วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การท่องเที่ยวจังหวัดกำแพงเพชร

การท่องเที่ยวในภาคเหนือ 16 จังหวัด
กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี


:: จังหวัดกำแพงเพชร ::

จังหวัดกำแพงเพชร :: ข้อมูลทั่วไป

กำแพงเพชร อยู่ทางภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย ทางทิศเหนือและทิศใต้ของจังหวัดเป็นที่ราบ ทางทิศตะวันตกเป็นภูเขาสลับซับซ้อนและเป็นต้นน้ำของลำธารต่าง ๆ เช่น คลองสวนหมาก คลองวังเจ้า คลองขลุง และคลองแขยง ซึ่งจะไหลลงสู่แม่น้ำปิง ที่เป็นแม่น้ำสำคัญที่ไหลผ่านกลางพื้นที่ของจังหวัดตั้งแต่เหนือสุดจนใต้สุด

กำแพงเพชร เป็นที่ตั้งของเมืองเก่าที่ปรากฎหลักฐานอยู่ในประวัติศาสตร์ไทยไม่น้อยกว่า 700 ปี เคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัย มีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง และเป็นเมืองหน้าด่านทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญ กำแพงเมืองและป้อมปราการจึงถูกสร้างอย่างแข็งแรงและยังเหลือร่องรอยอยู่จนปัจจุบัน จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ก่อนมีเมืองกำแพงเพชรเคยมีเมืองเก่ามาก่อน 2 เมือง คือเมืองชากังราว ตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำปิง และเมืองนครชุม อยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำปิง

กำแพงเพชร จึงเป็นเมืองแห่งประวัติศาสตร์วัฒนธรรม และธรรมชาติป่าเขา น้ำตก อันงดงาม มีอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลก เมื่อปี 2534 และยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ยังคงสมบูรณ์ ทั้งป่าไม้ นก สัตว์ต่าง ๆ อาทิ อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ อุทยานแห่งชาติคลองลาน และอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า ให้นักท่องเที่ยวได้ชื่นชมความงามอีกด้วย

จังหวัดกำแพงเพชร อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 358 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 8,607.5 ตารางกิโลเมตร


- การปกครอง
จังหวัดกำแพงเพชร แบ่งการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ คือ อำเภอเมืองกำแพงเพชร อำเภอคลองขลุง อำเภอคลองลาน อำเภอไทรงาม อำเภอขาณุวรลักษบุรี อำเภอพรานกระต่าย อำเภอลานกระบือ อำเภอปางศิลาทอง อำเภอทรายทองวัฒนา อำเภอบึงสามัคคี และอำเภอโกสัมพีนคร

- อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเมือง จังหวัดตาก และอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก อำเภอโพธิ์ทะเล และอำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก

ระยะทางจากตัวเมืองไปยังอำเภอต่างๆ
- อำเภอพรานกระต่าย 25 กิโลเมตร
- อำเภอไทรงาม 43 กิโลเมตร
- อำเภอคลองลาน 50 กิโลเมตร
- อำเภอคลองขลุง 43 กิโลเมตร
- อำเภอลานกระบือ 55 กิโลเมตร
- อำเภอขาณุวรลักษบุรี 79 กิโลเมตร
- กิ่งอำเภอทรายทองพัฒนา 53 กิโลเมตร
- กิ่งอำเภอปางศิลาทอง 70 กิโลเมตร
- กิ่งอำเภอบึงสามัคคี 90 กิโลเมตร
- กิ่งอำเภอโกสัมพีนคร 35 กิโลเมตร

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ (รหัสทางไกล 055)
สำนักงานจังหวัดกำแพงเพชร
711-344

ททท. สำนักงานภาคเหนือ เขต 4
514-341-3

ตำรวจทางหลวง
511-340

ตู้ยามแม่สอด
532-222

รพ.กำแพงเพชร
711-232 , 711-234

รพ.ทุ่งโพธิ์ทะเล
714-098

รพ.คลองขลุง
781-007 , 711-006

รพ.ไทรงาม
713-336

รพ.คลองลาน
786-005

รพ.ขาณุวรลักษ์บุรี
779-013

รพ.พรานกระต่าย
761-014

รพ.ลานกระบือ
769-085

สถานีตำรวจ
711-199

สถานีขนส่งจังหวัด
799-273

ไปรษณีย์จังหวัด
711-030



จังหวัดกำแพงเพชร :: สถานที่ท่องเที่ยว อำเภอเมือง

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ทางเข้าตั้งอยู่นอกเมืองกำแพงเพชร ไปประมาณ ๕ กิโลเมตร ตามถนนสายกำแพงเพชร - พรานกระต่าย แล้วเลี้ยวซ้ายตรงกิโลเมตรที่ ๓๖๐ อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร แบ่งออกเป็นโบราณสถานฝั่งตะวันออก และฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง ซึ่งใช้วัสดุก่อสร้างที่แตกต่างกัน ด้านตะวันออกของแม่น้ำปิง เป็นที่ตั้งเมืองกำแพงเพชร โบราณสถานจะสร้างด้วยศิลาแลง และมีขนาดใหญ่ ส่วนโบราณสถานฝั่งตะวันตก คือเมืองนครชุม ก่อสร้างด้วยอิฐ และมีขนาดเล็ก แต่รูปแบบศิลปะที่ปรากฏ มีลักษณะร่วมสมัยระหว่างสุโขทัย และอยุธยา

นอกจากนี้ยังมีโบราณสถานนอกเมืองกำแพงเพชร หรือเขตอรัญญิก ซึ่งเป็นที่อยู่ของสงฆ์ ที่มุ่งในการปฏิบัติวิปัสสนาธรรม อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ระยะทาง ๒ กิโลเมตร

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ได้รับการประกาศให้เป็น “มรดกโลก” ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๓๔

ผู้สนใจเข้าชมได้ทุกวัน เวลา ๐๘.๐๐-๑๗.๐๐ น ค่าเข้าชมชาวไทย ๑๐ บาท ชาวต่างประเทศ ๔๐ บาท สำหรับผู้ที่จะนำรถเข้าชมในบริเวณอุทยานจะต้องเสียค่าผ่านประตูคันละ ๕๐ บาท รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
โทร ๐ ๕๕๗๑ ๑๙๒๑

- สถานที่น่าสนใจภายในเขตอุทยานฯ

- วัดพระแก้ว ตั้งอยู่ใจกลางเมืองกำแพงเพชร เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มโบราณสถาน มรดกโลก ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เป็นวัดที่สำคัญ อยู่ติดกับบริเวณวังเช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือวัดมหาธาตุกลางเมืองสุโขทัย ภายในบริเวณวัดประกอบด้วย เจดีย์ประธานที่ฐานมีสิงห์ล้อม เจดีย์ทรงกลมที่ฐานมีช้างรอบ วิหาร มณฑป อุโบสถ และเจดีย์ราย ทั้งหมดล้อมรอบด้วย กำแพงศิลาแลงเป็นแท่ง ๆ โดยรอบ

- วัดพระธาตุ ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของวัดพระแก้ว มีพระเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมเป็นประธาน ล้อมรอบด้วยระเบียบคด ที่เชื่อมต่อกับวิหารด้านทิศตะวันออก ที่สองข้างวิหารมีเจดีย์รายอยู่ข้างละ ๑ องค์ มีกำแพงแก้วล้อมรอบ

- สระมน เป็นสระรูปสี่เหลี่ยมกว้างประมาณ ๑๖ เมตร รอบสระมีคันดินคูน้ำล้อมรอบ จากการขุดค้นที่บริเวณนี้ พบเศษกระเบื้องมุงหลังคา เครื่องมือเครื่องใช้ และเครื่องประดับ

- กำแพงเมืองกำแพงเพชร เป็นกำแพงชั้นเดียว สร้างเป็นเชิงเทินมี ๒ ตอน ตอนล่างเป็นมูลดินสูงขึ้นไป ๓-๔ เมตร ตอนบนก่อด้วยศิลาแลง เป็นเชิงเทินมีใบเสมา และเจาะตรงใบเสมาไว้สำหรับมองข้าศึก

- วัดพระบรมธาตุ ตั้งอยู่ใจกลางเมืองนครชุม เป็นเจดีย์ที่เจ้าพระยาลิไทเสด็จมาสถาปนา และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้เมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๐ เดิมเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ๓ องค์ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ต่อมาพ่อค้าไม้ชาวกะเหรี่ยงได้ปฏิสังขรณ์ เป็นเจดีย์แบบพม่า ดังที่ปรากฏเมื่อ ๘๐ –๙๐ ปีมาแล้ว

- วัดซุ้มกอ เป็นวัดขนาดเล็ก อยู่ทางทิศใต้ของเมืองนครชุมเจดีย์ ประธานเป็นเจดีย์ฐานแปดเหลี่ยม มีองค์ระฆังแบบลังกา วัดนี้เคยขุดพบพระเครื่อง “ซุ้มกอ” เป็นจำนวนมาก ด้านหน้าของเจดีย์ประธานมีวิหารเล็ก ๆ ๑ หลัง

- วัดพระบรมธาตุเจดียาราม มีเจดีย์แบบพม่า ๑ องค์ สันนิษฐานว่าเดิมคงเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ อย่างศิลปะสุโขทัย แต่ปัจจุบันเป็นเจดีย์แบบพม่า เนื่องจากเศรษฐีพม่าผู้หนึ่งได้มาบูรณะเมื่อประมาณ ๑๐๐ ปี มาแล้ว ในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย และอยุธยามากมาย

- กำแพงป้อมทุ่งเศรษฐี ตั้งอยู่ริมถนนพหลโยธิน ก่อนถึงตัวเมืองกำแพงเพชรเล็กน้อย ลักษณะเป็นป้อมปราการ ที่ก่อด้วยศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยม สูงประมาณ ๖ เมตร มีประตูทางเข้าตรงกลางป้อม ๔ ด้าน ด้านในของป้อมมีเชิงเทิน ตรงฐานป้อมใต้เชิงเทินเป็นห้องมีทางเดินติดต่อกันได้ ตรงมุมมีป้อมยื่นออก ๔ มุม มีรูอยู่ติดกับพื้น แต่ด้านทิศเหนือถูกรื้อออกเสียด้านหนึ่ง

- วัดเจดีย์กลางทุ่ง ตั้งอยู่ตรงข้ามกับสถานีขนส่งกำแพงเพชร เป็นวัดที่ตั้งอยู่นอกเมืองนครชุมทางทิศใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เจดีย์ประธานทรงดอกบัวตูม มีการจัดผังวัดแบบ อุทกสีมา คือใช้แนวคูน้ำโดยรอบ เพื่อแสดงขอบเขตของวัด ซึ่งเป็นผังที่นิยมมากในสมัยสุโขทัย

- วัดหนองพิกุล เป็นวัดสำคัญของเมืองนครชุม ส่วนหลังคาไม่ปรากฎให้เห็น แต่ผนังที่เหลืออยู่ในสภาพสมบูรณ์ ก่อด้วยอิฐฉาบปูนมีลวดลายประดับ เป็นโบราณสถานที่ได้รับอิทธิพลจากลังกา

- วัดพระนอน มีกำแพงศิลาแลงปักล้อมรอบวัดไว้ทั้ง ๔ ด้าน ด้านหน้าวัดมีบ่อน้ำสี่เหลี่ยม มีห้องอาบน้ำและศาลาน้ำ ฐานและเสาเป็นศิลาแลง มีทางเท้าปูด้วยศิลาแลง มีโบสถ์ขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ด้านหน้า ด้านหลังเป็นวิหารพระนอน ก่อสร้างด้วยเสาศิลาแลงขนาดใหญ่ หลักฐานทางประติมากรรมที่พบ คือ ใบเสมารูปเทพพนม พาลีกับทรพี สันนิษฐานว่าสลักขึ้นในสมัยอยุธยา

- วัดพระสี่อิริยาบถ หรือ วัดพระยืน วัดนี้มีบ่อน้ำและที่อาบน้ำอยู่หน้าวัดเช่นเดียวกับวัดพระนอน กำแพงเป็นศิลาแลงปักตั้งล้อม ๔ ด้าน ด้านหน้าวัดมีวิหารขนาดใหญ่ยกฐานสูง ๒ เมตร มีเสาลูกกรง เป็นศิลาแลงเหลี่ยม และมีทับหลังบนมุขหน้าวิหาร สิ่งสำคัญของวัดได้แก่ มณฑปจตุรมุข แต่ละทิศประดิษฐาน พระพุทธรูป ๔ ปาง คือ เดิน นั่ง ยืน และนอน อยู่โดยรอบทั้ง ๔ ทิศตามลำดับ ปัจจุบันเหลือเพียง พระยืนขนาดใหญ่ที่สวยงาม พระพักตร์เป็นลักษณะพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย แบบกำแพงเพชรคือ พระนลาฏกว้าง และพระหนุเสี้ยม

- วัดพระสิงห์ ถัดจากวัดพระสี่อิริยาบถไปทางทิศเหนือประมาณ ๑๐๐ เมตร สันนิษฐานว่าใช้เวลาสร้างถึง ๒ สมัย คือ สมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา ผังรวมของวัดแบ่งเขตพุทธาวาส ให้อยู่ในกลุ่มกลาง ล้อมรอบด้วยเขตสังฆาวาส หรือกุฏิสงฆ์ โดยมีพระเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมมีซุ้มทั้ง ๔ ด้าน เป็นประธาน ด้านหน้าเป็นพระอุโบสถขนาดใหญ่ ยกฐานประทักษิณสูง บนฐานประทักษิณนี้ประดิษฐานพัทธสีมา ไว้ทั้งแปดทิศ มุขด้านหน้าของฐานประทักษิณ มีรูปสิงห์รูปนาคประดับ

- วัดช้างรอบ เป็นวัดที่สร้างบนยอดเนิน มีพระเจดีย์ทรงลังกา ซึ่งยอดหักพังหมดแล้ว มีบันไดทางขึ้นทั้งสี่ด้าน ที่ชั้นฐานลานประทักษิณ ประดับด้วยช้างทรงเครื่องครึ่งตัว จำนวน ๖๘ เชือก ระหว่างช้างแต่ละเชือก มีภาพปั้นรูปลายพรรณพฤกษา ในพระพุทธศาสนา เช่น ต้นโพธิ์ และต้นสาละ เป็นต้น

- วัดอาวาสใหญ่ มีเจดีย์แปดเหลี่ยมเป็นประธาน ด้านหน้าเป็นวิหารฐานสูงมีทางขึ้น ๓ ด้าน มีเจดีย์รายรอบ ด้านหน้าสุดนอกเขตกำแพงแก้วมีบ่อน้ำใหญ่ เรียก “บ่อสามแสน” เพราะน้ำในบ่อนี้ไม่เคยแห้ง

- ที่ทำการหน่วยศิลปากรประจำจังหวัดกำแพงเพชร ตั้งอยู่เลยวัดพระแก้วไปตามเส้นทางกำแพงเพชร - พรานกระต่าย มีทางแยกเข้าไปทางซ้ายมือ ตรงประตูสะพานโคมประมาณ ๓๐๐ เมตร เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ การบูรณะขุดแต่งอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ภายในที่ทำการหน่วยจะมีแผนผังอุทยานฯ ที่สามารถทำให้เข้าใจ การแบ่งส่วนพื้นที่โบราณสถานได้อย่างชัดเจน

- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร ตั้งอยู่ที่ถนนปิ่นดำริห์ เป็นที่แสดงโบราณวัตถุและศิลปวัตถุสมัยต่าง ๆ อาทิเช่น ศิลปทวารวดี ศิลปลพบุรี และศิลปรัตนโกสินทร์ โบราณวัตถุส่วนมากเป็นลวดลายปูนปั้นและลวดลายดินเผา เศียรพระพุทธรูป เครื่องสังคโลก ปูนปั้นรูปยักษ์เทวดา และมนุษย์ซึ่งใช้ประดับฐานเจดีย์ หรือติดตั้งวิหาร นอกจากนั้นยังมีเทวรูปพระอิศวรสัมฤทธิ์ ที่ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้ถูกลอบตัดเศียรและพระหัตถ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๙ และได้ถูกซ่อมแซมให้คืนดีในภายหลัง ผู้สนใจสามารถเข้าชมพิพิธภัณฑ์ฯ ได้ในเวลาราชการทุกวัน เว้นวันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น. ค่าเข้าชมชาวไทย ๑๐ บาท ชาวต่างประเทศ ๓๐ บาท สอบถามรายละเอียด โทร. ๐ ๕๕๗๑ ๑๕๗๐

- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๐๔/๕ ถนนปิ่นดำริห์ อยู่ติดกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชรภายในเขตกำแพงเมืองเก่าของจังหวัดกำแพงเพชร เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในพระราชพิธีกาญจนาภิเษก ฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี สร้างด้วยไม้สักเป็นเรือนไทยหมู่แบบเรือนไทยภาคกลาง พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชรฯ แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือส่วนของประวัติศาสตร์เมือง ส่วนของมรดกดีเด่น เช่น หินอ่อน แหล่งน้ำมัน และส่วนของชาติพันธุ์วิทยา แสดงถึงชนเผ่าต่างๆ เช่น มูเซอ กะเหรี่ยง ลีซอ และการละเล่นพื้นบ้าน เป็นต้น มีห้องโสตทัศนูปกรณ์ และนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ โดยใช้ระบบมัลติมีเดีย มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมพื้นเมืองของจังหวัด ผลิตภัณฑ์ชาวเขาและกลุ่มแม่บ้าน นอกจากนั้นมีศูนย์จริยศึกษา เพื่อฝึกหัดอบรมงานศิลปประดิษฐ์สำหรับเยาวชนในวัยเรียน ซึ่งจะเป็นนักเรียนจากโรงเรียนต่างๆ ในจังหวัด โดยจะสอนเกี่ยวกับพุทธศาสนา มรรยาท การแกะสลัก ร้อยมาลัย ซึ่งจะเปิดสอนเฉพาะวันอาทิตย์ พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชรฯ เปิดให้เข้าชมทุกวันเวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๓๐ น.

- ค่าบัตรผ่านประตู ๑๐ บาท ค่าเข้าชมมัลติมีเดีย ๒๕๐ บาท/คณะ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. ๐ ๕๕๗๒ ๒๓๔๑-๒

- ศาลพระอิศวร ตั้งอยู่ด้านหลังศาลจังหวัด มีฐานก่อด้วยศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายกพื้นสูง ๑.๕๐ เมตร บนฐานชุกชีมีเทวรูปพระอิศวรสัมฤทธิ์ที่จำลองขึ้น เทวรูปพระอิศวรองค์เดิม ปัจจุบันตั้งอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร เทวรูปองค์เดิมนี้ในสมัยรัชกาลที่ ๕ นักท่องเที่ยวชาวเยอรมันได้ลักลอบตัดพระเศียร และพระหัตถ์ ส่งลงเรือมายังกรุงเทพฯ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ขอพระเศียร และพระหัตถ์คืน และทรงประทานพระอิศวรจำลองให้แทน ซึ่งปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์กรุงเบอร์ลิน

- สิริจิตอุทยาน เป็นสวนสาธารณะเอนกประสงค์ริมฝั่งแม่น้ำปิง มีเนื้อที่ ๑๗๐ ไร่ ประกอบด้วยสนามเด็กเล่น สวนสุขภาพ ศาลาพักผ่อน สวนไม้ดอกไม้ประดับปลูก และลานอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ซึ่งสร้างเป็นเรือนไทย มีการแสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบไทยประจำท้องถิ่นที่ลานเทวีกลางแจ้งและมีการจัดจำหน่ายสินค้าโครงการ “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” ของชุมชนในเขตเทศบาลเมืองอีกด้วย

- หอไตรวัดคูยาง ตั้งอยู่ที่ถนนวิจิตร เขตเทศบาลเมือง เป็นสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ หอไตรนี้สร้างไว้กลางน้ำและมีใต้ถุนสูงเพื่อป้องกันปลวก แมลงสาบ และหนู เข้าไปกัดทำลายพระไตรปิฎก หนังสือ และคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา

- หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์ อยู่ในตำบลนครชุม อำเภอเมือง เป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสนขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง ๒ เมตร สูงเกือบ ๓ เมตร มีพุทธลักษณะที่งดงามยิ่ง เป็นหลักฐานสำคัญประกอบข้อเท็จจริง ถึงความสัมพันธ์ระหว่างกำแพงเพชร และหัวเมืองฝ่ายเหนือ

- บ้านไม้สักเก่าแก่ ตั้งอยู่บนถนนเทศา เขตเทศบาลเมือง เป็นมรดกตกทอดของคหบดีชาวกำแพงกำแพงเพชร มีลักษณะเป็นอาคาร ๒ ชั้น สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง เสาเรือนทุกต้นใช้ไม้สักต้นเดียวยาวตลอด และหน้ามุขประดับด้วยไม้ฉลุมีความสวยงามมาก

- ศูนย์แปรรูปผลผลิตการเกษตรบ้านบ่อสามแสน หมู่ ๖ บ้านบ่อสามแสน ตำบลหนองปลิง
อำเภอเมือง ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๕ กิโลเมตร บนทางหลวงสายกำแพงเพชร-พรานกระต่าย
ศูนย์แห่งนี้ผลิตและจำหน่ายสินค้าแปรรูปทางการเกษตรหลายชนิด ที่ขึ้นชื่อที่สุดได้แก่ กระยาสารท
ข้าวแต๋น นางเล็ด ขนมดอกจอก มันรังนก มีความเป็นเอกลักษณ์และรสชาติความอร่อยแบบไทยๆ

- บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง (บึงสาป) หมู่ ๓ ตำบลลานดอกไม้ ห่างจากตัวเมือง ๑๓ กิโลเมตร บนทางหลวงหมายเลข ๑๐๑ สายกำแพงเพชร-พรานกระต่าย แยกซ้ายเข้าไปประมาณ ๑๒ กิโลเมตร เป็นน้ำพุร้อนเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ผุดขึ้นมาจากใต้ดิน จำนวน ๕ จุด อุณหภูมิประมาณ ๔๐-๖๕ องศาเซลเซียส จากการตรวจสอบของกระทรวงสาธารณสุข ปรากฏว่าไม่มีสารปนเปื้อน และเชื้อโรคอันตรายเกินมาตรฐานแต่อย่างใด มีสถานที่ให้บริการอาบน้ำแร่ในบริเวณน้ำพุร้อนแห่งนี้ด้วย

- เมืองไตรตรึงษ์ ตั้งอยู่ที่ตำบลไตรตรึงษ์ บนทางหลวงหมายเลข ๑ สายกำแพงเพชร-นครสวรรค์ ห่างจากตัวเมือง ๑๘ กิโลเมตร เป็นเมืองเก่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าไชยสิริกษัตริย์เชียงราย ซึ่งได้หนีข้าศึกจากเชียงราย ลงมาสร้างเมืองนี้ขึ้น เมื่อ พ.ศ . ๑๕๔๒ ปัจจุบันโบราณสถานต่างๆ ทรุดโทรมลงมาก เหลือเพียงซากเจดีย์
และเชิงเทินเท่านั้น

- ตลาดกล้วยไข่ ตั้งอยู่ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ สายกำแพงเพชร-นครสวรรค์ ตรงกิโลเมตรที่ ๓๔๓ มีเพิงขายกล้วยไข่ทั้งดิบและสุก กล้วยฉาบ และสินค้าพื้นเมืองอื่น ๆ ตั้งอยู่เรียงรายเป็นระยะทางยาวประมาณ ๒๐๐ เมตร



:: อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ::

:: ข้อมูลทั่วไป ::
อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร และอำเภอแม่วงก์ และกิ่งอำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธาร ตามเทือกเขาสูงชันก่อกำเนิดเป็นน้ำตกที่สวยงาม 4-5 แห่ง ทั้งเป็นต้นกำเนิดของลำน้ำแม่วงก์ที่สำคัญของจังหวัดนครสวรรค์ นอกจากนี้ยังมีแก่งหินทำให้เกิดน้ำตกเล็กๆ ตามแก่งหินนี้ ตลอดจนมีหน้าผาที่สวยงามตามธรรมชาติ มีเนื้อที่ประมาณ 558.750 ไร่ หรือ 894 ตารางกิโลเมตร

ด้วย นายสวัสดิ์ คำประกอบ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้มีหนังสือจากสำนักนายกรัฐมนตรีที่ นร 0104/9871 ลงวันที่ 2 สิงหาคม 2526 ถึงปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ดร.เถลิง ธำรงนาวาสวัสดิ์) ขอให้จัดพื้นที่ป่าแม่วงก์-แม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ซึ่งมีสภาพธรรมชาติและน้ำตกที่สวยงามหลายแห่ง สภาพป่าอุดมสมบูรณ์และเป็นป่าต้นน้ำลำธาร กำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้มีคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 1290/2526 ลงวันที่ 26 สิงหาคม 2526 ให้นายชัยณรงค์ จันทรศาลทูล นักวิชาการป่าไม้ 4 ไปดำเนินการสำรวจหาข้อมูล ปรากฏว่า พื้นที่ดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูงเป็นต้นกำเนิดของลำน้ำแม่วงก์ มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตกแม่กระสาหรือแม่กี ซึ่งสูงประมาณ 200 เมตร และหน้าผาต่างๆ สภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ไม้และสัตว์ป่านานาชนิด เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ตามหนังสือรายงานผลการสำรวจ ที่ กษ 0713/พิเศษ ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2526

กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีมติในการประชุมครั้งที่ 1/2528 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2528 เห็นชอบให้กำหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าคลองขลุงและป่าคลองแม่วงก์ในท้องที่ตำบลปางตาไว อำเภอคลองขลุง (ปัจจุบันเป็นอำเภอปางศิลาทอง) จังหวัดกำแพงเพชร และป่าแม่วงก์–แม่เปิน ในท้องที่ตำบลแม่เลย์ และตำบลห้วยน้ำหอม อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ (ปัจจุบันเป็นตำบลแม่เลย์ อำเภอแม่วงก์ และตำบลแม่เปิน กิ่งอำเภอแม่เปิน) เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 104 ตอนที่ 183 ลงวันที่ 14 กันยายน 2530 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 55 ของประเทศ

:: ลักษณะภูมิประเทศ ::
สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนเรียงรายกันอยู่ตามเทือกเขาถนนธงชัยลดหลั่นลงมาจนถึงพื้นราบ ประมาณ 40-50 ลูก ยอดที่สูงที่สุดคือ “ยอดเขาโมโกจู” สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,964 เมตร เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารต้นกำเนิดของลำน้ำแม่วงก์ ส่วนพื้นที่ราบมีไม่มาก ส่วนใหญ่อยู่บริเวณริมแม่น้ำ และเป็นแหล่งแร่ธาตุสำคัญ เช่น แร่ไมก้า


:: ลักษณะภูมิอากาศ ::
สภาพภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ในช่วงฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน - เดือนกุมภาพันธ์ เป็นช่วงที่เหมาะแก่การไปท่องเที่ยวมากที่สุด เพราะอากาศค่อนข้างหนาวเย็น อันเนื่องมาจาก ลิ่มความกดอากาศสูง มาจากประเทศจีน แผ่ลงมาทางตอนใต้ เข้าสู่ประเทศไทยตอนบน และปกคลุมทั่วประเทศ ลมที่พัดสู่ประเทศไทยในฤดูนี้คือ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนช่วงฤดูร้อนเริ่มต้นจากเดือนมีนาคม - เดือนพฤษภาคม อากาศค่อนข้างร้อนจัดและมีฝนตกน้อย ทำให้สังคมพืชป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณผลัดใบ สำหรับฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน - เดือนตุลาคม มีปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย 1,100 มิลลิเมตรต่อปี


:: พรรณไม้และสัตว์ป่า ::
สภาพป่าทั่วไปของอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ประกอบด้วย
ป่าเบญจพรรณ จะอยู่บริเวณที่ราบริมฝั่งห้วยและภูเขาที่ไม่สูงนัก พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ สัก เสลา ชิงชัน กระบก กระพี้เขาควาย มะค่าโมง งิ้วป่า ประดู่ป่า กาสามปีก ติ้ว ฯลฯ มีไผ่ชนิดต่างๆขึ้นอยู่หลายชนิด เช่น ไผ่ป่า ไผ่ไร่ ไผ่ซางนวล ไผ่รวก พืชพื้นล่าง เช่น หนามเค็ด ส้มเสี้ยว หนามคนฑา เป็นต้น

- ป่าเต็งรัง ขึ้นอยู่สลับกับป่าเบญจพรรณ พบในช่วงระดับความสูงตั้งแต่ 100-1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง กราด มะเกิ้ม ประดู่ มะม่วงป่า มะค่าแต้ พะยอม มะขามป้อม สมอไทย ฯลฯ พืชพื้นล่างที่พบ เช่น ไผ่เพ็ก และปรง เป็นต้น

- ป่าดิบเขา พบขึ้นอยู่ในบริเวณที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,300-1,500 เมตร พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ก่อใบเลื่อม ก่อเดือย ก่อลิ้น ก่อแอบ ทะโล้ จำปาป่า กะเพราต้น หนอนขี้ควาย กำลังเสือโคร่ง ดำดง กล้วยฤาษี และมะนาวควาย เป็นต้น

- ป่าดิบแล้ง ประกอบด้วย ยางแดง ยางนา กระบาก ตะเคียนหิน ปออีเก้ง สมพง กัดลิ้น มะหาด พลอง ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีไม้พุ่มและพืชพื้นล่างต่างๆ ที่ทนร่มอีกมากมายหลายชนิด เช่น เข็มขาว หนามคนฑา ว่าน พืชหัวต่างๆ อีกทั้งกล้วยไม้ต่างๆ อีกมากมาย

- ทุ่งหญ้า พบกระจัดกระจายไปตามป่าประเภทต่างๆ ที่มีอยู่ เกิดจากการทำลายป่าของชาวเขาเผ่าต่างๆ ที่เคยอยู่อาศัยในพื้นที่ สังคมพืชที่ขึ้นทดแทนในพื้นที่ได้แก่ หญ้าคา หญ้านิ้วหนู เลา สาบเสือ พง แขมหลวง มะเดื่อ ไมยราบเครือ ไมยราบต้น ลำพูป่า หว้า ติ้วแดง งิ้วป่า มะเดื่อหอม เป็นต้น

เนื่องจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ มีอาณาเขตติดต่อกับ ป่าของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ซึ่งสัตว์สามารถใช้เส้นทางเดินติดต่อกันได้ ได้แก่ สมเสร็จ เลียงผา กระทิง ช้างป่า เสือโคร่ง เสือดาว หมีควาย หมีหมา ชะนีธรรมดา ค่างหงอก ลิงกัง อ้นเล็ก กระรอกบินเล็กแกมขาว ค้างคาวปากย่น ไก่ป่า เหยี่ยวรุ้ง นกแว่นสีเทา นกกก นกเงือกกรามช้าง นกปรอดเหลืองหัวจุก นกเขาใหญ่ นกกะเต็นอกขาว นกจาบคาเคราน้ำเงิน นกแซงแซวสีเทา เต่าหก เต่าเหลือง เหี้ย ตะกวด งูเห่า งูแมวเซา ฯลฯ

:: ที่ตั้งและการเดินทาง ::
อุทยานแห่งชาติแม่วงก์
ตู้ ปณ.29 อ. คลองลาน จ. กำแพงเพชร 62180
โทรศัพท์ : 0 5576 6027, 0 5576 6024

- รถยนต์
จากจังหวัดนครสวรรค์ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน ถึงอำเภอขลุงแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1242 ไปประมาณ 40 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1072 ไปอีก 10 กิโลเมตร จะพบสี่แยกคลองลาน ให้เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1117 ถนนคลองลาน-อุ้มผางประมาณ 15 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่วงก์


:: แหล่งท่องเที่ยว ::
อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ได้จัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานไว้ให้บริการเพื่อรองรับการท่องเที่ยว เช่น บริเวณปากคลองแม่กระสา ซึ่งอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 17 กิโลเมตร ได้จัดเป็นสถานที่กางเต็นท์เพื่อให้นักท่องเที่ยวที่มาพักได้สัมผัสความสมบูรณ์ของป่าดิบชื้นและพรรณไม้ป่านานาพันธุ์ และเป็นจุดพักก่อนเดินทางไปชมน้ำตกแม่เรวา ยอดเขาโมโกจู น้ำตกแม่กระสา และน้ำตกแม่กี นอกจากนี้ ทางอุทยานแห่งชาติได้จัดให้มีทางเดินศึกษาธรรมชาติ 3 เส้นทาง คือ

1) เริ่มต้นจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ เดินลัดเลาะลำน้ำคลองขลุงไปสิ้นสุดที่ผาคอยนาง รวมระยะทาง 1.4 กิโลเมตร
2) เริ่มต้นจากหลังป้ายอุทยานแห่งชาติ เดินผ่านสวนสัก ป่าเบญจพรรณ และมีทางแยกไปแวะชมน้ำตกเล็กๆ ชื่อ ธารบุญมี แล้วมาสิ้นสุดที่จุดเริ่มต้น รวมระยะทาง 3 กิโลเมตร
3) เริ่มต้นจากหลังป้ายอุทยานแห่งชาติ แล้วมาพบกับเส้นทางที่ 2 ที่น้ำตกธารบุญมี ตลอดเส้นทางเป็นทางขึ้นเขาลงเขา มีจุดพักเป็นช่วงๆ รวมระยะทาง 7.4 กิโลเมตร

- ผู้สนใจเดินตามเส้นทางเหล่านี้ต้องติดต่อลงทะเบียนกับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวก่อน รายละเอียดการเข้าร่วม กิจกรรมการเดินป่าในแต่ละปี สามารถดูได้จากเมนูข่าว-กิจกรรม


:: ด้านธรรมชาติที่สวยงาม ::
น้ำตกแม่กระสา เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่สูงที่สูงที่สุดในบริเวณนี้ มีความสูงกว่า 1,000 เมตร มีชั้นลดหลั่นถึง 9 ชั้น มีบางชั้นที่มีความสูงถึง 270 เมตร น้ำไหลแรงสวยงามตลอดปี อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 21 กิโลเมตร ต้องเดินเท้าเข้าไป ใช้เวลาเดินไปกลับ 3-4 วัน


- น้ำตกแม่รีวา เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มีแอ่งน้ำลักษณะเป็นอ่างกลมกว้างราว 30-40 เมตร รับสายน้ำที่ตกลงมาเป็นชั้นๆ มีทั้งหมด 5 ชั้น ชั้นที่ 3 มีความสูงที่สุดประมาณ 100 เมตร มีสภาพสวยงามมาก น้ำตกแม่เรวาอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 21 กิโลเมตร การเดินทางต้องเดินเท้าไปกลับ 3-4 วัน


- น้ำตกแม่กี เป็นน้ำตกที่มีความสูงประมาณ 200 เมตร แบ่งเป็นชั้นๆ ถึง 9 ชั้น น้ำไหลเกือบตลอดปี การเดินทางต้องเดินเท้าไปกลับ 3 วัน น้ำตกแห่งนี้ได้รับคำกล่าวชมจากหนังสือ ASEAN MAGAZINE เมื่อปี พ.ศ. 2518 ว่าเป็นน้ำตกที่สวยงามที่สุดในเอเซีย


- แก่งผาคอยนาง เป็นแก่งน้ำและแก่งหิน จากถนนคลองลาน-อุ้มผาง ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ 1,400 เมตร จะมีทางแยกเข้าไปอีก 400 เมตร จะถึงบริเวณแก่งหินขนาดใหญ่ที่มีลำน้ำคลองขลุงไหลผ่าน ซึ่งเป็นลำน้ำสายหนึ่งในหลายๆ สายที่ไหลลงสู่แม่น้ำปิง จากบริเวณแก่งเดินขึ้นไปตามลำน้ำอีกประมาณ 350 เมตร จะถึง น้ำตกผาคอยนาง น้ำตกขนาดเล็กที่เด่นและสะดุดตา มีน้ำตก 4 ชั้น แต่ละชั้นมีความสูงประมาณ 20 เมตร

นอกจากน้ำตกแล้วพื้นที่บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ก็ยังมีแก่งหินปูนมีน้ำไหลลดหลั่นเป็นชั้นเหมาะแก่การท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อนในเวลากลางวันและเป็นที่ชมทิวทัศน์ พักรับประทานอาหาร ในบรรยากาศท่ามกลางหุบเขาอันร่มรื่นเย็นสบาย
บริเวณแก่งผาคอยนางนี้ นักท่องเที่ยวสามารถกางเต็นท์พักแรมได้


จุดชมทิวทัศน์ กม.57-115 ตลอดเส้นทางคลองลาน-อุ้มผาง ระหว่างกิโลเมตรที่ 57 - 115 มีจุดชมทิวทัศน์หลายแห่ง เช่น จุดชมทิวทัศน์กิโลเมตรที่ 81 กิโลเมตรที่ 87 กิโลเมตรที่ 93 กิโลเมตรที่ 102 และกิโลเมตรที่ 115 แต่ละแห่งสามารถมองทัศนียภาพที่สวยงามมองเห็นทิวเขาไกลสุดสายตา และสามารถกางเต็นท์พักแรมได้ โดยเฉพาะกิโลเมตรที่ 93 เป็นจุดที่มีความสูงที่สุดของถนนสายคลองลาน-อุ้มผาง กิโลเมตรที่ 102 มีน้ำตกริมทางสวยงาม มี 4 ชั้น แต่ละชั้นมีความสูงประมาณ 90 เมตร


ช่องเย็น (กม.93) เป็นจุดสูงสุดของถนนคลองลาน - อุ้มผาง และเป็นจุดสุดท้ายที่ยานพาหนะเข้าถึง มีความสูงประมาณ 1,340 เมตร จากระดับน้ำทะเล อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียล เนื่องจากบริเวณนี้เเป็นช่องเขาที่มีสายลมพัดผ่านตลอดเวลา จึงถูกขนานนามว่า “ช่องเย็น” ตามสภาพภูมิอากาศของพื้นที่แห่งนี้ เนื่องจากช่องเย็นมีสภาพอากาศที่เย็นและชื้น จึงพบพันธุ์ไม้ที่ชอบความชุ่มชื้นบริเวณนี้ ได้แก่ กล้วยไม้ เฟิร์น มหัสดำ (Treefern) นอกจากนี้ช่องเย็นยังเป็นถิ่นอาศัยของนกหลากหลายชนิด จึงเป็นแหล่งดูนกที่สำคัญแห่งหนึ่งของเมืองไทย


- ยอดเขาโมโกจู ขุนเขาแห่งความหนาวเย็น ด้วยความสูง 1,964 เมตร จากระดับน้ำทะเล โมโกจูจึงเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในแม่วงก์ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 27 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินเท้าไปกลับ 4-5 วัน แม้ระยะทางจะไกลและยากแก่การเข้าไปถึง แต่โมโกจูก็ยังเป็นจุดหมายปลายทางของนักเดินทางหลายๆ คน ที่จะเก็บเป็นความประทับใจครั้งหนึ่งในชีวิต


- น้ำตกนางนวล น้ำตกนางนวลเป็นน้ำตกขนาดกลางที่สวยงาม มีทั้งหมด 4 ชั้น จากช่องเย็นเดินเท้าไปตามถนนสายคลองลาน-อุ้มผาง ประมาณ 6 กิโลเมตร แล้วเดินลงเขา 200 เมตร จะถึงน้ำตก ผู้สนใจติดต่อเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติที่ช่องเย็น


- น้ำตกเสือโคร่ง เป็นน้ำตกที่สวยงาม จากช่องเย็นเดินเท้าไปเส้นทางเดียวกับน้ำตกนางนวล โดยเดินต่อจากน้ำตกนางนวล ประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตก


- บ่อน้ำอุ่น เป็นบ่อน้ำอุ่นที่ผุดขึ้นมาจากใต้ดินตามธรรมชาติ น้ำอุ่นมีอุณหภูมิประมาณ 50 องศาเซลเซียส รัศมีความกว้างประมาณ 4 เมตร มีสัตว์ป่าชุกชุม อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 1.5 กิโลเมตร



:: สิ่งอำนวยความสะดวก ::
ห้องสุขาชาย มีห้องสุขาชายไว้บริการ


ห้องสุขาหญิง มีห้องสุขาหญิงไว้บริการ


ที่พักแรม/บ้านพัก มีบ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว
- บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ รองรับนักท่องเที่ยวได้มากกว่า 150 คน
- บริเวณแก่งผาคอยนาง รองรับนักท่องเที่ยวได้ 150 คน
- บริเวณจุดชมวิวกิ่วกระทิง (ก.ม.81) รองรับนักท่องเที่ยวได้ 50 คน
- บริเวณช่องเย็น รองรับนักท่องเที่ยวได้ 150 คน
- บริเวณขุนน้ำเย็น รองรับนักท่องเที่ยวได้ 150 คน
- บริเวณแก่งลานนกยูง รองรับนักท่องเที่ยวได้ 50 คน
การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง


ที่จอดรถ มีลานจอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


บริการอาหาร อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ มีร้านค้าสวัสดิการตั้งอยู่บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ บริการอาหารตามสั่ง และของใช้ที่จำเป็น หากต้องการสั่งอาหารเป็นหมู่คณะหรือจำนวนมาก ต้องสั่งล่วงหน้า ส่วนบริเวณแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ไม่มีร้านค้าและร้านอาหาร


ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.


ระบบสาธารณูปโภค ระบบไฟฟ้า มีใช้บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ส่วนบริเวณแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ยังไม่มีไฟฟ้าใช้



จังหวัดกำแพงเพชร :: การเดินทาง

- ทางรถยนต์

จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 32 ผ่านจังหวัด อยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี นครสวรรค์ เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1 ถึงจังหวัดกำแพงเพชร รวมระยะทาง 358 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 ชั่วโมง

- ทางรถโดยสารประจำทาง

บริษัทขนส่ง จำกัด เปิดบริการเดินรถกรุงเทพฯ - กำแพงเพชร ทุกวัน รายละเอียดติดต่อสอบถามได้ที่สถานีขนส่งสายเหนือ ถนนกำแพงเพชร โทร. 0 2936 3670, 0 2936 2852–66 กำแพงเพชร โทร. 0 5579 9103 หรือ http://www.transport.co.th/

- ทันจิตต์ทัวร์ กรุงเทพฯ โทร. 0 2272 0143, 0 2272 0146 กำแพงเพชร โทร. 0 5571 2095

- วินทัวร์ กรุงเทพฯ โทร. 0 2272 5263 กำแพงเพชร โทร. 0 5571 3971


ระยะทางจากอำเภอเมืองไปอำเภอต่างๆ

- อำเภอพรานกระต่าย 25 กิโลเมตร
- อำเภอไทรงาม 43 กิโลเมตร
- อำเภอคลองลาน 50 กิโลเมตร
- อำเภอคลองขลุง 43 กิโลเมตร
- อำเภอลานกระบือ 55 กิโลเมตร
- อำเภอขาณุวรลักษบุรี 79 กิโลเมตร
- กิ่งอำเภอทรายทองพัฒนา 53 กิโลเมตร
- กิ่งอำเภอปางศิลาทอง 70 กิโลเมตร
- กิ่งอำเภอบึงสามัคคี 90 กิโลเมตร
- กิ่งอำเภอโกสัมพีนคร 35 กิโลเมตร

การเดินทางจากกำแพงเพชรไปยังจังหวัดใกล้เคียง

- ตาก 68 กิโลเมตร
- สุโขทัย 77 กิโลเมตร
- พิจิตร 90 กิโลเมตร
- พิษณุโลก 103 กิโลเมตร
- นครสวรรค์ 117 กิโลเมตร
- เชียงใหม่ 377 กิโลเมตร

กำแพงเพชร กำแพงเพชร กำแพงเพชร กำแพงเพชร กำแ

จังหวัดกำแพงเพชร :: สถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ

- อำเภอพรานกระต่าย
อ่างเก็บน้ำคลองน้ำแดงเพื่อการเกษตร หมู่ ๑๑ บ้านวังตะกู เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ เนื้อที่ประมาณ
๑,๕๐๐ ไร่ มีน้ำตลอดทั้งปี เป็นแหล่งตกปลา ปลูกพืชไร่ มีสวนมะขามหวาน และสวนส้มเขียวหวานอยู่ใกล้ ๆ สภาพภูมิประเทศสวยงาม มีเนินเขาล้อมรอบ

- อำเภอคลองลาน
อุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองลาน ตั้งอยู่ในเขตตำบลคลองลานพัฒนา ตำบลคลองน้ำไหล และตำบลโป่งน้ำร้อน มีเนื้อที่ ๑๘๗,๕๐๐ ไร่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๒๕ มีสภาพป่าที่สมบูรณ์ ประกอบด้วยป่าเต็งรัง ป่าดงดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณ สัตว์ป่านานาชนิดไม่น้อยกว่า ๒๖๕ ชนิด ๘๑ วงศ์ เป็นป่าต้นน้ำของลำน้ำหลายสาย เช่น คลองขลุง คลองสวนหมาก และคลองลาน
ไหลรวมกันสู่แม่น้ำปิง ช่วงเวลาที่เหมาะจะเดินทางมาท่องเที่ยว คือเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์

- สถานที่น่าสนใจภายในอุทยานฯ

+ น้ำตกคลองลาน ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ๒๐๐ เมตร เกิดจากเทือกเขาคลองลาน เขาคลองขลุง และเขาคลองสวนหมาก เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ ไหลลงมาจากหน้าผาสูง ๑๐๐ เมตร กว้าง ๔๐ เมตร และด้านล่างของน้ำตก เป็นแหล่งน้ำที่ลงเล่นน้ำได้ อยู่ห่างจากตลาดคลองลาน ๔ กิโลเมตร

- น้ำตกคลองน้ำไหล หรือ น้ำตกปางควาย อยู่ห่างจากที่ทำการประมาณ ๒๕ กิโลเมตร จากทางหลวงหมายเลข ๑๑๑๗ ตรงหลักกิโลเมตรที่ ๓๕-๓๖ จะมีป้ายบอกทางเข้าอีก ๑๐ กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดกลาง มี ๙ ชั้น ไหลจากหน้าผาสูง ๖๐ เมตร บริเวณพื้นล่างมีแอ่งน้ำขนาดใหญ่สามารถลงเล่นน้ำได้ มีน้ำไหลตลอดปี

- แก่งเกาะร้อย สามารถเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข ๑๑๑๗ เมื่อถึงสามแยกโป่งน้ำร้อน จะมีทางลาดยางแยก เข้าไปประมาณ ๑๖ กิโลเมตร แก่งเกาะร้อยมีลักษณะเป็นลำธารจากคลองสวนหมาก ไหลผ่านซอกแก่งหิน ตามลำห้วย มองดูคล้ายเกาะเล็ก ๆ อยู่กลางลำน้ำ จากหน่วยพิทักษ์คลองสวนหมาก จะต้องนั่งรถขับเคลื่อนสี่ล้อเข้าไป ตามถนนดินลูกรัง ประมาณ ๕ กิโลเมตร จะถึงจุดลงแพ คือ ตาดผาแดง จากนั้นจะล่องแพ ผ่านผาชมจันทร์ ตาดช่องแคบ ที่สองข้างทางเป็นโขดหินโอบล้อมอยู่ น้ำค่อนข้างแรง จากนั้นจะล่องผ่านแก่งเกาะร้อย บริเวณนี้น้ำจะแรง และมีแก่งมาก ให้ความตื่นเต้นแก่นักล่องแก่งได้พอสมควร ใช้เวลาในการล่องประมาณ ๑.๕ ชั่วโมง สำหรับความยากในการล่องอยู่ระดับ ๒-๓ นอกจากนั้นใกล้ ๆ หน่วยพิทักษ์คลองสวนหมาก ยังมีถ้ำไทรหายโศก ห่างจากหน่วยพิทักษ์ฯ ๒ กิโลเมตร ซึ่งอยู่บริเวณใต้ผาชมจันทร์ ในถ้ำจะมีหินงอกหินย้อยและค้างคาวจำนวนมากอาศัยอยู่ และถ้ำยาวสันติสุข ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยที่สวยงาม และค้างคาว อาศัยอยู่เช่นเดียวกัน ทั้ง ๒ ถ้ำ หากสนใจจะไปเที่ยวชม ต้องติดต่อเจ้าหน้าที่หน่วยพิทักษ์ฯ นำทางเข้าไป และต้องเตรียมไฟฉายไปเอง การล่องแก่งเกาะร้อย เวลาที่เหมาะจะล่องคือระหว่างเดือนสิงหาคม-มกราคม เป็นช่วงที่มีน้ำมาก จะทำให้การล่องแก่งมีความสนุกสนานมากขึ้น นอกจากนั้นบริเวณหน่วยพิทักษ์ฯ มีสถานที่กางเต็นท์ สำหรับผู้ที่ต้องการจะสัมผัสกับธรรมชาติ ที่ยังไม่ค่อยมีผู้ใดเข้าไปสัมผัสมากนัก แต่ต้องนำเต็นท์ และอุปกรณ์ในการทำอาหารไปเอง อุทยานแห่งชาติคลองลาน มีบ้านพัก ๖ หลัง สำหรับผู้ที่ต้องการพักเต็นท์ ต้องนำเต็นท์ไปเอง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติคลองลาน ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ๖๕๑๒๐ โทร. ๐ ๕๕๗๑ ๙๓๐๔


- การเดินทาง โดยรถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข ๑ ผ่านจังหวัดนครสวรรค์ มาประมาณ ๑๗ กิโลเมตร ถึงหนองเบนจะมีทางแยกซ้ายมือ เข้าอำเภอลาดยาว จากนั้นใช้ทางหลวง ๑๐๗๒ ลาดยาว – คลองลาน ระยะทาง ๑๐๒ กิโลเมตร ถึงสี่แยกตลาดคลองลาน ตรงไปอีกประมาณ ๖ กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานฯ หรือจากตัวจังหวัดกำแพงเพชร ใช้ทางหลวงหมายเลข ๑ ถึงกิโลเมตรที่ ๓๔๖ บ้านคลองแม่ลาย ใช้เส้นทางแยกขวา ไปอำเภอคลองลาน ตามทางหลวง ๑๑๑๗ สายคลองลานอุ้มผาง ระยะทาง ๔๖ กิโลเมตร ถึงสี่แยกตลาดคลองลาน แยกขวามือไปอุทยานฯ อีก ๖ กิโลเมตร เป็นทางลาดยางตลอดสาย
หรือนั่งรถโดยสารประจำทาง จากสถานีขนส่งจังหวัด หรือรถสองแถวจากท่ารถถนนวิจิตร ใช้รถสายกำแพงเพชร-คลองลาน ลงที่สี่แยกตลาดคลองลาน แล้วเหมารถสองแถว หรือมอเตอร์ไซด์ไปยังที่ทำการอุทยานฯ
อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ มีพื้นที่ครอบคลุม ๒ จังหวัด คือจังหวัดกำแพงเพชร และจังหวัดนครสวรรค์ เป็นหนึ่งในผืนป่าตะวันตก ที่มีพื้นที่ป่าสมบูรณ์มากที่สุด ตั้งแต่จังหวัดตาก จนถึงจังหวัดกาญจนบุรี มีเนื้อที่ประมาณ ๕๕๘,๗๕๐ ไร่ หรือ ๘๙๔ ตารางกิโลเมตร พื้นที่ทิศเหนือของอุทยานฯ ติดกับอุทยานแห่งชาติคลองลาน ทิศใต้ติดกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี และทิศตะวันตก ติดกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จังหวัดตาก ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๓๐
ป่าส่วนใหญ่ของอุทยานฯประกอบด้วย ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบ และป่าเต็งรัง มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ และมีค่ามากมาย เช่น สัก ประดู่ มะค่าโมง ยางแดง เต็ง รัง เป็นตัน นอกจากนี้ยังมีสัตว์ป่าที่หายาก เช่น ช้างป่า กระทิง เสือ กวาง เก้ง หมี แมวลาย และนกต่าง ๆ มากกว่า ๓๐๕ ชนิด จาก ๕๓ วงศ์ ซึ่งนกบางชนิดพบเพียงไม่กี่แห่งในประเทศไทย เช่น นกกระเต็นขาวดำใหญ่ นกเงือกคอแดง นกกางเขนดง นกโพระดกหูเขียว และนกพญาปากกว้างหางยาว เป็นต้น ช่วงที่เหมาะแก่การท่องเที่ยวมากที่สุดคือ ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์

- สถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจภายในอุทยานฯ

- แก่งผานางคอย อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ๑,๔๐๐ เมตร เป็นแก่งหินลำห้วยคลองขลุง จากบริเวณแก่งหิน เดินขึ้นไปประมาณ ๓๕๐ เมตร จะถึงน้ำตกผานางคอย เป็นน้ำตกเล็ก ๆ มี ๔ ชั้น และบริเวณใกล้น้ำตก สามารถกางเต็นท์พักแรมได้ด้วย

- จุดชมวิว กม. ที่ ๘๑ จากที่ทำการอุทยานฯ ไปตามถนนคลองลาน-อุ้มผาง ประมาณ ๑๖ กิโลเมตร จะถึงบริเวณหน้าผา เป็นจุดชมวิวที่ สามารถมองเห็นทัศนียภาพของป่ารอบๆ ได้อย่างสวยงาม บริเวณนี้สามารถกางเต็นท์พักแรมได้

- ช่องเย็น กม. ที่ ๙๓ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ๒๘ กิโลเมตร เป็นจุดสูงสุดของถนนคลองลาน-อุ้มผาง สูง ๑,๓๔๐ เมตร จากระดับน้ำทะเล มีสายลมพัดผ่าน และหมอกปกคลุมอยู่เสมอ อากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี และเป็นที่ดูพระอาทิตย์ตกได้อย่างสวยงามอีกจุดหนึ่ง สภาพป่าทั่วไปเป็นป่าดิบเขา
มีกล้วยไม้หายาก เช่น สิงโตกลอกตา เฟิร์น มหาสดำ มีนกหายาก เช่น นกเงือกคอแดง นกภูหงอนพม่า นกพญาปากกว้างหางยาว และนกหัวขวานใหญ่หงอนเหลือง นกเหล่านี้จะพบเห็นได้บริเวณบ้านพัก บริเวณ “ช่องเย็น” มีบ้านพัก และสถานที่กางเต็นท์ไว้บริการ แต่จะต้องเตรียมอุปกรณ์มาเอง คือ ผ้าพลาสติก เสื้อกันหนาว ตะเกียงหรือไฟฉาย เพราะไม่มีไฟฟ้า หรือเตาแก๊สสำหรับการปรุงอาหาร โลชั่นกันแมลง และถุงสำหรับนำขยะลงไปทิ้ง เพราะช่องเย็นไม่สามารถกำจัดขยะได้ เส้นทางขี้น-ลง "ช่องเย็น" เป็นทางเลียบหน้าผา ทางแคบ รถไม่สามารถสวนกันได้ ทางอุทยานฯ จึงได้กำหนดเวลาขึ้น-ลง คือ

เวลาขึ้น ๐๕.๐๐-๐๖.๐๐ น. ๐๙.๐๐-๑๐.๐๐ น. และ ๑๓.๐๐–๑๔.๐๐ น.
เวลาลง ๐๗.๐๐-๐๘.๐๐ น. ๑๑.๐๐-๑๒.๐๐ น. และ ๑๕.๐๐-๑๖.๐๐ น.

ยอดเขาโมโกจู เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ และสูงที่สุดในผืนป่าตะวันตก ห่างจากอุทยานฯ ประมาณ ๓๘ กิโลเมตร เป็นยอดเขาที่นักนิยมการท่องเที่ยวแบบเดินป่า ปีนเขา ต้องการที่จะไปเยือนสักครั้ง ด้วยความสูง ๑,๙๖๔ เมตร คำว่า “โมโกจู” เป็นภาษากะเหรี่ยง แปลว่า เหมือนฝนจะตก เนื่องจากบนยอดเขา มักถูกปกคลุมด้วยเมฆหมอก และมีอากาศหนาวเย็นตลอดเวลา ผู้สนใจจะไปสัมผัสยอดเขาโมโกจู ต้องเตรียมความพร้อมของร่างกาย เพราะจะต้องขึ้นเขาที่มีความลาดชันไม่ต่ำกว่า ๖๐ องศา ใช้เวลาในการเดินทางไป-กลับ ๕ วัน และต้องพักแรมในป่าตามจุดที่กำหนด นอกจากนั้นควรศึกษาสภาพเส้นทาง สภาพอากาศ และติดต่อเจ้าหน้าที่นำทางก่อนจากทางอุทยานฯ ก่อนตัดสินใจจะไปสัมผัส “โมโกจู” ช่วงที่จะเปิดให้เดินขึ้นยอดเขาโมโกจู คือเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์

- น้ำตกแม่กระสา เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มี ๙ ชั้น สูง ๙๐๐ เมตร อยู่ห่างจากอุทยานฯ ประมาณ ๑๘ กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินเท้าไป-กลับ ๓-๔ วัน

น้ำตกแม่รีวา อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ ๒๑ กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่สวยงามมาก มี ๕ ชั้น รถเข้าไม่ถึงเช่นเดียวกันต้องใช้เวลาในการเดินทางไป-กลับ ๒ วัน


จังหวัดกำแพงเพชร :: สถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ

- น้ำตกแม่กี เป็นน้ำตกที่ตั้งอยู่บริเวณเดียวกับน้ำตกแม่รีวา และน้ำตกแม่กระสา มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาถนนธงชัย การเข้าไปยังน้ำตก ต้องเดินเท้าเวลาไป-กลับ ๓-๔ วัน

- น้ำตกนางนวล และน้ำตกเสือโคร่ง อยู่บริเวณ กม.ที่ ๙๙ ของถนนคลองลาน-อุ้มผาง น้ำตกนางนวล ต้องไต่เขาลงไปประมาณ ๒๐๐ เมตร สำหรับน้ำตกเสือโคร่ง ต้องเดินไป ๑ กิโลเมตร การเดินทางเข้าไปน้ำตกทั้งสองแห่ง ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนทุกครั้ง

นอกจากนั้นอุทยานฯ ยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกนางนวล ระยะทาง ๖.๔ กิโลเมตร และเส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกธารบุญมี ซึ่งใช้เวลาในการเดิน ๒ ชั่วโมง สามารถศึกษาพันธุ์ไม้ชนิดต่าง ๆ และพันธุ์นกต่างๆ ที่หาดูได้ยากอีกด้วย

อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ มีแหล่งท่องเที่ยวที่ต้องเดินป่าระยะไกล ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ดังนั้นเมื่อถึงฤดูกาลท่องเที่ยว ทางอุทยานฯ จะจัดทำตารางกำหนดเวลาเดินป่าระยะไกลประจำปี ซึ่งนักท่องเที่ยวต้องปฏิบัติตามกติกาการเดินทางอย่างเคร่งครัด และควรติดต่อจองเวลาการเดินทาง และขอคำแนะนำในการเตรียมตัว และอุปกรณ์ จากเจ้าหน้าที่อุทยานให้พร้อม ทางอุทยานฯ มีบ้านพัก และสถานที่กางเต็นท์ไว้บริการนักท่องเที่ยว แต่ต้องนำเต็นท์มาเอง สอบถามข้อมูลได้ที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ กิโลเมตรที่ ๖๕ ถนนคลองลาน-อุ้มผาง กิโลเมตรที่ ๖๕ อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ๖๒๑๘๐ โทร. ๐ ๕๕๗๑ ๙๐๑๐-๑ หรือ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เขตบางเขน กรุงเทพฯ
โทร. ๐ ๒๕๗๙ ๕๗๓๔, ๐ ๒๕๗๙ ๗๒๒๓ หรือ ตู้ ป.ณ. ๒๙ อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ๖๒๑๘๐

การเดินทาง จากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ เลี้ยวซ้าย กม.ที่ ๓๓๘ เข้าทางหลวงหมายเลข ๑๑๑๗ สายคลองลาน-อุ้มผาง เมื่อถึงสี่แยกเข้าคลองลานให้ตรงไปอีก ๑๙ กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานฯ แต่หากใช้ทางหลวง ๑๐๗๒ ลาดยาว-คลองลาน เมื่อถึงสี่แยกตลาดคลองลาน แล้วให้เลี้ยวซ้ายไปที่ทำการอุทยานฯ หรือ นั่งรถโดยสารปรับอากาศ กรุงเทพฯ- คลองลาน ลงที่ตลาดคลองลาน แล้วเหมารถสองแถว หรือรถมอเตอร์ไซด์ไปอุทยานฯ ได้เช่นเดียวกัน


- อำเภอคลองขลุง

บริษัท เบียร์ไทย (๑๙๙๑) จำกัด (มหาชน) เลขที่ ๓๔๙ ถนนพหลโยธิน หมู่ ๒ ตำบลแม่ลาด มีกำลังการผลิตเบียร์ ๕๐๐ ล้านลิตร/ปี น้ำดื่ม ๒๐๐ ล้านลิตร/ปี โซดา ๑๐๐ ล้านลิตร/ปี โดยใช้วัตถุดิบประกอบด้วย มอลต์ประมาณ ๖๖,๔๓๐ ตัน/ปี ฮอบ ๔๓ ตัน/ปี ข้าวเจ้า ๓๓,๘๔๕ ตัน/ปี ผู้สนใจเข้าชมขั้นตอนการผลิต เป็นหมู่คณะ ต้องติดต่อล่วงหน้า โทร ๐ ๕๕๗๒ ๘๔๐๐

- อำเภอลานกระบือ

แหล่งน้ำมันสิริกิติ์ เป็นแหล่งขุดเจาะน้ำมันดิบ และแก๊สธรรมชาติ ซึ่งบริษัท ปตท. สผ. จำกัด (มหาชน) ได้รับสัมปทานขุดเจาะน้ำมันดิบ มาตั้งแต่ปี ๒๕๒๕ จนถึงปัจจุบัน มีกำลังการผลิตเฉลี่ยวันละ ๒๐,๐๐๐ บาร์เรล ภายในมีอาคารนิทรรศการ “ธารเพชร” แสดงขั้นตอนการขุดเจาะน้ำมัน ผู้สนใจเข้าชมควรติดต่อบริษัทฯ ล่วงหน้าโทร ๐ ๕๕๗๓ ๑๑๔๙-๕๐

- อำเภอขาณุวรลักษบุรี

บ้านปางมะนาว (โครงการคลองลาน ๒) หมู่ ๑๑ ตำบลปางมะค่า ห่างจากศูนย์พัฒนา และสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดกำแพงเพชร ๒๕ กิโลเมตร ประกอบด้วย ชนเผ่าที่มีขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม ต่างจากคนพื้นราบมีพื้นที่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดบ้านพักแบบโฮมสเตย์ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของหมู่บ้านชาวเขา การแสดงของชาวเขาเผ่ามูเซอ และมีจัดนำเที่ยวแบบทัวร์ป่า

- กิ่งอำเภอโกสัมพีนคร

อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า ห่างจากตัวเมืองกำแพงเพชรระยะทางประมาณ ๔๓ กิโลเมตร เป็นผืนป่าที่สมบูรณ์ มีเนื้อที่ ๔๖๖,๘๗๕ ไร่ มีไม้สักที่ขึ้นเองตามธรรมชาติอย่างหนาแน่น มีน้ำตกที่สวยงามน่าท่องเที่ยวหลายแห่ง ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๓๓ นอกจากนั้นใกล้ ๆ อุทยานฯ ยังมีหมู่บ้านชาวกะเหรี่ยง ซึ่งยังมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบเดิม

อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า มีสถานที่น่าสนใจ อาทิ น้ำตกคลองวังเจ้า ห่างจากที่ทำการ ๑.๕ กิโลเมตร สูง ๒๐ เมตร น้ำตกคลองสมอกล้วย มี ๔ ชั้น ห่างจากที่ทำการ ๑.๕ กิโลเมตร มีน้ำไหลตลอดปี จุดชมวิวผาตั้ง ห่างจากที่ทำการ ๓ กิโลเมตร อยู่ริมทางที่จะไปหมู่บ้านโละโคะ ชมพระอาทิตย์ลับทิวเขาได้ โป่งแก๊สธรรมชาติ มี ๒ แห่ง คือทางไปน้ำตกคลองโป่ง และน้ำตกเต่าดำ ประมาณ ๑,๕๐๐ เมตร น้ำตกคลองโป่ง มี ๔ ชั้น เป็นน้ำตกหินชนวน สูง ๑๐๐ เมตร พบกล้วยไม้ประเภทลิ้นมังกรบริเวณน้ำตกได้ การเดินทางต้องค้างคืน ๑ คืน น้ำตกเต่าดำ มี ๒ ชั้น เป็นน้ำตกใหญ่ที่น้ำไหลดิ่งลงมาจากหน้าผา แต่ละชั้นสูง ๒๐๐ เมตร ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติฯ ๓๔ กิโลเมตร ทางไปน้ำตกถนนไม่ดีต้องใช้รถขับเคลื่อน ๔ ล้อ เส้นทางเดินเท้าศึกษาธรรมชาติ "สวนไผ่" ระยะทาง ๒ กิโลเมตร มีพันธุ์ไผ่กว่า ๒๐ ชนิดให้ศึกษาค้นคว้า

- อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า มีบ้านพักและสถานที่กางเต็นท์ และร้านอาหาร ไว้บริการนักท่องเที่ยว สอบถามข้อมูลได้ที่ อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า ตู้ ป.ณ. ๖๙ ปณจ. กำแพงเพชร ๖๒๐๐๐ โทร. ๐ ๕๕๗๑ ๙๓๑๘–๙, ๐ ๕๕๗๑ ๙๒๔๔

การเดินทาง จากกรุงเทพฯ ตามทางหลวงหมายเลข ๑ ก่อนถึงตลาดวังเจ้า เลี้ยวซ้ายมือเข้าบ้านโละโคะ ประมาณ ๓๖ กิโลเมตร ให้เลี้ยวซ้าย เมื่อถึงสามแยกบ้านเด่นคาเลี้ยวซ้ายตามป้ายอุทยานฯ จะถึงบ้านโละโคะตรงเข้ามา ๒๑ กิโลเมตร บริเวณวัดหนองแดนอีก ๗ กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานฯ หรือนั่งรถโดยสารประจำทางที่จะไปจังหวัดตาก ลำปาง เชียงใหม่ ลงที่ตลาดวังเจ้า แล้วต่อรถหนองแดน หรือมอเตอร์ไซค์ก็สามารถมาอุทยานฯ ได้เช่นเดียวกัน



:: อุทยานแห่งชาติคลองลาน ::

:: ข้อมูลทั่วไป ::
อุทยานแห่งชาติคลองลาน ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอคลองลานและอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ครอบคลุมพื้นที่ป่าคลองลานอันสมบูรณ์แหล่งสุดท้ายของจังหวัดกำแพงเพชร ประกอบด้วยภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน เป็นป่าต้นน้ำลำธาร ต้นกำเนิดของน้ำหลายสาย เช่น คลองขลุง คลองสวนหมาก ซึ่งไหลรวมกันลงสู่แม่น้ำปิงและเป็นต้นน้ำตกคลองลานไหลลงสู่คลองขลุง เนื้อที่ประมาณ 187,500 ไร่ หรือ 300 ตารางกิโลเมตร

สืบเนื่องจากนายเทพ ไสยานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีหนังสือ ที่ กส 0215/230 ลงวันที่ 24 มีนาคม 2521 ถึงปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานผลการไปตรวจราชการที่จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2521 ว่า น้ำตกคลองลาน กิ่งอำเภอคลองลาน เป็นบริเวณป่าต้นน้ำลำธาร และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ แต่ขาดการดูแลรักษา และมีการลักลอบตัดไม้ไปใช้สอย หากปล่อยทิ้งไ ว้บริเวณป่าต้นน้ำลำธารก็จะถูกทำลายลงไป ทั้งนี้พื้นที่ดังกล่าวอยู่ในเขตของศูนย์พัฒนาสงเคราะห์ชาวเขา กรมป่าไม้จึงมีหนังสือ ที่ กส 0808/1114 ลงวันที่ 14 เมษายน 2521 แจ้งให้ ป่าไม้เขตนครสวรรค์ตรวจสอบ ซึ่งได้รับรายงานตามหนังสือ ที่ กส 0809(นว)/1596 ลงวันที่ 27 เมษายน 2521 ว่า ได้ทำการสำรวจสภาพพื้นที่บริเวณน้ำตกคลองลานไว้แล้ว เพื่อจะขออนุมัติกรมป่าไม้จัดตั้งเป็นวนอุทยาน เพราะเห็นว่ามีทิวทัศน์สวยงามเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน ซึ่งน้ำตกคลองลาน อยู่ในพื้นที่สงวนไว้เป็นพื้นที่ป่าไม้ 40 เปอร์เซ็นต์ ของเขตพื้นที่ศูนย์พัฒนาสงเคราะห์ชาวเขากำแพงเพชร กรมประชาสงเคราะห์ ป่าไม้เขตนครสวรรค์จึงได้ประสานงานกับจังหวัดกำแพงเพชรและกรมประชาสงเคราะห์ ขอใช้พื้นที่บริเวณน้ำตกคลองลาน จำนวน 5,000 ไร่ ที่อยู่ในพื้นที่สงวนไว้เป็นพื้นที่ป่าไม้ 40 เปอร์เซ็นต์ เพื่อจัดเป็นวนอุทยาน ซึ่งกรมประชาสงเคราะห์ไม่ขัดข้อง จังหวัดกำแพงเพชรจึงมีหนังสือ ที่ มท 0714/13/13438 ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2521 แจ้งให้กรมป่าไม้ดำเนินการจัดตั้งวนอุทยานเพื่อสงวนป่าต้นน้ำลำธารแห่งนี้ ต่อมากองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ได้มีคำสั่งที่ 192/2523 ลงวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2523 ให้ นายปรีชา จันทร์ศิริตานนท์ นักวิชาการป่าไม้ 4 ไปทำการสำรวจและจัดพื้นที่บริเวณป่าคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร เป็นอุทยานแห่งชาติ ปรากฏว่า พื้นที่ดังกล่าวมีสภาพป่าทั้งไม้สักและไม้กระยาเลยสมบูรณ์มาก เป็นภูเขาสูงมีธรรมชาติสวยงาม เป็นป่าต้นน้ำลำธารเหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติมีมติในการประชุม ครั้งที่ 1/2525 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2525 เห็นสมควรให้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ป่าคลองลานเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกา กำหนดบริเวณที่ดินป่าคลองลานในท้องที่ตำบลโป่งน้ำร้อน ตำบลคลองลาน และตำบลคลองลานพัฒนา กิ่งอำเภอคลองลาน อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอนที่ 191 ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2525 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 44 ของประเทศ

:: ลักษณะภูมิประเทศ ::
สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน ด้านทิศตะวันออกเป็นที่ราบ ดินร่วนปนทราย ภูเขาแต่ละลูกเชื่อมโยงติดต่อกับขุนคลองลานซึ่งเป็นจุดสูงสุดในบริเวณนี้ สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,439 เมตร สภาพป่าสมบูรณ์ เป็นป่าต้นน้ำลำธาร ต้นกำเนิดของแม่น้ำหลายสาย เช่น คลองขลุง คลองสวนหมาก ไหลรวมกันลงสู่แม่น้ำปิง


:: ลักษณะภูมิอากาศ ::
สภาพภูมิอากาศในเขตอุทยานแห่งชาติ ในฤดูร้อนค่อนข้างร้อน ในฤดูหนาวค่อนข้างหนาวอากาศเย็นสบาย ในฤดูฝนมีฝนตกชุก อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน 38 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดในเดือนธันวาคม 17 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย 1,300 มิลลิเมตรต่อปี


:: พรรณไม้และสัตว์ป่า ::
ป่าคลองลานยังมีสภาพสมบูรณ์เป็นแหล่งสุดท้ายในด้านทิศใต้ของภาคเหนือ ประกอบด้วยชนิดป่าต่างๆ คือ ป่าดิบแล้ง ซึ่งพบกระจายอยู่ทั่วไปที่ระดับความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 500 เมตรขึ้นไป เช่น ขุนคลองลาน ขุนคลองสวนมาก ขุนคลองขลุง ขุนน้ำเย็น ชนิดไม้ที่สำคัญได้แก่ ตะเคียนทอง ตะเคียนหิน สมพง ยมหอม พะยอม สมอพิเภก ฯลฯ สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในป่าประเภทนี้ได้แก่ ชะนีมือขาว ช้างป่า หนูหริ่งไม้หางพู่ ปาดลายพื้นเมืองเหนือ กบห้วยขาปุ่ม เต่าปูลู กิ้งก่าบินคอแดง ฯลฯ ป่าดิบชื้น จะพบอยู่ตามริมห้วยที่มีความชื้นสูง ป่าดิบเขา จะพบเป็นหย่อมๆ ป่าเบญจพรรณ สภาพป่าส่วนใหญ่จะเป็นป่าเบญจพรรณผสมป่าดงดิบ ชนิดไม้ที่สำคัญ ได้แก่ สัก ประดู่ ตะแบก มะค่าโมง และไผ่ชนิดต่างๆ ฯลฯ สัตว์ป่าที่พบในถิ่นที่อยู่อาศัยประเภทนี้ ได้แก่ กระทิง วัวแดง กวางป่า เก้ง ตะกวด ฯลฯ และ ป่าเต็งรัง พบในระดับความสูงประมาณ 400-600 เมตรจากระดับน้ำทะเล ชนิดไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง รัง ยอป่า สมอพิเภก รกฟ้า และสมพง ฯลฯ สัตว์ป่าที่พบในป่าประเภทนี้ได้แก่ เขียดหลังปุ่มที่ราบ เขียดอ่อง อึ่งปากขวด เก้ง เป็นต้น
ในบริเวณทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอุทยานแห่งชาติ ซึ่งเคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวเขาเผ่าต่างๆ แต่ปัจจุบันทางราชการได้อพยพชาวเขาเหล่านี้มาอยู่พื้นที่ราบที่ทางราชการจัดสรรให้ สภาพพื้นที่จึงถูกปล่อยให้รกร้างและกลายสภาพเป็นป่ารุ่นสอง ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าขนาดเล็กจำพวกกระแตธรรมดา ค้างคาวขอบหูขาว กระรอก หนูฟันขาว และหนูขนเสี้ยน ส่วนในบริเวณที่เป็นถ้ำ หลืบหิน และหน้าผา เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าเฉพาะชนิด เช่น เลียงผา ค้างคาวปีกถุงเคราแดง ค้างคาวมงกุฎเล็ก ค้างคาวแวมไพร์แปลงใหญ่ และค้างคาวหน้ายักษ์ทศกรรณ์ เป็นต้น พื้นที่บริเวณริมลำห้วย และลำคลองที่กระจายอยู่ทั่วพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เป็นแหล่งที่หลบซ่อนหรือถิ่นอาศัยหากินของสัตว์หลายประเภท ได้แก่ กบทูด อึ่งกรายลายเลอะ ตะพาบธรรมดา ปลาสลาด ปลาเวียน และปลาติดดิน เป็นต้น

:: ที่ตั้งและการเดินทาง ::
อุทยานแห่งชาติคลองลาน
ตู้ ปณ. 22 อ. คลองลาน จ. กำแพงเพชร 62180
โทรศัพท์ : 0 5576 6022 โทรสาร : 0 5576 6023

- รถยนต์
จากกรุงเทพฯ เดินทางโดยรถยนต์ถนนสายเอเซียผ่านจังหวัดนครสวรรค์ก่อนถึงตัวจังหวัดกำแพงเพชร ตรงหลักกิโลเมตรที่ 346 เลี้ยวซ้ายที่ตลาดบ้านคลองแม่ลายเข้าไปตามถนนสายคลอง แม่ลาย-อุ้มผาง ระยะทาง 46 กิโลเมตร ถึงบริเวณสี่แยกตลาดคลองลานจะมีทางแยกขวามือ เข้าไปอีก 4 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติคลองลาน ซึ่งอยู่ใกล้กับน้ำตกคลองลาน


:: แหล่งท่องเที่ยว :: ด้านธรรมชาติที่สวยงาม ::
น้ำตกคลองลาน เกิดจากเทือกเขาขุนคลองลาน ซึ่งมียอดสูง 1,439 เมตรจากระดับน้ำทะเล เหนือหน้าผาน้ำตกเป็นที่ราบกว้าง ในฤดูฝนสายน้ำจะไหลจากลำห้วยต่างๆ ประมาณ 5 สาย ลงสู่แอ่งน้ำกลางหุบเขา เกิดเป็นวังน้ำลึกและลำน้ำยาวประมาณ 3 กิโลเมตร แล้วไหลผ่านหน้าผาลงมาเป็นน้ำตกคลองลาน สูง 100 เมตร กว้างประมาณ 40 เมตร บริเวณใต้น้ำตกเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ซึ่งสามารถลงเล่นน้ำได้ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 800 เมตร


- น้ำตกคลองน้ำไหลหรือน้ำตกปางควาย อยู่ห่างจากที่ทำการประมาณ 25 กิโลเมตร จากเส้นทางสายอุ้มผาง-คลองลาน ก่อนถึง อำเภอคลองลาน มีทางแยกด้านขวาเข้าสู่น้ำตก เรียกว่า “ถนนปางควาย” ระยะทาง 10.5 กิโลเมตร ถึงน้ำตกคลองน้ำไหล ซึ่งเป็นน้ำตกขนาดกลาง สายน้ำไหลลดหลั่นกันลงมา มีทั้งหมด 9 ชั้น แต่ละชั้นมีแอ่งน้ำและความสูงต่างกัน ลานหินที่นี่กว้างมากเป็นสีนิลวาววับเมื่อตัดกับสายน้ำ ลำธารสวยด้วยโขดหิน ในชั้นที่ 3 น้ำตกจะแยกเป็น 2 สาย ดูสวยงามทางฝั่งขวาไหลลงสู่แอ่งน้ำกว้างประมาณ 3 เมตร เหมาะสำหรับการเล่นน้ำตก


- แก่งเกาะร้อย อยู่ในเส้นทางอุ้มผาง-คลองลาน เข้าทางถนนบ้านโป่งน้ำร้อนเข้าไปประมาณ 15 กิโลเมตร แก่งเกาะร้อยเกิดจากคลองสวนหมากเป็นลำธารสลับด้วยแก่งหิน และหาดทรายขาวสะอาด อยู่ท่ามกลางทิวทัศน์แห่งขุนเขาสลับซับซ้อน ประกอบด้วยแก่งหินตะปุ่มตะป่ำนับร้อยพันก้อนเรียงรายเป็นลานกว้าง ช่วงกลางมีลำธารน้ำใสไหลผ่านเกาะแก่งหินสีเทาหม่นดูสวยงามยิ่ง


- น้ำตกเพชรจะขอ เป็นน้ำตกขนาดกลางที่นับว่าสวยงามอีกแห่งหนึ่ง มีความสูงเกือบ 100 เมตร สายน้ำไหลลดหลั่นกันลงมาเป็นชั้นๆ ในหน้าแล้งน้ำจะน้อย การเดินทางจากสามแยกที่เลี้ยวซ้ายไปคลองน้ำไหล ให้ตรงไปตามทางประมาณ 10 กิโลเมตร จะถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ คล.4 (คลองเพชรนิยม) จากนั้นเดินเท้าเข้าไปอีก 1.5 กิโลเมตร


:: สิ่งอำนวยความสะดวก ::
ห้องสุขาชาย มีห้องสุขาชายไว้บริการ


ห้องสุขาหญิง มีห้องสุขาหญิงไว้บริการ


สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง


ที่จอดรถ มีลานจอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.


:: สารบัญเว็บไซท์ ::

:: ข้อมูล สถานที่ท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว จังหวัดกำแพงเพชร ::

สารบัญเว็บไซท์ > ท่องเที่ยว > ข้อมูล และสถานที่ท่องเที่ยว > ภาคเหนือ > กำแพงเพชร

จำนวนเว็บไซท์ในหมวดนี้ : 10 [ แนะนำเว็บไซท์ได้ที่นี่ ]


จังหวัดกำแพงเพชร
แนะนำข้อมูลทั่วไป สถานที่ท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว จองโรงแรม ที่พัก รีสอร์ท โรงแรม จังหวัดกำแพงเพชร แผนที่ การเดินทาง ร้านอาหาร เทศกาล งานประเพณี ของฝาก ประวัติความเป็นมา คำขวัญประจำจังหวัด
http://www.relaxzy.com/province/kamphaengphet/

จังหวัดกำแพงเพชร
ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดกำแพงเพชร ประวัติความเป็นมา ผู้บริหารจังหวัดกำแพงเพชร ประเพณี วัฒนธรรม สถาน...
http://www.kamphaengphet.go.th

กำแพงเพชรซิตี้
รวมข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับจังหวัดกำแพงเพชร ข้อมูลท่องเที่ยวจังหวัดกำแพงเพชร ข่าวบริการในจังหวัด งา...
http://www.kppcity.com/

จังหวัดกำแพงเพชร
ข้อมูลเกี่ยวกับจังหวัดกำแพงเพชร สมาชิกกำแพงเพชร คำสั่งใน IRC กระดานสนทนา เกม เรื่องขำขัน และภาพตล...
http://www.kppweb.com

จังหวัดกำแพงเพชร
รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับจังหวัดวกำแพงเพชร คำขวัญ ตราประจำจังหวัด ประวัติ อาณาเขต แผนที่ ข้อมูลแหล่งท...
http://travel.sanook.com/central/kumpangpetch/

สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวกำแพงเพชร
สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวกำแพงเพชร เว็บไซด์เพื่อการท่องเที่ยวจังหวัดกำแพงเพชร แหล่งท่องเที่ยวเมื...
http://www.kamphangphet.com/

จังหวัดกำแพงเพชร อำเภอลานกระบือ
ข้อมูลทั่วไปของอำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร ทำเนียบข้าราชการ ภารกิจ กิจกรรม และแนะนำสินค้าหนึ่...
http://members.thai.net/lankrabue/

พาราไดซ์ฟรุ๊ตฟาร์ม
สวนลำใย ติดแม่น้ำปิง จังหวัดกำแพงเพชร บริการเที่ยวชมสวน พร้อมแพคเกจโฮมสเตย์
http://www.paradisefruitfarm.com

อำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร
ข้อมูลทั่วไปของอำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร ความเป็นมา แหล่งท่องเที่ยว กิจกรรม และข่าวประชาสั...
http://www.pangsilathong.com

อุทยานแห่งชาติคลองลาน
อุทยานแห่งชาติคลองลาน ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอคลองลานและอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ครอบคลุมพื้นที่...
http://www.dnp.go.th/parkreserve/asp/style1/default.asp?npid=82&lg=1



:: อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า ::

:: ข้อมูลทั่วไป ::
อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอคลองลาน กิ่งอำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร และกิ่งอำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก ประกอบด้วยป่าที่สมบูรณ์ เป็นป่าต้นน้ำลำธารของแม่น้ำปิง มีสัตว์ป่า นานาชนิด ตลอดจนจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตก ถ้ำ หน้าผา โป่งแก๊สธรรมชาติ เป็นต้น มีเนื้อที่ประมาณ 466,875 ไร่ หรือ 747 ตารางกิโลเมตร

ด้วย ฯพณฯ พันโทสนั่น ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ไปตรวจราชการ ในท้องที่จังหวัดกำแพงเพชร เกี่ยวกับการบุกรุกทำลายป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าคลองวังเจ้า และป่าคลองสวนหมาก ท้องที่อำเภอคลองลาน และอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2531 ได้บันทึกสั่งการให้ดำเนินการสำรวจพื้นที่ดังกล่าวเพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งคณะกรรมการป้องกัน อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ จังหวัดกำแพงเพชร ได้ประชุมเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2531 มีมติเห็นสมควร กำหนดบริเวณป่าดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสภาพธรรมชาติให้อยู่คงเดิม

กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กษ 0713/1499 ลงวันที่ 20 ธันวาคม 2531 เสนอกรมป่าไม้มีคำสั่งที่ 1914/2531 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2531 ให้นายวิฑูรย์ อุรัชโนประกร นักวิชาการป่าไม้ 4 สำรวจจัดตั้งป่า บริเวณดังกล่าว และพื้นที่ใกล้เคียงในท้องที่จังหวัดตากเป็นอุทยานแห่งชาติ ผลการสำรวจ ตามหนังสืออุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้าที่ กษ 0713(วจ)/11 ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2532 รายงานว่าพื้นที่ป่าคลองวังเจ้า ป่าคลองสวนหมาก จังหวัดกำแพงเพชร ได้ประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 488 (พ.ศ. 2515) ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 89 ตอนที่ 175 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2515 และป่าประดาง-วังเจ้า อำเภอเมืองตาก ได้ประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2507) ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 81 ตอนที่ 116 ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2507 มีสภาพภูมิประเทศ เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามเหมาะสมจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ

ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าประดาง และป่าวังก์เจ้า ในท้องที่ตำบลเชียงทอง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก และป่าคลองวังเจ้า และป่าคลองสวนหมาก ในท้องที่ตำบลโกสัมพี อำเภอเมืองกำแพงเพชร และตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 107 ตอนที่ 158 ลงวันที่ 29 สิงหาคม 2533 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 63 ของประเทศ

:: ลักษณะภูมิประเทศ ::
พื้นที่อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า อยู่ในเขตรอยต่อ ระหว่างบริเวณเขตเทือกเขาภาคตะวันตก กับบริเวณขอบที่ราบภาคกลาง สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อน แนวเขาวางตัวในทิศเหนือ-ใต้ เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาถนนธงชัย ที่ราบอยู่ทางตอนกลางพื้นที่ ซึ่งมีลักษณะเป็นอ่างกะทะขนาดเล็ก จำนวน 2 แอ่ง พื้นที่ 2,000-5,000 ไร่ แนวเทือกเขาที่สำคัญได้แก่ เขาเย็น เขาสน เขาเต่าดำ เขาขนุน เขาขาแล้ง เขาอีโละโคะ เขาวังเจ้า เขาปั๋งใหญ่ ดอยลวก และเขาวุ๊งกะสัง เป็นต้น ความสูงของพื้นที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 200-1,898 เมตรโดยมียอดเขาเย็นที่อยู่ทางทิศตะวันตกของพื้นที่สูงที่สุด พื้นที่อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ลุ่มน้ำปิง ประกอบด้วย 2 ลุ่มน้ำ คือ ลุ่มน้ำคลองวังเจ้า ประกอบด้วย คลองแม่ยะมา คลองวังเจ้า คลองขุนหมาก คลองแขยง และลุ่มน้ำคลองสวนหมาก ประกอบด้วย คลองไพร คลองวุ๊งกะสัง คลองพลู คลองอีหมี คลองส้มโอ คลองปั๋งใหญ่ คลองสวนหมาก คลองเต่าดำ คลองผู้ใหญ่เลา คลองนายปู คลองขาแข้ง คลองจำปา คลองตะเนาะ และคลองปางขบ เป็นต้น


:: ลักษณะภูมิอากาศ ::
อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้าได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ถึงกลางเดือนตุลาคม ทำให้มีความชื้นในอากาศสูง มีเมฆมาก ฝนตกหนัก มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,318 มิลลิเมตรต่อปี และได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ทำให้มีอากาศหนาวเย็น ท้องฟ้าโปร่ง มีอุณหภูมิต่ำสุดในเดือนมกราคม 14 องศาเซลเซียส และช่วงฤดูร้อนจะเป็นช่วงรอยต่อระหว่างลมมรสุมทั้งสอง อุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน 36 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 26 องศาเซลเซียส


:: พรรณไม้และสัตว์ป่า ::
อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้าปกคลุมด้วยพื้นที่ป่า 5 ชนิด ประกอบด้วย
ป่าเบญจพรรณ เป็นสังคมพืชที่ปกคลุมพื้นที่อุทยานแห่งชาติมากที่สุดประมาณ 65 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ พบกระจายตั้งแต่ระดับความสูงจากน้ำทะเล 200-1,000 เมตร ชนิดไม้ที่พบได้แก่ สัก รกฟ้า แดง ประดู่ และมะกอกเกลื้อน รักใหญ่ เสลา โมกมัน สะทิบ กางขี้มอด ปอตูบหูช้าง ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีไผ่ขึ้นปะปนอยู่ด้วย เช่น ไผ่ซางนวล ไผ่ไร่ เป็นต้น เป็นแหล่งอาศัยและหลบภัยของ กระทิง เก้ง กวางป่า เสือปลา หมูป่า สัตว์ฟันแทะต่างๆ ไก่ป่า เป็นต้น

- ป่าดิบเขา พบกระจายบนเขาสูงชันทางด้านทิศตะวันตก ตลอดแนวเหนือ-ใต้ ตั้งแต่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป ชนิดไม้ที่พบได้แก่ ก่อเดือย ก่อใบเลื่อม ฝาละมี ค่าหด สารภีดอย พะวา โพบาย ก่อหม่น ทะโล้ ฯลฯ พืชพื้นล่างค่อนข้างแน่นทึบ เช่น เฟิน ปอ กระวาน อ้อ แขม หวาย เป็นต้น มีสัตว์ขนาดใหญ่เข้ามาใช้ประโยชน์พื้นที่ในบางฤดู เช่น กระทิง และยังมีสัตว์ขนาดเล็กอาศัยอยู่ เช่น กระรอกบินเล็กแก้มขาว กระรอกบินจิ๋วท้องขาว นกพญาไฟใหญ่ นกพญาไฟเล็ก นกไต่ไม้ท้องสีเม็ดมะขาม เป็นต้น

- ป่าดิบแล้ง พบกระจายอยู่บริเวณแนวหุบเขาตอนกลางของพื้นที่ ในระดับความสูงประมาณ 400-1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ชนิดไม้ที่พบได้แก่ ชุมแสงแดง เสลา ยมหิน กระโดงแดง เติม สะบันงา กระทุ่มน้ำ ลำพูป่า มะเดื่อ ตาว เต่าร้าง ค้อ ฯลฯ เป็นแหล่งอาศัย แหล่งอาหาร และหลบภัยของ กระทิง กวางป่า กระจงหนู เสือไฟ แมวดาว พญากระรอกท้องดำ นกกก นกเงือกกรามช้าง และนกตั้งล้อ เป็นต้น

- ป่าเต็งรัง พบกระจายเป็นหย่อมๆ ตามบริเวณยอดเขาหรือเนินเขาเตี้ยๆ ทางด้านตะวันออกและตอนเหนือของอุทยานแห่งชาติ ในระดับความสูงประมาณ 200-800 เมตร ชนิดไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง กระท่อมหมู ก่อนก ก่อแพะ ส้านใหญ่ มะม่วงหัวแมงวัน ฯลฯ พืชพื้นล่างที่พบเป็นจำพวกหญ้า เช่น หญ้าเพ็ก โจด หญ้าคา หญ้าหนวดฤาษีเล็ก เป็นต้น สัตว์ป่าที่พบได้แก่ หมูป่า เก้ง ตะกวด เต่าเหลือง เป็นต้น

- ป่าสนเขา พบกระจายเป็นหย่อมๆ ตามแนวสันเขาและบนยอดเขาบริเวณตอนกลางตามแนวเหนือ-ใต้ ที่ระดับความสูงประมาณ 900-1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล ชนิดไม้ที่พบได้แก่ สนสามใบ มะก่อ ทะโล้ สารภีดอย ตำเสาหนู เป็นต้น มีสัตว์ป่าเข้าไปใช้ประโยชน์บางฤดู เช่น เลียงผา หมูป่า ลิงกัง ชะมดแผงหางปล้อง เม่นเล็กหางพวง หนูฟานเหลือง เป็นต้น บริเวณแหล่งน้ำและลำคลองต่างๆ ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของ นกเงือกกรามช้าง นกหัวขวานเขียวป่าไผ่ นกกะเต็นหัวดำ นกเป็ดผีเล็ก เขียดว้าก กบหนอง กบห้วยขาปุ่ม อึ่งกรายห้วยเล็ก กบทูด อึ่งขาคำ จงโคร่ง อึ่งน้ำเต้า อึ่งอ่างก้นขีด คางคกแคระ เขียดจะนา ปลาจาด ปลาซิวควายแถบดำ ปลาตะเพียนน้ำตก ปลาพลวงหิน ปลาแขยงหิน ปลาช่อน ปลาสลาด ปลากด เป็นต้น

:: ที่ตั้งและการเดินทาง ::
อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า
ตู้ ปณ.69 ปณจ.กำแพงเพชร อ. กิ่งอำเภอโกสัมพีนคร จ. กำแพงเพชร 62000
โทรศัพท์ : 0 5571 9318-9, 0 5571 9200, 0 5571 9244 โทรสาร : 0 5559 3201

รถยนต์
การเดินทางไปอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า มีความสะดวก สามารถเดินทางได้ 2 เส้นทาง ดังนี้

- จากจังหวัดกำแพงเพชร ไปจังหวัดตากตามถนนสายเอเซีย (A1) ถึงสี่แยกตลาดวังเจ้า แยกซ้ายไปทางบ้านนาโบสถ์ ตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1110 ประมาณ 3 กิโลเมตร ถึงสามแยกบ้านเด่นคา แยกซ้ายไปทางบ้านหนองแดน และแยกขวาตรงบ้านหนองแดนอีก 7 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า ระยะทางประมาณ 28 กิโลเมตร สามารถเดินทางโดยรถยนต์ เข้าอุทยานแห่งชาติ ได้สะดวกตลอดทั้งปี

- จากจังหวัดกำแพงเพชร ไปจังหวัดตาก ตามถนนสายเอเซีย (A1) ก่อนถึงสี่แยกบ้านวังเจ้า ประมาณ 500 เมตร แยกซ้ายมือไปบ้านโละโคะ ผ่านบ้านหนองแดนถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ระยะทางรวม ประมาณ 30 กิโลเมตร สามารถเดินทางโดยรถยนต์เข้าอุทยานแห่งชาติได้สะดวกตลอดทั้งปี

:: แหล่งท่องเที่ยว ::
อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า มีเส้นทางเดินป่าเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ศึกษาธรรมชาติ ดูนก ศึกษาพันธุ์ไม้ นักท่องเที่ยวสามารถแวะพักชมวิถีชีวิตและซื้อของที่ระลึก เช่น ผ้าทอมือ ของชาวเขาเผ่าต่างๆ ที่หมู่บ้านวุ๊งกะสัง หมู่บ้านโละโคะ หมู่บ้านป่าหมาก และหมู่บ้านป่าคา และท่องเที่ยวตามแหล่งท่องทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง ดังนี้


:: ด้านธรรมชาติที่สวยงาม ::
น้ำตกคลองวังเจ้า เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ของอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า แนวเขตจังหวัดตาก-กำแพงเพชร เป็นน้ำตกชั้นเดียวไหลทิ้งตัวในแนวตั้งฉาก สูงประมาณ 60 เมตร ความกว้างประมาณ 100 เมตร ถือเป็นน้ำตกขนาดกลาง และเป็นจุดที่สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของผืนป่าธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ อยู่ห่างจากถนนพหลโยธิน 29 กิโลเมตร บนถนนวังเจ้า-โละโคะ หลักกิโลเมตรที่ 29 การเดินทางสะดวก


- ปากคลองนาคีรี เป็นแก่งน้ำตามธรรมชาติที่สวยงามไหลผ่านโขดหินแกรนิตสีขาวสะอาด สะท้อนแสง เป็นจุดบริเวณที่คลองนาคีรีไหลมารวมกับคลองวังเจ้า


- น้ำตกคลองสมอกล้วย เป็นน้ำตกขนาดกลาง แต่มีลักษณะเด่นสวยงาม มี 5 ชั้น ชั้นที่ 1 มีความสูง ประมาณ 40 เมตร ทิ้งตัวลงมาในแนวดิ่ง ส่วนชั้นอื่นๆ มีความสูงแตกต่างกันไป เป็นน้ำตกที่มีสีบุษราคัม มีลักษณะสวยงามแฝงด้วยความน่ากลัวอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 800 เมตร เดินทางได้สะดวก


- น้ำตกเต่าดำ เป็นน้ำตกขนาดใหญ่มี 3 ชั้น แต่ละชั้นมีความสูงมากกว่า 200 เมตร โดยเฉพาะชั้นที่ 3 มีความสูงประมาณ 270 เมตร มีความสูงรวมกันประมาณ 600 เมตร ชั้นที่ 3 ทิ้งตัวในแนวตั้งฉากสวยงามและยิ่งใหญ่มาก อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 34 กิโลเมตร โดยไปทางบ้านโละโคะจนสุดทางที่ป่าไผ่ แล้วเดินลงเขาชันไปอีก 500 เมตร จะถึงน้ำตก การไปท่องเที่ยวน้ำตกเต่าดำหากไปในช่วงฤดูฝน ควรใช้รถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อ เท่านั้น


- โป่งแก๊สธรรมชาติ เป็นบ่อน้ำร้อน อยู่ห่างจากน้ำตกเต่าดำประมาณ 1.5 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ เป็นโป่งน้ำที่สัตว์ป่าชอบมาอาศัยอยู่ เช่น หมูป่า เก้ง กวางป่า เป็นต้น อุณหภูมิประมาณ 50-70 องศาเซลเซียส


- เขากระดาน เป็นหน้าผาของเขาเต่าดำ อยู่ใกล้น้ำตกเต่าดำ มีลักษณะเหมือนมีคนเอากระดานมาเรียงต่อกันเป็นหน้าผาสูงขึ้นประมาณ 300 เมตร


- ผากลม เป็นหน้าผาสูงชันทุกด้าน 360 องศา มีลักษณะคล้ายเอาแท่งดินสอขนาดใหญ่มาปักไว้บนดินมีลักษณะเด่นงดงามมาก การเดินทางต้องใช้วิธีเดินเท้าห่างจากน้ำเข้ารู ประมาณ 3 กิโลเมตร


- น้ำเข้ารู เป็นชื่อที่ชาวเขาใช้เรียกชื่อบริเวณหนึ่ง ที่มีลักษณะตรงตัว คือ ลำห้วยโละโคะไหลลงมา ถึงบริเวณนี้จะมุดหายเข้าไปในภูเขา เป็นระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร ไปโผล่อีกด้านหนึ่งของภูเขา จึงเรียกบริเวณนี้ว่า “น้ำเข้ารู”


- ถ้ำเขาพนัง เป็นถ้ำขนาดใหญ่อยู่ริมคลองสวนหมากเป็นถ้ำหินงอกหินย้อยสวยงามมากมีความลึกประมาณ100 เมตร


- ถ้ำเทพพนม เป็นถ้ำขนาดใหญ่ มีหินงอกหินย้อยสวยงาม มีค้างคาวอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก มีสภาพคล้ายถ้ำเขาพนัง อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 17 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ วจ.5 (โละโคะ) ประมาณ 1.5 กิโลเมตร


- น้ำตกคลองโป่ง มีชื่อเรียกอีกหนึ่งว่า น้ำตกคลองน้ำแดง เป็นน้ำตกหินชนวนมี 4 ชั้น ชั้นบนสูง 100 เมตร จากบ้านโละโคะต้องเดินเท้าอีกประมาณ 20 กิโลเมตร ผ่านป่าดิบแล้ง โดยพักแรมในป่าประมาณ 2 คืน ระหว่างทางมีน้ำพุร้อนธรรมชาติให้แวะชม และในฤดูที่มีความชื้นสูงจะพบกล้วยไม้ประเภทลิ้นมังกรขึ้นบริเวณตัวน้ำตกอย่างหนาแน่นสวยงาม


- น้ำตกกระแตไต่ไม้ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 1.7 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดเล็กที่มีความสวยงาม มีแอ่งให้เล่นน้ำ และลานหินกว้างสำหรับนั่งพักผ่อน ในบริเวณนั้นจะมีเฟินกระแตไต่ไม้ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเป็นที่มาของชื่อน้ำตก เส้นทางการเข้าถึงเป็นเส้นทางเดียวกับน้ำตกคลองสมอกล้วย


- น้ำตกนาฬิกาทราย ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 1.9 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่มีความสูงประมาณ 20 เมตร แต่มีรูปร่างที่เป็นเอกลักษณ์สวยงาม มีแอ่งให้เล่นน้ำ บริเวณน้ำตกมีความร่มรื่นของต้นไม้ เส้นทางการเข้าถึงเป็นเส้นทางเดียวกับน้ำตกคลองสมอกล้วยและน้ำตกกระแตไต่ไม้


- น้ำตกเขาเย็น เป็นน้ำตกชั้นเดียวขนาดใหญ่ มีความสูงเกือบ 1,000 เมตร ตั้งอยู่บนยอดเขาเย็น ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในเขตอุทยานแห่งชาติ การเข้าถึงต้องเดินทางจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปหมู่บ้านโละโคะประมาณ 29 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าสู่เส้นทางไปน้ำตกเขาเย็นประมาณ 6 กิโลเมตร จากนั้นเดินเท้าต่อไปอีกประมาณ 10 กิโลเมตร จึงจะถึงตัวน้ำตก ควรติดต่อเจ้าหน้าที่ก่อนเดินทาง


- โป่งน้ำร้อน เป็นบ่อน้ำร้อนที่ผุดขึ้นมาจากใต้ดิน อยู่ห่างจากน้ำตกเต่าดำประมาณ 1.5 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ เป็นโป่งน้ำร้อนที่สัตว์ป่าชอบมาอาศัยอยู่ เช่น หมูป่า เก้ง กวางป่า เป็นต้น อุณหภูมิประมาณ 50-70 องศาเซลเซียส


- จุดชมทิวทัศน์ผาตั้ง อยู่ริมเส้นทางบ้านโละโคะ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 3 กิโลเมตร ตั้งอยู่บนเส้นทางที่จะไปบ้านโละโคะ เป็นจุดที่สามารถมองลงไปเห็นดอยผาตั้ง เหมาะแก่การชมสภาพป่าเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะความงามของดวงอาทิตย์ตกลับเหลี่ยมเขาในยามเย็น



:: สิ่งอำนวยความสะดวก ::
ห้องสุขาชาย มีห้องสุขาชายให้บริการ


ห้องสุขาหญิง มีห้องสุขาหญิงให้บริการ


สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง


ค่ายเยาวชน มีเวทีกลางแจ้ง โรงประกอบเลี้ยง ห้องน้ำและห้องอาบน้ำ สามารถรองรับได้ไม่น้อยกว่า 400 คน


ร้านขายของที่ระลึก มีร้านขายของที่ระลึก


ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.

0 ความคิดเห็น: