วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การท่องเที่ยวจังหวัดแม่ฮ่องสอน

:: จังหวัดแม่ฮ่องสอน ::

" หมอกสามฤดู กองมูเสียดฟ้า ป่าเขียวขจี ผู้คนดี ประเพณีงาม ลือนามถิ่นบัวตอง "


จังหวัดแม่ฮ่องสอน :: ข้อมูลทั่วไป

แม่ฮ่องสอน เป็นจังหวัดชายแดนจังหวัดหนึ่ง ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับสหภาพพม่า ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกสุดของภาคเหนือ โดยอยู่ห่างจากกรุงเทพ ฯ 942 กิโลเมตร มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้นประมาณ 12,681 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันแบ่งการปกครองออกเป็น 6 อำเภอ กับ 1 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอแม่สะเรียง อำเภอขุนยวม อำเภอปาย อำเภอแม่ลาน้อย อำเภอสบเมย และกิ่งอำเภอปางมะผ้า

แม่ฮ่องสอน ได้ชื่อว่า “เมืองสามหมอก” เนื่องจากเป็นเมืองในหุบเขา ล้อมรอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อน ทอดขนานไปกับทิวเขาถนนธงชัย และทิวเขาแดนลาว ดังนั้น จึงถูกปกคลุมด้วยหมอกตลอดทั้งปี มีทิวทัศน์อันสวยงามตามธรรมชาติ ของเทือกเขาสลับซับซ้อนและป่าไม้นานาพันธุ์ จนนักท่องเที่ยว เล่าขานกันอยู่เสมอว่า เปรียบเสมือนกับเป็นสวิตเซอร์แลนด์ของเมืองไทย

แม่ฮ่องสอน มีสถานที่ท่องเที่ยวอยู่มากมายทั้งที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและโบราณสถาน นอกจากนี้ ยังมีศิลปวัฒนธรรมประเพณี อันควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ เห็นได้จากบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นบ้านไม้ชั้นเดียว หรือสองชั้นแบบโบราณ เรียกว่า บ้านแบบไทยใหญ่ สร้างด้วยไม้มีใต้ถุนสูง หลังคามุงด้วยใบตอลตึง มีการแต่งกายแบบพื้นเมือง ซึ่งเรียกกันว่า ชุดไต คือ ผู้ชายนุ่งกางเกง คล้ายกางเกงจีน หรือกางเกงชาวเล สวมเสื้อคอกลม แขนยาวป้ายแบบจีน ผู้หญิงนุ่งผ้าถุงยาว สวมเสื้อทรงกระบอกตัวสั้นเพียงเอว ชาวแม่ฮ่องสอนยังใช้ภาษาท้องถิ่นและรับประทานอาหารพื้นเมือง สิ่งเหล่านี้ นับว่าเป็นเสน่ห์ดึงดูดนักท่องเที่ยว ให้เดินทางมาเยี่ยมชมจังหวัดแม่ฮ่องสอน

อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับรัฐฉาน แห่งสหภาพพม่า
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดเชียงใหม่
ทิศตะวันตก ติดต่อกับสหภาพพม่า

ระยะทางจากอำเภอเมืองไปอำเภอต่างๆ
กิ่งอำเภอปางมะผ้า 64 กิโลเมตร
อำเภอขุนยวม 67 กิโลเมตร
อำเภอปาย 111 กิโลเมตร
อำเภอแม่สะเรียง 164 กิโลเมตร
อำเภอสบเมย 192 กิโลเมตร
อำเภอแม่ลาน้อย 134 กิโลเมตร

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ (รหัสทางไกล 053)
ททท.สำนักงานภาคเหนือเขต 1
248-604 , 248-607 , 241-466

ประชาสัมพันธ์จังหวัด
611-808

ศาลากลางจังหวัด
612-156

ที่ว่าการอำเภอเมือง
611-357

ตำรวจภูธร อ.เมือง
611-259

ตำรวจท่องเที่ยว
1155 , 611-812

ตำรวจทางหลวง ส.ทล.2 กก.5 จ.ลำปาง
054-248-501

ตู้ยามเถิน
054-291-674

ตู้ยามเด่นชัย
054-613-098

รพ.ศรีสังวาลย์
611-378

รพ.แม่สะเรียง
681-394

รพ.แม่ลาน้อย
689-060

รพ.ขุนยวม
691-017

รพ.ปาย
699-031

ศูนย์วัฒนธรรม
612-079


จังหวัดแม่ฮ่องสอน :: สถานที่ท่องเที่ยว อำเภอเมือง

อนุสาวรีย์พระยาสิงหนาทราชา
ตั้งอยู่ต้นถนนขุนลุมประพาส ประวัติของพระยาสิงหนาทราชา เดิมชื่อ ชานกะเล เป็นชาวไทยใหญ่ ได้รวบรวมผู้คนตั้งหมู่บ้านขึ้นชื่อว่า “บ้านขุนยวม” ต่อมาได้ยกขึ้นเป็นเมือง จวบจนปี พ.ศ. 2417 จึงได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นเมืองแม่ฮ่องสอน และพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าครองนครเชียงใหม่ ได้ยกบรรดาศักดิ์ชานกะเล เป็นพระยาสิงหนาทราชา และแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองแม่ฮ่องสอนคนแรก จากบริเวณอนุสาวรีย์พระยาสิงหนาทราชานี้ เมื่อมองตรงขึ้นไปจะเห็นองค์พระธาตุดอยกองมูอยู่บนยอดเขา

วัดพระธาตุดอยกองมู
ตั้งอยู่บนดอยกองมูทางทิศตะวันตกของตัวเมืองแม่ฮ่องสอน เดินทางโดยแยกจากทางหลวงสาย 108 ตรงบริเวณอนุสาวรีย์พระยาสิงหนาทราชาขึ้นไปทางซ้ายมือ เป็นทางราดยางขึ้นภูเขาไปอีกประมาณ 1.5 กิโลเมตร ก็จะถึงบริเวณวัด

วัดนี้เดิมมีชื่อเรียกว่า วัดปลายดอย เป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมืองที่สำคัญที่สุด ประกอบด้วยพระธาตุเจดีย์ที่สวยงาม 2 องค์ พระเจดีย์องค์ใหญ่สร้างโดย “จองต่องสู่” เมื่อ พ.ศ. 2403 เป็นที่บรรจุพระธาตุของพระโมคคัลลานะเถระ ซึ่งนำมาจากประเทศพม่า ส่วนพระธาตุเจดีย์องค์เล็กสร้างเมื่อ พ.ศ. 2417 โดย “พระยาสิงหนาทราชา” เจ้าเมืองแม่ฮ่องสอนคนแรก จากวัดพระธาตุดอยกองมูนี้ สามารถมองเห็นภูมิประเทศ และสภาพตัวเมืองแม่ฮ่องสอน ได้อย่างชัดเจนและสวยงามมาก วัดนี้มีงานเทศกาลประจำปีหลายงาน เช่น ในวันปีใหม่ วันสงกรานต์ โดยเฉพาะในวันออกพรรษาจะมีการตักบาตรดาวดึงส์ หรือตักบาตรเทโวด้วย

วัดพระนอน
ตั้งอยู่เชิงดอยกองมู เป็นที่ประดิษฐานพระนอนองค์ใหญ่ สร้างด้วยศิลปะไทยใหญ่ พ.ศ. 2418 และเป็นพระนอนองค์ขนาดยาว 12 เมตร ซึ่งมีพุทธลักษณะงดงามมาก ตามประวัติเล่าว่าพระนางเมียะ ภริยาของพระยาสิงหนาทราชาเป็นผู้สร้างขึ้น ภายในบริเวณมีรูปปั้นสิงโตขนาดใหญ่ 2 ตัว สร้างโดยพระยาสิงหนาทราชา และพระนางเมียะ อยู่เคียงข้างระหว่างทางที่จะขึ้นไปนมัสการพระธาตุกองมู เป็นสิงโตที่มีลักษณะงดงามและสมบูรณ์มาก นอกจากนี้ภายในวัดยังมีการสอนวิปัสนาอีกด้วย

วัดก้ำก่อ
(ภาษาไตแปลว่า ดอกบุนนาค) ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับวัดพระนอน เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองแม่ฮ่องสอน สร้างเมื่อ พ.ศ. 2433 มีลักษณะสถาปัตยกรรมที่งดงามไม่แพ้วัดอื่น โดยเฉพาะลักษณะพิเศษที่มีหลังคาคลุมทางเดิน ตั้งแต่ซุ้มทางเข้าไปสู่ศาลา นอกจากนี้ยังมีตำราภาษาไทยใหญ่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยใหญ่กับเจ้าอโนรธามังช่อ ปัจจุบันได้รับการแปลเป็นภาษาไทยโดยพระมหาบุญรักษ์ สุปัญโญ ท่านเจ้าอาวาสวัดนี้

วัดหัวเวียงหรือวัดกลางเมือง
ตั้งอยู่ที่ถนนสีหนาทบำรุง ตำบลจองคำ (อยู่ติดกับตลาดเช้าบริเวณสี่แยกไฟแดง) เป็นวัดที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2406 เป็นที่ประดิษฐานของพระเจ้าพาราละแข่ง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องประจำเมืองที่งดงามมาก มีประวัติว่าหล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” ซึ่งเป็นเจ้าพาราละแข่งองค์จริง ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า โดยลุงจองโพหย่า เดินทางไปนิมนต์มา พระเจ้าพาราละแข่งองค์นี้สร้างเป็นท่อนๆ ทั้งหมด 9 ท่อน ล่องมาตามแม่น้ำปาย แล้วนำมาประกอบที่วัดพระนอน และนำมาประดิษฐานที่วัดหัวเวียง หรือวัดกลางเมือง ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่า เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

ปัจจุบัน วิหารที่ประดิษฐานพระเจ้าพาราละแข่ง สร้างใหม่เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยคงโครงสร้างของวิหารตามรูปแบบเดิมไว้ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

หนองจองคำ
เป็นสวนสาธารณะตั้งอยู่ใจกลางเมือง เป็นหนองน้ำที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีน้ำตลอดปี เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวเมืองและนักท่องเที่ยว และใช้เป็นสถานที่จัดงานประเพณีที่สำคัญๆ ของจังหวัดด้วย

วัดจองคำ
อยู่บริเวณสวนสาธารณะหนองจองคำ เป็นวัดเก่าแก่ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2370 โดยช่างฝีมือชาวไทยใหญ่ มีศิลปะแบบต่างๆ ซึ่งเป็นศิลปะแบบไทยใหญ่ที่แปลกและงดงามมาก หลังคาวัดเป็นรูปปราสาท เพราะมีคติว่าปราสาทเป็นของสูง ผู้ที่ประทับอยู่ในปราสาทควรจะเป็นพระมหากษัตริย์หรือตัวแทนพระศาสนา จึงเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อโต มีขนาดหน้าตักกว้าง 4.85 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2469 โดยช่างฝีมือชาวพม่า และมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ซึ่งจำลองมาจากพระศรีศากยมุนีที่วิหารวัดสุทัศน์ ประดิษฐานไว้เป็นพระประธานของวัด เหตุที่เรียกชื่อวัดจองคำ เนื่องจากเสาวัดประดับด้วยทองคำเปลว

วัดจองกลาง
ตั้งอยู่เคียงข้างกับวัดจองคำ ภายในวิหารมีแท่นบูชาตั้งพระพุทธสิหิงค์จำลอง ปิดทองเหลืองอร่ามไปทั้งองค์ มีสิ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก เช่น ตุ๊กตาแกะสลักด้วยไม้เป็นรูปคนและสัตว์เกี่ยวกับพระเวสสันดรชาดก ฝีมือแกะสลักของช่างชาวพม่า ซึ่งนำมาจากพม่าตั้งแต่ พ.ศ. 2400 นอกจากนี้ทางด้านจิตรกรรม ยังมีภาพวาดบนแผ่นกระจก เรื่องพระเวสสันดรชาดก และภาพประวัติเจ้าชายสิทธัตถะ ตลอดจนภาพแสดงให้เห็นถึง ชีวิตความเป็นอยู่ของคนสมัยนั้นหลายภาพ มีคำบรรยายใต้ภาพเป็นภาษาพม่า และมีบันทึกบอกไว้ว่า เป็นฝีมือของช่างไทยใหญ่จากมัณฑะเลย์

เรือนประทับแรมโป่งแดง
อยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศใต้ประมาณ 4 กิโลเมตร ตั้งอยู่ภายในศูนย์โครงการพัฒนาตามพระราชดำริท่าโป่งแดง ซึ่งทำการทดลองเพาะปลูกพืชผลไม้ต่างๆ และเลี้ยงหม่อนไหม แยกไปทางซ้ายมือประมาณ 2 กิโลเมตร มีเรือนประทับแรม สำหรับเสด็จประทับ และพักผ่อนพระอิริยาบถ ตัวเรือนประทับแรมตั้งอยู่บนเนินเขาเล็กๆ ด้านหน้ามีแม่น้ำปายไหลผ่านรอบๆ เรือนประทับมีไม้ดอกไม้ประดับปลูกไว้อย่างสวยงาม บรรยากาศเหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ

บ่อน้ำร้อนผาบ่อง
ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลผาบ่อง (เส้นทางหลวงหมายเลข 108 บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 256) อยู่ห่างจากตัวเมือง 11 กิโลเมตร มีบริเวณพื้นที่ 8 ไร่ ได้จัดสถานที่ไว้อย่างสวยงาม และมีห้องอาบน้ำไว้บริการ และในบริเวณใกล้เคียงกันมีร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยวด้วย

เขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำผาบ่อง
อยู่ห่างจากตัวเมืองแม่ฮ่องสอนไปทางทิศใต้ประมาณ 12 กิโลเมตร เป็นเขื่อนกั้นลำน้ำแม่ละมาด และผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ในตัวเมืองแม่ฮ่องสอน บริเวณตัวเขื่อนมีศาลาพักร้อน เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ และอากาศสบายมีลมพัดตลอดเวลา

บ้านน้ำเพียงดิน
อยู่ในเขตตำบลผาบ่อง เป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวนิยมล่องเรือตามลำน้ำปาย ผ่านบ้านห้วยเดื่อ ไปจนถึงบ้านน้ำเพียงดินโดยเรือหางยาว ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ตลอดเส้นทางที่ล่องเรือไปตามลำน้ำ จะผ่านระลอกน้ำที่ลดระดับลดหลั่นกันไปคล้ายธารน้ำตก นับเป็นทัศนียภาพที่งดงามแปลกตา จากบ้านน้ำเพียงดินนี้ ใช้เวลาล่องเรือไม่นานก็เข้าเขตสหภาพพม่า และถึงบริเวณที่เรียกกันว่า “ผาห่มน้ำ” ซึ่งเป็นอีกจุดหนึ่งที่นักท่องเที่ยวนิยมไปกันเสมอ

บ้านยอดดอย
(หมู่บ้านแม้วไมโครเวฟ) เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้ง ที่อาศัยอยู่บนดอยสูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร ความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย และการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอย่างเคร่งครัดของพวกเขา เป็นสิ่งที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวอยากเดินทางไปสัมผัส โดยเดินทางจากแม่ฮ่องสอนไปหมู่บ้านป่าลาน 32 กม. (เส้นทางแม่ฮ่องสอน - ขุนยวม) และเลี้ยวซ้ายขึ้นหมู่บ้าน ซึ่งเป็นทางสูงชันอีกราว 8 กม.

น้ำตกซู่ซ่า
อยู่ในเขตบ้านแม่สุยะ ตำบลห้วยผา เป็นน้ำตกที่ทะลุจากซอกเขาเป็นทางยาวประมาณ 100 เมตร ขนานไปกับลำน้ำ

วนอุทยานถ้ำปลา
ตั้งอยู่ที่บ้านห้วยผา ตำบลห้วยผา ห่างจากตัวเมืองประมาณ 17 กิโลเมตร ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1095 (แม่ฮ่องสอน-ปาย) เส้นทางราดยางเรียบร้อย สามารถเดินทางไปชมได้ทุกฤดูกาล บริเวณโดยรอบเป็นลำธารและป่าเขา ถ้ำปลาตั้งอยู่บริเวณเชิงเขามีลักษณะเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ กว้างประมาณ 2 เมตร ลึก 1.50 เมตร ภายในแอ่งน้ำมีน้ำไหลออกจากถ้ำใต้ภูเขาอยู่ตลอดเวลา และมีปลาตัวโตๆ อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เรียกชื่อว่าปลามุงหรือปลาคัง หรือปลาพลวง เป็นปลามีเกล็ดขนาดใหญ่ ในวงศ์เดียวกับปลาคาร์ฟ และถึงแม้จะมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ก็ไม่มีใครกล้าทำอันตราย เนื่องจากมีความเชื่อว่าเป็นปลาเจ้า หากใครนำไปรับประทานแล้วจะต้องมีอันเป็นไป ปัจจุบันบริเวณอุทยานถ้ำปลาได้รับการปรับปรุง เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจสำหรับชาวเมือง และนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชม

วนอุทยานน้ำตกผาเสื่อ
ตั้งอยู่ในเขตตำบลหมอกจำแป่ ห่างจากตัวเมืองแม่ฮ่องสอน ตามเส้นทางสู่อำเภอปาย (เส้นทาง 1095) เป็นระยะทาง 17 กิโลเมตร แยกซ้ายบริเวณบ้านรักไทยเป็นทางราดยางเข้าไปอีก 12 กิโลเมตร และเข้าทางลูกรังไปอีก 8 กิโลเมตร

นอกจากนี้ยังมีอีกเส้นทางหนึ่ง เป็นเส้นทางเข้าหมู่บ้านหมอกจำแป่ซึ่งเป็นเส้นทางเก่า ทางเข้ายังไม่สะดวก เป็นถนนลูกรังตลอดทั้งเส้นทาง เส้นทางนี้แยกมาจากทางหลวงหมายเลข 1095 แต่จะถึงก่อนเส้นทางแรก โดยห่างจากตัวเมืองแม่ฮ่องสอนเพียง 14 กิโลเมตร

น้ำตกแห่งนี้ไหลลงมาจากน้ำตกแม่สะงาในพม่า มี 6 ชั้น ชั้นบนสุดอยู่ในป่าลึกเข้าไป ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง คือน้ำตกแม่สะงากลาง ถัดออกมาเป็นชั้นผายาว ผาลาด ผาเสื่อ ผาตั้ง และผาอ้อม ชั้นที่คนนิยมเที่ยวมากที่สุดคือผาเสื่อ ซึ่งมีน้ำตกลงมากระทบแผ่นหินกระเด็นเป็นฝอย และสองข้างน้ำตก มีแผ่นหินลักษณะคล้ายเสื่อปูลาดอยู่จำนวนมาก น้ำตกมีขนาดใหญ่ และน้ำมากตลอดปี น้ำมากที่สุดในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน

พระตำหนักปางตอง
อยู่ในเขตตำบลหมอกจำแป่ สามารถเดินทางไปโดยใช้เส้นทางเดียวกับทางเข้าวนอุทยานผาเสื่อ แต่ต้องเดินทางต่อไปอีก 5 กิโลเมตร ตัวเรือนประทับแรมตั้งอยู่บนยอดเขาสูงที่บ้านปางตอง ในโครงการพัฒนาพื้นที่สูงปางตอง มีทิวทัศน์บริเวณสองข้างทางที่สวยงาม ทางรถยนต์เข้าถึงและสามารถเดินทางไปสู่หมู่บ้านแม้วนาป่าแปก ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าแม้ว ที่สุขสงบและน่ารักมากเลย ต่อจากหมู่บ้านแม้วนี้ก็จะสามารถไปถึงหมู่บ้านแม่ออ ซึ่งเป็นหมู่บ้านชายแดนไทย-พม่า และมีกองกำลังกองพล 93 ตั้งอยู่เป็นบริเวณที่สูง อากาศเย็น และมีทิวทัศน์ที่น่าชมยิ่ง


จังหวัดแม่ฮ่องสอน :: สถานที่ท่องเที่ยว อำเภอแม่ลาน้อย

น้ำตกดาวดึงส์
อยู่เขตบ้านทุ่งรวงทอง ตำบลแม่ลาน้อย ห่างจากอำเภอประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่สวยงามแห่งหนึ่ง

หมู่บ้านละว้า (ลัวะ) แม่ละอูบ
ตำบลห้วยห้อม เป็นหมู่บ้านเขตติดต่อระหว่างอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอแม่ลาน้อย และอำเภอแม่สะเรียง มีลักษณะวัฒนธรรม การสร้างที่อยู่อาศัย การแต่งกายและอุปนิสัยแตกต่างไปจากชาวไทยภูเขาเผ่าอื่นๆ และโดยที่ตั้งอยู่บนยอดดอยสูง ซึ่งมีทิวทัศน์สวยงาม การคมนาคมห่างจากอำเภอ 32 กิโลเมตร และสะดวก จึงเป็นที่แปลกตาแปลกใจแก่นักท่องเที่ยวมาก

บ้านกะเหรี่ยงห้วยห้อม
ห่างจากบ้านละอูบ ประมาณ 4 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางสาย 1266 ราษฎรเคร่งศาสนาและสุภาพอ่อนโยน เป็นหมู่บ้านที่ตั้งศูนย์พัฒนาชาวเขา ราษฎรจึงได้รับการพัฒนาให้สามารถทำผ้าจากขนแกะ การปลูกไม้ผลเมืองหนาวอื่นๆ จึงเป็นหมู่บ้านตัวอย่างของชาวเขาทั่วไปได้เป็นอย่างดี

บ้านกะเหรี่ยงแม่สะกั๊วะ
อยู่ในเขตตำบลท่าผาปุ้ม ห่างจากอำเภอประมาณ 13 กิโลเมตร ใช้เส้นทางสาย 1266 เป็นทางขึ้นเขา บ้านเรือนแถบเชิงเขาดูแปลกตา ในฤดูแล้งจะมองเห็นภาพดอกไม้ป่า ใบไม้เป็นสีส้มสวยงามมาก มีแหล่งน้ำตกใกล้หมู่บ้าน ใช้เป็นที่พักผ่อนได้เป็นอย่างดี ราษฎรหมู่บ้านนี้ยังคงมีวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม

ถ้ำแม่ฮุ
อยู่เขตบ้านป่าหมาก ตำบลแม่ลาน้อย ห่างจากอำเภอไปทางทิศตะวันออกประมาณ 7 กิโลเมตร โดยมีทางแยกจากทางหลวงหมายเลข 108 ไปตามทางเข้าเหมืองขุดแร่ ถ้ำนี้ลึกประมาณ 15 เมตร ภายในประกอบด้วยหินงอกหินย้อยที่สวยงาม ผู้ที่จะเข้าชมถ้ำต้องนำไฟฉายไปเอง


จังหวัดแม่ฮ่องสอน :: สถานที่ท่องเที่ยว อำเภอสบเมย

แม่สามแลบ
แม่สามแลบเป็นชื่อของหมู่บ้าน ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสาละวิน หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าแม่น้ำคง อยู่ในเขตตำบลสบเมย ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 62 กิโลเมตร ตามเส้นทางหมายเลข 1194 เป็นแหล่งที่นักท่องเที่ยวนิยมไปล่องเรือตามลำน้ำสาละวิน ซึ่งมีลักษณะเป็นหุบเขาสูงชัน ฝั่งตรงกันข้ามเป็นเขตสหภาพพม่า บางช่วงมีหาดทรายขาวสะอาด ช่วงที่นิยมล่องคือช่วงแม่สามแลบถึงสบเมย ซึ่งเป็นจุดที่แม่น้ำเมยไหลมาบรรจบกับแม่น้ำสาละวิน และช่วงแม่สามแลบถึงอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

หมู่บ้านสวยงามบ้านแม่ลามาหลวง
อยู่เขตตำบลสบเมย เป็นหมู่บ้านชาวเขาที่ตั้งอยู่กลางหุบเขาซึ่งราษฎรอยู่ร่วมกันอย่างสงบ ระยะทางจากที่ตั้งอำเภอสบเมยถึงหมู่บ้านประมาณ 32 กิโลเมตร เป็นทางรถยนต์ 27 กิโลเมตร และเดินเท้าประมาณ 5 กิโลเมตร

ล่องแก่งแม่เงา
บ้านแม่เงา ตำบลแม่สวด เป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำที่เหมาะสำหรับการล่องแพเพื่อผจญภัยอย่างแท้จริง สภาพสองฝั่งยังคงเป็นธรรมชาติที่คงสภาพดีเยี่ยม นอกจากนี้ยังเหมาะแก่นักท่องเที่ยวที่ชอบกีฬาตกปลาด้วย ระยะทางจากตัวอำเภอทั้งทางรถยนต์รวมกับทางน้ำถึงบ้านสบเมย-อุมโล๊ะ ประมาณ 35 กิโลเมตร

น้ำตกแม่ริด
อยู่ในเขตหมู่ที่ 1 ตำบลกองก๋อย เป็นน้ำตกขนาดกลางที่ยังคงสภาพธรรมชาติไว้ครบถ้วน มีความสวยงามพอสมควร และมีน้ำไหลตลอดปี ระยะทางประมาณ 58 กิโลเมตร โดยทางรถยนต์ และเดินเท้าประมาณ 3 กิโลเมตร


แม่ฮ่องสอน แม่ฮ่องสอน แม่ฮ่องสอน แม่ฮ่องสอน แม่ฮ่องสอน แม่ฮ่องสอน แม่ฮ่องสอน แม่ฮ่องสอ


:: อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง ::

:: ข้อมูลทั่วไป ::
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอแม่แตง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีสภาพป่าและธรรมชาติที่สมบูรณ์ ภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามและจุดชมวิวที่สามารถชมบรรยากาศอันร่มรื่น โดยเฉพาะบริเวณห้วยน้ำดัง ที่มีชื่อว่าทะเลหมอกที่งดงามยิ่ง มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศไทย อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังมียอดดอยที่มีธรรมชาติงดงามอีกหลายแห่ง เช่น ดอยช้าง ดอยสามหมื่น รวมทั้งมีโป่งเดือดซึ่งเป็นน้ำพุร้อนธรรมชาติ ส่วนการล่องแพในลำน้ำแม่แต่งก็เป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 782,575 ไร่ หรือ 1,252.12 ตารางกิโลเมตร

ตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) ประจำกรมป่าไม้ ครั้งที่ 9/2530 เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2530 ให้กองอนุรักษ์ต้นน้ำ และกองอุทยานแห่งชาติประสานงานกัน จัดส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจพื้นที่บริเวณหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 2 (ห้วยน้ำดัง) จังหวัดเชียงใหม่บางส่วน เพื่อพิจารณาจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติตามข้อเสนอแนะของกองอนุรักษ์ต้นน้ำ กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713/ ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2530 กรมป่าไม้ให้ นายณรงค์ เจริญไชย เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 ไปทำการสำรวจพื้นที่ร่วมกับหัวหน้าหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 2 (ห้วยน้ำดัง) หัวหน้าหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 4 (แม่แจ่มหลวง) และหัวหน้าหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 9 (ห้วยน้ำรู) ซึ่งได้รายงานผลการสำรวจตามหนังสือ ที่ กษ 0713(ทป)/86 ลงวันที่ 3 เมษายน 2531 แต่เนื่องจากยังขาดรายละเอียดต่างๆ และขอบเขตพื้นที่ที่เหมาะสมในการกำหนดเขตอุทยานแห่งชาติ ประกอบกับวนอุทยานโป่งเดือด จังหวัดเชียงใหม่ มีหนังสือ ที่ กษ 0713(ปด)/10 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2531 แจ้งว่า เนื้อที่ใกล้เคียงวนอุทยานมีความเหมาะสมที่จะรวมกับพื้นที่หน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 2 (ห้วยน้ำดัง) จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ

กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713/950 ลงวันที่ 16 สิงหาคม 2531 เสนอกรมป่าไม้ให้ นายสวัสดิ์ ทวีรัตน์ เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 หัวหน้าวนอุทยานโป่งเดือดไปสำรวจเบื้องต้นบริเวณดังกล่าว ได้รับรายงานผลการสำรวจตามหนังสือ ที่ กษ 0713(ปด)/74 ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2531 ว่า ได้ทำการสำรวจร่วมกับ นายณรงค์ เจริญไชย เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 พื้นที่บริเวณดังกล่าวมีสภาพป่าธรรมชาติที่สมบูรณ์ ภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามเหมาะสมจะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ

กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713/206 ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2532 เสนอกรมป่าไม้ขอความเห็นชอบ เพื่อนำเรื่องการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ เพื่อให้ความเห็นชอบกำหนดบริเวณพื้นที่หน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 2 (ห้วยน้ำดัง) หน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 4 (แม่จอกหลวง) หน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 9 (ห้วยน้ำรู) บางส่วน และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ปายฝั่งซ้ายตอนบน ในป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แตงในท้องที่ตำบลกี๊ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และ ตำบลแม่อี้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีเนื้อที่ประมาณ 1,252.12 ตารางกิโลเมตร หรือ 782,575 ไร่ เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ต่อไป

ต่อมาได้มีวิทยุกองอุทยานแห่งชาติที่ กษ 0712 ทับ 97 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2534 ให้อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง ประสานงานกับหัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแม่เลา-แม่แสะ และให้สำรวจพื้นที่บางส่วนของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแม่เลา-แม่แสะ และพื้นที่วนอุทยานโป่งเดือด ในท้องที่ตำบลเมืองคอน อำเภอเชียงดาว และตำบลป่าแป๋ ตำบลเมืองกาย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติเพิ่มเติมประมาณ 118,906.25 ไร่ หรือ 190.25 ตารางกิโลเมตร เนื่องจากพบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีศักยภาพสูงมาก มีจุดเด่นที่สวยงาม เช่น โป่งเดือด น้ำตก ลุ่มน้ำแม่แตง รวมทั้งความหลากหลายของพืชพรรณ และสัตว์ป่าที่ชุกชม มีความเหมาะสมอย่างยิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติโดยด่วน

อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังได้ประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเชียงดาว และป่าแม่แตงในท้องที่ตำบลเปียงหลวง ตำบลเมืองแหง อำเภอเวียงแหง ตำบลกืดช้าง ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และป่าแม่ปายฝั่งซ้ายตอนบนในท้องที่ตำบลเวียงเหนือ ตำบลแม่ฮี้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 112 ตอนที่ 33ก ลงวันที่ 14 สิงหาคม 2538 มีเนื้อที่ประมาณ 782,575 ไร่ หรือ 1,252.12 ตารางกิโลเมตร นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 80 ของประเทศ

:: ลักษณะภูมิประเทศ ::
สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาและหุบเขาสลับกัน เป็นแนวยาวขนานกันในแนวเหนือ-ใต้ของเทือกเขาแดนลาว เทือกเขาถนนธงชัย และเทือกเขาผีปันน้ำ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางธรณีที่มีการแทรกดันของหินหนืด และแรงบีบอัดในแนวตะวันออก-ตะวันตก ทำให้พื้นผิวโก่งงอกลายเป็นภูเขาและเทือกเขา และมีหุบเขาที่เกิดจากรอยเลื่อนที่ทรุดต่ำลง รวมทั้งได้มีการสึกกร่อนที่เกิดจากกระบวนการทางฟิสิกส์และทางเคมี ตลอดจนการทับถมของตะกอนน้ำพาทำให้เกิดเป็นที่ราบแคบๆ ระหว่างภูเขาทั้งสองฝั่งของลำน้ำ มีความสูงตั้งแต่ 400-1,962 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีภูเขาที่สูงที่สุดคือ ดอยช้าง เป็นป่าต้นน้ำลำธารของลำน้ำสายสำคัญ คือ แม่น้ำแตงและแม่น้ำปาย จัดอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำตั้งแต่ชั้น A ถึงชั้น 1A มีลำห้วยน้อยใหญ่มากมาย ได้แก่ ห้วยเหี้ยะ ห้วยแม่ยะ ห้วยฮ่อม ห้วยน้ำดัง ห้วยแม่สลาหลวง ห้วยโป่ง น้ำงุม ห้วยแม่แพลม ห้วยงู ห้วยแม่เย็นหลวง ห้วยน้อย ห้วยฮ่อม ห้วยหก ห้วยแม่ฮี้ ห้วยขาน ห้วยแม่ปิง ห้วยแม่จอกหลวง เป็นต้น


:: ลักษณะภูมิอากาศ ::
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังมีภูมิอากาศประเภททุ่งหญ้าสะวันนา ซึ่งมีฤดูฝนและฤดูแล้งเห็นเด่นชัด สามารถแบ่งฤดูกาลออกได้เป็น ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดในเดือนเมษายน 36 องศาเซลเซียส ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ปริมาณฝนเฉลี่ยตลอดปี 1,134 มิลลิเมตร และฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดในเดือนมกราคม 14.1 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 26 องศาเซลเซียส


:: พรรณไม้และสัตว์ป่า ::
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังสภาพทางธรรมชาติยังคงความอุดมสมบูรณ์ จึงทำให้เกิดสังคมพืชหลากหลายชนิด ประกอบด้วย

ป่าดิบชื้น ขึ้นปกคลุมสองฝั่งของลำน้ำในพื้นที่ที่มีความสูง 500-800 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ เติม อวบดำ หว้า งิ้วป่า ปอตูบหูช้าง ผ่าเสี้ยน มันปลา เปล้าใหญ่ ฯลฯ ไม้พุ่มและพืชพื้นล่างได้แก่ เอื้องหมายนา มันดง ม้าสามต๋อน เฒ่าหลังลาย หญ้าถอดบ้อง ตองกง เครือออน กลอย สายหยุด หัสคุณ ออสมันด้า และ เล็บเหยี่ยว เป็นต้น

ป่าดิบเขา พบในพื้นที่ทีเป็นหุบเขาและพื้นที่ลาดชันที่สภาพอากาศมีความชื้นค่อนข้างสูงตลอดปี ในระดับความสูง 1,650-1,900 เมตรจากระดับน้ำทะเล ชนิดไม้ที่สำคัญได้แก่ ก่อกระดุม ก่อแดง สนสามใบ เม็ดชุนตัวผู้ ช้าส้าน มะมือ ก่วม เต้าหลวง จำปีหลวง มณฑาป่า เหมือดดง เดื่อปล้องหิน ตะไคร้ต้น สารภีป่า กำลังเสือโคร่ง กะทัง ฯลฯ ไม้พุ่มและพืชพื้นล่าง ได้แก่ กล้วย ต่างไก่ป่า พลูช้าง พญาดง หญ้าคมบาง ตองกง พริกไทย ดาดตะกั่ว และกาหลา เป็นต้น

ป่าเบญจพรรณ พบกระจายตัวเป็นพื้นที่กว้างที่ระดับความสูงต่ำกว่า 900 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ กาสามปีก กุ๊ก แคหัวหมู แดง ตะคร้ำ ประดู่ มะเกลือ มะกอก ตังหน ชิงชัน โมก ฯลฯ ไม้พุ่มและพืชพื้นล่างได้แก่ คนทา คัดเค้าเครือ เฒ่าหลังลาย เต่าร้าง ผักแว่น สะบ้าลิง สาบเสือ บุก ลิเภา ชายผ้าสีดา เกล็ดปลา หญ้าขัด และพ่อค้าตีเมีย เป็นต้น ป่าเต็งรัง พบโดยทั่วไปในพื้นที่ที่ระดับความสูงต่ำกว่า 800 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ชนิดไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง เหียง พลวง รัง รกฟ้า พะยอม ตีนนก ติ้วขน สมอไทย ส้านใหญ่ มะขามป้อม ยอป่า แสลงใจ เค็ด ฯลฯ ไม้พุ่มและไม้พื้นล่าง ได้แก่ กะตังใบ โสมชบา กระมอบ หนาดคำ ตาฉี่เคย ข้าวสารป่า และยาบขี่ไก่ เป็นต้น

ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของสภาพป่า จึงชุกชุมไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด ได้แก่ ช้างป่า กวางป่า หมีควาย เก้ง กระจงเล็ก เลียงผา หมูป่า แมวดาว ชะมดเช็ด ลิงวอก ชะนีมือขาว พังพอน เม่นใหญ่ ไก่ป่า ไก่ฟ้าสีเงิน นกเขาเปล้า นกขุนทอง นกขมิ้นท้ายทอยดำ นกปรอดคอลาย เหยี่ยวต่างสี กะท่าง เต่าปูลู เต่าใบไม้ ก้งก่าแก้ว แย้ ตะกวด งูเหลือม งูเขียวดอกหมาก งูเห่า กบทูด ปาด เขียดป่าไผ่ และอึ่งลาย เป็นต้น ในบริเวณแม่น้ำและลำห้วยต่างๆ พบปลาจาด ปลามอน ปลาเลียหิน ปลาเวียน ปลาค้อ ปลาค้างคาว ปลาติดหิน และปลาก้าง เป็นต้น

:: ที่ตั้งและการเดินทาง ::
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
หมู่ 5 ต.กึ๊ดช้าง อ. แม่แตง จ. เชียงใหม่ 50150
โทรศัพท์ : 0 5324 8491, 0 5326 3910 โทรสาร : 0 5324 8491

รถยนต์
โดยเดินทางจากอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 107 และเข้าทางแยกซ้ายมือที่ตลาดแม่มาลัย อำเภอแม่แตง ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 1095 สายแม่-มาลัยปาย จนถึงช่วงหลักกิโลเมตรที่ 65 - 66 มีทางแยกขวามือ ซึ่งมีป้อมยามตั้งอยู่ทางเข้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร เดินทางต่อไปอีก ระยะประมาณ 3 กิโลเมตร ก็จะถึงจุดชมดอยกิ่วลม

ถ้าเดินทางต่อไปอีกตามเส้นทางหลวงหมายเลข 1095 จากหลักกิโลเมตรที่ 66 ไปยังอำเภอแม่ปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ถึงบ้านแม่ปิง จะมีทางแยกขวามือเป็นทางของ รพช. หมายเลข มส. 11024 ถึงโป่งร้อน อันเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกจุดหนึ่ง

:: แหล่งท่องเที่ยว ::
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง มีกิจกรรมสำหรับนักท่องเที่ยวได้ศึกษาหาความรู้หลายรูปแบบ เช่น การเดินป่าระยะไกล การเดินศึกษาธรรมชาติ และการขี่จักรยานศึกษาธรรมชาติ

การเดินป่าระยะไกล เป็นกิจกรรมเดินป่าที่จะได้สัมผัสธรรมชาติอย่างใกล้ชิด ด้วยเส้นทางเดินเท้าที่ตัดผ่านป่าที่มีทัศนียภาพที่สวยงามตามธรรมชาติ มีโอกาสที่จะได้เรียนรู้วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมของชาวเขาในเส้นทางที่ผ่าน ทางอุทยานแห่งชาติจัดให้มีกิจกรรมการเดินป่า 8 เส้นทาง ใช้เวลาในการพักแรม 1 คืน ได้แก่ เส้นทางโป่งเดือด-บ้านสบก๋าย มี 3 เส้นทาง เส้นทางบ้านแม่แสะ-บ้านสบก๋าย มี 2 เส้นทาง เส้นทางถนนทางเข้าอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง กิโลเมตรที่ 5 - บ้านสบก๋าย เส้นทางปากทางแม่จอก-บ้านสบก๋าย และเส้นทางดอยช้าง-บ้านสบก๋าย รวมทั้งในบางช่วงของการเดินทางเป็น การขี่ช้างศึกษาธรรมชาติ และ การล่องแพ ที่ได้สัมผัสเกาะแก่งที่สวยงาม ตื่นเต้น และเร้าใจ

การเดินศึกษาธรรมชาติ เป็นการเดินศึกษาธรรมชาติ ตามเส้นทางที่อุทยานแห่งชาติจัดทำไว้ ใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง เป็นการเข้าไปสัมผัสธรรมชาติอย่างใกล้ชิด พร้อมกับได้รับความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติโดยผ่าโปรแกรมสื่อความหมายธรรมชาติในรูปแบบต่างๆ

การขี่จักรยานศึกษาธรรมชาติ เป็นขี่จักรยานไปตามเส้นทางที่ทอดลัดเลาะไปในพื้นที่ป่าที่สมบูรณ์ไปด้วยพรรณไม้นานาชนิดทั้งสองฟากทาง ผ่านจุดที่น่าสนใจและโดดเด่นทางธรรมชาติ จุดที่ตื่นเต้นและท้าทาย ภายใต้บรรยากาศที่หนาวเย็น

หากนักท่องเที่ยวมีความสนใจกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ ขอให้ติดต่อสอบถามรายละเอียดจากเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติโดยตรง และนอกจากกิจกรรมแล้ว อุทยานแห่งชาติยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ดังนี้

:: ด้านธรรมชาติที่สวยงาม ::
จุดชมวิวดอยกิ่วลม เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติส่วนกลาง (เอื้องเงิน) เป็นจุดชมทิวทัศน์ที่สวยงามมากที่สุดและมีชื่อเสียงมากในด้านการท่องเที่ยวที่จะชมทะเลหมอกในช่วงเช้าตรู่ และเป็นที่รู้จักของชาวไทยและชาวต่างประเทศ เพื่อคอยชมพระอาทิตย์ขึ้น และทะเลหมอก อันกว้างใหญ่ไพศาลในช่วงฤดูหนาว ในยามท้องฟ้าเปิด และแจ่มใส จะมีทัศนียภาพที่สวยงาม และหลากจินตนาการ ของทิวเขาที่สลับซับซ้อน ของยอดดอยเชียงดาว ที่มีความสูงประมาณ 2,175 เมตรจากระดับน้ำทะเล

สภาพธรรมชาติอันสวยงามของจุดชมทิวทัศน์นี้ เมื่อยืนอยู่ที่บ้านพักของห้วยน้ำดังแล้วมองไปทางทิศตะวันออก ทำให้มองเห็นสภาพธรรมชาติที่สวยงาม ทิวทัศน์ของทิวเขาอันสลับซับซ้อนซึ่งมีดอยหลวงเชียงดาว ที่สูงที่สุดอยู่ใจกลาง และในช่วงเช้าตรู่ของฤดูหนาวจะเกิดทัศนียภาพของทะเลหมอกที่สวยงาม ทางเข้าแยกจากถนนสายแม่มาลัย-ปาย หลักกิโลเมตรที่ 65-66 เป็นทางเข้าไปอีกประมาณ 6 กิโลเมตร นอกจากนี้ บริเวณดอยกิ่วลมยังเป็นที่ตั้งของพระตำหนักเอื้องเงิน ซึ่งเป็นอาคารทรงชาเลย์ที่กรมป่าไม้สร้างถวายสมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนาฯ ภายในบริเวณโดยรอบพระตำหนักมีการออกแบบภูมิทัศน์ที่ประกอบด้วยพืชประจำถิ่น เช่น กล้วยไม้ “เอื้องเงินหลวง” ที่ออกดอกสะพรั่งในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม

จุดชมวิวดอยช้าง อยู่บนดอยช้างขึ้นไปทางเหนือของห้วยน้ำดัง ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 20 กิโลเมตร มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,962 เมตร สามารถมองเห็นทะเลหมอกในตอนเช้าตรู่ได้ชัดเจน และสภาพธรรมชาติของทิวเขาอันสลับซับซ้อนของดอยสามหมื่นและดอยสันห้วยรูทางทิศเหนือ ดอยหลวงเชียงดาวและดอยขุนแม่แมะทางทิศตะวันออก ดอยแม่ยะและดอยม่อนอังเกตุทางทิศใต้ ดอยแม่ยานและเมืองปายทางทิศตะวันตก ดอยช้างปกคลุมด้วยป่าดิบเขาอันอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาศัยของนกบนที่สูงนานาชนิด เช่น นกเดินดง นกจับแมลง นกเขน นกปรอด ฯลฯ


น้ำตกห้วยน้ำดัง เป็นน้ำตกที่เกิดจากลำห้วยน้ำดัง มีโขดหินมากมาย ความสูงประมาณ 50 เมตร กว้าง 10 เมตร มี 4 ชั้น เป็นน้ำตกที่สวยงามมาก และสภาพโดยทั่วๆ ไปชุ่มชื้นไปด้วยพันธุ์ไม้ป่าดิบชื้นและโขดหินที่สวยงาม ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่บ้านห้วยน้ำดัง


น้ำตกแม่เย็น เป็นน้ำตกที่เกิดจากลำห้วยแม่เย็นหลวง ซึ่งจะไหลลงมาสู่แม่น้ำปายต่อไป สภาพน้ำตกเป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่มี 2 ชั้น ความสูงประมาณ 40 เมตร มีน้ำไหลตลอดปี จัดเป็นน้ำตกที่มีความสวยงามมาก พื้นที่โดยรอบปกคลุมด้วยป่าดิบชื้นและโขดหินสวยงาม


น้ำตกแม่ลาด ความสูงประมาณ 40-50 เมตร มี 5 ชั้น ตั้งอยู่ในตำบลเมืองแหง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่โดยรอบปกคลุมด้วยป่าดิบชื้นและโขดหินสวยงาม


น้ำตกแม่หาด เป็นน้ำตกที่มีความสูงประมาณ 40-50 เมตร มี 4 ชั้น ตั้งอยู่ในตำบลเมืองแหง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่โดยรอบปกคลุมด้วยป่าดิบชื้น


พระตำหนักเอื้องเงิน เป็นอาคารทรงชาเลย์ที่กรมป่าไม้ได้สร้างถวายสมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ และทรงพระราชทานนามว่า "พระตำหนักเอื้องเงิน" ใช้เป็นที่ประทับของพระองค์ ตั้งอยู่บริเวณดอยกิ่วลมที่มีทัศนียภาพโดยรอบสวยงาม ภายในบริเวณโดยรอบพระตำหนักมีการออกแบบภูมิทัศน์ที่ประกอบด้วยพันธุ์พืชประจำถิ่นกล้วยไม้ "เอื้องเงินหลวง" ที่ออกดอกสะพรั่งในช่วงเดือนมกราคม ตกแต่งด้วยไม้ดอกไม้ประดับที่เป็นพืชเมืองหนาวที่หลากหลายพันธุ์และหลากสีสัน


ห้วยน้ำรูและดอยสามหมื่น อยู่ห่างจากดอยช้างประมาณ 10 กิโลเมตร ห้วยน้ำรูมีลักษณะเป็นตาน้ำเล็กๆ ที่สร้างความชุ่มชื้นให้แก่ผืนป่าของดอยสามหมื่น และเป็นต้นน้ำของลำน้ำแม่แตงที่ไหลลงสู่ลำน้ำแม่ปิง ส่วนดอยสามหมื่นเป็นที่ตั้งของหน่วยจัดการต้นน้ำ ซึ่งมีจุดชมทิวทัศน์อยู่บนยอดดอย วันที่มีอากาศแจ่มใสสามารถมองเห็นดอยหลวงเชียงดาวสูงตระหง่านเด่นชัด


น้ำตกแม่ปิง ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของลำน้ำแม่ปิงน้อย เป็นน้ำตกที่มี 4 ชั้น ความสูงประมาณ 50 เมตร พื้นที่โดยรอบปกคลุมด้วยป่าดิบชื้น


เส้นทางศึกษาธรรมชาติ อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง ได้จัดเตรียมทางเดินศึกษาธรรมชาติ เพื่อให้ผู้มาเยือน ได้เข้าไปสัมผัสธรรมชาติอย่างใกล้ชิด พร้อมกับได้รับความรู้ เกี่ยวกับธรรมชาติ โดยผ่านโปรแกรมสื่อความหมายธรรมชาติ ในรูปแบบต่างๆ ประกอบด้วยเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ดังนี้

- เส้นทางศึกษาธรรมชาติเอื้องเงิน มีความยาวประมาณ 1,470 เมตร ความลาดชันปานกลาง ใช้เวลาในการศึกษาธรรมชาติประมาณ 1 ชั่วโมง มีจุดศึกษาธรรมชาติ 13 จุด

- เส้นทางศึกษาธรรมชาติห้วยน้ำดัง มีความยาวประมาณ 1,470 เมตร ความลาดชันปานกลาง ใช้เวลาในการศึกษาธรรมชาติประมาณ 1 ชั่วโมง มีจุดศึกษาธรรมชาติ 13 จุด

- เส้นทางศึกษาธรรมชาติโป่งเดือด มีความยาวประมาณ 1,550 เมตร ความลาดชันปานกลาง ใช้เวลาในการศึกษาธรรมชาติประมาณ 1 ชั่วโมง มีจุดศึกษาธรรมชาติ 11 จุด

- เส้นทางศึกษาธรรมชาติโป่งน้ำร้อน มีความลาดชันปานกลาง ใช้เวลาในการศึกษาธรรมชาติประมาณ 1 ชั่วโมง มีจุดศึกษาธรรมชาติ 17 จุด

:: ด้านท่องเที่ยวผจญภัย ::
ล่องแพลำน้ำแม่แตง สองฝั่งของลำน้ำแม่แตงยังคงอุดมสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ไม้และนกนานาชนิด จัดว่าเป็นสายน้ำที่มีบรรยากาศของการท่องเที่ยวที่ตื่นเต้นเร้าใจ เต็มไปด้วยเกาะแก่งและโขดหิน ลำน้ำไหลคดเคี้ยวไปตามหุบเขาด้วยกระแสน้ำที่ไม่เชี่ยวจนเกินไป การเดินทางเริ่มต้นที่น้ำพุร้อนโป่งเดือด โดยเดินป่าไปพักค้างแรมที่บ้านปางป่าคา (7 กิโลเมตร) หรือบ้านป่าข้าวหลาม (9 กิโลเมตร) จากนั้นจึงลงแพล่องลำน้ำแม่แตง ใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง จะถึงบ้านสบก๋ายซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของการล่องแพ ช่วงเวลาที่เหมาะสมอยู่ในช่วงปลายฤดูฝนจนถึงฤดูหนาว


ลำน้ำแม่ปาย เป็นลำน้ำสายสำคัญอีกสายหนึ่งที่มีต้นกำเนิดในพื้นที่ตอนเหนือของอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง ที่มีน้ำไหลตลอดปีในสายน้ำที่คดเคี้ยว สองฝั่งลำน้ำส่วนใหญ่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ของสภาพธรรมชาติ ของพรรณไม้นานาชนิด และสัตว์ป่าจำพวกนก ในบางช่วงของลำน้ำมีการตั้งถิ่นฐานของชาวเขาเผ่าต่างๆ ที่ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมดั้งเดิมทั้งการแต่งกายและภาษาพูด


:: ด้านท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ::
โป่งน้ำร้อนท่าปาย เป็นบ่อน้ำร้อนที่เปรียบเสมือนน้ำกำลังเดือดขึ้นเป็นพรายฟอง อุณหภูมิน้ำผิวดินประมาณ 80 องศาเซสเซียล น้ำร้อนจะไหลรวมกันเป็นธารน้ำร้อนขยายเป็นบริเวณกว้าง มีหมอกควันปกคลุมพื้นที่ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 30 กิโลเมตร ตั้งอยู่ในตำบลแม่ฮี้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน


โป่งน้ำร้อนโป่งเดือด โป่งน้ำร้อนโป่งเดือด น้ำพุร้อนขนาดใหญ่ สูง 2-3 เมตร จำนวน 3-4 บ่อ และยังมีบ่อเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วไป อุณหภูมิน้ำผิวดินประมาณ 90-99 องศาเซสเซียล น้ำพุร้อนจะพุ่งจากใต้ดินตลอดเวลา บางครั้งพุ่งสูงถึง 2 เมตร มีกลิ่นกำมะถันอ่อนๆ บริเวณนี้ยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติโป่งเดือด ระยะทาง 1,550 เมตร บริการอาบน้ำแร่เพื่อสุขภาพ และโป่งเดือดยังเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินป่าศึกษาธรรมชาติระยะไกล ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างยิ่ง นอกจากนี้ บริเวณโป่งเดือดยังมีศุนย์บริการนักท่องเที่ยว สะพานทางเดินศึกษาธรรมชาติ ห้องอาบน้ำแร่ ร้านอาหาร บ้านพักนักท่องเที่ยวและสถานที่กางเต็นท์ ไว้ให้บริการด้วย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติ่ม โทร 0 5322 9636


:: สิ่งอำนวยความสะดวก ::
ห้องสุขาชาย มีห้องสุขาชายไว้บริการ
ห้องสุขาหญิง มีห้องสุขาหญิงไว้บริการ
ที่พักแรม/บ้านพัก มีบ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว
สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง
ที่จอดรถ มีลานจอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว

บริการอาหาร มีร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยว

ร้านขายเครื่องดื่ม/ร้านกาแฟ มีร้านขายเครื่องดื่ม / กาแฟ ไว้บริการนักท่องเที่ยว

ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.


จังหวัดแม่ฮ่องสอน :: การเดินทาง

ทางรถยนต์

แม่ฮ่องสอนในอดีตเคยเป็นเมืองที่เร้นลับและแสนทุรกันดารในสายตาของนักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไป เนื่องจากเดิมนั้นการเดินทางเข้าสู่จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีถนนเพียงสายเดียว คือ ทางหลวงหมายเลข 108 ซึ่งตัดจากจังหวัดเชียงใหม่ผ่านอำเภอหางดง อำเภอสันป่าตอง อำเภอจอมทอง อำเภอฮอด อำเภอแม่สะเรียง อำเภอแม่ลาน้อย และอำเภอขุนยวม มาถึงอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน รวมระยะทางประมาณ 349 กิโลเมตร เส้นทางสายนี้เป็นทางตัดขึ้นเขาสูง มีความสวยงามและมีความคดโค้งนับได้มากถึง 1,864 โค้ง

ในปัจจุบันมีถนนจากจังหวัดเชียงใหม่ถึงแม่ฮ่องสอนเพิ่มขึ้นอีกสายหนึ่ง คือทางหลวงหมายเลข 1095 หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่าเส้นทางสายแม่มาลัย-ปาย ตัดจากอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ถึงอำเภอปายจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้กว่าร้อยกิโลเมตร เหลือระยะทางเพียง 245 กิโลเมตร

นอกจากนี้ เส้นทางนี้ยังเป็นเส้นทางผ่านไปยังสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ด้วย อาทิ ห้วยน้ำดัง และถ้ำต่างๆ ปัจจุบันเป็นถนนราดยางอย่างดีตลอดสาย และหากนักท่องเที่ยวสนใจเดินทางจากจังหวัดตากไปยังจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยไม่แวะเข้าจังหวัดเชียงใหม่ก็สามารถเดินทางได้ตามทางหลวงหมายเลข 105 ผ่านอำเภอแม่สอด-แม่ระมาด-ท่าสองยาง ถึงอำเภอแม่สะเรียง มีระยะทางประมาณ 300 กิโลเมตร เป็นทางราดยาง


รถโดยสารประจำทาง

จากกรุงเทพฯ มีบริการรถโดยสารไปแม่อ่องสอนดังนี้

รถโดยสารธรรมดา บริษัท ถาวรฟาร์ม มีรถบริการทุกวัน โดยจะออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 วันละ 1 เที่ยว คือ 19.00 น. อัตราค่าโดยสาร 245 บาท รายละเอียดติดต่อ โทร. 936-3660, 936-3666

รถปรับอากาศ มีรถเอกชนวิ่งบริการ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 17 ชั่วโมง มีรถออกจากสถานีขนส่งสายเหนือทุกวัน เวลา 18.00 น. อัตราค่าโดยสาร 442 บาท รถวี.ไอ.พี. 502 บาท รายละเอียดติดต่อ บริษัท เมืองเหนือยานยนต์ทัวร์ หรือสำนักงาน แม่ฮ่องสอน โทร. (053) 611514

จากเชียงใหม่ มีรถโดยสารประจำทางทั้งธรรมดาและปรับอากาศ วิ่งบริการ 2 เส้นทางคือ
สายเชียงใหม่-แม่สะเรียง-แม่ฮ่องสอน
(ทางหลวงหมายเลข 108) มีบริการวันละหลายเที่ยว ตั้งแต่เวลา 06.30-21.00 น. ใช้เวลาเดินทางถึงอำเภอแม่สะเรียง 4 ชั่วโมง ถึงแม่ฮ่องสอน 8 ชั่วโมง

สายเชียงใหม่-ปาย-แม่ฮ่องสอน
(ทางหลวงหมายเลข 107 และ 1095) มีบริการวันละหลายเที่ยว ตั้งแต่เวลา 07.00-12.30 น. ใช้เวลาในการเดินทาง ประมาณ 6 ชั่วโมง

รายละเอียดติดต่อ บริษัทเปรมประชาขนส่ง จำกัด โทร. (053) 244737, 242767


เครื่องบิน

บริษัท การบินไทย จำกัด มีบริการเที่ยวบินระหว่างกรุงเทพฯ - เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน ทุกวัน รายละเอียดติดต่อ โทร. 280-0070-90,628-2000
สำนักงานเชียงใหม่ โทร. (053) 210043-5, 211044-7
สำนักงานแม่ฮ่องสอน โทร. (053) 611297, 611194

ระยะทางจากอำเภอเมืองไปอำเภอต่างๆ

กิ่งอำเภอปางมะผ้า 64 กิโลเมตร
อำเภอขุนยวม 67 กิโลเมตร
อำเภอปาย 111 กิโลเมตร
อำเภอแม่สะเรียง 164 กิโลเมตร
อำเภอสบเมย 192 กิโลเมตร
อำเภอแม่ลาน้อย 134 กิโลเมตร

แม่ฮ่องสอน แม่ฮ่องสอน แม่ฮ่องสอน แม่ฮ่องสอน แม่ฮ่องสอน


จังหวัดแม่ฮ่องสอน :: สถานที่ท่องเที่ยว อำเภอปาย

วัดกลาง
อยู่ในตำบลเวียงใต้ ภายในวัดมีพระเจดีย์องค์ใหญ่ ศิลปะไทยใหญ่แท้ ประดิษฐานอยู่กลางลานวัด มีเจดีย์ทรงมอญรายล้อมโดยรอบ ใต้เจดีย์ทำเป็นซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปประจำวัน เหนือฐานเจดีย์องค์ใหญ่ ทำเป็นมณฑปยอดมงกุฎ

วัดน้ำฮู
อยู่ที่หมู่ที่ 5 ตำบลเวียงใต้ ห่างจากตัวอำเภอไปทางทิศตะวันตกประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นที่ประดิษฐานของเจ้าพ่ออุ่นเมือง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ทำด้วยโลหะทองสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง 28 นิ้ว สูง 30 นิ้ว พระพุทธรูปองค์นี้พระเศียรกลวง ส่วนบนเปิดปิดได้และมีน้ำขังอยู่ เป็นพระพุทธรูปสิงห์สาม อายุประมาณ 500 ปี เมื่อ พ.ศ. 2515 มีพระธุดงค์จากอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ มานมัสการและสงสัยว่าข้างในพระจะมีน้ำ จึงเปิดดูพบว่ามีน้ำจริงๆ ข่าวนี้แพร่ออกไปก็มีผู้คนหลังไหลมาขอน้ำไปสักการะ พอน้ำในพระเศียรหมดก็จะมีไหลออกมาอีกในลักษณะซึมออกมาตลอดเวลา

น้ำตกหมอแปง
อยู่หมู่ที่ 4 บ้านหมอแปง ตำบลแม่นาเติง เดินทางโดยรถยนต์ได้สะดวก และมีชาวเขาเผ่ามูเซอแดงอาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง บริเวณรอบน้ำตกมีป่ายางร่มรื่น อยู่ห่างจากตัวอำเภอปาย ประมาณ 8-9 กิโลเมตร (สายปาย-แม่ฮ่องสอน) ใกล้กับน้ำตกหมอแปง เป็นน้ำตกม่วงสร้อย แต่ทางเข้ายังไม่สะดวก

กองแลน
อยู่ในเขตบ้านร้องแหย่ง ห่างจากอำเภอประมาณ 7 กิโลเมตร สามารถเดินทางได้โดยทางหลวงสาย 1095 (ปาย-แม่มาลัย) บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 88 อยู่ทางด้านขวามือ และต้องเดินเข้าไปอีกประมาณ 200 เมตร ลักษณะเป็นผืนดินที่ถูกกัดเซาะเป็นร่องลึกคล้ายหน้าผาติดต่อกันเป็นบริเวณกว้างประมาณ 5 ไร่เศษ (คล้ายกับแพะเมืองผีของจังหวัดแพร่) สามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้ทุกฤดูกาล

โป่งน้ำร้อนเมืองแปง
อยู่ในเขตบ้านเมืองแปง ตำบลเมืองแปง เป็นบ่อน้ำพุร้อนขนาดใหญ่ ห่างจากอำเภอปายประมาณ 28 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1095 (ปาย-แม่มาลัย) และแยกเข้าสาย 1265 ด้านขวามือตรงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 85-86 ใกล้กับหน่วยพิทักษ์และรักษาป่าแม่ปิง เป็นทางลูกรัง อุณหภูมิของน้ำร้อนสูงถึง 95 องศาเซลเซียส และพลุ่งขึ้นเป็นระยะๆ

หมู่บ้านกะเหรี่ยงแม่ปิง
อยู่ที่หมู่ที่ 4 ตำบลแม่ฮี้ ชาวบ้านเผ่านี้มีภาษาเขียนของตนเองและมีความเจริญด้านอารยธรรมสูง การคมนาคมสามารถเดินทางได้โดยรถยนต์

เจดีย์พระธาตุแม่เย็น
อยู่ที่บ้านแม่เย็น ตำบลแม่ฮี้ ตามเส้นทางสายแม่ฮ่องสอน-ปาย เป็นเจดีย์ที่สร้างสมัยใดไม่ปรากฏ ตั้งอยู่บนเนินสูงและเมื่อขึ้นไปนมัสการองค์พระธาตุแม่เย็น จะมองเห็นทิวทัศน์ของอำเภอปายโดยทั่วถึง เป็นจุดสังเกตของผู้โดยสารเครื่องบินว่าเข้าเขตอำเภอปายแล้ว

อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน รวมเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 179.5 ตารางกิโลเมตร หรือ 112,187.5 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขา และภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีภูเขาที่สูงที่สุดคือ ดอยช้าง เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีลำห้วยน้อยใหญ่มากมาย

โป่งน้ำร้อนท่าปาย
อยู่ในป่าแม่ปายฝั่งซ้ายตอนบนท้องที่ตำบลแม่ฮี้ โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1095 (ปาย-แม่มาลัย) ข้ามสะพานแม่น้ำปายถึงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 87-88 แยกซ้ายเข้าไปอีก 2 กิโลเมตร ตามทางเข้าบ้านท่าปาย เป็นทางราดยางตลอดทั้งสาย สภาพของโป่งน้ำร้อนเป็นบ่อน้ำร้อน น้ำกำลังเดือดเป็นฟองๆ และมีหมอกควันปกคลุมพื้นที่ พร้อมทั้งมีน้ำร้อนไหลเรื่อยๆ ทั่วบริเวณกว้าง มีบ่อใหญ่สองบ่อ นอกนั้นมีลักษณะเป็นน้ำผุดบางจุด ความร้อนประมาณ 80 องศาเซลเซียส และรอบๆ โป่งร้อนเป็นไม้สักที่สมบูรณ์มาก ภายในบริเวณอนุญาตให้ตั้งเต็นท์พักแรมได้ แต่ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆ ทั้งสิ้น

น้ำตกแม่เย็น
อยู่ที่บ้านแม่เย็น ตำบลแม่ฮี้ ห่างจากอำเภอปายประมาณ 7 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดสูง 3 ชั้น และสวยงามที่สุดของอำเภอ การคมนาคมโดยการเดินเท้าใช้เวลา 3-5 ชั่วโมง

น้ำพุร้อนเมืองแปง
อยู่บริเวณบ้านแมืองแปง ตำบลเมืองแปง เป็นบ่อน้ำพุร้อนขนาดใหญ่ ห่างจากอำเภอปายประมาณ 29 กิโลเมตร อุณหภูมิร้อนประมาณ 95 องศาเซลเซียส และเดือดพลุ่งขึ้นเป็นระยะๆ

ห้วยจอกหลวง
เป็นแหล่งอนุรักษ์ต้นน้ำห้วยจอกหลวงอยู่บริเวณป่าแม่ยะ ตำบลแม่ฮี้ มีการปลูกไม้ดอกไม้หนาวหลายชนิดและออกดอกในฤดูหนาวตั้งอยู่บนภูเขาและมีทิวทัศน์สวยงามมาก อยู่ห่างจากอำเภอปายประมาณ 43 กิโลเมตร ฤดูที่เหมาะสมแก่การท่องเที่ยวคือ ฤดูหนาว


จังหวัดแม่ฮ่องสอน :: สถานที่ท่องเที่ยว กิ่งอำเภอปางมะผ้า

สถานศึกษาธรรมชาติ และสัตว์ป่าถ้ำน้ำลอด
ตั้งอยู่ที่ตำบลถ้ำลอด ห่างจากตัวเมืองแม่ฮ่องสอนเป็นระยะทางประมาณ 77 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงสาย 1095 (ปางมะผ้า-ปาย) ประมาณหลักกิโลเมตร 138-139 มีทางแยกซ้ายจากกิ่งอำเภอปางมะผ้าเข้าไปตามทางบ้านถ้ำลอดอีก 9 กิโลเมตร เป็นทางลูกรังผ่านป่า ทางบางช่วงชำรุดและรถใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงได้ เป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญ ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลุ่มแม่น้ำปาย มีสถานที่น่าสนใจ คือ “ถ้ำลอด” ซึ่งมีลำห้วยชื่อ น้ำลาง ไหลลอดภูเขาไปทะลุออกอีกด้านหนึ่ง ทำให้เกิดเป็นถ้ำที่มีหินงอกหินย้อยสวยงาม เป็นถ้ำเก่าแก่ จากการพบเครื่องมือเครื่องใช้โบราณในถ้ำ สันนิษฐานได้ว่ามีอายุประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว ภายในถ้ำความยาวประมาณ 1 กิโลเมตร ประกอบด้วยห้องโถงใหญ่อีก 3 ห้อง เรียกชื่อต่างๆ กันคือ “ถ้ำเสาหินหลวง” เป็นถ้ำกว้างใหญ่ มีหินงอกหินย้อยสวยงามมากมาย “ถ้ำตุ๊กตา” มีหินงอกเป็นปุ่มปมเล็กๆ คล้ายตุ๊กตาเรียงรายอยู่มากมาย และด้านหนึ่งของผนังถ้ำยังปรากฏภาพเขียนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ถ้ำนี้เป็นถ้ำที่กว้างและยาวที่สุดในถ้ำลอด ถ้ำสุดท้ายอยู่ด้านทางออกคือ “ถ้ำผีแมน” นอกจากมีหินงอกหินย้อยสวยงามแล้ว ยังเป็นที่พบเศษภาชนะดินเผา มีซีกฟัน และกระดูกของมนุษย์ เมล็ดพืช เครื่องมือหิน รวมทั้ง “โลงผีแมน” อีกด้วย โลงผีแมนนี้มีลักษณะเป็นท่อนไม้ที่ถูกขุดตรงส่วนกลางออกเป็นร่องคล้ายเรือ หรือรางไม้ใส่อาหารให้สัตว์เลี้ยง มีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ โดยโลงขนาดใหญ่จะถูกวางอยู่บนคานโดยใช้เสา 4-6 ต้น ตั้งกับพื้นถ้ำ และเสาแต่ละคู่จะถูกเจาะเป็นช่องเพื่อสอดใส่คานไว้วางพาดโลงผีแมน

สำหรับการเข้าชมถ้ำนั้น จะเปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. แต่นักท่องเที่ยวไม่สามารถเข้าชมเองได้ เนื่องจากภายในถ้ำมืดมาก จึงต้องใช้บริการผู้นำทางพร้อมตะเกียงเจ้าพายุ โดยจะเสียค่าบริการ 100 บาท ต่อผู้นำทาง 1 คน การเดินชมถ้ำจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกจะเป็นการชม 2 ถ้ำใหญ่ คือ ถ้ำเสาหินหลวง และถ้ำตุ๊กตา

หากนักท่องเที่ยวต้องการจะเข้าชมถ้ำผีแมน จะต้องล่องแพผ่านธารน้ำที่ลอดภายในถ้ำ โดยจะมีแพของชาวบ้านรอให้บริการอยู่

ในบริเวณสถานศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าถ้ำน้ำลอดนี้ ยังเป็นแหล่งดูนก ซึ่งทางหน่วยบริการได้จัดทำป้ายบอกจุดดูนกไว้เป็นระยะๆ ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเดินชมเองได้

บริเวณที่ทำการยังมีบ้านพักไว้บริการ และอนุญาตให้ตั้งเต็นท์พักแรมได้ โดยติดต่อโดยตรง ณ หน่วยบริการภายในสถานศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าถ้ำน้ำลอด

นอกจากนี้ ในเขตกิ่งอำเภอปางมะผ้า ยังมีผู้สำรวจพบถ้ำต่างๆ อีกหลายถ้ำ เช่น ถ้ำผาเผือก ถ้ำผาแดง ถ้ำปางคำ ถ้ำน้ำตก ถ้ำซู่ซ่า ถ้ำผามอญ ถ้ำแม่ละนา ฯลฯ

เนื่องจากถ้ำเหล่านี้ยังไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งการเดินทางที่ยากลำบาก เพราะถ้ำบางแห่งมีระยะทางลึกมาก (โดยเฉพาะถ้ำแม่ละนา ที่นักสำรวจถ้ำคาดว่าลึกประมาณ 13 กิโลเมตร) และมีลำธาร บางช่วงอาจต้องว่ายน้ำไป จึงเหมาะสมสำหรับนักท่องเที่ยวที่รักการผจญภัยและเสาะแสวงหาธรรมชาติอย่างแท้จริง


:: อุทยานแห่งชาติน้ำตกแม่สุรินทร์ ::

:: ข้อมูลทั่วไป ::
อุทยานแห่งชาติน้ำตกแม่สุรินทร์ ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอขุนยวมและอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน สภาพพื้นที่เป็นป่าเขา เรียงรายสลับซับซ้อน มีภูเขาหินและหน้าผาน้อยใหญ่สูงชัน ในลักษณะที่แตกต่างกันและคล้ายกันที่สวยงามหลายแห่ง เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่อุดมสมบูรณ์ ตลอดจนมีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตกแม่สุรินทร์ ซึ่งเป็นน้ำตกขนาดใหญ่เคียงคู่กับทุ่งบัวตอง รวมทั้งลำน้ำปาย ซึ่งมีหาดทรายสวยงาม อุทยานแห่งชาติมีเนื้อที่ประมาณ 247,875 ไร่ หรือ 396.60 ตารางกิโลเมตร

กรมป่าไม้ได้รับหนังสือจังหวัดแม่ฮ่องสอนที่ มส 09/71 ลงวันที่ 3 มกราคม 2523 แจ้งว่า จังหวัดได้รับหนังสืออำเภอขุนยวมที่ มส 0953/3338 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2522 ขอให้จัดตั้งอุทยานแห่งชาติน้ำตกแม่สุรินทร์ เพื่ออนุรักษ์บริเวณน้ำตกแม่สุรินทร์ ซึ่งเป็นน้ำตกที่สวยงาม ไว้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ตามที่นายสกุล อนันตกุลกำเนิด เจ้าพนักงานป่าไม้ 3 เสนอโครงการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติน้ำตกแม่สุรินทร์ ประกอบกับ ดร. เถลิง ธำรงนาวาสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้บินตรวจป่าพบว่าบริเวณป่าของอำเภอขุนยวม และอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีลักษณะเด่นตามธรรมชาติ และมีน้ำตกสวยงามหลายแห่ง จึงให้กองอุทยานแห่งชาติดำเนินการสำรวจ

กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือที่ กส 0708/1140 ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2523 เสนอกรมป่าไม้ ให้เจ้าหน้าที่สำนักงานป่าไม้เขตแม่สะเรียงทำการสำรวจ ซึ่งสำนักงานป่าไม้เขตแม่สะเรียงได้มีคำสั่ง ที่ 180/2523 ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2523 ให้ นายอุดม ธัมทะมาลา เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 ทำการสำรวจ พบว่า ป่าน้ำตกแม่สุรินทร์เป็นภูเขาสลับซับซ้อน สภาพป่าอุดมสมบูรณ์ เป็นป่าต้นน้ำลำธารของลำน้ำหลายสาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณดอยปุยมีลักษณะเป็นยอดเขาสูง มีรูปร่างคล้ายฝาชี ข้างบนยอดแบนเป็นที่ราบ อากาศหนาวจัด ทั้งมีน้ำตกสวยงาม 2 แห่ง คือ น้ำตกแม่สุรินทร์ และน้ำตกผาบ่อง เหมาะสมจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ตามรายงานผลการสำรวจหนังสือสำนักงานป่าไม้เขตแม่สะเรียง ที่ กส 0709(มร)/2360 ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2523

กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติซึ่งมีมติในการประชุมครั้งที่ 3/2523 เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2523 เห็นชอบให้กำหนดบริเวณที่ดินป่าแม่น้ำปายฝั่งซ้าย และป่าแม่สุรินทร์ในท้องที่ตำบลปางหมู ตำบลผาบ่อง ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน และตำบลขุนยวม ตำบลแม่ยวมน้อย อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 98 ตอนที่ 180 ลงวันที่ 29 ตุลาคม 2524 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 37 ของประเทศ


:: ลักษณะภูมิประเทศ ::
สภาพภูมิประเทศของอุทยานแห่งชาติน้ำตกแม่สุรินทร์ เป็นเทือกเขา และภูเขาสูงสลับซับซ้อน ทอดตัวยาวตามแนวทิศเหนือจดทิศใต้ ทิศตะวันออกจะเป็นภูเขาสูงชันลาดไปทางทิศตะวันตก มีภูเขาหิน และหน้าผาสูงชัน ในลักษณะที่แตกต่างกันและคล้ายกัน มีความสูงต่ำจากระดับน้ำทะเลอยู่ในช่วง 300-1,752 เมตร ยอดเขาที่สูงที่สุด คือ ดอยปุย รองลงมาคือ ดอยต้นห้วยผาคอ สูง 1,601 ดอยห้วยมีสะมาด สูง 1,465 เมตร ดอยห้วยไม้คอง สูง 1,474 เมตร ดอยบ้านไมโครเวฟ สูง 1,474 เมตร ดอยปลายห้วยแม่จ๋ายำ สูง 1,407 เมตร ดอยผาคอ สูง 1,352 เมตร ดอยบ้านห้วยฮะ สูง 1,359 เมตร และดอยต้นห้วยตองจิง สูง 1,310 เมตรจากระดับน้ำทะเล และเป็นต้นกำเนิดของลำธารต่างๆ หลายสาย ลำน้ำส่วนใหญ่ จะไหลจากทิศตะวันออกสู่ทิศตะวันตก ลำธารและลำน้ำที่สำคัญ ได้แก่ ลำน้ำปาย ลำน้ำแม่สะมาด ห้วยปงกุน น้ำแม่สะกึด ห้วยม่อนตะแลง น้ำแม่ฮ่องสอน ห้วยโป่ง น้ำแม่สุรินทร์ ห้วยนาอ่อน ห้วยเฮี้ย ห้วยอูคอน้อย และห้วยอูคอหลวง ซึ่งลำธารเหล่านี้ไหลลงสู่ แม่น้ำปายและแม่น้ำยวม


:: ลักษณะภูมิอากาศ ::
อุทยานแห่งชาติน้ำตกแม่สุรินทร์ ตั้งอยู่ในหุบเขาที่มีหมอกปกคลุมตลอดทั้งปี มีอากาศเย็นสบายตลอดปี โดยเฉพาะฤดูหนาวบนยอดเขาอากาศเย็นมาก ฤดูฝน ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม จะมีฝนตกชุกมาก ทำให้การเดินทางไม่สะดวก ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรวมตลอดปี 1,282 มิลลิเมตร ฤดูหนาว ช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ อากาศจะหนาวเย็นมาก อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดในเดือนมกราคม 14 องศาเซลเซียส และฤดูร้อน ช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน จะมีอากาศร้อนอบอ้าว อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดในเดือนเมษายน 38 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 25 องศาเซลเซียส ฤดูหนาวและฤดูร้อนเป็นช่วงที่เหมาะแก่การเดินทางท่องเที่ยวมากที่สุด


:: พรรณไม้และสัตว์ป่า ::
อุทยานแห่งชาติน้ำตกแม่สุรินทร์ มีสภาพป่าที่แตกต่างกันไปหลายชนิด ประกอบด้วย
ป่าดิบเขา พบขึ้นเป็นแถบยาวไปตามแนวสันเขา หรือขึ้นปกคลุมอยู่เป็นหย่อมๆ ในระดับความสูงจากน้ำทะเล 800 เมตรขึ้นไป ชนิดของไม้ที่สำคัญได้แก่ ก่อแป้น ก่อใบเหลื่อม ก่อเดือย มะก่อ ทะโล้ มะมุ่นดง ไก๋แดง กล้วยฤาษี เหมือดคนตัวผู้ ไคร้มด ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ โชนใหญ่ กูดดอย ตองกง สาบหมา ยาแก้ เอ็นอ้าดอย หนาดเขา บัวตอง เป็นต้น สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในป่าประเภทนี้ได้แก่ เสือดาว ชะนีมือขาว ค่างแว่นถิ่นเหนือ เม่นใหญ่ บ่าง กระรอกดินแก้มแดง อ้นใหญ่ นกหกเล็กปากแดง นกคัดคูมรกต นกพญาปากกว้างหางยาว นกพญาไฟแม่สะเรียง กิ้งก่าเขาเล็ก จิ้งเหลนเรียวท้องเหลือง งูลายสาบคอแดง งูแม่ตะง่าว กระท่าง อึ่งกรายหนังปุ่ม กบชะง่อนหินเมืองเหนือ ปาดตีนเหลือง ปาดแคระ ผีเสื้อหางติ่งเฮเลน ผีเสื้อหางมังกรขาว และผีเสื้อเหลืองหนามธรรมดา

ป่าเบญจพรรณ พบขึ้นปกคลุมในพื้นที่ที่มีความลาดชันไม่สูงมากนักตามหุบเขาของร่องห้วยต่างๆ เช่น บริเวณหุบเขาของร่องห้วยแม่สะกึด ห้วยโป่งกาน ห้วยไม้ซางหนามห้วยแม่จ๋า ห้วยน้ำแม่สุรินทร์ เป็นต้น ในระดับความสูงจากน้ำทะเล 350-600 เมตร ชนิดของไม้และพืชพื้นล่างที่สำคัญได้แก่ เสลา สมอพิเภก ยมหอม มะแฟน ตะแบกเปลือกบาง มะเกลือ กระโดนสร้อย ชิงชัน เปล้าหลวง หมีเหม็น เพกา ไผ่ซางนวล ไผ่บงดำ ไผ่ป่า ว่านมหาเมฆ ขมิ้นแดง กระทือ บอนเต่า หนามคนทา สะแกเครือ หนอนตายหยาก ฯลฯ สัตว์ป่าที่พบได้แก่ ค้างคาวหน้ายักษ์สามหลืบ พบเป็นจำนวนมากที่ถ้ำห้วยสลอย ค้างคาวมงกุฎเล็ก กวางป่า อีเห็นข้างลาย อ้นกลาง หนูผีหางหมู ไก่ป่า นกกระทาป่าไผ่ นกตีทอง นกแซงแซวหางปลา นกหัวขวานเขียวตะโพกแดง นกปรอดหัวสีเขม่า ตุ๊กแกบ้าน กิ้งก่าบินปีกสีส้ม จิ้งเหลนหลากหลาย งูเห่า งูเขียวหัวจิ้งจก อึ่งกรายลายเลอะ กบหลังตาพับ กบกา กบอ่อง ผีเสื้อเชิงลายมหาเทพ ผีเสื้อหนอนคูณหนวดดำ และผีเสื้อหัวแหลมกระบอง เป็นต้น

ป่าเต็งรัง เป็นสังคมพืชที่มีพื้นที่ปกคลุมมากที่สุด ในอุทยานแห่งชาติ สามารถพบได้ตั้งแต่ระดับความสูงของน้ำทะเลประมาณ 350-1,400 เมตร ชนิดไม้และพืชพื้นล่างที่พบได้แก่ พลวง เต็ง เหียง รัง สนสองใบ รักใหญ่ รกฟ้า ส้านใหญ่ ตับเต่าต้น แคทราย ครามป่า เป้งดอย หญ้าหนวดฤาษี หญ้ากาย หญ้าแขมน้อย หญ้าดอกคำ ฯลฯ สัตวป่าที่อาศัยอยู่ในป่าประเภทนี้ได้แก่ เหยี่ยวนกเขาหงอน นกเค้าแคระ นกจาบคาหัวสีส้ม นกหัวขวานสี่นิ้วหลังทอง นกเด้าดินสวน นกกาแวน กระเล็นขนปลายหูสั้น กระจ้อน กระแตธรรมดา ค้างคาวขอบหูขาวกลาง แย้ กิ้งก่าแก้ว จิ้งเหลนภูเขาเกล็ดเรียบ ผีเสื้อจรกาหนอนยี่โถ ผีเสื้อจ่าพม่า และผีเสื้อเณรธรรมดา เป็นต้น

ป่าสนเขา จะอยู่ในบริเวณสันเขาสูง ชนิดไม้ที่พบ เช่น สนสองใบและสนสามใบ นอกจากนี้ยังสามารถพบกล้วยไม้อีกหลายชนิดที่สวยงาม ได้แก่ รองเท้านารี เอื้องแซะ ฟ้ามุ่ย พวงมาลัย หางกระรอก ช้างกระ เอื้องคำ เป็นต้น

ในบริเวณแม่น้ำและลำห้วยต่างๆ เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของปลาไหลหูดำ ที่พบค่อนข้างมากในแม่น้ำปาย ปลาหลด ปลากระทิง ปลาซิวใบไผ่ ปลาหัวตะกั่ว ปลาก้าง ปลาพลวง นกเป็ดผีเล็ก นกยางโทนน้อย และนกยางเขียว


:: ที่ตั้งและการเดินทาง ::
อุทยานแห่งชาติน้ำตกแม่สุรินทร์
ตู้ ปณ.16 ต.ปางหมู อ. เมืองแม่ฮ่องสอน จ. แม่ฮ่องสอน 58000
โทรศัพท์ : 0 5361 2996

รถยนต์
จากอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ออกเดินทางไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 ไปอำเภอขุนยวม เป็นระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร จากอำเภอขุนยวมจึงเดินทางไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1263 ต่ออีกเป็นระยะทาง 40 กิโลเมตร เข้าสู่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ สร.1 (น้ำตกแม่สุรินทร์) โดยจะผ่านสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดแม่ฮ่องสอน คือ ทุ่งบัวตอง ดอยแม่อุคอ

ที่ทำการอุทยานแห่งชาติน้ำตกแม่สุรินทร์ ตั้งอยู่บนทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1095 บริเวณบ้านปางหมู ห่างจากอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอนไปทางทิศเหนือประมาณ 9 กิโลเมตร


:: แหล่งท่องเที่ยว :: ด้านธรรมชาติที่สวยงาม ::
น้ำตกแม่สุรินทร์ เป็นต้นน้ำตกชั้นเดียวที่สวยงามมากมีน้ำไหลตลอดทั้งปี นับว่าเป็นน้ำตกที่สูงที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ เกิดจากแม่น้ำสุรินทร์ มีธรรมชาติรอบด้านเป็นภูเขาสูงชันไหลลงมาเป็นสายยาวจากหน้าผาสู่หุบเขา สูงประมาณ 180-200 เมตร การเดินทางใช้ได้เฉพาะฤดูแล้งและฤดูหนาว ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอขุนยวม ประมาณ 38 กิโลเมตร ตั้งอยู่บ้านแม่สุริน ตำบลแม่อูคอ อำเภอขุนยวม โดยเดินลงไปตามเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติประมาณ 1,350 เมตร


น้ำตกผาบ่อง มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า น้ำตกดำข่อน เป็นน้ำตกที่ไหลลงมาจากห้วยดำข่อน ซึ่งเป็นหน้าผาสูงชันเป็นชั้นๆ ลดหลั่นลงมาถึง 3 ชั้น มีความสูงประมาณ 40 เมตร และด้านซ้ายของน้ำตกนี้ยังแยกเป็นน้ำตกเล็กๆ มีระยะห่างจากจังหวัดแม่ฮ่องสอนประมาณ 12 กิโลเมตร เดินทางท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี


แม่น้ำปาย มีชายหาดที่สวยงามเหมาะสำหรับตั้งค่ายพักแรมพักผ่อนหย่อนใจ บริเวณ ปายกีด เป็นแก่งหินน้อยใหญ่เรียงรายสลับซับซ้อนอยุ่ตามสองฟากฝั่งแม่น้ำปาย มีหน้าผาที่สูงตระหง่านอยู่ติดกับแม่น้ำปาย เหมาะในการล่องแก่งโดยเรือยางหรือล่องแพไม้ไผ่ โดยเริ่มต้นจากแม่น้ำของบริเวณหมู่บ้านห้วยซ้าน ตำบลห้วยผา อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ล่องไปตามสายน้ำของ ก่อนจะถึงจุดที่น้ำไหลไปบรรจบกับน้ำปาย กลายเป็นแม่น้ำปายสายใหญ่ขึ้น ตามสองฝั่งแม่น้ำปายมีวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม ภูเขาที่สลับซับซ้อน สภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ นกน้อยใหญ่ที่บินไปมา ก่อนจะถึงบริเวณปายกีดมีแก่งมากมายที่รอการท้าทายจากผู้ที่นิยมการผจญภัยกับการล่องแก่ง


หนองเขียว มีลักษณะเป็นแอ่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่กลางหุบเขา บริเวณโดยรอบมีที่ราบกว้างประมาณ 200 ไร่ มีป่าสนเขาเป็นพื้น การเดินทางใช้เส้นทางเดินเท้าจากน้ำตกแม่สุรินทร์ ประมาณ 2 ชั่วโมง ตั้งอยู่ที่ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง อยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ สร.1 (น้ำตกแม่สุรินทร์) ประมาณ 12 กิโลเมตร มีหมู่บ้านปกากะเญอตั้งอยู่ใกล้เคียง


ยอดดอยปุย ตั้งอยู่บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ สร.5 (ดอยปุย) ตามถนนสายบ้านหัวน้ำแม่สะกึ๊ด-บ้านห้วยปูลิง จากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ สร.3 (แม่สะกึ๊ด) ถึงจุดทางเดินขึ้นดอยปุย ระยะทางประมาณ 32 กิโลเมตร จากนั้นต้องเดินเท้าขึ้นดอยปุยอีก ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร ตามสองข้างทางเดินจะพบเห็นสังคมพืชและสัตว์ที่อุดมสมบูรณ์ จะได้พบเห็นดอกไม้ป่านานาชนิด ทั้ง กล้วยไม้ เอื้องแซะ เห็ดต่างๆ ที่มีเรียงรายตามสองข้างทางขึ้นดอยปุย บนยอดดอยปุย ซึ่งสูง 1,722 เมตรจากระดับน้ำทะเล จะได้สัมผัสกับธรรมชาติที่สวยงาม ทัศนียภาพโดยรอบ 360 องศา ภูเขาที่สลับซับซ้อนเรียงรายอยู่หน้าผู้มาเยือน


ถ้ำน้ำฮู้หายใจ ตั้งอยู่ติดถนนสายบ้านหัวน้ำแม่สะกึ๊ด-บ้านห้วยปูลิง บริเวณด่านตรวจถ้ำน้ำฮู้หายใจ ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ สร.3 (แม่สะกึ๊ด) ไปตามถนนสายบ้านหัวน้ำแม่สะกึ๊ด-บ้านห้วยปูลิง ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร ถ้ำน้ำฮู้หายใจ เป็นถ้ำขนาดกลางที่มีน้ำไหลซึมออกมาจากภายในถ้ำ ไหลลงสู่ลำธารหน้าถ้ำ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่แปลกคือ ทุกๆ ประมาณ 25 นาที จะมีสายน้ำผุดออกมาจากผนังภายในถ้ำ และมีเสียงเกิดขึ้นเหมือนคนกำลังหายใจ ซึ่งสันนิษฐานว่า ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเกิดจากแรงดันของน้ำในชั้นหินตามรอยร้าวของเปลือกโลก และจากปรากฏการณ์ดังกล่าวจึงสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นที่มาของชื่อ ถ้ำน้ำฮู้หายใจ


ถ้ำสะหรอย อยู่บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ สร.6 (บ้านแม่สุรินทร์) ห่างจากบ้านแม่สุรินทร์ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 ประมาณ 3 กิโลเมตร และเดินเท้าต่อไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร ถ้ำสะหรอยเป็นถ้ำขนาดกลาง ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยสวยงาม ผนังด้านบนของถ้ำจะมีช่องว่างเป็นรูโพรง ทำให้แสงสว่างส่องเข้ามาในถ้ำได้ เป็นที่อยู่อาศัยของค้างคาว สภาพป่าโดยรอบเป็นป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง


เส้นทางศึกษาธรรมชาติห้วยแม่สะกึด ตั้งอยู่ที่ตำบลผาบ่อง อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ภายใต้การดูแลของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ สร.3 (แม่สะกึด) ห่างจากตัวเมืองแม่ฮ่องสอนออกมาตามถนนสายหลักไปอำเภอแม่สะเรียง ประมาณ 9 กิโลเมตร จะมีถนนแยกซ้ายมือจากถนนหลักเข้าไปประมาณ 3 กิโลเมตร จะถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ลักษณะเด่นของเส้นทางศึกษาธรรมชาตินี้คือ เป็นเส้นทางเลียบลำน้ำแม่สะกึด ระยะทาง 1,860 เมตร ผ่านป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้งที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ มีไม้ขนาดใหญ่ มีการสื่อความหมายธรรมชาติที่ผสมผสานระหว่างการใช้ป้ายสื่อความหมายบนเส้นทาง และการให้ศึกษาด้วยตนเองจากเอกสารประกอบที่แจกให้



:: สิ่งอำนวยความสะดวก ::
ห้องสุขาชาย มีห้องสุขาชายให้บริการ


ห้องสุขาหญิง มีห้องสุขาหญิงให้บริการ


ที่พักแรม/บ้านพัก มีบ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียด และสำรองที่พักเต็นท์ได้กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง


ที่จอดรถ มีลานจอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น



:: อุทยานแห่งชาติแม่เงา ::

:: ข้อมูลทั่วไป ::
แม่น้ำเงาเป็นแม่น้ำสายใหญ่ ซึ่งมีความใสสะอาดมาก โดยเฉพาะในหน้าแล้ง สามารถมองเห็นเงาที่สะท้อนอยู่ในน้ำได้ จึงเป็นที่มาของชื่อแม่น้ำ รวมทั้งยังมีสภาพป่าดงดิบริมฝั่งน้ำ อันบริสุทธิ์งดงามที่หาพบได้ยากจากแม่น้ำอื่น อุทยานแห่งชาติแม่เงามีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 257,650 ไร่ หรือ 412.24 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่อำเภอแม่สะเรียง อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน และอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

จากการที่อุทยานแห่งชาติแม่โถ จังหวัดเชียงใหม่ ได้ดำเนินการสำรวจพื้นที่ป่ารอบเขตอุทยานแห่งชาติแม่โถ เพื่อที่จะผนวกเข้าเป็นอุทยานแห่งชาติเพิ่มเติม และได้พบว่าพื้นที่ป่าบริเวณใกล้เคียง ซึ่งอยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ยังมีสภาพป่าที่สมบูรณ์เหมาะสม ที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งใหม่ และรายงานผลการสำรวจนี้ให้กรมป่าไม้ทราบ กรมป่าไม้จึงได้ออกคำสั่งที่ 1061/2536 ลงวันที่ 24 มิถุนายน 2536 ให้นายนิรันดร์ กมลาพร นักวิชาการป่าไม้ 5 ปฏิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติภูกระดึง กองอุทยานแห่งชาติไปดำเนินการสำรวจข้อมูลรายละเอียดเบื้องต้น พื้นที่ป่าบริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ยวมฝั่งซ้าย แปลงที่ 2 และพื้นที่ป่าบริเวณใกล้เคียง ในระหว่างวันที่ 19 กรกฎาคม - 17 สิงหาคม 2536

ต่อมากรมป่าไม้ได้ออกคำสั่งที่ 614/2537 ลงวันที่ 17 เมษายน 2537 ให้นายนิรันดร์ กมลาพร ไปดำเนินการสำรวจข้อมูลเพิ่มเติมป่าแม่ยวมฝั่งซ้าย จังหวัดแม่ฮ่องสอน รวมทั้งป่าท่าสองยาง จังหวัดตาก ป่าอมก๋อย จังหวัด เชียงใหม่ และจัดตั้งพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยให้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าอุทยานแห่งชาตินี้ด้วย และในการประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2538 วันที่ 18 พฤษภาคม 2538 มีมติเห็นชอบให้จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอร่างพระราชกฤษฎีกา เพื่อกำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติต่อไป มีเนื้อที่ประมาณ 257,650 ไร่


:: ลักษณะภูมิประเทศ ::
สภาพพื้นที่ที่จัดตั้งอุทยานแห่งชาติ มีสภาพเป็นเนินเขาสูงชัน จึงเป็นต้นน้ำลำธารของแม่น้ำหลายสาย ซึ่งส่วนใหญ่ลำน้ำเหล่านี้ไหลไปลงแม่น้ำสาละวิน จึงมีสภาพเป็นต้นน้ำลำธารของ สหภาพพม่า ด้วยระบบทางน้ำธรรมชาติ ของพื้นที่จัดตั้งอุทยานแห่งชาตินี้ ส่วนใหญ่มีรูปแบบคล้ายต้นไม้ ซึ่งรูปแบบชนิดนี้มีแม่น้ำใหญ่ เปรียบเสมือนลำต้นและมีสาขาย่อย ๆ แยกออกเป็นกิ่งก้านของลำต้น ลำน้ำส่วนใหญ่จะไหลจากทิศตะวันออก ลงสู่ทิศตะวันตก ลำน้ำจะมีน้ำไหลตลอดปี มีลำน้ำและลำห้วยที่สำคัญ ได้แก่

น้ำแม่เงา เป็นลำน้ำสายสำคัญที่สุดในพื้นที่นี้ เนื่องจากเป็นลำน้ำที่ยาวที่สุดไหลผ่านพื้นที่จัดตั้ง อุทยานแห่งชาติ ซึ่งไหลผ่านพื้นที่มีความยาวประมาณ 42 กิโลเมตร โดยเริ่มจากบริเวณบ้านสบโข่งไหลขึ้นเหนือถึงบริเวณสบเงา มาบรรจบกับแม่น้ำยวม แม่น้ำเงาเป็นเส้นแบ่งของจังหวัด โดยพื้นที่ตะวันตกเป็นอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก และพื้นที่ทางตะวันตกจะเป็นอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ลักษณะของลำน้ำมีความใสมาก จึงได้ชื่อว่าแม่น้ำเงา ความกว้างประมาณ 10-20 เมตร ไหลคดเคี้ยวไปมาในฤดูฝนน้ำจะเชี่ยวมาก ชาวเขาจะใช้ลำน้ำนี้เป็นเส้นทางคมนาคมโดยทางเรือ ในการติดต่อกับอำเภอสบเมย ลำห้วยในพื้นที่ที่ไหลลงสู่ แม่น้ำเงามีหลายสาย เช่น ห้วยแม่เลาะน้อย ห้วยแม่บาง ห้วยแม่เละละโคร ห้วยโอโละโกร ห้วยโกงอูม เป็นต้น

น้ำแม่ยวม ไหลมาจากอำเภอขุนยวม ผ่านอำเภอแม่ลาน้อย อำเภอแม่สะเรียง มาบรรจบกับแม่น้ำเงาที่บ้านสบเงา ตำบลแม่สอด อำเภอสบเมย และไหลไปบรรจบกับแม่น้ำเมยที่บ้านสบยวม ตำบลแม่สามแลบ แล้วไหลลงสู่แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำสายนี้ยาวประมาณ 215 กิโลเมตร เป็นแม่น้ำสายสำคัญสายหนึ่งของจังหวัด แม่ฮ่องสอน ช่วงที่ไหลผ่านอุทยานฯ ยาวประมาณ 14 กิโลเมตร อยู่ทางทิศตะวันตกของพื้นที่ แม่น้ำสายนี้ไหลจาก ทางทิศเหนือลงสู่ทางใต้

แม่น้ำริด ไหลผ่านตำบลกองก๋อย ตำบลแม่สวด บรรจบกับแม่น้ำยวมทางด้านใต้ของบ้านแม่สวด ลำน้ำนี้ไหลจากทางทิศตะวันออกมาทางตะวันตก อยู่เหนือสุดของพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่เงา ห้วยแม่โขง ไหลมาจากอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ มาบรรจบกับน้ำแม่เงาที่บ้านสบโขง


:: ลักษณะภูมิอากาศ ::
เนื่องจากอุทยานแห่งชาติแม่เงา ประกอบด้วยเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลต่างๆ ดังนี้ ฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน-ตุลาคม มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปี 1,120 มิลลิเมตร ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ ด้วยสภาพเป็นพื้นที่สูงและเทือกเขา จึงทำให้อากาศหนาวเย็นและมีหมอกมาก ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ซึ่งจะมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 35 องศาเซลเซียส


:: พรรณไม้และสัตว์ป่า ::
สภาพป่าไม้ในบริเวณที่จัดตั้งอุทยานแห่งชาติแม่เงา จะพบได้ 3 ชนิด คือ
ป่าเบญจพรรณ เป็นป่าที่มีไม้ชนิดต่างๆ ขึ้นอยู่มาก และส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ไม้ชนิดผลัดใบ ป่าชนิดนี้มักจะเกิดตามเนินเขา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทรายหน้าดินลึก จะพบสองฝั่งลำน้ำเงา ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่มีทั้งไม้ขนาดใหญ่และขนาดกลางหลายชนิด ทำให้ป่าดูแน่นทึบเขียวชอุ่มในฤดูฝน พันธุ์ไม้ที่สำคัญที่พบมาก ได้แก่ สัก แดง รกฟ้า เก็ดแดง เก็ดดำ ประดู่ ขึ้นปะปนอยู่ ส่วนพืชพื้นล่างประกอบด้วย หญ้าชนิดต่างๆ และไผ่หลายชนิด เช่น ไผ่บง ไผ่ซาง ไผ่ข้าวหลาม เป็นต้น

ป่าดิบเขา ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของพื้นที่จัดตั้งอุทยานแห่งชาติ มักจะเกิดขึ้นบนพื้นที่ ซึ่งมีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป สภาพป่ามองดูเขียวชอุ่มตลอดปี และมีต้นไม้ขึ้นหนาแน่น พบมากตามยอดเขาสูง พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ก่อชนิดต่างๆ และพันธุ์ไม้จำพวกอิงอาศัย เช่น กระเช้าสีดา มอส ซึ่งเกาะตามกิ่งไม้ ส่วนพืชพื้นล่างประกอบด้วยเฟิน กล้วยไม้ดิน พืชตระกูลขิงข่า เป็นต้น

ป่าเต็งรัง พบในบริเวณเนินเขา ไหล่เขาและเชิงเขา โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีหินโผล่ มีลักษณะเป็นป่าโปร่ง มีพันธุ์ไม้เด่น ได้แก่ เต็ง รัง พลวง เหียง ส้าน มะขามป้อม ยอป่า พืชพื้นล่างเป็นพวกหญ้าตระกูลต่างๆ

เนื่องจากพื้นที่จัดตั้งอุทยานแห่งชาติเป็นภูเขาสูง มีเทือกเขาสลับซับซ้อน อีกทั้งสภาพป่าที่สมบูรณ์เป็นแหล่งอาหาร และที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าเป็นอย่างดี การลักลอบล่าสัตว์ป่ายังมีน้อย ทำให้สัตว์หลากหลายชนิด อยู่ชุกชุมบริเวณพื้นที่ สามารถจำแนกออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จากการสอบถาม จากร่องรอยและจากการสำรวจในพื้นที่ประกอบด้วย หมูป่า อีเห็นข้างลาย หมีควาย เก้ง ลิง ค่าง ชะนี เลียงผา กระรอกบิน หมาจิ้งจอก หมาไน กระต่ายป่า อ้นเล็ก

นก ที่สามารถพบเห็น ได้แก่ ไก่ป่า นกกาเหว่า นกเอี้ยง นกเขาหลายชนิด นกแซงแซว สาลิกา นกกระปูด นกคุ้มอกลาย นกกาฮัง นกไต่ไม้ นกบั้งรอกใหญ่ นกฮูก นกกระรางหัวขวาน นกขุนแผน นกกระจิบ นกตะขาบทุ่ง

สัตว์เลื้อยคลาน ที่พบมากได้แก่ งูเห่า งูสามเหลี่ยม งูเหลือม งูสิง

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก มีอยู่หลายชนิดทั่วไปในพื้นที่ โดยเฉพาะเขียดแลว พบมากในบริเวณน้ำแม่เงา

ปลา จะพบอยู่ตามลำน้ำสายต่างๆ ได้แก่ ปลากระทิง ปลาแรด ปลาเขียวหางแดง ปลาบู่ ปลากดคัง ปลาแข้ เป็นต้น


:: ที่ตั้งและการเดินทาง ::
อุทยานแห่งชาติแม่เงา
หมู่ 8 บ้านแม่เงา ต.แม่สวด อ. สบเมย จ. แม่ฮ่องสอน 58110

รถยนต์
เริ่มจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 ถึงอำเภอแม่สะเรียง แยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 105 ถึงอำเภอสบเมย ระยะทาง 25 กิโลเมตร เดินทางต่อไปอีก 15 กิโลเมตร ถึงบ้านแม่เงา แยกซ้ายไปตามถนนคอนกรีต ระยะทาง 4 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่เงา ในฤดูฝนและฤดูหนาว สามารถเดินทางโดยเรือยนต์จากบ้านแม่เงา ไปยังที่ทำการอุทยานแห่งชาติถึงบ้านแม่เงาได้


:: แหล่งท่องเที่ยว :: ด้านธรรมชาติที่สวยงาม ::
แม่น้ำเงา เป็นแม่น้ำสายสำคัญของพื้นที่นี้เหตุที่ว่าแม่เงา เนื่องจากน้ำที่มีความใสมากจนแลเห็นเงาในน้ำได้ ลักษณะของลำน้ำจะมีความคดเคี้ยวไปตามเกาะแก่งต่างๆ ในฤดูฝนกระแสน้ำจะเชี่ยวมาก ในฤดูแล้งจะเหมาะแก่การล่องแพชมธรรมชาติ เพราะสองฝั่งของลำน้ำจะมีต้นไม้ พันธุ์ไม้ออกดอกให้เห็น เช่น อินทนิล ซึ่งอยู่ริมน้ำจำนวนมาก บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติเป็นจุดกางเต็นท์นอนริมแม่น้ำเงาที่สะดวกที่สุด บริเวณต้นน้ำของแม่น้ำเงาเป็นที่ตั้งของชุมชนชาวกะเหรี่ยงหลายหมู่บ้านที่ยังคงวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม สามารถนั่งเรือหางยาวเข้าไปเที่ยวชมหมู่บ้านเหล่านี้ในช่วงเดือนมิถุนายน-มกราคม


ป่าสักธรรมชาติ ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่เงา พบว่า มีไม้สักที่เกิดตามธรรมชาติอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งป่าสักในสภาพนี้นับวันจะหาดูได้ยากขึ้น นอกจากไม้สักแล้วยังมีพันธุ์ไม้อื่น ๆ โดยเฉพาะไม้พื้นล่างที่มีลักษณะแปลก ๆ อีกมากมาย จึงเหมาะที่จะจัดให้เป็นที่เดินป่า เพื่อศึกษาหาความรู้จากธรรมชาติ ตลอดจนเป็นสถานที่ค้นคว้าวิจัยอย่างดีต่อไป


ถ้ำปลา มีลักษณะเช่นเดียวกับอุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-ผาเสื่อ อยู่ใกล้กับแม่น้ำเงาทางเหนือของหมู่บ้านอุมโล๊ะ ปัจจุบันเป็นจุดที่ตั้งของบ้านสบแม่แพ ภายในถ้ำจะมีปลาอยู่จำนวนมาก เพราะชาวบ้านเชื่อว่าปลานี้เป็นปลาศักดิ์สิทธิ์ หากใครนำมารับประทานจะพบภัยพิบัติ


น้ำตกโอโละโกร เกิดจากลำห้วยโอโละโกร อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของพื้นที่ เป็นน้ำตกที่สูงใหญ่สวยงามมาก มีความสูงไม่น้อยกว่า 150 เมตร มีน้ำตกตลอดปี แสดงให้เห็นสภาพป่าที่ยังอุดมสมบูรณ์ แต่ยังไม่มีเส้นทางคมนาคมที่จะเข้าไปถึงน้ำตกแห่งนี้ นอกจากเดินเท้าใช้เวลาในการเดินทางไป-กลับ รวม 2 คืน 3 วัน โดยระหว่างทาง จะต้องมีการพักค้างแรม ที่บ้านชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยง 1 คืน จากนั้นออกเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง ถึงน้ำตก เวลากลับจะพักค้างคืนบ้านชาวเขาอีก 1 คืน เดินทางกลับ


ยอดดอยปุยหลวง สถานที่อยู่บนสันเขาดอยปุยหลวงใกล้กับบ้านผาแดง ใช้เส้นทางเดียวกับน้ำตกโอโละโกร ปัจจุบันยังไม่มีเส้นทางคมเข้าไปถึง นอกจากการเดินเท้าใช้เวลาไป-กลับ รวม 2 วัน สำหรับจุดชมทิวทัศน์แห่งนี้มีความสูงระดับ 1,600-1,700 เมตรจากระดับน้ำทะเล สันดอยจะทอดยาวตลอดแนว ไปจนถึงเขตอำเภออมก๋อย ในฤดูหนาวจะมองเห็นคลื่นทะเลหมอกอย่างสวยงาม สภาพภูมิอากาศจะหนาวเย็น และคลื่นลมตลอดปี เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบเดินป่าแบบผจญภัย และกางเต็นท์พักแรม


ยอดดอยปุย สถานที่อยู่ใกล้หมู่บ้านแม่ปะหลวง เส้นทางเข้ามีอยู่ 2 เส้นทาง โดยเส้นทางแรกเข้าทางบ้านห้วยม่วงและแม่ปะหลวง เส้นทางนี้สามารถใช้ยานพาหนะได้ เส้นทางที่ 2 เป็นเส้นทางสายบ้านกองอูม ทางนี้เหมาะสำหรับผู้ที่นิยมเดินป่าผจญภัย ทางเข้าสู่หมู่บ้านต่างๆ ไปจนถึงจุดยอดดอยปุย สำหรับจุดชมทิวทัศน์มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร สามารถมองเห็น ทิวทัศน์ไปได้ไกลถึงพื้นที่อำเภออมก๋อย โดยเฉพาะฤดูหนาวจะมองเห็นคลื่นทะเลหมอกอย่างสวยงาม สภาพภูมิอากาศหนาวเย็นและคลื่นลมตลอดปี


น้ำตกแม่วะหลวง เกิดจากลำห้วยแม่วะอยู่ที่บ้านแม่วะหลวง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก อยู่ในเขตพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติ เป็นน้ำตกที่สวยงาม ความสูงประมาณ 35 เมตร ลดหลั่นกันลงไปหลายชั้น สำหรับเส้นทางเดินเท้า จะเริ่มเดินทางจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่เงาขึ้นสู่น้ำตก ระหว่างการเดินทาง จะแวะชมพันธุ์ไม้ป่าต่างๆ หรือส่องนกพันธุ์แปลกๆ ก็ได้


น้ำตกแม่แจ เกิดจากลำห้วยแม่ลาคีไหลลงสู่แม่น้ำเงา อยู่ในบริเวณบ้านแม่ลาคี เดินทางจากริมถนนสายแม่สอด-แม่สะเรียง เข้าจุดน้ำตกประมาณ 1 กิโลเมตร


น้ำตกแม่ลออ เกิดจากลำห้วยแม่ลออไหลลงสู่น้ำเงา ตั้งอยู่ใกล้เส้นทางสายอำเภอแม่สอด-แม่สะเรียง เป็นน้ำตกที่สวยงาม เส้นทางเดินเท้าเข้าไปประมาณ 400 เมตร


ถ้ำแม่อมกิ จุดที่ตั้งอยู่ใกล้หมู่บ้านแม่อมกิ ลักษณะเป็นถ้ำน้ำลอดไหลออกมาสู่ปากถ้ำ สภาพภายใน ถ้ำยังมีหินงอก หินย้อยที่สวยงามมาก


น้ำตกบูรณประภา เกิดจากลำห้วยทีเปอโกร อยู่ใกล้เส้นทางสายอำเภอแม่สอด-แม่สะเรียง บ้านแม่เหว่ยโพคี เส้นทางเดินเท้าเข้าไปประมาณ 500 เมตร



:: สิ่งอำนวยความสะดวก ::
ห้องสุขาชาย มีห้องสุขาชายให้บริการ


ห้องสุขาหญิง มีห้องสุขาหญิงให้บริการ


สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ มีพื้นที่กางเต็นท์ พร้อมห้องน้ำ-ห้องสุขารวม ไว้ให้บริการ ท่านสามารถนำเต็นท์มากางเอง หรือติดต่อขอใช้บริการเต็นท์ของอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีค่าบริการอยู่หลายอัตราขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของเต็นท์ และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ รายละเอียดเกี่ยวกับที่พักเต็นท์ขอให้ติดต่อสอบถามกับอุทยานแห่งชาติโดยตรง



จังหวัดแม่ฮ่องสอน :: เทศกาล งานประเพณี

งานประเพณีปอยส่างลอง

หรืองานบวชลูกแก้ว เป็นประเพณีบวชเณรตามธรรมเนียมของชาวไทยใหญ่ เพื่อให้บุตรหลานได้มีโอกาสศึกษา พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และมีความเชื่อว่า จะได้รับบุญกุศลจากการบวชสามเณร งานนี้จัดให้มีขึ้นช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ช่วงปิดเทอมฤดูร้อน โดยชาวบ้านจะตกลงกัน กำหนดวันนัดหมายให้ลูกหลานได้บวชเรียนพร้อมๆ กัน มีการประดับประดาผู้ที่จะบวช ด้วยเครื่องประดับมีค่าอย่างสวยงาม และประกอบพิธีบวชตามวัดที่เจ้าภาพศรัทธา

แต่เดิมปอยส่างลองเป็นประเพณีที่จัดเฉพาะในหมู่ญาติมิตรของเจ้าภาพ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2525 ได้เกิดมีแนวความคิดใหม่โดยจัดเป็นบรรพชาหมู่ร่วมกันมากถึง 200 รูป เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี ทำให้ในเขตอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอนนิยมจัดบรรพชาหมู่สืบต่อมาถึงปัจจุบัน ปอยส่างลองจึงได้กลายเป็นประเพณีที่จูงใจให้มีผู้สนใจมากขึ้นกว่าแต่ก่อน


งานประเพณีจองพารา

คือประเพณีส่วนหนึ่งในงานเทศกาลออกพรรษา (งานปอยเหลินสิบเอ็ด) คำว่า “จองพารา” เป็นภาษาไทยใหญ่แปลว่า “ปราสาทพระ” การบูชาจองพารา คือการสร้างปราสาทเพื่อคอยรับเสด็จพระพุทธเจ้า ที่จะเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เทศกาลนี้จัดขึ้นระหว่างวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันแรม 8 ค่ำ เดือน 11 โดยก่อนถึงวันงาน จะมีการจัดงานตลาดนัดออกพรรษา มีการนำสินค้าต่างๆ ที่จะใช้ในการทำบุญ เช่น อาหาร ขนม ดอกไม้ เครื่องไทยทานมาวางขาย เพื่อให้ชาวบ้านได้หาซื้อข้าวของเครื่องใช้ในการเตรียมงาน และมีการจัดเตรียมสร้าง “จองพารา” ซึ่งเป็นปราสาทจำลอง ทำด้วยโครงไม้ไผ่ ประดับลวดลายด้วยกระดาษสา กระดาษสีต่างๆ หน่อกล้วย อ้อยและโคมไฟ ตกแต่งอย่างสวยงาม เพื่อใช้สมมติเป็นปราสาทรับเสด็จพระพุทธองค์จากสวรรค์ จากนั้นก็จะยก “จองพารา” ขึ้นไว้นอกชายคา นอกรั้ว หรือบริเวณกลางลานทั้งที่บ้านและที่วัด

ในวันขึ้น 15 ค่ำ อันเป็นวันออกพรรษานั้น ตั้งแต่เช้าตรู่ประชาชนพร้อมใจกันไปทำบุญตามวัด บางวัดจัดให้มีการตักบาตรเทโว ส่วนในตอนเย็นจะนำดอกไม้ธูปเทียน และขนมข้าวต้ม ไปขอขมาบิดามารดา และญาติผู้ใหญ่

ก่อนย่ำรุ่งของวันแรม 1 ค่ำ จะมีพิธี “ซอมต่อ” คือการอุทิศเครื่องเซ่น แก่สิ่งที่ชาวไตถือว่า มีบุญคุณในการดำเนินชีวิต โดยนำกระทงอาหารเล็กๆ ที่จุดเทียนติดไว้ด้วยไปตั้งไว้ตามสถานที่ต่างๆ แสงประทีปนับร้อยนับพันดวงตามวัด สถูป และบ้านเรือนในตอนใกล้รุ่งเป็นภาพที่งดงามน่าประทับใจมาก

ตลอดระยะเวลาของการจัดงานตั้งแต่แรม 1 ค่ำไปจนถึงแรม 8 ค่ำ จะมีการถวายข้าวที่จองพาราวันละครั้ง และจุดเทียนหรือประทีปโคมไฟไว้ตลอดในช่วงเวลาตลอดเทศกาล จะมีการละเล่นเฉลิมฉลองหลายชนิด เช่น ฟ้อนโต ฟ้อนรูปสัตว์ต่างๆ ฟ้อนก้าแลว (ฟ้อนดาบ)เฮ็ดกวาม ฯลฯ ตามถนนหนทางและบ้านเรือนต่างๆ เป็นการละเล่นที่สืบเนื่องมาจากความเชื่อว่า สัตว์โลกและสัตว์หิมพานต์ พากันรื่นเริงยินดี ออกมาร่ายรำเป็นพุทธรูปรับเสด็จ

ก่อนจะถึงวันแรม 8 ค่ำ จะมีพิธี “หลู่เตนเหง” คือ การถวายเทียนพันเล่ม โดยแห่ต้นเทียนไปถวายที่วัด และใน “วันกอยจ้อด” คือวันแรม 8 ค่ำ อันเป็นวันสุดท้ายของเทศกาลออกพรรษา จะมีพิธี “ถวายไม้เกี๊ยะ” โดยนำฟืนจากไม้เกี๊ยะ (สนภูเขา) มามัดรวมกันเป็นต้นสูงประมาณไม่ต่ำกว่า 2.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณไม่ต่ำกว่า 30 เซ็นติเมตร แล้วนำเข้าขบวนแห่ประกอบด้วยฟ้อนรูปสัตว์ต่างๆ และเครื่องประโคมไปทำพิธีจุดถวายเป็นพุทธบูชาที่ลานวัด เป็นอันสิ้นสุดเทศกาลออกพรรษาของชาวไต


ประเพณีลอยกระทง

หรืองานเหลินสิบสอง จัดขึ้นในวันเพ็ญเดือนสิบสอง โดยชาวบ้านจะจัดทำกระทงเล็กๆ ไปลอยตามแม่น้ำ มีการประกวดกระทงใหญ่ที่หนองจองคำ ซึ่งเป็นหนองน้ำสาธารณะกลางเมือง มีการแสดงมหรสพรื่นเริง ตามบ้านเรือนจะมีการจุดประทีปโคมไฟสว่างไสว นอกจากนี้ยังมีการลอยกระทงสวรรค์ โดยนำกระทงที่จุดประทีปโคมไฟแล้วผูกติดกับลูกโป่งลอยขึ้นไปในอากาศ พิธีนี้จัดขึ้นที่วัดพระธาตุดอยกองมู

นอกจากนี้ ยังมีศิลปะที่น่าสนใจของชาวไตคือศิลปะการแสดงและดนตรีซึ่งแตกต่างจากของล้านนา และมักจะนำเข้ามาร่วมในงานบุญงานแห่ต่างๆ อยู่เสมอ อาทิ “ฟ้อนกิงกะหล่า” หรือฟ้อนกินรี ซึ่งได้รับความนิยมที่สุด ผู้แสดงจะใส่ปีกใส่หางบินร่ายรำ นอกจากนี้ยังมีการฟ้อนตัวสัตว์ต่างๆ ที่มีความเชื่อว่าอาศัยอยู่ที่ป่าหิมพานต์ เช่น ฟ้อนนก ฟ้อนผีเสื้อ ฟ้อนม้า เป็นต้น


ฟ้อนโต

เป็นการแสดงที่นิยมกันอีกชุดหนึ่ง ตัวโตนั้นเชื่อกันว่าเป็นสัตว์ป่าในหิมพานต์ชนิดหนึ่ง มีเขาคล้ายกวาง และมีขนยาวคล้ายจามรี มีลักษณะร่ายรำคล้ายการเชิดสิงโตของจีน

นอกจากนี้ ยังมีการแสดงอื่นๆ อีกหลายชุด ได้แก่ “ฟ้อนดาบ” หรือที่เรียกว่า ฟ้อนก้าแลว “ฟ้อนไต” เป็นการฟ้อนต้อนรับผู้มาเยือน รำหม่อง “ส่วยยี” เป็นการรำออกท่าทางคล้ายพม่า และ “มองเซิง” เป็นการรำประกอบเสียงกลองมองเซิง


งานเทศกาลชิมชาบ้านไท

จัดขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ บริเวรหมู่บ้านรักไท หมู่ 6 ตำบลหมอกจำแป่ อำเภอเมือง หมู่บ้านรักไทเป้นหมู่บ้านชายแดน อยู่ในความควบคุมของกองทัพภาคที่ 3 ราษฏรมีอาชีพปลูกชาเป็นหลัก มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ เดินทางขึ้นไปเที่ยวเป็นจำนวนมาก การจัดงานเทศกาลชิมชานี้ เพื่อเป็นกาลสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกชา และส่งเสริมการท่องเที่ยวของหมู่บ้าน ภายในงานมีการขี่ม้ารอบหมู่บ้าน เที่ยวชมธรรมชาติ ชิมชาชั้นดี ชมการแสดงจากชาวจีนยูนาน และการละเล่นพื้นบ้าน

งานเทศกาลดอกบัวตอง

จะจัดขึ้นประมาณเดือนพฤศจิกายนของทุกปี “ดอกบัวตอง” เป็นดอกไม้ป่าสีเหลือง คล้ายดอกทานตะวัน แต่ขนาดเล็กกว่า มักขึ้นอยู่ตามป่าเขาสูง ทางตอนเหนือของประเทศไทย ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนจะมีมากที่บริเวณบ้านแม่เหาะ อำเภอแม่สะเรียง และดอยแม่อูคอ อำเภอขุนยวม เมื่อถึงระยะที่ดอกบัวตองบาน ตามริมเส้นทางตลอดจนภูเขาที่สลับซับซ้อนกันอยู่นั้น จะเป็นสีเหลืองสว่างไสวไปด้วยสีของดอกบัวตองดูงดงามมาก ทางจังหวัดแม่ฮ่องสอนจึงได้จัดงานเทศกาลบัวตองบานขึ้น เพื่อเป็นการชมความงามของธรรมชาติ และชมวัฒนธรรมประเพณีของชาวไต และชาวไทยภูเขา โดยจะจัดที่บริเวณอำเภอขุนยวม ในงานมีการละเล่นและมหรสพ ทั้งของพื้นเมืองและร่วมสมัย มีการประกวดธิดาบัวตอง การแสดงศิลปวัฒนธรรมชาวไทยภูเขา การแสดงสินค้าพื้นเมือง การแข่งขันกีฬาชาวดอย ฯลฯ ตลอดจนนิทรรศการต่างๆ และการนำเที่ยวชมดอกบัวตองบนดอยแม่อูคอ


จังหวัดแม่ฮ่องสอน :: ของฝาก ของที่ระลึก

ของที่ระลึกจากจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีทั้งประเภท อัญมณี ตลอดจนผลิตภัณฑ์สินค้าพื้นเมืองต่างๆ เช่น น้ำผึ้งป่า ใบชา หมวกชาวไต (ชาวไทยใหญ่เรียกว่า “กุ๊ป”) ซี่งมีลักษณะเป็นหมวกปีกกว้างใบกลม ตรงกลางยอดแหลมเหมือนเจดีย์ มูลี่ทำจากไม้ไผ่ เสื่อทอไทยใหญ่ ผ้าซิ่นไหมลายฝีมือพม่า อัญมณี เช่น ทับทิม หยก และเครื่องใช้ประเภทเสื่อ ผ้าทอฝีมือกะเหรี่ยง ประเภทของขบเคี้ยว เช่น ถั่วแป๊ะหล่อ แป๊ะยี เป็นต้น


:: สารบัญเว็บไซท์ ::

:: ข้อมูล สถานที่ท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว จังหวัดแม่ฮ่องสอน ::

สารบัญเว็บไซท์ > ท่องเที่ยว > ข้อมูล และสถานที่ท่องเที่ยว > ภาคเหนือ > แม่ฮ่องสอน

หมวดย่อย

- ปาย


ผลการค้นหา : [ แนะนำเว็บไซท์ได้ที่นี่ ]


จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แนะนำข้อมูลทั่วไป สถานที่ท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว จองโรงแรม ที่พัก รีสอร์ท โรงแรม จังหวัดแม่ฮ่องสอน แผนที่ การเดินทาง ร้านอาหาร เทศกาล งานประเพณี ของฝาก ประวัติความเป็นมา คำขวัญประจำจังหวัด
http://www.relaxzy.com/province/maehongson/

แม่ฮ่องสอน
ข้อมูลทั่วไปของจังหวัด เช่น ประวัติความเป็นมา สัญลักษณ์ประจำจังหวัด ที่ตั้งและอาณาเขต เขตการปกครอ...
http://www.maehongson.go.th

สวัสดี เพลส (Sawasdee Place)
จองที่พัก สวัสดี เพลส (Sawasdee Place) : จังหวัดแม่ฮ่องสอน
http://r24.org/hotelsthailand.name/thai/sawasdeeplace/

โรงแรม ใบหยก ชาเล่ต์ (Baiyoke Chalet)
บริการจองโรงแรม ที่พัก Baiyoke Chalet ตั้งอยู่เลขที่ 90 ถนนขุมลุ่มพระพัฒน์ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
http://r24.org/hotelsthailand.name/thai/baiyoke/

เมาน์เท่น อินน์ โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท (Mountain Inn Hotel & Resort)
จองที่พัก เมาน์เท่น อินน์ โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท (Mountain Inn Hotel & Resort) : อ.เมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
http://r24.org/hotelsthailand.name/thai/mountaininn/

โกลเด้น ปาย แอนด์ สวีท รีสอร์ท (Golden Pai & Suite Resort)
จองที่พัก โกลเด้น ปาย แอนด์ สวีท รีสอร์ท (Golden Pai & Suite Resort) : บ้านปางหมู อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน
http://r24.org/hotelsthailand.name/thai/goldenpai/

รุ๊คส์ ฮอลิเดย์ โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท (Rooks Holiday Hotel & Resort)
จองที่พัก รุ๊คส์ ฮอลิเดย์ โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท (Rooks Holiday Hotel & Resort) : ถนนขุนลุมประพาส ตำบลจองคำ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
http://r24.org/hotelsthailand.name/thai/rooksholiday/

เฟิร์นริมธาร รีสอร์ท (Fern Resort)
จองที่พัก เฟิร์นริมธาร รีสอร์ท : บ้านหัวน้ำแม่สะกัด ตำบลผ้าบง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
http://r24.org/hotelsthailand.name/thai/fern/

โรงแรม อิมพีเรียล ธารา แม่ฮ่องสอน (Imperial Tara Mae Hong Son Hotel)
จองที่พัก โรงแรม อิมพีเรียล ธารา แม่ฮ่องสอน (Imperial Tara Mae Hong Son Hotel) : ปางหมู่ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
http://r24.org/hotelsthailand.name/thai/taramaehongson/

ริเวอร์เฮ้าส์ รีสอร์ท (Riverhouse Resort)
จองที่พัก ริเวอร์เฮ้าส์ รีสอร์ท (Riverhouse Resort) : อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
http://r24.org/hotelsthailand.name/thai/riverhouse/

โรงแรม รีสอร์ท ที่พัก ใน แม่ฮ่องสอน ราคาพิเศษ
บริการจองโรงแรม ที่พักราคาถูก ในแม่ฮ่องสอน โรงแรม รีสอร์ท ที่พัก ใน แม่ฮ่องสอน ราคาพิเศษ ลด 10-75%
http://www.relaxzy.com/forum/data/1/0071-1.html
ที่พักในปาย แม่ฮ่องสอน
บริการจองที่พัก โรงแรม รีสอร์ทในปาย แม่ฮ่องสอน ราคาพิเศษ ลด 10-75%
http://www.relaxzy.com/forum/data/1/0137-1.html


จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว หมู่บ้านชาวเขา ล่องแพ ขี่ช้าง เดินป่า การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ แนะนำบริษัท...
http://www.maehongsontravel.com

ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวแม่ฮ่องสอน
ข้อมูลการท่องเที่ยวจังหวัดแม่ฮ่องสอน สถานที่ท่องเที่ยวตามอำเภอ การเดินทาง วิถีชีวิต กิจกรรมท่องเท...
http://www.tat.or.th/maehongson_co_center

ปายไทยแลนด์ดอทคอม
ข้อมูลเกี่ยวกับอำเภอปายจังหวัดแม่ฮ่องสอน อาทิ สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ร้านอาหาร โรงแรม ที่พัก
http://www.paithailand.info

อุทยานแห่งชาติสาละวิน
ข้อมูลการท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติสาละวิน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประวัติความเป็นมา จุดท่องเที่ยว แผนที...
http://www.geocities.com/salawinnationalpark

เมืองแม่ฮ่องสอน
ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดแม่ฮ่องสอน แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว การเดินทาง สถานที่พัก สถานศึกษา ร้านค้า
http://www.maehongsoncity.com

อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ข้อมูลอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประวัติ ที่ตั้งและอาณาเขต การเดินทาง แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว
http://www.maesariang.com

แม่ฮ่องสอนดิสคัฟเวอร์
รวมบริษัทนำเที่ยวและข้อมูลการท่องเที่ยวของจังหวัดแม่ฮ่องสอน แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว รายชื่อมัคคุเท...
http://www.maehongsondiscover.com

ศูนย์ภาษาและสารสนเทศ
ศูนย์ภาษาและสารสนเทศของชาวจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตประย...
http://www.robertlynam.info

อันเดอร์กราวนด์
รวบรวมสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ การเดินทาง ลักษณะภูมิประเทศ ข้อมูลตำบล ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
http://www.undergrounds.th.gs

การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านผาหมอน และบ้านแม่กลางหลวง
ข้อมูลการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านผาหมอน และบ้านแม่กลางหลวง จังหวัดแม่ฮ่องสอน แนะนำโปรแกรมทัวร์ และอื่นๆ
http://www.meukakeecotour.com

ท่องเที่ยวเมืองสามหมอก
คู่มือการท่องเที่ยวเมืองสามหมอก (ปาย) แหล่งชมวิว ที่พัก ร้านอาหาร จัดทำรูปแบบภาษาอังกฤษ
http://www.pai-travel.com

บ้านละอูบ
รวมข้อมูลเกี่ยวกับบ้านละอูบ เช่น ประวัติ สถานที่ท่องเที่ยว แผนที่ สินค้าโอทอป และข่าวประชาสัมพันธ์
http://web.thaicool.com/banlaoop

เมืองปาย
นำเสนอข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว ที่พัก และการเดินทางให้นักท่องเที่ยว
http://www.paitown.com

แม่สามหมอก
ข้อมูลท่องเที่ยวจังหวัดแม่ฮ่องสอน รูปแบบการท่องเที่ยว ระยะเวล งานเทศกาล และข่าวประชาสัมพันธ์
http://www.mae3mok.com

แม่ฮ่องสอนทัวร์ริส
แนะนำโรงแรม รีสอร์ท สถานที่ท่องเที่ยว ตารางการเดินทาง แผนที่ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
http://www.maehongsontourism.net

ปายทราเวลไกด์
paitravelguide เวปไซต์ข้อมูลท่องเที่ยวอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
http://www.paitravelguide.com



จังหวัดแม่ฮ่องสอน :: สถานที่ท่องเที่ยว อำเภอขุนยวม

วัดต่อแพ
ตั้งอยู่ที่บ้านต่อแพ ตำบลแม่เงา ห่างจากตลาดขุนยวมประมาณ 7 กิโลเมตร โดยก่อนที่จะถึงตลาดมีทางแยกจากทางสาย 108 ไปประมาณ 5 กิโลเมตร เป็นทางลูกรัง เป็นวัดเก่าแก่อยู่ทางฝั่งขวาของลำน้ำยวม มีวิหารขนาดใหญ่แบบพม่า สร้างอย่างวิจิตรสวยงามมาก นอกจากนี้ยังมีเจดีย์ทรงมอญอีกด้วย ตามประวัติเล่าว่าบริเวณนี้แต่เดิมเคยเป็นที่พัก และรวมไม้ซุง นักต่อแพเหล่านี้ได้พร้อมใจกันสร้างวัดขึ้นมาแล้วให้ชื่อว่า “วัดต่อแพ”

อุทยานแห่งชาติน้ำตกแม่สุรินทร์
มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในเขตอำเภอขุนยวม และอำเภอเมือง มีเนื้อที่ 247,875 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2524

ทุ่งบัวตองดอยแม่อูคอ
ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลแม่อูคอ อำเภอขุนยวม ตามเส้นทางหมายเลข 108 (แม่ฮ่องสอน-ขุนยวม) ก่อนถึงตัวอำเภอประมาณ 1 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายตามทางหลวงสาย 1263 เข้าสู่ทุ่งบัวตองอีก 26 กิโลเมตร เป็นถนนราดยางมีพื้นที่ครอบคลุมเป็นเขากว้างประมาณ 1 พันไร่ อยู่ในความรับผิดชอบของโครงการพัฒนาป่าไม้ที่สูง หน่วยที่ 5 กองอนุรักษ์ต้นน้ำ ดอกบัวตองที่นี่เมื่อบานพร้อมๆ กันในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม จะเหลืองอร่ามปกคลุมทั่วทั้งภูเขา มีความสวยงามมาก

นอกจากนี้ ยังมีบริการให้เช่าเต็นท์ค้างแรมบนดอย ซึ่งจะมีสถานที่สำหรับตั้งเต็นท์ได้ประมาณ 100 หลัง ผู้สนใจสามารถติดต่อได้โดยตรงในวันที่ต้องการพักบริเวณหน่วยทำการบนทุ่งบัวตอง หรือหากต้องการจองล่วงหน้าให้ติดต่อกับทางอำเภอขุนยวมโดยตรง และบริเวณด้านหลังจุดชมวิว ยังมีร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยวด้วย

น้ำตกแม่อูคอ
ตั้งอยู่บริเวณดอยแม่อูคอ ก่อนถึงทุ่งบัวตองเล็กน้อยมีทางแยกเข้าสู่น้ำตกประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นน้ำตกชั้นเดียว สูงประมาณ 30 เมตร ตกจากร่องหินขนาดใหญ่ ตอนกลางของสายน้ำมีร่องหินกว้าง สามารถเดินเข้าไปชมม่านน้ำตกได้ เพิ่งค้นพบเมื่อปี 2530

บ่อน้ำร้อนหนองแห้ง
อยู่เขตบ้านหนองแห้ง ตำบลเมืองปอน ห่างจากอำเภอประมาณ 25 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 108 (ขุนยวม-แม่ลาน้อย) แยกซ้ายบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 174 ข้างโรงเรียนบ้านหนองแห้ง ตรงเข้าไป 1 กิโลเมตร (เป็นทางลูกรัง)

ศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่นอำเภอขุนยวม
ตั้งอยู่ที่บริเวณตรงข้ามวัดม่วยตามทางหลวงหมายเลข 108 บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 200 เป็นศูนย์รวมศิลปหัตถกรรมของชาวไทยใหญ่และชาวไทยภูเขาเผ่าต่างๆ ตลอดจนเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ของทหารญี่ปุ่นที่เดินทัพเข้ามาในพื้นที่อำเภอขุนยวมสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 นอกจากนี้มีการจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองสำหรับนักท่องเที่ยวด้วย เปิดทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.00-16.00 น.


จังหวัดแม่ฮ่องสอน :: สถานที่ท่องเที่ยว อำเภอแม่สะเรียง

วัดกิตติวงศ์
ตั้งอยู่ในเขตสุขาภิบาลแม่สะเรียง เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่พระครูกิตตินำมาจากวัดศรีสุพรรณ จังหวัดเชียงใหม่ และยังมีพระคัมภีร์โบราณค้นพบในถ้ำผาแดง ริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน เมื่อ พ.ศ. 2511 จารึกประวัติศาสตร์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของล้านนากับพม่า

วัดจองสูง หรือวัดอุทยารมณ์
ตั้งอยู่ในตัวอำเภอแม่สะเรียง เป็นวัดที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2381 เดิมเป็นสำนักสงฆ์มีเจ้าอาวาสเป็นไทยใหญ่เมื่อปี พ.ศ. 2431 ถูกไฟไหม้ และได้บูรณะขึ้นใหม่เป็นวัดจองสูงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2439 ภายในวัดมีเจดีย์ทรงมอญเก่าแก่อายุกว่า 100 ปี อยู่ 3 องค์ เจดีย์องค์ด้านตะวันตกสร้างเมื่อต้นรัชกาลที่ 6 เจดีย์องค์กลางสร้างเมื่อใดไม่ปรากฏ เชื่อกันว่าเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุ ส่วนเจดีย์องค์ด้านตะวันออกเป็นเจดีย์ 7 ยอด

วัดศรีบุญเรือง
ตั้งอยู่ใกล้กับวัดจองสูงเป็นอีกวัดหนึ่งที่มีสิ่งน่าสนใจได้แก่โบสถ์รูปทรงพม่าซึ่งฉลุลวดลายงดงาม

วัดแสนทอง
ตั้งอยู่ในตัวอำเภอแม่สะเรียง มีสิ่งที่สำคัญคือพระแสนทองพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสัมฤทธ์ อันเป็นศิลปะสมัยเชียงแสนที่เก่าแก่และงดงามมากองค์หนึ่ง และที่วัดแสนทองนี้ยังประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ ชาวบ้านเรียกว่า “พระเพชร” หรือ “พระสิงห์หนึ่ง” อันเป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองแต่อดีต ผู้สนใจสามารถติดต่อกับพระภิกษุภายในวัดเพื่อขอชมได้

วัดจอมทอง
ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอแม่สะเรียง 1 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายแม่สะเรียง-สบเมย แยกทางซ้ายมือบริเวณสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นทางลูกรังขึ้นภูเขา

วัดนี้มีจุดเด่นที่พระพุทธรูปขนาดใหญ่ซึ่งประดิษฐานอยู่บนยอดเขาและบนลานพระพุทธรูปนี้ สามารถชมทิวทัศน์อันสวยงามของอำเภอแม่สะเรียงได้ โดยเฉพาะบรรยากาศยามพระอาทิตย์ตกในช่วงเย็น

บ้านกะเหรี่ยงพะมะลอ
เป็นบ้านชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง อยู่ในเขตตำบลบ้านกาด ห่างจากตลาดแม่สะเรียงประมาณ 3 กิโลเมตร ชาวบ้านมีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่น่าสนใจ มีการทอผ้าและทำสิ่งประดิษฐ์ของเผ่าไว้จำหน่ายแก่นักท่องเที่ยวด้วย

พระธาตุจอมมอญ
อยู่ที่หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านกาด เป็นปูชนียสถานที่มีลักษณะเป็นเจดีย์เก่าแก่ ถือกันว่าเป็นพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ และมีงานฉลองในเดือนกรกฎาคมของทุกปี

ถ้ำเง้า
อยู่ที่หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านกาด ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประดิษฐานอยู่ ระยะทางห่างจากอำเภอประมาณ 4 กิโลเมตร

ทุ่งบัวตอง ดอยแม่เหาะ
ห่างจากอำเภอแม่สะเรียงประมาณ 16 กิโลเมตร อยู่ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 ตรงหลักกิโลเมตรที่ 84 เขตตำบลแม่เหาะ เป็นที่ตั้งของศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา จังหวัดแม่ฮ่องสอน ริมทางในช่วงนี้มีภูมิประเทศที่งดงามของภูเขาและทุ่งดอกบัวตองที่ตระการตาและเบ่งบานสะพรั่งในเดือนตุลาคม-ธันวาคม

อุทยานแห่งชาติสาละวิน
ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน ซึ่งกั้นพรมแดนระหว่างไทยกับพม่า มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่บริเวณที่ดินป่าแม่ยวมฝั่งขวาและป่าสาละวิน ในท้องที่ตำบลเสาหิน ตำบลบ้านกาด ตำบลแม่คง ตำบลแม่ยวม อำเภอแม่สะเรียง และตำบลแม่สามแลบ อำเภอสบเมย มีพื้นที่ประมาณ 721.52 ตารางกิโลเมตร หรือ 450,950 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2537

การเดินทาง มีรถโดยสารสายอำเภอแม่สะเรียง-บ้านแม่สามแลบ บริการหรือสามารถเช่ารถจากอำเภอแม่สะเรียงไปยังแม่สามแลบ ระยะทางประมาณ 46 กิโลเมตร จากนั้นจะต้องล่องเรือจากบ้านแม่สามแลบไปตามแม่น้ำสาละวิน ใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง โดยจะมีเรือของชาวบ้านมาบริการ คิดในราคาเหมาลำ จากที่ทำการอุทยานฯ สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของลำน้ำสาละวินและฝั่งพม่าได้กว้างไกล และในบริเวณด้านหน้าของที่ทำการอุทยานฯ ยังมีหาดทรายสีขาวละเอียดเหมาะแก่การตั้งเต็นท์พักแรม ถัดไปทางด้านทิศเหนือจะเป็นบ้านท่าตาฝั่ง ซึ่งมีหาดทรายสวยอีกแห่งหนึ่ง เรียกว่า “หาดแท่นแก้ว” นอกเหนือจากทัศนียภาพที่งดงามของริมฝั่งน้ำแล้ว ยังมีทรัพยากรที่สำคัญและมีค่า อันได้แก่ พันธุ์ไม้ป่า เช่น ไม้สัก ไม้แดง ไม้เต็ง ซึ่งมีอยู่มากมายในบริเวณนี้ และสัตว์ป่านานาชนิด เป็นต้น

ขณะนี้ทางอุทยานฯ ยังไม่มีบริการบ้านพักและสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆ ทั้งสิ้น หากนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะตั้งเต็นท์พักแรม สามารถติดต่อได้ที่อุทยานฯ โดยตรง หรือติดต่อล่วงหน้าไปที่อุทยานแห่งชาติสาละวิน ตู้ ปณ. 6 ปท.แม่สะเรียง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน 58110


:: อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-น้ำตกผาเสื่อ ::

:: ข้อมูลทั่วไป ::
อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-น้ำตกผาเสื่อ มีพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่วนอุทยานถ้ำปลา และวนอุทยานน้ำตกผาเสื่อ ในท้องที่ป่าสงวนแห่งชาติแม่ปายฝั่งขวา ท้องที่อำเภอเมืองและกิ่งอำเภอปางมะผ้า และด้วยเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน แนวเทือกเขาจะทอดยาวตามแนวเหนือใต้ อีกทั้งยังเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติ คือ ถ้ำปลา-น้ำตกผาเสื่อ ที่สวยงามเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป เหมาะสำหรับการไปพักผ่อนหย่อนใจอุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-น้ำตกผาเสื่อ มีเนื้อที่ประมาณ 488 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 305,000 ไร่

ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติครั้งที่ 1/2540 เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2540 เห็นชอบให้กรมป่าไม้ดำเนินการสำรวจ เพื่อจัดตั้งอุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-ผาเสื่อ โดยเสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงได้มีคำสั่งที่ 652/2528 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการสำรวจพื้นที่เพื่อจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ ลงวันที่ 10 เมษายน 2538 และคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 240/2539 ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2539 ให้นายพินิต สุวรรณรัตน์ ดำเนินการสำรวจข้อมูลเพิ่มเติม ในพื้นที่วนอุทยานถ้ำปลา และวนอุทยานน้ำตกผาเสื่อ เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ

ผลการสำรวจได้รวบรวมพื้นที่ ที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติจำนวน 305,000 ไร่ หรือประมาณ 488 ตารางกิโลเมตร อุทยานแห่งชาตินี้เป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์อย่างแท้จริง และได้กันพื้นที่หมู่บ้านหรือชุมชน ออกจากที่จะประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติแล้ว ประกอบกับทางอุทยานแห่งชาติ ได้ดำเนินการประสานงานกับ หน่วยงานอื่น อาทิเช่น ฝ่ายปกครอง ผู้นำท้องถิ่นอย่างใกล้ชิด จึงไม่มีปัญหามวลชนแต่อย่างใดและต่อมา คณะอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการลักลอบทำลายทรัพยากรป่าไม้ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2539 ซึ่งมีนายสมเจตน์ วิริยะดำรงค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นประธาน มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ

คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ได้มีมติเห็นชอบให้จัดตั้งอุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-ผาเสื่อ จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยให้ดำเนินการเสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติต่อไป


:: ลักษณะภูมิประเทศ ::
เป็นแนวเทือกเขาหลายเทือก สลับเป็นลูกคลื่นต่อเนื่องไป จนจดชายแดนพม่าทางด้านทิศเหนือ มีความลาดชันมาก จุดสูงสุดเป็นยอดเขาดอยลาน สูงประมาณ 1,918 เมตรจากระดับน้ำทะเล อาณาเขตทิศเหนือจดรัฐฉาน สาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า ทิศใต้จดห้วยหมากอื้นและห้วยผึ้ง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ทิศตะวันออกจดลำน้ำของ กิ่งอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ทิศตะวันตกจดรัฐฉาน สาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า


:: ลักษณะภูมิอากาศ ::
จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีลักษณะภูมิอากาศ แบบฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดูกาล ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ถึงกลางเดือนตุลาคม มีฝนตกชุก ในรอบ 10 ปี มีฝนตกเฉลี่ยสูงถึง 138 วันต่อปี ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนมกราคม อากาศหนาวเย็นและแห้งแล้ง ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ ถึงกลางเดือนพฤษภาคม มีอากาศร้อนอบอ้าวทั่วไป


:: พรรณไม้และสัตว์ป่า ::
สภาพป่าพื้นที่อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-ผาเสื่อ เป็นป่าดงดิบชื้น ป่าดิบเขา ป่าสนเขา ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และทุ่งหญ้า พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ตะแบกนา เต็ง รัง มะค่าแต้ สัก มะค่าโมง ประดู่ แดง ตะแบกเลือด ตะเคียน สนสองใบ สนสามใบ เป็นต้น

สำหรับสัตว์ป่ายังมีอยู่ชุกชุม เช่น เลียงผา กระทิง ควายป่า หมี เก้ง กวางป่า หมูป่า กระต่ายป่า และนกนานาชนิด ฯลฯ


:: ที่ตั้งและการเดินทาง ::
อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-น้ำตกผาเสื่อ
70 หมู่ 1 ต.ห้วยผา อ. เมืองแม่ฮ่องสอน จ. แม่ฮ่องสอน 58000
โทรศัพท์ : 0 5369 2055, 0 5361 9036

รถยนต์
จากจังหวัดชียงใหม่ มาตามทางอำเภอแม่แตง ก่อนจะถึงอำเภอแม่แตง ก็เลี้ยวซ้ายทางบ้านแม่มาลัย เข้าสู่เส้นทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1095 ผ่านอำเภอปลาย ก่อนจะถึงอำเภอเมืองอีกประมาณ 18 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ


เครื่องบิน
จากสนามบินเชียงใหม่ เดินทางโดยเครื่องบินสายการบินไทยจาก เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน มีเที่ยวบินทั้งหมด 4 เที่ยว แล้วเหมารถรับจ้างมายังที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดแม่ฮ่องสอนเพียง 18 กิโลเมตร


รถโดยสารประจำทาง
การเดินทางโดยรถยนต์สายกรุงเทพ-เชียงใหม่ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 และต่อรถยนต์สายเชียงใหม่ - แม่ฮ่องสอน มาทางอำเภอฮอดเข้าอำเภอแม่สะเรียง ผ่านอำเภอแม่ลาน้อย ขุนยวม เข้าไปยังอำเภอเมือง โดยทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1095 อีกเป็นระยะทาง 18 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ หรืออีกทางมาทางอำเภอแม่แตง ก่อนจะถึงอำเภอแม่แตง ก็เลี้ยวซ้ายทางบ้านแม่มาลัย เข้าสู่เส้นทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1095 ผ่านอำเภอปลาย ก่อนจะถึงอำเภอเมืองอีกประมาณ 18 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติเช่นกัน


:: แหล่งท่องเที่ยว :: ด้านธรรมชาติที่สวยงาม ::
ถ้ำปลา เป็นถ้ำใต้เชิงเขา มีธารน้ำไหลออกมาจากถ้ำตลอดทั้งปี บริเวณปากถ้ำเป็นวังน้ำกว้างประมาณ 2 เมตร และลึก 1.5 เมตร สามารถมองเห็นฝูงปลาขนาดใหญ่ มีสีดำเทาอมฟ้า เรียกว่า ปลามุงหรือพลวง ภายในถ้ำจะมีปลาดังกล่าวอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะชาวบ้านเชื่อว่าปลานี้เป็นปลาศักดิ์สิทธิ์ หากใครนำมารับประทานจะพบภัยพิบัติ บริเวณหน้าถ้ำมีอาหารปลาจำหน่าย ซึ่งนักท่องเที่ยวนิยมซื้อ และให้อาหารปลาอยู่เสมอ นอกจากนี้ถ้ำปลายังมีทิวทัศน์ของสภาพป่า หน้าผาเขาหินปูนอันเป็นธรรมชาติที่สวยงามมาก ถ้ำปลาอยู่ริมทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1095 สายแม่ฮ่องสอน-แม่มาลัย ระหว่าง กม. 191-192 ห่างจากเมืองแม่ฮ่องสอนเพียง 17 กิโลเมตร


น้ำตกผาเสื่อ เกิดจากลำแม่น้ำสะงา เป็นน้ำตกขนาดกลาง สูงประมาณ 10 เมตร กว้างประมาณ 15 เมตร ในช่วงฤดูฝนจะมีน้ำไหลเต็มหน้าผากว้างทำให้มีรูปร่างคล้ายเสื่อ จึงเรียกว่า “น้ำตกผาเสื่อ” ในฤดูแล้งจะมีน้ำน้อย ทำให้เห็นหินที่สวยงาม เหมาะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ ทางเข้าน้ำตกผาเสื่อ อยู่ก่อนถึงถ้ำปลาเล็กน้อย ห่างจากเมืองแม่ฮ่องสอน 26 กิโลเมตร


เขื่อนพลังน้ำแม่สะงา เป็นเขื่อนดินมีความสูง 37 เมตร ยาว 160 เมตร สามารถกักเก็บน้ำได้ประมาณ 780,000 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งทำให้มีทัศนียภาพเหนือเขื่อนที่สวยงาม เหมาะสำหรับเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ


น้ำตกแม่สะงากลาง เป็นน้ำตกที่อยู่เหนือเขื่อนแม่สะงา ซึ่งเป็นเขื่อนดินทำหน้าที่ผลิตกระแสไฟฟ้า มีความสูงประมาณ 15 เมตร กว้างประมาณ 10 เมตร เป็นน้ำตกขนาดกลางที่สวยงาม มีน้ำไหลตลอดทั้งปี ระยะทางเดินเท้าเข้าไปประมาณ 1.6 กิโลเมตร น้ำตกแม่สะงากลางไหลลงสู่เขื่อนมาสะงา ซึ่งมีทัศนียภาพเหนือเขื่อนที่สวยงาม เหมาะสำหรับเดินป่าศึกษาธรรมชาติ การล่องแพ/พายเรือเข้าไปดูน้ำตก น้ำตกแม่สะงากลาง ตั้งอยู่บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ถผ.2 (น้ำตกผาเสื่อ)


น้ำตกห้วยโป่งอ่อน เป็นน้ำตกที่อยู่ระหว่างเส้นทางเข้าหมู่บ้านห้วยโป่งอ่อน ซึ่งมีความสูงประมาณ 7 เมตร กว้างประมาณ 5 เมตร เป็นน้ำตกขนาดเล็ก ที่มีน้ำไหลตลอดปี มีทัศนียภาพที่สวยงาม ใต้น้ำตกเป็นแอ่งน้ำที่สามารถ เล่นน้ำได้ ในพื้นที่ 40 ตารางเมตร


ถ้ำพระบาทคู่หรือถ้ำจักตอก เป็นถ้ำอยู่บนภูเขาเหนือถ้ำปลา มีความกว้างด้านหน้าประมาณ 5 x 8 เมตร ซึ่งภายในมีหินงอกหินย้อยงดงาม แต่ต้องใช้เวลาเดินขึ้นเขาไปประมาณ 1 ชั่วโมงเศษ เส้นทางเดินมีความลาดชันพอสมควร นักท่องเที่ยวควรเดินด้วยความระมักระวัง


ถ้ำผาแดง เป็นถ้ำเขาหินปูน ที่มีทัศนียภาพที่สวยงาม มีลำธารไหลลอดผ่าภายในถ้ำตลอดทั้งปี มีความลึกประมาณ 1 กิโลเมตร ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยรูปลักษณ์ต่างๆ สวยงาม มีค้างคาว และโลงผีแมนขนาดใหญ่ อยู่ทางด้านหน้าและด้านหลังถ้ำ ถ้ำผาแดงตั้งอยู่บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ถผ.4 (ห้วยส้าน) ต้องเดินเท้าขึ้นไปประมาณ 500 เมตร


เส้นทางศึกษาธรรมชาติ อุทยานแห่งชาติได้จัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติไว้บริการนักท่องเที่ยว เพื่อการศึกษา หาความรู้ และได้ใกล้ชิดธรรมชาติ ดังนี้
- ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
- หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ถผ.1 (ถ้ำปลา)
- หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ถผ.2 (น้ำตกผาเสื่อ)
- หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ถผ.4 (ห้วยส้าน)



:: สิ่งอำนวยความสะดวก ::
สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ อุทยานแห่งชาติ ยังไม่ที่พัก-บริการไว้บริการนักท่องเที่ยว มีแต่สถานที่กางเต็นท์ให้บริการนักท่องเที่ยว เนื่องจากเป็นอุทยานแห่งชาติจัดตั้งใหม่ หากสนใจที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวต้องจัดเตรียมเต็นท์และอาหารไปเอง



:: อุทยานแห่งชาติลุ่มน้ำคง (สาละวิน) ::

:: ข้อมูลทั่วไป ::
อุทยานแห่งชาติลุ่มน้ำคง (สาละวิน) มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอสบเมย อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูง สลับกับที่ราบริมฝั่งน้ำ ซึ่งปกคลุมไปด้วยป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง และมีสภาพป่าไม้ที่สมบูรณ์ธรรมชาติ ทิวทัศน์และลักษณะทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง เช่น แม่น้ำสาละวิน มีเนื้อที่ประมาณ 450,950 ไร่ หรือ 721.52 ตารางกิโลเมตร

กรมป่าไม้ได้พิจารณาเห็นว่า พื้นที่ป่าบริเวณลำน้ำสาละวิน (ตั้งแต่ใต้ห้วยแม่สามแลบไปจังหวัดแม่ฮ่องสอน) ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าสาละวินและป่าแม่ยวมฝั่งขวา ในท้องที่อำเภอแม่สะเรียม และอำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีสภาพป่าที่สมบูรณ์และสวยงามเหมาะที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ ดังนั้นเพื่อให้ได้ทราบข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมของ สภาพพื้นที่จึงให้ นายอัมพร ปานมงคล นักวิชาการป่าไม้ 4 ปฏิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ ไปดำเนินการสำรวจเบื้องต้น ตามคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 504/2532 ลงวันที่ 28 มีนาคม 2532 สำรวจพื้นที่ป่าบริเวณดังกล่าวและบริเวณใกล้เคียง พื้นที่ที่สำรวจและเห็นควรจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ เป็นป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ยวมฝั่งขวาและป่าสาละวิน ในท้องที่ตำบลแม่ลาหลวง ตำบลแม่ลาน้อย ตำบลท่าผาปุ้บ อำเภอแม่ลาน้อย ตำบลแม่คง ตำบลบ้านกวด ตำบลแม่ยวม ตำบลสบเมย อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เนื้อที่ประมาณ 1,013 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 632,125 ไร่ เป็นอุทยานแห่งชาติ

กรมป่าไม้ได้มีคำสั่งที่ 1627/2532 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2532 ให้ นายมงคล ชัยดำรงเลิศ เจ้าหน้าที่บริหารงานป่าไม้ 7 หัวหน้าฝ่ายป้องกันรักษาป่า สำนักงานป่าไม้เขตแม่สะเรียง และ นายเจน ทาฟอง เจ้าพนักงานป่าไม้ 5 กองอุทยานแห่งชาติ ไปสำรวจเพิ่มเติมและมีความเห็นว่า สมควรกำหนดขอบเขตป่าสงวนแห่งชาติสาละวิน ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าโครงการสาละวินตอนล่าง (มร.11) เดิม อยู่นอกเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ

มติที่ประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติครั้งที่ 1/2536 เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2536 ได้พิจารณาเห็นชอบในการประกาศจัดตั้งอุทยานแห่งชาติสาละวิน จังหวัดแม่ฮ่องสอน และได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าแม่ยวมฝั่งขวา และป่าสาละวิน ในท้องที่ตำบลเสาหิน ตำบลบ้านกาด ตำบลแม่คง ตำบลแม่ยวม อำเภอแม่สะเรียง และตำบลแม่สามแลบ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนที่ 50 ก ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2537

ต่อมาเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้พิจารณาชื่ออุทยานแห่งชาติให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับจุดเด่น และศักยภาพที่สำคัญของพื้นที่ที่จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ จึงเปลี่ยนชื่ออุทยานแห่งชาติสาละวิน เป็นอุทยานแห่งชาติลุ่มน้ำคง


:: ลักษณะภูมิประเทศ ::
พื้นที่อุทยานแห่งชาติลุ่มน้ำคง (สาละวิน) เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน แนวเขาวางตัวในทิศเหนือ-ใต้ เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาถนนธงชัย มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางตั้งแต่ 200-1,027 เมตร ซึ่งยอดเขาที่สูงที่สุดอยู่ทางทิศเหนือของพื้นที่ มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของแม่น้ำยวม แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำกองคา แม่น้ำแม่แงะ และแม่น้ำหาร


:: ลักษณะภูมิอากาศ ::
ภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติลุ่มน้ำคง (สาละวิน) แบ่งออกเป็น 3 ฤดูกาล คือ ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน-ตุลาคม ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์


:: พรรณไม้และสัตว์ป่า ::
มีสภาพป่าที่อุดมของป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง พันธุ์ไม้สำคัญที่พบมี สัก แดง ประดู่ ชิงชัน มะค่าโมง ตะเคียนหนู ตะเคียนทอง เต็ง รัง เหียง พลวง ฯลฯ

สัตว์ป่าที่สำคัญมี เลียงผา กวางป่า เก้ง หมูป่า หมี หนูหริ่ง เสือปลา วัวแดง กระทิง เสือโคร่ง กระต่ายป่า กระรอก กระแต ชะนี อีเห็น และนกชนิดต่าง ๆ


:: ที่ตั้งและการเดินทาง ::
อุทยานแห่งชาติลุ่มน้ำคง (สาละวิน)
ตู้ ปณ.8 ปทจ.แม่สะเรียง อ. แม่สะเรียง จ. แม่ฮ่องสอน 58110
โทรศัพท์ : 0 1024 1854, 0 1366 7356

รถยนต์
เดินทางจากอำเภอแม่สะเรียงใช้เส้นทางตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1194 ระยะประมาณ 4 กิโลเมตร แล้วเข้าทางแยกขวามือไปตามทางอีก 4 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ หากต้องการเดินทางต่อ ไปที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ สว.4 (บ้านแม่สามแลบ) ต้องเดินทางโดยรถยนต์ (ถนนลาดยาง) อีกประมาณ 50 กิโลเมตร

จากบ้านแม่สามแลบ หากต้องการเดินทางต่อ ไปที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ สว.1 (บ้านท่าตาฝั่ง) สามารถเดินทางได้ทางเรือโดยสาร เรือออกจากท่าเรือบ้านสามแลบ ระหว่างเวลา 09.00-16.00 น. (ค่าโดยสาร 1,000 บาทต่อผู้โดยสาร 10 คน : ข้อมูลเดือนตุลาคม 2549) ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 40 นาที จะถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ (บ้านท่าตาฝั่ง)

การเดินทางไปหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ สว.1 (บ้านท่าตาฝั่ง) สามารถเดินทางโดยรถยนต์ได้ เริ่มจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ (ถนนลูกรัง : ข้อมูลเดือนตุลาคม 2549) ระยะทางประมาณ 37 กิโลเมตร ควรใช้รถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อ ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 3-4 ชั่วโมง เส้นทางนี้เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบการผจญภัย


:: แหล่งท่องเที่ยว :: ด้านธรรมชาติที่สวยงาม ::
แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำสาละวิน หรือที่ชาวแม่ฮ่องสอนเรียกว่า "แม่น้ำคง" เป็นแม่น้ำสายใหญ่ ที่มีต้นน้ำมาจากที่ราบสูงธิเบต ซึ่งมีความสูงถึง 8,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล แม่น้ำไหลมาจากทางใต้ผ่านธิเบต จีน พม่า จนมาเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างไทย-พม่า ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน แล้วจึงไหลผ่านอำเภอแม่ลาน้อย อำเภอแม่สะเรียง และอำเภอสบเมย ก่อนที่จะไหลเข้าไปในเขตพม่าอีกครั้งหนึ่ง รวมความยาวที่กั้นพรมแดนไทย เป็นระยะทางทั้งสิ้น 120 กิโลเมตร

ในฤดูร้อนหิมะบนภูเขา บริเวณที่ราบสูงของธิเบต จะละลายลงสู่แม่น้ำ ทำให้น้ำในแม่น้ำใสสะอาดกว่าฤดูอื่น ในฤดูหนาวมีสายหมอกปกคลุมตลอดลำน้ำ ซึ่งไหลผ่านกลางป่าผลัดใบที่เริ่มเปลี่ยนสี นอกจากนี้ในช่วงฤดูหนาว และฤดูร้อน ระดับน้ำจะลดต่ำมองเห็นหาดทรายขาวละเอียดทั้งสองฝั่ง สลับกับโขดหินใหญ่ นักท่องเที่ยวนิยมมากางเต็นท์พักแรมบนหาดทรายริมน้ำ หรือนั่งเรือชมความงามของลำน้ำ และทิวทัศน์ธรรมชาติริมสองฝั่งน้ำ

กางเต็นท์นอนริมแม่น้ำสาละวิน ผู้สนใจสามารถมากางเต็นท์นอนได้ที่บ้านท่าตาฝั่ง ซึ่งเป็นหมู่บ้านริมแม่น้ำสาละวินที่มีหาดทรายสวยงาม ยาวประมาณ 200 เมตร พื้นที่ประมาณ 20 ไร่ อยู่ห่างจากอำเภอแม่สะเรียงเพียง 8 กิโลเมตร แล้วเข้าทางแยกขวามือไปตามทางลูกรังอีก 4 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ จากนั้นไปตามทางลูกรังที่ใช้ได้เฉพาะฤดูแล้งอีกประมาณ 40 กิโลเมตร จะถึงบ้านท่าตาฝั่ง


ล่องแม่น้ำสาละวิน ในหน้าแล้งระดับน้ำของแม่น้ำสาละวิน จะลดต่ำจนหาดทรายและโขดหิน โผล่พ้นน้ำขึ้นมา ผู้สนใจนิยมนั่งเรือหางยาวของชาวบ้านที่บ้านแม่สามแลบ ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำสาละวิน เพื่อล่องไปตามลำน้ำ โดยมี 2 เส้นทางให้เที่ยวชม

เส้นทางที่หนึ่ง มีจุดหมายที่สบเมย ซึ่งเป็นบริเวณที่แม่น้ำเมยมาบรรจบแม่น้ำสาละวิน ใช้เวลาเดินทางไป-กลับประมาณ 1 ชั่วโมง
เส้นทางที่สอง บ้านซิมูท่า-บ้านแม่ปอ-บ้านท่าตาฝั่ง ใช้เวลาไป-กลับประมาณ 1 ชั่วโมง เช่นกัน

บ้านแม่สามแลบอยู่ทางด้านทิศใต้ของบ้านท่าตาฝั่ง ห่างจาก อำเภอแม่สะเรียงไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1194 ประมาณ 47 กิโลเมตร เส้นทางบางช่วงขึ้นเขาสูงชัน และคดเคี้ยว จนกระทั่งถึงทางแยกไปบ้านแม่สามแลบ เลี้ยวขวาเลียบลำน้ำไปอีก 2 กิโลเมตร



:: สิ่งอำนวยความสะดวก ::
ห้องสุขาชาย มีห้องสุขาชายไว้บริการ


ห้องสุขาหญิง มีห้องสุขาหญิงไว้บริการ


ที่พักแรม/บ้านพัก มีบ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียด และสำรองที่พักเต็นท์ได้กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง


ที่จอดรถ มีลานจอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.

0 ความคิดเห็น: