสาง
ต.แม่ท้อ อ. เมืองตาก จ. ตาก 63000
โทรศัพท์ : 0 4081 0878 โทรสาร : 0 5551 9470

รถยนต์
จากกรุงเทพฯ ให้เดินทางตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (สายเอเชีย) ก่อนถึงจังหวัดตากประมาณ 7 กิโลเมตร ให้เลี้ยวซ้าย ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 105 (สายเอเชีย 2 ตาก-แม่สอด) จนถึงหลักกิโลเมตรที่ 12 ให้เลี้ยวซ้าย ตรงป้ายอุทยานแห่งชาติลานสาง ไปตามถนนอีกประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติลานสาง ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 430 กิโลเมตร


รถโดยสารประจำทาง
จากกรุงเทพฯ ขึ้นรถโดยสารที่สถานีขนส่งสายเหนือ สายกรุงเทพฯ - ตาก ลงที่สถานนีขนส่งจังหวัดตาก หรือสายอื่นๆ แต่ต้องแจ้งพนักงานขับรถโดยสารหรือพนักงานเก็บค่าโดยสารว่าต้องการลงที่สถานีขนส่งจังหวัดตาก จากนั้นเดินทางต่อโดยรถตู้หรือรถบัส สายตาก - แม่สอด ให้แจ้งพนักงานขับรถโดยสารว่า ต้องการไปที่อุทยานแห่งชาติลานสาง (ประมาณกิโลเมตรที่ 12) เมื่อถึงปากทางเข้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งอยู่ทางด้านซ้ายมือ ต้องเดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ และร้านอาหาร และเดินเท้าอีกประมาณ 2 กิโลเมตร จะถึงศูนย์บริการนักท่องเที่ยว บ้านพัก ค่ายพักแรม และร้านอาหาร การเดินเท้าเข้าอุทยานแห่งชาติ เส้นทางสบายๆ ถนนลาดยาง ไม่ลาดชัน ระหว่างทางมีน้ำตกให้ลงเล่นน้ำได้


:: แหล่งท่องเที่ยว :: ด้านธรรมชาติที่สวยงาม ::
น้ำตกผาลาด เป็นน้ำตกชั้นแรก ที่รอต้อนรับการมาเยือน ห่างจากด่านเก็บค่าบริการ ผ่านเข้าเขตอุทยานแห่งชาติประมาณ 200 เมตร บริเวณหน้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติลานสาง น้ำตกผาลาดมีลักษณะ เป็นแผ่นหินลาดชันเล็กน้อย ขนาดกว้างประมาณ 25 เมตร กระแสน้ำของห้วยลานสาง จะไหลบ่าไปตามแผ่นหิน แผ่กระจายออกเป็นแผ่นบางๆ แล้วค่อยรวมตัวไหลลงแอ่งเล็กๆ ใกล้ๆ กับบริเวณน้ำตก จะมีพื้นที่เป็นลานหินกว้าง สำหรับกางเต็นท์พักแรม หรือลองเดินข้ามถนนไปอีกฝั่ง ก็เป็นสวนสมุนไพร ที่รวบรวมเอาสมุนไพรชนิดต่างๆ ที่พบภายในป่าลานสาง นำออกมาให้ผู้สนใจได้ศึกษา และหากผู้ใดที่อยากรู้สรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิด อุทยานแห่งชาติลานสาง ก็ได้จำแนกสมุนไพร เป็นหมวดหมู่พร้อมกับ สรรพคุณของสมุนไพรไว้ด้วย


น้ำตกลานเลี้ยงม้า อยู่ตอนต้นของลำห้วยลานสางถัดจากน้ำตกผาลาดประมาณ 200 เมตร มีลักษณะเป็นเนินเตี้ยกลางเว้าเป็นช่องว่างประมาณ 6 เมตร กระแสน้ำที่ไหลมาตามลำห้วยลานสาง เมื่อไหลถึงเนินเตี้ยๆ น้ำจะไหลมาตามช่องหินซึ่งแคบเล็กลง น้ำจะถูกบีบจนมีระดับน้ำสูงขึ้นพุ่งผ่านยอดน้ำตก ด้วยเสียงของน้ำที่ไหลจากที่สูงตกลงสู่แอ่งน้ำโดยไม่กระทบกับก้อนหิน จนเกิดเป็นเสียงดังต่างจากน้ำตกผาลาด รอบๆ บริเวณน้ำตกดูมืดครึ้มไปด้วยเรือนยอดของพรรณไม้นานาชนิดที่ขึ้นอยู่ตลอดแนวน้ำตก เหนือตัวน้ำตกมีสะพานไม้เพื่อเป็นทางเชื่อมไปยังลานหินอีกฟากหนึ่ง และเป็นเส้นทางที่นำไปสู่ เส้นทางเดินเท้าศึกษาธรรมชาติ จากน้ำตกลานเลี้ยงม้าไปยังศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

เมื่อครั้งในอดีตมีตำนานเล่าว่า น้ำตกแห่งนี้เคยเป็นที่หยุดพักไพร่พล ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อครั้งเสด็จยกทัพ ไปตีเมืองเชียงใหม่ครั้งที่สอง จึงก่อเกิดเป็นตำนานความเป็นมาของลานสางจวบจนปัจจุบัน


น้ำตกลานสาง อยู่ตอนบนของห้วยลานสาง ถัดขึ้นไปจากน้ำตกลานเลี้ยงม้าประมาณ 2 กิโลเมตร อยู่ไม่ไกลจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เพียง 150 เมตร เดินเลียบไปตามไหล่เขา แต่ต้องเดินด้วยความระมัดระวัง เพราะทางเดินเท้าค่อนข้างแคบ สองข้างทางเดินในช่วงฤดูฝนจะพบกับพืชพื้นล่างเล็กๆ จำพวกเปราะ กระเจียวขาว และกล้าไม้ของต้นเสลาดำขึ้นอยู่ สักพักก็จะถึงน้ำตกลานสาง โดยต้องเดินลงไปเบื้องล่าง น้ำตกลานสางมีความสูงประมาณ 40 เมตร สายน้ำจะไหลพุ่งออกจากซอกเขา แล้วหักเหลี่ยมลดหลั่นลงมา 3 ชั้น รวมตัวลงสู่แอ่งน้ำตกลานเลี้ยงม้า


น้ำตกผาน้อย อยู่สูงขึ้นไปจากลำห้วยลานสาง ห่างจากน้ำตกผาผึ้ง 150 เมตร มีลักษณะเป็นช่องแคบๆ มีความสูงประมาณ 10 เมตร น้ำตกจะไหลรวมตัวพุ่งออกจากซอกเขากระจายตัวลงสู่แอ่งน้ำด้านล่าง


น้ำตกผาเท เป็นน้ำตกชั้นสุดท้ายในเส้นทางเดินเท้า อยู่สูงขึ้นไปจากลำห้วย ห่างจากน้ำตกผาน้อยประมาณ 1,350 เมตร มีลักษณะเป็นหน้าผาสูงชัน สูงประมาณ 25 เมตร กระแสน้ำจะไหลตามซอกเขาอย่างรวดเร็ว และตกลงสู่แอ่งน้ำเบื้องล่างจนเกิดเสียงดังไปทั่วบริเวณ บรรยากาศรอบน้ำตกจะล้อมรอบไปด้วยผืนป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณ บริเวณรอบน้ำตกจะมีที่สำหรับนั่งพัก มีแอ่งน้ำสำหรับเล่นน้ำ


น้ำตกผาผึ้ง อยู่ห่างจากน้ำตกลานสางประมาณ 600 เมตร วันใดที่ท้องฟ้าอากาศแจ่มใส จะยิ่งเพิ่มความงามแก่น้ำตกอย่างมาก เมื่อสายน้ำไหลลงมาจากหน้าผาที่สูงประมาณ 30 เมตร เอียงลาดชันลดหลั่นลงมาตามชั้นเล็กๆ และแผ่กว้างออกเป็นผืนน้ำบางๆ แล้วแยกออกเป็น 2 สาย ไหลไปตามลำธารเล็กๆ ภายในบริเวณน้ำตก ทำให้บริเวณนั้นเย็นชุ่มชื่นตลอดเวลา สภาพแวดล้อมโดยรอบ มีลักษณะเป็นป่าเบญจพรรณที่อุดมไปด้วยพรรณไม้น้อยใหญ่ บรรยากาศเงียบสงบเหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ


น้ำตกท่าเล่ อยู่บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ลส.2 (ท่าเล่) น้ำตกจะไหลพุ่งออกมาจากซอกเขา ลงมาตามชั้นหินแล้วทิ้งตัวไหลลงสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง


ยอดเขาอุมยอม บนยอดเขาอุมยอม สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 800 เมตร มีป่าสนสองใบ ขึ้นอยู่เป็นลานกว้างมีเนื้อที่ประมาณ 50 ไร่ เป็นเส้นทางเดินป่าระยะไกล และเหมาะแก่การกางเต็นท์ พักค้างแรมในป่า สามารถมองเห็นทิวทัศน์และสภาพของผืนป่าได้อย่างกว้างไกล


จุดชมทิวทัศน์ดอยผาแดง อยู่บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ลส.3 (ดอยผาแดง) บนความสูง 1,000 เมตร มีสภาพป่าเป็นป่าดิบแล้ง ป่าสนเขา ป่าเบญจพรรณ สลับกับทุ่งหญ้า อากาศจะมีความหนาวเย็นตลอดทั้งปี มีพื้นที่ราบบนเนินเขา เป็นบริเวณกว้างมองเห็นทิวทัศน์สวยงาม เหมาะสำหรับกางเต็นท์พักแรม ปั่นจักรยานชื่นชมธรรมชาติ และวิถีชีวิตชาวไทยภูเขาเผ่าต่างๆ และห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติไ ปทางทิศเหนือประมาณ 1.5 กิโลเมตร มีน้ำตกเขาหินปูนที่สวยงาม เป็นต้นกำเนิดลำห้วยลานสาง

รอบๆ หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ มีร่องรอยการตั้งถิ่นฐาน และแนวทางการเดินทัพไทย-พม่า จากหลักฐานที่พบ เช่น ขอสับช้าง มีดดาบ และข้าวของเครื่องใช้ในการเดินทัพ และห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 1 กิโลเมตร มีต้นพระเจ้าห้าพระองค์ขนาดใหญ่


จุดชมทิวทัศน์เขาน้อย ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ทางขึ้นอยู่ใกล้กับศาลเจ้าพ่อ บริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยว สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของผืนป่า ในอุทยานแห่งชาติลานสาง และไกลไปจนถึงตัวเมืองตาก


จุดชมทิวทัศน์เขาแสนห่วง อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 400 เมตร สามารถมองเห็นวิถึชีวิตหมู่บ้าน และสภาพผืนป่าได้อย่างกว้างไกล นอกจากนี้อุทยานแห่งชาติลานสาง ได้จัดทำเส้นทางนี้เป็นเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติอีกด้วย


เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ
- เส้นทางจากน้ำตกลานเลี้ยงม้า–ค่ายพักแรม–น้ำตกลานสาง ระยะทาง 1,800 เมตร เป็นเส้นทางที่เดินเลียบไปตามลำห้วยลานสาง ตลอดเส้นทางเดินมีป้ายสื่อความหมายธรรมชาติ พร้อมที่นั่งพักผ่อน สามารถชมสภาพธรรมชาติของป่าเบญจพรรณ นกพันธุ์ต่างๆ เช่น นกปรอด นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่ เป็นต้น และมีสถานีสื่อความหมายธรรมชาติสำหรับศึกษาหาความรู้ได้ตลอดเส้นทาง จำนวน 11 แห่ง ใช้เวลาเดินศึกษาประมาณ 1 ชั่วโมง
- เส้นทางศูนย์บริการนักท่องเที่ยว–น้ำตกผาเท ระยะทาง 2,200 เมตร ตลอดเส้นทางสามารถสัมผัสกับสภาพป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และรอยต่อของป่าทั้งสอง ซึ่งอยู่ระหว่างน้ำตกผาผึ้งไปน้ำตกผาเท พร้อมทั้งชื่นชมกับน้ำตกชั้นต่างๆ 4 แห่ง คือ น้ำตกลานสาง น้ำตกผาผึ้ง น้ำตกผาน้อย น้ำตกผาเท ใช้เวลาในการเดินศึกษาประมาณ 2-3 ชั่วโมง
- เส้นทางจากน้ำตกลานเลี้ยงม้า-เขาแสนห่วง ระยะทางประมาณ 700 เมตร ผ่านป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง แหล่งดูนก ดูผีเสื้อ และสัตว์ป่าหายาก เช่น กิ้งก่าบิน ตลอดจนพืชสมุนไพรอีกหลายชนิด และสิ้นสุดที่จุดชมทัศนียภาพ “เขาแสนห่วง” ที่สามารถมองเห็นวิถีชีวิตหมู่บ้านและผืนป่าได้อย่างกว้างไกล ใช้เวลาในการเดินศึกษาประมาณ ?-1 ชั่วโมง


กิจกรรมการท่องเที่ยว
- พักผ่อนชมธรรมชาติ ชมและเล่นน้ำตกชั้นต่างๆ ที่ไหลลดหลั่นกันไป ถ่ายรูป นั่งพักผ่อนหย่อนใจ และรับประทานอาหาร ชมสัตว์ป่าและพันธุ์ไม้ที่หายาก เช่น กิ้งก่าบิน เต่าปูลู กระรอกบิน และหญ้าถอดปล้อง ซึ่งเป็นพืชโบราณอายุประมาณ 350 ล้านปี บริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ชมทิวทัศน์ธรรมชาติบริเวณทางขึ้นศาลเจ้าพ่อ หน้าศูนย์บริการนักท่องเที่ยวและบริเวณ ที่ทำการสำนักงานอุทยานแห่งชาติลานสาง

- ดูปลาพลวง บริเวณน้ำตกและลำห้วยลานสาง สามารถชมปลาพลวงที่แหวกว่ายไปมาได้ตลอดทั้งปี

- ดูผีเสื้อ สามารถพบผีเสื้อหายากและสวยงามแตกต่างกันไป เช่น ผีเสื้อถุงทองธรรมดา ผีเสื้อหางติ่งปารีส ผีเสื้อหางติ่งนางละเวง ผีเสื้อหางติ่งเฮเลน เป็นต้น และโป่งผีเสื้อ ได้ตามเส้นทางขึ้นน้ำตกผาเท บริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยว บริเวณลานต้นไทร

- ดูนก กิจกรรมดูนกสามารถดูได้ตลอดทั้งปี เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติจากน้ำตกลานเลี้ยงม้า – ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว จะพบกับบรรดานกจับแมลง นกกินปลีที่พบได้ตามป่าไผ่ หากมองไปตามลำห้วย อาจเจอกับนกเอี้ยงถ้ำตัวดำมันเงาและนกเด้าลมหลังเทา บริเวณต้นไม้หน้าค่ายพักแรม และหน้าที่ทำการสำนักงานอุทยานแห่งชาติลานสาง

- เดินศึกษาธรรมชาติ ตามเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ โดยใช้ระยะเวลาประมาณ ครึ่งชั่วโมง 1 ชั่วโมง และ 2 – 3 ชั่วโมง

- กางเต็นท์พักแรม บริเวณสนามหญ้าหน้าน้ำตกผาลาด ถึงน้ำตกลานเลี้ยงม้า หน้าที่ทำการสำนักงานอุทยานแห่งชาติลานสาง สามารถกางเต็นท์พักแรมได้ และยังกางเต็นท์บนดอยสูง สัมผัสอากาศหนาวเย็นได้ที่ หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ลส. 3 (ดอยผาแดง)

- เข้าค่ายศึกษาธรรมชาติ ติดต่อได้ที่ที่ทำการสำนักงานอุทนยานแห่งชาติลานสาง และศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

- ปั่นจักรยานและกางเต็นท์พักแรมบนภูเขาสูง บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ลส.3 (ดอยผาแดง) สัมผัสอากาศที่มีความหนาวเย็น ตลอดทั้งปี ชื่นชมธรรมชาติ และวิถีชีวิตของชาวไทยภูเขาเผ่าต่างๆ

- การท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ ศึกษาข้อมูลแหล่งอารยธรรม และประวัติศาสตร์ การรบพุ่งระหว่างกองทัพไทยกับพม่า การเดินทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และการขุดพบภาชนะ เครื่องมือ เครื่องใช้โบราณ จึงได้นำมาจัดแสดงไว้ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว



:: สิ่งอำนวยความสะดวก ::
ห้องสุขาชาย มีห้องสุขาชายให้บริการ


ห้องสุขาหญิง มีห้องสุขาหญิงให้บริการ


ที่พักแรม/บ้านพัก มีบ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง


ที่จอดรถ มีที่จอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


บริการอาหาร มีร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยว


ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.



:: อุทยานแห่งชาติขุนพะวอ ::

:: ข้อมูลทั่วไป ::
ขุนพระวอเป็นผืนป่าบนเทือกเขาสลับซับซ้อนทางด้านตะวันตกในเขตจังหวัดตาก ความชุ่มชื้นของป่าดงดิบ ที่ปกคลุมอยู่อย่างหนาแน่น ทำให้อุทยานแห่งชาติแห่งนี้ เป็นแหล่งต้นน้ำ ของลำห้วยหลายสาย และเกิดน้ำตกสวยงามหลายแห่งภายในพื้นที่ อุทยานแห่งชาติขุนพะวอมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 137,500 ไร่ หรือ 220 ตารางกิโลเมตร อยู่ในอำเภอแม่สอด และอำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก

ด้วยกรมป่าไม้ได้พิจารณาแล้วเนื่องจากปัจจุบันพื้นที่ป่าบริเวณต่างๆ กำลังถูกบุกรุกทำลายและ ยึดถือครอบครองเป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นการสนองนโยบายของรัฐบาล ในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ ที่มีความอุดมสมบูรณ์ไว้ให้คงอยู่ในรูปของอุทยานแห่งชาติ จึงได้สั่งเจ้าหน้าที่ออกไปดำเนินการ สำรวจข้อมูลเพิ่มเติม และกรมป่าไม้ได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่ที่ทำการสำรวจ พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ละเมา ป่าแม่ระมาด ป่าสามหมื่น จังหวัดตาก เนื้อที่ประมาณ 220 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 137,350 ไร่ มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีสัตว์ป่าหลายชนิด มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ที่สวยงามหลายแห่ง มีอาณาเขตทิศเหนือจดถนนหมายเลข 1175 ทิศใต้จดถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 105 ทิศตะวันออกจดที่ทำกินหมู่บ้านพะวอ หมู่บ้านแม่ละเมา อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช ทิศตะวันตกจดพื้นที่เขตป่านิคมสหกรณ์แม่สอด ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ละเมา

:: ลักษณะภูมิประเทศ ::
มีลักษณะเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อนมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางระหว่าง 350-905 เมตร เป็นต้นน้ำของห้วยแม่ละเมา ห้วยห้วยแม่จะเรา ห้วยพะวอ ห้วยแม่กาษา ห้วยแม่กิ๊ดหลวง ห้วยพะเสาะ ห้วยสะมึนหลวง ห้วยแสม และห้วยแม่ระมาด อันเป็นแหล่งต้นน้ำสำคัญไหลลงสู่พื้นที่เกษตรกรรมของอำเภอแม่สอด และอำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก


:: ลักษณะภูมิอากาศ ::
สภาพอากาศโดยทั่วไปเย็นสบายสดชื่นตลอดปี ซึ่งอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 20oC อุณหภูมิต่ำสุด 8oC ฤดูฝน ฝนตกชุก มีสภาพคล้ายคลึงกับภูมิอากาศทางภาคใต้ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,676 มิลลิเมตรต่อปี ในฤดูหนาวจะมีทะเลหมอกมากและลมแรง อากาศหนาวเย็นมากแทบไม่เห็นดวงอาทิตย์ตลอดวัน


:: พรรณไม้และสัตว์ป่า ::
เนื่องจากพื้นที่ป่ามีความอุดมสมบูรณ์และมีสภาพป่าหลายชนิดปะปนกันทั้งป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง จึงมีพืชพรรณมากมายหลายชนิดและหายาก เช่น สัก ยาง ยมหอม พลวง ก่อ ตะแบก สมอ มะค่าโมง แดง มะเกลือ ขะเจ๊าะ รกฟ้า และสมุนไพรหายากหลายชนิด ฯลฯ โดยเฉพาะไม้สักและไม้ยางมีความหนาแน่นอุดมสมบูรณ์มาก

สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติประกอบด้วย เลียงผา เก้ง เสือไฟ หมูป่า หมี ลิง ชะนี บ่าง กระรอก กระแต กระต่ายป่า ไก่ป่า งูเห่า งูจงอาง กระต่าย กระรอก กระแต ไก่ป่า เสือไฟ ฯลฯ

:: ที่ตั้งและการเดินทาง ::
อุทยานแห่งชาติขุนพะวอ
ตู้ ปณ.11 อ. แม่ระมาด จ. ตาก 63140

รถยนต์
จากจังหวัดตากใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 105 (ตาก-แม่สอด) ถึงอำเภอแม่สอด เลี้ยวขวาไปทางอำเภอแม่ระมาด แล้วเลี้ยวขวาไปตามเส้นทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1175 (แม่ระมาด-บ้านตาก) อีก 16 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติขุนพะวอ


:: แหล่งท่องเที่ยว :: ด้านธรรมชาติที่สวยงาม ::
น้ำตกขุนพะวอ เป็นน้ำตกที่มีความสวยงาม สูงประมาณ 100 เมตร เป็นต้นน้ำของลำห้วยแม่จะเรา อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 1.5 กิโลเมตร เป็นเส้นทางเดินเท้าลัดเลาะไปตามหน้าผา ตลอดการเดินทางจะพบเห็นต้นปรงขึ้นอยู่ทั่วไป อากาศเย็นสบาย ใช้เวลาเดินทางไปกลับประมาณ 3 ชั่วโมง หากจะชมน้ำตกต้องไต่เขาลงไปเบื้องล่างอีกประมาณ 300 เมตร มีน้ำไหลตลอดทั้งปี


น้ำตกห้วยกระทิง เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามอีกแห่ง สูงประมาณ 40 เมตร อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 7 กิโลเมตร การเดินทางด้วยรถยนต์และเดินเท้าอีก 600 เมตร มีน้ำมากตลอดทั้งปี


น้ำตกป่าหมาก เป็นน้ำตกที่ไหลลงสู่ลำห้วยสะมึนหลวง เป็นน้ำตกที่มีน้ำผุดออกมาจากพื้นดินแล้วตกลงมาเป็นน้ำตกสูงประมาณ 60 เมตร มีน้ำไหลตลอดปี อยู่บริเวณบ้านป่าหมาก ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 40 กิโลเมตร เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบท่องป่า


น้ำตกผึ้งหลวง เป็นน้ำตกขนาดเล็กสูงประมาณ 15 เมตร อยู่ริมทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1175 (แม่ระมาด-บ้านตาก) มีน้ำไหลตลอดปี ห่างจากที่ทำการประมาณ 10 กิโลเมตร อยู่ในท้องที่ตำบลสามหมื่น อำเภอแม่ระมาด


ล่องแก่งลำน้ำแม่ละเมา ห้วยแม่ละเมาเป็นลำห้วยขนาดใหญ่ไหลลงแม่น้ำเมย ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศไทยและสหภาพพม่า มีต้นกำเนิดจากลำห้วยหลายสาย จากเทือกเขาในเขตติดต่ออำเภอพบพระ อำเภออุ้มผาง ไหลไปทางทิศเหนือผ่านบ้านแม่ละเมา อำเภอแม่สอด ไหลไปรวมกับลำห้วยแม่กาษา แล้วไปบรรจบกับแม่น้ำเมยที่บ้านวังผา อำเภอแม่ระมาด สองฝั่งลำห้วยมีสภาพป่าและสัตว์ป่าที่สมบูรณ์ มีน้ำไหลตลอดปี บางช่วงมีเกาะแก่ง เหมาะแก่การล่องแพผจญภัยและชมธรรมชาติ


ผาชมปรงและจุดชมทัศน์ เป็นหน้าผาอยู่บริเวณเส้นทางไปน้ำตกขุนพะวอ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 1 กิโลเมตร ในท้องที่ตำบลสามหมื่น อำเภอแม่ระมาด มีต้นปรงดึกดำบรรพ์ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมากตามหน้าผา มีทิวทัศน์ที่สวยงาม มองเห็นทัศนียภาพของอำเภอแม่ระมาด อำเภอแม่สอด และสหภาพพม่าได้ จึงเหมาะที่จะชมความงามยามดวงอาทิตย์ตกในยามเย็น และชมทะเลหมอกในยามเช้า



:: ด้านประวัติศาสตร์ ::
ศาลเจ้าพ่อพะวอ ตั้งอยู่บนเนินดินเชิงเขาพะวอ ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 62-63 ริมทางหลวงหมายเลข 105 (ตาก-แม่สอด) ตามตำนานเล่าว่า เจ้าพ่อพะวอเป็นชายชาตินักรบชาวกะเหรี่ยง มีศักดิ์ฐานะ เป็นนายด่านแม่ละเมา เมืองหน้าด่านของไทย ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เดือน 11 (ตุลาคม) ปีมะแม สัปตศก พุทธศักราช 2318 กองทัพ ข้าศึกเคลื่อนทัพมายังไทย โดยผ่านด่านแม่ละเมา เจ้าพ่อพะวอตัดสินใจ นำกำลังไพร่พลเข้าปะทะกับ ข้าศึก อย่างกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว ทุกคนยอมตายถวายชีวิต ณ ยุทธภูมิแห่งนี้ เพื่อเป็นการรำลึกถึงคุณงามความดีของท่าน ชาวเมืองตากจึงได้พร้อมใจกันสร้างศาลขึ้น พร้อมทั้งได้อัญเชิญรูปหล่อจำลอง ขึ้นประดิษฐานเมื่อปี 2507 เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ด้วยเหตุที่เจ้าพ่อพะวอท่านเป็นนักรบที่กล้าหาญ จึงมีประชาชนที่ขับรถยนต์ผ่านไปมาให้ความเคารพสักการะ นิยมยิงปืน จุดปะทัด และบีบแตรรถถวาย เพื่อแสดงถึงความเคารพ


:: สิ่งอำนวยความสะดวก ::
ห้องสุขาชาย มีห้องสุขาชายไว้บริการ


ห้องสุขาหญิง มีห้องสุขาหญิงไว้บริการ


สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ สามารถรองรับได้ 300 - 400 คน โดยจะต้องนำเต็นท์มาเอง


ที่จอดรถ มีลานจอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว



จังหวัดตาก :: เทศกาล งานประเพณี

ประเพณีขึ้นธาตุเดือน 9

จัดขึ้นในวันขึ้น 14 ค่ำ และ 15 ค่ำ ตรงกับเดือน 9 ของภาคเหนือ หรือตรงกับเดือน 7 ของไทย ช่วงประมาณเดือนมิถุนายน หรือปลายเดือนพฤษภาคมของทุกปีงานขึ้นธาตุเดือน 9 เป็นงานบุญที่จัดขึ้นเพื่อเป็นการบูชาพระบรมธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กำหนดการจัดงานจัดขึ้นในวันขึ้น 14 ค่ำ และ 15 ค่ำ ตรงกับเดือน 9 ของภาคเหนือ หรือตรงกับเดือน 7 ของไทย ช่วงประมาณเดือนมิถุนายน หรือปลายเดือนพฤษภาคมของทุกปี ภายในงานจะมีการจัดขบวนแห่ เช่น ขบวนกลองยาว ขบวนปัจจัยไทยทาน ขบวนต้นเงิน ขบวนต้นผ้าป่า ขบวนตุงไชย ผ้าห่มองค์พระธาตุ โดยเริ่มจากหนองเล่มผ่านสะพานบุญไปยังวัดพระบรมธาตุ เพื่อทำพิธีถวายผ้าห่มองค์พระธาตุ และทำพิธีบวงสรวงเจดีย์ยุทธหัตถีซึ่งเป็นเจดีย์ที่พ่อขุนรามคำแหงฯ ได้สร้างไว้ในคราวทำสงครามยุทธหัตถีชนะขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวัดพระบรมธาตุ และจะทำพิธีทำบุญตักบาตรตามประเพณี ณ วัดพระบรมธาตุ

ประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีปพันดวง

จัดขึ้นทุกปีในช่วงเดือนพฤศจิกายน ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 จัดขึ้นทุกปีในช่วงเดือนพฤศจิกายน ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เป็นประเพณีเก่าของชาวจังหวัดตากที่สืบทอดกันมาช้านาน และแตกต่างจากการลอยกระทงทั่ว ๆ ไป คือ ตัวกระทงทำด้วยกะลามะพร้าว หรือวัสดุธรรมชาตินำมาตัดเย็บเป็นกระทง ชาวบ้านจะนำกระทงซึ่งภายในบรรจุด้วยขี้ไต้ หรือเชื้อเพลิงที่เตรียมไว้แล้วจุดไฟปล่อยลงในแม่น้ำปิง กะระยะห่างเท่า ๆ กัน สม่ำเสมอไม่ขาดสาย จะทำให้กระทงส่องแสงระยิบระยับ เต็มท้องน้ำลอยไปตามสายน้ำของลำน้ำปิงดูสวยงาม

นอกจากกระทงสายแล้วชาวบ้านยังช่วยกันจัดแพผ้าป่าน้ำซึ่งทำจากต้นกล้วย มาตกแต่งด้วยดอกไม้ธูปเทียน ธงหลากสีตัดเป็นลวดลายสวยงามทำด้วยกระดาษแก้ว ใส่หมากพลู ขนม ผลไม้ พอแสงจันทร์วันเพ็ญส่องสว่างไปทั่วท้องน้ำ ชาวบ้านจะแต่งตัวกันสวยงาม ฟ้อนรำกันเป็นขบวนนำกระทงสายมายังท่าน้ำริมฝั่งน้ำปิง แล้วทำพิธีจุดธูปเทียนบูชาพระแม่คงคา รำลึกจิตอธิษฐานบูชารอยพระพุทธบาท แล้วทำการปล่อยแพผ้าป่าน้ำ

ภายในงานจะมีการแข่งขันปล่อยกระทงสายไหลประทีปพันดวง ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช


งานตากสินมหาราชานุสรณ์ และงานกาชาด

ระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม ถึงวันที่ 3 มกราคมของทุกปีสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชบูรพกษัตริย์ผู้กอบกู้เอกราช ของชาติไทยเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระราชประวัติผูกพันกับจังหวัดตากเป็นอย่างมาก ชาวจังหวัดตากจึงได้จัดงานประเพณีตากสินราชานุสรณ์ขึ้นเพื่อเป็นการแสดงวีรกรรมเทิดพระเกียรติ และเผยแพร่วีรกรรมของพระองค์ ภายในงานจะมีการแสดงแสงเสียงเทิดพระเกียรติ การบวงสรวงดวงวิญญาณสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช การแสดงนิทรรศการ และการแสดงมหรสพต่าง ๆ ระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม ถึงวันที่ 3 มกราคมของทุกปี


จังหวัดตาก :: ของฝาก ของที่ระลึก

เมี่ยงคำเมืองตาก
หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เมี่ยงจอมพล ลักษณะเด่น และส่วนประกอบของเมี่ยง คือ มะพร้าวขูด ข้าวตากแห้งทอด ถั่วลิสงคั่ว กุ้งแห้ง แคบหมู มะนาว หัวหอมแดง ขิงหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ พริกขี้หนูสด เต้าเจี้ยว ข้าวเกรียบชุบน้ำให้อ่อนตัว แล้วนำส่วนประกอบทั้งหมดห่อด้วยข้าวเกรียบ ใส่น้ำเต้าเจี้ยวห่อให้พอดีคำ รับประทานเป็นของว่าง ซึ่งเป็นอาหารพื้นเมืองที่นิยมกันมากในจังหวัดตาก และจังหวัดใกล้เคียง

เส่งเผ่ และฮาละหว่า
เป็นชื่อของขนมหวานที่มาจากประเทศพม่า “เส่งเผ่” มีลักษณะคล้ายขนมข้าวเหนียวแดง ที่ทำจากข้าวเหนียว น้ำอ้อย กะทิ ต่างกันตรงหน้าเส่งเผ่จะราดด้วยหัวกะทิแล้วปิ้ง หรือ อบหน้าจนเกรียม รสชาติหวานมัน ส่วน “ฮาละหว่า” ตัวขนมทำจากแป้งข้าวเจ้า น้ำตาลทราย กะทิ เมล็ดสาคูเล็ก หน้าขนมทำเช่นเดียวกับเส่งเผ่ มีรสชาติหวานมัน แม่ค้าจะทำขนมนี้บรรจุในถาดกลม และตัดขายเป็นชิ้นเล็ก ๆ มีขายในตลาดสดเทศบาล อำเภอแม่สอด

กะบองจ่อ
เป็นอาหารทานเล่นชนิดหนึ่ง ชื่ออาหารมาจากภาษาพม่า คำว่า จ่อ หมายถึง ทอด กะบอง หมายถึง ฟักทอง โดยจะนำฟักทองมาชุบแป้งก่อนทอด ทำให้มีสีเหลืองกรอบ เคล็ดลับความกรอบอยู่ที่ส่วนผสมแป้ง เรียกว่า แปม้ง ที่มาจากพม่า ทำจากถั่วเหลืองอ่อน ปัจจุบันมิได้มีแต่ฟักทองเพียงอย่างเดียว แต่มีการนำผักชนิดอื่นมาทอดด้วย เช่น มะละกอดิบ น้ำเต้า ถั่วงอก โดยจิ้มน้ำจิ้มที่มีส่วนผสมของน้ำมะขามเปียก น้ำอ้อยเคี่ยว เกลือ ถั่วลิสงป่น และกระเทียม มีรสชาติเปรี้ยว หวาน มีจำหน่ายทั่วไปในตลาดอำเภอเมืองตาก และอำเภอแม่สอด

ก๋วยเตี๋ยวพื้นเมือง
ลักษณะเด่นของก๋วยเตี๋ยวที่นี่ คือ ใช้เส้นเล็กปรุงด้วยกุ้งแห้งป่น แคบหมูชิ้นเล็ก หอม กระเทียมเจียว หมูบะช่อ ถั่วฝักยาวหั่นเฉียง น้ำตาลทราย น้ำมะนาว น้ำปลา มีทั้งก๋วยเตี๋ยวแห้ง และน้ำ ปัจจุบันมีเหลืออยู่เพียง 2 ร้าน ได้แก่ ร้านป้าบาง ในเขตอำเภอเมืองตาก และร้านป้าหล้า ถนนอินทรคีรี อำเภอแม่สอด


ร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง

อำเภอเมือง

แม่ผง
ถ. ตากสิน (จำหน่ายเครื่องหวายทุกชนิด) โทรศัพท์ : 0 5551 1751

โง้วเอียะเส็ง
252 ถ. ตากสิน (จำหน่ายมะม่วงดอง, กระเทียมดอง) โทรศัพท์ : 0 5551 1324

โชคดีกิ๊ฟช้อพ
298/6 ถ. ตากสิน (จำหน่ายเซรามิค) โทรศัพท์ : 0 5551 4246

อรพรรณ
77/9-11 ถ. มหาดไทยบำรุง (จำหน่ายกล้วยอบน้ำผึ้ง) โทรศัพท์ : 0 5551 1830

ลิ่มฮั่วเซ้ง
257/2 ถ. มหาดไทยบำรุง (จำหน่ายมะม่วงดองน้ำผึ้ง, กล้วยอบน้ำผึ้ง, กล้วยกวน) โทรศัพท์ : 0 5551 1510


อำเภอแม่สอด

รัตนภาพพลอย
1995 11/2-3 ถ. ศรีพานิช ต. แม่สอด (จำหน่ายภาพประดิษฐ์จากพลอย) โทรศัพท์ : 0 5553 2954, 0 5553 2386

ใต้ดิน
359/4-5 หมู่ 2 ถ. สายเอเซีย (จำหน่ายของเก่าเฟอร์นิเจอร์) โทรศัพท์ : 0 5553 2910

เตียงมณี
94/3 ถ. ประสาทวิถี (จำหน่ายอัญมณี)

เทวิน
338/2 หมู่ 2 ถ. สายเอเซีย (จำหน่ายผ้า, ถ้วยชาม, รูปภาพ, สินค้าพื้นเมือง) โทรศัพท์ : 0 5553 1343

สุ่ยจั้ว
359/2-3 หมู่ 2 ถ. สายเอเซีย (จำหน่ายอัญมณี, สินค้าพื้นเมือง) โทรศัพท์ : 0 5553 1107

บังอรการค้า
338/1 ถ. สายเอเซีย ต. แม่สอด (จำหน่ายอัญมณี) โทรศัพท์ : 0 5553 2180


:: สารบัญเว็บไซท์ ::

:: ข้อมูล สถานที่ท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว จังหวัดตาก ::

สารบัญเว็บไซท์ > ท่องเที่ยว > ข้อมูล และสถานที่ท่องเที่ยว > ภาคเหนือ > ตาก

จำนวนเว็บไซท์ในหมวดนี้ : 16 [ แนะนำเว็บไซท์ได้ที่นี่ ]


จังหวัดตาก
แนะนำข้อมูลทั่วไป สถานที่ท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว จองโรงแรม ที่พัก รีสอร์ท โรงแรม จังหวัดตาก น้ำตกทีลอซู แผนที่ การเดินทาง ร้านอาหาร เทศกาล งานประเพณี ของฝาก ประวัติความเป็นมา คำขวัญประจำจังหวัด
http://www.relaxzy.com/province/tak/

จังหวัดตาก
ข้อมูลสภาพทั่วไปของจังหวัดตาก ที่ตั้งและอาณาเขต หน่วยการปกครอง ฝน อุณหภูมิ ป่าไม้ แร่ธาตุ สภาพการ...
http://www.tak.go.th/

จังหวัดตาก
ข้อมูลจังหวัดตาก ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี สถานที่ท่องเที่ยว และข้อมูลอุทยานแห่งชาติ ในจังหว...
http://www.sanook.to/muangtak

เขื่อนภูมิพล
ข้อมูลเกี่ยวกับการท่องเที่ยวภายในเขื่อนภูมิพล รายละเอียดบ้านพักรับรอง เต็นท์ ห้องประชุม สัมมนา สน...
http://www.bhumiboldam.egat.com

อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
แนะนำอำเภอแม่สอด สถานที่ท่องเที่ยว ประเพณี รูปถ่ายสถานที่ท่องเที่ยว สถานที่สำคัญ และสถานที่ท่องเท...
http://www.geocities.com/maesod2003/

ตากออนไลน์ดอทเน็ต
เว็บบอร์ดของคนตาก และข้อมูลต่าง ๆ ของจังหวัดตาก แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว อาหารการกิน ร้านค้า สินค้า...
http://www.takonline.net

ท่องเที่ยวจังหวัดตาก
ศูนย์กลางการให้บริการข้อมูลการท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร ข้อมูลทุก ๆ อย่างที่จำเป็นสำหรับนักท่อง...
http://www.taktravel.net

อำเภอแม่สอด
ศูนย์รวมข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ภายในอำเภอแม่สอด สิ้นค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ข้อมูลเกี่ยวกับอำเภอ...
http://www.maesod.net/

แม่สอดดอตคอม
ศูนย์รวมความรู้ข่าวสารต่าง ๆ ภายในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก มีการแนะนำและมีภาพของสถานที่ท่องเที่ยว ข...
http://www.maesod.com

ตากหนึ่งร้อยแปด
ข้อมูลและสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดตาก เป็นเว็บไซต์วาไรตี้ ข่าวสาร สาระบันเทิง ประกาศซื้อขาย และอื่นๆ
http://www.tak108.com

อุทยานแห่งชาติขุนพะวอ
อุทยานแห่งชาติขุนพระวออยู่ในอำเภอแม่สอด และอำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก มีลักษณะเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้...
http://www.dnp.go.th/parkreserve/asp/style1/default.asp?npid=217&lg=1

อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช
อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอเมืองตาก และอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เดิมมีชื่อว่า...
http://www.dnp.go.th/parkreserve/asp/style1/default.asp?npid=75&lg=1

อุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ
น้ำตกพาเจริญเป็นน้ำตกหินปูนที่สวยงามด้วยชั้นน้ำตกที่ไหลลดหลั่นลงมาเป็นชั้นเล็กชั้นน้อยจำนวนมาก แล...
http://www.dnp.go.th/parkreserve/asp/style1/default.asp?npid=185&lg=1

อุทยานแห่งชาติลานสาง
อุทยานแห่งชาติลานสาง มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดตาก มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ด้วย...
http://www.dnp.go.th/parkreserve/asp/style1/default.asp?npid=48&lg=1

อุทยานแห่งชาติแม่เมย
อุทยานแห่งชาติแม่เมย มีพื้นที่อยู่ในอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ติดชายแดนประเทศพม่า มีม่อนกระทิง ม่...
http://www.dnp.go.th/parkreserve/asp/style1/default.asp?npid=221&lg=1

แม่สอด
แนะนำข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว โรงแรมที่พักในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และอำเภอใกล้เคียง
http://www.mae-sot.com


จังหวัดตาก :: สถานที่ท่องเที่ยว อำเภอแม่ระมาด

อำเภอแม่ระมาด

เป็นอำเภอชายแดนที่ติดต่อกับสหภาพพม่าอีกอำเภอหนึ่งของจังหวัดตาก อยู่ห่างจากตัวจังหวัด 120 กิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าเขา สันนิษฐานว่าเดิมอำเภอแม่ระมาดเป็นชุมชนของชาวกะเหรี่ยง แต่ต่อมามีชาวไทยล้านนาอพยพมาอยู่เป็นจำนวนมากจนได้ยกฐานะเป็นอำเภอแม่ระมาด เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2494

การเดินทาง จากตัวจังหวัดตากใช้เส้นทางตาก-แม่สอด-แม่ระมาด หรือใช้เส้นทางตาก-บ้านตาก-แม่ระมาดก็ได้

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตื่น

ตั้งอยู่บริเวณป่าแม่ตื่น มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในเขตอำเภอแม่ระมาด และอำเภอสามเงา จังหวัดตาก มีเนื้อที่ 733, 125 ไร่ ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นทิวเขาสูงชันสลับซับซ้อนมีป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง

วัดดอนแก้ว

ตั้งอยู่หลังที่ว่าการอำเภอแม่ระมาด เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหินอ่อนอันเป็นปฏิมากรรมของชาวพม่าที่มีอยู่ 3 องค์ในโลก แกะสลักจากหินอ่อนทั้งแท่ง โดยองค์แรกประดิษฐานที่ประเทศอินดีย องค์ที่สองประดิษฐานที่ประเทศปากีสถาน และองค์ที่สามประดิษฐานที่วัดดอนแก้ว หมู่ที่ 6 อำเภอแม่ระมาด โดยเมื่อเดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2465 ขุนระมาดไมตรี และชาวแม่ระมาดได้ไปติดต่อขอเช่าบูชามาจากพม่าในราคา 800 รูปี มีขนาดหน้าตักกว้าง 50 นิ้ว สูงจากฐานถึงเศียร 63 นิ้ว โดยนำมาทางเรือผ่านเมืองมะละแหม่ง แล้วเดินทางต่อจนถึงท่าเรือจองโต ท่านครูบาขาวปี ซึ่งเป็นที่เคารพของชาวบ้านและชางเมืองเหนอได้ไปรับพระพุทธรูปหินอ่อนแล้วอัญเชิญขึ้นบนเกวียนผ่านเมืองกรุกกริก บ้านจ่อแฮ (บ้านกะเหรี่ยง) การเดินทางยากลำบาก และล่าช้าเพราะเป็นภูเขาสูงชันต้องนอนพักแรมระหว่างทางถึงหมู่บ้านป๋างกาง การเดินทางจึงรวดเร็วขึ้นเพระาเป็ฯพื้นราบกระทั่งถึงหมู่บ้านเมียวดี ริมฝั่งแม่น้ำเมย เขตประเทศสหภาพเมียนมาร์ และข้ามแม่น้ำเมยเข้าสูประเทศไทยที่บ้านท่าสายลวด เขตแม่สอด และเดินทางไปยังอำเภอแม่ระมาดจึงอัญเชิญพระพุทธรูปหินอ่อนประดิษฐาน ณ วิหารวัดดอนแก้ว ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2465 รวมเวลาที่ไปอัญเชิญพระพุทธรูปหินอ่อนในครั้งนี้เป็นเวลา 12 วัน

อุทยานแห่งชาติ ขุนพะวอ

ที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่ ณ บ้านหนองหลวง หมู่ 3 ต.สามหมื่น มีเนื้อที่ประมาณ 220 ตารางกิโลเมตร หรือ 137,500 ไร่ เป็นอุทยานฯ ที่อยู่ในระหว่างดำเนินการประกาศจัดตั้ง เริ่มเปิดให้บริการนักท่องเที่ยวตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2546 มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ


ตาก จังหวัดตาก ตาก จังหวัดตาก ตาก จังหวัดตาก



จังหวัดตาก :: สถานที่ท่องเที่ยว อำเภอท่าสองยาง

อำเภอท่าสองยาง

เป็นอำเภอชายแดนติดกับประเทศพม่า อยู่ติดลำน้ำเมย พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าเขาสูงตามแนวเทือกเขาถนนธงชัย ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยพื้นราบ ประกอบอาชีพทำไร่ ระยะทางจากอำเภอแม่สอด - อำเภอท่าสองยาง ประมาณ 84 กิโลเมตร รวมระยะทางจากตัวอำเภอเมืองตากถึงอำเภอท่าสองยางประมาณ 169 กิโลเมตร

เมืองเก่าท่าสองยาว

ตั้งอยู่บริเวณห้วยลึก ห้วยธาตุริมฝั่งแม่น้ำเมยทางทิศใต้ของชุมชนแม่ต้าน สันนิษฐานว่าเป็นที่ตั้งของเมืองฉอดเก่า จากการสำรวจของกรมศิลปากร เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2502 พบซากเมืองโบราณอยู่ในป่าด้านทิศใต้บ้านแม่ต้านริมฝั่งแม่น้ำเมย ภายในเมืองโบราณมีแนวเทินดินมีคูคั่นเป็นกำแพงเมืองโบราณ ทางด้านทิศตะวันตก มี 3 ชั้น มีโบสถ์ วิหาร และเจดีย์ 10 แห่ง บ่อน้ำสี่เหลี่ยมกรุอิฐ ลึกประมาณ 20 เมตร 1 บ่อ ลานกว้างบนยอดดอยมีพระเจดีย์แบบเชียงแสน 1 องค์ นอกจากนี้ยังพบก้อนอิฐส่วนมากเป็นแบบสุโขทัย มีอิฐแบบอยุธยาปนอยู่บ้าง ไม่มีปูนสอ รอบโบสถ์ พบกองอิฐวางประจำอยู่ทิศทั้ง 8 เหมือนกับที่พบที่โบราณสถานที่บางแห่งในอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ใบเสมาพบแผ่นเดียวที่ดอยพระธาตุ พบแผ่นสัมฤทธิ์มีลวดลายสำหรับประดับองค์ระฆังแบบเชียงแสน พบพระพุทธรูปแบบสัมฤทธิ์แบบเชียงแสนหลายองค์ ภายในบริเวณเมืองเก่ามีศาลเจ้าอโมกขละ มีวัดเก่าที่ร้างหลายแห่ง และมีเจดีย์เก่าที่สำคัญ คือ พระธาตุเมืองเก่าห้วยลึก ได้บูรณะหลายครั้งเมื่อ ประมาณปี พ.ศ.2412 มีชาวกระเหรี่ยงชื่อ นายพะสุแฮ ได้ศรัทธา ทำการบูรณะพระเจดีย์องค์นี้จนเป็นผลสำเร็จต่อมาปี พ.ส. 2470 พระอภิชัย (ปี๋) หรือ ประขาวปี๋ ได้บูรณะขึ้นใหม่ โดยทำเป็ฯเจดีย์ทรางสี่เหลี่ยม และมีงานประเพณีสรงน้ำพระธาตุ ในวันที่ 19 เมษายนของทุกปี เรียกว่า วันน้ำทิพย์ของชาวบ้านแม่ด้าน บริเวณใกล้เคียงเรียกว่าโบราณสถานทุ่งกากอกพบโบสถ์ วิหาร และเจดีย์ มีผุ้พบพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ แบบเชียงแสนกว่า 400 องค์ กำแพงก่อเป็นเทินดิน 2 ชั้น มีคูคั่นหนอง ซึ่งเชื่อกันว่าขุดเอาดินไปทำอิฐ อิฐที่โบสถ์ วิหาร และเจดีย์เป็นแบบสุโขทัย เนื้อข้าวไม่มีแกลบก่ออ้วยปูนสอ พบก้อนหินอยู่รอบโบสถ์ซึ่งเข้าใจว่าใช้แทนใบเสมา

วัดมงคลคีรีเขตร์ (ครูบาสร้อย)

ตั้งอยู่ริมทางหลวงสายแม่สอด-ท่าสองยาง-แม่สะเรียง บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 136 หมู่ที่ 1 ตำบลท่าสองยาง อยู่ติดกับ ลำห้วยแม่จวง สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ.2462 สิ่งที่น่านใจภายในวัดนี้คือ กุฏิครูบาสร้อย ขันติสาโร อดีตเจ้าอาวาสวัดมงคลคีรีเขตร์ มรณภาพเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2541 เป็นที่เคารพของประชาชนทั่วไป ทั้งชาวไทยและชาวพม่าเชื้อสายกะเหรี่ยงที่อยู่ตรงข้ามอำเภอชายแดนฝั่งตะวันตก เชื่อกันว่าเป็นผู้ที่มีอาคมกล้าแข็งสามารถป้องกันอันตรายต่างๆให้กับผู้ที่เคารพนับถือ ซึ่งวัดนี้อยู่ตรงข้ามกับค่ายทหารกระเหรี่ยง มีชื่อค่ายว่า แม่ตะวอ เมื่อมีการสู้รบรุนแรง ดังนั้นชาวบ้านและกระเหรี่ยงทั้งไทย แะพม่าจึงเจ้ามาหลบภัยอยู่ที่วัดนี้นี่เอง ครูบาสร้อยได้มรณภาพเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2541 ปัจจุบันอยู่ในโลงแก้วในกุฏฺ ที่ท่านเคยอยู่โดยไม่เน่าเปื่อย

อุทยานแห่งชาติ แม่เมย

อยู่ในเขตอำเภอท่าสองยาง มีพื้นที่ติดต่อกับชายแดนสหภาพพม่าโดยมีแม่น้ำเมยเป็นเส้นแบ่งเขตแดน บริเวณที่ทำการอุทยานฯ มีการจัดภูมิทัศน์ และตกแต่งพื้นที่ด้วยไม้ประดับดูสวยงาม บรรยากาศโดยรอบที่ทำการสงบร่มรื่นด้วยป่าเขา และยังมีสัตว์ป่าต่างๆ เช่น กวาง ละมั่ง เป็นต้น นอกจากนั้นทางอุทยานฯ ได้จัด เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ใช้เวลาเดินประมาณ 6 ชั่วโมง ต้องมีเจ้าหน้าที่นำทางโดยติดต่อล่วงหน้าที่อุทยานฯ เป็นเส้นทางเดินแบบไปเช้า - เย็นกลับ หรือจะพักแรมก็ได้ ระหว่างเส้นทางที่เดินเป็นทางขึ้นเขาบ้าง ลงเขาบ้าง ทางเดินไม่ชันมาก เดินเรียบลำน้ำขึ้นไปเรื่อยๆ ผ่านน้ำตกเล็กๆ บางครั้งต้องปีนบันไดไม้ไผ่ที่สร้างขึ้นขนานไปกับน้ำตก ละอองน้ำจากน้ำตกจะกระเด็นเข้ามาปะทะที่ใบหน้าทำให้สดชื่นขึ้น หากมาในช่วงปลายฝนต้นหนาวจะพบดอกไม้ป่านานาชนิดหลากสีสันบานอยู่ริมทางเดินหรือริมน้ำตก เช่น ดอกกระทือสีแดง ดอกบัวตองสีเหลืองบานเป็นกอชวนสะดุดตาตัดกับผืนป่าสีเขียว บางดอกซ่อนตัวอยู่กับพรมมอสสีเขียวเข้ม


จังหวัดตาก :: สถานที่ท่องเที่ยว กิ่งอำเภอวังเจ้า

อุทยานแห่งชาติ คลองวังเจ้า

ห่างจากตัวเมือง 70 กิโลเมตร เป็นผืนป่าที่สมบูรณ์ มีเนื้อที่ 466,875 ไร่ มีไม้สักที่ขึ้นเองตามธรรมชาติอย่างหนาแน่น มีน้ำตกที่สวยงามน่าท่องเที่ยวหลายแห่ง ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2533 นอกจากนั้นใกล้ ๆ อุทยานฯ ยังมีหมู่บ้านชาวกะเหรี่ยง ซึ่งยังมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบเดิม


ตาก จังหวัดตาก ตาก จังหวัดตาก ตาก จังหวัดตาก ตาก จังหวัดตาก ตาก จังหวัดตา



:: อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช ::

:: ข้อมูลทั่วไป ::
อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช ตั้งอยู่ในท้องที่ 2 อำเภอ คือ อำเภอเมืองตาก และอำเภอแม่สอด ติดถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 105 (ตาก–แม่สอด) ห่างจากตัวอำเภอเมืองตากประมาณ 35 กิโลเมตร ซึ่งประกาศทับซ้อนป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ละเมา ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 954 (พ.ศ.2524) และประกาศทับซ้อนป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ท้อ–ห้วยตากฝั่งขวา ตำบลแม่ท้อ อำเภอเมือง จังหวัดตาก ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 145 (พ.ศ.2509) มีพื้นที่ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาจำนวน 93,125 ไร่ แต่มีพื้นที่จริงจากการคำนวนเท่ากับ 163,750 ไร่

ประวัติความเป็นมา : อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช เดิมมีชื่อว่า “อุทยานแห่งชาติต้นกระบากใหญ่” เนื่องจากมีต้นกระบากที่ใหญ่สุดในประเทศไทยเท่าที่สำรวจพบในขณะนี้ โดยมีนายสวาท ณ น่าน ช่างอันดับ 2 สถานีโทรคมนาคม จังหวัดตาก ซึ่งได้รับการบอกเล่าจากชาวเขาเผ่ามูเซอ ว่ามีต้นไม้ขนาดใหญ่ ประมาณสิบคนโอบอยู่ต้นหนึ่ง และมีสะพานหินที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เมื่อได้ไปสำรวจพบเห็นว่าเป็นสภาพธรรม ชาติที่สวยงามควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ จึงได้ทำหนังสือถึงกองอุทยานแห่งชาติ จำนวน 2 ฉบับ ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2519 และวันที่ 6 มกราคม 2520 รายงานถึงลักษณะทางธรรมชาติซึ่งมีความโดดเด่น ได้แก่ ต้นกระบากใหญ่ สะพานหินธรรมชาติ น้ำตกห้วยหอย น้ำตกแม่ย่าป้า มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีน้ำไหลตลอดทั้งปี และมีสัตว์ป่าที่ชุกชุม

ทางกองอุทยานแห่งชาติจึงได้มีคำสั่งให้ นายสมยศ สุขะพิบูลย์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติลานสางในขณะนั้น ออกไปตรวจสอบพบเห็นว่าเป็นจริงดังคำบอกเล่า มีความเหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติได้ และไปดำเนินการสำรวจเพื่อกำหนดพื้นที่ป่าห้วยแม่ละเมา–ห้วยยะอุ ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด และป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ท้อ–ห้วยตากฝั่งขวา ตำบลแม่ท้อ อำเภอเมืองตาก ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ นำเสนอต่อคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 98 ตอนที่ 210 ลงวันที่ 23 ธันวาคม 2524 กำหนดให้พื้นที่ดังกล่าวเป็น “อุทยานแห่งชาติต้นกระบากใหญ่” นับเป็นอุทยานแห่งชาติอันดับที่ 40 ของประเทศไทย

ต่อมากองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ พิจารณาเห็นว่า เพื่อเป็นการเทอดพระเกียรติ แด่องค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และเป็นสิริมงคลแก่อุทยานแห่งชาติ ตลอดจนเพื่อเป็นการรำลึกถึง สถานที่อันมีค่าทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย ได้แก่ จังหวัดตาก เห็นสมควรเปลี่ยนชื่อ “อุทยานแห่งชาติต้นกระบากใหญ่” เป็น “อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช” กรมป่าไม้จึงได้ดำเนินการ กราบบังคมทูล ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต เพื่อใช้พระปรมาภิไธยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นชื่ออุทยานแห่งชาติ และได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตตามหนังสือสำนักราชเลขาธิการ พระบรมมหาราชวัง ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2529 ให้ใช้ชื่อว่า “อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช”

นอกจากความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า และเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ทางลักษณะภูมิประเทศแล้ว อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช ยังมีเอกลักษณ์ทางประวัติศาสตร์อีกด้วย กล่าวคือ ในสมัยโบราณพื้นที่แห่งนี้ เคยเป็นเส้นทางการเดินทัพของขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด (อำเภอแม่สอดในปัจจุบัน) เพื่อบุกเข้าตีเมืองตาก ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านของไทยในขณะนั้น นอกจากนี้ยังเป็นเส้นทางเดินทัพของพม่า โดยพระเจ้าอลองพญากษัตริย์พม่า คราวยกทัพกลับจาก การล้อมกรุงศรีอยุธยา ขณะเสด็จกลับระหว่างทาง ทรงประชวรและสิ้นพระชนม์ในป่าแห่งนี้

:: ลักษณะภูมิประเทศ ::
ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อน มีพื้นที่ราบอยู่เพียงเล็กน้อย อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยเฉลี่ยประมาณ 800–1,000 เมตร ยอดสูงสุดอยู่ที่ดอยมณฑา บ้านห้วยช้างไล่ ตำบลด่านแม่ละเมา อำเภอแม่สอด โดยมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,068 เมตร มีแนวเทือกเขาถนนธงชัย ผ่านกลางอุทยานแห่งชาติ ตามแนวตะวันออกเฉียงใต้–ตะวันตกเฉียงเหนือ ลักษณะเป็นสันปันน้ำซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างอำเภอเมืองตากกับอำเภอแม่สอด เป็นต้นกำเนิดของห้วยสำคัญๆ ทางด้านอำเภอแม่สอด จำนวน 10 ห้วย ไหลไปรวมกันเป็นห้วยแม่ละเมาลงสู่แม่น้ำเมย ทางด้านอำเภอเมืองตาก มีจำนวน 7 ห้วย ซึ่งไหลมารวมเป็นห้วยแม่ท้อ แล้วไหลลงสู่แม่น้ำปิง


:: ลักษณะภูมิอากาศ ::
อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช มีอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี อุณหภูมิเฉลี่ย 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36 องศาเซลเซียส ต่ำสุด 3 องศาเซลเซียส มีฝนตกชุก ในเดือนสิงหาคม ถึงเดือนตุลาคม ช่วงฤดูหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนมกราคม นอกจากนี้ยังสามารถพบเห็น ทะเลหมอกที่สวยงาม ตลอดแนวเขาทั่วไป ในช่วงฤดูฝน และฤดูหนาวอีกด้วย


:: พรรณไม้และสัตว์ป่า ::
สภาพป่าประกอบไปด้วย ป่าดงดิบ ส่วนใหญ่อยู่บริเวณต้นกระบากใหญ่ และสะพานหินธรรมชาติ มีพันธุ์ไม้หลักที่สำคัญคือ ก่อ ยาง กระบาก มะหาด ยมหอม อบเชย กฤษณา มณฑา เป็นต้น ป่าดิบเขา อยู่บริเวณใกล้สันปันน้ำ มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญคือ ก่อ ยาง แดงน้ำ และไม้เนื้ออ่อนชนิดต่างๆ ป่าเต็งรัง และ ป่าเบญจพรรณ จะมีอยู่ทั่วไป มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญคือ เต็ง รัง เหียง สัก พลวง ตะแบก ประดู่ มะค่าโมง มะค่าแต้ ยมหิน แดง เก็ดแดง ฯลฯ และไม้ไผ่ชนิดต่างๆ

สำหรับสัตว์ป่าที่สำรวจพบมีหลายชนิด อาทิเช่น เก้ง กวางป่า เลียงผา หมี ลิง ค่าง หมูป่า ชะนี กระต่าย งู กระรอก ผีเสื้อ ไก่ป่า เสือไฟ เสือลายเมฆ และนกชนิดต่างๆ ฯลฯ


:: ที่ตั้งและการเดินทาง ::
อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช
หมู่ 10 ถนนตาก-แม่สอด ต.แม่ท้อ อ. เมืองตาก จ. ตาก 63000
โทรศัพท์ : 0 5551 1429 โทรสาร : 0 5551 1429

- รถยนต์
จากจังหวัดตาก เดินทางโดยรถยนต์ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 105 (ตาก – แม่สอด) ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 25+980 จะพบป้ายอุทยานแห่งชาติขนาดใหญ่ทางด้านขวามือ เลี้ยวไปตามถนนลาดยาง แยกเข้าไปอีก 1.5 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ รถยนต์สามารถเดินทางได้สะดวกทุกฤดูกาล


- รถโดยสารประจำทาง
จากกรุงเทพฯ ขึ้นรถโดยสารที่สถานีขนส่งสายเหนือ สายกรุงเทพฯ - ตาก ลงที่สถานนีขนส่งจังหวัดตาก หรือสายอื่นๆ แต่ต้องแจ้งพนักงานขับรถโดยสารหรือพนักงานเก็บค่าโดยสารว่าต้องการลงที่สถานีขนส่งจังหวัดตาก จากนั้นเดินทางต่อโดยรถตู้หรือรถบัส สายตาก - แม่สอด ให้แจ้งพนักงานขับรถโดยสารว่า ต้องการไปที่อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช (ประมาณกิโลเมตรที่ 26) เมื่อถึงปากทางเข้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ต้องเดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ 1.5 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ การเดินเท้าเข้าอุทยานแห่งชาติ เส้นทางสบายๆ ถนนลาดยาง ไม่ลาดชัน อากาศส่วนใหญ่เย็นสบาย และได้ชมทิวทัศน์ในระหว่างทางด้วย


:: แหล่งท่องเที่ยว :: ด้านธรรมชาติที่สวยงาม ::
ต้นกระบากใหญ่ ขึ้นในบริเวณหุบเขาของป่าดงดิบ มีขนาดความโตวัดโดยรอบได้ 16.10 เมตร ความสูง 50 เมตร ต้องใช้คนประมาณ 12 คน จึงจะโอบได้รอบลำต้น อยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ประมาณ 2.5 กิโลเมตร ตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติซึ่งเป็นทางเดินลงเขาชันมาก ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ผู้สนใจจึงควรมีสุขภาพแข็งแรง และควรเตรียมน้ำดื่มให้พร้อม สำหรับการเดินลงไปเที่ยวชม และเดินกลับขึ้นมา ระหว่างทางมีป้าย ให้ความรู้เรื่องธรรมชาติอยู่เป็นระยะๆ


- สะพานหินธรรมชาติ มีลักษณะเป็นแท่งหินขนาดใหญ่ เชื่อมติดกับหน้าผาสองข้างเข้าด้วยกัน คล้ายสะพาน มีความกว้างและความสูงประมาณ 25 เมตร ยาวประมาณ 30 เมตร เบื้องล่างมีลำธารไหลผ่านตลอดทั้งปี สภาพป่าโดยรอบ เขียวชะอุ่มร่มรื่น เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ ใกล้กับสะพานหินมีถ้ำหินงอกหินย้อยงดงาม สะพานหินธรรมชาติ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 10 กิโลเมตร ต้องติดต่อเจ้าหน้าที่นำทาง ก่อนเข้าไปเที่ยวชมทุกครั้ง


- น้ำตกปางอ้าน้อย เป็นน้ำตกขนาดกลางที่อยู่ใกล้ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ กว้างประมาณ 8 เมตร สูง 20 เมตร มีน้ำไหลตลอดทั้งปี เดินต่อจากต้นกระบากใหญ่ เลียบลำน้ำ ไปตามเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร จะถึงน้ำตก


- น้ำตกผาขาว–ผาแดง เป็นน้ำตกที่เกิดจากลำห้วยผาขาว – ผาแดง กว้างประมาณ 10 เมตร ชั้นสูงที่สุด 30 เมตร มี 2 ชั้น จะมีน้ำไหลจากน้ำตกในช่วงหน้าฝน ส่วนช่วงหน้าแล้งน้ำจะลอดผ่านถ้ำธารลอดแทน ฤดูที่เหมาะสมในการท่องเที่ยวอยู่ระหว่างเดือนตุลาคม - เดือนธันวาคม อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 35 กิโลเมตร ต้องมีเจ้าหน้าที่นำทาง


- ถ้ำธารลอดผาขาว–ผาแดง เกิดจากลำห้วยผาขาว – ผาแดง ไหลเลาะลงถ้ำด้านล่าง ความลึกที่สำรวจได้ 100 เมตร มีหินงอกหินย้อยสวยงาม มีลำธารไหลผ่านตลอดทั้งปี อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 32 กิโลเมตร ต้องติดต่อเจ้าหน้าที่นำทางก่อนทุกครั้ง


- น้ำตกปางอ้าใหญ่ เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มีน้ำไหลตลอดทั้งปี ความสูงประมาณ 80 เมตร จำนวน 4 ชั้น อยู่ห่างจากจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 24 กิโลเมตร ฤดูกาลที่เหมาะสมแก่การท่องเที่ยว อยู่ระหว่างเดือนตุลาคม - เดือนกุมภาพันธ์ ต้องมีเจ้าหน้าที่นำทาง


เส้นทางศึกษาธรรมชาติ อุทยานแห่งชาติได้จัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติไว้ให้บริการนักท่องเที่ยวได้ศึกษาหาความรู้ดังนี้
- เส้นทางจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยว - ต้นกระบากใหญ่ ระยะทาง 2.5 กิโลเมตร
- เส้นทางจากต้นกระบากใหญ่ - น้ำตกปางอ้าน้อย ระยะทาง 1 กิโลเมตร
- เส้นทางจากลานจอดเฮลิคอปเตอร์ - น้ำตกปางอ้าน้อย ระยะทาง 1.5 กิโลเมตร



:: สิ่งอำนวยความสะดวก ::
ห้องสุขาชาย มีห้องสุขาชายไว้บริการ


ห้องสุขาหญิง มีห้องสุขาหญิงไว้บริการ


ที่พักแรม/บ้านพัก มีบ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์ และเต็นท์ ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียด และสำรองที่พักเต็นท์ได้ กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง


- ที่จอดรถ มีลานจอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


- บริการอาหาร มีร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลท่องเที่ยว แต่ในวันธรรมดา หากจะเข้าพัก และต้องการอาหาร ให้โทรติดต่อล่วงหน้าที่งานบ้านพัก อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 วัน เพื่อความสะดวกของท่าน


- ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูล ได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.

0 ความคิดเห็น: